ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ดีเอสไอชี้มูล ธัมมชโยผิด คดีที่ดิน-เงินวัด อ้างต้องปาราชิก  (อ่าน 650 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ดีเอสไอชี้มูล ธัมมชโยผิด คดีที่ดิน-เงินวัด อ้างต้องปาราชิก

คำร้องของพุทธะอิสระเล่นงานธัมมชโยได้ผล ดีเอสไอแจ้ง ผลสอบสวนคดีที่ดิน-เงินวัด พระธัมมชโยส่งเรื่องให้สำนักพุทธฯจัดการ ชี้มีความผิดสำเร็จคดีเบียดบังทรัพย์สินของวัดไปใส่ชื่อตัวเอง ระบุเข้าข่ายละเมิดมาตรา 147 และ 157 แม้จะคืนให้วัดภายหลังก็แค่บรรเทาความผิด นอกจากนี้ ยังชี้ด้วยว่าพระลิขิตที่สมเด็จ พระสังฆราชวินิจฉัยให้ธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกก็ชอบด้วยกฎหมาย แต่มหาเถรสมาคมมิได้ดำเนินการให้ครบถ้วน พร้อมให้ดำเนินคดีกับเจ้าคณะผู้ปกครองชั้นต้นด้วย

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งว่า จากกรณีพระสุวิทย์ ธีรธัมโมหรือพุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย อ.กำ แพงแสน จ.นครปฐม ร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบพฤติการณ์ที่น่าจะเข้าข่ายกระทำผิดอาญาของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ที่เกี่ยวข้อง ในฐานะเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายคณะสงฆ์ และขอให้รับเป็นคดีพิเศษ โดยดีเอสไอ ได้สืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาล สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม กองบังคับการปราบปราม ผู้ตรวจการแผ่นดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรากฏข้อเท็จจริงทาง การสืบสวนสรุปได้


 :96: :96: :96: :96:

กรณีพระธัมมชโยถูกกองปราบ ปรามแจ้งข้อกล่าวหาและสั่งฟ้องต่อศาลอาญา ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และ 157 โดยจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอสู้คดีในชั้นศาล ซึ่งเมื่อผ่านการต่อสู้ในชั้นศาลเป็นระยะเวลาเกือบ 7 ปี พนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องขอถอนคดีต่อศาลอาญา ให้เหตุผลสรุปได้ว่า จำเลยกับพวกได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ที่มีทั้งที่ดิน และเงินอีก 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงเป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช โดยครบถ้วนทุกประการ

อย่างไรก็ตาม การกระทำของพระธัมมชโยถือเป็นการกระทำผิดที่ครบองค์ประกอบความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต และโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 และ 157 ทุกประการแล้ว แม้จำเลยจะนำทรัพย์ที่ได้ยักยอกมาคืนให้แก่วัดพระธรรมกายในภายหลัง ก็เป็นเพียงการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดที่ได้กระทำลงไป ที่สำคัญที่ดินที่มีข้อพิพาทในแทบทุกรายการเกิดจากการใช้ตัวแทนไปติดต่อขอ ซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินโดยตรงแทบทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากการที่เจ้าของที่ดินยินยอมยกที่ดินให้กับทางวัด หรือบริจาคเงินให้กับวัดเพื่อให้ไปซื้อที่ดิน ให้พระธัมมชโยเป็นการส่วนตัว

 :91: :91: :91: :91:

เมื่อ ซื้อแล้วพระธัมมชโยได้อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินในบัญชีของวัดพระธรรมกายไปซื้อ ที่ดินดังกล่าว และกลับใส่ชื่อของตัวเอง แทนที่จะเป็นชื่อของวัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การที่จำเลยไม่ยอมมอบที่ดินคืนให้แก่วัดทันทีตามลิขิตของพระสังฆราช ที่ว่า "ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันทีไม่คิดให้โทษ เพราะคิด ในแง่ยกประโยชน์ให้ว่าในชั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนา ถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่าง เด็ดขาด"

แต่พระธัมมชโยไม่ยอมคืนที่ดินให้วัด แต่กลับต่อสู้คดีทางศาล ซึ่งใช้เวลายาวนานกว่า 7 ปี เมื่อจำเลยรู้ว่าไม่มีทางที่จะทำให้ชนะคดีจึงยอมมอบทรัพย์สินที่มีข้อพิพาท คืนให้กับทางวัด การกระทำเช่นนี้ของพระธัมชโยกับพวกเป็นการกระทำที่มีเจตนาในการกระทำ ความผิด ไม่อาจทำให้การกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วกลับกลายมาเป็นไม่มีความผิดไปได้


 :41: :41: :41: :41:

ใน ส่วนกรณีอาบัติปาราชิกนั้น เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2542 กรมการศาสนาได้นำพระดำริสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระดำริเพิ่มเติม กรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายต้องอาบัติปาราชิก เข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณา และที่ประชุมมีมติมอบเอกสารให้เจ้าคณะภาค 1 พิจารณา โดยตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 8 บัญญัติว่า สมเด็จพระสังฆราชดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชา การคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม เมื่อสมเด็จพระสังฆราชมีพระวินิจฉัยในกรณีพระธัมมชโยแล้ว มหาเถรสมาคมย่อมต้องสนองพระลิขิตที่สมเด็จพระสังฆราชประทาน มาทั้งหมด ตามที่มหาเถรสมาคมมีมติที่ 193/2542 ให้สนองพระดำริโดยตลอดให้ชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎหมายเถรสมาคม

แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการ ติดตามผลเพียงเรื่องเดียว คือ ติดตามรับมอบและคืนที่ดินของวัดพระธรรมกายเท่านั้น ในส่วนประเด็นวินิจฉัยของสมเด็จพระสังฆราชว่าพระธัมมชโยต้องปาราชิกนั้นยัง ไม่ได้มีการดำเนินการ ทั้งที่ผลการดำเนินการคดีทางโลกเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งจากพยานหลักฐานทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ ต่างมีพยานระบุยืนยันเจตนาการกระทำผิดของพระธัมมชโยอย่างชัดเจน จึงชี้ชัดได้ว่าพระธัมมชโยได้กระทำผิดโดยเจตนาแล้ว แต่ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคมยังไม่สนองงานตามพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชให้ ครบถ้วนทุกประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการดำเนินการในเรื่องการลงนิคหกรรมแก่พระธัมมชโย ที่ต้องอาบัติปาราชิก จึงถือเป็นหน้าที่ตามระเบียบและกฎหมายที่มหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคมโดยเร็วต่อไป หากปล่อยปละละเลยไม่ถือปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อาจมีส่วนในการถูกพิจารณาความ ผิดทางอาญาฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

 :29: :29: :29: :29:

โดยดีเอสไอเห็น ว่ายังมีประเด็นที่สำนัก งานพระพุทธศาสนาแห่งชาติต้องพิจารณาใน 2 กรณี คือ
    1.การดำเนินการให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกตามลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ที่มีมติมหาเถรสมาคมรับรองให้ถือเป็นคำสั่งที่ชอบและต้องปฏิบัติตามให้ครบ ถ้วน และ
    2.ให้พิจารณาดำเนินการกับเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ชั้นต้น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามข้อ 1


ขอบคุณข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1454126674
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ