ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้านิพพาน เป็นเรื่อง ที่มองไม่เห็นเป็นเรื่องข้างหน้า เราควรสนใจปัจจุบันก่อนดี...  (อ่าน 3165 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้านิพพาน เป็นเรื่อง ที่มองไม่เห็นเป็นเรื่องข้างหน้า เราควรสนใจปัจจุบันก่อนดีหรือไม่คะ ?
คือ อย่างนี้ นิพพาน เป็นผลของการปฏิบัติธรรม ที่สำเร็จ อริยะมรรค อริยะผล ระดับพระอรหันต์ ซึ่งเป็นหนทางที่เราเห็นว่ายากอยู่ จึงอยากเรียนให้เพื่อนสมาชิก ลองสนใใจปัจจุบัน ให้มากกว่า ด้านหน้าที่ยังไม่มาถึงดีหรือไม่

  มีคำกล่าวว่า อดีต เป็นเหตุปัจจัย ของปัจจุบัน   ปัจจุบัน เป็นเหตุปัจจัย ของอนาคต

  พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สิ่งที่เป็นอดีตก็ล่วงไปแล้ว ( แก้ไขอะไรไม่ได้ )
                         สิ่งที่เป็นอนาคต ก็ยังมาไม่ถึง ( เมื่อไหร่จะถึง )
                       ดังนั้นเราควรหันกลับ มาพิจารณา ในปัจจุบัน ให้มาก ๆ ดีหรือไม่คะ

  :smiley_confused1: :13: :67: :25: :c017: :58:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อัปโหลดโดย deephuket เมื่อ 14 เม.ย. 2011

    ไม่พึงมัวหวนละห้อยความหลัง ไม่มัวเพ้อหวังอนาคต ว่างั้น สิ่งใดล่วงแล้วก็ผ่านไป สิ่งใดยังไม่ถึงสิ่งนั้นก็ทำไม่ได้ สิ่งที่ทำได้แน่นอนคือปัจจุบันนี้ ให้มองเห็น ให้พิจารณาให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง เมื่อมองเห็นเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วทำ.


ที่มา ทำอยู่กับปัจจุบัน โดย ท่าน ป.อ.ปยุตโต



การมีสติอยู่กับปัจจุบัน
    สติ คือ การระลึก แต่ไม่รู้สึก สัมปชัญญะ ทำหน้าที่รู้สึก แต่ไม่ได้ทำหน้าที่ระลึก พอเอาทั้งสองมารวมกัน เรียกว่า สติสัมปชัญญะ แปลว่า ระลึกรู้

    ดังนั้น การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ก็คือการตามสังเกตใจ เพื่อพัฒนาการระลึกรู้
    ถ้ามีสติระลึกถึง สัมปชัญญะก็เกิดขึ้นทำหน้าที่รู้สึก พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก

    สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะต่อการรู้ธรรมชาติจริงของจิต
    สติสัมปชัญญะ มีอุปการะต่อปัญญา เพราะเมื่อมีสติสัมปชัญญะแล้วจะเกิดปัญญา
    มีความรอบรู้ในสิ่งสองสิ่ง คือ รู้ความรู้สึก คือ "จิต" ตามความเป็นจริง และรู้สิ่งที่มาให้จิตได้รับรู้ คือ "อารมณ์" ตามความเป็นจริงตามที่ได้กล่าวมาแล้ว



ที่มา : หนังสือทำอย่างไรให้ใจถึงธรรม ผู้แต่ง พระอาจารย์มานพ อุปสโม
http://www.buddha4u.org/index.php?option=com_content&view=article&id=54&Itemid=15
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎฏ เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เป็น
สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖

๓๑. ภัทเทกรัตตสูตร
สูตรว่าด้วยราตรีเดียวกันที่ดี

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ตรัสแสดงบทตั้ง(อุทเทส) และคำอธิบายหรือการแจกแจง(วิภังค์) เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวอันดี โดยใจความ คือ

    ไม่ให้ติดตามเรื่องล่วงมาแล้ว ไม่ให้หวังเฉพาะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้เห็นแจ้งปัจจุบัน
    ให้รีบเร่งทำความเพียรเสียในวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง
    เพราะจะผัดเพี้ยนต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่ได้
.

    คนที่มีความเพียรอย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน เรียกว่ามีราตรีเดียวอันดี(อันเจริญ).
    การไม่ติดตามอดีต การไม่หวังเฉพาะอนาคต ตรัสอธิบายว่า ไม่ให้มีความยินดีเพลิดเพลินในอดีตและอนาคตนั้น.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/6.3.html
ขอบคุณภาพจาก http://statics.atcloud.com/,http://www.broadcastthai.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑. ภัทเทกรัตตสูตร (๑๓๑)

      [๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

           
      [๕๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
      บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
      สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง

      ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้
      บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
      ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผลัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
      พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
      นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ





     [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า
      เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
      ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ


   [๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆว่า
     เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
     ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ


    [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆว่า
     ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
     พึงมีสังขาร อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
     ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ


   [๕๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆว่า
     ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
     พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯลฯ



อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๗๐๓๒ - ๗๑๑๔.  หน้าที่  ๒๙๗ - ๓๐๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7032&Z=7114&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=526
ขอบคุณภาพจาก http://i708.photobucket.com,http://www.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2012, 12:29:04 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุอนุโมทนากับคำสอบของท่าน nathaponson ครับเป็นประโยชน์มากครับ

ผมใคร่ขอเสริมในมุมมองของผมนิดนึงนะครับ

1. การระลึกถึงนิพพานนั้น ผมมองว่า
              1.1 เป็นไปเพื่อทำให้สภาวะอารมณ์ความรู้สึกใดๆของเรานั้นเกิดความเบื่อหน่าย ไม่พอใจยินดีในขันธ์ทั้ง ๕ ไม่เอามายึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทาน
              1.2 เป็นไปเพื่อเกิดเจตนาแห่งจิตที่จะปฏิบัติเพื่อก้าวล่วงพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ หรือ ให้ทุกข์เบาบางลง
              1.3 เป็นไปเพื่อให้เราได้พิจารณาเห็นถึงความสุขที่แท้จริง ซึ่งเป็นสุขที่ตัดขาดจากความสุขที่ได้จากความสมดั่งใจที่หวังปารถนายินดี สมดั่งใจที่ใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ สมดั่งใจที่ทะยานอยากต้องการทั้งหลาย หรือ สมกับความปรุงแต่งรับรู้นึกคิดใดๆ  กล่าวคือ พบความสุขจริงๆ เป็นความปกติสุขที่ประเสริฐอันปราศจากความรัก-โลภ-โกรธ-หลงใดๆ ซึ่งไม่ใช่ความสุขที่..สุขเมื่อได้ลาภ-สุขเมื่อได้ยศ-สุขเมื่อได้เสพย์สมในกามคุณทั้งหลาย เป็นต้น
             
- แต่ทว่าอย่างเราๆหากไม่ปฏิบัติและศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้พอครูบาอาจรย์กล่าวว่าให้มุ่งตรงต่อพระนิพพานจึงเข้าใจว่าให้ปารถนาตั้งความหวังที่จะไปนิพพานคืออะไร จึงเอามาตั้งเป็นอุปาทานกันไป
- ดั่งในพระสูตรที่ตถาคตตรัสไว้ว่า นิพพานไม่ได้ไปด้วยขันธ์ทั้ง๕ ไม่ได้ใช้รูปขันธ์ไป ไม่ได้ใช้ความอยากไป ไม่ได้ใช้ตัณหาไป เป็นต้น นั่นคือเมื่อพ้นจากขันธ์ทั้ง๕ คือ อุปาทาน-ตัณหา-กิเลสในขันธ์ทั้ง๕ แล้ว จึงไปได้ กล่าวคือ ไปด้วยจิต ใช้ความหลุดพ้นแห่งจิตนั้นไป นั่นเอง

2. การที่อยู่กับปัจจุบันนั้น สิงสิ่งที่ประเสริฐดั่งที่ท่าน nathaponson นำมาโพสท์ตอบ ส่วนเพิ่มเติมในมุมมองของผมคือ ปัจจุบันขณะเป็นไปเพื่อเหตุผมดังนี้ครับ
              2.1 เพื่อให้เกิด สติ สัมปขัญญะ ในปัจจุบันขณะ
              2.2 รู้ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ของตนที่กำลังจะเกิดขึ้นมา-ที่เกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่-ที่ดับไปเป็นสำคัญ เพื่อประครองกาย-ใจ ทรงอารมณ์ทางกายและใจไว้ด้วยความไม่ประมาทเป็นนิจ เพื่อความลดลงหรือหมดไปของความทุกข์ดังนี้คือ
              - ทุกข์จากรูปขันธ์ อันเรามองว่า สวย งาม น่าเกลียด กลัว พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี มองว่ามันมีตัวตนตั้งอยู่ไม่เสื่อมไปจนใครปารถนายินดี
              - ทุกช์จากเวทนาขันธ์อันเราเสพย์เสวยอารมณ์ความพอใจยินดีก็เอามาตั้งอุปาทานว่านี้คิอความสุข พอไม่พอในยินดีก็ว่านี่คือทุกข์ จนเกิดเป็นความต้องการ-ไม่ต้องการไปไม่รู้จบ
              - ทุกข์จากสัญญาขันธ์อันเรามาตั้งเป้นความสำคัญมั่นหมายของใจจนเกิดเป็นอุปาทานสำคัญว่าสิ่งนี้ทำให้เราสุข สิ่งนี้ทำให้เราทุกข์ สิ่งนี้ทำให้เราทุกข์ เมื่อประสบพบเจอเหตุสิ่งใดไป ใจก็ขวานขวายหาสิ่งที่ตนเองสำคัญว่าเป็นสุขไม่รู้จบ
              - ทุกข์จากสังขารขันธ์ อันเราเอาความตรึกนึกปรุงแต่งจิต หรือ ธัมมารมณ์ใดๆมาตั้วงเป้นอารมณ์แล้วปล่อยใจลอยไปกับความปรุงแต่งตรึกนึกนั้น แล้วเกิดเสวยอารมณ์เป็นกิเลสตัณหาทั้งหลายตั้งอุปาทานไปตามธัมมารมณ์นั้นๆ
              - ทุกข์จากวิญญาณขันธ์อันที่ทำให้เรารับรู้อารมณ์ใดๆ(ทางธรรม และ ทางโลก) ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ  แล้วเอามายึดมั่นเป็นอุปาทานด้วยได้รับรู้ในอารมณ์นั้นๆ

ลองพิจารณาดูนะครับทั้ง 2 ข้อไม่ได้ต่างกันเลย เพียงแต่ต่างที่การนำเสนอ การถ่ายทอด และ การทำความเข้าใจเท่านั้น ดังนั้นจะเลือกพิจารณาเช่นไรไม่สำคัญแค่เป็นไปในทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็สุดยอดมากแล้วครับ

ผมเองก็อาจจะเข้าใจหรือมองในมุมมองผิดๆมาอย่างนี้ก็ได้เช่นกัน หากไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ก็ขออภัยด้วยครับ

                 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2012, 02:42:40 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ