ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิโรธสมาบัติ คือ อะไร สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อะไร ปัจจุบันมีใครทำได้บ้าง  (อ่าน 12466 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิโรธสมาบัติ คือ อะไร สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อะไร ปัจจุบันมีใครทำได้บ้าง

ยังไม่ค่อยจะเข้า ใจ เห็นมีป้าย ชวนทำบุญกับพระออกจากนิโรธ อันนี้ แสดงว่าเป็น พระอรหันต์ ใช่หรือไม่คะ


 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
นิโรธสมาบัติ เป็นกิจที่มีเพียงพระอริยะเจ้าขั้นอรหันต์เท่านั้นทำได้ แต่ ณ ปัจจุบันมีกล่าวอ้างเป็นกิจกรรมเรียกศรัทธาอยู่มาก ที่มีพระคุณเจ้ากระทำได้จริงมีบ้าง แต่เลี่ยงกล่าวในกิริยากระทำ ไปเป็น นิโรธกรรมบ้าง,วิสุทธิกรรมบ้าง,เข้าสมาบัติบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสำคัญที่ความไม่รู้ไม่ใส่ใจศึกษาจึงมีการกระทำปรามาสกล่าวเอาผิดถึงขนาดไล่สึกพระกันบ้าบอ นี้อยากกล่าวว่าอันตรายฉิบหายมีแก่คนเขลาแน่ ผมอยากให้ทุกท่านพิจารณาใคร่ครวญให้เป็น อย่างนั้นจะไม่ช้าพระอริยะจักสิ้นเสียจากแผ่นดิน สิ้นชาติ สิ้นคนไทย นะครับ!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างนี้ก็หมายความว่า ผู้ที่เข้า นิโรธสมาบัติ ก็เป็นพระอรหันต์
 
  ขอถามต่อ คะ ว่า การเข้า นิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไรคะ

   1. คือ ดื่มแต่น้ำ กักตัวเอง 3 7 15 วัน ใช่หรือไม่ คะ

   หรือ
 
   2. นั่ง สมาธิ ไม่เคลื่อนไหว เลย 3 7 15 ใช่หรือไม่ คะ

  ขอข้อมูลเพิ่มเติม ด้วยคะ


  :25: :88:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
บุคคลหรือผู้ที่สามารถเจริญจิตภาวนาขั้นสูงเยื่องอย่างนี้ได้ต้องฝึกภาวนาให้ได้รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 กล่าวเป็นสมาบัติ 8 เสียก่อน เหล่าดาบส, ฤาษี, ชีปะขาว, โยคี, มุนีสงฆ์ ผู้เจริญจิตได้ขั้นสูงนั้นสามารถทำได้ แต่ด้วยท่านอาจจะยังเป็นเสขะบุคคลไม่ถ้วนเต็มแล้วก็ใช้คำเป็นเพียงว่า "เข้าฌานสมาบัติ" ถ้าเป็นอเสขะบุคคลก็ใช้คำกล่าวได้ว่า "เข้านิโรธสมาบัติ" อีกกรณีหนึ่งที่อยากให้ทำความเข้าใจคือ การทำภาวนาบางท่านมิได้เจริญศรัทธาเอา "พุท-โธ" แต่เจริญสติสตังคลำจิตทันอารมณ์อาจไม่ก้าวล่วงสู่ชั้นอัปปนาฌาน แต่สำคัญไว้เพียงอุปจารฌาน ซึ่งก็เพียงพอในการพิจารณาองค์ธรรมในตน เป็นวิปัสสกบุคคลที่ไม่ก้าวล่วงสู่ฌานอภิญญาสมาบัติจึงมิจำเป็นต้องมีแก่ท่าน กรณีอย่างพระสงฆ์ทางเหนือนิยมมีกิจกรรมเข้านิโรธสมาบัติวัดนั้นวัดนี้มากมาย ผมว่านั่นเป็นประเพณีของสงฆ์ล้านนา เพราะเห็นท่านมีดื่มน้ำได้ด้วย แต่การเข้าสมาธิขั้นสูงเยื่องอย่างนี้อย่าว่าแต่นั่งในกระต๊อบปักเขตขอบรั้ว หรือ ผาถ้ำนอนโลงเลย จับท่านฝังดินก็ไม่ตายครับ เพราะระดับสมาธิขั้นสูงแบบนี้นั้นทุกอย่างแม้ลมหายใจยังหยุด เรื่องหิว กระหายนั้นไม่มีแน่ หากเจอะเจอถือว่าเป็นบุญใครหย่อนก้อนข้าวตกสู่บาตรท่านก่อนประเสริฐเกิดไม่ตกต่ำมีกินไม่พร่องมากวาสนาบารมีล้นครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 05, 2014, 06:52:08 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :smiley_confused1:

  ยังไม่ค่อยจะเข้า ใจ คะ พยายามอ่านทบทวน ขอให้ช่วยขยายใจความอีกหน่อยได้หรือไม่คะ

 คือ เข้านิโรธสมาบัติ ต้องเจริญ ฌาน 4 ฌาน 8 ใช่หรือไม่คะ
     และดังนั้น ผู้ที่เจริญ ฌาน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องดื่ม ต้องเคลื่อนไหว ใด ๆ เป็นเวลา 3 7 15 วัน ใช่หรือไม่คะ

  แล้วถ้าทำบุญ กับผู้ที่เข้า นิโรธสมาบัติ ได้บุญมากใช่หรือไม่คะ

  อีกอย่าง แล้ว เราจะได้ทำบุญกับผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติอย่างนี้ได้ที่ไหนบ้างคะ ในประเทศไทย ตอนนี้
 
 ปล. ใครตอบให้เข้าใจ ขอให้สำเร็จธรรม โดยไว
     ใครตอบกวนใจ ขอให้ปฏิบัติธรรม เนิ่นช้า

 :88:
บันทึกการเข้า

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิโรธสมาบัติ เป็นคุณธรรม ของ พระอริยะเจ้า ระดับ

   พระอนาคามี และ พระอรหันต์

  ความแตกต่างกันก็คือ

     การเข้าฌาน ผมฟังในรายการ ที่นี่ บรรยายเข้าใจครับ เพราะการเข้าสมาบัติ นิโรธสมาบัติ หลายท่านเข้าใจว่า ต้องใช้ อรูปฌาน แต่แท้ที่จริงก็คือ การเจริญฌาน 4 และ ขึ้นฌาน 5 ในส่วน รูปฌาน ก็เข้านิโรธสมาบัติได้ แต่ การเข้า อรูปฌาน ได้นั้น มีเพียงพระอรหันต์ ที่จะใช้ ถ้าเข้าด้วย ฌาน 8 เป็น สัญญาเวทยิตนิโรธ

     ที่นี้การเข้า นิโรธ สมาบัิติ แตกต่าง กันจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยกำลังสมาบัติ ของพระอริยะ การเข้า นิโรธสมาบัติ ไม่ใช่เวลานาน เพราะไม่ได้ดับ สัญญา และ เวทนา จึงเข้า ด้วยกำลังน้อย มีตั้งแต่ 3 - 7 วัน

  ส่วนการเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น เพราะต้องดับเวทนา และ สัญญา จึงมีกำลังจิตสูง จึงเจ้าได้ กึ่งเดือน

   ส่วนพระที่เข้า นิโรธสมาบัติ ได้นั้นในปัจจุบัน ผมว่า น่าจะหายาก เพราะว่าปัจจุบันไม่ได้เปิดเผย ทำได้ก็เงียบ ๆ ส่วนที่เอิกเกริก กันนั้น ส่วนมากไม่ใช่ ผมไปเยี่ยมมาหลายที่่แล้ว

   นิโรธสมาบัติ ไม่ดื่ม ไม่กิน ไม่นอน ด้วยอิริยาบถเดียว ที่เห็นก็มี หลวงปู่เกษม เขมโก หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม ที่เคยเห็น ก็มีเท่านี้ นะครับ

    :25: :25:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


๔๔. สงสัยเรื่องนิโรธสมาบัติ
(นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม)

 ask1   ถาม  ในพระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เรื่องที่ ๕๘ นิโรธสมาบัติกถา โดยสรุปแล้วดูเหมือนว่า นิโรธสมาบัติ มิใช่นิพพาน
   แต่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒ มีข้อความชัดเจนว่า การที่ภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นนิพพานโดยนิปปริยาย คือโดยตรง
   ข้อความทั้งสองปิฎกนี้คล้ายกับจะขัดกัน ผมอ่านแล้วไม่เข้าใจจริงๆ
   จึงขอความกรุณาคณะสหายธรรมโปรดอธิบายให้หายสงสัยด้วย


 ans1   ตอบ  ก่อนอื่นขอเรียนว่าทั้งในพระอภิธรรมและพระสูตรนั้น มิได้กล่าวว่า นิโรธสมาบัติคือการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเป็นนิพพานเลย เพราะนิโรธสมาบัติไม่ใช่นิพพานแน่นอน แต่ที่คุณอ่านพระสูตร ในอังคุตตรนิกาย นวกนิบาต สันทิฏฐิกสูตร (ข้อ ๒๕๑) ว่า นิโรธสมาบัติเป็นนิพพานโดยตรงนั้น เพราะคุณได้ละทิ้งข้อความตอนสำคัญตอนท้ายเสียนั่นเอง โปรดได้กรุณาอ่านซ้ำดูใหม่

   แต่วันนี้จะอ่านให้ฟังก่อน ก่อนที่จะอ่านก็จะขอท้าวความตอนต้นของพระสูตรนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจของท่านผู้อื่นด้วย คือ ข้อความตอนต้นพูดถึงผู้ที่บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อย่างใดอย่างหนึ่งว่า

   :25: :25: :25:

  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเองโดยปริยาย คือโดยอ้อม คือการบรรลุฌานใดฌานหนึ่ง ที่กล่าวนี้ชื่อว่านิพพานโดยอ้อม เพราะเป็นการดับกิเลสเหมือนกัน แต่เป็นการดับกิเลสเพียงข่มไว้ได้เท่านั้น หากมีเหตุปัจจัยสมควรคือฌานเสื่อม กิเลสก็เกิดได้อีก จึงไม่ใช่นิพพานที่แท้จริง เพราะนิพพานที่แท้จริงนั้นดับกิเลสได้โดยเด็ดขาดแล้ว กิเลสไม่เกิดขึ้นได้อีก

   เพราะฉะนั้นในตอนท้ายของพระสูตรจึงได้กล่าวว่า
   “อีกประการหนึ่ง ภิกษุเพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส โดยนิปปริยาย แม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง”

    st12 st12 st12

   ทั้งหมดนี้คือข้อความตอนท้ายของพระสูตร
   ก็ข้อความสำคัญที่คณะเรียนให้ทราบว่า คุณได้ทิ้งไปเสียก็คือข้อความว่า และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ข้อความตอนนี้แหละที่แสดงว่าความสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญานั้นแหละชื่อว่านิพพานโดยนิปปริยาย คือโดยตรงและความสิ้นอาสวะทั้งหลายนี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นเอง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นนิพพานโดยตรง เพราะดับอาสวะกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว


    แม้ในพระสูตรอื่นๆ ก่อนหน้าพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่นๆ ต่อจากสันทิฏฐิกสูตร ได้พูดถึงนิพพานโดยชื่ออื่นๆ เช่น เขมะบ้าง อมตะบ้าง ปัสสัทธิบ้างเป็นต้น ก็พูดโดยความหมายของการสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาเช่นเดียวกัน หวังว่าท่านผู้ถามคงจะหายข้องใจแล้ว





    ก่อนจะผ่านปัญหาข้อนี้ไป ก็ใคร่จะขอเรียนให้ทราบถึงความแตกต่างของนิโรธสมาบัติและนิพพานไว้ด้วย เพื่อความเข้าใจอันดีของท่านผู้ฟังท่านอื่นๆ ที่มิได้ถามมาด้วย คือ
    ในอรรถกถาของพระอภิธรรมกถาวัตถุข้อ ๕๘ ได้กล่าวถึงนิโรธสมาบัติไว้ว่า ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งนามขันธ์ ๔ คือขณะที่พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ท่านเข้านิโรธสมาบัติอยู่นั้น ความสืบต่อของนามขันธ์ ๔ ที่กล่าวแล้วดับหมด แต่รูปขันธ์ที่เกิดจากกรรม อุตุ และอาหารไม่ได้ดับด้วย ยังคงเกิดสืบต่อเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ส่วนการเกิดสืบต่อของรูปขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานที่เรียกว่าจิตตชรูปนั้นไม่มี เพราะเมื่อจิตไม่เกิด รูปที่เกิดจากจิตก็มีไม่ได้


     ส่วนนิพพานนั้นมี ๒ อย่าง คือกิเลสดับหมดแต่ขันธ์ ๕ ยังอยู่เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน สอุปาทิเสสนิพพานนี้เป็นนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ นิพพานชนิดนี้แหละที่ผู้บรรลุจะพึงรู้ได้ด้วยตนเองเป็นสันทิฏฐิโกนี้ เป็นนิพานอย่างที่ ๑
    นิพพานอย่างที่ ๒ ได้แก่นิพพานของพระอรหันต์ผู้สิ้นชีวิตแล้ว เรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน คือดับขันธ์ ๕ ได้หมดเป็นการดับสนิท ไม่เกิดอีกเลย เพราะการสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ไม่มีอีกต่อไป อนุปาทิเสสนิพพานนี้ตรงกับคำที่เราใช้กันว่าดับขันธ์ปรินิพพาน

    :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    เพราะฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่า พระอรหันต์นั้นท่านถึงนิพพาน ๒ ครั้ง คือกิเลสนิพพานก่อนด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน แล้วขันธ์ ๕ นิพานทีหลังด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน เพราะฉะนั้น นิโรธสมาบัติกับนิพพานจึงไม่เหมือนกัน
    อีกประการหนึ่ง นิโรธสมาบัติกล่าวไม่ได้ว่าเป็นสังขตธรรมหรืออสังขตธรรม เพราะไม่มีลักษณะทั้งสังขตะและอสังขตะ แต่นิพพานเป็นอสังขตธรรม เพราะฉะนั้น นิโรธสมาบัติจึงไม่ใช่นิพพาน และนิพพานก็ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ ขอตอบปัญหาข้อนี้เพียงเท่านี้


ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
๑. นิโรธสมาปัตติกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์       
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=37&A=10732&Z=10791
๒. สันทิฏฐิกสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต       
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=9662&Z=9673
๓. มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์       
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
๔. จูฬเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
๕. คำว่า ปริยาย, นิปปริยาย พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)           
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย
๖. คำว่า นิพพาน 2 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)       
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิพพาน_2
ขอบคุณที่มา http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=44
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
นิโรธสมาบัติ คือ อะไร สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อะไร ปัจจุบันมีใครทำได้บ้าง

ยังไม่ค่อยจะเข้า ใจ เห็นมีป้าย ชวนทำบุญกับพระออกจากนิโรธ อันนี้ แสดงว่าเป็น พระอรหันต์ ใช่หรือไม่คะ


 st12 st12 st12


ans1 ans1 ans1

เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ ปรากฏในพระไตรปิฎก แนะนำให้ไปอ่านตามนี้ครับ
๑. มหาเวทัลลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
๒. จูฬเวทัลลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
๓. ปัญจกังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5946&Z=6066
๔. กามภูสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=7456&Z=7524
๕. นิโรธสมาปัตติกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=37&A=10732&Z=10791

อย่างไรก็ตาม ข้อธรรมในพระไตรปิฎก เป็นสำนวนบาลีเข้าใจยาก อรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ดังนี้

สัญญาเวทยิตนิโรธ การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ เรียกเต็มว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธสมาบัติ (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙)

นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ (ข้อ ๙ ใน อนุปุพพวิหาร ๙)

อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ, ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ
           รูปฌาน ๔
           อรูปฌาน ๔ และ
           สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)


อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


นิโรธสมาบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิโรธสมาบัติ (อ่านว่า นิโรดสะมาบัด, นิโรดทะ- ) แปลว่า การเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

นิโรธสมาบัติ ต้องเป็นพระอรหันต์และพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ 8 จึงจะสามารถเข้าได้ ถือกันมาว่าผู้ได้ถวายอาหารแด่พระสงฆ์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมื้อแรกจะได้รับอานิสงส์ในปัจจุบันทันตา ทั้งนี้เพราะเป็นอาหารมื้อสำคัญหลังจากที่ท่านอดมาถึง 7 วัน ร่างกายจึงต้องการอาหารมากเป็นพิเศษ


อ้างอิง : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
ที่มา th.wikipedia.org/wiki/นิโรธสมาบัติ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากข้อความที่อ่าน ก็หมายถึง ว่า
 
   ต้องมีคุณสมบัติ คือ สมาบัติ 8 เท่านั้น สิครับ
  ดังนั้น ท่านที่ไม่สำเร็จ อรูปฌาน ก็ไม่สามารถเข้า นิโรธสมาิบัติได้


  :bedtime2:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
นิโรธสมาบัติ คือ อะไร สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อะไร ปัจจุบันมีใครทำได้บ้าง

ยังไม่ค่อยจะเข้า ใจ เห็นมีป้าย ชวนทำบุญกับพระออกจากนิโรธ อันนี้ แสดงว่าเป็น พระอรหันต์ ใช่หรือไม่คะ


 st12 st12 st12


 ans1 ans1 ans1

คำอธิบายของอรรถกถาจารย์ บางส่วนนำมาจากพระไตรปิฎก บางส่วนที่อธิบายโดยพิสดารนำมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ผมขอนำคำอธิบายโดยพิสดารในวิสุทธิมรรคมาแสดงดังนี้


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




อ้างอิง
คัมภีร์วิสุทธิมรรค รจนาโดย พระพุทธโฆสะเถระ
แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถระ) หน้าที่ ๑๑๙๐-๑๒๐๒
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
จากข้อความที่อ่าน ก็หมายถึง ว่า
 
   ต้องมีคุณสมบัติ คือ สมาบัติ 8 เท่านั้น สิครับ
  ดังนั้น ท่านที่ไม่สำเร็จ อรูปฌาน ก็ไม่สามารถเข้า นิโรธสมาิบัติได้


  :bedtime2:


 ans1 ans1 ans1

เข้าใจถูกแล้วครับ ในพระสูตรก็มีนัยตามนั้น
และขอให้อ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคให้เข้าใจ ขอให้เจริญในธรรม...

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ