ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำให้พระปุถุชน ทะเลาะกัน ด้วยเรื่องความเป็น จริง ที่เกิด จัดเป็น อนันตริยกรรม  (อ่าน 5318 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

การทำให้พระปุถุชน ทะเลาะกัน ด้วยเรื่องความเป็น จริง ที่เกิด จัดเป็น อนันตริยกรรม

 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

อนันตริยกรรม 5 (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที)
       1. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา)
       2. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา)
       3. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์)
       4. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป)
       5. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์)

____________________________
อ้างอิง : องฺ.ปญฺจก. 22/129/165


 ans1 ans1 ans1

๙. ปริกุปปสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


     [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ เป็นผู้ต้องไปอบายต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้ ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
          บุคคลผู้ฆ่ามารดา ๑
          ผู้ฆ่าบิดา ๑
          ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑
          ผู้มีจิตประทุษร้ายทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ๑
          ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้ ฯ

          จบสูตรที่ ๙

______________________________________________________________________________
ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=129&items=1&preline=0&pagebreak=0




สังฆเภท

      [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
      พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
         ๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
         ๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
         ๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
         ๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
         ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
         ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
         ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา
         ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
         ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
        ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
        ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
        ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
        ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
        ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
        ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
        ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
        ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
        ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ


      พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้
      ย่อมแยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม
      ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว

_________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=4078&Z=4189&pagebreak=0




ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย และไม่ต้องเกิดในอบาย

      [๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
      มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบายตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
      อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้
      พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

      ....ฯลฯ.....

_________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=4190&Z=4275&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก
http://www.gakkaionline.net/
http://84000.org/
http://i883.photobucket.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2013, 11:46:16 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สารณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน) สาราณียธรรม ก็ใช้
       1. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง)
       2. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง)
       3. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน)
       4. สาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน) ข้อนี้ ใช้ อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้
       5. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ)
       6. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา)


       ธรรม 6 ประการนี้ มีคุณ คือ
       เป็น สารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง)
       เป็น ปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก)
       เป็น ครุกรณ์ (ทำให้เป็นที่เคารพ)
       เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ (ความกลมกลืนเข้าหากัน)
       เพื่อความไม่วิวาท
       เพื่อความสามัคคี และ เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

________________________________________________
อ้างอิง : ที.ปา. 11/317/257; องฺ.ฉกก. 22/282-283/321-323.

ศึกษารายละเอียดได้ที่
สาราณิยสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=282&items=1&preline=0&pagebreak=0
และ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=317&items=1&preline=0&pagebreak=0





มูลเหตุที่ทำให้เกิดสารณียธรรม 6
           
     บทว่า วิวาทมูลานิ ได้แก่ มูลแห่งวิวาท.
     บทว่า โกธโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความโกรธ อันมีความเกรี้ยวกราดเป็นลักษณะ.
     บทว่า อุปนาหิ ได้แก่ ประกอบด้วยความเข้าไปผูกโกรธไว้ อันมีการไม่สลัดการจองเวรกันเป็นลักษณะ.
     หลายบทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ ได้แก่ วิวาทแห่งภิกษุทั้งสองย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร.


     เหมือนอย่างในโกสัมพิกขันธกะ
     เมื่อภิกษุ ๒ รูปวิวาทกัน พวกอันเตวาสิกของเธอทั้งสองนั้น ในวิหารนั้นก็วิวาทกัน.
     ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของพวกภิกษุเหล่านั้นก็วิวาทกัน แต่นั้นพวกอุปัฏฐากของภิกษุเหล่านั้นก็วิวาทกัน.
     ลำดับนั้น เหล่าอารักขเทวดาของพวกมนุษย์ก็ (แยก) เป็นสองฝ่าย.
     บรรดาเทวดาเหล่านั้น เหล่าอารักขเทวดาของพวกมนุษย์ผู้เป็นธรรมวาที ก็เป็นธรรมวาทีด้วย.
     สำหรับพวกมนุษย์ผู้เป็นอธรรมวาที ก็เป็นอธรรมวาทีตาม.


      :91: :91: :91:

     จากนั้นเหล่าภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา จึงแตกกัน.
     เทวดาและมนุษย์ทั้งหมดยกเว้นพระอริยสาวกเสีย ต่อๆกันไป จนกระทั่งถึงพรหมโลก ก็(แยก)เป็นสองฝ่ายด้วยประการฉะนี้.
     ก็พวกที่เป็นอธรรมวาทีเทียว มีจำนวนมากกว่าพวกธรรมวาที.

    ลำดับนั้น พวกเทวดาและมนุษย์ก็ปรารถนาที่จะยึดถือสิ่งที่ชนเป็นอันมากพากันยึดถือ พวกอธรรมวาทีที่มากกว่านั่นแหละ ก็แก้สภาพที่เป็นธรรมแล้ว พากันยึดถือสภาพที่มิใช่ธรรม.
    พวกอธรรมวาทีเหล่านั้น กระทำสภาพที่มิใช่ธรรมให้อยู่ในเบื้องหน้ากล่าวอยู่ จึงบังเกิดในอบายทั้งหลาย.
    วิวาทของภิกษุทั้งสองฝ่าย ย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้...ฯลฯ..

___________________________________
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=7#นิสสารณียธาตุ
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=317&items=1&preline=0&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก
http://www.watpaknam.org/
http://www.mahamodo.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2013, 11:44:00 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

การทำให้พระปุถุชน ทะเลาะกัน ด้วยเรื่องความเป็น จริง ที่เกิด จัดเป็น อนันตริยกรรม

 thk56 thk56 thk56


     ans1 ans1 ans1

       หากการทะเลาะนั้น ไม่ก่อให้เกิดสังฆเภทขึ้นมา จะไม่เป็นอนันตริยกรรม
     การพิจารณาว่า เข้าข่ายสังฆเภทหรือไม่ ขอให้ดูเรื่องวัตถุ ๑๘ ประการ

     อย่างไรก็ตาม สังฆเภท ซึ่งหมายถึง "ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์"
     มีอยู่สองระดับ คือ ระดับที่ตกอบายภูมิสถานเดียว ช่วยเหลือไม่ได้
     อีกระดับหนึ่ง ถึงแม้จะทำลายสงฆ์ แต่มีเหตุที่ต่างจากข้อแรก ไม่ตกอบายภูมิ พอช่วยเหลือได้
     หากต้องการทราบรายละเอียด ให้ดูตามลิงค์นี้(วางไว้ให้แล้วอยู่ด้านบน)
     http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=4190&Z=4275&pagebreak=0

      :25: :25: :25:

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

  เช่นภิกษุดื่มสุรา เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ เบา แต่ มหาเถรสมาคม ให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุ คือ จับสึกเลย นะข้อนี้

  หรือ ได้ยินมาว่า อย่างคณะจังหวัด สระบุรี เคยฟังในรายการ ว่า ถ้าพระขับรถ ด้วยเหตุอันใดก็ตามคำสั่งประกาศคณะสงฆ์สระบุรี ให้ลาสิกขาบถ อย่างเดียวเท่านั้น

 เอ อย่างนี้เข้าข่าย ทำสงฆ์ให้แตกจากกันหรือไม่ ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2013, 02:34:18 pm โดย MICRONE »
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้ สื่อต่าง ๆ มีการแสดงเรื่องราวของพระสงฆ์ ค่อนข้างจะหนัก อย่างเช่น ท่านพุทธอิสสระ ท่านเกษม ท่านพยอม ท่านอีกหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้นำ ในด้านการเผยแผ่ ออกมาโต้วาทะกัน จนเราเองต้องพยายามเลือกข้าง อยู่บ้างตอนนี้ แต่ถ้าหากเลือกข้าง อย่างนี้จัดเป็นสังฆเภท หรือ ไม่ ครับ

  ผมเชื่อว่า ในหมู่สงฆ์ ก็ต้องมี ที่ดี และ ไม่ดี เช่นกัน เพราะท่านไม่ได้เป็นพระอริยะหมด ทุกรูป

   :49: :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระวัดเหนือ ไม่ถูก กับ วัดใต้ แต่ทั้งสองวัดก็ไม่ได้สังฆกรรม ร่วมกัน อยู่แล้ว อย่างนี้จัดเป็นสังฆเภทหรือไม่คะ

 :25: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

  เช่นภิกษุดื่มสุรา เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ เบา แต่ มหาเถรสมาคม ให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุ คือ จับสึกเลย นะข้อนี้

  หรือ ได้ยินมาว่า อย่างคณะจังหวัด สระบุรี เคยฟังในรายการ ว่า ถ้าพระขับรถ ด้วยเหตุอันใดก็ตามคำสั่งประกาศคณะสงฆ์สระบุรี ให้ลาสิกขาบถ อย่างเดียวเท่านั้น

 เอ อย่างนี้เข้าข่าย ทำสงฆ์ให้แตกจากกันหรือไม่ ครับ




ตอนนี้ สื่อต่าง ๆ มีการแสดงเรื่องราวของพระสงฆ์ ค่อนข้างจะหนัก อย่างเช่น ท่านพุทธอิสสระ ท่านเกษม ท่านพยอม ท่านอีกหลายท่าน ซึ่งเป็นผู้นำ ในด้านการเผยแผ่ ออกมาโต้วาทะกัน จนเราเองต้องพยายามเลือกข้าง อยู่บ้างตอนนี้ แต่ถ้าหากเลือกข้าง อย่างนี้จัดเป็นสังฆเภท หรือ ไม่ ครับ

  ผมเชื่อว่า ในหมู่สงฆ์ ก็ต้องมี ที่ดี และ ไม่ดี เช่นกัน เพราะท่านไม่ได้เป็นพระอริยะหมด ทุกรูป

   :49: :smiley_confused1: :c017:


 ans1 ans1 ans1

         ภิกษุต่ำกว่า ๙ รูป ไม่จัดเป็นสังฆเภท

      [๔๐๔] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอุบาลีนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี** ดังนี้
      ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
      ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุหนึ่งรูป ฝ่ายหนึ่งมี ๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
      ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท

      ....ฯลฯ.....

________________________________________________
**สังฆราชี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน

      ดูกรอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
      ดูกรอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท
     
      ดูกรอุบาลี ภิกษุ ๙ รูป หรือเกินกว่า ๙ รูป เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท
      ดูกรอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้
             สิกขมานา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
             สามเณรก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
             สามเณรีก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
             อุบาสกก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้
             อุบาสิกาก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้
      ดูกรอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน ย่อมทำลายสงฆ์ได้ ฯ


ที่มา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=4078&Z=4189&pagebreak=0



    ans1 ans1 ans1

    ขอเพิ่มเติมเรื่องสังฆเภท จะเป็นสังฆเภทได้ ต้องเป็นภิกษุเท่านั้น และต้องมีไม่ต่ำกว่า ๙ รูป
    หากไม่เป็นตามนี้ เป็นเพียงสังฆราชี หรือ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ เป็นกรรมเบาไม่ใช่อนันตริยกรรม

    เรื่องวินัยของพระ ผู้มีหน้าที่ตัดสิน คือ คณะสงฆ์ที่มหาเถรสมาคมกำหนดไว้ คณะสงฆ์นั้นต้องเชี่ยวชาญวินัย
    ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าได้กล่าวถึง "พระวินัยธร" เอาไว้  พระวินัยธร คือ ผู้ทรงพระวินัย พระองค์กำหนดคุณสมบัติของพระวินัยธรเอาไว้ดังนี้

   
     st12 st12 st12

    พระวินัยธรต้องมีธรรม ๗ ประการ
    [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นวินัยธรได้
    ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
      - รู้จักอาบัติ ๑
      - รู้จักอนาบัติ ๑
      - รู้จักอาบัติเบา ๑
      - รู้จักอาบัติหนัก ๑
      - เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
      - มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
      - ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้ ฯ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=2900&Z=2984


       :25: :25: :25:
       
      ขอคุยเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ