ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - komol
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
481  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: บริจาคสร้างหุ่นขี้ผึ้งพระสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:28:05 pm
อนุโมทนาด้วย ครับ
 :25: :25: :25:
482  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมงานเททองหล่อพระ ณ วัดหนองบัวหิ่ง ราชบุรี เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:27:18 pm
ใกล้ถึงวันแล้วนะครับ
เพื่อน ๆ สมาชิกใครอยู่ใกล้ ๆ ก็เชิญไปร่วมด้วยนะครับ

 :25: :25: :25:
483  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญทำบุญกราบไหว้ หลวงพ่อสมปรารถนา วัดโนนสภาราม สระบุรี เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:20:21 pm
คุณ paisalee น่าจะเป็นชาวสระบุรี ใช่ไหมครับ มีข้อมูลในสระบุรี

มากดีครับ

 :25:
484  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: อะไรเอ่ย คนซื้อไม่อยากใช้ คนใช้ไม่ต้องซื้อ ? เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:16:45 pm
เรื่องนี้ เป็นปริศนา คำถามที่ดีครับ

ผมอ่านตอนแรก ก็ยังนึกไม่ออกกับคำถาม

   พอเห็นภาพแล้ว ร้องอ๋อ เลยครับ

 นี่สิครับ ที่เขาว่า คิดไม่ถึง จริง ๆ นะครับ เรื่อง ใกล้ ตัว ใกล้ ใจ

 :25:
485  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมปฏิบัติธรรม วัดท่าพง สระบุรี ได้ทุกวันนะจ๊ะ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:14:51 pm
มีระเบียบปฏิบัติอย่างไร ครับ ที่วัด

  มีแนวกรรมฐาน แบบไหนครับ ...

   :25:
486  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:11:42 pm
เห็นรายชื่อแล้ว อนุโมทนาด้วยครับ
1000 เล่มจะพอแจกหรือครับ

ปิดรับรายชื่อหรือยังครับ
 :25:
487  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระนามของพระพุทธเจ้า เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 08:20:09 am
พระนามของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าในที่นี้หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายหรือพระ พุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนั้นเอง มีคำเรียกกล่าวนามพระพุทธเจ้าของเรามากมาย ซึ่งพอจะนำมาประมวลไว้ได้ ดังต่อไปนี้
๑.พระบรมโพธิสัตว์, พระโพธิสัตว์ หมายถึงท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตา อุเบกขา
๒.อังคีรส หมายถึง มีรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย เป็นพระนามแรก เมื่อพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร กล่าวถึงเมือพินิจจากลักษณะแรกพบเห็น

๓.สิทธัตถกุมาร เป็นพระนามที่พราหมณ์ ๘ คนผู้ทำหน้าที่ถวายพระนามและทำนายลักษณะพระกุมาร ตั้งถวาย “สิทธัตถ” แปลว่า มีความต้องการสำเร็จ หรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์จะต้องการอะไรได้หมด
๔.สิทธัตถะ , เจ้าชายสิทธัตถะ , พระสิทธัตถะ พระนามเดิมของพระพุทธเจ้าก่อนเสด็จออกบรรพชา
๕.พระมหาบุรุษ หมายถึง บุรุษผู้ยิ่งใหญ่เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้
๖.โคดม , โคตมะ , พระโคดม ,พระโคตมะ , พระสมณโคดม, โคดมพระพุทธเจ้า หมายถึง ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรของพระองค์
๗.ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่างคือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น ๗. พรุผู้ทำอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า
๘.ตถาคตโพธิสัทธา หมายถึง เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
๙.ธรรมกาย หมายถึง ผู้มีธรรมในกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของ พระพุทธเจ้า
๑๐.ธรรมราชา คือพระราชาแห่งธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า
๑๑.ธรรมสวามิศร, ธรรมสามิสร คือผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึง พระพุทธเจ้า
๑๒.ธรรมสามี คือ ผู้เป็นเจ้าของธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า
๑๓.ธรรมิศราธิบดี คือ ผู้เป็นอธิปดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรมเป็นคำกวีหมายถึงพระพุทธเจ้า
๑๔.บรมศาสดา, พระบรมศาสดา คือ ศาสดาที่ยอดเยี่ยม พระผู้เป็นครูสูงสุด พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า
๑๕.พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึง พระนามของพระพุทธเจ้า
๑๖. พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม, ท่านผู้รูดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้ว สอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาบ วาจา ใจ
๑๗.พระศาสดา หมายถึงผู้สอนเป็นพระนามเรียกพระพุทธเจ้า
๑๘. พระสมณโคดม เป็นคำที่คนภายนอกนิยมใช้เมื่อกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
๑๙.พระสัมพุทธเจ้า, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า
๒๐. ภควา คือ พระนามของพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงผู้คนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้ คำแปลอีกนัยหนึ่งว่า ทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม
๒๑. มหาสมณะ พระนามหนึ่งสำหรับเรียกสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า
๒๒. โลกนาถ, พระโลกนาถ เป็นที่พึ่งแห่งโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า
๒๓.สยัมภู,พระสัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึง พระพุทธเจ้า
๒๔.สัพพัญญู, พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้หมด,ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ พระนามของพระพุทธเจ้า
๒๕.พระสุคต,พระสุคโต หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า

ขอบคุณภาพประกอบ
http://www.tourguide.joomkoshop.com/index.php?option=com_content&view=article&id=381:-gg-&catid=42:general-gallery&Itemid=64
488  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ความทุกข์ ของคนอ่างทอง ยังมีอยู่ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 08:16:33 am
ตอนนี้ ทั้งโรงเรียน ที่เด็กไม่ได้เรียน

ชมวีดีโอ
http://video.nationchannel.com/data/11/2010/11/11/j65696BAAebhkh667bd88.flv

 :smiley_confused1:

ที่มา

http://76.nationchannel.com/playvideo.php?id=121457
489  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ดีในชั่ว ( คำกลอนธรรมะ ) เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 08:07:10 am


ดีในชั่ว

*ส่วนที่ดี มีซ่อน อยู่ในชั่ว

  ซึ่งสอนให้ เต็มตัว ไม่ยั้งท่า

  มันสอนอย่าง เจ็บช้ำ เป็นธรรมดา

  แต่มันสอน ลึกกว่า เมื่อได้ดี

*ชั่วมันสอน มากกว่า หรือจริงกว่า

  มันสอนได้ ดีกว่า ความสุขศรี

  สอนดีกว่า ให้กลับตน จนถูกวิธี

  เกลียดกลัวชั่ว กว่าก่อนนี้ ดีอย่างจริง

*ให้ศรัทธา วิ่งหา พระศาสนา

  เรียนสิกขา ภาวนา เป็นอย่างยิ่ง

  สัตว์นรก หมกอยู่ ยังรู้ติง

  ตัวของตัว เพราะชั่วสิง สอนรุนแรง ฯ

ชั่วในดี

*ส่วนที่ชั่ว มีกลั้ว อยู่ในดี

คือดีมี เลศยั่ว ให้มัวหลง

ไม่ค่อยสอน ไม่ค่อยเตือน อาจเฟือนลง

สอนไม่ลึก สอนไม่ตรง จึ่งหลงดี

*ยั่วให้หลง ในดี-ดี เป็นผีบ้า

ไม่นานหนอ ต่อมา ก็สิ้นศรี

ดีมันสอน ไม่ค่อยจะ ถูกวิธี

ยึดมั่น “ดี” แล้วยิ่งยาก จะจากวาง

*ยิ่งมีดี ก็ยิ่งมี คนรบกวน

หลายกระบวน หลายวิธี ไม่มีสร่าง

พวกริษยา ก็หาช่อง จ้องจิตล้าง

มองดูบ้าง ชั่วในดี มีอยู่เน้อ ฯ
490  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เผื่อจะชอบ ธรรมะ ธรรมโม ( การ์ตูน ) เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 08:05:30 am







491  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ความสุข ๒ ชั้น : โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 08:00:12 am
ธรรมะสำหรับคนทำงาน

ความสุข ๒ ชั้น : โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย

    เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า
    ช้า ก็หาว่าอืดอาด
    โง่ ก็ถูกตวาด
    พอฉลาด ก็ถูกระแวง
    ทำก่อน บอกไม่ได้สั่ง
    ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด
    เฮ้อ นี่แหละชีวิตคนทำงาน


ข้างต้น น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน  ซึ่งจากการได้พูดคุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่าง ไม่มีความสุขก็มีปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ โดนหัวหน้างานกดขี่ หรือรู้สึกว่าหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายนั้นต่ำต้อย ฯลฯ

โดยจะ ว่าไปแล้ว บริษัทก็เหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา บางคนใช้ชีวิตในบริษัทมากกว่าที่บ้านซะอีก เพราะต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ กลับถึงบ้านก็ ๒-๓ ทุ่ม วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง หากต้องใช้ชีวิตในการทำงาน (รวมนั่งรถไป-กลับ) วันละ ๑๐ กว่าชั่วโมงแล้ว ถ้าโยมไม่มีความสุขกับงานที่ทำ จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ

อาตมาชอบใจคุณยามที่บริษัทแห่งหนึ่งมาก เคยถามเขาว่า ไม่เบื่อเหรอ เปิดประตูทั้งวัน เขาตอบกลับอย่างฉะฉานว่า

    ไม่ เบื่อหรอกครับท่าน เพราะคนจะเข้าไปที่นี่ได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เปิดประตู ไม่อนุญาตหรือบอกไม่ให้เข้า เขาก็ไม่ได้เข้านะ อย่างพระอาจารย์มาบรรยายที่นี่ ผมไม่ให้เข้าก็ได้ … แต่ผมให้เข้าครับ ( แล้วไป)

อาตมา จึงไม่แปลกใจเลย เวลาไปทำธุระที่บริษัทนี้ทีไร มักเห็นเจ้าหมอนี่ ทำหน้าที่ตัวเองอย่างกระตือรือร้น ก็เพราะเขามีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ เห็นความสำคัญของตัวเอง จึงทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข (แถมมีมุขอำกลับอาตมาอีกต่างหาก)

ดังนั้นอาตมาจึงอยากจะหนุนใจญาติโยมที่กำลังรู้สึกย่ำแย่กับงานของตัวเองว่า

    ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน
    ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย
    ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน
    ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด
    ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน
    ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง
    ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน
    ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ


เพราะ หลายคนพอไม่มีงานให้ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน ! ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้ ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด เหมือนดั่งคุณยามที่อาตมายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น

อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ประยุตฺโต) ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า

    งาน มีผลตอบแทนสองชั้นด้วยกัน ผลตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง  หนึ่งเดือน คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย

เจริญพร…
492  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ลูกสาวของดิฉันเป็นโรคสมาธิสั้น จึงอยากเรียนถามพระคุณเจ้าค่ะว่า เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010, 10:55:48 pm
จาก จิตเวช รามาธิบดี

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์

add ย่อมาจากคำว่า attention deficit disorder หมายถึงโรคสมาธิสั้น

ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฎ ได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิด ร่วมกับ ความผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น learning disabilities หรือปัญหา ทางอารมณ์ ราวกับว่า ปัญหาของ ADD เปลี่ยนตาม สภาพอากาศ ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมี ปรากฎ ในหนังสือ มากมาย แต่ก็ยังคง เป็นงานยาก และหนัก กับผู้ปฏิบัติเสมอ
ไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับ การแก้ปัญหา ของ ADD ในห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จ ของการรักษา ในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอ ของครู และโรงเรียน เป็นอย่างมาก
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดบางประการในการช่วย เด็ก ADD ในโรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กได้ ในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบ, การให้ความรู้ และการชักจูงสนับสนุน ยังคงเป็น แนวคิดหลักเสมอ

1) ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน การมองเห็น
2) หาผู้สนับสนุนท่านคือโรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คนก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย
3) จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD
4) ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัว เด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คือ อะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก
5) ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุม ตน เองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วย เด็ก ADD ที่หลงออกไปกลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน
6) อย่าลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไป กับการเรียนเสมอ
7) ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง
8) ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง
9) พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดว่อกแว่ก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอน เด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่
10) ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด
11) ให้ขอบเขตและข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงที และง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล
12) ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ
13) พยายามให้เด็กจัดตารางเวลา หลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผลัดผ่อน
14) พยายามลดการทดสอบย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ ได้
15) ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้ แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง
16) ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็ก ADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้ เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้
17) ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก
18) ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADD ได้ เด็ก ADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า “ฉันไม่มีทางทำได้” แต่หากย่อยงานใหญ่มากๆ จะ เป็นงานย่อยๆที่เขารู้สึกทำได้ จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้ มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำ จะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วย ให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่ในเด็กโต ความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ
19) ทำตัวในรื่นเริง ง่ายๆมีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่เรื่อยๆเพื่อทำให้เด็กกระตือรือร้น และคง ความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ รวมทั้งกฎเกณฑ์ ตาราง รายการ และครูที่น่าเบื่อ ควรแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ จงลองทำตัว สนุกๆเป็นครั้งคราว จะช่วยได้มาก
20) ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟมีโอกาสเดือดล้นได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล
21) หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคน ให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจ เหมือน ให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเอง ให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ
22) เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น การย่อ ทำรหัส ผูกเป็น โคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก
23) สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ ขณะกำลังเรียน อยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุกกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มทีหลัง
24) บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัก เรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป เหมือนช่วยเติมกาวให้ความจำ
25) ใช้คำสั่งง่ายๆ ให้ทางเลือกง่ายๆ ให้ตารางง่ายๆ ยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือน มีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ
26) เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรร เช่น “เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” “ถ้าให้ลองพูดอีกครั้งหนู จะพูดใหม่ว่าอะไร” “ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้น” คำถามเหล่านี้จะ ช่วยให้เขาสังเกตตนเองเป็น
27) ทำสิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน
28) การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก ADD ตอบสนองดีกับ การให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย
29) ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทาง, น้ำเสียง, หรือกาลเทศะ ได้จาก ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคม ได้ง่ายขึ้น เช่น สอน “ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน” “มอง หน้าคนอื่นด้วยในเวลาพูด” เด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้า สังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้
30) สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก
31) ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก
32) แยกเด็ก ADD ออกจากกัน ไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง
33) ให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ใน ภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่ว่อกแว่ก
34) มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้
35) ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ
36) ลองทำรายงานประจำวัน
37) ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน
38) จัดเวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพักโดย เด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป
39) พึงชมเชย ให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ
40) สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
41) ลายมือเด็กเหล่านี้ อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง
42) ทำตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่ง เวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ
43) จัด “คู่หู” เพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้
44) ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก
45) พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา
46) ให้อ่านออกเสียงที่บ้าน และในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่านนิทาน จะช่วยให้เด็กมี ทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องๆเดียวได้
47) พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ
48) การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วย ทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็น ประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป
49) สำหรับเด็กโต ช่วยเด็กเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร
50) มองหาส่วนดีที่ปรากฎขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรร ขี้เล่น และเป็นกันเอง เขาพยายามจะ “กลับ” มาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ

http://www.thaihealth.net/h/article477.html
493  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: อะไรคือความแตกต่าง ของ สองสิ่งที่เหมือนกัน เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:43:31 pm
เรื่องนี้ นำเสนอชื่อเรื่อง ความแตกต่าง ของพระสงฆ์ ดีไหมครับ เข้าใจง่ายหน่อยนะครับ

 :25:
494  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: อัญเชิญคัมภีร์พุทธ เก่าแก่กว่า2,500 ปี เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:40:45 pm
คุณ หมวยจ้า พูดถูก คนชวนเจตนาจะชวนไปอย่างไร อยู่ตรงไหนของประเทศไทยครับ

หรือ จะได้นัดกันถูกครับ ผมเองก็อยุ่ กทม. ครับ จะนัดไปพบกันตรงไหนดีครับ

 :25:
495  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ช่างไม่มีเมตตาเอาเสียเลย เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:39:07 pm
อ่านเรื่อง เซ็น แล้ว ปวดหมอง เพราะต้องใช้ปัญญาแบบ อิกคิวซัง

ทำไม ธรรมะ บอกกันตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องมีอุบาย เล่ห์ มีเหลี่ยม ได้หรือป่าวหนา

 :25:
496  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: สุดยอดวิทยายุทธ ทีแย่งชิงกันถึง 1000 ปี ปรากฏแล้วตามแผงหนังสือ เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:37:04 pm
น่าจะมีฉบับ ภาษาไทย บ้างนะครับ จะได้อุดหนุน สักหน่อย

 :25:
497  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมงานเททองหล่อพระ ณ วัดหนองบัวหิ่ง ราชบุรี เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:35:59 pm
น่าสนใจมาก ครับอยากไปเที่ยว ราชบุรี สักครั้ง ครับ

อนุโมทนาในข่าวการกุศลครั้งนี้ด้วยครับ

 :25:
498  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เวลานั่งกรรมฐาน ทำไมรู้สึก ร้อนทั้งตัวเลยครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:34:38 pm
ในการเดิน ฐานจิต ที่ 2 นั้นทำไมรู้สึกว่า ตัวร้อนทั้งตัว มีความรู้สึกกดดันมาก ๆ ครับ

เหมือนจะเวียนหัว ตัวโงก รุ่มร้อนภายใน ครับ

ต้องแก้อย่างไร ครับ

 :25:
499  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เกี่ยวกับ เรื่อง ของ ภวังค์ คร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 09:32:51 pm
พึ่งจะเข้าใจวันนี้ว่า เดี๋ยวนี้ทำไมผมไม่มีอาการวูบ นึกว่า กรรมฐานเสื่อม

ขอบคุณ คำแนะนำของพระอาจารย์ มากครับ
:25:
500  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปรามาสภิกษุ กรรมที่ต้องระมัดระวัง เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 11:32:09 pm
อนุโมทนา กับเรื่องนี้ด้วยครับ

 :25:
501  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใกล้ เกลือ กิน ด่าง ภาษิตบ้านเราเองครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 11:26:49 pm
        ผมเอง เป็นนักภาวนามาหลายปีครับ ตั้งแต่เรียนอยู่ มหาลัย อยู่ชมรมพุทธศาสน์ และก็แสวงหาอาจารย์ผู้

สอนแนะนำกรรมฐาน วิปัสสนา มาตลอด จนรู้จักครูอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ขนาดบีบนวด ให้เลยครับก็

หลายรูปหลายองค์ ปัจจุบันอายุผมก็ใกล้เกษียณงานแล้วครับ ไม่เกิน 2 - 3 ปีนี้

        แต่มีอยู่วันหนึ่ง ผมได้ฟังธรรมะ และ ปฏิบัติกรรมฐานตาม พระรูปหนึ่ง ที่ท่านก็ตั้งใจสอนแล้ว ผม

ก็ภาวนาตามที่ท่านสอน ก็เป็นเรื่องอัศจรรย์ว่า ปกติผมไม่เคยนั่งกรรมฐานได้ถึง 3 ชั่วโมง แต่วันนั้นผมสามารถ

นั่งกรรมฐานได้ 3 ชั่วโมงกว่า ๆ โดยที่มีความรู้สึกเหมือน นั่งแค่ 30 นาทีจริง ๆ ซึ่งในใจ ก็ดีใจลึก ๆ และเก็บ

ความศรัทธา ท่านไว้ในใจ แต่ก็แสดงออกแบบรักษาฟอร์มว่าเราก็มีอาจารย์ที่เด็ดกว่า ทำได้ดีกว่า ทั้ง ๆ ที่ในชีวิต

ผมนั้นยังไม่เคยทำได้แบบในครั้งนี้ ( นี่กิเลสมันบอกให้หลอกตัวเอง ) จนกระทั่งวันนี้ ผมก็คิดถึง ครูอาจารย์รูป

นี้และก็ตามหาท่าน ผมอยากจะบอกว่า ผมผิดไปแล้ว ที่ประมาทไม่สนใจในขณะนั้นทั้ง ๆ ที่ทำได้ปฏิบัติได้เพราะ

ความที่เรียนมาก และเชื่อยาก จนวันนี้ผมยังไม่พบท่านเลย ที่จริงจะบอกเพื่อน ๆ ทั้งหลายก็คือ พวกเราประมาท

มัวแสวง ครูอาจารย์ กันมาก มัวตามหาสิ่งที่อยู่ภายนอก ไม่ได้มองแก่นธรรมในหัวใจตนเอง ว่าเราต้องการอะไร

มองไปตามสังคมว่า ผู้ที่จะสอนเราต้องมีชื่อเสียง ต้องเป็นคณาจารย์ใหญ่ ต้องเป็นผู้ที่มีคนนับถือมาก ๆ ต้องเป็น

ผู้มีวัยวุฒิมากกว่าเรา เราแสวงกันไปเรื่อยเฉื่อยจนเป็นนิสัย และก็ลืม "หัวใจ" ตนเองว่า ต้องการอะไรกับการ

ภาวนาธรรม เพราะมัวแต่เรียนตามสังคมว่า จึงมองข้ามพระที่เป็นเนื้อนาบุญกันจริง ๆ ทุกวันนี้เราสนับสนุนอะไร

พระที่เป็นเนื้อนาบุญจริง ๆ เราเพียงแต่เอาตามสังคมว่า และเราก็จะไม่สามารถเข้าถึงหลักธรรมในใจของตนได้

และวันนี้เราไม่ก็ยังประมาท ด้วยการไม่เรียนธรรมกับท่านที่อยู่ใกล้ ไม่ภาวนาตามที่ท่านสั่ง และยังเที่ยวแสวงหา

ต่อไป สมกับคำพังเพยสุภาษิตไทยที่ว่า ใกล้เกลือ กินด่าง

 
502  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไม ต้องแบ่งสายในการปฏิบัติ เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 10:59:24 pm
ทำไมต้องแบ่งสายในการปฏิบัติ ?

คำถามนี้ บางทีผมก็มึนเหมือนกันครับ เวลาไปสนทนาธรรม เพื่อแนะนำกรรมฐาน

ก็จะมีผู้ทะลุกลางปล้อง ขึ้นมาว่า "ทำไมต้องแบ่งสายในการปฏิบัติ ? พระพุทธเจ้าไม่เคยแบ่งสาย "

นั่นสินะ แล้วจะแบ่งกันทำไม โดยเฉพาะผู้ถามก็พยายามจะเพ่งโทษ ว่า กรรมฐานนั้น ไม่มีสายการปฏิบัติ

เพราะบอกว่าแบ่ง ก็คือ อนันตริยกรรม ( ว่าไปโน่นเลย ) เป็นการยังสงฆ์ ให้แยกแตกจากกัน ไม่เป็นที่สิ้นสุด

แห่งกิเลส ( ฟังแล้วก็ดูดี ) สุดท้ายคนที่พูดแบบนี้ ก็จะพูดถึง ครูบาอาจารย์ของตนว่าเลิศ มองเห็นภาพรวมของ

ศาสนา ไม่แบ่งแยก ไม่มีสาย เพราะเป็นของพระพุทธเจ้าล้วน ๆ แล้วก็ยื่นหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า ตัวกู ของกู

ให้ผม แล้วบอกว่าไปอ่านซะ จะได้เข้าใจ ไม่หลงงมงาย กับสิ่งที่ไร้สาระ

   ผมก็เลยกลับมาอ่านหนังสือ จนจบไปหนึ่งรอบ และ สองรอบ และ สามรอบ ทบทวนอยู่หลายครั้ง ก็ยัง

ตอบปัญหา ว่ามันเกี่ยวอะไรกับเรื่อง การแนะนำกรรมฐานกันด้วย เพราะก็เพียงแต่กรรมฐาน ครูอาจารย์ที่สอน

เรียกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ในเนื้อหาก็เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอน แม้ในพระไตรปิฏก

ก็มีหลักฐาน แล้วเราแบ่งสายตรงไหน เพียงแต่เรียก ตามที่ครูอาจารย์เราสอน ก็เท่านั้น

   ทุกวันนี้ ก็ยัง งง กับผู้ภาวนาส่วนใหญ่ จริง ๆ แล้วต้องการอะไร ?

   ได้ผลการภาวนา อย่างไร ?

   เห็นตามเป็นจริง แล้วอย่างไร ?

   นั่นสินะ แล้วเราแบ่งสายกัน หรือ ป่าว พี่น้องชาว กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ช่วยตอบหน่อยสิครับ

    :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
503  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จะทราบอย่างไร เพราะสงสัยอยู่ว่า กรรมฐาน รักษาโรคได้จริงหรือ? เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 10:48:04 pm
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง ในแนวกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=117.0
504  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ภาพปริศนาธรรม ที่สวนโมกข ภาพหนึ่ง เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 10:39:40 pm
ผมไม่ถนัดในการดูภาพปริศนา แต่อยากบอกว่า

ทุกสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ ดับเหตุได้ ผลก็ดับไปด้วย

เร่งดับเหตุกันเถิด พี่น้อง

ขอยินดีในกุศลจิตของหมวยนีย์

น่าสนใจ ครับ วิธีดับเหตุ ทำอย่างไรครับ

 :25:
505  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เชื่อหรือ ไม่ กับคนที่บอกว่า มี สัมผัสพิเศษ เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 10:37:12 pm
มีผู้มีญาณทิพย์คนหนึ่งบอกว่า

คุณมีอิทธิฤทธิ์ ส่วนผมมีบุญฤทธิ์

ฤทธิ์สองอย่างนี้ เกิดได้อย่างไร ต่างกันหรือไม่

สหธรรมิกทุกท่าน ช่วยวิจารณ์กันหน่อยครับ

คำว่า อิทธิ นั้นแปลว่า ฤทธิ์ อยู่แล้ว

  ส่วน บุญญฤทธิ์ นั้น ก็เป็นหนึ่งใน อิทธิ ตามที่พระอาจารย์โพสต์ดอบไว้ในเรื่อง อิทธิกถา

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1607.0

 ที่นี้ ถ้าจะหมายถึง อิทธิฤทธิ์ อันเกิดแต่ การบำเพ็ญจิต ประการเดียว ก็ไม่ถูก เพราะ บุญญฤทธิ์ นั้นเป็นหนึ่ง

ใน อิทธิฤทธิ์ และเรื่อง อิทธิ นี้เป็นเรื่องรู้ไว้ก็เพื่ออนุโมทนา ไม่ใช่เรื่อง หลงใหล ใน ปัพพชิตปัจจเวกขณ

ข้อที่ 10 ของพระ ก็มีการกล่าวเรื่องนี้ไว้ว่า

อัตถิ  นุโข  เม  อุตตะริมะนุสสะธัมมา   อะละมะริยะญาณะทัสสะนะ
วิเสโส   อะธิคะโต    โส  หัง  ปัจฉิเมกาเล  สะพรหมะจารีหิ  ปุฏโฐ  นะมังกุ  ภะวิสสามีติ   
ปัพพะชิเตนะ  อะภิณหัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง       
    บรรพชิตพึงพิจารณาโดยแจ่มชัด  อยู่เนืองนิจว่า    ญาณทัศนะ
    อันวิเศษควรแก่พระอริยเจ้า    อันยิ่งกว่าวิสัยธรรมดาของมนุษย์             
    ที่เราได้บรรลุแล้ว   เพื่อเราจะไม่เป็นผู้เก้อเขิน    เมื่อถูกเพื่อน
    พรหมจารีด้วยกัน  ถามในภายหลังว่า  มีอยู่แก่เราหรือไม่ ดังนี้

  เพราะว่า ฤทธิ์ของพระอริยะ จากที่พระอาจารย์โพสต์ไว้นั้น เป็นเรื่องหลักในศาสนา
รายละเอียดที่พระอาจารย์ โพสต์ไว้

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1607.msg6490#msg6490

สรุป ในความหมายแล้ว บุญญฤทธิ์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ อิทธิฤทธิ์

  เรื่องของ ฤทธิ์ พึงอนุโมทนา แต่ไม่พึง หลงใหล

506  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 09:04:43 am
ลำดับการสืบทอด
 

           ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พร้อมคณะพระสงฆ์ปัญจวรรค เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบันนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๖–๒๗๐ ปี พระสงฆ์ได้สืบทอด พระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย กันเรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้าน เรียกว่า พระสงฆ์คามวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่า เรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี ต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฏิบัติควบคู่กันไป ไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษา ว่าจะศึกษาทางไหนก่อน ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติ ในยุคต่างๆ

        ยุคศรีทวาราวดี สำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่คือ วัดแสนท้าวโคตร เมืองศรีทวาราวดี มีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางของพระกัมมัฏฐานในยุคอาณาจักรศรีทวาราวดี สำนักเล็ก คือ วัดพญาราม เมืองศรีทวาราวดี วัดสุวรรณาราม เมืองศรีทวาราวดี ฯ

      ยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร)

       ยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่คือ วัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถร เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกัมมัฏฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัย, สำนักพระกัมมัฏฐานเล็กในยุคสุโขทัยเช่น วัดป่ารัตนา พระครูญาณไตรโลกเป็น เจ้าสำนัก วัดสุทธาวาส พระครูญาณสิทธิ เป็นเจ้าสำนักฯ

      ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

      ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้ว หรือเรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท เป็นสำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ พระพนรัตน เป็นพระอาจารย์ใหญ่ เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกัมมัฏฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยา มีสำนักพระกัมมัฏฐานเล็กๆสิบกว่าวัด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถร เป็นเจ้าสำนัก ๑วัดโบสถ์ราชเดชะ พระพุฒาจารย์ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดโรงธรรม พระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎ พระอุบาลี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดเจ้ามอน พระญาณโพธิ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดประดู่ พระธรรมโกษา เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎีดาว พระเทพมุนี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดสมณะโกฎ พระเทพโมฬี เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติ เป็นเจ้าสำนัก๑ ฯ นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกัมมัฏฐานมาก เปรียบเทียบได้ว่ามี มหาวิทยาลัยพระกัมมัฏฐานทางพระพุทธศาสนามาก

       ยุคอยุธยา พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ พระพนรัต(รอด) หรือ หลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี

         ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ ๑วัด คือวัดราชสิทธาราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เป็นเจ้าสำนัก เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ วัดราชสิทธารามจึงเป็นศูนย์กลางของกัมมัฏฐาน ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ มีสำนักเล็กคือ วัดราชาธิวาส พระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) เป็นเจ้าสำนัก

       ยุครัตนโกสินทร์ พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน จึงนับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ มีมหาวิทยาลัยพระกัมมัฏฐาน ทางพระพุทธศาสนาเพียง ๒ แห่ง สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้น เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณะภาพลงแล้ว พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ก็ค่อยๆเสื่อมลง ปัจจุบันหมดไปแล้ว เพราะอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า(ฝั่งกรุงเทพฯ) ความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็ว และไม่มีการบำรุงรักษาไว้ ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ)เพียงวัดเดียว ที่รักษาความเป็นสำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ สำนักพระกัมมัฏฐานหลัก มัชฌิมา แบบลำดับ แทนวัดแสนท้าวโกฐ ยุคทวาราวดี แทนวัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว ยุคสุโขทัย แทนวัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ไว้ได้ยาวนานที่สุด ซึ่งแต่ละยุคศึกษาพระกัมมัฏฐาน แบบเดียวกัน จนกระทั้งถึงบัดนี้ โดยมีพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายพระกัมมัฏฐานสืบทอดโดยไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะมาถึง ๑๒ รุ่น บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เสื่อมลงบ้าง ตามหลักพระไตรลักษณ์ พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ นำสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา สู่ กรุง รัตนโกสินทร์ โดยการนำมาของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เห็นว่าพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่าดั่งเดิม กำลังจะแตกกระจาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการจะเกิดเป็นสายต่างๆขึ้นมา การศึกษาพระกัมมัฏฐานภาคปฏิบัติจะไม่เป็นระเบียบแบบแผนเหมือนแต่ก่อน ว่า พระกัมมัฏฐานไหน ควรเรียนก่อนเรียนหลัง

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการชุมนุมพระสงฆ์สมถะ-วิปัสสนา ทั้งนอกกรุงในกรุง ทำการสังคายนาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อรักษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มิให้แตกกระจาย สูญหาย ทำให้เป็นปึกแผ่นเหมือนแต่ก่อน โดยสังคายนาพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เป็นองค์ประธานสังคายนาฝ่ายสงฆ์ เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว ทรงแต่งตั้งพระสงฆ์ไปเป็นพระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้

พระกัมมัฏฐานนั้นมี ๒ อย่าง

๑. พระกัมมัฏฐานภาคปริยัติ คือ พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค

๒.พระกัมมัฏฐานภาคปฏิบัติคือ พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบทอดโดยการปฎิบัติ และจำสืบๆต่อกันมา โดยไม่ขาดสาย เพื่อป้องกันอุปาทาน และทางเดินของจิตเสีย เมื่อเรียนภาคปฏิบัติแล้ว จึงเรียนพระกัมมัฏฐานภาคปริยัติ คือการอ่าน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อเอาความรู้ทางจิต ออกมาทางคำพูด เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง และอธิบายได้ใจความ

507  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 09:02:13 am


พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ     ชื่อว่า    พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก    กู้ชาติ     พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน     ให้เป็น    พุทธบูชา
แด่พระศาสนา  สมณะ  พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง   คงถ้วน   ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี   ปฏิบัติ   ให้พอสม
เจริญสมถะ   วิปัสสนา   พ่อชื่นชม
ถวายบังคม   รอยบาท   พระศาสดา

คิดถึงพ่อ   พ่ออยู่   คู่กับเจ้า
ชาติของเรา   คงอยู่   คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา   อยู่ยง   คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา   ฝากไว้   ให้คู่กัน ฯ

(จากจารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม)



อาณาเขตของสยามรัฐประเทศแคว้นเขตต์ขันธพัทธะสีมา แต่ครั้งกรุงศรีอโยธเรศมไหสวรรค์บุรีรัตน์ สมัยพระเจ้าตาก

ที่มา fwd mail

และเว็บ

http://tevisho.com/index.php?option=com_content&view=article&id=109&Itemid=362
508  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: พระ มงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 08:55:08 am
ประวัติและผลงานของ พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม)

    พระมงคลเทพมุนี มีนามเดิมว่า เอี่ยม ฉายาว่า เกสรภิกขุ เป็นสกุล
พราหมณ์ ชาติภูมิ อยู่ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อ
เกษ มารดาชื่อส้ม เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๑๐ค่ำ
ปี จอ จุลศักราช ๑๒๐๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๘๑

    ปีพระพุทธศักราช ๒๓๙๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๔  เมื่ออายุ ได้ ๑๕ ปี
ได้เป็นศิษย์พระญาณสังวร (บุญ) อยู่ที่วัดราชสิทธาราม   ปีพระพุทธศักราช
๒๓๙๘ อายุ ๑๗ ปี บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักพระปลัดอ่อน  วัดราชสิทธา
ราม  ศึกษาอักขระสมัย และเรียนพระปริยัติธรรมบาลีมูลกัจจายน์ ในสำนัก
มหาดวง วัดราชสิทธาราม 

    ครั้นถึง ปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๒ อายุครบอุปสมบท  ได้อุปสมบท
ณ วัดราชสิทธาราม พระวินัยรักขิต วัดหงส์รัตนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์  พระ
อมรเมธาจารย์ (ทัด) วัดราชสิทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระ
สังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)  วัดราชสิทธาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์  อุปสมบท
แล้ว  ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระ  ในสำนักพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)

    ต่อมาพรรษาที่ ๑๔ ได้ออกสัญจรจาริกถือธุดงค์ ไปตามจังหวัด
ภาคเหนือ โดยตามพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) ไปบ้าง บางที่ก็ไปเองบ้าง และ
เคยแรมพรรษาที่วัดดอยท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ สองพรรษา

    กลับมาแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น พระฐานานุกรมที่พระใบฏีกา ว่าที่
ฐานานุกรมชั้นที่ ๓ ของพระสังวรานุวงเถร (เมฆ)  ต่อมาพรรษาที่ ๑๙ ได้เป็น
พระปลัด ว่าที่ฐานานุกรมชั้นที่ ๑ ของพระสุทธิศีลาจารย์ วัดราชสิทธาราม 

    ปีที่ท่านเป็น พระปลัด นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรม
พระยาบำราบปรปักษ์ มีพระประสงค์  ให้พระมงคลเทพมุนี ครั้งเป็นที่ พระปลัด
เอี่ยม ช่วยแต่งลิลิตมหาราช ท่านก็แต่งถวายจนสำเร็จ การแต่งในครั้งนั้นมีผู้อื่น
ช่วยบ้างเล็กน้อย   ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบ
ปรปักษ์ ได้นำหนังสือที่ท่านแต่งเสร็จแล้ว ไปไว้ในหอพระสมุดวชิรญาณ


    ถวายเทศน์หน้าพระที่นั่ง  รัชกาลที่ ๕

    ต่อมาได้ถวายเทศน์ กัณฑ์วนประเวศ หน้าพระที่นั่ง รัชกาลที่ ๕ จึง
ทรงแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นพิเศษที่ พระครูพจนโกศล

   
    เป็นทั้งนักกวี  นักเทศน์มหาชาติ  และพระกรรมฐาน

    พระครูพจนโกศล ท่านเป็นทั้งนักกวี เป็นทั้งนักเทศมหาชาติฝีปาก
เอก เป็นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กรมพระยาดำรง ได้เขียนเล่า
ประวัติ พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ของ
พระมงคลเทพมุนี  (เอี่ยม)  เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ว่า


     "กระบวนเทศน์มหาชาติ ของพระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ดูเหมือน
จะเทศน์ได้ทุกกัณฑ์  แต่กัณฑ์วนประเวศ นั้นนับว่า ไม่มีตัวที่จะเสมอ ท่านได้เคยถวายเทศน์นั้นประจำตัว มาตั้งแต่ข้าพเจ้า (กรมพระยาดำรง) ยังเด็ก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  ก็ทรงโปรด แต่ทรงมี
พระราชดำรัสติ อยู่คราวหนึ่ง ว่า...

    “พระครูเอี่ยม (พระครูพจนโกศล) เทศน์ก็ดี แต่อย่างไรดูเหมือน
อมก้อนอิฐไว้ในปาก”  ต่อมา เมื่อท่านได้เป็น พระมงคลเทพมุนี ฟันหักหมด
ปากแล้ว ได้ถวายเทศน์อีกครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ ๕ ทรงดำรัสชมว่า “ตั้งแต่
ก้อนอิฐหลุดออกจากปากหมด พระมงคลเทพฯ เทศน์เพราะขึ้นมาก”
ท่าน นับอยู่ในพระราชาคณะที่ทรงพระเมตตาองค์หนึ่ง คู่กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม  พระสังวรานุวงศ์เถร คนทั้งหลายเรียกว่า พระปลัด
เอี่ยมใหญ่ (สมัยท่านเป็น พระปลัด)  พระมงคลเทพมุนี คนทั้งหลายเรียกว่า
พระปลัดเอี่ยมเล็ก (สมัยท่านเป็น พระปลัด)


    ถึงปีเถาะ พระพุทธศักราช ๒๔๓๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ เลื่อนสมณศักดิ์
จากพระครูพจนโกศล เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระสุธรรมธีรคุณ ได้รับพระ
ราชทานนิตยภัต  เดือนละ ๑๒ บาท


    เลื่อนจาก พระสุธรรมธีรคุณ เป็น พระมงคลเทพมุนี

    วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๓๔ เลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระ
มงคลเทพมุนี  สมณศักดิ์เสมอชั้นเทพ มีสำเนาประกาศดังนี้  ให้เลื่อน พระ
สุธรรมธีรคุณเป็น พระมงคลเทพมุนี ศรีรัตนไพรวัน ปรันตประเทศ เขตอรัญ
วาสีบพิตร สถิตย์ ณ พระพุทธบาท เมืองปรันตะปะ บังคมคณะพระพุทธบาท
มีนิตยภัตร ราคา ๓ ตำลึงกึ่ง มีฐานานุศักดิ์ ควรตั้งได้ ๕ รูป คือพระครูปลัด ๑
พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฏีกา ๑ รวม ๕ รูป
มีตำแหน่งพระครูผู้ช่วย ๓ รูป  คือ

    ๑. พระครูพุทธบาล      พระครูรักษาพระพุทธบาท
    ๒. พระครูมงคลวิจารย์ พระครูรักษาพระพุทธบาท
    ๓. พระครูญาณมุนี      พระครูรักษาพระพุทธบาท


    ปีพระพุทธศักราช  ๒๔๕๗  เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม

    พระ มงคลเทพมุนี (เอี่ยม) ได้เป็นผู้ช่วยพระพุฒาจารย์ (มา)
วัดจักรวรรดิ์ ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๖ รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
(พลับ)   ต่อมาปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม
(พลับ)

    ด้านการศึกษา พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) เป็นพระอาจารย์ใหญ่
ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ด้านการศึกษา พระปริยัติธรรม พระมหาสอน เป็นพระอาจารย์
ใหญ่  วันพฤหัสบดี ที่ ๗ กันยายน ๒๔๕๗ จึงขอลาออกจากเจ้าคณะพระ
พุทธบาท และเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เพราะชราทุพพลภาพ จึงถวาย
พระพร ขอลาออกจากหน้าที่

    ต่อพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (สิ้นรัชกาลที่ ๕ แล้ว)
ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ประมาณ สามเดือนเศษ

    พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณภาพ
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ คำนวนอายุได้ ๘๕ ปี พระ
ราชทานเพลิงศพเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๖


    ผลงานของ พระมงคลเทพมุนี

    ผลงาน ของพระมงคลเทพมุนี คิดทำนองหลวงสวดพระอภิธรรม ๑
เป็นนักเทศมหาชาติฝีปากเอก ๑   เป็นกวีแต่งลิลิตมหาราชครั้งเป็น พระปลัด
เอี่ยม ๑


ที่มา  :  ที่มา : 
http://www.somdechsuk.com/index.php?option=com
_content&task=view&id=53 -

ขอขอบคุณ

      จึงนับว่า  พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธา
ราม  บางกอกใหญ่  ซึ่งได้เคยถวายการเทศน์หน้าพระที่นั่งถึง  ๒ ครั้ง  ถือว่า
ท่านเป็นสุดยอดนักเทศน์มหาชาติฝีปากเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์   สมควรได้
รับการบันทึกและยกย่องเชิดชูท่านองค์หนึ่งแห่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้

ที่มาหลัก

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=623324
509  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระ มงคลเทพมุนี (เอี่ยม) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 08:53:34 am



    ในกระบวนเทศน์มหาชาติซึ่งมีมาช้านานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุง
ศรีอยุธยาเป็นต้นมา  และตกทอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นั้น

    พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม)  อดีตเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม 
บางกอกใหญ่  ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์  พระครูพจนโกศล (เอี่ยม) นั้น
ถือว่า  ท่านเป็นสุดยอดนักเทศน์มหาชาติฝีปากเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     ก่อนอื่น ควรมาทำความรู้จักกับประวัติการเทศน์มหาชาติ และ
ประวัติและผลงานของท่าน  พอสังเขป ดังนี้ 


ประวัติการเทศน์มหาชาติ

    ในเรื่องพระมาลัยคำหลวงซึ่งเป็นพระ นิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
ได้กล่าวถึงพระมาลัย ซึ่งเป็นพระเถระองค์หนึ่งแห่งโรหนคาม ลังกาทวีป เป็น
พระอรหันต์ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก มักจะไปโปรดสัตว์ในเมืองนรกเนือง ๆ  ครั้งหนึ่ง
พระมาลัยเถระได้รับดอกบัวจากชายผู้หนึ่ง จะนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ระหว่างที่พระมาลัยนั่งคอยเพื่อจะเฝ้าพระศรีอาริยเมตไตรยนั้น ก็มี
เทพยดาทยอยกัน มานมัสการพระเจดีย์จุฬามณี  ทรงทราบว่าพระมาลัย มาจาก
ชมพูทวีป จึงตรัสถามว่าชาวชมพูทวีปทำกุศลอย่างไรบ้าง  พระมาลัยทูลตอบ
ว่า

       “บางคนครองศีลไซร้ บางคนให้ทำทาน ทำอุโบสถสถานสถูป บ้าง
ทำพระวิหารพระชินราช บ้างทำอาวาสในเมือง” และยังทูลต่อไปว่า “ชาวชมพู
ทวีปทำบุญกุศลก็เพื่อหวังพบพระศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยทั้งสิ้น”

      พระศรีอาริยเมตไตรยได้ทรงฟังดังนั้นจึงให้ พระมาลัยมาบอกแก่
ชาวโลกว่า “ให้ทำมหาชาติเนืองนันต์ เครื่องสิ่งละพันจงบูชาให้จบ
ทิวาวันนั้น  ตั้งประทีปพันบูชา ดอกปทุมาถ้วนพัน.........”

               อาจเป็นด้วยคำพูดของพระศรีอาริย์ตอนนี้เอง จึงเกิดความเชื่อ
กันมาตลอดว่า “การฟังเทศน์มหาชาติ ให้จบในวันเดียวกันจะได้บุญมาก และ
จะได้พบกับพระศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรยในที่สุด”     พระศรี
อาริย-เมตไตรยตรัสว่า พระองค์จะเสด็จมาอุบัติเมื่อสิ้นพุทธกาล คือ พ.ศ
๕๐๐๐

                มหาเวสสันดรชาดกฉบับภาษาบาลีประกอบด้วยพระคาถา
(ฉันท์ชนิดหนึ่งชื่อปัฐยาวัตตฉันท์)  จำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา   จึงเรียกเป็น
สำนวนชาวบ้านว่า “เทศน์คาถาพัน”

         ประเพณีการเทศน์มหาชาติของราษฎรนั้นปรกติมีระหว่างเดือน
๑๒ กับเดือนอ้าย (ตามปฏิทินจันทรคติ)  อุบาสกอุบาสิกามักรับเป็นเจ้าของ
กัณฑ์เทศน์คนละ ๑ กัณฑ์ ผู้ใดรับเป็นเจ้าของกัณฑ์ใด ก็จัดเครื่องบูชาและ
เมื่อถึงเวลาเทศน์กัณฑ์นั้นก็ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ เจ้าของกัณฑ์มักจะประกวด
กันในการจัดเครื่องบูชาดอกไม้ธูปเทียนสำหรับถวายพระนั้น จัดเป็นชุดตาม
จำนวนพระคาถาในกัณฑ์ที่เป็นเจ้าของ เทศน์มหาชาติเป็นการบำเพ็ญกุศลที่
ครึกครื้นในรอบปี

ที่มา : http://poobpab.com/content/vessandon/wess3.htm-

ขอขอบคุณ
510  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / คาถาหัวใจไก่เถื่อน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 03:28:08 am

คาถาหัวใจไก่เถื่อน
     
 เวทาสากุ         กุสาทาเว
 ทายะสาตะ         ตะสายะทา
 สาสาทิกุ         กุทิสาสา
 กุตะกุภู         ภูกุตะกุ

-----------------------------------------------------------------------------------------------

                    ผมได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่อยู่ในแวดวงเดียวกันท่านหนึ่ง ขอให้ช่วยลง Comment ต่อท้ายบันทึกนี้ แต่ผมอ่านบันทึกต่อท้ายแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์มากในการรู้ที่มาที่ไปของพระ คาถานี้ ผมก็เลยขออนุญาต นำความเห็นนั้นมาเขียนต่อบันทึกให้สมบูรณ์ และถ้าท่านเจ้าของความคิดเห็นมาเยี่ยมและบันทึกความคิดเห็นใหม่แล้วผมก็จะลบ ข้อความนี้ออกไปครับ


-----------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อความส่วนนี้มีผู้ให้ความคิดเห็นไว้ครับ

พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน (สมเด้จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน)

เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา

กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

               
        พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็น พระคาถานำ พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสำเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตขั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้ เพราะเป็นพระคาถามหาเมตตา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิต ตัวเอง

         พระธรรมพระคาถาพระยาไก่เถื่อน เกี่ยวเนื่องกับ ไก่ป่ามากมาย และทรงกล่าวกับ พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ว่าไก่ป่านี้ปราดเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว

                เหมือนกับ จิต ของคน ไก่ป่าเชื่องคนยาก เหมือนจิตของคนเรา ก็เชื่องต่ออารมณ์ยากมาก

                เหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็จะไม่กล้า เข้ามาหาคน นานๆเข้า จึงจะกล้าเข้าหาคนเหมือนจิตคนเรา ก็ชอบท่องเที่ยว ไปไกลตามธรรมารมณ์ต่างๆ ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่ พักเดียว ก็เตลิดไป

               ต่อนานๆไป เมื่อจิตชินต่ออารมณ์ดีแล้ว จึงจะเชื่อง และตั้งมั่นเป็นสมาธิ

               พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุก อีกว่า

 "พระคาถาไก่เถื่อน ๔วรรค แต่ละวรรค กลับไป กลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม หมายถึงอะไร"

              พระอาจารย์สุกตอบว่า

            "แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด

             วรรค ๑ หมายถึง มีลาภ เสื่อมลาภ

             วรรค ๒หมายถึงมียศ เสื่อมยศ

             วรรค๓หมายถึง มีสรรเสริญ ก็มีนินทา

             วรรค๔ หมายถึง มีสุข ก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปรปรวน มีดี และมีชั่ว ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ มีละเอียด"


              ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกองค์คุณแห่ง ไก่ปา ในมิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะได้บรรลุมรรด ผล นิพพานต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณแห่ง ไก่ หรือไก่ป่า มี ๕ ประการ ดังนี้คือ

๑.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลง หากิน

๒. พอสว่าง ก็บินลง หากิน

๓.จะกินอาหาร ก็ใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน

๔.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไรได้ถนัดแต่เวลากลางคืนตาฟางคล้ายคนตาบอด

๕. เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน


             นี้เป็นองค์คุณ ๕ ประการของไก่ผู้มุ่งมรรค ผล ต้องประกอบให้ได้ กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับองค์คุณเหล่านี้คือ

๑. เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่ และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ไว้ให้เรียบร้อย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ ปูชณียวัตถุ และวัฒบุคคล

๒.ครั้นสว่างแล้ว จึงกระทำการหาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่แห่งเพศของตน

๓. พิจารณาก่อนแล้ว จึงบริโภคอาหาร ดังพุทธภาษิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจารณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร แล้วไม่มัวเมา มุ่งแต่จะทรงชีวิตไว้ เพื่อทำประโยชน์สุข แก่ตน และผู้อื่น

๔. ตาไม่บอด ก็พึงทำเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดี ยินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดี ก็พึง ทำเป็นเหมือนคนตาบอด มีหูได้ยิน ก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ ก็พึงเป็นเหมือนคนใบ้ มีกำลังก็พึง เป็นเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น

๕. จะทำ จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่งไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้จะบรรลุ มรรด ผล นิพพาน


              พระอริยเถราจารย์ ครูบารุ่งเรือง จึงกล่าวกับพระอาจารย์สุกฯ ว่า

             "ดีนัก ดีนักแล และพระอริยเถราจารย์ ได้กล่าวอีกว่า ตามตำนาน เมืองเหนือ กล่าวถึงอุปเท่ห์ พระคาถาไก่เถื่อน ไว้ว่าพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ผู้ใดภาวนาได้สามเดือน ทุกๆวันอย่าให้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญา ดังพระพุทธโฆษาฯ"

            และไก่ป่านี้ ขันขานเพราะนัก ด้วยอำนาจแห่งพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ให้สวดสามจบ จะไปเทศ ไปสวด ไปร้อง หรือเจรจา สิ่งใดๆดีนัก มีตะบะเคชะนัก

            ถ้าแม้สวดได้เจ็ดเดือน อาจสามารถรู้ใจคน เหมือนไก่ป่า รู้กลิ่นตัวคนฉะนั้น

            ถ้าสวดครบหนึ่งปี มีตะบะเดชะยิ่งกว่าคนทั้งหลาย

            แม้จะเดินทางไกล ให้สวดแปดจบ เหมือนไก่ขันยาม เป็นสวัสดีกว่าคนทั้งหลาย

             ให้เสกหิน เสกแร่ ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายไม่เข้าปล้น เหมือนไก่ป่าไม่ทิ้งรัง แม้ผีร้ายเข้ามาในเขตบ้าน ก็คร้ามกลัวยิ่งนัก

            เสกข้าวสารปรายหนทางก็ดี ประตูก็ดี ผีกลัวยิ่งนักคนเดินไปถูกเข้าก็ล้มแล แพ้แก่อำนาจเรา


             พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง

               พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ

                ต่อมาพระอาจารย์สุกฯ มาถึงวัดท่าหอยแล้ว พระองค์ท่าน ก็ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่าพระยันต์ มหาปราสาท ไก่เถื่อน ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี

              ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครูสิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล

      สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

      พระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้

      พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย
      พระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน
      แม้พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน


      และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการสามสิบสอง ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของพระอาจารย์สุก ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้



คัดความจาก
หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
511  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระเครื่อง สมเด็จอรหัง พระสังฆราช( สุกไก่เถื่อน) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 03:07:06 am
เป็นอีกเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ พระองค์ท่านครับ หากเราจะมองแต่เนื้อหากรรมฐาน แล้ว
สิ่งสำคัญ วัตถุที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ส่วนหนึ่งก็คือ รูป สัญญลักษณ์ ของพระพุทโธ พระอรหัง ครัุบ



สมเด็จอรหัง วัดชนะสงคราม พระสังฆราช( สุกไก่เถื่อน)

รายละเอียด :    
พระสมเด็จอรหัง วัดชนะสงคราม พระสังฆราช( สุกไก่เถื่อน)




ขอบคุณที่มาภาพ http://www.siamamulet.net

สมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์(โต)พรหมรังษี และสำหรับวงการพระเครื่องแล้ว ถือกันว่า พระสมเด็จอรหัง เป็นต้นแบบของพระสมเด็จวัดระฆัง


ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่ง ในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ จนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้


ตามประวัติของ สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) นี้ เดิมท่านอยู่วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ตามประวัติกล่าววว่า สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑)มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระ สังฆราช(สุก ไก้เถื่อน)มาก โดยเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่๑) ยกทัพไปเวียงจันทร์ท่านได้แวะกราบหลวงปู่สุก ที่วัดท่าหอย โดยหลวงปู่ท่านกล่าวว่าไปศึกครั้งนี้จะได้ของศักดิ์ศิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลง มาด้วย ซึ่งซึ่งหลังจากเศร็จศึกก็ได้มีการอัญเชิญพระแก้วมรกต และ พระบางเข้ามากรุงธนบุรี


ต่อมาหลังจากรัชกาลที่๑ ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงนิมนต์ท่าน ให้มาสอนวิปัสสนาธุระในกรุงเทพมหานคร


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาสถิตที่วัดมหาธาตุ จะแตกฉานทางด้านคันถธุระหรือทางด้านปริยัติ ส่วนฝ่ายซ้ายจะสถิต ณ วัดป่าแก้ว ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิทยาคม มีเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมัยนั้น มีเกจิอาจารย์สำคัญที่มีชื่อจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ อาทิ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สมเด็จพระวันรัต (วัดป่าแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น



ซึ่งการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระของ พระภิกษุสงฆ์ไทยนั้น ได้สืบทอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงโปรดส่งเสริมการศึกษาทางด้านนี้มาก (สายวิชชากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ) ได้เจริญรุ่งเรื่องที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จโตฯ ผู้สร้างพระเครื่องพระสมเด็จอันเลื่องลือยิ่งนักนั้น ท่านก็ได้ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเก่งทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ เรียนพระปริยัติจนไม่มีอาจารย์สอนได้ และเก่งวิปัสสนา ซึ่งหาได้ยากยิ่งในพระภิกษุรูปเดียวกัน เพราะปกติทั่วไป มักจะเก่งคนละอย่าง ไม่มีพระภิกษุรูปใดที่เก่งทั้ง ๒ ด้านเฉกท่าน




พระอาจารย์ที่สอนวิทยาคมให้แก่ สมเด็จโตฯ องค์แรก ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ก็คือ พระอริญญิก (แก้ว) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร พระอาจารย์องค์ต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ที่ท่านได้สมญานามนี้ เพราะท่านสามารถแผ่เมตตาจนกระทั่งไก่ป่าที่เปรียวและตื่นง่าย เชื่องเป็นไก่บ้านเข้ามาจิกข้าวที่ท่านเสกให้กินได้ สมัยนั้นสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีชื่อเสียงเลื่องลือมาก ท่านทรงเป็นพระกรรมวาจารย์ของได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุ รสิงหนาท และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยทรงผนวช




ในการทะนุบำรุงพระนครในช่วงเวลานั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ได้ทรงเป็นแม่งานในการก่อสร้างทะนุบำรุงสถานที่สำคัญ อาทิ พระบรมมาหราชวัง ป้อมประตู คูเมืองต่างๆ ในด้านศาสนสถาน สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ได้บุรณะ วัดมหาธาตุ และ วัดชนะสงคราม ด้วย


ในด้านศิลปและความเก่าของพระวงการให้การยอมรับว่าสมเด็จอรหังวัดชนะสงครามเป็นพระที่เก่าจริงไม่ใช่พระฝีมือยัดกกรุแต่ประการใด


ประวัติสถานที่ขุดพบคือใต้ฐานชุกชีพระหลวงพ่อปู่พระประธานฯในพระอุโบสุวัด ชนะสงครามที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุ รสิงหนาท ทรงเลื่อมใสเมื่อครั้งเสร็จสงครามเก้าทัพทรงได้หยุดพัก ณ วัดแห่งนี้ ทรงถอดฉลองพระองค์ลงยันต์ (เสื้อยันต์) คลุมองค์พระถวายเป็นพุทธบูชา ช่างได้โบกปูนทับทำให้องค์พระใหญ่ขึ้นดังปัจจุบัน สมเด็จอรหังที่พบในกรุวัดชนะสงครามเป็นศิลปและเชิงช่างเดียวกันกับสมเด็จ อรหังที่พบที่วัดมหาธาตุ ...ตามประวัติบุคคลและสถานที่ ...จึงนับเป็นพระสมเด็จที่น่าบูชาเป็นอย่างยิ่ง
512  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:57:30 am
เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก)




"วัดราชสิทธาราม" เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนอิสรภาพ ด้านเหนือสะพานเจริญพาศน์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ด้านทิศตะวันตกของวัดที่มีอยู่ก่อนแล้ว คือ "วัดพลับ"

ต่อ มาได้โปรดให้รวมทั้ง 2 วัดเข้าเป็นวัดเดียว มูลเหตุที่ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ในที่ใกล้กับวัดพลับเดิมนั้น เนื่องมาแต่สมเด็จพระสังฆราช(สุก) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อยู่จำพรรษา ณ วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม จ.พระนครศรีอยุธยา

ครั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯนิมนต์ให้ลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านได้ถวายพระพรขออยู่วัดฝ่ายอรัญวาสี เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระอย่างเชี่ยวชาญ

โดยที่ได้ ทรงพิจารณาเห็นว่า วัดพลับ เป็นวัดที่สำคัญฝ่ายอรัญวาสีของจังหวัดธนบุรี คู่กับ "วัดรัชฎาธิษฐาน" เป็นวัดใกล้พระนคร จึงได้ทรงโปรดให้อยู่วัดพลับและเพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ จึงได้ทรงสร้างวัดพระราชทานให้ใหม่ดังกล่าวมา ทั้งทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ "พระญาณสังวรเถร" เมื่อพ.ศ.2325 พร้อมกันกับที่ได้ทรงตั้งพระราชาคณะรูปอื่น เป็นต้น

ต่อมา พระอาจารย์สุก ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 วัดราชสิทธาราม จึงเป็นวัดที่สำคัญอีกที่หนึ่ง และอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตน โกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระ

ย้อนไปในสมัยก่อน บริเวณวัดราชสิทธาราม มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ มีสิงสาราสัตว์เข้ามาอาศัยภายในบริเวณวัดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ "ไก่ป่า" กล่าวกันว่าไก่ป่าเป็นไก่ที่ดุ ไม่เข้าหาคน แต่ด้วยความเมตตาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สามารถแผ่พรหมวิหารธรรม ทำให้ไก่ป่าเชื่องดุจเป็นไก่บ้านได้ทีเดียว

ทำให้ท่านได้รับฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า "พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน"

ด้วย ความที่วัดราชสิทธาราม เคยเป็นศูนย์กลางสายวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสายวิชชาที่สืบสานมาแต่โบราณ นับแต่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำรัตนโกสินทร์

พระครูสิทธิสังวร (วีระ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม ในฐานะผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2540 วัดราชสิทธาราม ได้จัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)" เพื่อให้เป็นสำนักศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จัดสร้างตรงบริเวณคณะ 5 วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร (วัดพลับ)

เพื่อให้เป็นสำนักการเรียนรู้ฝึกจิตตภาวนา ดำรงชีวิตที่ดีงามแห่งสุขภาวะทางปัญญา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

นอก จากนี้ พิพิธ ภัณฑ์กรรมฐาน ยังได้จัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งจำลองสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เพื่อให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธ ภัณฑ์ได้กราบนมัส การ อีกทั้ง ภายในพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน ยังได้รวบรวมสิ่งของสำคัญมากมาย อาทิ ธารพระกรของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ภาพปู่พระฤๅษีปัญจะโภคทรัพย์ ภาพยันต์พระฤๅษีโภคทรัพย์ 5 พระองค์ ภาพพระฤๅษีตาไฟ และตำราใบลานวิชชาพระกรรมฐานมัชฌิมาของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจในพระเครื่องวัตถุมงคล ที่วัดราชสิทธาราม สามารถมาชมและเช่าบูชาพระเครื่อง อาทิ ตุ๊กตาใหญ่เนื้อชินพระสังวรา (ชุ่ม) ปิดตาเนื้อชินพระสังวรา (ชุ่ม) เหรียญที่ระลึกงานปลงพระศพ พระสังวรานุวงศ์เถระ พระสังวราเนื้อทองสำริดห้าเหลี่ยม พระปิดตาเนื้อชินพระสังวรา พระปิดตาเนื้อดินเผาพระสังวรา เป็นต้น

นอก จากนั้น พิพิธภัณฑ์กรรมฐานสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ยังจัดกิจกรรมการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นประจำ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) คณะ 5 ซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร.0-2465-2552

ส่วนผู้ประสงค์เข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)" เปิดตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน

หน้า 29
ที่มา

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOakE1TURVMU13PT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHdOUzB3T1E9PQ==
513  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่ จากเอกสาร นำโพสต์ไว้บ้างบางท่านไม่ได้อ่าน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:53:45 am
ทางไปนิพพาน พิจารณาสังเวศสาม

--------------------------------------------------------------------------------

 ทางไปนิพพาน พิจารณาสังเวศสาม
๑. ปลงต่อความตาย
๒. หน่ายนามรูปแล้ว เอาชีวิตแลกเอาพระนิพพาน
๓. พิจารณาให้เห็นสังขารธรรม รูปธรรม นามธรรม วิบัติไปต่างๆ
ปลงตามปัญญาพระไตรลักษณะ

นั่งจุกหู ใช้ปิดหู ปิดตา ไม่รับกิเลสภายนอก เหมาะสำหรับคนฟุ้งซ่าน
ทำเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ท่านให้ตั้งสมาธิที่หทัย ให้ตึงก่อน
แล้วยกสมาธิมาปิดหูขวาก่อน สมาธิตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัยตึงดีแล้ว
ยกสมาธิไปปิดหูซ้าย ตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัย ทำปิดตาก็เหมือนกัน

การเอาชนะกิเลส ให้ตรวจกิเลส ตัวไหนเกิดให้จดจำเอาไว้
แล้วเอาชนะกิเลสตัวนั้น

กิเลสตัวไหนเกิด ให้แผ่เมตตาให้กิเลส ให้อภัยกิเลส กิเลสจะไม่มาอีก
คือมีสตินั้นเอง ให้เจริญความดีงามเหนือกิเลส ให้ยิ่งๆ ขึ้นๆ ไป
514  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่ จากเอกสาร นำโพสต์ไว้บ้างบางท่านไม่ได้อ่าน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:53:21 am
ธาตุภูสิโต

--------------------------------------------------------------------------------

 ธาตุภูสิโต

(ธาตุยิ่งใหญ่)
๑. ชุมนุมธาตุว่า เอหิปถวีพรหมา เอหิเตโชอินทรา เอหิวาโยนรายนะ เอหิอาโบอิสสรัง ว่าสามหน ธาตุทั้งสี่มาตั้งที่หทัยประเทศ
๒. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ ว่าสามหน จตุรภูตา เอหิสมาคมะ ธาตุทั้งสี่ ปรากฏที่สะดือ
๓. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ เตโช วาโย อาโบ ปถวี กสินะ นะโมพุทธายุ ภินทะติ นะพุทธัง นะปัจจักขามิ นะสิริ พันธนัง ธาเรมิ ให้ว่าสามหน เป่าเข้าตัวภูตมิออก ธาตุทั้ง ๔ ที่สะดือ มารวมที่หทัย




 องค์ธรรมเก้า แห่งของ จุดอานาปาน

๑. ที่สะดือ ตั้งมั่น คือองค์ธรรมพระนาคี ที่ชุมนุมธาตุ
๒. จะงอยปาก รู้กำเนิดชีวิต คือองค์ธรรมของ พระธรรมวิมุติ
๓. ขื่อจมูก การดำเนินของชีวิต คือองค์ธรรมของพระธรรมกลาง
๔. ปลายจมูก ตั้งอยู่ของชีวิต คือองค์ธรรมของ น้ำ
๕. ระหว่างตา ความรอบรู้ คือองค์ธรรมของ ไฟ
๖. ระหว่างคิ้ว ความเป็นไปเบื้องหน้า คือองค์ธรรมของ สังฆราชา สงฆ์ผู้ใหญ่>
๗. กลางกระหม่อม รู้แจ้ง คือองค์ธรรมของ ครูบาอาจารย์ และพระพุทธเจ้า
๘. ลิ้นไก่ รู้ปัจจุบัน ธรรมชาติ คือองค์ธรรมของ แผ่บารมี
๙. กลางหทัย สูญรวมความรู้ต่างๆ คือองค์ธรรมของ พระพุทโธ


 วิชาสลายจิต
สยบจิต ด้วยเมตตา ?อุเบกขา ประโยชน์คือ
สกดจิต ใช้เอกัคคตาจิต ประโยชน์คือ
ปลดปล่อยจิต นั่งดูจิต ดูกิเลส ผ่านไปเฉย ประโยชนคือ


 วิชาโลกุดร สยบมาร
๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
๒. ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
๔. ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง

ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร
๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก
๒. แผ่บารมีให้มาร
๓. ทำจิตให้หลุดพ้น
๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
๕. เมตตา
๖. ปราบมาร
๗. มีความเพียร
๘. ปราบคนทุศีล
๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น




 วิชาสำรวมอินทรีย์

๑. ที่สะดือตั้ง ศีลวิสุทธิ
๒. ที่เหนือนาภีตั้ง จิตวิสุทธิ
๓. ที่หทัยตั้ง ทิฏฐิวิสุทธิ
๔. ที่คอกลวงตั้ง กังขาวิตรวิสุทธิ
๕. ที่โคตรภูท้ายทอยตั้ง มัคคามัคคญาณวิสุทธิ
๖. ที่กลางกระหม่อมตั้ง ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ
๗. ที่หว่างคิ้วตั้ง ญาณทัสนวิสุทธิ แล้วว่า โลกุตรัง จิตตัง ฌานัง
ประโยชน์ คล้ายกับ วิชาโลกุตรสยบมาร สำรวมตนเอง ตรวจศีลบริสุทธิ


 วิชาสำหรับผู้มีจิตทิพย์ สำรวจโลกภายนอก
๑. สะดือตั้ง อุทยัพพยญาณ เกิด ดับ
๒. เหนือสะดือ ภังคญาณ ดับอย่างเดียว
๓. หทัย ภยตูปัฏฐานญาณ คือความกลัวทั้งปวง
๔. คอกลวง อาทีนวญาณ เป็นโทษทั้งปวง
๕. ท้ายทอย นิพพิทาญาณ เกิดความเบื่อหน่าย
๖. กลางกระหม่อม มุญจิตุกามยตาญาณ เหมือนอยู่ในแหในชะลอม
๗. ระหว่างคิ้ว ปฏิสังขารุเปกขาญาณ อยากพ้นทุกข์แล
๘. ระหว่างตา สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยสละเสียให้สิ้น
๙. ปลายจมูก สัจจานุโลมมิกญาณ หาทางไปนิพพาน



เข้าจักรสุกิตติมา

๑. สะดือ ตั้งสุกิตติมา
ใช้ประโยชน์ เจริญแล้วเป็นสมาธิสงบ เกิดปัญญา เรียน
๒. เหนือสะดือ ตั้งสุภาจาโร อะไรก็ได้ จำแม่นเกิดปัญญา
๓. หัวใจ ตั้งสุสีลวา
๔. คอกลวง ตั้งสุปากโต
๕. ท้ายทอย ไม่มี
๖. กลางกระหม่อม ตั้งยสัสสิมา
๗. ระหว่างคิ้ว ตั้งวสิทธิโร
๘. ระหว่าตา ตั้งเกสโรวา
๙. ปลายนาสิก ตั้งอสัมภิโต
เรียนปฏิจสมุปบาท เพื่อสลายความหลง มีชีวิต ก็มีวิญญาณ มีวิญญาณ ก็มีความยึดมั่น
515  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่ จากเอกสาร นำโพสต์ไว้บ้างบางท่านไม่ได้อ่าน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:52:59 am
ทุกอย่างขอบารมีพระพุทธเจ้า
วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่


๑. วิชาบังคับธาตุขันธ์
ให้บังคับจากรูปกายทิพย์ ให้เปลี่ยนอริยาบทต่างๆ เช่น ยืนเป็นนั่ง เป็นนอน เป็นเดิน ทำให้กายทิพย์เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นแก่
ประโยชน์ ยกสมาธิจิตให้สูงขึ้น จิตมีอานุภาพมากขึ้น

๒. วิชาแยกธาตุขันธ์
แยกธาตุน้ำก่อนแยกธาตุดินแยกธาตุไฟแยกธาตุลมไม่มีกายมีแต่ธาตุเท่านั้น>
ีีประโยชน์ ใช้ทางมรรค ผล จิตขาดจากการยึดมั่นถือมั่น ในรูปกาย

๓. วิชาคุมจิตคุมธาตุ
ใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิต คุมจิตตัวเอง คุมธาตุทั้ง ๔ ของตัวเอง
ประโยชน์ ทำให้มีสติมีสมาธิเข็มแข็ง



 วิชาธาตุปีติ ยุคล สุข

๑. ธาตุปีติ ยุคล สุข รวมกัน เรียกว่าธาตุธรรมกาย
ใช้ทำเป็นพื้นฐานแห่งอภิญญา จิตแก่กล้าใช้ตติยฌาน(สุข)ได้เลย
ถ้ายังไม่แก่กล้าใช้ถึงจตุถะอรูปฌาน ถอยมา ตติยฌาน(สุข)

๒. ธาตุปีติอย่างเดียว เรียกว่า ธาตุปีติวิมุติธรรม
ทำให้กิเลสทั้งปวงหลุด พิจารณาโดยวิธี บริกัมว่า นิพพาน

๓.ธาตุธาตุยุคลหก เรียกว่า ธาตุกายอมตะ
ประโยชน์ใช้ทำจิตให้สงบจากกิเลส พิจารณาว่า สงบ

๔. ธาตุสุขสมาธิเรียกว่าธาตุ สุขนิโรธธัม
ประโยชน์ ทางสุขอยู่ในความว่าง เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์

ธาตุปีติทั้งห้า (ธาตุเทวดา) ใช้ได้ทุกอย่างแล้วแต่จิต
ธาตุยุคล(ธาตุพรหม) ใช้ทางเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ธาตุสุข(ธาตุพระพุทธเจ้า) ธาตุกายสุข จิตสุข มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

ทำจิตเป็นสุข สยบกิเลส ธาตุ อุปจารพุทธานุสติ ใช้สยบมารทั้งภายนอก ภายใน
ใช้สยบภายในภายนอก



 วิชาทำฤทธิ์

อธิ ฐานตั้งธาตุ ห้าดวง ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณธาตุ ให้ทำลายธาตุ น้ำ ทำลายธาตุ ไฟ ทำลายธาตุดิน ทำลายธาตุลม เหลือวิญญาณธาตุ ก่อนทำให้อธิฐานเอาฤทธิ์ก่อน
516  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / ประวัติวัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:49:50 am
วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)



วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมที่เดียวชื่อ
วัดพลับ มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัววัดพลับเดิมนั้น
อยู่ต่อ วัดราชสิทธารามเดียวนี้ไปทางทิศตะวันตก ครั้นเมื่อสร้างวัดราช-
สิทธารามขึ้นในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขต
วัดราชสิทธารามด้วย ราษฎรจึงยังคงเรียกชื่อ วัดราชสิทธาราม ตาม
นามเดิมว่า วัดพลับกันทั่วไป ในบัดนี้ ประวัติราชสิทธาราม เริ่มปรากฎมี
เรื่องราวเป็นสำคัญขึ้นเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เหตุเนื่องมาจาก
พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนาพระอาจารย์สุก
วัดท่าหอย ริมคลองคูจามในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงมา
จำพรรษาในเขตพระนคร พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่
พระญาณลังวรเถรเรื่องทั้งนี้เป็นด้วยพระญาณสังวรเถร ทรงวิทยาคุณ
ในทางวิปัสสนาธุระ อย่างเชี่ยวชาญสามารถเลืองชื่อลือชาเป็นที่นับถือของคนทั้งหลายในยุคนั้นเป็น
อย่างยิ่งกล่าวกันว่าท่านทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอย่างแก่กล้า ถึงสามารถให้ไก่เถือนเชืองได้เหมือนไก่บ้าน
มีลักษณะทำนองเดียวกับคำโบราณที่ยกย่องสรรเสริญพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในเรื่องสุวรรณสามชาดก

ต้องการอ่านต่อ
โปรดคลิ๊กอ่านต่อที่นี่ นะครับ

http://www.109wat.com/bk01.php?id=423
517  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:45:55 am
พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)

สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ไทย
ถึง 4 พระองค์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือรัชกาลที่1-4 รวมถึงเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จฯโต
พระองค์ท่านได้สืบทอดแนวการปฏิบัติกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อเนื่องมาจากสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
โดยไม่ขาดสาย

ขณะนี้มีเพียงที่วัดราชสิทธาราม ซ.อิสรภาพ 23 ธนบุรี เพียงแห่งเดียว
 ที่คงรักษาแนวทางเดิมไว้จนถึงทุกวันนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับการเรียนรู้
ตรงตามพระไตรปิฎก ขจัดอุปาทานและความหลงของจิตได้

เหตุที่เรียก พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง
และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง
เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ
(คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง

พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศในทาง
เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถระเจ้า

พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สืบสายพระกัมมัฏฐานของพระพุทธองค์ที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล
โดยพระราหุลเถระ เป็นองค์ต้นสาย
สืบมายังพระโสณะและพระอุตระจากลังกาวงศ์ธรรมทูตแห่งศรีธรรมาโศกราช สู่สุวรรณภูมิ

พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกัมมัฏฐานที่
พระเถระอย่างสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
เจ้าประคุณสมเด็จโตพรหมรังสี และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฯ
ได้เคยปฏิบัติจนบรรลุภูมิธรรมมาแล้วทั้งสิ้น
การสืบธรรมสายนี้เสมือนหนึ่งร่วมรักษาพระพุทธศาสนามรดกธรรมของมนุษยชาติให้คงอยู่
จนสิ้นอายุพระศาสนา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สงบจิตเกิดบุญมหาศาลยิ่งกว่าประกอบมหากุศลใดใด
ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยติดต่อ ขอรายละเอียดที่
พระครูสังฆรักษ์ (วีระ) ฐานวีโร ๐๒ – ๔๖๕-๒๕๕๒ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)กรุงเทพฯ

กรณีต่างจังหวัด หากมีผู้สนใจเกินกว่ายี่สิบท่าน
และมีสถานที่ที่พระภิกษุผู้เป็นครูกัมมัฏฐานพักได้ โดยไม่ขัดพระธรรมวินัย
เชิญติดต่อมาได้ โดยไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายใดใด
นอกจากจัดยานพาหนะรับ-ส่งเท่านั้น

เชิญร่วมสักการะบูชา รูปปั้นจำลองเหมือนจริง สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
และ พิพิธภัณฑ์ไม้เท้าเบิกไพร
ณ พระอุโบสถ และ คณะ๕ วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) กรุงเทพฯ ติดต่อโดยตรงได้ทุกวัน

เชิญเยี่ยมชมเว็บสมเด็จฯสุก (พระประวัติ และ วิธีการฝึกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ)


คลิกที่ www.somdechsuk.com
518  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:42:10 am
และข้าฯจะขอเอายังธัมมานุธัมมะปฏิบัติในขณะทั้งห้า คือ อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิฏฐานวสี วุฏฐานวสี และ ปัจจเวกขณวสี และ ข้าฯจะค่อยพิจารณาเอายังพระลักษณะรสปทัฏฐาน อันว่าอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา จงมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


ข้าฯจะขอภาวนาวิปัสสนาปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระปรมัตธรรมนิพพานเจ้านี้จงได้ฯลฯ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอาพระสติปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าอันชื่อว่า สัมมสนญาณ อุทยพฺพยญาณ ภงฺคญาณ ภยตูปฏฺฐานญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ปฏิสงฺขาญาณ สงฺขารุเบกขาญาณ อนุโลมญาณ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเพื่อจะ ขอเอายัง ข้าฯจะขอเอายังพระสติปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณ ฯลฯ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า
นามรูปํ อนิจจํ ขยตฺเถน
นามรูปํ ทุกขํ ภยตฺเถน
นามรูปํ อนตฺตา อสารกตฺเถน
นามรูปํ อนิจฺจํ นิจจํ วต นิพพานํ
นามรูปํ ทุกขํ สุขํ วต นิพพานํ
นามรูปํ อนตฺตา สารํ วต นิพพานํ


นามรูปํ อันว่ารูปนามแห่งข้าฯนี้หนาเป็น อนิจจํ บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าไปตกนรกไหม้อยู่ ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเป็นเปรตวิสัย ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ ก็บ่มิเที่ยงสักอัน ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นอสุรกาย ก็บ่มิเที่ยงสักอัน นามรูปัง อันว่านามรูปแห่งข้าฯ นี้หนา เป็น อนิจจํ บ่มิเที่ยง ขะยัตเถนะ เหตุว่า รู้ฉิบ รู้หาย รู้ประลัย นิจจัง วต นิพพานนํ เท่าแต่นิพพานเจ้าเที่ยงเถิง(ถึง)เดียวดาย นามรูปํ ทุกขํ นามรูปํ อันว่านามรูปแห่งข้าฯ นี้หนา ลางคาบไปตกนรกก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นเปรตวิสัยก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นเปรตก็ทุกข์หนัก ลางคาบไปเกิดเป็นอสุรกายก็ทุกข์หนัก นามรูปังอันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา ทุกขังก็เป็นทุกข์หนัก ภยตฺเถน เหตุว่ามีภัยพึงกลัวมากนัก สุขํ วต นิพพานํ เหตุเท่าแต่นิพพานเจ้า หากเป็นสุขสิ่งเดียวดาย นามรูปังอนัตตา อันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา เป็นอนัตตาในตนแห่งข้าฯ ลางคาบเมื่อข้าฯไปตกนรกไหม้อยู่ ก็ใช่ตัวตนแห่งข้า ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นเปรตวิสัย ก็ใช้ตัวตนแห่งข้าฯ ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ใช่ตัวตนแห่งข้า ลางคาบเมื่อข้าฯไปเกิดเป็นอสุรกาย ก็ใช้ตัวตนแห่งข้าฯ นามรูปํ อันว่านามรูปแห่งข้าฯนี้หนา อนตฺตา ใช่ตนแห่งข้า ฯอสารกตฺเถน เหตุว่าหาแก่นสารมิได้ สารํ วต นิพพานํ เท่าแต่นิพพานเจ้า หากเป็นแก่นสารสิ่งเดียวดาย


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนา แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในสติปริยญาณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังสติปริยญาณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณ ฯลฯ ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า นามรูปํ อนจฺจํ ขยตฺเถน เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที แม้นว่าข้าฯจะได้นิพพานในอาตมาภาพชาตินี้ ขอเอาสติปริยญาณปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ในบทอันชื่อว่า สัมมสนญาณฯลฯ จงมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจโยโหนตุฯ


อักขรปทํ พยญฺชนํ
เอกเม กตฺวา พุทธรูปํ สมงฺ สิยา ตสฺมาหิ ปณฺฑิโต โปโส รกฺขนฺโต
ปฏฺกตฺตยํ ธาเรตุ ภวิสติ เม พุทฺธกมฺมฏฺฐานวณฺณนา นิฏฐิตา
พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
ขอให้ข้าได้นิพพานในอนาคตกาล เทอญฯ

------------------------


อธิบายพระคัมภีร์เทศ ขึ้นลำดับธรรม


คัมภีร์เทศขึ้นลำดับธรรมนี้ มีมาแต่โบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนนั้น ใช้สำหรับเทศขึ้นบอกลำดับพระกรรมฐาน ได้ตกทอดมาถึงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้รับสืบทอดมาจาก ท่านอาจารย์ วัดเกาะหงส์ ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ ๒๓๑๐ และพระองค์ท่านได้นำพระคัมภีร์มาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อหาสาระในพระคัมภีร์ มิได้มีการเปลี่ยนแปลงคงคำเดิม สำนวนเดิม รูปแบบเดิม มาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย อักขระที่จารึกในพระคัมภีร์ จารึกด้วยอักษรขอมไทย ปัจจุบันได้ถอดออกมาเป็นอักขระไทย และใช้เทศขึ้นลำดับธรรมสืบทอดมาจนทุกวันนี้ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านจะเทศขึ้นลำดับธรรมก่อนจึงบอกพระกรรมฐานให้ สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน


----------------------------------------------------------------------------------------------------------


คำกล่าวขอขมาโทษ


อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ (กราบ)
ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)


สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)
ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)


ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร

----------------------------------------------------------------------------------------------------------
**** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไป ****
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
http://www.somdechsuk.com/index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=38
และ
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
519  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / คำปริยายขึ้นธรรม ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:41:40 am
คำปริยายขึ้นธรรม
ใช้เทศสอนเมื่อขึ้นพระกรรมฐาน เพื่อปูพื้นฐาน และ ทำความเข้าใจ
ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ)
สืบทอดมาจาก วัดป่า แก้ว ยุคอยุธยา
(พ.ศ. ๒๓๒๖)
(ถอดจากอักขระขอมเป็นอักษรไทยจากคัมภีร์ใบลาน)

--------------------------------


นะโม ๓ จบ ฯ
อุกาสะ วนฺทิตวา สิระสา พุทธํ ธัมมํ สํฆญฺ จะ อุตตฺมํ เทยยะ ภาสายะ ปวกฺขามิ กมฺมฏฺฐานํ ทุวิธกํ, อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา เมว อภิวาทฺเรน


ข้าฯ จะขอไหว้นบคำรพด้วยคารวะในกาลบัดนี้ พุทธํ สพฺพญฺญูพุทธํ ยังพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พระองค์ ผู้ตรัสรู้เญยธรรมทั้งมวล และพระสัพพัญญูเจ้านั้นโสต อุตตมํ อันอุดม อนุตตรํ อันหาบุคคลเทพดาทั้งหลาย อันจะยิ่งบ่มิได้ และข้าฯก็จะไหว้พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าองค์นั้นโสต สิรสา ด้วยหัวแห่งข้าฯในกาลบัดนี้ จ ปน เกวลเมว พุทธํ อภิวนฺทิยะ ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรนะ ข้าก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ เป็นอันดีแลยิ่งนัก ธมฺมํ นวโลกุตตฺรธมฺมํ ทสวิธงฺปริยัติยา สห ยังนวโลกุตตระธัมเจ้า ๙ ประการ เป็นสิบกับทั้งพระไตรปิฏกเจ้าทั้งสาม อัน เกิดแต่อกพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า และ พระธัมมเจ้านั้นโสต สวากขาตํ แลพระพุทธเจ้าหากเสด็จเทศนาอันไพเราะ เพราะแลดียิ่งนัก แล ข้าฯ ก็ไหว้พระธัมเจ้านั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้าฯในกาลบัดนี้แล จ ปน เกวลเมวะ พุทธํ ธมฺมํ อภิวนฺทิย ใช่ว่าข้าฯจะไหว้พระพุทธเจ้าแล พระธัมมเจ้าเท่านั้นแล จะแล้วยิ่งสิ่งเดียว อหํ อันว่าข้าฯ วนฺทิตฺวา อภิวาทเรน วนฺทิตวา ข้าฯก็ไหว้นบคำรพด้วยคารวะ สงฺฆญฺ จ ในกาลบัดนี้ สงฺฆงฺ อฏฺฐํ อริยปุคคฺลานํ สุมูหํ ยังชุมพระอริยเจ้าทั้งหลาย ๘ จำพวก ฝูงนั้นเถิด อุตตฺมัง อันอุดม อันเผาเสียซึ่งมืดมนอนธการ อันกล่าวคือ อวิชา ตัณหา เสียแล้ว และบุคคลทั้งหลาย ๘ จำพวกฝูงนั้นโสต สิรสา ด้วยหัว เม แห่งข้า ในกาลบัดนี้แล ตทนฺตรํ ถัดนั้นไป ข้าฯกระทำประนมอันอ่อนน้อม นมัสการแก่เจ้ากูแก้วทั้งสามประการนี้แล้ว อหํ อันว่าข้า วกฺขามิ ปริเยสามิ ข้าจะเรียนเอาซึ่งพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต ทุวิธกํ สมถวิปสฺสนาสํขาตํ ทุวิธกํ อันมีสองประการอันกล่าวคือ พระสมถกรรมฐาน และพระวิปัสสนากรรมฐาน และ พระกรรมฐานเจ้านั้นโสต พุทธํ ปจฺเจกสมฺพุทธํ ยังเป็นของแห่งพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า แลพระกรรมฐานเจ้านั้นโสต จตุตฺถอริยสมฺพุทธํ ยังเป็นของอันพึงพอใจแห่งพระอริยสาวกเจ้าทั้ง ๔ พระพุทธเจ้าได้เสด็จเทศนาประกาศไว้ว่า ภาวนาทิโว ภาวนารตฺโต พระท่านว่าไว้ให้ภาวนาทั้งกลางวัน และ กลางคืน และเป็นคำไทยเพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายดาย กุลบุตรทั้งหลายผู้จะเจริญภาวนา สมถกรรมฐาน และ พระวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหัก เสียซึ่งขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้เสียแล้ว จะเอาขึ้นสู่พระนิพพาน ตามบุราณขีณาสพเจ้า ทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นแล


อุกาสะ ข้าฯ แต่กูแก้วทั้งมวล อันมีองค์พระสัพพัญญูเจ้านั้นเป็นโตแก่ตูข้าฯ ทั้งหลายอันมีมาก็ดี อันมีบาปอกุศลก็ดี อันมีกุศลเจตนาก็ดี ฉะนั้น อันพร้อมพรั่งกันภายใน แลมีขันธ์ทั้งห้าอีกทั้งปฏิบัติภายนอก ตูข้าฯทั้งหลายมีข้าวตอกดอกไม้ แลธูปเทียน ตูข้าฯทั้งหลายได้เฝ้าเณยธัมแล นำสู่สาธรที่นี้แล้ว ตูข้าฯ ทั้งหลาย จะเอามาตบแต่งไว้ในใจ จะทำให้เป็นสองโกฏฐาส อันปฐมโกฏฐาสหัวทีนั้น ตูข้าทั้งหลายขอบูชาสมาเถิง (ถึง) สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิริยะคุณ และคุณเจ้ากูแก้วทั้งมวลอันหาที่สุดมิได้ ตูข้าทั้งหลายจะขอบูชาและขอสมา อย่าให้เสีย…..ชำรุด……อันเพื่อจะให้เป็นเหตุเป็นปัจจัยค้ำชู ตูข้าทั้งหลายนี้จะขอบูชา ได้นิพพานในอาตมภาพชาตินี้จงอย่าได้บุคคลตนใด จะประจานพระโพธิญาณนั้นก็ดี จงเป็นเหตุเป็นปัจจัยค้ำชูบุคคลนั้นให้ถึงยังปัญญา อันชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณอันจะนำสัตว์ทั้งหลายตามกรรม (ลอย)พระพุทธเจ้าทุกวันเถิดฯ อันทุติยะโกฏฐาส อันธุระคำรบสองนั้น ตูข้าทั้งหลายจะขอตั้งเอาไว้ยังห้องหน้าแห่งตูข้าทั้งหลาย จะขอสมาเถิง(ถึง) นามบัญญัติแห่งเจ้ากูแก้วทั้งมวล ตูข้าทั้งหลายอันบ่มิรู้และหากยังได้ประมาทเสียซึ่งนามบัญญัติ และข้ามิได้คารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวลด้วยทวารทั้งสามแล อิริยาบถทั้งสี่ อันใดอันหนึ่งก็ดี แรกแต่ชาตินี้ค่อยคืนไปหนหลัง แม้นว่าได้อนันตะชาติสงสาร อันหาตอหามูลบ่มิได้ ตูข้าทั้งหลายก็รู้ว่าเป็นโทษแห่งตูข้าทั้งหลายนี้เป็นอันมาก นักหนาที่จะแก้โทษทั้งหลายทั้งมวลอยู่นั้น คือ


โมโห คือหลง
อหิริกํ มิละอายแก่บาป
อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป
อุจธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
โลโภ โลภ
ทฏฺฐิ ถือมั่น
มาโน มีมานะ
โทโส โกรธ
อิสสา ริษยา
มจฺฉริยะ ตระหนี่
กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ
ถีนํ กระด้าง หดหู่
มิทิธํ หลับ ง่วง
วิจิกิจฉา สงสัย

เพราะบาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ หากให้ตูข้าทั้งหลายมืดมน อนธการ ด้วย อวิชชา ตัณหา หากมาให้ตูข้าทั้งหลายนี้มิได้รู้จักพระธรรมเจ้าทั้งสี่ ประการ คือทุกข์สัจจะ สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ มรรคสัจจะ เพราะ บาปธรรมทั้ง ๑๔ ตัวนี้ หากมาครอบมางำมากำบังใจตูข้า ให้ตูข้าทั้งหลายเป็นไป เป็นบาปแก่ตูข้าทั้งหลาย ซึ่งบ่มิได้รู้ฉลาด แลบ่มิได้รู้อาย มิทำตามคำสั่งสอนแห่งเจ้ากูแก้วทั้งมวล จงมีใจเอ็นดูแก่ตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว มารับเอาเครื่องอามิสบูชาแห่งตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงค่อยพิจารณาดูโทษ อันมีอยู่ในจิต ในใจ ในตนแห่งตูข้าทั้งหลายนี้แล้ว ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงค่อยประมวลเอาโทษนั้นมาตั้งไว้ยังห้องหน้า และกระทำเป็นอโหสิกรรมเสีย ขอเจ้ากูแก้วทั้งมวลจงมากำจัดเสีย ล้างเสีย เผาเสีย ยังโทษอันมีในจิต ในใจ แห่งตูข้าทั้งหลายด้วย ตะทังคะปหาน และ นิสสรณปหาน ขอให้ตูข้าทั้งหลายบริสุทธิ์จากโทษอันนั้น ประดุจเงิน ทองเหลือง อันใสสดหมดจดจากตะกั่ว และ ทองชิน ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายบริสุทธิ์จากโทษนั้น ดุจพระจันทร์ พระอาทิตย์เสด็จขึ้นอยู่เหนือเขายุคนธร อันปราศจากเมฆ และ หมอก มีรัศมี ออกเลื่อมพรายฉายงามแท้ดีหลี อย่าได้เป็นนิวรณธรรมอันจะห้ามภูมิทั้งสี่ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ โลกุตตรภูมิ ตูข้าทั้งหลายจะภาวนาสมถะกรรมฐานเจ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี ตั้งแรกแต่ พระขุททกาปีติ เจ้าเป็นโต และมี อสุภกรรมฐานเจ้าเป็นปริโยสาน ขอ ให้ตูข้าทั้งหลายได้อนิมิต สนิมิต ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้อุคคหนิมิต และ พระปฏิภาคนิมิตเจ้า จงมาตั้งอยู่ในห้องหน้าแห่งตูข้าทั้งหลายทุกทิวาราตรี อย่าได้ขาด ประการหนึ่งเล่า ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้อุปจารสมาธิธรรมเจ้า และ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้าทุกประการ อักขระ และ พยัญชนะ อย่าให้เสียสักผลสักอัน ใช่แต่เท่านั้น ตูข้าทั้งหลายปรารถนาภาวนาวิปัสสนาปัญญาพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี อันแรกแต่วิสุทธิศีลเจ้าเป็นโต และ มีอนุโลมญาณเจ้าเป็นปริโยสาน ขอให้ตูข้าทั้งหลายมีสติ ศีล สมาธิ ปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า อันกล้าอันคมอันเล็งแลดู พระไตรลักษณ์อันหมายรู้จักยังรูปธรรม นามธรรม อันเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อันจะหมายหนีวัฏฏะสงสาร อันหาตอหามูลบ่มิได้ ขอให้ตูข้าทั้งหลายได้มรรคธรรม ผลธรรม นิพพานธรรม ตามความปรารถนาแห่งตูข้าทั้งหลายนี้จงทุกประการเถิดฯลฯ

ประการหนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลาย อันได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วดังนี้ก็ดีสัตว์ทั้งหลายก็ตามได้จมอยู่ในที่ ร้าย ว่ายอยู่ในอเวจี ทนทุกขเวทนาใน นรก เปรต ดิรัจฉาน อสุรกาย ในอบายนั้นก็ดี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายนี้ จงไปค้ำชูสัตว์นั้นให้ขึ้นพ้นจากทุกข์ ให้ได้มาเสวยสุขในมนุษสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า ก็มีด้วยประการฉะนี้ทุกตัวทุกตนเถิดฯลฯ ประการหนึ่งเล่ามหาอุรสุราช ผู้ใดอันหากได้เสวยสุขนั้นเล่า เป็นต้นว่า พระเจ้าแผ่นดิน และ เสนาแลมหาอำมาตย์แล อาณาประชาราษฏรทั้งหลายจงได้เสวยสุขนั้นเล่า ให้ยิ่งกว่าได้ร้อยเท่าพันทวี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวล ก็มีด้วยประการฉะนี้ทุกตัวทุกตนเถิด ประการหนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลายอันได้มาสัมมาคารวะแก่เจ้ากู แก้วทั้งมวลดังนี้ก็ดี สัตว์ทั้งหลายฝูงใดอันหากยังได้รักษาชีวิตแห่งตนๆ ก็มีด้วยประการฉันใด ฝูงสัตว์ทั้งหลายจงรักษาชีวิตแห่งตูข้าทั้งหลาย ก็มีด้วยประการฉันนั้น ทกตัวทุกตนเถิด ตูข้าทั้งหลายหากยังได้รักษาชีวิตแห่งตนๆ และมีด้วยประการฉันใด ตูข้าทั้งหลายนี้จงรักษาชีวิตแห่งฝูงสัตว์ทั้งหลาย ก็มีด้วยประการฉันนั้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายจงมีใจเอ็นดูกรุณาซึ่งกันและกัน ไป มา แล ชักชวนกันมาภาวนาสมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจะหักเสียยังขันธ์ทั้งห้า และจะเอาตนเข้าสู่นิพพานตามบุราณขีณาสพเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้นฯ ประการหนึ่งเล่า ด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลาย อันได้สัมมาคารวะแก่เจ้ากูแก้วทั้งมวลดังนี้ก็ดี พรสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ห้ากับทั้งปัญญาพระสัพพัญญูพุทธเจ้า หกกับทั้งพระนิพพาน อนึ่งจงจำเริญสิริสวัสดี มีแก่ตูข้าทั้งหลายทุกตัวทุกตนเถิด จนตราบเท่าเข้าสู่นิพพานธรรมเจ้านี้ ทุกวันเถิดฯ ประการ หนึ่งเล่าด้วยนามเจตนาแห่งตูข้าทั้งหลายอันได้รีบร้อนห้อมยับมานับนานแต่ อนันตชาติสงสาร เป็นต้นว่า ได้ให้ทาน รักษาศีลขึ้นไป เมตตาภาวนาตราบเท่ากาลบัดนี้ก็ดี ด้วยบุญญาราศีแห่งตูข้าทั้งหลายจงไปค้ำชูท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ อันอยู่รักษาพระศาสนาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าที่ไหว้ที่บูชาแก่เทพยดาทั้งหลาย ทุกตัวทุกตน ตราบเท่าห้าพันพระวสา จงมีสวัสดีจำเริญทุกวันเถิดฯ


อุกาสะ อจฺจโย โน ภนฺเต อชฺชคมา ยถาพาเล ยถามูฬเห ยถาอกุสเล เย มยํ อกริมหา เอวมฺภนฺเต อจฺจโย โน ปฏิคฺคณฺหถ อายติง สงฺวเรยฺยามิ ฯ
อุกาสะ ข้าแต่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า อันพระองค์อาจนำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ให้เท่ากับพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระองค์อันจะนำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ยังไปมิได้เท่าพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระองค์อันประกอบด้วยพระมหากรุณาซึ่งจะมาตั้งยังไว้พระศาสนา ห้าพันพระวะสา จึงจะมีพระอริยโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี แลพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย จึงจะมานำสัตว์ทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานเท่าพระเจ้าทั้งหลายแต่กาลก่อนโพ้น บัดเดี่ยวนี้พระสัพพัญญูเจ้าเล่า พระองค์ประกอบด้วยมหากรุณา จึงจะมานำเอาตัวข้าทั้งหลายเข้าสู่นิพพานในกาลบัดเดี่ยวนี้แน่แท้ดีหลี


อุกาสะ ข้าจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้าเล่า พระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหากรุณาตั้งแรกแต่วันนี้ไปเบื้องหน้า ข้า จะขอตั้งอยู่ในพระไตรสรณะคมทั้งสามประการ กับทั้งศีลห้าข้อคือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวร อาชีวปาริสุทธิ์ศีล ปัจจยปัจจเวกขณะ และศีลนี้ให้เป็นนิจตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้เถิดฯ ข้า แต่พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์อันประกอบด้วยมหากรุณา พระองค์จงรู้ว่าข้าพเจ้านี้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณะคมทั้งสามประการ กับทั้งศีลห้าข้อให้จงเป็นนิจตราบเท่าสิ้นชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้เถิดฯ ถ้าจะภาวนาอันใดอันเชื่อถือเข้าเถิดฯ ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้าเพื่อจะขอเอา พระปีติธรรมเจ้าทั้งห้านี้จงได้ ขอ พระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าทั้งหลายตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าองค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาพระปีติธรรมเจ้าทั้งห้าแล พระยุคลธรรมทั้งหก พระสุขพระอุปจารสมาธิธรรมเจ้าในห้องพระพุทธคุณเจ้านี้จง มาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจรณะ สมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ สมฺมาอรหํ อรหํ อรหํ อรหํฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ ขุทฺทกาปีติ เบื้องท่อนต้นในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขณิกาปีติ เบื้องอันท่อนสองในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระโอกกนฺติกาปีติ เบื้องอันท่อนสามในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระอุพเพงคาปีติ เบื้องอันท่อนสี่ในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าฯ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระผรณาปีติ เบื้องอันท่อนห้า ในห้องพระสัพพัญญูพุทธเจ้านี้จงมาบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ครั้นข้าได้ยังพระลักษณะทั้งห้านี้แล้ว ข้าฯจะขอเข้าลำดับเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าสับเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าคืบเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าวัดเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ แล้วข้าฯจะขอเข้าสะกดเจ้ากูเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลมฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติ ท่อนต้น ในห้องพระพุทธคุณพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร และ กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนานี้ แดนใดแล ข้าฯยังไปบ่มิได้ในพระลักษณะพระขุทฺทกาปีติ เจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตข้านี้ยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติเจ้า นี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แลข้าฯ จะค่อยบริกรรมไปว่า พุทโธ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แลข้าจะทอดสติไว้ในห้องหทัยวัตถุ แล้วข้าฯจะค่อยพิจารณาดูธรรมานุธรรมปฏิบัติ อันเกิดในขันธ์ทั้งห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ แล้วข้าจะค่อยพิจารณาดูยังพระลักษณะรสปะทัฏฐานะธรรม อันพลัดพรากจากขันธ์ทั้งห้า ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอเอายังพระลักษณะพระขุทฺทกาปีติเจ้า จงมาบังเกิดแก่ข้าฯในขันธ์ทั้งห้าแก่ข้าดังเก่า ข้าฯจะขอเข้าอยู่ให้รู้จักรสปีติแห่ง พระขุทฺทกาเจ้านี้ จงมาสัญญาแก่ข้าก่อนเถิดฯนิพพานปัจจะโยโหนตุ ชื่อว่า อจฺจโย โน ภนฺเต แล้ว พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระอริยสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระอริยสงฆ์ผู้สอนพระกรรมฐานเจ้าองค์ต้นจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า พระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้าเพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ พระขุทฺทกาปีติธรรมเจ้า จงมาสัญญาแก่พระอริยะเจ้าแต่ก่อนโน้นฉันใด จงมาสัญญาแก่ข้านี้เถิด ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ


ข้าฯจะขอภาวนาอานาปานสติธรรมเจ้า เพื่อขอเอายัง อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมพุทธเจ้า ข้าฯจะขอเอา อุคฺคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนา แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอกฯลฯ เท่าดังนั้นก็ดี อันว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียรเพื่อขอเอายังอุคคหนิมิต ในห้องอานาปานสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ได้ละร้อยที ได้ละพันที แล้วข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอานาปานสติเจ้า ขอฯจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิดฯ นิพพานปัจจะโย โหนตุ ฯ ข้าฯจะขอภาวนากายคตาสติเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯลฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้า นี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แล้วค่อยภาวนาไปว่า เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้ายังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้ายังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯ นี้แน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า เกสา เกสา เกสา ได้ละร้อยที ได้ละพันที ข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิตในห้องอุคคหนิมิตในห้องกายคตาสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ ในอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องปฐวีกสิณเจ้านี้จงได้ ในขณะที่ข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี ข้าฯจะค่อยบริกรรมไปว่า ปฐวี ปฐวี ปฐวี ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจะโย โหนตุ ฯ


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้อง อุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้า ฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที แลข้าฯจะขอเอาอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง สันหลังข้าฯปอก ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร เพื่อขอเอาอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิตในห้องอุทธมาตกะอสุภะเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าแน่แท้ดีหลี และข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง อุทธุมาตกัง ได้ละร้อยที ได้ละพันที ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


อุกาสะ ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิในห้องอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนาจงมาบังเกิดแก่ข้า ด้วยคำข้าว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอายังปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะกรรมฐานเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในปฐมฌานในห้องอุทธุมาตกะอสุภะกรรมฐานเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาปฐมฌานอันประกอบด้วยองค์ห้าประการคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และขอเอาทุติยฌานอันประกอบด้วยองค์สี่ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา และข้าจะขอเอายังตติยฌานอัน ประกอบด้วยองค์สาม คือ ปีติ สุข เอกัคคตาอุเบกขา บัดนี้พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายยังว่าหยาบนัก เป็นโลกียธรรม รู้ฉิบ รู้หาย รู้เกิด รู้ตาย บัดนี้ข้า
ฯจะหน่ายเสีย ข้าฯจะขอภาวนาเอาจตุตถฌาน อันประกอบด้วยองค์สองคือ สุข เอกัคตา อุเบกขา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขอเข้าอยู่นานประมาณหมากเคี่ยวคำหนึ่งจืด ข้าฯจึงจะออกจากฌาน ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด แลข้าฯจะขอเอาปัญจมฌานอัน ประกอบด้วยองค์สอง คือ อุเบกขา เอกัคคตา อันแขวนสุขุมาลชาติเจ้านี้จงได้ ข้าฯจะขออยู่นานหมากคำเดียวหนึ่งจืด ข้าฯจะออกขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


อุกาสะ ข้าฯจะขอภาวนาเอายังอนุสสติกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ จงมาเกิดแก่ข้าฯ ด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควาฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯ จะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาบังเกิดปรากฏอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้า แม้นว่าเนื้อข้าปอก เลือดข้าแห้ง เอ็นข้าด้าน หลังข้าปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียรขอเอายังอุปจารสมาธิในห้องอนุสติเจ้านี้จงได้ ข้าจะค่อยภาวนาไปว่า ธัมโม ธัมโม ธัมโม ได้ละร้อยที ได้ละพันทีขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯ นิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ


ข้าฯจะขอภาวนาพรหมวิหารเจ้า สี่ประการ มีเมตตาพรหมวิหารเจ้าเป็นต้น กรุณาเจ้าท่อนสอง มุทิตาเจ้าท่อนสาม อุเบกขาเจ้า ท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิธรรมเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด


อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอเชิญปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ จงมาบังเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาในห้องเมตตาพรหมวิหาร ด้วยคำข้าฯว่า
อหํ สุขิโต โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ถึงความสุข
อหํ อเวโร โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร
อหํ อพฺยาปชฺโฌ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน
อหํ อนีโฆ โหมิ ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีความคับแค้น
สุขี อัตฺตานํ ปริหฺรามิ ขอเราเป็นผู้มีความสุขรักษาตน
อตฺต สุขฺขี ขอตัวเราจงมีความสุข
สุขี ขอเราจงเป็นผู้มีสุข


ข้าฯจะขอเอายังบุญกุศล คืออันให้ข้ามีสุข ตามสัตว์ทั้งหลายทั้งมวล ตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล อกนิฏฐพรหมโพ้น มาเพิ่ม มาแถม ผล ยังกุศลผลบุญแห่งข้าฯ คือให้ข้าฯมีสุขนี้กับหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้นทุกตัวทุกตนเถิดฯ ข้าฯจะได้มีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานเจ้า แลมีด้วยประการฉันใด ข้าฯก็ย่อมจักให้สัตว์ทั้งหลายทั้งมวลมีกุศลผลบุญ มีความสุขในมนุสโลก ในเทวโลก ในนิพพานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ๗ บทนี้ แลข้าขอแผ่เมตตาให้ตั้งแรกแต่สัตว์อันมีในตัวแห่งข้าฯนี้ เป็นต้นว่า หนอนก็ดี ขอให้มีความสุข กับหมู่สัพพสัตว์ทั้งหลายทั้งมวลตราบเท่าถึงอเวจีมหานรก อนันตจักรวาล และอกนิฏฐพรหมโพ้น ทุกตัวทุกตนเถิดฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เพื่อจะขอเอา อุปจารสมาธิ แล อัปปนาสมาธิ ในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้ จงมาบังเกิดอยู่ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ใน อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เมตตาพรหมวิหารเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน สันหลังข้าฯปอก กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าฯจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องเมตตาพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า อะหัง สุขิโต โหมิ เป็นต้น ได้ละร้อยที ได้ละพันที และข้าฯจะทอดสติไว้ในหทัยวัตถุ และข้าจะค่อยบริกรรมเอายังธัมมานุธัมมปฏิบัติ อันเกิดในขณะทั้งห้าแห่งข้าฯ อันว่าอุปจารสมาธิเจ้า อัปปนาสมาธิเจ้าในห้องเมตตาเจ้านี้หนา บัดนี้ข้าฯจะขอภาวนาขอเอายังธรรมานุธรรมปฏิบัติอันแขวนสุขุมาลเจ้านี้จงได้ ขอเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าฯให้รู้ทีเถิดฯนิพพาน ปัจจโย โหนตุฯ

ข้าฯจะภาวนาอรูปฌานสมาบัติเจ้าสี่ประการ คือ อากาสานัญจายตนเป็นต้น วิญญาณัญจายตนท่อนสอง อากิญจัญญายตนท่อนสาม เนวสัญญานาสัญญายตนท่อนสี่ ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ


อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิจงมาเกิดแก่ข้าฯด้วยคำข้าฯว่า อิติปิโส ภควา ฯลฯ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที ในที่นี้เล่าข้าฯจะขอปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า ข้าฯจะขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ในห้องอากาสานัญจายตน ปฐมอรูปฌานสมาบัติ จงมาบังเกิดในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนานี้ แดนใดแลข้าฯยังไปบ่มิได้ในอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้หนา แม้นว่าเนื้อข้าฯปอก เลือดข้าฯแห้ง เอ็นข้าฯด้าน กระดูกอยู่เท่าดังนั้นก็ดี ส่วนว่าชีวิตนี้ข้าฯยังค่อยเป็นไป ข้าจะค่อยกระทำเพียร ขอเอาอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิในห้องอากาสานัญจายตนปฐมอรูปฌานสมาบัติเจ้านี้จงได้ ในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาด้วยคำสัตย์อันมีแห่งข้าฯแน่แท้ดีหลี ข้าจะค่อยบริกรรมไปว่า
อากาโส อนนฺโต ได้ละร้อยที ได้ละพันที
วิญญาณํ อนนฺตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
นิตฺถิ กิญจิ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ได้ละร้อยที ได้ละพันที
520  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก) เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 02:40:27 am


วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)

คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

พระครูสิทธิสังวร ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนมีนาคม ๒๕๓๙ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๓ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม

หน้าปก พระรูปหล่อ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า
(สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐาน ณ กุฏิวิปัสสนา หน้าพระอุโบสถ
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
พิมพ์ที่โรงพิมพ์...................................

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำนำ

พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒) ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่ง ลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา
แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึงยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง
ต่อมาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ จึง ได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อ จากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


พระครูสิทธิสังวร ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-โทรสาร ๐-๔๖๕-–๒๕๕๒, ๐๘๙- ๓๑๖-๒๕๕๒

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ตอนสมถะภาวนา

รูปกรรมฐาน ตอน ๑
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

รูปกรรมฐาน ตอน ๒
๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
๘.ห้องปัญจมฌาน

ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
๙. ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
๑๓.ห้อง อรูปฌาน

ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

(จบสมถะ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

(จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

บททำวัตรพระ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
(ให้ว่า ๓ หน)

พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
พุทโธ ภควาติ ฯ
เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
(กราบ)

ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญู***ติฯ
เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
(กราบ)

สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

(หมอบกราบ แล้วว่า)
ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
(กราบ)

อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔



ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
http://www.somdechsuk.com/index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=38
และ
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15