ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วย อธิบาย คำว่า สัมปยุต ด้วย คะ คือ อะไร แบบว่าไม่เข้าใจ คะ  (อ่าน 5290 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ช่วย อธิบาย คำว่า สัมปยุต ด้วย คะ คือ อะไร แบบว่าไม่เข้าใจ คะ

 thk56 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลุง ๆๆๆ ตรงนี้ยังไม่ได้ตอบ เลย คะ

 สนใจตามอยู่ คะ
  :88: :88: :88:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อ้างถึง

คุณ saieaw
ask1

ช่วย อธิบาย คำว่า สัมปยุต ด้วย คะ คือ อะไร แบบว่าไม่เข้าใจ คะ

 thk56 :25: :25: :25:




ans1 ans1 ans1 ans1

ความหมายจองคำว่า"สัมปยุต"

สัมปยุต  [สําปะยุด] ก. ประกอบด้วย. (ป. สมฺปยุตฺต; ส. สมฺปฺรยุกฺต)
_____________________________________
ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

สัมปยุต [สำ-ปะ-ยุด] (มค. สมฺปยุตฺตสก. สมฺปฺรยุกฺต) ก. เกี่ยวข้อง, ติดต่อ, ประกอบด้วย
___________________________________
ที่มา : พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

สัมปยุต  ประกอบด้วย ; สัมปยุตต์ ก็เขียน
________________________________________________________
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




"สัมปยุต ในภาษาบาลีแปลว่า ประกอบด้วย"  คำว่าสัมปยุตนี้พบได้ทั่วไปในชั้นพระไตรปิฎก และในชั้นอรรถกถา ขอยกเอาข้อธรรมใน "วิภังคสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค" มาแสดงบางส่วนดังนี้ :-

     [๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน.? ฉันทะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.
     [๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน.? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.
     [๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน.? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.





     อรรถกถาวิภังคสูตรอธิบายไว้ว่า.....

     ในคำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นี้ ภิกษุเมื่อปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วนั่งเอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่.
     ทีนั้น เธอมีอาการย่อท้อหยั่งลงในจิต เธอรู้ว่า อาการย่อท้อหยั่งลงในจิตเรา ก็เอาภัยในอบายมาข่มจิต ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมาอีก แล้วตั้งจิตตั้งใจทำกัมมัฏฐาน.
     ทีนั้น เธอเกิดมีอาการย่อท้อหยั่งลงในใจอีก เธอก็ยกเอาภัยในอบายมาข่มจิตอีก ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐานดังว่ามานี้ ความพอใจของเธอชื่อว่า ย่อมประกอบด้วยความเกียจคร้าน เพราะความที่เธอถูกความเกียจคร้านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.
     คำว่า สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน เป็นคำที่ใช้แทนคำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นั้นเอง.


     ในคำว่า ประกอบด้วยอุทธัจจะ นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น จิตเธอตกไปในความฟุ้งซ่าน เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ทำใจให้ร่าเริงให้ยินดี ทำให้ควรแก่การงาน แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่อีก แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน.
      คราวนี้จิตของเธอก็ตกไปในความฟุ้งซ่านอีก เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อีก ทำใจให้ร่าเริงให้ยินดี ปลูกฝังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่ แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอก็ย่อมชื่อว่าประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะถูกความฟุ้งซ่านครอบงำด้วยประการฉะนี้.


     ในคำว่า ประกอบด้วยถีนมิทธะ นี้ ภิกษุทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่.
     ทีนั้น ความง่วงเหงาหาวนอนก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอทราบได้ว่าถีนมิทธะเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็เอาน้ำมาล้างหน้า ดึงใบหู ท่องธรรมที่คล่อง(ด้วยเสียงดัง) หรือสนใจความสำคัญว่าแสงสว่างที่ถือเอาไว้ เมื่อตอนกลางวัน บรรเทาถีนมิทธะออกไป แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นอีก พิจารณากัมมัฏฐานอยู่.
     ทีนั้น ถีนมิทธะเกิดขึ้นแก่เธออีก เธอก็บรรเทาถีนมิทธะออกไปอีกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ทำความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่ แล้วพิจารณากัมมัฏฐานอยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงชื่อว่าประกอบด้วยถีนมิทธะ เพราะถีนมิทธะครอบงำด้วยประการฉะนี้.



เนื้อความ : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6907&Z=7002&pagebreak=0
อรรถกถา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1179
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สัมปยุตธรรม และ วิปปยุตตธรรม ต่างกันอย่างไร.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 02, 2016, 11:36:07 am »
0



ask1 ans1 ask1 ans1

ถามโดยคุณ Vijit : สัมปยุตธรรม และ วิปปยุตตธรรม ต่างกันอย่างไร.?

ความคิดเห็นที่ 1. โดยคุณ study
- สัมปยุต แปลว่า ประกอบพร้อม หมายเอาเฉพาะนามธรรมที่เป็นสภาพรู้เท่านั้น ลักษณะสัมปยุต มี ๔ คือ  เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เกิดวัตถุเดียวกัน
- วิปปยุต แปลว่า ไม่ประกอบทั่ว อธิบายว่า ไม่เกิดพร้อมกัน ไม่ดับพร้อมกัน ไม่รู้อารมณ์เดียวกัน ได้แก่ นามและรูปที่ไม่ปะปนกัน บางนัยหมายถึง วิปปยุตโดยความไม่มี


ความคิดเห็นที่ 2. โดยคุณ wannee.s
- สัมปยุต หมายถึง ประกอบพร้อม เช่น จิต เจตสิก เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เป็นต้น
- วิปปยุต หมายถึง ไม่ประกอบ เข้ากันไม่ได้ เช่น จิตตชรูป รูปที่เกิดจากจิต(รูปนาม เข้ากันไม่ได้)


ที่มา http://www.dhammahome.com/webboard/topic/3276
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

  สัมปยุตธรรม สัปยุตธาตุ คืออะไร คะ

 :58: :58: :58: thk56




 ans1 ans1 ans1

เรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ หน้าที่การตอบคำถามควรเป็นของผู้สืบทอดกรรมฐานโดยตรง ผมเองไม่ใช่ผู้สืบทอดกรรมฐาน เห็นแก่จิตอันเป็นกุศลของคุณฟ้าใหม่แจ่มใส จึงขออนุญาตครูอาจารย์อธิบายข้อสงสัยดังนี้

การสัมปยุต คือ การนำจิตประกอบกับกายและจิตให้ล่วงพ้นจากกิเลส เพื่อให้กายและจิตเปี่ยมไปด้วยองค์ธรรม ในการวิปัสนาขั้นสูงมีการสัมปยุตอยู่ ๒ แบบ
   ๑. สัมปยุตธรรม หรือ ธรรมสัมปยุต
      การสัมปยุตธรม คือ การตามระลึกถึงองค์ธรรมในธรรมใดธรรมหนึ่ง เช่นตามระลึกถึงบุญกุศล เมื่อสัมปยุตจนเต็มเปี่ยม จะทำให้จิตประกอบด้วยความผ่องแผ้ว ทำให้กายและจิตมีอานุภาพสูง
   ๒. สัมปยุตธาตุ หรือ ธาตุสัมปยุต
       สัมปยุตธาตุ คือ การใช้จิตที่เป็นสมาธิ ทำการระลึกเข้าไปในธาตุทั้ง ๗ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ และธรรมธาตุ เพื่อให้กายและจิตบรรลุซึ่งธรรมอันเป็นภาวะสูงสุด เรียกว่า นิพพานธาตุ


  การสัมปยุตธรรมกระทำตอนไหนอย่างไร
  ตัวอย่างเช่น ในส่วนพระพุทธคุณ ในห้องพระธรรมปิติธรรมเจ้า ขั้นตอนแรกของกรรมฐาน ก่อนการเดินจิตตามฐานต่างๆ จะต้องสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภีก่อน มีวิธีปฏิบัติ ๓ วิธี
   ๑. สำหรับบุคคลผู้เปี่ยมไปด้วยทานหรือปฏิบัติในศีลในธรรมอยู่บ้างแล้ว ให้ทำการระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำไว้ โดยให้ระลึกย้อนไปไม่เกิน ๓ วัน และอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี
   ๒. สำหรับบุคคลทีมั่นคงในธรรม มีการฝึกมาบ้างแล้ว ให้ทำการสวดบทพระพุทธคุณ(อิติปิโสฯ)ในใจ ๓ จบ พร้อมสัมมาอะระหังและอะระหัง ๓ ครั้ง จากนั้นอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี
   ๓. สำหรับบุคคลที่อ่อนในการสร้างกุศลและศีล ให้ภาวนาคำว่า "สัมมาอะระหัง" ไปเรื่อยๆ จนกว่าพระอาจารย์กรรมฐานจะบอกให้อธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี


   การสัมปยุตธาตุกระทำตอนไหนอย่างไร
   ในตอนท้ายของการปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมาฯ จะต้องเข้าวิปัสสนาภาวนา ในเบื้องต้นการภาวนาธาตุสัมปยุต เท่าที่เปิดเผยได้ จะใช้คำภาวนาในใจว่า
   "กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย กายนี้ไม่เป็นในเรา เรานี้ไม่เป็นในกาย กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย มีแต่จิตล้วนๆ"


    :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2016, 11:45:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ ตอบได้เข้าใจง่ายมากคะ สมกับเป็น บัณฑิต ศิษย์ พี่

  like1 like1 like1 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ