ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดป่าแก้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ วัดอะไร.?  (อ่าน 25470 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา


มารู้จักความจริงเกี่ยวกับ “วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา” กันเถอะ

ความหมายของวัดป่าแก้ว วัดป่าแก้วในอยุธยา เดิมเข้าใจกันว่าคือ วัดใหญ่ชัยมงคล ด้วยธรรมเนียมการสร้างวัดป่าแก้วที่อยู่ในเขตอรัญญิกนั้น ล้วนอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองใหญ่ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น

    - กรุงสุโขทัย แถบอรัญญิกของอาณาบริเวณ วัดป่าแก้ว จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
    - เมืองสวรรคบุรี วัดป่าแก้วเขตอรัญญิก คือวัดแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตก
    - เมืองเชียงใหม่ วัดป่าแก้วเรียกว่า วัดป่าแดง อยู่ในแถบอรัญญิก ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง
    - เมืองราชบุรี วัดป่าแก้วอรัญญิกของราชบุรี
    - เมืองสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ

สำหรับวัดป่าแก้วเขตอรัญญิกของอยุธยา คือ วัดหนึ่งที่ถูกปล่อยให้รกร้าง และเรียกว่า วัดประเชด หรือชื่อ วัดวรเชษฐ(นอกเกาะ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดทางทิศตะวันตก นอกกำแพงเมือง ด้านวังหลัง ออกไปประมาณ ๔ กิโลเมตร สาเหตุที่วัดป่าแก้วหรือวัดประเชดนี้ได้รกร้างไป สันนิษฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการสถาปนาวัดไชยวัฒนารามนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตก เป็นวัดอรัญญิกฝ่ายซ้าย อันเป็นวัดใหญ่ที่มีอาณาบริเวณโตมาก พร้อมทั้งได้ย้ายให้พระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประจำวัดไชยวัฒนารามด้วย วัดอยู่ติดกับแม่น้ำตรงข้ามกับกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา การไปมาหาสู่โดยสะดวก จึงเป็นวัดป่าแก้วไปโดยปริยาย


 :25: :25: :25: :25:

ดังนั้น ความไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย อันเนื่องมาจากเอกสารหนังสือต่าง ๆ ถูกทำลายเสียหายไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ หากเรายังพอสืบเสาะข้อมูลจากเอกสารที่ยังพอหลงเหลือ และเอกสารของชาวชาติที่ได้จดบันทึกไว้พอจะมีหลักฐานบ้าง ให้ศึกษาและเชื่อมต่อให้ดี ๆ ก็จะพบสิ่งที่หายไป สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ อยากเห็นว่าอะไรคือความจริง ความจริงที่ว่านี้คือ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) เดิมชื่อ วัดประเชด มีสาระสำคัญเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากเป็นวัดที่สมเด็จพระพนรัตน์ (สมเด็จแตงโม) พระมหาเถรคันฉ่อง พระอาจารย์ประจำอยู่ในฐานะสมเด็จพระสังฆราชด้านอรัญญวาสี และที่สำคัญวัดประเชด หรือวัดวรเชษฐ(นอกเกาะ) นี้ เป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานการถวายพระเพลิง ตลอดจนสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ชื่อวัดวรเชษฐ์ซึ่งปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่า มิได้ระบุตำแหน่งของวัดวรเชษฐ์ให้มีความชัดเจนด้วยการกำหนดทิศหรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ จากพระราชประวัติของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่านั้น กล่าวว่า“ เมื่อพระเอกาทศรถได้ครองราชย์สมบัติแล้ว จึงให้ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระเชษฐาธิราช แล้วทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลถวายพระเชษฐาธิราช วัด ๑ พระราชทานนามว่า วัดวรเชษฐ์”



ข้อมูลจากหนังสือศิลปะกับโบราณคดีในสยาม ของสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ หน้าที่ ๙๑ – ๙๒ โดย น. ณ ปากน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ กล่าวไว้ว่า “ วัดวรเชษฐาราม มีอยู่สองแห่ง คือ วัดวรเชษฐาราม ซึ่งอยู่ใกล้วัดวรโพธิ์ กับ วัดวรเชษฐาราม กลางทุ่งประเชด นอกตัวเกาะอยุธยาทางทิศตะวันตก

เมื่อตรวจดูโบราณสถาน เห็นว่าวัดกลางทุ่งประเชดเป็นวัดเก่ามีเจดีย์กลมทรงสูงองค์หนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดเป็นเจดีย์ก่ออิฐ ไม่สอปูนแบบอโยธยาและมีปรางค์เป็นหลักของวัด แม้องค์ปรางค์จะก่อด้วยเทคนิคสอปูนหนาแสดงว่ามาปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เชื่อแน่ว่าข้างในจะต้องเป็นปรางค์เก่าของวัดนั้น ซึ่งต่อมาชำรุดมาก พังลงมาสมัยอยุธยาตอนปลายจึงไปซ่อมขึ้นใหม่

ส่วนวัดวรเชษฐ์ ซึ่งตั้งอยู่หลังพระราชวังหลวงนั้น มีเจดีย์แบบลังกาเป็นหลักของวัด และพระอุโบสถก็ก่อสร้างด้วยเทคนิคของอยุธยาสมัยกลาง ใบเสมาก็เป็นใบเสมาต้นของอยุธยาตอนกลาง จึงเชื่อแน่ว่าวัดวรเชษฐาราม ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถสร้างอุทิศให้แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”


 st12 st12 st12 st12

ข้อมูลจากรายงานการขุดแต่งวัดวรเชษฐ์ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน้าที่ ๑ – ๒ กล่าวประเด็นคัดลอกความมาได้ว่า “ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้จัดทำแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาพบว่า โบราณสถานทั้งหมดภายในเกาะเมือง และนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มีจำนวนประมาณ ๕๓๐ แห่ง แบ่งออกเป็น ๗ เขต สำหรับแผนแม่บทฉบับดังกล่าวใช้สำหรับเขตที่ ๑ คือ พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๑,๘๑๐ ไร่ ส่วนอีก ๖ เขต พื้นที่มีโบราณสถานสำคัญที่ควรจะได้รับการอนุรักษ์เร่งด่วน นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสามารถพิจารณาดำเนินการได้ก่อน

สำหรับวัดวรเชษฐ์(นอกเมือง) เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันในวงวิชาการว่า จะเป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือไม่ เพราะมีวัดที่ใช้ชื่อ “วรเชษฐ์” เหมือนกัน ๒ แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ภายในตัวเมืองใกล้พระราชวังหลวง วัดนี้ขุดแต่งบูรณะแล้วและหลักฐานที่พบก็แสดงให้เห็นว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ด้วย ดังนั้นหากมีการขุดค้น-ขุดแต่ง เมื่อศึกษาทางโบราณคดีที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเมือง) คงจะได้หลักฐานที่นำไปสู่การวิเคราะห์เรื่อง “วัดวรเชษฐ์” ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกประการหนึ่งวัดวรเชษฐ์ ( นอกเมือง ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตกริมถนนสายอยุธยา-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๓) สภาพโบราณสถานยังคงมีพระปรางค์และเจดีย์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้วัดนี้โดดเด่นเป็นจุดสังเกตประจำเมืองที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้เดินทางผ่านไปมาเช่นเดียวกับเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคลเป็นจุดสังเกตด้านทิศตะวันออก และเจดีย์ภูเขาทองเป็นจุดสังเกตด้านทิศเหนือ



งานที่ควรจะกระทำต่อเนื่องหลังจากการอนุรักษ์วัดวรเชษฐ์ คือการอนุรักษ์แนวถนนโบราณ ถนนเส้นนี้คงจะสร้างขึ้น เพื่อเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดวรเชษฐ์โดยเฉพาะแนวถนนเริ่มจากริมน้ำเจ้าพระยา (ระหว่างวัดราชพลีกับวัดกษัตราธิราช) ตรงสู่วัดวรเชษฐ์ ถนนกว้างราว ๒๐ เมตร ถมดินสูงอาจปูด้วยอิฐ ปัจจุบันแนวถนนเส้นนี้บางส่วนถูกแนวถนนใหม่สร้างทับ บางส่วนถูกประชาชนบุกรุกเข้าไปสร้างที่พักอาศัย การดำเนินการอาจจะต้องย้ายแนวถนนปัจจุบันให้พ้นเขตถนนโบราณและชดเชยบ้านเรือนราษฎรซึ่งจะต้องทำแผนในระยะต่อไป”

หนังสือเมืองโบราณของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ เรื่อง “ศิลปะสมัยพระเจ้าปราสาททอง ” เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๗ เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน ๒๕๒๔ หน้า ๖๐ ดังนี้ “วัดไชยวัฒนารามเป็นการอวดศักดิ์ศรีของศิลปะอยุธยารุ่นปลายของสมัยกลางแสดงความงามและใหญ่โตเหลือที่พรรณนา วัดนี้เป็นวัดของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ส่วนวัดป่าแก้วเดิมก็คือ วัดวรเชษฐ์อยู่กลางทุ่งประเชด ทางทิศตะวันตก นอกตัวเมืองวัดวรเชษฐ์มีปรางค์ใหญ่เป็นหลักของวัดและมีเจดีย์ทรงสูงก่ออิฐไม่สอปูนปรากฏอยู่ด้วย เจดีย์องค์นี้คล้ายเจดีย์วัดกระซ้าย เป็นเจดีย์แบบอโยธยาแสดงว่าบนโคกนี้เคยเป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยอโยธยา

พอสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้วใช้เป็นที่เผาศพเจ้าแก้วเจ้าไทยแล้วสถาปนาเป็นวัดป่าแก้ว ด้วยอยู่ทางทิศตะวันตกนอกตัวเมืองห่างออกไปเกือบสองกิโลเมตรแล้วสร้างศิลปวัตถุไว้มาก เนื่องจากเป็นวัดสำคัญเป็นที่สถิตของพระเถระผู้ใหญ่คือพระพนรัต อันเป็นสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ทั้งยังเป็นอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดินตลอดมาหลายสมัย จึงมีการสร้างถนนและพูนดินสูงและกว้างใหญ่จากวัดธรรมาราม อันเป็นท่าน้ำไปจนสู่วัดป่าแก้ว สำหรับเคลื่อนราชรถ และผู้คนจะไปนมัสการพระที่วัดนั้น



เมื่อกล่าวถึง ผังเมืองโบราณ และประเพณีเก่านิยมให้วัดป่าแก้ว หรือวัดฝ่ายอรัญญิกต้องอยู่นอกเมืองไปทางทิศตะวันตกระยะทางไม่เกิดสองหรือสามกิโลเมตร และได้ยกตัวอย่างประกอบไว้ด้วย แต่เพราะว่า มีผู้เชื่อถือในคำสันนิษฐานเดิมว่า วัดใหญ่ชัยมงคลคือวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นการผิดพลาดด้วยเหตุผลหลายประการ
    - ประการแรก วัดใหญ่ชัยมงคลเป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนทรง ๘ เหลี่ยมเป็นของสมัยอโยธยา
    - ประการที่สอง วัดนี้ตั้งอยู่ผิดทิศผิดตำแหน่งที่จะเป็นวัดป่าแก้ว คือ อยู่ทิศตะวันออก
ตามหลักแล้วต้องอยู่ทิศตะวันตกตายตัว ดังที่ต่างๆ ต่อไปนี้ วัดอรัญญิกของราชบุรี, วัดอรัญญิกของสุโขทัย, วัดป่าแดงอันเป็นฝ่ายอรัญญิกของเชียงใหม่, วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี), วัดแก้วของสรรคบุรี เป็นต้น เหล่านี้คือ เมืองโบราณสำคัญที่เก่าแก่ขนาดที่เคยมีเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ปกครองมาก่อน ย่อมจะมีระบบแบบแผนเหมือนกัน

 :96: :96: :96: :96: :96:

เหตุไฉนกรุงศรีอยุธยาจึงผ่าเหล่าผ่ากอผิดเพศเพียงแห่งเดียว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ และที่จริงตำแหน่งทิศตะวันตกนอกเกาะกรุงศรีอยุธยาก็มีวัดใหญ่โตรุ่นอยุธยาตอนต้นอยู่แล้ว ที่เราเรียกว่า วัดวรเชษฐ์อยู่กลางทุ่งประเชดทั้งยังจองถนนใหญ่จากชายฝั่งไปถึงตัววัด เพื่อสะดวกในยามหน้าน้ำ กษัตริย์เจ้านายและไพร่พลจะได้ไปมาหาสู่โดยสะดวก เห็นโดยข้อสรุปว่า

วัดป่าแก้วก็คือ วัดกลางทุ่งประเชดนี้เอง และวัดนี้นี่แหละที่พระมหาจักรพรรดิ กับพรรคพวกได้ไปเสี่ยงเทียน แข่งบุญวาสนากับขุนวรวงศาธิราช ซึ่งท่านคายชานหมากปาไปจนเทียนดับกลายเป็นฤกษ์ดี เพราะเป็นที่เร้นลับไกลจากผู้คนมาก เรื่องวัดป่าแก้วกรุงศรีอยุธยานี้

ข้าพเจ้าเขียนไว้หลายครั้ง แต่ก็จำเป็นจะต้องเขียนให้ปรากฏอีกครั้งหนึ่ง เพราะยังมีคนไปตื่นหลงๆ กับวัดใหญ่ชัยมงคลกันมากนัก ทั้งนี้ด้วยอิทธิพลของคำสันนิษฐานเดิมอันผิดพลาดเลยทำให้ผู้คนหลงผิดกันไป ข้าพเจ้านั้นออกบุกสำรวจด้วยตนเอง และลูบคลำต่อโบราณสถานนั้นเกิน ๕ ครั้งขึ้นไป ได้เห็นความใหญ่โตกว้างขวางและสิ่งก่อสร้างอันประณีตที่แสดงความสำคัญอย่างเยี่ยมยอด ถูกต้องตามตำแหน่งวัดป่าแก้วทุกประการ จึงขอยืนยันไว้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยังความถูกต้องให้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย”



จากสำเนาเอกสาร เรื่อง ๔๐๑ ปี วันสวรรคต พระนเรศวร วีรกษัตริย์รักชาติซึ่งเป็นบทคำกล่าวของพิธีกรตอนหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัดวรเชษฐ์ ดังนี้
   “วัดวรเชษฐ์ ขณะสถานที่สวรรคตยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอยู่บริเวณไหนกันแน่ การค้นคว้าหาพื้นที่ถวายพระเพลิง การเคลื่อนพระบรมศพ ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าตั้งอยู่บริเวณใด แต่เป็นที่เชื่อกันว่า “วัดวรเชษฐาราม” (นอกเกาะ) ซึ่งดูตามชื่อและหลักฐานที่ปรากฏในกฎหมายพระเอกาทศรถ เพื่อการถวายพระเพลิงและเก็บพระอัฐิ อีกทั้งลักษณะของปรางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลของเขมร ม.จ.ชาตรี เฉลิมยุคล บอกว่า มีการสันนิษฐานกันว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ปลงพระศพของสมเด็จพระนเรศวร เพราะมีถนนโบราณออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่นำพระโกศมาตามประเพณีต้องวนเวียนก่อน ๓ รอบ ก่อนจะนำขึ้นมาปลงพระศพ”

ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา ๔๑๗ ปี กล่าวว่า “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีความเห็นว่า พระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างพระมงคลบพิตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และเฉลิมพระเกียรติให้แก่สมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นพระเชษฐาและเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่แก่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งนอกจากสร้างวัดวรเชษฐารามมหาวิหารอันเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี ให้แล้ว” (วัดวรเชษฐารามหลังพระราชวังหลวงข้างวัดวรโพธิ์เป็นวัดเล็กนิดเดียวดูไม่สมพระเกียรติยศเลย ถ้าเป็นจริงน่าจะเป็นวัดวรเชษฐ์ ริมทุ่งประเชด นอกเกาะเมือง)


เนินดิน แท่นปลงพระศพของพระนเรศวรมหาราช ที่วัดวรเชษฐ์ (ภาพจากเฟซบุ้คคนรักประวัติศาสตร์ไทย)

ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา ๔๑๗ ปี แลหลังครั้งบ้านเมืองดี ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ แต่ง ชมรมเด็ก หน้า ๒๑๘ ปรากฏชื่อวัดวรเชษฐ์ ในลำดับที่ ๔ อยู่ในกลุ่มวัดร้างด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่นเดียวกับวัดกระชาย(วัดเจ้าชาย) ซึ่งเป็นทะเบียนวัดร้างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) ได้ทำการสำรวจไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ (ร.ศ.๑๒๑) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาโบราณบุราณุรักษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ออกทำการสำรวจวัดในพระนครศรีอยุธยา ได้จัดทำบัญชีวัดร้างในอำเภอรอบกรุง (นอกเกาะเมือง) โดยใช้เกาะเมืองเป็นหลักแล้วประกอบทิศทั้งสี่เป็นหลัก ได้แบ่งกลุ่มวัดร้างไว้อย่างชัดเจน

ปัจจุบัน วัดวรเชษฐ(เกาะนอก) กำลังเป็นที่รู้จักในบรรดาศรัทธาธรรมผู้สนใจปฏิบัติกรรมฐาน จึงขอเชิญชวนท่านผู้ใฝ่ธรรมเข้าร่วมการบวชเนกขัมมะปฎิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติบูชาพระคุณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดวรเชษฐ์ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา



ที่มา : บทความจากเฟซบุ้คคนรักประวัติศาสตร์ไทย
https://www.facebook.com/notes/คนรักประวัติศาสตร์ไทย/มารู้จักความจริงเกี่ยวกับ-วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา-กันเถอะ/412191015494863/
ขอบคุณภาพจาก
http://www.bloggang.com/
http://donmueangairportthai.com/
http://www.fotorelax.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2016, 09:08:58 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วัดป่าแก้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ วัดอะไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 19, 2016, 09:36:01 am »
0

การสถาปนาวัดป่าแก้ว

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดป่าแก้ว เมื่อปีพระพุทธศํกราช ๑๙๐๗ เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี
   คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ   
   แต่ภายในวัดป่าแก้วก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป

               
     วัดป่าแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค จึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่งให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว 

     วัดป่าแก้วเป็นวัดพระกรรมฐานหลัก เป็นวัดพระกรรมฐานใหญ่
     เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้ 
     พระกรรมฐานที่ศึกษาในวัดป่าแก้ว คือ "พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"
     สืบต่อมาจาก "วัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว กรุงสุโขทัย" และสืบต่อจาก "วัดไชยปราการ กรุงอโยธยา"



    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓  สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นพระอารามหลวง นามว่าวัดป่าแก้ว  มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้วสามพระองค์ ๓ องค์
    เจ้าอาวาสองค์ที่หนึ่ง ถึงองค์ที่สาม ไม่ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 
    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ คือ ท่านขรัวจวน ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ มากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห สมัยกรุงอโยธยา

    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนา วัดชายทุ่ง ให้เป็นพระอารามหลวง  แล้วทรงขนานพระนามพระอารามที่สถาปนาใหม่ว่า วัดป่าแก้ว ให้เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ หรือสมเด็จพระนพรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย   


ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังของตำหนักพระนเรศวร


พระอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของวัดป่าแก้ว

     สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังสถาปนาแล้วมีดังนี้

๑. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า จวน เจ้าอาวาสพระองค์แรกของ วัดป่าแก้ว ตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งพระพนรัตน ตั้งแต่ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑  พระพนรัตน(จวน) บรรพชา-อุปสมบทกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น ที่วัดสามไห เมืองอโยธยา ศึกษพระกรรมฐานมัชฌิมา และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์กับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห เมืองอโยธยา

๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แดง พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร  พระพนรัตน์(แดง) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบเนื่องมากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห

๓. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า รอด ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ชาวเมืองเรียกขาน พระองค์ท่านว่า หลวงปู่เฒ่า พระองค์ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วด้วย  ท่านเป็นในรัชสมัยสมเด็จพระยารามราชาธิราชๆ
    พระพนรัตน์(รอด)บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสามไห กับขรัวตาเฒ่าชื่น อุปสมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยา(เมื่อทรงครองราชสมบัติครั้งแรก) ที่วัดสามไห ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วได้เล่าเรียนพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมา กับพระอุปัชฌาย์


ภาพนี้ถ่ายจากด้านข้างห้องน้ำ

๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า พระพนรัตน์(สี) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากท่านขรัวตาเฒ่าจิต ขรัวตาเฒ่าจิตเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น

๕. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า รอด(องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด หรือเจ้าไท พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน(รอด องค์ที่ ๒) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากพระพนรัตน์(แดง)

๖. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน์(แสง)ศึกษากรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)

๗. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า คร้าม  พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  พระพนรัตน์(คร้าม) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)

ห้องน้ำทรงไทย

๘. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า จุ่น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระวันรัตน์(จุ่น) ศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(แสง)

๙. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เอื๊ยน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  พระพนรัตน์(เอี๊ยน) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(คร้าม).

๑๐. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า มี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระแก้วฟ้า  พระพนรัตน(มี) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(จุ่น)

๑๑. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เดช พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชาธิราช พระพนรัตน์(เดช) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(มี)

๑๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สอน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระพนรัตน์(สอน) ท่านศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(มี)


ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังห้องน้ำ เห็นตำหนักพระนเรศวรอยู่ไม่ไกล

๑๓. พระพนรัตน์ นามเดิม พระมหาเถรคันฉ่อง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า
     ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากหลวงปู่รอด หรือหลวงปู่เฒ่า หรือพระพนรัตน์(รอด)
     โดยพระพนรัตน์(รอด) มาสอนพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง)ให้เพื่มเติม ทางสมาธินิมิต
     เมื่อมาสถิต ณ วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
     ในครั้งนั้นมี พระพนรัตน์(สอน) เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว
     พระมหาเถรคันฉ่อง ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาในแนวเดียวกันที่รามัญประเทศ


๑๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า อ้น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศ     
     พระพนรัตน์(อ้น) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบต่อมาจากพระพนรัตน์(เดช) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร 
     ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงมาศึกษาต่อกับพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง) จนจบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 



๑๕. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า ขุน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระพนรัตน์(ขุน) ศึกษาพระกรรมฐานกับพระพนรัตน์(สอน) และพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง)

๑๖. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า มาก พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช  พระพนรัตน์(มาก) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากพระพนรัตน์(อ้น)

๑๗. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า ใหญ่  พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง(เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์) พระพนรัตน์(ใหญ่) ท่านศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(มาก)

๑๘. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า บุญ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายมหาราชเป็นเจ้า พระพนรัตน์(บุญ) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัตน์(มาก)


พระนอน ภายในวัดใหญ่ชัยมงคล

๑๙. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สิงห์ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช(สิงห์)ในรัชกาลเดียวกัน บรรพชา-อุปสมบทที่วัดพญาแมน ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมากับพระพนรัตน์(มาก) วัดป่าแก้ว    

๒๐. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
      เมื่อคราวที่ พระพนรัตน(สิงห์)ได้รับการสถาปนา ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราชนั้น  ตำแหน่งพระพนรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย วัดป่าแก้ว จึงว่างลง  สมเด็จพระเพทราชา จึงทรงสถาปนาพระเทพมุนี(แสง) วัดป่าแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่ง พระพนรัตน์(แสง) พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี แทนตำแหน่งที่ว่าง พระพนรัตน์(แสง)ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อกับพระพนรัตน์(บุญ)

๒๑. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แปร พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ(หลวงสรศักดิ์)  พระพนรัตน์(แปร)ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบมาต่อจากสมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช(สิงห์) วัดป่าแก้ว



๒๒. พระพนรัตน มีพระนามเดิมว่า ดำ พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว   ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  พระพนรัตน์(ดำ) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัตน์(แปร)

๒๓. พระพนรัตน์  มีพระนามเดิม แก้ว พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ(เจ้าฟ้าเพชร)
      พระพนรัตน์(แก้ว) ดำรงตำแหน่งมาจนถึงปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(เจ้าฟ้าพร)  นับเป็นสมัยสุดท้าย ที่พระพนรัตน์(แก้ว)ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบเต็มรูปแบบ ไม่มีวิชาไสยศาสตร์ หรืออย่างอื่นเข้ามาปะปน 
      พระพนรัตน(แก้ว)ศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(แปร) วัดป่าแก้ว
      พระพนรัตน(แก้ว) พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งพระพนรัตน เจ้าคณะอรัญวาสี  องค์สุดท้ายของวัดป่าแก้ว ในยุคกรุงศรีอยุธยา


๒๔. พระวันรัตน์ มีพระนามเดิม ใย เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (เจ้าฟ้าพร) พระวันรัตน์(ใย) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา ไม่เต็มรูปแบบ คือไม่จบพระกรรมฐานมัชฌิมา อย่างสมบูรณ์  พระวันรัตน์(ใย)ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบต่อจาก พระพนรัตน์(ดำ)

หมายเหตุ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลังพระพนรัตน์(แก้ว) มรณะภาพลงแล้ว พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเปลี่ยนตำแหน่ง พระพนรัตน จากเจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย มาเป็นตำแหน่ง เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา และทรงเปลี่ยนราชทินนามที่ พระพนรัตน์ มาเป็นราชทินนามที่ พระวันรัตน์ แทนตั้งแต่นั้นมา

 

๒๔. พระวันรัตน์ มีพระนามเดิม ผา เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยพระเจ้าอุทุมพร(เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ กรมขุนพรพินิต) 
      พระวันรัตน์(ผา) เป็นพระวันรัตน เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา องค์สุดท้าย ของวัดป่าแก้ว ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา(ศึกษาไม่เต็มรูปแบบ) สืบต่อจากพระพนรัตน์(ดำ), พระวันรัตน์(ผา)มรณะภาพก่อนกรุงแตก


๒๕. ท่านพระครูปลัด(เขียน) ท่านสถิตวัดป่าแก้ว ท่านเป็นถานานุกรม ของพระพนรัตน(แปร) วัดป่าแก้ว  ท่านเป็นพระถานานุกรม อยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ(เจ้าฟ้าเพชร)
     พระครูปลัดเขียน ท่านเป็นพระมหาเถรที่รักสันโดด มีความมักน้อย ชอบท่องเที่ยวสัญจรจาริกธุดงค์ หาความสงบวิเวก เที่ยวกรรมฐานไปตามสถานที่ต่างๆ เพราะท่านเกิด ความเบื่อหน่าย ภายในวัดป่าแก้ว เวลานั้น วัดป่าแก้วเริ่มเสื่อมจากการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
     พระภิกษุทั้งหลายต่างหันไปศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาไสยศาสตร์กันมาก แล้วไม่กลับมาปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาเพื่มเติมเหมือนอย่างแต่ก่อน พระกรรมฐานมัชฌิมา เริ่มไปเจริญตามวัดอรัญวาสีต่างๆ แต่ไม่เต็มรูปแบบ ท่านพระครูปลัดเขียน ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากพระพนรัตน์(แปร) วัดป่าแก้ว อย่างเต็มรูปแบบ



   ต่อมา ตำแหน่งพระพนรัตน์หรือพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว
    ไม่มีพระมหาเถรที่มีความสามารถมากพอในการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบเต็มรูปแบบ
    ประจวบกับกรุงศรีอยุธยาก็มาเสียให้แก่พม่า ในรัชสมัยพระที่นั่งสุริยามรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์)
    พระวันรัตน(ผา) วัดป่าแก้ว จึงเป็นพระองค์สุดท้ายของวัดป่าแก้วและของกรุงศรีอยุธยา
    เพราะการล่มสลายลงของกรุงศรีอยุธยานั่นเอง


     สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผู้คนมักเรียกขานนามพระเถรผู้ใหญ่ ในวัดป่าแก้วว่า เจ้าไท บ้าง
     ซึ่งนามหมายถึง พระพนรัตน,พระวันรัตน หรือพระนพรัตน แห่งวัดป่าแก้ว
     บางที่ก็เรียกขานนามว่า เจ้าพญาไทย บ้าง ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระสังฆราชาฝ่ายขวา ในวัดป่าแก้ว ซึ่งมีพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระญาณมุนี(สิงห์)


      ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  สถาปนาพระเจดีย์ใหญ่ชัยมงคล ที่ระลึกการทำยุทธหัตถีไว้ใกล้ๆ วัดป่าแก้ว  นานมาผู้คนจึงเรียกขานนามวัดป่าแก้วอีกนามหนึ่งว่า วัดใหญ่ชัยมงคล 
      วัดป่าแก้ว จึงมีนามเรียกขานกันหลายอย่าง เช่น วัดเจ้าไท วัดเจ้าพญาไท วัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งไม่ใช่เป็นนามเดิมของวัดป่าแก้ว

      บางสรรพนามใช้เรียกนามขานพระสงฆ์เถร เช่น เจ้าไทบ้าง เจ้าพญาไทบ้าง


อยากให้รู้ว่า "ยังมีคนที่ชอบปิดทองหลังพระอยู่"


ดัดแปลงจาก
ตำนาน การสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  เรียบเรียง.
www.somdechsuk.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2016, 09:47:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วัดป่าแก้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ วัดอะไร.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 19, 2016, 10:57:50 am »
0



แท้จริงแล้ว วัดป่าแก้วในสมัยกรุงศรีอยธยา คือ วัดอะไร อยู่ที่ไหน.?

กระทู้ในเว็บพุทธธรรม คุณลูกพระได้ตั้งคำถามว่า :-
   -สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว เป็นใคร มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์พม่าบุเรงนอง และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างไรบ้าง.?
   -เป็นองค์เดียวกับพระมหาเถรคันฉ่อง และ พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน นราสโภ แห่งวัดวรเชษฐ์ อยุธยา ในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร.?
   -มีผู้พยากรณ์ว่า ชาตินี้ท่านจะเข้าพระนิพพานที่ประเทศไทยนี่เอง จริงหรือไม่ ประการใด.?


 ask1 ans1 ask1 ans1

ความคิดเห็นที่ 1 คุณ ชัย แสงทิพย์ : มีฝรั่งที่ได้อภิญญาชั้นสูงหลายคน พบปรากฏการณ์ ได้พยากรณ์ว่า สมเด็จพนรัตน์ วัดป่าแก้ว(วัดวรเชษฐ์ นอกเกาะเมืองอยุธยาในปัจจุบัน) หรือพระมหาเถรคันฉ่อง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังชาวมอญ ผู้เป็นพระอาจารย์ของกษัตริย์พม่า-บุเรงนองและเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช.,  ก็คือ พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน นราโภ นั่นเอง มีฉัพพรรณรังสี 6 สีเหมือนพระพุทธเจ้า อันหมายถึงพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ เหมือนหลวงพ่อฤาษีฯ หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงปู่มั่น ฯลฯ

เรื่องจะจริงหรือไม่ ประการใด เราก็รับฟังไว้ ไม่เสียหายอะไร กาลเวลาในอนาคตจะพิสูจน์เองครับ


ความคิดเห็นที่ 2 คุณคนรู้จริง : โอ้ย..พระมหาเถรคันฉ่องกับพระพนรัตน์วัดป่าแก้วคนละองค์กัน  อาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชาธิราช คือ พระพนรัตน์ไม่ใช่พระมหาเถรคันฉ่อง พระมหาเถรอยู่วัดฉอดฉ่อง หรือวัดลอดช่องในปัจจุบัน พระพนรัตน์อยู่วัดป่าแก้ว คือ วัดวรเชษฐ์นี่เอง 

ความคิดเห็นที่ 7 คุณผมค้นหามาหลายปี : วัดป่าแก้ว ประเทศไทย ในปัจจุปันนี้อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะรัตนโกสินทร์ คือ วัดพลับหรือวัดราชสิทธาราม(สามแยกโพธิ์สามต้น) ซึ่งก็ไม่แปลกที่ วัดป่าแก้วอาจจะเป็นวัดนั้นวัดนี้ ซึ่งสมัยก่อนนั้น พระมหากษัตริย์ไหนขึ้นครองราชก็จะมีพระอาจารย์สายวัดปฏิบัติของพระองค์ท่านเฉพาะ ถ้าอยู่วัดไหนก็จะแต่งตั้งวัดนั้นเป็นวัดป่า ส่วนที่ท่านสงสัยนั้นว่าวัดไหนเป็นวัดดั้งเดิมสมัยอโยธยา-อยุธยาแท้ๆ นั้นจริงแล้วโดนทำลายไปเรียบร้อยแล้วครับ เหลือแต่ซากฐานโบสถ์และซากเจดีย์ ภายในกลางป่าโปร่งที่อยุธยา

ส่วนท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้นั้น ผมแนะนำท่านไปที่วัดพลับ คณะ5 จะมีสมบัติบางอย่างที่ได้รับตกทอดมาจากสมเด็จพระพนรัตน์ในสมัยต่างๆ และที่อื่นๆ รวมถึงของที่วัดวรเชษฐ์ด้วยครับ ขอบคุณมากครับที่ไม่ลืมวัดป่าแก้ว ถ้ามีบุญร่วมกันผมจะพาไปชมทุกที่ครับ


ที่มา : http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=390619

 :96: :96: :96: :96: :96:

ส่วนตัวผมจะไม่ขอกล่าวถึงวัดใหญ่ชัยมงคล และวัดวรเชษฐ์ เนื่องจากมีผู้แสดงความเห็นกันมากแล้ว ผมขอนำความเห็นของหลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ)มาแสดง หลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ) ผู้เรียบเรียง หนังสือตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้ระบุชัดเจนไว้ในหนังสือดังกล่าวว่า วัดป่าแก้ว คือ วัดชายทุ่ง โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ เป็นผู้สถาปนาวัดชายทุ่งให้เป็นวัดป่าแก้วของกรุงศรีอยุธยา

    ask1 ask1 ask1
    วัดชายทุ่งอยู่ที่ไหน.?

    ans1 ans1 ans1

ขอนำความเห็นของหลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ) ที่ได้แสดงไว้ในเฟซบุ้คคนรักประวัติศาสตร์ไทย มาแสดงดังนี้

(หัวข้อ)คนรักประวัติศาสตร์ไทย : มารู้จักความจริงเกี่ยวกับ “วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา” กันเถอะ
วีระ สุขมีทรัพย์ : วัดป่าแก้ว อยู่ตรงข้ามวัดท่าหอย คนละฟากคลองคูจาม วัดป่าแก้วมีโบสถ กลางน้ ้ำ ยังมีซากให้เห็นอยู่


 ask1 ans1 ask1 ans1

วัดท่าหอยดังกล่าวนั้น อยู่ที่ถนนเลียบคลองคูจาม บ้านดงตาล หมู่ที่ ๙ ต.สำเภาล่ม อ.เมืองพระนครศรีอยุธยา ผมมีภาพมาให้ชม


ถนนเลียบคลองคูจาม ซ้ายมือคือทางเข้าวัดท่าหอย ขวามือเป็นทางเข้าไปวัดร้างที่อยู่ตรงข้ามวัดท่าหอย

สภาพวัดท่าหอยในปัจจุบัน

ภาพนี้ถ่ายจากวัดท่าหอย หลังเสาไฟ้า คือ วัดที่หลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ) กล่าวว่าเป็นวัดป่าแก้ว

สภาพปัจจุบันของวัดที่หลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ) กล่าวว่าเป็นวัดป่าแก้ว

สภาพปัจจุบันของวัดที่หลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ) กล่าวว่าเป็นวัดป่าแก้ว

สภาพปัจจุบันของวัดที่หลวงพ่อวีระ(พระครูสิทธิสังวร วัดพลับ) กล่าวว่าเป็นวัดป่าแก้ว

ด้านหลังพระอาจารย์คาดว่าเป็นโบสถ์


    ในปัจจุบันวัดท่าหอยและวัดที่อยู่ตรงข้าม อยู่ระหว่างการบูรณะโดยกรมศิลปกร
    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ ขอบพระคุณที่ติดตาม


     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2016, 11:13:13 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วัดป่าแก้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ วัดอะไร.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 19, 2016, 09:07:10 pm »
0

          สาธุ สาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา