ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระปิดตามหาอุตม์ กับ พระฐานานุกรมสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)  (อ่าน 10840 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (หลวงพ่อทับ อินทโชติ) วัดสุวรรณาราม(วัดทอง) กรุงเทพฯ
ภาพจากhttp://www.web-pra.com/


ตุ๊กตาหลวงพ่อทับ
คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง

ครั้งหนึ่งซึ่งเป็นครั้งเดียว หลายปีเต็มที มีคนชักชวนให้ผมไปฟังปุจฉา วิสัชนา ของหลวงปู่พุทธอิสระ ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรฯ บางเขน

ข้อวิสัชนา...ทุกสิ่งในโลกนี้เป็นของสมมติ จงรู้จักค่าของสมมติ ให้เกียรติสมมติ และรู้จักใช้ประโยชน์จากสมมติ...ฟังแล้วคาใจ สมมติ ผมแปลความเอง ก็...อนัตตา คือความไม่มีตัวตน คือความว่าง...นั่นเอง

กลางกระแสบ้า ของตุ๊กตาลูกเทพ มีใคร? หนุ่มไฮโซฯ สักคนบ่นว่า ไม่ได้แตกต่างจากการสมมติค่า นาฬิกายี่ห้อดัง...บนข้อมือของเขา นาฬิกายี่ห้อดัง กระเป๋าถือยี่ห้อดัง ฯลฯ ไปถึงขั้น ทองคำ เพชร พลอย คนพวกหนึ่ง ในเวลาหนึ่งสมมติว่า “มีราคาแพง” แต่ถ้าเปลี่ยนเวลา...ไปอยู่ในเรือลำเล็กกลางทะเลลึก นาฬิกา เพชรพลอยแพงแค่ไหน ในยามหิวไม่มีค่าเลย เทียบกับขนมปังก้อนเดียว

ผมอ่านเรื่องสั้น เศรษฐศาสตร์ กลางทะเลลึก ของพี่ อาจินต์ ปัญจพรรค์ แล้ว นึกถึงประโยคอมตะ ของ ม.จ.สิทธิพร กฤตดากร “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาต่างหาก...ของจริง”


ภาพจาก http://www.aj-ram.com/


ในจำนวนพระปิดตามหาอุตม์ พระเครื่องยอดนิยม...พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หรือเนื้อผงจุ่มรัก หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี นิยมเป็นที่ 1 พิมพ์ใหญ่หลังแบบ องค์สวยสมบูรณ์ ราคาประมูลครั้งล่า 34 ล้าน

อีกชุด พระมหาอุตม์เนื้อสำริด...วงการยกของ หลวงพ่อทับ (พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี พระฐานานุกรม สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวร (ไก่เถื่อน) วัดมหาธาตุ) เป็นที่หนึ่ง ของแท้ มีใบรับประกัน ราคาสมมติจากสถาบันในวงการ ขึ้นล้านไปแล้ว


 :96: :96: :96: :96:

ครูดุก พัทยา เล่าไว้ในหนังสือ พระปิดตามหาอุตม์ว่า พระกัจจายนะ เป็นพระอรหันตสาวกองค์เดียว ที่มีรูปร่างงามสง่าคล้ายพระพุทธองค์ มีคนทักผิดบ่อยๆ ท่านก็เลยอธิษฐานแปลงร่างให้อ้วนพุงพลุ้ย แต่ความตั้งใจจะไม่ให้คนสนใจ กลับส่งผลตรงข้าม คนกลับนิยมชมชอบท่านยิ่งขึ้น จากสภาพพระอ้วนลงพุง คนก็แปลงท่านให้เป็นพระปิดตา...ปิดแค่สองตา เป็นที่มาของการสร้างพระปิดตา...ยังไม่พอ

คนก็ยังสมมติให้ท่านเข้านิโรธสมาบัติ แสดงสัญลักษณ์ด้วยการปิดหู ปิดจมูก ปากและปิดกระทั่งก้น สมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่า พระปิดทวารทั้งเก้า ต่อมา ก็เรียกมหาอุด แต่คำอุดบอกนัยไม่ค่อยดี...นักเลงภาษาจึงลาก “อุด” เข้าบาลีเป็น “อุตม์” หรืออุตมะ ที่แปลว่า สูงสุด พูดง่ายๆ ลากคำอุด ที่ไม่เป็นมงคล ให้เป็นคำมงคล


พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง ธนบุรี ภาพจาก http://www.aj-ram.com/


ในประวัติหลวงพ่อทับ ที่อาจารย์ชื้น วัดมหรรณพ์ เขียนในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาชลปทาน–ธนารักษ์ พ.ศ.2515...ตอนหนึ่งว่า

ครั้งหนึ่งหลวงพ่อทับ ธุดงค์ไปในป่าใกล้วัดบ่อหลวง เชียงใหม่ เจอชาวบ้านชาย 9 หญิง 4 หลวงพ่อก็ควักพระมหาอุตม์จากก้นย่าม แจกให้ เขาก็รับกันไว้ ไม่ได้แสดงเชื่อถือ ไม่สนใจ เอามาโยนเล่น
   แล้วก็ถาม “ที่ให้มาเป็นตุ๊กตาหรือ.?”
   “เป็นพระ...มีเอาไว้รักษาหู รักษาตา รักษาปาก”
   หลวงพ่อทับว่า “ถ้าปากไม่ดี ไปที่ไหน ก็มีแต่เรื่อง”

มีชาวบ้านกลุ่มใหม่เป็นชาย 4 คน เห็นอาการหมิ่นแคลนพระของคนพวกนั้น ก็ทะเลาะกันมีเรื่องตะลุมบอนกัน พวกเข้ารีตที่มีพระมหาอุตม์ หนังเหนียวไม่มีใครเลือดตกยางออก จะมีก็แต่ผู้หญิงปากจัด ที่ออก ชวนหลวงพ่อทับ สึกไปรับจ้างเลี้ยงหมูถูกกระสุนเข้าปาก ฟันหักหมดปาก...อยู่คนเดียว


 ans1 ans1 ans1 ans1

เขียนมาถึงตอนนี้ ผมก็ย้อนไปนึกถึงคำสอนหลวงปู่พุทธอิสระ ทุกอย่างเป็นของสมมติ...คนพวกหนึ่งมีความเชื่อ ก็สมมติ เป็นพระปิดตาพระมหาอุตม์...คนอีกพวกไม่เชื่อ เห็นเป็นแค่ “ตุ๊กตา”

ความเชื่อ เป็นเสรีภาพเฉพาะตัว...เป็นเรื่องสมมติเฉพาะตัว ต้องให้เกียรติคนด้วยกัน ไม่ควรเอามาเป็นเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน หากความเชื่อนั้นไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร

ลูกผมตอนยังเล็กติด “น้องโฉ่ย” ตุ๊กตาตัวใหญ่ จะไปไหน ไปเที่ยว เจ็บไข้เข้าโรงพยาบาล ก็เอาติดตัวไปด้วย พูดคุย หยอกเย้า ป้อนข้าวป้อนน้ำไปตามประสา

ปัญหาของตุ๊กตาลูกเทพ น่าจะอยู่ที่ คนที่ติดตุ๊กตาเป็นผู้ใหญ่...เด็กยังไร้เดียงสาได้ ผู้ใหญ่จะไร้เดียงสาบ้าง...ผมเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดพิสดารแต่ประการใดเลย.


ขอบคุณบทความจาก
https://www.thairath.co.th/content/569851
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2016, 08:02:45 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระเครื่อง ยังพอ ระลึกถึงพระพุทธคุณได้ มองเห็น เป็นที่นิยม
ตุ๊กตาเทพ มันเป็นผลิตภัณฑ์ จากต่างประเทศ ( นำเข้าจากจีน ) ถ้าจะไว้ระลึกถึง คุณเทวดา มันก็พอได้ แต่ คนที่ใช้จริง ๆ ตอนนี้ มันออกไปทาง งมงาย เสียมากกว่า และ คนที่จัดว่าเป็น บัณฑิต ( พวกพระสงฆ์ ) กลับมาทำเรื่องงมงาย เพิ่มเข้าไปอีก

    จริงอยู่มองแล้ว ว่า เป็นให้กำลังใจ แต่ เมืองไทย ขณะนี้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา สิ่งที่ปรากฏออกไปต่อสื่อทั่วโลก มันเป็นทางลบ ไม่ใช่ทางบวก

   สถานการณ์ พุทธ เมืองไทย นั้น อยู่ในภาวะ วิกฤติหลายเรืื่อง ทางด้านศรัทธา และ ก็เป็นเหตุให้สื่อต่าง ๆ พยายามเข้ามาบิดเบือน สร้างภาพให้มันเป็นทางลบเพิ่มขึ้นผล กระทบก็จะได้ฝั่งตรงข้าม

   ถามว่า ดี หรือ ไม่ดี ถ้าศาสนาพุทธ ขณะนี้สอนให้คน งมงาย เด็ก เล็ก ลูก หลาย เหลน โหลน ภายหน้า ที่เห็นว่า พุทธศาสนาไม่มีความจำเป็นกับเขาแล้ว คุณจะรักษา ประเทศชาติ ได้กันจริง หรือ ไม่ ?

  :96: :smiley_confused1: :34: :bedtime2:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระถานานุกรมสมเด็จพระญาณสังวร มี ๕ รูป ทรงแต่งตั้งให้

๑. พระอาจารย์ด้วง พระอาจารย์วิปัสสนาเป็น พระครูปลัดด้วง ถานานุกรมชั้นที่ ๑ ทำหน้าที่บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ พระครูปลัดด้วง ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วย บอกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน เป็นรุ่นต่อมา ส่วนพระญาณวิสุทธิ์เถร (ชิต) พระปลัดขาว พระอาจารย์สุก พระอาจารย์สี พระใบฎีกากัน พระอาจารย์เจ้า พระอาจารย์มาก พระอาจารย์สน พระอาจารย์ด้วง (มีอีกองค์หนึ่ง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน รุ่นแรกของสมเด็จพระญาณสังวรเนื่องจาก พระมหาเถรเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีชนมายุเลย ๗๐ บ้าง บางท่านมีชนมายุเกือบถึง ๘๐ พรรษาแล้ว ต้องการพักผ่อน หาความสงบวิเวก ในกุฎิอันเป็นผาสุกวิหารของแต่ละท่าน

ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวร ทรงอนุญาติให้ พระครูปลัดด้วง เลือกสรรแต่งตั้งพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน โดยเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยของ พระครูปลัดด้วง ซึ่งมีรายนามดังนี้ คือ
    พระอาจารย์รุ่ง (พระญาณโกศลเถร) ๑
    พระอาจารย์บุญ (พระญาณสังวรเถร) ๑
    พระอาจารย์มี (พระญาณโยคาภิรัติ) ๑
    พระอาจารย์เมฆ (พระสังวรานุวงศ์เถร) ๑
เลือกสรรได้แล้ว ท่านจึงนำรายชื่อถวาย สมเด็จพระญาณสังวร ทรงแต่งตั้งอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งนั้น พระครูปลัดด้วง ท่านจึงเป็นกำลังสำคัญ ของสมเด็จพระญาณสังวร ในฝ่ายวิปัสสนาธุระ และเป็นกำลังของวัดราชสิทธาราม กาลต่อมาท่านพระครูปลัดด้วง มีชื่อเสียงโด่งดัง ผู้คนทั้งหลายเคารพนับถือ ยำเกรงมาก เรียกขานนามพระครูปลัดด้วงว่า หลวงปู่ใหญ่ หลังจากสิ้นอายุสังขาร ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก) เจ้าคุณหอไตร และพระมหาเถรรุ่นแรกแล้ว พระครูปลัดด้วง จึงเป็นผู้นำพระอาจารย์วิปัสสนาทั้งปวง


๒. พระอาจารย์แก้ว เปรียญพระอาจารย์บอกหนังสือพระบาลีมูลกัจจายน์ หนังสือจินดามณีเป็น พระครูวินัยธร (แก้ว) ถานานุกรมชั้นที่ ๒ ทำหน้าที่บอกหนังสือพระปริยัติธรรม พระบาลีมูลกัจจายน์ ท่านมีอาวุโสกว่า พระอาจารย์ด้วง ท่านชำนาญทางด้านพระวินัยพระบาลี เป็นอาจารย์ผู้ช่วยของ พระวินัยรักขิต (ฮั่น) พระรัตนมุนี(กลิ่น)  พระครูวินัยธรแก้ว

ท่านมีอาจารย์ผู้ช่วยบอกหนังสือ คือ พระมหาทัด (พระอมรเมธาจารย์) พระมหาเกิด (สุธรรมธีรคุณ) พระมหาเกด (พระอมรเมธาจารย์)ฯ ฉะนั้นพระครูวินัยธรแก้ว จึงเป็นกำลังสำคัญ ในฝ่ายคันถะธุระ ของพระศาสนา และของวัดราชสิทธาราม ในกาลต่อมา


๓. พระใบฏีกากัน เป็น พระครูวินัยธรรมกัน ถานานุกรมชั้นที่ ๓ ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน มาแต่เดิมเป็นรุ่นแรก ท่านเป็นพระมหาเถรที่มีอาวุโสกว่า พระครูปลัดด้วง พระครูวินัยธร (แก้ว) เหตุที่ พระครูวินัยธรรมกัน เป็นถานานุกรมอยู่เพียงแค่นี้ ไม่เลื่อนสูงขึ้นไปอีก เพราะท่านไม่มีความประสงค์เป็นถานานุกรม สูงขึ้นไปกว่านี้ เนื่องจากท่านมีปรกตินิสัย ไปในทางรักสันโดด มักน้อย ไม่ชอบวุ่นวายเรื่องยศถาบรรดาศักดิ์ ด้วยความจริงใจ

และท่านมีความเห็นอีกว่า พระเถรองค์อื่นที่มีความรู้ ความสามารถมากกว่าท่านก็มี และจะได้เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาต่อไปในภายหน้า อีกประการหนึ่งท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า จะขออยู่แค่นี้จะไม่ขึ้นต่อไปอีก

ภายหลังถึงต้นรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ จะทรงแต่งตั้งท่านขึ้นเป็น พระราชาคณะ พระครูธรรมธรกัน ไม่ยอมรับตำแหน่งนี้ ท่านให้เหตุผลต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ว่า ตั้งใจตั้งสัจจะให้แก่ตัวเองไว้แล้ว จะไม่ยอมขาดจากสัจจะอย่างเด็ดขาด จะได้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ภิกษุผู้เกิดในภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ก็ทรงจนพระทัย


๔. พระอาจารย์สี พระอาจารย์วิปัสสนาเป็น พระครูสมุห์สี ถานานุกรมชั้นที่ ๔ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐานของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อนท่านเป็นพระมหาเถรมีอาวุโสสูง รุ่นเดียวกับ พระครูวินัยธรรมกัน ท่านมีความดำริเช่นเดียวกับ พระครูวินัยธรรมกัน

๕. พระอาจารย์กลิ่น พระอาจารย์วิปัสสนา เป็นคนละองค์ กับพระมหากลิ่น กวีเอก พระอาจารย์กลิ่น เป็น พระครูใบฎีกากลิ่น ถานานุกรมชั้นที่ ๕ ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยบอกพระกรรมฐาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ท่านมีความดำริเช่นเดียวกันกับ พระครูวินัยธรรมกัน และพระครูสมุห์สี




ปีที่สถาปนาพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็นสมเด็จราชาคณะนั้น พระภิกษุมหาเถรในวัดพลับได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณะศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ๒ รูป พระครู ๑ รูป คือ

   ๑. พระปลัดขาว ท่านเป็นพระปลัด ถานานุกรมของพระญาณสังวรเถร ท่านเป็นพระปลัดต่อจาก พระปลัดชิต พระปลัดขาวได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณโพธิ์เถร รับพระราชทานพัดงาสาน พระคณาจารย์เอก ทางวิปัสสนาธุระ พระปลัดขาว เป็นพระญาณโพธิ์ ต่อจาก พระญาณโพธิ์ วัดสังข์กระจาย แต่ราชทินนามของ พระปลัดขาว เติ่มคำว่า เถร ต่อท้ายราชทินนาม เพราะเป็นราชาคณะ พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    ๒. พระมหากลิ่น เปรียญเอก เป็นพระราชาคณะฝ่ายคันถธุระที่ พระรัตนมุนีพระมหากลิ่น เป็นพระรัตนมุนี ต่อจากพระรัตนมุนี (ขุน) วัดโมลีโลก ที่เลื่อนขึ้นเป็นพระเทพโมลี

    ๓. พระสมุห์ศุก พระอาจารย์วิปัสสนา ท่านเป็นพระสมุห์ ของพระญาณสังวรเถร(สุก)  ต่อจากพระสมุห์ฮั้น ที่ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระวินัยรักขิต ครั้งนี้พระสมุห์ศุก ได้รับพระราชทานเป็นพระครูวิปัสสนาที่ พระครูธรรมสถิต

    ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระปัญญาภิสารเถร พระคณาจารย์เอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากวัดพลับไปครองวัดอรัญวาสีหัวเมืองคือ วัดโปรดเกษเชฎฐาราม เมืองนครเขื่อนขันธ์ ท่านไปพร้อมด้วยถานานุกรมสามรูปมี พระปลัดขาวติดตามไปด้วยต่อมา พระปลัดขาว เป็นพระครูวินยานุบุรณาจารย์ (ขาว)

    ในต้นรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๘๖ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิษารเถร (ขาว) เป็นเจ้าอาวาสวัดโปรดเกษเชษฐาราม พระญาณวิษารเถร(ขาว)เป็นสัทธิวิหาริก ของพระญาณสังวรเถร (สุก ไก่เถื่อน) พระปัญญาภิสารเถร (ศุก) ท่านเป็นอันเตวาสิกรุ่นใหญ่ ของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)

    เมื่อท่านไปสถิต ณ. วัดโปรดเกษเชฎฐารามแล้ว คนทั้งหลายในเมืองนครเขื่อนขันธ์ เรียกขานนามท่านว่า ท่านท่าหอย เนื่องจากท่านมีนามว่า ศุกเหมือนสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน อีกทั้งท่านยังมาจากวัดท่าหอย กับทั้งยังมีเมตตาพรหมวิหาร ทำให้ไก่ป่า ที่เขตป่าวัดโปรดเกษเชฎฐาราม เชื่องได้ คล้ายกับสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน


อ้างอิง :-
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้าที่ ๓๒๙-๓๓๒
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ask1 ask1 ask1 โดยคุณ komol
พระเครื่อง ยังพอ ระลึกถึงพระพุทธคุณได้ มองเห็น เป็นที่นิยม
ตุ๊กตาเทพ มันเป็นผลิตภัณฑ์ จากต่างประเทศ ( นำเข้าจากจีน ) ถ้าจะไว้ระลึกถึง คุณเทวดา มันก็พอได้ แต่ คนที่ใช้จริง ๆ ตอนนี้ มันออกไปทาง งมงาย เสียมากกว่า และ คนที่จัดว่าเป็น บัณฑิต ( พวกพระสงฆ์ ) กลับมาทำเรื่องงมงาย เพิ่มเข้าไปอีก

    จริงอยู่มองแล้ว ว่า เป็นให้กำลังใจ แต่ เมืองไทย ขณะนี้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา สิ่งที่ปรากฏออกไปต่อสื่อทั่วโลก มันเป็นทางลบ ไม่ใช่ทางบวก

   สถานการณ์ พุทธ เมืองไทย นั้น อยู่ในภาวะ วิกฤติหลายเรืื่อง ทางด้านศรัทธา และ ก็เป็นเหตุให้สื่อต่าง ๆ พยายามเข้ามาบิดเบือน สร้างภาพให้มันเป็นทางลบเพิ่มขึ้นผล กระทบก็จะได้ฝั่งตรงข้าม

   ถามว่า ดี หรือ ไม่ดี ถ้าศาสนาพุทธ ขณะนี้สอนให้คน งมงาย เด็ก เล็ก ลูก หลาย เหลน โหลน ภายหน้า ที่เห็นว่า พุทธศาสนาไม่มีความจำเป็นกับเขาแล้ว คุณจะรักษา ประเทศชาติ ได้กันจริง หรือ ไม่ ?

  :96: :smiley_confused1: :34: :bedtime2:


 ans1 ans1 ans1 ans1

ถามเล่นๆนะ.... จตุคามรามเทพ กับ ลูกเทพ ต่างกันอย่างไร.?
ความจริงผมยังโพสต์ไม่จบ จุดประสงค์ของกระทู้นี้คือ
จะนำประวัติหลวงปู่สุก(ฐานานุกรมของท่าน) มาเปรียบเทียบกับ
บทความจากคอลัมน์ชักธงรบ จาก นสพ.ไทยรัฐ
ซึ่งพบว่า มีความแตกต่างกันอยู่ โปรดติดตาม...


 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 31, 2016, 08:34:46 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง

ถามเล่นๆนะ.... จตุคามรามเทพ กับ ลูกเทพ ต่างกันอย่างไร.?.

 :25:

   ก่อนอื่น ต้องขออนุโมทนา กับ คุณ raponsan ไว้ที่คอยมอบความรู้ และก็ผม ติดตามผลงานท่านมาตลอด ไม่ได้มีเจตนา จะมาโพสต์เบรค เรื่องใด ๆ เพียงแต่ ข้อความที่นำมานั้น ท่านไม่ได้เป็นคนเขียนอยู่แล้ว แต่ ผมเห็นว่า บางครั้งพวกที่เขียนคอลัมน์นิสต์ ต่าง ๆ นั้น บางครั้งเขียนเกิน วิจารณ์เกินไป โดยที่มุมมองอาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อน ก็เห็นมีหลายท่าน ช่วงนี้กระแสเรื่องพระนั้น เขาพยายามชักศึก ดึงใบให้ออกไปจากเรื่อง สังฆราช ตอนนี้เลยไปกระหน่ำ เรื่องเล็ก ๆ ขี้หมู ขี้หมา ที่มันมีอยู่แล้ว และแก้ไขไม่ได้ เนื่องด้วยมันเป็นธรรมเนียม ที่พระสงฆืไทย ดำเนินวิถีชีวิตมาอย่างนี้

     ตัวพระสงฆ์ในอดีต นั้น เปรียบดั่งผู้วิเศษ เพราะท่าน ดำรงตนอย่างวิเศษ น่ากราบ น่าไหว้ น่าบุชา น่าเคารพ ควรแก่สักการะ แต่ พระสงฆ์ในยุคปัจจุบันนั้น ยิ่งสังคมออนไลน์แล้ว มองว่า ก็คือ ผู้ที่เอาผ้ากาสาวพัตร์ มาห่มเท่านั้น เป็นอาชีพ ๆ หนึ่ง เท่านั้น จิตใจคนในปัจจุบันที่ ลดลงเพราะความฉลาด ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มองเห็นเรื่องราว หลาย เรื่อง ที่พระสงฆ์ ปัจจุบันทำเป็นเพียง ไสยศาสตร์ ไสยเวทย์ ไม่ใช่ วิชาพุทธศาสน์ ดังนั้นการโจมตี ระหว่างพุทธ ด้วยกัน ที่เรียกว่า กลุ่มปัญญา กลุ่มศีล กลุ่มสมาธิ จึงมีแนวคิดไม่เหมือนกัน ตรงส่วนนี้

   จตุคามรามเทพ กับ ลูกเทพ
    1. ต่่างกันที่ลักษณะ ภายนอก 
    2. วัตถุประสงค์การสร้าง ที่มาครั้งแรก ไม่เหมือนกัน
          จตุคาม สร้างมาครั้งแรก โดยขุนพันธ์ วัตถุประสงค์ บูรณะวัด ในครั้งนั้น และผู้ทำเป็นผู้เรืองอาคม ด้านไสยเวทย์ เป็นตำนานเมืองไทย ในการทำ 3 ครั้ง มีประโยชน์ ต่อพระสาสนา ด้านเกื้อกูลบูรณะวัด แต่ ต่อมาการกระทำมีชื่อเสีย่ช่วงหลัง พระที่เคยรวมสร้างกับ ขุนพันธ์ ก็นำเป็นการสร้างแบบธุรกิจเชิงพาณิชย์ มากชึ้น แต่คราวนี้ พระเป็นผู้ดำเนิการทั้งหมด ซึ่งมันก็ไม่ต่างอะไรกับ ที่วัดบัวขวัญทำเลย กับ ตุ๊กตาเทพ วัดบัวขวัญไม่ได้มีแค่ตุ้กตาเทพ มีอย่างอื่น ๆ อีกมาก ที่ขัดกับหลักพุทธศาสน์
    3. วัดบัวขวัญ เป็น วัดสำนักปฏิบัติ วัดหนึ่ง และ เป็นวัดเจ้าคณะจังหวัด นนทบุรี ด้วย การที่ พระสงฆ์ ที่เป็นผู้นำระดับจังหวัด ออกมาทำเรื่อง ไสยเวทย์ นั้น มันไม่ควร ถ้าเป็นพระผู้น้อย พอดูหน้ารัก อยู่

   

     สำหรับวัดราชสิทธาราม นั้น คณะ 5 เองก็มีเรื่อง ประมาณนี้เหมือนกัน โดยเฉฑาะ เรือ่ง ของหัวฤาษี ครอบครูพวกนี้ ผมว่าจริง ๆ ไม่ใช่เป็นธรรมเนียมกรรมฐาน เลยนะครับ สังเกค หลวงพ่อพระครูไปหลายครั้ง สนทนาก็มีแต่ เรียไร ปลุกเสก พระเครื่อง รดน้ำมนต์ ตัวกรรมฐานจริง ๆ ผมว่าไม่ค่อยได้ตอบ ส่วนคนที่ว่าได้ ในสายตาผมตอนนี้ ผมว่าไม่ได้

      มีสามเณรที่ขึ้นกรรมฐาน แล้ว นั่งเข้าสะกด ในตอนนั้น ที่หลวงพ่อรับรองไว้หลายรูป ว่าผ่านเข้าห้องสะกด แล้วท่านเคยพูดกับผมว่า พวกนี้มีธรรมสูง ผมได้เข้าไปสืบติดตามหลายรูป เพราะว่า ทำงานย่านนั้นเข้าไปทำบุญ ได้คุยกับสามเณรของวัดนั้นหลายรูป เห็นบอกว่า ที่เข้ากรรมฐาน ถึงขั้นสะกดนั้น เป็นพวกไม่เอาถ่าน ไม่เรียน ไม่ศึกษา ปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ด้วยซ่้ำไป ได้ยินว่า ดูจะมีดีอยู่ รูปเดียวเท่านั้น คือ สามเณรที่อยู่ คณะ 1 อุปัฏฐาก เจ้าอาวาส
 
      ส่วนพวกฆราวาส หลายท่านที่ผมได้ติดต่อไม่ว่า จะเป็นคณะกรรมการ หรือ พี่ ๆ ที่รู้จักกัน ผมว่า ยังไม่ได้สำเร็จจริง ๆในกรรมฐาน เพราะถ้าสำเร็จในกรรมฐาน จริงๆ แล้ว การเผยแผ่ จะมีผู้สนับสนุนมากมาย นะครับ

     ก็เป็นความเห็นส่วนตัว นะครับ

   
   
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่ถื่อน) วัดกำแพง นนทบุรี

เรื่องพระฐานานุกรมของสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่ถื่อน)นั้น จากหนังสือประวัติของท่านที่เรียบเรียงเรียงโดยพระครูวีระ วัดพลับนั้นระบุชัดเจนว่า มีเพียง ๕ รูปเท่านั้น คือ
     ๑. พระอาจารย์ด้วง (พระครูปลัดด้วง)
     ๒. พระอาจารย์แก้ว (พระครูวินัยธรแก้ว)
     ๓. พระใบฏีกากัน (พระครูวินัยธรรมกัน)
     ๔. พระอาจารย์สี (พระครูสมุห์สี)
     ๕. พระอาจารย์กลิ่น (พระครูใบฎีกากลิ่น)

แต่..จากคอลัมน์ชักธงรบ เขียนโดย กิเลน ประลองเชิง ระบุว่า หลวงพ่อทับ อินทโชติ(พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี) วัดสุวรรณาราม เป็นพระฐานานุกรม ของ สมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เรื่องนี้เป็นที่สงสัยนัก จากการค้นประวัติหลวงพ่อทับ พบว่า

รายนามเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามจากเว็บไซต์ของวัดสุวรรณาราม มีอยู่ ๔ รูปทีมีชื่อจริงพ้องกับชื่อของพระฐานานุกรม ตามหนังสือประวัติสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่ถื่อน) ฉบับของพระครูวีระ ทั้ง ๔ รูปนั้นคือ
    เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ พระเทพมุนี (กัน ป.ธ.๕)
    เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ พระธรรมธราจารย์ (ด้วง)
    รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระปลัดแก้ว
    เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ พระศีลาจารพิพัฒ (ศรี)

ข้อมูลอีกชุดหนึ่งจากลานโพธิ์ ระบุว่า "ในสมัยเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ พระเทพมุนี (กัน ป.ธ.๕) มีพระราชาคณะอีกรูปหนึ่งคือ พระธรรมธราจารย์(พลับ) มาจากวัดหงส์" เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า วัดหงส์กับวัดพลับมีความเกี่ยวข้องกัน โดยสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เคยไปปลุกเสกสระน้ำมนต์ที่วัดหงส์ และสองวัดนี้ก็อยู่ใกล้กัน

เรื่องนี้จะอธิบายอย่างไรต่อไปนั้น ผมเองก็จนด้วยเกล้า ไม่อาจกล่าวอะไรได้อีก

ขอคุยเท่านี่ก่อนครับ ยังมีเรื่องอื่นที่น่าสนใจ โปรดติดตาม.......

 :25: :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2016, 10:09:33 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การสร้าง พระปิดตามหาอุด(อุตม์) ในสมัยโบราณ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2016, 07:57:05 am »
0


ขอบคุณภาพจาก http://www.aj-ram.com/


ปิดตา มหาอุด

บรรยากาศอย่างนี้ คนอาชีพสื่ออย่างผม เลือกพระปิดตามหาอุด ขึ้นแขวนคอครับ นิมนต์ทั้งพระปิดตา ที่คนชอบพระเครื่องเชื่อว่า มหาลาภ และพระปิดทวารทั้งเก้า ปิดตา หู จมูก ปาก และก้น ที่เรียกว่า มหาอุด เผื่อเหนียวเอาไว้ก่อน คนนอกวงการ...คงสงสัย พระปิดตาเหมือนกัน แต่เหตุฉันใด องค์หนึ่งจึงดีทางโชคลาภ แต่อีกองค์จึงเป็นพระคงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ยิงไม่ออก

จ่าเปี๊ยก ชื่อจริงท่าน คือ ปรีชา เอี่ยมธรรม บรรยายตำนานพระปิดตา ไว้ในหนังสือ อาณาจักร พระปิดตามหาอุตม์...เล่มของอาจารย์นิพัทธ์ จิตรประสงค์ (พ.ศ.2536) ว่า

ต้นกำเนิดพระปิดตา มาจาก พระมหากัจจายนะ อัครสาวกรูปงาม ไปไหนคนเข้าใจว่า เป็นพระพุทธองค์ ท่านจึงได้อีกชื่อว่า ภควา หรือภควัม ผู้งามละม้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อไม่ให้คนเข้าใจผิดต่อไป ท่านจึงเนรมิตรูปงามของท่าน ให้เตี้ยอ้วนล่ำ

แต่โบราณนานมา ชาวพุทธไทยยังไม่นิยมอาราธนา เอาพระพิมพ์ หรือพระเครื่องติดตัว ถือว่ารูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้าเป็นของสูง จึงประดิษฐ์คิดแต่ง เอาพระอรหันต์


 ans1 ans1 ans1 ans1

เริ่มทีเดียว เลือกเอาไม้โพธิ์นิพพาน คือก้านโพธิ์ตายพราย ก้านที่ชี้ไปทางตะวันออก แกะเป็นรูปอ้วนล่ำเหมือนพระมหากัจจายนะ เหตุที่ทำเป็นรูปปิดตา คตินิยมแต่โบราณ...การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อความขลังเป็นประสิทธิ์นั้น

ท่านว่า จำเป็นต้องกระทำจิตให้เป็นอัปปนาสมาธิ คือ ทวารทั้ง 9 อันมี ตา หู จมูก ปาก และทวารหนัก ทวารเบา ต้องดับสนิท แสดงการเข้าถึงอัปปนาสมาธิ โดยการยกมือขึ้นปิดตา ใต้ฐานองค์พระท่านคว้านแล้ว บรรจุพระธาตุสีวลี พระธาตุพระสารีบุตร เพื่ออานิสงส์ทางโชคลาภ และความมีสติปัญญาเป็นเลิศ

ต่อจากการสร้างพระปิดตาบรรจุพระธาตุ โบราณาจารย์ได้แสดงออกการเข้าถึงอัปปนาสมาธิให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ด้วยการทำพระปิดตา เป็นปิดทวารทั้ง 9 เรียกพระปิดตา...ที่สร้างตามความเชื่อนี้ว่า พระปิดตามหาอุด อานุภาพเข้มขลังไปทางคงกระพันชาตรี ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก


      การสร้างพระปิดตามหาอุด ตามคัมภีร์พุทธาคม เขียนอักขระคาถา หัวใจมหาอุด 4 คำ
      อุดทัง อัดโท โทอุด ทังอัด...
      ดังนั้น จึงใช้คำเรียกว่า ปิดตามหาอุด
      อุดคำนี้ คือ ไม่ให้ลูกกระสุนปืนออกจากปากกระบอก


 :25: :25: :25: :25:

ความเชื่อเรื่องพระปิดตามหาอุด มีผลให้เชื่อกันต่อมา ขณะมีหญิงคลอดบุตร ให้เอาพระปิดตามหาอุด ออกจากชายคาบ้าน ไม่เช่นนั้นจะคลอดลูกยาก

สืบต่อมาโบราณาจารย์ท่านประดิษฐ์คิด สร้างพระปิดตา ด้วยผงอิถเจ และผงทางเสน่ห์มหานิยม มวลสารที่สร้างพระ คลุกเคล้าจากวัตถุมงคล และอาถรรพณ์ทางโชคลาภ เช่น ไม้ไก่กุก ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว ว่านเศรษฐี ฯลฯ

ผู้เลื่อมใสนำไปใช้ได้ผลทางโชคลาภ ฯลฯ ทำให้คำที่เคยเรียกขาน ปิดตามหาอุด เปลี่ยนเป็น ปิดตามหาอุตม์ (อุตม์...–ความอุดมสมบูรณ์)


 :25: :25: :25: :25: :25:

พระปิดตาอันดับหนึ่ง หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ชลบุรี พิมพ์ใหญ่หลังแบบ ราคาสูงมาก 20 ล้าน ซื้อกันไปนานแล้ว พระมหาอุดเนื้อสำริดหลวงพ่อทับ วัดทอง องค์สวยราคาเกินล้าน

พระเครื่องราคาแพงอย่างนี้ มีของปลอมมาก ยากที่ผู้ไม่รู้จะเสาะหาของแท้ได้ง่าย มีอีกวิธี ที่โบราณาจารย์ท่านสอนก็คือ ใช้ทางปฏิบัติ...ธรรม ไม่ว่าจะเกิดอะไร เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ดมกลิ่นก็สักแต่ว่าดมกลิ่น ชิมรสก็สักแต่ว่าชิมรส สัมผัสก็สักแต่ว่าสัมผัส...สรุปว่า ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับฝ่ายไหน อย่าไปยินดียินร้าย...ไปกับเขา

สิทธิการิยะ ท่านว่า ตั้งจิตได้อย่างนี้ เภทภัยใดก็จะไม่พ้องพาน ยกเว้นอย่างเดียว ก็คือเรื่องของกรรม ใครทำกรรมใดไว้ ก็ต้องได้รับผลกรรมอย่างนั้น อย่างตอนนี้ เปิดทีวีฟังวิทยุ ก็รู้กันทุกวัน...ใครแทงหวยสีไหน หวยก็ออกสีนั้น.


คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง
http://www.thairath.co.th/content/425229
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)


พระวิปัสสนาจารย์ในอดีต สร้างพระปิดทวาร เพื่อใช้ฝึกกรรมฐาน
(บางส่วนจากประวัติ พระปิดตา ของ หลวงพ่อทับ วัดทอง)

ในด้านพุทธคุณแล้วเสมอเหมือนกันหมด เป็นพระปิดตาที่เราท่านควรหาไว้ ถ้ามีกำลังเงินพอไม่มีคำว่าผิดหวังเลยเป็นอันขาด การสร้างพระปิดตาเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนัก พากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้น และได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ(วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทอง พระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น

จากข้อมูลดังกล่าวอาจได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า พระปิดตาทั้งหมดเป็นพระปิดตาคณาจารย์ ซึ่งหมายถึง พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้จัดสร้าง ไม่ใช่เป็นพระกรุที่สร้างโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ แม้แต่กรณีพระปิดตาท้ายย่านก็น่าจะจัดอยู่ในลักษณะเดียวกัน และไม่มีการสร้างก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย


พระปิดตาวัดพลับ ขอบคุณภาพจากเว็บสมเด็จสุก


ในยุคแรกของการสร้างพระปิดตา พระวิปัสสนาจารย์เป็นผู้สร้างเท่านั้น

ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้ ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด "ทวาร" หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์(หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙

การปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา(หรือปิดทวาร)ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น แต่การสร้างรูปจำลองในลักษณะนี้ค่อนข้างยากต่อการออกแบบ ส่วนใหญ่จึงพบการแสดงความหมายให้เห็นเพียงการปิดพระพักตร์ ซึ่งรวมถึงการปิดปากเท่านั้น


ขอบคุณภาพจากวิดีโอพระเครื่อง วัดราชสิทธาราม(พลับ) โดย weera sumetup


การสร้างพระปิดตาเป็นสัญญลักษณ์ไม่ยุ่งกับฝ่ายอาณาจักร

หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองจะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างของบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว หรือแม้แต่การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จุดไต้ตอนกลางวันเข้าไปเตือนพระสติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "พุทธจักร" ที่มีต่อ "อาณาจักร" อย่างเด่นชัด

เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาในระยะแรกๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทับ เป็นต้น

ดังนั้น "พระปิดตา" อาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมือง ในระยะเวลาต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวารเกี่ยวเนื่องกันเรื่อยมา มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย ซึ่งได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์




พระภควัมบดีหรือพระมหาสังกัจจายน์เป็นต้นแบบของพระปิดตา

พระภควัมบดีหรือพระมหาสังกัจจายน์ นั้น ไม่ใช่รูปสมมติแทนองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า " ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์

พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า"กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง
 
 :25: :25: :25: :25: :25:

นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" ความงดงามแห่งรูปกายนี้เองก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจพิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน

แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้วผลแห่งกุศลในอดีตชาติยัง ส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดีมีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ
      - พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ
      - พระปิดตาทวารทั้ง ๙ อัน เป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย
      - พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง

 ask1 ans1 ask1 ans1

ในกระบวนพระปิดตาของคณาจารย์แต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมา ประกอบเป็นองค์พระมีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น

พระปิดตามหาอุดหรือพระปิดทวารทั้ง 9  ความเป็นจริงพระปิดตา ที่มีมือคู่เดียวยกขึ้นมาปิดที่ใบหน้า และพระปิดทวารทั้ง 9 นั้นก็หมายถึง พระภควัมปติหรือพระภควัมบดี เช่นเดียวกัน และพระมหาสังกัจจายน์ ก็คือ พระอรหันต์องค์เดียวกันนั่นเองครับ

 ans1 ans1 ans1 ans1

ตามประวัติว่ากันว่าพระมหาสังกัจจายน์นั้นมีรูปร่างงดงาม และได้รับคำชมจากพระบรมศาสดาว่า พระมหาสังกัจจายน์นั้นเป็นเอตทัคคะ และฉลาดล้ำเลิศในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อได้อย่างพิสดาร ด้วยความฉลาดล้ำเลิศของพระมหาสังกัจจายน์นั่นเอง

พระมหาสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้ที่มีผิวพรรณวรรณะงดงาม ตามพระบาลีว่า สุวณฺโณจวณฺณํ คือ มีผิวเหลืองดังทองคำ เป็นที่เสน่ห์นิยม มิว่าท่านจะไปในสถานที่แห่งใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันสรรเสริญว่า ท่านคือ พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั่นเอง ท่านจึงได้รับสมญานามอีกชื่อหนึ่งว่า “พระภควัมปติ” ซึ่งมีความหมายทำนองว่าผู้มีความงามละม้ายเหมือน พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง

เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ ท่านจึงมาคิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านดังนี้ เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง สุดท้ายท่านจึงกระทำด้วยอิทธิฤทธิ์ เนรมิตกายให้เตี้ยลงจึงดูท้องพลุ้ย ไม่เป็นที่น่าดู เทพยดาและมนุษย์จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป


ขอบคุณภาพจากวิดีโอพระเครื่อง วัดราชสิทธาราม(พลับ) โดย weera sumetup


    ปิดทวารทั้ง ๙ ไม่ใช่แค่ปิดตา

    ส่วนที่มีการทำรูปเคารพเป็นรูปปิดทวารทั้ง 9 นั้น ก็คือ
    มือคู่หนึ่งปิดหน้า คือ ปิดตา 2 ข้าง ปิดจมูก 2 ปิด ปาก 1 และมีมืออีกคู่หนึ่งมาปิดที่หู 2 ข้าง
    ส่วนอีกมือคู่หนึ่งนั้นปิดที่ทวารทั้ง 2 รวมเป็นปิดทวารทั้งเก้า คือ เป็นอุปเท่ห์
    หมายถึง ตอนที่พระภควัมปติท่านกำลังเข้านิโรธสมบัติ ทวารทั้งเก้าก็จะปิดสนิท ไม่ยินดียินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย หมายถึงดับสนิท อาสวะกิเลสต่างๆ ไม่อาจที่จะเข้ามาแผ้วพานได้เลย

จากมูลเหตุนี้เอง คณาจารย์ต่างๆ ท่านจึงสร้างรูปเคารพ เป็นรูปพระปิดตา(คือมีมือคู่เดียวมาปิดที่หน้า) บ้างเป็นรูปพระปิดทวารทั้งเก้าบ้าง
     และโดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพระปิดตาก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทาง "เมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์"
     แต่ถ้าเป็นพระปิดทวารทั้ง 9 ก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทาง "อยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด"
     พระปิดทวารทั้งเก้านั้นในสมัยโบราณ ถ้าบ้านไหนมีคนจะคลอดลูก ถึงกับต้องนำพระปิดทวารทั้งเก้าออกไปนอกบ้านเสียก่อน เชื่อกันว่าจะไม่สามารถคลอดลูกได้ก็มี ซึ่งเป็นความเชื่อกันในสมัยโบราณ

พระปิดทวารทั้งเก้านั้นมีคติการสร้างมาตั้งแต่ครั้งไหน ยังไม่มีการสืบค้นไปถึงได้ มีพระปิดทวารทั้งเก้าเก่าๆ ที่ยังไม่มีใครทราบว่าเป็นของพระอาจารย์ท่านใดสร้าง แต่มีเนื้อหาความเก่าและได้รับตกทอดกันมานานแล้ว ก็มักจะเรียกกันว่า พระปิดทวารฯ เขมร ส่วนมากที่พบมักจะเป็นเนื้อโลหะ ประเภทสัมฤทธิ์ หรือโลหะผสม ออกจะเป็นทองเหลืองบ้าง เนื้อกลับดำบ้าง



คัดลอกจาก ประวัติ วัดทอง และพระปิดตาหลวงพ่อทับ
www.web-pra.com/Amulet/พระครูทับ-วัดทอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2016, 09:09:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

        ของดี มีค่า ซื้อหาไม่ได้ เอาไว้ติดตัว เป็นศิษย์มีครู ครับ

         เรียกว่าของครูบาอาจารย์
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา