ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดูลมหายใจเข้า ออก นั้นถ้าไม่ภาวนาพุทโธ หรือ ภาวนาพุทโธ ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร  (อ่าน 6213 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ดูลมหายใจเข้า ออก นั้นถ้าไม่ภาวนาพุทโธ หรือ ภาวนาพุทโธ ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร

 :25:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


        ผมเกรงเรื่องนิวรณ์ ว่า ท่านจะข่มนิวรณ์ไม่ไหวนะ และจะกลายเป็นเบื่อและเลิกลา    ขอถามกลับ ว่าเมื่อทําแล้ว  แบบไหน เห็นความฟุ้งซ่านน้อยกว่า  แต่ผมว่ามากทั้งสองอย่าง เพราะตัวผู้ปฏิบัติน่าจะมีคำตอบของตัวเองอยู่หมดแล้ว

     เมื่อทำไปพอประมาณ ก็จะเบื่อ และเลิกไป

           เพราะว่ากลายเป็น นั่งคิดแทนนั่งกรรมฐาน

              การฝึกแบบลัด นั้นต้องคุม วิปัสสนา ด้วยตัวเอง คือ วางเป็น


                         ขอตัดเลยนะ   เพราะองค์แห่งการงานนั้นน้อยเกินไป

                   ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  ใช้นิมิตสามประการครับ

                      ก็ต้องลองค้นคว้าดู  หากอยู่กับองค์แห่งการงานได้มาก

           ก็จะเข้าสู่องค์แห่งปีติต่างๆได้ตามลำดับ


                      คราวนี้สำหรับท่านที่ไม่ชอบฝึก พุทธานุสสติ  เพราะว่า

     คิดว่า ไปได้ช้า  แต่อย่าดูถูกนะเพราะว่า ให้ผลถึง ได้ อุคหนิมิต ต่อด้วย กรรมฐาน ห้องที่สี่ คือ อานาปานสติอยู่แล้ว  เสร็จแล้วไป กสิน

           สำหรับพุทธานุสติ นั้น เรียน พระลักษณะ พระรัศมี

             เพื่อเป็น ประโยชน์ คือ รู้การ รู้ใจ ไม่หลงตัวหลงตน

                 หากสำเร็จ พุทธานุสสติ ก็น่าจะดับ นิวรณ์ ได้ค่อนข้างมาก

                  แล้วค่อยไปต่อ ห้อง ที่สี่  อานาปานสติ ครบ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เยิ่นเย้อ เพราะไม่เข้าใจ
  สั้นไป ก็เพราะขาดใจความ
    ตอบมาก ก็ต้องม่ีความรู้
      ตอบน้อย ก็เพราะรู้น้อย หรือ ขี้เกียจ
        ไม่ตอบเลย ก็เพราะว่า กลัว จะโดนตำหนิ ว่าไม่รู้ หรือ รู้น้อย หรือ รู้ผิด
           บัณฑิต ที่ฉลาด จึงต้องเลือกสักอย่าง จาก ตอบ สิ

     คำตอบก็คือ ภาวนาพุทโธ ดีกว่าไม่ภาวนาอะไร
          เพราะองค์แห่งสมาธิ อาศัย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา หากไม่มีองค์แห่ง สมาธิ ก็เป็นสมาธิไม่ได้ เว้นแต่ ได้อัปปนาสมาธิขั้นสูงไปแล้ว

      พุทโธ เป็น วิตก เป็น วิจาร เป็น ปีติ เป็น สุข และ เป็น เอกัคคตา ในที่สุด

      :49:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


    อนนุสสติ โดยทางปฏิบัติ คือ ความระลึกถึง ความทำไว้ในใจโดยแยบคาย ความน้อมไปในอารมณ์

    การดูลมหายใจธรรมดา เป็น อานาปานสติ ก็กรรมฐาน ๔๐ กอง เป็นธรรมเอก วสีฌาณก็อยู่ที่ลมหายใจนี้แหละ ก็หากเกิดปัญญาก็เห็นจริงได้ถึง วิปัสสนาญาณ ๙ ไม่ต้องมาเหนื่อยบริกรรม ไม่ต้องกดความฟุ้งซ่านด้วยคำบริกรรม สำหรับคนที่มีจิตสบายมีกำลังดีอยู่แล้ว




ภาวนาพุทธโธ เป็น พุทธานุสสติ
เอามารวมกัน 2 กอง ก็เป็น อานาปานสติ+พุทธานุสสติ

    ครูบาอาจารย์เจ้าในสายพระป่าทั้งหลาย ท่านสอนว่า ธรรมชาติจิตของเรามันคืืดคิด คิดนั่น คิดนี่ไปทั่ว โลดแล่นเหมือนลิง มันไม่อยู่กับที่ จะให้จิตจดจ่ออยู่ที่ลมเลยนั้น บางคนจิตไม่มีกำลังพอก็ตั้งไม่ได้ จึงใช้พุทโธนี้แหละเป้นกำลังให้จิตรู้ลมเข้า ลมออก ถ้าบริกรรมพุทโธแล้วก็เปรียบเหมือนอัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานมาสู่ใจเรา เท่ากับว่ามีองค์ำพระสถิตอยู่ที่ใจ ให้เราเป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเหมือน คุณที่ว่าด้วยพุทโธในองค์ท่าน เราก็ต้องมีสติให้ดีเป็นกำลังให้จิตแนบอารมณ์ไปกับลมหายใจได้ดีขึ้น
  -  แต่สุดท้ายแล้วโดยส่วนตัวผมนะ เมื่อขณะใดถึงจิตตั้งมั่นไม่มีความคิดแล้ว คำบริกรรมพุทโธก็ดับไปเองแหละ เหลือแต่สภาวะธรรมที่เราเป็นผู้รู้ รู้สมมติได้เห็นของจริง เป็นผู้ตื่นตื่นจากสมมติ เมื่อปัญญาเห็นจริงเกิดขึ้นถึงใจในความหน่ายสกิเลสสมมติกองทุกข์ทั้งปวง เกิดปัญญาญาณตัดได้ ทำให้เข้าถึงวิราคะ ก็เป็นผู้เบิกบานแล้วจากสมมติกิเลสทั้งปวง




    ก. ดังนั้นครูบาอาจารย์ท่านจึงสอนว่า พุทโธนี้มีหลายระดับ ระดับคำบริกรรม ระดับถึงใจ ระดับสัมมาทิญิ ระดับที่ตื่น ระดับเบิกบาน

    ข. แต่สุดท้ายนี้จะอะไรก็แล้วแต่กองไหนก็ช่าง จิตจับเอากองไหนได้ก่อนแล้วถึงความปลงใจสงบใจได้ก็เอาอันนั้นก่อน แต่ละวันจิตคนในแต่ละวัยมันไม่เหมือนกัน สุดท้ายผลของกรรมฐานทุกกอง คือ ทำเพื่อความมีจิตตั้งมั่นเป็นกุศลควรแก่งาน(สัมมาสมาธิ) มีจิตตั้งมั่นให้สมกันกับสติสัมปะชัญญะ และ เอื้อต่อปัญญา




    ส่วนเรื่องวิตกวิจาร อะไรเป็นยังไงอย่าไปสน เราไม่จำเป็นต้องแยกมัน แล้วแต่สภาวะจิตในขณะไหนที่จะไปรู้ตัวใดเท่านั้น ส่วนช่วงที่มันแยกวิตกกับวิจารขาดจากกันก็ในสมาธิที่มีจิตตั้งมั่นในอีกช่วงหนึ่งเท่านั้น เบื้องต้นไม่ต้องไปสนมัน มันจะทำสมาธิไม่ได้ รู้มากยิ่งฟุ้งมาก การกำหนดรู้วิตกวิจารในแต่ละสำนักจะต่างกันไปแล้วแต่ครูบาอาจารย์ท่านใดท่านถึงแล้วคิดว่าสื่อออกมาอย่างนี้ทำให้ลูกศิษย์เข้าใจง่าย ส่วนที่ผมได้ยินได้ฟังและถูกสั่งสอนมาท่านสอยว่ารู้แค่ "วิตก คือ พุทโธ - วิจาร คือ ลม" ก็พอแล้ว รู้แล้วทีนี้เกิดประโยชน์อันใดไหม รู้แล้วได้นำสิ่งใดไปใช้บ้าง มันก็ไม่ได้นำไปใช้นอกจากสัญญาความจำแล้วพูดต่อ แต่ถ้าปฏิบัติเข้าถึงเห็นจริงเข้าถึงกรรมฐานแล้วจะเห็นในวิตกวิจารเองว่า วิตกนี้ทำในอารมณ์นั้นๆให้สืบต่อ วิจารนี้จะแนบแน่นประคองในอารมณ์นั้นให้ต่อเนื่องในอารมณ์ที่คิดที่ทำอยู่นั้น เท่านี้เองไม่ต้องแยกให้ปวดหัวรู้กิจ รู้ลักษณะความจำเป็นในองค์ธรรมพอ

    ครูบาอาจารย์ท่านสอนผมว่า
   - รู้ (มันเป็นแค่อาการหนึ่งๆของจิต ของสังขาร)
   - ปกติ (มันก็แค่ปกติของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบเท่านั้น ไม่ควรยึดติดพิศมัยไรๆ)
   - วาง (รู้ว่ามันเป็นปกติไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน แล้วก็ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในอาการนั้นๆของจิต)




ผมไม่ถึงศีล ไม่รู้ธรรม คงจะตอบได้ตามแค่ที่ตนเห็นตนเข้าถึงแบบงูๆปลาๆ+คำสอนของครูบาอาจารย์ได้เพียงเท่านี้ ของจริงก็ตามที่ผู้รู้หลายๆท่านตอบ หรือถ้ายังไม่เต็มใจก็รอพระอาจารย์สนธยามาตอบเพิ่มเติมครับท่านได้ความรู้ที่ดีมากพิศดารเป้นความรู้ที่ท่านอาจจะไม่เคยได้เรียนรู้มา ก็เป็นได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2015, 03:12:36 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยฟังในรายการครั้งหนึ่ง แต่นานแล้ว พระอาจารย์ท่านพูดเรื่อง
   การฝึกอานาปานสติ กับ การฝึกอานาปานบรรพ สติปัฏฐาน
 
   คือไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่วันนั้นฟังในรายการ แล้ว รู้สึกว่า ว่าธรรมนี้ไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาแต่ก่อน แต่ฟังแล้วเช้าใจในขณะนั้น แต่เคล็ดวิชา จำไม่ได้

    ไม่ทราบ ศิษย์ท่านใด สายนี้ จำได้ ช่วย ถ่ายทอดให้ข้าพเจ้า ทราบบ้าง น้า ....
 
    ขอบคุณมากคะ

     :49: :58: thk56 like1 st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ กบ นี่ ติดตามการฟัง และ จำได้ ดี นะครับ
เพราะบางตอนผมก็ยังไม่รู้ เลย นะครับ

  :s_hi: :49: :58: st11 st12
บันทึกการเข้า

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากหนังสือที่ระลึก “วันอุปสมบถ”

การภาวนา “พุทโธ”

แบบที่ ๑         เป็นอุปจารภาวนา โดยการภาวนา พุทธคุณ ไว้ในใจ นิ่งในใจอยู่อย่างนั้น ตามระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผลการปฏิบัติ ย่อมทำให้จิต ผ่องใส ยืน เดิน นั่ง นอน ก็แจ่มใส ย่อมเป็น เทวดา เป็นพรหม
อานิสงค์          เป็นกำลัง แห่งวิปัสสนา

แบบที่ ๒     เป็นอัปปนาภาวนา
                  ใช้คำภาวนาจาก พระพุทธคุณ ๙                                     บริกรรมนิมิต
                  กำหนดวัตถุนิมิต เป็นพระพุทธคุณ เป็นแบบ กสิน                   บริกรรมนิมิต
                  กำหนดจิตตนิมิต เป็นพระพุทธรูปที่ยกไว้เป็น วัตถุนิมิต             อุคคหนิมิต
ผลการปฏิบัติ ย่อมทำให้ บรรลุ จตุตถฌาน
อานิสงค์      ทำให้เกิด ญาณ ๘


รายละเอียดเพิ่มเติมลองส่งข้อความ หรืออีเมล์ถามพระอาจารย์
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

การดูลมหายใจเข้า ออก โดยไม่บังคับ เช่น ไม่บังคับให้หายใจสั้น หายใจยาว ไม่มีการกำหนดนับ เจริญแบบนี้เป็นอานาปานบรรพ 

การดูลมหายใจเข้า ออก โดยบังคับ เช่น บังคับให้หายใจสั้น หายใจยาว มีการกำหนดนับ เป็นต้น เจริญแบบนี้เป็นอานาปานสติ

โดยส่วนตัวเคยเจริญอานาปานบรรพโดยไม่ตั้งใจ เพราะปกติชอบกรรมฐานที่เกี่ยวกับลมหายใจ ลองทำเองโดยไม่มีครู กำหนดรู้ในลมหายใจ โดยไม่บังคับ ปล่อยให้มันหายใจเอง และก็ไม่ได้บริกรรมภาวนา กำหนดรู้ในลมอย่างเดียว ในทุกอิริยาบถ ตามแต่จะมีสตินึกได้ เมื่อเจริญไปเรื่อย ๆ ลมหายใจจะชัดขึ้น รู้สึกถึงลมหายใจมากขึ้น คล้ายว่ามันพัดแรง หายใจแรง แต่จริง ๆ ก็เท่าเดิม เพราะไม่ได้บังคับ และอยู่ในอิริยาบถผ่อนคลายอยู่แล้ว รู้สึกถึงความเย็นจากลมหายใจ เมื่อจิตรวมเข้าเกิดปีติขนลุกตามแขนขา เกิดปีติคล้ายมดแมลงไต่ หลังจากนั้นจะเพลินในการตามรู้ วางเฉยในร่างกาย ไม่อยากสนใจในร่างกาย ไม่อยากไปรู้ที่ร่างกาย จิตรวมอยู่ที่ลมหายใจ สติระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจ มีความสุขเพลิดเพลินในการตามรู้ลมหายใจ และรู้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกาย แยกกันออกตอนนั้น


พระกรรมฐานโดยทั่วไป แบ่งเป็น รูปกรรมฐาน อรูปกรรมฐาน และกรรมฐานที่ไม่ใช่รูป และอรูป

รูปกรรมฐาน เช่น กสิน ๑๐ มีผลให้จิตตั้งมั่นถึง อัปปนาจิต (ฌาน ๔)

อรูปกรรมฐาน เช่น อากาสานัญจายตนะ มีผลให้จิตตั้งมั่นถึง อัปปนาจิต (ฌาน ๘)

กรรมฐานที่ไม่ใช่รูป และอรูป เช่น อนุสสติ ๑๐ (ยกเว้น กายาคตาสติ และอานาปานสติ) มีผลให้จิตตั้งมั่นถึง แค่อุปจาระฌาน

บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

     ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าใครมีข้อความ ของ พระอาจารย์ นำมาแปะไว้ บ้างก็ดีนะครับ อย่างเรื่อง การฝึก อานาปานสติ และ อานาปานบรรพ นี้ คุณดนัย น่าจะได้ข้อความพิเศษ นะครับ

   ปกติ แล้ว ในสาย สติ ปัฏฐาน ( โดยเฉพาะพวกผม ศิษย์ วัดท่ามะโอ ลำปาง ) ก็เห็นว่า อานาปานบรรพ กับ อานาปานสติ เป็นแบบเดียวกัน

   แต่จากข้อความ คุณดนัย แสดงให้เห็นว่า อานาปาบรรพ กับ อานาปานสติ มีวิธีการไม่เหมือนกัน ถ้าอย่างไรปล่อย เคล็ดวิชาให้บ้างก็ดี นะครับ

   :49: st11 st12
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าใครมีข้อความ ของ พระอาจารย์ นำมาแปะไว้ บ้างก็ดีนะครับ อย่างเรื่อง การฝึก อานาปานสติ และ อานาปานบรรพ นี้ คุณดนัย น่าจะได้ข้อความพิเศษ นะครับ

   ปกติ แล้ว ในสาย สติ ปัฏฐาน ( โดยเฉพาะพวกผม ศิษย์ วัดท่ามะโอ ลำปาง ) ก็เห็นว่า อานาปานบรรพ กับ อานาปานสติ เป็นแบบเดียวกัน

   แต่จากข้อความ คุณดนัย แสดงให้เห็นว่า อานาปาบรรพ กับ อานาปานสติ มีวิธีการไม่เหมือนกัน ถ้าอย่างไรปล่อย เคล็ดวิชาให้บ้างก็ดี นะครับ

   :49: st11 st12

 like1 like1 like1 ยินดีที่คุณ ประสิทธิ์ มีความตั้งใจในการปฏิบัติพระกรรมฐานครับ

ผมไม่เคยถามพระอาจารย์เลยว่า อานาปานบรรพ มีวิธีเจริญยังไง อย่างที่บอกไปว่าทำไปแบบไม่รู้ เพราะช่วงเวลาดำเนินชีวิตตามปกติ เจริญพระกรรมฐานมัชฌิมาไม่ได้ เลยเอาใจมารู้ที่ลมหายใจเอง พอทำแล้วจิตสงบ กายสงบ มีความสุข ก็เลยทำไปเรื่อย ๆ นึกได้เมื่อไหรก็ทำ ก่อนนอนก็ทำ แต่ทำเวลาจะนอนมันมักไม่ยอมหลับ ไม่ยอมง่วง บางทีผ่านไป 2-3 ชม. เลยต้องยอมคลายจากการตามรู้ 

แต่พอปฏิบัติไปถึงอาการคล้าย ๆ กายกับจิต แยกกัน มันก็สุดแค่นั้น เหลืออยู่แค่ตัวรู้ ไม่มีความคิดใด ๆ ถ้าจะคิดก็อาจคิดได้ แต่มันไม่คิด มันแค่รู้ที่ลม ก็เลยถามพระอาจารย์ ท่านเลยบอกว่าเป็นอานาปานบรรพ ไม่ใช่อานาปานสติ ท่านเลยบอกวิธีทำต่อมาให้ ถ้าผมยังอยากจะทำอานาปานบรรพต่อ ดังนั้นเรื่อง อานาปานบรรพ มีแค่นี้ครับ

สำหรับอานาปานสติผมหาลิงค์ของพระอาจารย์มาให้ ลองไปศึกษาดูครับ

ส่วนถ้าสนใจเรื่อง อานาปานบรรพ ก็ลองสอบถามพระอาจารย์ดู ที่ผมนำประสบการณ์มาลงให้อ่าน เพราะต้องการให้ เพื่อน ๆ ผู้ร่วมปฏิบัติธรรม ทราบ ว่ายุคนี้ ปฏิบัติจริง ผลก็เกิดอยู่ ยิ่งได้ครูอาจารย์ ที่รู้จริงก็ยิ่งเป็นบุญของนักปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ยังมีอารมณ์ไม่มั่นคงในพระกรรมฐานนะครับ ส่วนนึงที่ท่านปฏิบัติได้และไม่เปิดเผยก็คงมีอีกมาก ที่ผมปฏิบัติได้ ผมว่าเป็นแค่ ผลการปฏิบัติแค่เล็กน้อยเท่านั้น


อานาปานสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8334.0

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3186.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2015, 08:58:02 am โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า พระอาจารย์ ท่าน รู้ละเอียด มากครับ หลังจากตามอ่าน ตามลิงก์ ที่คุณดนัยให้ไว้ ผมรู้สึกว่า ท่านได้ถ่ายทอดวิชากรรมฐานไว้แล้ว เพียงแต่ เรา( หมายถึงตัวผม) ไปสนใจเรื่องอื่น ๆ จนไม่ได้เห็นข้อความ ว่าที่พระอาจารย์ท่านโพสต์ตอบ ผมว่า มี นัย สมบูรณ์ แล้ว แต่ที่ไม่มีระดับเพิ่มขึ้นก็เพราะว่า อาจจะเป็นเพราะขาดผู้ปฏิบัติได้ถึง ตรงนั้นเข้ามาถาม เพราะคำถาม ถ้าจะถาม ก็คงต้องปฏิบัติตามมาด้วย ถ้าผมจะถามตอนนี้ ก็คงเป็นขั้นต้น เช่นกัน

    thk56 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ