ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อฟังธรรม ที่นี่ กล่าวว่า การละสักกายทิฏฐิ เป็นเบื้องต้น  (อ่าน 1830 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
 
   เมื่อฟังธรรม ที่นี่ กล่าวว่า การละสักกายทิฏฐิ เป็นเบื้องต้น

  คือไม่เข้าใจว่า สักกายทิฏฐิ คืออะไร หมายถึง อัตตา ตัวตน หรือว่า การเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ในตัวตน อัตตา อย่างนั้น กล่าวว่า หมายถึงอะไร ในความหมายของคำว่า สักกายทิฏฐิ

   ขอบคุณ มากคะ

  :25: :88:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1
 
   เมื่อฟังธรรม ที่นี่ กล่าวว่า การละสักกายทิฏฐิ เป็นเบื้องต้น

  คือไม่เข้าใจว่า สักกายทิฏฐิ คืออะไร หมายถึง อัตตา ตัวตน หรือว่า การเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ในตัวตน อัตตา อย่างนั้น กล่าวว่า หมายถึงอะไร ในความหมายของคำว่า สักกายทิฏฐิ

   ขอบคุณ มากคะ

  :25: :88:


 ans1 ans1 ans1

สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)

สังโยชน์ 10 (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล)
   ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ)
       1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
       2. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ)
       3. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)
       4. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)
       5. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง)

   ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ 5 (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง)
       6. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ)
       7. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ)
       8. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)
       9. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
      10. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)

    สังโยชน์ 10 ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ 4 เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม) ข้อ 5 เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย) ใจความเหมือนกัน


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ และฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การละสักกายทิฏฐิ

พระโสดาบันคือผู้ละสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาด พวกเราผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุโสดาบันปัตติผลจึงควรสนใจศึกษาเรื่องสักกายทิฏฐิให้ดี

สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่ากายใจหรือรูปนามหรือขันธ์ 5 เป็นตัวเราของเราอย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อปรารถนาจะละความเห็นผิดเกี่ยวกับรูปนาม ก็จำเป็นต้องศึกษาเข้ามาที่รูปนามหรือกายใจของตน จะเที่ยวไปศึกษาเรื่องอื่นเพื่อจะทำลายความเห็นผิดเกี่ยวกับรูปนามไม่ได้ จำเป็นต้องหมั่นศึกษารูปนามของตนจนเกิดความรู้ถูกเข้าใจถูก ว่าตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม เมื่อเกิดความรู้ถูกแล้ว ความเห็นผิดก็เป็นอันถูกละไปเองเรียบร้อยแล้ว

การศึกษารูปนามเพื่อให้เกิดความรู้ถูกเข้าใจถูกนี้เองคือสิ่งที่เรียกว่าการ เจริญวิปัสสนา ดังนั้นถ้าจะเจริญวิปัสสนาก็ต้องรู้รูปนาม ถ้าพยายามหรือหลงไปรู้สิ่งอื่นก็ไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา นี้แหละเป็นทางเดียวที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติละสักกายทิฐิได้


 :96: :96: :96:

สักกายทิฏฐินั้นชื่อของมันก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นความคิดความเห็นและตามธรรมดา ของปุถุชนนั้นย่อมจะมีความเห็นผิดอยู่เสมอ จะให้เห็นถูกอย่างพระอริยบุคคลไม่ได้ แม้จะพยายามใช้ความคิดหรือใช้ความเห็นพิจารณารูปนามของตนอย่างไร ก็จะเข้าใจได้เพียงแค่ว่าตัวเรามีอยู่ แต่อาจจะมีอยู่อย่างถาวรในลักษณะที่ว่าเมื่อกายนี้ตายลงจิตวิญญาณก็ออก จากร่างไปเกิดใหม่ หรือบางคนก็เห็นว่าเรามีอยู่ แต่มีอยู่เพียงชั่วคราวเมื่อตายแล้วก็ขาดสูญไปเลยก็ได้

ความเห็นผิดว่าเรามีอยู่นี้แหละคือสักกายทิฏฐิ ไม่ว่าจะพยายามคิดอย่างไรว่าเราไม่มี สิ่งที่รู้สึกได้ก็ยังมีเราอยู่นั่นเอง


 :41: :41: :41:

แต่พวกเราเกิดความรู้สึกตัวและตื่นขึ้นมาอย่างฉับพลัน เราจะหลุดออกมาจากโลกของความคิดมาอยู่กับโลกของความจริงอันมีสภาพรู้ ตื่น และเบิกบาน จากนั้นเมื่อสติเกิดระลึกรู้กายก็จะรู้สึกได้ทันทีว่ากายไม่ใช่เรา แต่เป็นเพียงก้อนธาตุหรือรูปธรรมที่มาประชุมกันอยู่ชั่วคราว มีธาตุหมุนเวียนไหลเข้าไหลออกเป็นนิจ มีความทุกข์บีบคั้นอยู่เป็นนิจ และไม่อยู่ในอำนาจบังคับ และเมื่อสติเกิดระลึกรู้จิตก็จะรู้สึกได้ว่าจิตและเจตสิกไม่ใช่เรา แต่เป็นเพียงสภาพธรรมบางอย่างที่รู้อารมณ์ มีลักษณะเกิดดับต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็ว ไม่คงทนอยู่ได้และบังคับไม่ได้

เมื่อเห็นอย่างนี้มากเข้าในที่สุดปัญญาก็จะแก่รอบ แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจและยอมรับความจริงขึ้นอย่างฉับพลันว่าเราไม่มี มีแต่รูปกับนามซึ่งเกิดดับหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย สักกายทิฏฐิก็เป็นอันถูกทำลายลงไปในทันทีนั้น


 :25: :25: :25:

ขอให้พวกเราหยุดความพยายามที่จะทำลายสักกายทิฏฐิด้วย วิธีการต่างๆ แล้วหันมาปลุกจิตให้ตื่นขึ้นเป็นจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แทนที่จะเป็นเพียงจิตผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง เมื่อจิตตื่นขึ้นมาแล้วก็หมั่นมีสติตามรู้กายตามรู้ใจอยู่เนืองๆ นี้ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย แต่มันยากตรงที่พวกเราเอาแต่คิดหรือพยายามหาวิธีปฏิบัติต่างๆ นานา แทนที่จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาแล้วตามรู้กายตามรู้ใจไปตามความเป็นจริงด้วยจิตใจที่ ปกติธรรมดานี้เอง


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.m-culture.go.th/ilovethaiculture/index.php/2013-07-01-03-20-59/ebook-public/item/การละสักกายทิฏฐิ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า