ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ  (อ่าน 15198 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 04:54:37 pm »
0
คือ ตอนนี้มีความสนใจ ในการฝึก สมาธิ แบบ ปัญญา มาก คะ ค้นหา วิธีการฝึก โพชฌงค์ ไม่เจอ เมือก่อนเคยอ่านเจอ แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าอยู่ กระทู้ไหน แล้วคะ

 ช่วยหน่อยคะ ขอบคุณมาก

  :58: thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 06:22:20 pm »
0
พระอาจารย์ชี้แนะในกระทู้นี้เป็นเบื้องต้นแล้ว http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13383.msg45704;topicseen#new

ส่วนผมไม่รู้แนวทางที่แท้จริงแบบมัชฌิมาแบบลำดับ จะมีท่าน ณัฐพลศร ท่านเคยโพสท์ไว้อยู่ส่วนหนึ่งในกระทู้เก่าๆ

ผมพอจะกล่าวด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผมซึ่งอาจจะไม่ตรงตามจริงที่พระอาจารย์สอน อย่างไรก็รออ่านที่พระอาจารย์ตอบจะเป็นของจริงที่สุดครับ

แนวทางผมคือ

๑. สติ สัมโพชฌงค์ เจริญใน กายคตาสติเป็นอันดับแรกจนชำนาญ เพื่อให้สมาธิจดจ่อมากขึ้นและเกิดสัมปชัญญะ พร้อมเห็นตามจริงในรูปขันธ์ จากนั้นเมื่อมีจิตตั้งมั่นจดจ่อที่พอเหมาะ สติมีกำลังมากขึ้นสามารถระลึกรู้ทันปัจจุบันขณะ ก็ค่อยมาเจริญใน เวทนา จิต ธรรม ต่อตามลำดับ
๒. พิจารณาใคร่ครวญในธรรมใดๆจนเห็นตามจริงทั้งภายในภ่ายนอก
๓. เมื่อเจริญในข้อที่ 1-2 จนเห็นตามจริงแล้วกระทำความเพียรให้มาก
๔. เมื่อเจริญในข้อ 1-3 ไปเรื่อยๆ ความอิ่มเอมใจ
๕. เมื่อผ่านความอิ่มเอมใจไปได้ก็จะเกิดความสงบรำงับจากความอิ่มใจและกิเลส
๖. จากนั้นก็จะนำไปสู่ความสุขอันหาประมาณไม่ได้ เมื่อความสุขนั้นดับไปแล้วก็จะมีจิตตั้งมั่นควรแก่งานเกิดขึ้น อยู่แต่วิเวก เป็นเหตุให้รู้เห็นตามความจริงอันไม่มีสมมติบัญญัติใดๆ จนเกิดความเบื่อหน่าย อันระงับจากราคะทั้งปวง
๗. เมื่อมีจิตตั้งมั่นควรแก่งานความว่างไม่ติดใจไป ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ด้วยเห็นและรู้ตามจริงดังนี้


อันนี้คือ สัมโพชฌงค์ที่ผมปฏิบัติดัดแปลงมาจากพระสูตรนะครับ อาจจะไม่ถูกต้องตามจริง และ ไม่เป็นแนวทางตามจริงดั่งที่พระอาจารย์สอนในแนวมัชฌิมาแบบลำดับ เพราะผมเคยเห็นกระทู้หนึ่งท่าน ณัฐพลศร ได้โพสท์บอกไว้ ซึ่งจะเป้นการกำหนดลมหายใจและจิต ตามจุดต่างๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2014, 06:27:14 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 09:20:20 pm »
0
สนใจครับ เคยผ่านตา ครั้งหนึ่ง แต่ผมลืมไปเหมือน กัน ขอให้ ศิษย์ ท่าน ๆ อื่น ๆ ช่วย ชี้ลิงก์ หรือโพสต์ ใหม่ ดีหรือไม่ ครับ ผมจำได้ว่า มีรูป Facebook ครับ
 :c017:
บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 09:50:57 pm »
0
คืออย่างไร ครับ ใช่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือ ไม่ครับ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 11:25:45 pm »
0
ผมว่า ข้อนี้ พวกศิษย์ พี่ เช่น ท่าน aaaa nathaponson thawatchai123 น่าจะตอบได้นะครับ

 อนุโมทนา ล่วงหน้า ครับ ขอศึกษาด้วยคน

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 11:36:07 pm »
0

ask1 ask1 ask1
วิชาโลกุดรสยบมาร หรือ การเดินโพธฌงค์ ๗ มีวิธีการฝึกอย่างไร.?

 ans1 ans1 ans1
ขออภัย..รายละเอียดของการฝึก ไม่สามารถเปิดเผยได้
ขอให้ไปสอบถามผู้สืบทอดกรรมฐานเอาเอง หรือไปอ่านกระทู้นี้
"ทำอย่างไร เราจะรับมือกับเวทนา ที่เกิดจากการเจ็บป่วย ได้ครับ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10689.new#new

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 25, 2014, 09:58:19 pm »
0
คือ ตอนนี้มีความสนใจ ในการฝึก สมาธิ แบบ ปัญญา มาก คะ ค้นหา วิธีการฝึก โพชฌงค์ ไม่เจอ เมือก่อนเคยอ่านเจอ แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าอยู่ กระทู้ไหน แล้วคะ

 ช่วยหน่อยคะ ขอบคุณมาก

  :58: thk56 st11 st12


ans1 ans1 ans1

ไอ้ครั้นจะไม่เอ่ยถึงเลย ก็เกรงว่าหนูสายฝนจะน้อยใจ และไม่อยากให้ศรัทธาหดหาย
เอาเป็นว่า จะหาเวลามาสรุปให้อ่าน เท่าที่จะเปิดเผยได้

    :49: :58: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 25, 2014, 10:49:52 pm »
0
คือ ตอนนี้มีความสนใจ ในการฝึก สมาธิ แบบ ปัญญา มาก คะ ค้นหา วิธีการฝึก โพชฌงค์ ไม่เจอ เมือก่อนเคยอ่านเจอ แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าอยู่ กระทู้ไหน แล้วคะ

 ช่วยหน่อยคะ ขอบคุณมาก

  :58: thk56 st11 st12


ans1 ans1 ans1

ไอ้ครั้นจะไม่เอ่ยถึงเลย ก็เกรงว่าหนูสายฝนจะน้อยใจ และไม่อยากให้ศรัทธาหดหาย
เอาเป็นว่า จะหาเวลามาสรุปให้อ่าน เท่าที่จะเปิดเผยได้

    :49: :58: ;)


ขอบคุณมากคะ เพราะ ไม่คิดว่า จะมีใครตอบให้ นะคะ ในใจ แอบคิดว่า พี่ nathaponson จะตอบให้เลยแอบมาโพสต์ ในห้องนี้คะ

 พระอาจารย์ ท่านไม่ตอบเลยคะ ทั้ง Email และ กระทู้ คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มกราคม 27, 2014, 01:54:16 pm »
0



โพชฌงค์ 7
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
    ๑. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
    ๒. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
    ๓. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
    ๔. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
    ๕. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
    ๖. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
    ๗. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง


โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)


 :25: :25: :25:

โพชฌงค์คู่ปรับกับอนุสัย
    ๑. สติเป็นคู่ปรับกับอวิชชา
    ๒. ธัมมวิจยะเป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ(สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตปรามาส)
    ๓. วิริยะเป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา
    ๔. ปีติเป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ
    ๕. ปัสสัทธิเป็นคู่ปรับกับกามราคะ
    ๖. สมาธิเป็นคู่ปรับกับภวราคะ(รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ)กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ(ภพที่ไม่สงบ))
    ๗. อุเบกขาเป็็นคู่ปรับกับมานะ


    - ธัมมวิจยะและวิริยะทำลายทิฏฐิและวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบันและหรือพระสกทาคามี
    - ปีติและปัสสัทธิทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี
    - สมาธิ อุเบกขาและสติทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์


 st12 st12 st12

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง   
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
    ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้
    ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ"
   

____________________________
อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔

อ้างอิง
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
th.wikipedia.org/wiki/โพชฌงค์_7
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/





ask1 ask1 ask1
สัมโพชฌงค์ มีไว้ทำไม.?

ans1 ans1 ans1
วิปัสสนาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งกล่าวว่า โพชฌงค์เป็นมรรคภาคปฏิบัติ
ในอรรถกถาอานาปานสติสูตร กล่าวไว้ว่า
    สติในกายนั้นของภิกษุนั้น ผู้กำหนดกายด้วยอาการ ๑๔ อย่างด้วยประการอย่างนี้ เป็นสติสัมโพชฌงค์,
    ญาณอันสัมปยุตด้วยสติ เป็นธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์,
    ความเพียรทางกายและทางใจอันสัมปยุตด้วยธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละ เป็นวิริยสัมโพชฌงค์,
    ปีติ ปัสสัทธิและเอกัคคตาจิต เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์,
    อาการเป็นกลางๆ กล่าวคือสัมโพชฌงค์ ๖ ประการ ดังพรรณนามานี้ ไม่ถดถอยและไม่ดำเนินเกินไปเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหมือนอย่างว่า
    เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปได้เรียบ สารถีย่อมไม่มีการกระตุ้นว่าม้านี้วิ่งช้า หรือไม่มีการรั้งไว้ว่าม้านี้วิ่งเร็วไป สารถีจะมีอาการมองดูอย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้นฉันใด อาการเป็นกลางๆ กล่าวคือสัมโพชฌงค์ ๖ ประการเหล่านี้ไม่ถดถอยและไม่ดำเนินเกินไป เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ย่อมชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

    ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวถึงอะไร.?
    กล่าวถึงวิปัสสนา พร้อมด้วยลักษณะต่างๆ ที่เป็นชั่วขณะจิตเดียวว่า ชื่อว่า สัมโพชฌงค์.

    สรุปก็คือ สัมโพชฌงค์ คือ วิปัสสนากรรมฐาน นั่นเอง


ask1 ask1 ask1
การบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ต้องทำอย่างไร.?

ans1 ans1 ans1
ในอานาปานสติสูตร พระพุทธเจ้าตรัสลำดับการปฏิบัติไว้ ขอกล่าวโดยย่อดังนี้
     "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้
    ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้
    ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ"
   

    พุทธพจน์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า
    ก่อนเจริญโพชฌงค์ 7 ต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 และ
    ก่อนเจริญสติปัฏฐาน 4 ต้องเจริญอานาปานสติ (หรือกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง)
    การเจริญโพชฌงค์ 7 จนถึงที่สุด จะถึงวิมุตติ สำเร็จอรหันต์ได้


     :25: :25: :25:

     (ยังมีต่อ)
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2014, 01:57:35 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มกราคม 27, 2014, 02:15:59 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

fan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มกราคม 27, 2014, 02:36:14 pm »
0
สนใจเรืื่องนี้อยู่เลย คะ พยายามหาข้อมูล ในเว็บอยู่ และ ติดต่อพระอาจารย์ อยู่คะ เพื่อที่จะได้ศึกษาเรื่อง โพชฌงค์ 7 ให้เข้าใจ เคยได้ยินว่า ศิษย์ที่สระบุรี ได้เรียน การเดินจิตโพชฌงค์ 7 กันแล้ว จากกระทู้หนึ่งแต่ค้นไม่เจอ ว่ากระทู้ไหน

 ชอบคุณ พี่ nathaponson  ด้วยนะคะ ที่ช่วยรื้อวิชา นี้มาให้อ่านกันอีกครั้ง

 บางครั้งการทำงานในชีิวิตประจำวัน ก็ทำให้ลืมพระธรรม แต่เมื่อมีความทุกข์เข้ามา ก็นึกถึงพระธรรม แต่ตอนที่นึกถึง ก็ลืมพระธรรมซะอีก นี่สิคะ ปัญหาของชีวิต มันจึงยุ่งเหยิง เพราะคิดไม่ออก นึกไม่ออก สู้รบกับความทุกข์ไม่ทัน

 thk56
บันทึกการเข้า

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มกราคม 27, 2014, 03:02:11 pm »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มกราคม 28, 2014, 11:32:53 am »
0


     ask1 ask1 ask1

     กระทู้ที่แล้วกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
     หากมีคนถามว่า แล้วสมถกรรมฐานล่ะ เป็นโพชฌงค์ด้วยรึเปล่า ผมมีคำตอบให้ครับ





หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงสติปัฏฐาน โดยเฉพาะในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ตั้งสติ หรือ สติตั้ง ตามดูธรรมะคือเรื่องในจิตใจ ได้ทรงแสดงนิวรณ์ ๕ ทรงแสดงขันธ์ ๕ ทรงแสดงอายตนะ ๖ และไม่ใช่ทรงแสดงจำเพาะ นิวรณ์ ขันธ์ อายตนะ ยังแสดงถึงวิธีปฏิบัติในการละนิวรณ์ ในการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ในการกำหนดรู้อายตนะภายนอกภายใน ภายในภายนอก และสังโยชน์ที่บังเกิดอาศัยอายตนะทั้ง ๒ มาประจวบกัน และการละสังโยชน์ จึงมีวิธีปฏิบัติธรรมะในข้อเหล่านั้น


 :welcome: :welcome: :welcome:

ธรรมะอันแสดงถึงวิธีปฏิบัติธรรม

ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงวิธีปฏิบัติธรรมะในข้อเหล่านั้น คือในการละนิวรณ์เป็นต้นดังกล่าว จึงได้ตรัสหมวดโพชฌงค์ต่อไป โพชฌงค์นี้จึงเป็นหมวดธรรมะสำคัญ อันแสดงถึงวิธีปฏิบัติธรรมะนั้นเอง ในการปฏิบัติธรรมะทั้งปวงที่จำแนกโดยปริยายคือทางแสดงต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น
    สมถกรรมฐาน กรรมฐานที่เป็นไปเพื่อสมถะคือความสงบใจ โดยวิธีทำสมาธิตั้งจิตมั่นให้เป็นอารมณ์อันเดียว
    วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานที่เป็นไปเพื่อวิปัสสนาความเห็นแจ้งรู้จริง อันเป็นวิปัสสนาปัญญา
    วิธีปฏิบัติทั้ง ๒ นี้ ก็ต้องเป็นโพชฌงค์นั้นเอง คือเป็นวิธีปฏิบัติในโพชฌงค์

    เพราะฉะนั้น โพชฌงค์จึงเป็นหลักธรรมะอันสำคัญ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมะพึงใช้ปฏิบัติ ตามแนวโพชฌงค์นั้น ในธรรมปฏิบัติทั้งปวง


 :s_good: :s_good: :s_good:

โพชฌงค์ ๗
คำว่า โพชฌงค์ นั้นตามศัพท์แปลว่าองค์คุณ หรือองค์สมบัติแห่งความตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้ว่า เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ คือธรรมะที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งมี ๗ ประการ อันได้แก่
   - สติโพชฌงค์ หรือ สติสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือสติ
   - ธัมมวิจยโพชฌงค์ หรือ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือธัมมวิจยะเลือกเฟ้นธรรม
   - วิริยะโพชฌงค์ หรือ วิริยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือวิริยะความเพียร
   - ปีติโพชฌงค์ หรือ ปีติสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือปีติความอิ่มเอิบใจ
   - ปัสสัทธิโพชฌงค์ หรือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือปัสสัทธิความสงบรำงับ
   - สมาธิโพชฌงค์ หรือ สมาธิสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือสมาธิความตั้งใจมั่น
   - อุเบกขาโพชฌงค์ หรือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์ คืออุเบกขาความเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ สงบอยู่ในภายใน

 :96: :96: :96:

อาหารของโพชฌงค์ ๗

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอาหารของโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ไว้ ว่าเหมือนอย่างร่างกายต้องอาศัยอาหาร แม้โพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ก็ต้องอาศัยอาหาร จึงจะบังเกิดขึ้นเจริญขึ้น และอาหารของโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์นี้ก็มี ๒ อย่าง คือ อาหารที่จำเพาะข้ออย่างหนึ่ง อาหารที่ทั่วไปแก่ทุกข้ออย่างหนึ่ง

สำหรับอาหารที่ทั่วไปทุกข้อนั้น
ได้แก่การทำไว้ในใจ การกระทำให้มากโดยแยบคาย เรียกตามศัพท์แสงว่า โยนิโสมนสิการ พหุลีการ
    มนสิการ ก็คือทำไว้ในใจ
    พหุลีการ ก็คือการกระทำให้มาก
    โยนิโส ก็คือโดยแยบคาย ได้แก่โดยพิจารณาให้จับให้ได้ถึงต้นเหตุ อันหมายถึงว่าจับเหตุจับผล จับต้นจับปลายให้ถูกต้อง

ส่วนอาหารจำเพาะข้อนั้น
ข้อที่ ๑ คือ สติ ตรัสแสดงเป็นกลางๆ ว่า ธรรมะทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งของสติ
ข้อที่ ๒ ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัยเลือกเฟ้นธรรม ตรัสแสดงว่าคือธรรมะที่เป็นกุศลเป็นอกุศล ที่มีโทษไม่มีโทษ ที่เลวที่ประณีต และที่มีส่วนเทียบได้กับสีดำสีขาว
ข้อ ๓ วิริยะ ความเพียร ก็ได้แก่ อารัมภธาตุ ธาตุคือความริเริ่ม นิคมธาตุ ธาตุคือความเริ่ม ธาตุคือความดำเนินไป ปรักมธาตุ ธาตุคือความดำเนินให้ก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด
ข้อ ๔ ปีติ ตรัสแสดงว่าได้แก่ธรรมะที่เป็นที่ตั้งของปีติ
ข้อที่ ๕ ปัสสัทธิ ตรัสแสดงว่าได้แก่กายปัสสัทธิสงบกาย ปัสสัทธิสงบใจ
ข้อที่ ๖ สมาธิ ตรัสแสดงว่าได้แก่สมาธินิมิต นิมิตคือเครื่องกำหนดหมายแห่งสมาธิ และ อัพยฆะ อันได้แก่ความที่จิตไม่แตกแยกแบ่งแยก แต่มียอดเป็นอันเดียวไม่หลายยอด คือไม่แตกยอดมาก ก็คือจิตที่รวมเป็นหนึ่ง
ข้อที่ ๗ อุเบกขา ตรัสแสดงว่าธรรมะที่เป็นที่ตั้งของอุเบกขา


 :25: :25: :25:

หลักโพชฌงค์ในหมวดนิวรณ์

คราวนี้มาข้อที่ ๑ อาหารจำเพาะข้อ ได้แก่ธรรมะที่เป็นที่ตั้งของสติ ก็คือว่าสุดแต่จะปฏิบัติในข้อไหน ก็ต้องตั้งสติในข้อนั้น เช่นว่า จะปฏิบัติในข้อนิวรณ์ ก็ต้องตั้งสติกำหนดนิวรณ์ คือต้องตั้งสติกำหนดกามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในกาม คือ ความชอบในจิตใจที่บังเกิดขึ้น ตั้งสติกำหนดพยาบาท คือความกระทบกระทั่ง หงุดหงิดโกรธแค้นขัดเคือง มุ่งร้ายหมายขวัญ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ตั้งสติกำหนดให้รู้จักถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ตั้งสติกำหนดให้รู้จักอุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่านรำคาญใจที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ตั้งสติกำหนดให้รู้จักวิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจ คือให้รู้จักว่าข้อไหนบังเกิดขึ้นอย่างไรในจิตใจ นี่เป็นสติสถานด้วย เป็นสติปัฏฐานด้วย และสืบต่อเป็นสติสัมโพชฌงค์ด้วย อันนับว่าเป็นข้อแรก

ธรรมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรม
จึงมาถึงข้อที่ ๒ วิจัยคือเลือกเฟ้นธรรม ก็คือเลือกเฟ้นธรรมอันได้แก่นิวรณ์ทั้ง ๕ ข้อนี้ทุกข้อ ให้รู้จักว่านิวรณ์ทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล มีโทษหรือไม่มีโทษ เลวหรือประณีต เป็นสิ่งที่มีส่วนเทียบด้วยสีดำหรือสีขาว เมื่อเลือกเฟ้นดูที่จิตแล้วก็ให้รู้ว่านิวรณ์ทั้ง๕ นี้เป็นอกุศลมีโทษ เลวมีส่วนเทียบด้วยสีดำ ดั่งนี้เป็นธัมมวิจัยคือเลือกเฟ้นธรรม

วิริยะ ความเพียร
จึงมาถึงข้อ ๓ วิริยะคือความเพียร อันความเพียรนั้นกล่าวโดยย่อ ก็คือ ปหานะ เพียรละอย่างหนึ่ง ภาวนา เพียรอบรมให้มีขึ้นเป็นขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่าเป็นอกุศล มีโทษ เลว มีส่วนเทียบด้วยสีดำ ก็ควรละ ไม่ควรเก็บไว้ แต่ถ้าเป็นกุศล ไม่มีโทษ ดี ประณีต มีส่วนเทียบด้วยสีขาว ก็อบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือรักษาไว้ และอบรมให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ให้เจริญขึ้น นิวรณ์นั้นเป็นอกุศล มีโทษ ดำ มีเป็นอกุศล มีโทษ เลว มีส่วนเทียบกับสีดำ จึงควรละ จึงปฏิบัติละเสีย ดั่งนี้ก็เป็นวิริยะโพชฌงค์หรือสัมโพชฌงค์


ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
จึงมาถึงข้อ ๔ คือปีติ คือความอิ่มเอิบใจ คือเมื่อละนิวรณ์ได้ก็ย่อมจะมีปีติคือความอิ่มเอิบใจ เพราะว่าจิตใจที่มีนิวรณ์นั้น เป็นจิตใจที่เศร้าหมองไม่ผ่องใส เป็นจิตใจที่เครียด เป็นจิตใจที่มัวซัวไม่แจ่มใส เป็นจิตใจที่ไม่ตั้งมั่น ไม่แน่นอน กลับกลอกคลอนแคลน เพราะฉะนั้น จึงไม่มีปีติคือความอิ่มเอิบใจ แต่ว่าจิตใจที่ละนิวรณ์ได้ ที่พ้นนิวรณ์ได้แล้ว ย่อมเป็นจิตใจที่ใสสะอาด ที่ผุดผ่อง ผ่องใส จึงบังเกิดปีติคือความอิ่มเอิบใจ ดูดดื่มใจ

จึงส่งถึงข้อที่ ๕ ปัสสัทธิ ความสงบกายความสงบใจ เมื่อกายใจสงบมีสุข ก็ส่งถึงข้อที่ ๖ คือสมาธิ จิตใจก็ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย แน่วแน่ เมื่อได้ข้อนี้ซึ่งเป็นข้อที่ ๖ ก็ส่งถึงข้อ ๗ คืออุเบกขา คือความที่จิตเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ในภายในด้วยปัญญา ที่ละยินดีละยินร้ายได้ สงบอยู่ในภายในเป็นอุเบกขา อันเป็นข้อที่ครบ ๗

เพราะฉะนั้น แม้ในข้อนิวรณ์นี้ ก็ต้องอาศัยปฏิบัติตามหลักของโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการนี้ จึงจะเป็นไปในการละนิวรณ์ได้ และได้ผลจากการละนิวรณ์ ตามหลักของโพชฌงค์ดังกล่าว


ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-262.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammathai.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มกราคม 28, 2014, 12:00:55 pm »
0



โพชฌงค์ 7 คืออะไร ประกอบด้วยอะไร สำคัญอย่างไรบ้าง

โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ โพชฌงค์นี่มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ
   1. สติ ความระลึกได้
   2. ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
   3. วิริยะ ความเพียร
   4. ปีติ ความอิ่มใจ
   5. ปัสสัทธิ ความสงบ
   6. สมาธิ จิตตั้งมั่น
   7. อุเบกขา ความวางเฉย

จัดว่าเป็นโพชฌงค์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องและทรงรับรอง ว่า ถ้าใครมีคุณธรรม 7 ประการนี้ไว้ประจำใจแล้ว เรียกว่าประจำ ให้รู้อยู่ว่าเรามีโพชฌงค์ 7 หรือไม่ หรืออาการโพชฌงค์ 7 เกิดขึ้นได้อย่างไร ยังคงอยู่หรือว่าเสื่อม


       ans1 ans1 ans1

      สติ ความระลึกได้ เวลานี้ท่านรู้อยู่หรือเปล่าว่าลมหายใจเข้าออกของท่านมีอยู่เวลานี้ท่าน หายใจเข้าสั้นหรือยาว หายใจออกสั้นหรือยาว นี่เป็นการใช้สติเหมือนกัน อิริยาบถ เรากำลังเดินอยู่หรือเปล่าหรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ หรือเดินอยู่ หรือทำอะไรอยู่สัมปชัญญะ เรารู้ตัวอยู่ว่าเวลานี้เราทำอะไรนะ นี่สตินึกอิริยาบถที่เข้าไปถึงสัมปชัญญะนี่เวลาอาบน้ำ หรือว่าเรากินข้าว เราห่มผ้า เราเมาร่างกายหรือเปล่า ร่างกายของเรานี่เราเมาไหม เราคิดว่ามันสวยมันงามหรือเปล่า
     ถ้าคิดว่าสวยว่างาม ก็นึกลงไปอีกทีว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปฏิกูลสัญญาว่า ปฏิกูลสัญญาว่าสภาพร่างกายมีอาการ 32 คือว่าอัฏฐิ อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น มีขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อุจจาระ ปัสสาวะอะไรก็ตาม ตามที่เรียนมาแล้วก็เราเห็น หรือว่ามันชั่วหรือว่ามันไม่ชั่วมันสวยหรือมันไม่สวย มันเป็นของสะอาดหรือของสกปรก
     หากว่าเราเมาชีวิต คิดว่าเราจะไม่ตายก็ไปดูป่าช้า 9 คิดว่านี่เรานึกถึงความตาย 9 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสหรือเปล่า แล้วก็ราคะจริต จิตที่รักสวยรักงามมันปรากฏในขณะเดียวกันหรือเปล่า แล้วเวลานี้เรานะงับลงไปได้หรือเปล่า นี่เป็นตัวสติ เราวิจัยจิตของเราหรือเปล่าว่าจิตของเรามีราคะ หรือว่าโทสะ หรือว่าโมหะ หรือว่าจิตของเราปราศจากราคะ โทสะ
     นึกว่าจิตของเรามีนิวรณ์หรือเปล่าไอ้นิวรณ์เครื่องกั้นความดีที่ทำให้คนไม่ เกิดฌาน
     นึกถึงขันธ์ ว่าอัตภาพร่างกายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ขันธ์ 5 มีสภาพเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปแล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เราไม่สามารถบังคับบัญชาขันธ์ 5 ให้อยู่ในอำนาจของเราได้ ที่เกิดมาแล้วในโลกมันเป็นทุกข์ ไอ้ความทุกข์ที่มาได้เพราะตัณหาสามประการ ถ้าเราดับตัณหาได้ก็ต้องอาศัยมรรค 8 ย่นมรรค 8 ลงมาก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา



      ธรรมวิจยะ แปลว่าสอดส่องธรรม หรือว่าวินิจฉัยธรรม วิจยะ วิจัย วิจัยวินิจฉัยค้นคว้าดูว่าไอ้สิ่งที่เราคิด ด้วยอำนาจของสติมันถูกหรือไม่ถูก มันตรงหรือไม่ตรง ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้หรือเปล่านี่ และพิจารณาดูว่าที่เราทำอยู่นี้ เคร่งเครียดตึงเกินไป หย่อนเกินไป หรือว่าพอดี และที่ทำอยู่ทำเพื่ออะไร เราทำเป็นมัชฌิมาปฏิปทาหรือเปล่า เมื่อเราทำตามนั้นแล้วมีผลเป็นยังไง ผลของความสุขใจมันเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่านี่ เราใช้ข้อนี้เป็นเครื่องมือนะขอรับ โพชฌงค์ 7 นี่น่ะ เป็นเครื่องมือในการบรรลุ

       วิริยะ ได้แก่ความเพียร ต้องเพียรให้ตรง แล้วก็มีความพากเพียร ต้องคิดว่างานทุกอย่างต้องมีอุปสรรค ไม่ว่าอะไรทั้งหมด อุปสรรคมันมีทั้งนั้น จะถือว่าทำงานทุกอย่างเต็มไปด้วยความราบรื่นไม่ได้ คนที่มีความเห็นไม่ตรงกับท่านยังมีอยู่ เขาจะพูด ให้ท่านเกิดความเศร้าใจบ้าง สะเทือนใจบ้าง ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของธรรม เป็นธรรมดาของบุคคลที่มีความเห็นไม่เสมอกัน เราก็ต้องมีความเพียร เพียรละถ้อยคำ เพียรละอาการที่เขาแสดงออกซึ่งการเหยียดหยามต่าง ๆ เพียรตัด เพียรไม่สนใจ เพียรไม่ยุ่ง ทีนี้ถ้าความขัดข้องใดๆ มันปรากฏ
      เราก็ต้องนึกว่า นี่เราจะทำความดีนะ คนที่เขาทำนาเกี่ยวข้าว เขาก็ต้องต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการ เช่น ความร้อน ความหนาว จากน้ำฝน จากอากาศ การต้องต่อต้านกับความเหนื่อยบาก อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้ง แล้วนี่เราจะมาบุกใจของเราให้ราบเรียบ มีผลเกิดจากใจไม่ต้องไปตากแดดตากฝน เหมือนกับคนที่ทำงานภายนอกบ้าน ถ้าอุปสรรคมันเกิดขึ้นทางใจแบบนี้ เราก็ต้องระงับทางใจ ถือขันติเป็นที่ตั้ง
      แล้วข้อสำคัญที่สุด พระคุณเจ้าก็อย่าลืม กระผมได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ตอนที่ว่าด้วยเรื่องวิชชาสามว่าความดีอันดับแรกก็คืออย่าสนใจกับชาวบ้าน เขาจะดีเขาจะเลวเขาจะว่ายังไง เขาจะแสดงอาการยังไงก็ปล่อยเขา อย่าไปสนใจกับเขา เท่านั้นเป็นพอ ทีนี้วิริยะตัวนี้เราจะเพียรแบบไหนถ้าโดนเข้าแบบนั้น ก็เพียรไม่สนใจในเรื่องของเขา เขาจะว่ายังไงก็เป็นปากของเขา เขาจะแสดงอาการทางกายยังไงก็เป็นอาการของเขา เราไม่สนใจเสียก็หมดเรื่อง นี่เราเพียรไม่สนใจ แล้วก็เพียรปฏิบัติตามกฎที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วทุกอย่างในมหาสติปัฏฐานสูตร


     :96: :96: :96:

      ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ปีตินี่เราจะสร้างมันเองไม่ได้ ต้องทำไปตามกฎแห่งการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราพิจารณากรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม ให้เห็นเหตุเห็นผล ความชุ่มชื่นจะปรากฏแก่จิต ความสุขของจิตจะมี ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ สมมติว่าเราทำสมาธิจิตให้ได้อานาปานสติกรรมฐานในเมื่อสมาธิเข้าถึงจุด มีอาการทรงตัว ความอิ่มใจ คือความสุขใจมันจะเกิดขึ้น ความปลาบปลื้มมันจะเกิดขึ้น ทีนี้มาพิจารณาในปฏิกูลบรรพ หรือว่าธาตุบรรพ หรือว่านวสี 9 ยังงี้พอเกิดอารมณ์ปลงความปรารถนาใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเสียได้ ความเยือกเย็นจะปรากฏ นี่ปีติมันอิ่มตัวอิ่มใจ ทำให้เข้าถึงนะขอรับ ปีติมันต้องมี มีเพราะเรามีความเพียร มีเพราะเราทรงสมาธิ



      ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ ปัสสัทธินี้พระพุทธเจ้าให้ทรงอาศัยไว้ คือทรงสติสัมปชัญญะ และทรงสมาธินั่นเอง รักษาอารมณ์แห่งอานาปานสติกรรมฐานเข้าไว้ความสงบจะปรากฏ ความดิ้นรน ตัวจิตที่คิดนอกลูกนอกทางจะไม่ปรากฏ ถ้าเราทรงเมตตาเข้าไว้ ถ้าเรามีเมตตาเป็นประจำใจ เรียกว่าทรง ไอ้ตัวที่มีไว้เรียกว่าทรง พยาบาทจะไม่ปรากฏ ถ้าเรามีธรรมวิจยะ คือสอดส่องธรรมอยู่เสมอ ตัวสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่ปรากฏ จะเป็นปัสสัทธิ นี่อาการของปัสสัทธิจะเกิดขึ้นมาได้ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเฉย ๆ ต้องรักษาเข้าไว้ คือต้องมีเข้าไว้ มีสติ มีธรรมวิจยะ มีวิริยะ มีปีติ มีปัสสัทธิ

       สมาธิ ความตั้งใจมั่น ได้แก่การรักษาอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง รักษาอารมณ์ของเราให้เป็นเอกัคคตารมณ์ สมมติว่าเราจะนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ข้อใดข้อหนึ่งในมหาสติปัฏฐานสูตร อารมณ์จิตก็จะไม่หลบไปสู่อารมณ์อื่น นอกจากจะวิจัยกองนั้น นึกถึงกองนั้นอยู่ อย่างนี้เรียกกันว่าสมาธิ ไม่ใช่การนั่งหลับกานั่งหลับนั้นไม่รู้สึกตัวไม่รู้อะไรเลยอย่างนี้ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ฌานแล้ว เขาเรียกกันว่าหลับในสมาธิ
       นักเจริญสมาธิก็แปลว่าตั้งใจมั่น ไม่ช่นั่งหลับหรือนอนหลับ สมาธิแปลว่าตั้งใจมั่น กำลังใจนี่คุมอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่โดยเฉพาะจิตไม่สอดส่ายไปสู่อารมณือื่น อย่างนี้เราเรียกกันว่าสมาธิ
       ถ้าการเข้าถึงขั้นนิโรธสมาบัติข้างในน่ะลืมโพลง หมายความมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือว่าจิตกับกายมันแยกกัน อาการภายนอกไม่รู้จริง แต่อาการภายในมีเหมือนกับคนที่ตื่นอยู่ปกติ แล้วก็มีอารมณ์ตั้งมั่นโดยเฉพาะ มีความสุขไม่มีความทุกข์ นี่เป็นอาการของนิโรธสมาบัติสมาธิขั้นสูง นี่เป็นยังงี้นะขอรับ ตัวสมาธิคือตั้งใจมั่นจับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะต้องมีเป็นปกติ ถ้ายังงั้นไม่มีทางบรรลุมรรคผล


      st12 st12 st12

      อุเบกขา ในกรณีนี้ คือวางเฉยต่ออาการของชาวบ้าน ชาวบ้านที่ทำให้เราไม่ชอบใจก็ดี ทำให้เราชอบใจก็ตาม เราเฉยเสียไม่ยอมรับนับถือทั้งชอบใจและไม่ชอบใจ นี่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ นะ แล้วถ้าสูงขึ้นไปอีกนิด ก็อุเบกขาเหมือนกัน วางเฉยในขันธ์ 5 นี่สำคัญ ตัวนี้เป็นตัวแท้ ตัวแรกนั้นเป็นตัวหน้าตัววางเฉยเรื่องราวของชาวบ้านที่เขาพูดไม่ถูกหรือทำ ไม่ถูกใจ หรือทำไม่ถูกใจ พูดไม่ถูกใจ เราวางเฉยไม่เอาอารมณ์ไปยุ่ง ยังงี้เป็นเรื่องเปลือก ๆ เป็นอาการของเปลือก ไม่ใช่เนื้อ
       อุเบกขาที่แท้ต้องเป็นสังขารรุเปกขาญาณวางเฉยในขันธ์ 5 เรื่องของขันธ์ 5 มันจะรับอะไรมาก็ตาม เราเฉยเสีย คิดว่านี่เป็นธรรมดาของคนที่เกิดมามีชีวิต คนที่เกิดมามีขันธ์ 5 มันต้องมีอาการอย่างนี้เป็นปกติ ไม่มีใครจะพ้นอาการอย่างนี้ไปได้ ถึงแม้ว่าเราจะหลีกหนีให้พ้นไปสักขนาดใดก็ตาม เราจะมีเงินมีทองมีอำนาจวาสนาบารมียังไงก็ตาม ไม่สามารถจะพ้นโลกธรรม 8 ประการไปได้ คือ
   1. มีลาภ
   2. เสื่อมลาภ
   3. มียศ
   4. เสื่อมยศ
   5. นินทา
   6. สรรเสริญ
   7. สุข
   8. ทุกข์



อาการ 8 ประการนี้ คนในโลกทั้งหมดหนีไม่พ้น ที่นี้เมื่ออาการภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา เราก็วางเฉยเสีย ถือว่าเรื่องของขันธ์ 5 เป็นธรรมดา คนมีขันธ์ 5 ต้องมีการกระทบกระทั่งทั้งทางหูและทางตา หนีไม่ได้ก็ปล่อยมัน เหมือนกับคนเดินอยู่กลางทุ่งที่ไม่มีอะไรบัง ฝนจะตกก็ดี แดดจะออกก็ดี ก็ต้องถูกตัว แต่เราก็ไม่โกรธแดดโกรธฝน เพราะถือเราเป็นคนเดินดิน มันหนีไม่พ้น

ทีนี้มาถ้าขันธ์ 5 มันป่วยไข้ไม่สบาย หรือมันจะตาย เราก็วางเฉยอีก เพราะว่าขันธ์ 5 สภาวะมันเป็นอย่างนี้ มันจะพังอย่างนี้ มันจะต้องป่วยอย่างนี้เป็นของธรรมดา เราก็เฉยมันเสียแต่ไม่เฉยเปล่านะ เอาจิตเข้าไปจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วย

และนอกจากนั้น ถ้ารักษาเพื่อระงับเวทนาได้ก็ควรรักษา เมื่อรักษามันหายก็หาย ไม่หายก็ตามใจ นี่เรื่องของมัน วางเฉยไว้ คิดว่าถ้ามันทรงอยู่เราก็จะเลี้ยงมันไว้ ถ้ามันทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะไปนิพพาน ขันธ์ 5 มันเป็นตัวถ่วง เป็นตัวให้เกิดในวัฏฏสงสาร ถ้าเราข้องใจในมันเมื่อไร ความทุกข์ก็ไม่ถึงที่สุดเมื่อนั้น หมายความว่าความทุกข์มันก็จะปรากฏเมื่อนั้น ถ้าเราเลิกข้องใจกับมันเมื่อไร เลิกสนใจกับมันเมื่อไร เราก็สิ้นทุกข์เมื่อนั้น

 st12 st12 st12

      โพชฌงค์ 7 ประการก็พูดมาครบแล้ว พูดมาแนะนำแต่เพียงหัวข้อ วิธีคิดจริงๆ ก็คิดกันตามใจเถอะ จะคิดแบบไหนก็ได้ตามอารมณ์ เพราะทางเข้าถึงพระนิพพานมีหลายจุด ไม่ใช่ว่าจะมีตามจุดเฉพาะเดินในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 เท่านั้น
      โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่มีบารมีสูงๆ ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 นี้
      บางทีท่านจับเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นก็ได้พระนิพพาน
      เป็นอันว่าโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการนี้ เป็นเครื่องมือสำหรับนักปฏิบัติเพื่อช่วยควบคุมกำลังจิตให้เดินเข้าสู่สภาวะ พระนิพพานอย่างง่ายดายมีขอบเขตนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.larnbuddhism.com
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=392.0 โพสต์โดย golfreeze
ขอบคุณภาพจาก
http://www.moe.go.th/
http://gossipstar.mthai.com/
http://www.oknation.net/
http://www.thammasorn.com/


     ans1 ans1 ans1
    คำบรรยายนี้นำมาจากเว็บลานพุทธศาสนา ไม่ปรากฏนามผู้บรรยาย เท่าที่ดูเว็บนี้ ออกไปทางแนวการสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
     :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มกราคม 30, 2014, 10:47:51 am »
0
รูปแสดงจุดที่ตั้งนวหรคุณ ๙ จุด


พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓.มหาปรินิพพานสูตร]
ภิกขุอปริหานิยธรรม เล่มที่ 10 หน้า 85-86


[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง  จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย
     ๑. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
     ๒. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
     ๓. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความเพียร)
     ๔. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
     ๕. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
     ๖. ภิกษุพึงหวังได้ แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
     ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)

     ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่ และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ ประการนี้อยู่





     วิชาโลกุดร สยบมาร
     ๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
     ๒. ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
     ๓. ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
     ๔. ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
     ๕. ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
     ๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
     ๗. ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
         แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง


     ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร
     ๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก
     ๒. แผ่บารมีให้มาร
     ๓. ทำจิตให้หลุดพ้น
     ๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
     ๕. เมตตา
     ๖. ปราบมาร
     ๗. มีความเพียร
     ๘. ปราบคนทุศีล
     ๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น


อ้างอิง
"ภิกขุอปริหานิยธรรม ภาคปฺฏิบัติ"  โพสต์โดย arlogo
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10522.msg39239#msg39239
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มกราคม 30, 2014, 10:51:05 am »
0

พระอริยเถราจารย์สอนเรื่องตัดขันธ์
(พรรษาที่ ๑๕ สถิตวัดท่าหอย ยุคธนบุรี)

ณ วัดท่าหอย พรรษาที่ ๑๔ พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงเจริญสมณะธรรมทุกคืน ก็จะมีพระอริยเถราจารย์มากล่าวสอน พร่ำสอน พระกรรมฐานพระองค์ท่านทุกคืน คืนนี้ก็เช่นกัน มีพระเถราจารย์พระองค์หนึ่งล่วงมาแล้ว เข้ามาหาพระอาจารย์สุกด้วยกายทิพย์อันละเอียดประณีต

พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้นมาถึงแล้วก็กล่าวกับพระองค์ท่านว่า ข้าฯชื่อ คำมา ข้าจะมาสอนเรื่องการตัดขันธ์ จะได้เอาไว้ใช้กับตัวเอง และเอาไว้ใช้สอนผู้อื่น เวลาเกิดทุกขเวทนาในเวลาใกล้ตาย ท่านสอนว่าการตัดขันธ์นี้ ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็งสามารถลืมทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่เอาสังขารร่างกายแล้ว ให้ตัดจากขันธ์หยาบก่อน โดยพิจารณาวิปัสสนา คือ
         ๑. ตัดอาโปธาตุก่อน
         ๒. ตัดเตโชธาตุ
         ๓. ตัดปฐวีธาตุ
         ๔. ตัดวิญญาณธาตุ
     ดับความยึดมั่นในร่างกาย สุดท้ายให้ตัด วาโยธาตุ
     เวลามรณะกรรม ทุกขเวทนา จะไม่มี ไม่ปรากฏ แต่ต้องมีสมาธิจิตกล้าแข็ง จึงจะทำได้


พระอริยเถราจารย์ ยังกล่าวสอนต่อไปอีกว่า ระหว่างทุกข์เวทนาเกิดขึ้นมากนั้น ให้ตั้งสติให้กล้าแข็ง องค์แห่งธรรมสามัคคี คือ โพชฌงค์ ๗ จะเกิดขึ้น คือ
      สติสัมโพชฌงค์ ๑
      ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑
      วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑
      ปีติสัมโพชฌงค์ ๑
      ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑
      สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑
      อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑

      - เมื่อมีสติรู้ต่อทุกข์เวทนา ทั้งภายในภายนอก เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์เกิด
      - มีสติแล้วระลึกถึงการตัดซึ่งขันธ์ห้า เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เกิด
      - เริ่มทำความเพียรในการตัดขันธ์ เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์เกิด
      - เมื่อตัดขันธ์ได้ครบองค์แล้ว ดับความยึดมั่นในร่างกายได้ ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิด
      - ความสงบทั้งภายในภายนอกก็ตามมา ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จึงเกิด
      - ความไม่มีทุกข์เวทนา ก็หายไป จิตก็ตั้งมั่น จึงเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
      - วางเฉยในอกุศลธรรมทั้งปวง จึงเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์



เมื่อท่านเจริญโพชฌงค์แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งจริงแท้ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ธรรมเหล่านี้มีอยู่ ๗ อย่างตามที่กล่าวมาแล้ว พระอริยเถราจารย์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า เจริญอย่างไรจึงจะหลุดพ้น คือ
     ๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
     ๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
     ๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย
     ๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธอันน้อมไป เพื่อความปลดปล่อย


ท่านเจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้เข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ฯ
   
คืนต่อมาพระอริยเถราจารย์ หรือหลวงปู่คำมา ท่านก็กล่าวสอนอีกว่า ข้าฯจะสอน "วิชาผ่อนคายจิต" ท่านสอนว่า ขณะที่จิตกำลังมีความสับสนวุ่นวาย
     ขอให้ตั้งสติแล้วหายใจให้ลึกๆ พุ้งสมาธิจิตไปที่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป
     ให้เพ่งดูนิ่งๆนานๆ สักครู่หนึ่ง แล้วภาวนาสวดพระพุทธคุณ คือ อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ ๑ จบ หรือหลายจบก็ได้
     ความวุ่นวายใจ และสับสนใจ ก็จะคลายลง แล้วหายไปเอง


คืนต่อมาพระอริยเถราจารย์ หรือหลวงปู่คำมา ท่านก็สอนต่อไปอีกว่า "วิชชาสยบทุกข์เวทนา" ท่านบอกว่า เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่เรา
     ขอให้เราตั้งสติแล้ว ยอมรับทุกขเวทนานั้นก่อน คือ ให้มีสติกำหนดรู้ทุกข์นั้นเอง
     ให้รู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไร แล้วนึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
     เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรามีกรรมเป็นมรดก เรามีกรรมเป็นกำเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
     แล้วมีสติกำหนดรู้ ความวางเฉยในทุกข์เวทนานั้นด้วย ถ้าทำดังนี้ได้ ทุกขเวทนาที่มีอยู่ในใจและกาย ก็จะบรรเทา เบาบางลง และหายไปในที่สุด หรือให้มีสติรู้เวทนา เช่นทุกข์เวทนาเกิด ก็รู้ว่าทุกข์เวทนาเกิด ทุกข์เวทนาไม่มี ก็รู้ว่าทุกขเวทนาไม่มี ดังนี้
     ก็จะสามารถแยกจิตกับทุกขเวทนาออกไปได้ ไม่รู้สึกทุกข์
     ถ้ารู้ไม่เท่าทันทุกข์เวทนา เราก็ไม่สามารถสยบทุกขเวทนาได้
     ท่านบอกว่า นี้เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนพระสาวก และสืบต่อมาจนถึงข้าฯและถึงท่านนี่แหละ


พระอาจารย์สุกพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว ทรงทบทวนการตัดขันธ์ทบทวนโพชฌงค์ ๗ ทบทวนวิชาสยบทุกข์เวทนา เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทุกวันในพรรษานี้ พระองค์ท่านก็สามารถตัดทุกขเวทนาได้ และชำนาญใน พระคัมภีร์โพชฌงค์ ๗ อีกด้วย 


คืนต่อมาในพรรษานั้น พระอริยเถราจารย์องค์ที่สอนพระอาจารย์สุก เรื่องการตัดขันธ์อันประกอบด้วย โพชฌงค์ ๗ ประการ ได้มาบอกท่านในสมาธิอีกว่า ข้าฯจะสอน "วิชาโพชฌงค์ ๗ เป็นวิชาโลกุดรสยบมาร" ท่านกล่าวอีกว่า
    มาร คือ กิเลสมาร สังขารมาร อภิสังขารมาร เทวปุตมาร และมัจจุมาร
    ท่านบอก นอกจากจะสยบมารทั้งห้าแล้ว ยังใช้รักษาโรคกาย โรคจิต ให้แก่ตัวเอง และผู้อื่นได้อีกด้วย


    ต่อมาท่านจึงบอกวิธีทำฌานโลกุดร สยบมาร ดังนี้
    ๑. ท่านให้ตั้งสติสัมโพชฌงค์ ที่กลางสะดือ องค์ธรรมนาภี จุดชุมนุมธาตุ
    ๒. ให้ตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่จุดเหนือสะดือ หนึ่งนิ้ว จุดธาตุดิน
    ๓. ตั้งวิริยสัมโพชฌงค์ ที่จุดหทัย จุดองค์ธรรม พระพุทโธ
    ๔. ตั้งปีติสัมโพชฌงค์ ที่จุดคอกลวง องค์ธรรม ของพระปีติ
    ๕. ตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่โคตรภูมิท้ายทอย องค์ธรรมนิโรธ ธาตุลม
    ๖. ตั้งสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่กลางกระหม่อม องค์ธรรมของพระพุทธเจ้า
    ๗. ตั้งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่หว่างคิ้ว องค์ธรรมของพระสังฆราชา เมื่อจิตมีกำลัง ปราณีตดีแล้ว ตรงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ให้เปลี่ยนคำภาวนาเป็น "โลกุตตะรัง ฌานัง" อันเป็นไปเพื่อจิตหลุดพ้น


ในกาลต่อมาพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านก็ทรงนำวิชาโลกุดร สยบมาร มาสั่งสอนศิษย์ มากมายในกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์


อ้างอิง : พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้า 154 - 157
เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผช.จล. วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 
ที่มา : http://www.somdechsuk.com , http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6657.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มกราคม 30, 2014, 10:59:21 am »
0




    การเจริญโพชฌงค์ 7 เป็น วิสัยของพระอริยะบุคคล(ขั้นพระอรหันต์)
    ดังนั้นการเจริญโพชฌงค์ 7 ของปุถุชนที่ไม่ผ่านกระบวนการสมาธิ เลยเป็นไปไม่ได้   
    ดังนั้น ธรรม ส่วนนี้เป็นเรื่องที่คนธรรมดา จัดการได้ยาก


    การรับมือกับเวทนาที่ดีเบื้องต้น คือ
    1. การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ความเจ็บมีทุกข์อย่างนี้ อันนี้เบื้องต้น( ป้องกันการโอดครวญ พิรี้ พิไร อย่างไร้ สติ)
    2. หมั่นฝึกเจริญ ปราณ คือ อานาปานสติ ตั้งแต่ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ให้มากยิ่งขึ้น เมื่อหายใจเข้าและออกตั้งมั่นแล้ว ให้ตั้งจิตเจริญวิปัสสนาว่า ลมหายใจเข้าเจ็บอย่างนี้ ลมหายใจออกเจ็บอย่างนี้ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออก มีความเจ็บอย่างนี้
    3. เมื่อจิตตั้งมั่นในลมหายใจเข้าและออกแล้ว ก็ให้พิจารณาความเจ็บเป็นอารมณ์ และ จริญความเจ็บนั้นเป็นองค์กรรมฐาน
    4. เมื่อจิตเจริญความเจ็บเป็นอารมณ์ ชื่อว่าเจริญกายคตาสติโดยสมบูรณ์ ธรรมจักเกิดขึ้นแก่ท่าน เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น จะมีคำตอบเองในการภาวนา

    เจริญธรรม / เจริญพร


อ้างอิง
"ทำอย่างไร เราจะรับมือกับเวทนา ที่เกิดจากการเจ็บป่วย ได้ครับ" โพสต์โดย arlogo
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10689.new#new
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มกราคม 30, 2014, 11:38:56 am »
0
คือ ตอนนี้มีความสนใจ ในการฝึก สมาธิ แบบ ปัญญา มาก คะ ค้นหา วิธีการฝึก โพชฌงค์ ไม่เจอ เมือก่อนเคยอ่านเจอ แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าอยู่ กระทู้ไหน แล้วคะ

 ช่วยหน่อยคะ ขอบคุณมาก

  :58: thk56 st11 st12


ภาพนี้พระอาจารย์วาดขึ้นมาเอง นำมาให้หนูสายฝนชม เพื่อรักษาศรัทธา


    การเดินจิตโพชฌงค์ ๗ หรือ 'วิชา โลกุดร สยบมาร' ไม่ได้มีไว้สำหรับปุถุชน แต่มีข้อยกเว้นบางประการ เรื่องข้อยกเว้นนี้แหละ เป็นเคล็ดวิชาของกรรมฐานมัชฌิมาฯ ที่บอกไม่ได้ เคล็ดวิชานี้เป็นเรื่องของผู้สืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาฯ ที่จะเลือกถ่ายทอดให้แก่ศิษย์คนใดคนหนึ่ง หรือผู้ที่สร้างวาสนาบารมีร่วมกันมา

    ผู้ที่จะทำได้นั้น ควรฝึกเดินจิตอนุโลมในห้องพระธรรมปิติให้ได้ก่อน จึงจะปฏิบัติได้ดี มีเคล็ดอยู่สองประการที่บอกไม่ได้ แต่จะบอกเพียงหัวข้อ คือ
          ๑. สัปปายะ
          ๒. การใช้คำภาวนา
     ผลที่ได้จากการเดินจิตนี้ เป็นเพียงข่มเวทนาไว้เท่านั้น ออกจากสมาธิแล้วจะรู้สึกสบายตัว จิตปลอดโปร่ง...เปิดเผยได้เท่านี้ครับ


     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2014, 11:41:26 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 03:07:32 pm »
0
 st11 st12 st12 gd1
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 09:19:00 pm »
0
 st11 st12 st12 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มกราคม 31, 2014, 09:38:57 pm »
0
ผมว่าเรื่องนี้ น่าสนใจมาก ครับ
และข้อมูล การนำเสนอ ค่อนข้าง จะสมบูรณ์ แบบเกือบหมดแล้ว นะครับ อ่านแล้ว ก็พอจะเริ่มปฏิบัติตามได้แล้ว นะครับ
 thk56 thk56 thk56 ท่านที่นำมาโพสต์ เป็นอย่างมาก

  :49:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2014, 12:11:18 am »
0
 st11 st11 st11 st11 st11 st11


 st12 st12 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2014, 11:41:53 am »
0



เพื่อนๆชาวเว็บหลากหลายท่านข้องใส่ใจในการเดินจิตโพชฌงค์ภาวนา ผมพอกล่าวเล่าให้ฟังได้บ้าง..ดังนี้ การเดินจิตโพชฌงค์ หรือ วิชาโลกุดรสยบมาร เป็นหนึ่งในเอกวิชาที่แฝงมีอยู่ในพระกรรมฐานมัชฌิมากว่าหกหรือเจ็ดสิบกว่าวิชาและคงไม่ต้องถามในคุณเครื่องเรื่องอภิญญามีมากมายที่ถูกจดจารฝากฝังในศิษย์สายนี้มากว่าสองพันกว่าปี ผมเคยเดินจิตโพชฌงค์รักษาอาการไข้ได้ครั้งเดียวครั้งที่พระอาจารย์คุมจิตให้ แต่ ณ ปัจจุบันผมแทบไม่ได้ใช้หรือทบทวนเลย หากแต่ผมนั้นใช้การเดินจิตอนุโลมปฏิโลมแทน ซึ่งก็ได้ผลดีดีที่เดินอนุโลมแล้วไม่ปฏิโลมจะล้างธาตุไม่เสริมธาตุอาการล้ามีถึงกระดูกเลยทีเดียว หากเสริมธาตุปฏิโลมด้วยแล้วจะไม่มีอาการล้า เพื่อนๆหลายท่านสนใจวิชาโลกุดรสยบมาร คิดว่าวิชานี้ไม่ใคร่จะแสดงผลกับบุคคลทุศีลปุถุชนเราเราท่านท่านก็อย่าพยายามถามถึงอีกเลย ผมว่าใส่ใจใช้การเดินจิตอนุโลมล้างธาตุปฏิโลมเสริมธาตุเดินจิตตามลำดับฐานให้คล่องในห้องพระธรรมปิติห้าถึงพระลักษณะ (จิตกระทบกาย), พระรัศมี (กายกระทบจิต) ดีกว่าเหมาะควรแก่ผู้ใฝ่ภาวนาอย่างเราเราท่านท่านทุกคน.....ครับ (ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้/ยินดีปีใหม่ขอให้ร่ำรวยสมปรารถนา...ทุกท่าน ครับ!)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2014, 11:51:08 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Tumdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การฝึก โพชฌงค์ 7 ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2014, 08:51:05 am »
0
 :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า