ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำทานทุกวัน ก็ยังตระหนี่อยู่ ทำอย่างไรความตระหนี่จะเบาบาง.?  (อ่าน 3178 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำทานทุกวัน ก็ยังตระหนี่อยู่ ทำอย่างไรความตระหนี่จะเบาบาง.?


ความหมายของคำว่าตระหนี่

ตระหนี่ เหนียว, เหนียวแน่น, ไม่อยากให้ง่ายๆ, ขี้เหนียว (มัจฉริยะ)

มัจฉริยะ 5 (ความตระหนี่, ความหวง, ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีส่วนร่วม)
    1. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่, หวงที่อาศัย เช่น ภิกษุหวงเสนาสนะ กีดกันผู้อื่นหรือผู้มิใช่พวกของตน ไม่ให้เข้าอยู่ เป็นต้น)
    2. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล, หวงสกุล เช่น ภิกษุหวงสกุลอุปฐาก คอยกีดกันภิกษุอื่นไม่ให้เกี่ยวข้องได้รับการบำรุงด้วย เป็นต้น)
    3. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ, หวงผลประโยชน์ เช่น ภิกษุหาทางกีดกันไม่ให้ลาภเกิดขึ้นแก่ภิกษุอื่น)
    4. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ, หวงสรีรวัณณะ คือผิวพรรณของร่างกาย ไม่พอใจให้ผู้อื่นสวยงาม ก็ดี หวงคุณวัณณะ คือ คำสรรเสริญคุณ ไม่อยากให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน หรือไม่พอใจได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของผู้อื่น ก็ดี)
    5. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม, หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุ ไม่ยอมสอนไม่ยอมบอกผู้อื่น กลัวเขาจะรู้เทียมเท่าหรือเกินตน)


ที.ปา. 11/282/246 ;
องฺ.ปญฺจก. 22/254/301 ;
อภิ.วิ. 35/978/509.


อุปกิเลส หรือ จิตตอุปกิเลส 16 (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย้อมไม่ได้ดี)
       1. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควรd)
       2. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
       3. โกธะ (ความโกรธ)
       4. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
       5. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
       6. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
       7. อิสสา (ความริษยา)
       8. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
       9. มายา (มารยา)
       10. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
       11. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
       12. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)
       13. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
       14. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขาt)
       15. มทะ (ความมัวเมา)
       16. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)


ม.มู. 12/93/65.


อ้างอิง :-
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์และฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.thairath.co.th/






        คำอธิบายความตระหนี่ในอรรถกถา

      ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ.
      ภิกษุผู้ประกอบด้วยอาวาสมัจฉริยะนั้น เห็นอาคันตุกะแล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า
      ในอาวาสหลังนี้ เขาเก็บบริขารของเจดีย์หรือของสงฆ์ไว้ ย่อมกันอาวาสแม้ที่เป็นของสงฆ์.
      เธอทำกาละแล้ว ย่อมไปเกิดเป็นเปรต หรืองูเหลือม.


      ความตระหนี่ในตระกูลชื่อว่า กุลมัจฉริยะ.
      ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในตระกูลนั้น ย่อมกันภิกษุพวกอื่นจะเข้าไปในตระกูลอุปัฏฐากของตน ด้วยเหตุนั้นๆ.

      ความตระหนี่ในลาภ ชื่อว่า ลาภมัจฉริยะ.
      ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในลาภนั้น ตระหนี่ลาภแม้เป็นของสงฆ์ กระทำโดยประการที่ภิกษุพวกอื่นจะไม่ได้.


      ความตระหนี่ในวรรณะ ชื่อว่า วรรณมัจฉริยะ.
      ก็ในคำว่า วณฺโณ นี้ บัณฑิตพึงทราบทั้งสรีรวรรณะทั้งคุณวรรณะ.

      ความตระหนี่ในปริยัติธรรม ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ.
      ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในปริยัติธรรมนั้น ย่อมไม่ให้(ปริยัติธรรม)แก่ภิกษุอื่น ด้วยคิดเสียว่า ภิกษุนี้เรียนธรรมนี้แล้วจักข่มเรา.
      ส่วนภิกษุใดไม่ให้เพราะอนุเคราะห์ธรรมหรืออนุเคราะห์บุคคล อันนั้นไม่จัดเป็นความตระหนี่(สำหรับภิกษุนั้น).


อ้างอิง :-
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=6#มัจฉริยะ_๕_อย่าง
ขอบคุณภาพจาก http://www.thairath.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
โทษของคนตระหนี่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2015, 01:12:08 pm »
0


โทษของคนตระหนี่
มัจฉริสูตรที่ ๙

     [๑๔๘] เทวดาทูลถามว่า คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขาทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่ ฯ วิบากของคนพวกนั้นจะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพของเขาจะเป็นเช่นไร ฯ
     ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ไฉนข้าพระองค์จึงจะรู้ความข้อนั้น ฯ


     [๑๔๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าคนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่ ฯ
     คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุลคนยากจน ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก ฯ
    คนพาลเหล่านั้นต้องประสงค์สิ่งใดแต่ผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้น สมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังเป็นทุคติอีกด้วย ฯ


      ask1 ans1 ask1 ans1

     [๑๕๐] เทวดาทูลถามว่า ก็ข้อนี้ข้าพระองค์เข้าใจชัดอย่างนี้ (แต่) จะทูลถามข้ออื่นกะพระโคดม
     ชนเหล่าใดในโลกนี้ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพแรงกล้า วิบากของชนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพของเขาจะเป็นเช่นไร
     ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค ไฉนข้าพระองค์จึงจะรู้ความข้อนั้น ฯ


     [๑๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
     ชนเหล่าใดในโลกนี้ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพแรงกล้า
     ชนเหล่านี้ย่อมปรากฏในสวรรค์อันเป็นที่อุบัติ หากถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง ได้ผ้าอาหารความร่าเริงและความสนุกสนานโดยไม่ยาก พึงมีอำนาจแผ่ไปในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้ บันเทิงใจอยู่ นั่นเป็นวิบากในภพนี้ ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติ ฯ


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๙๙๐ - ๑๐๒๓.  หน้าที่  ๔๔ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=990&Z=1023&pagebreak=0




         ตระหนี่อย่างอ่อน และตระหนี่จัด
       อรรถกถามัจฉริสูตรที่ ๙

             
      พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
      บทว่า มจฺฉริโน แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความตระหนี่.
      จริงอยู่ คนบางคนไม่ยอมเหยียดมือออกไหว้ แม้ภิกษุทั้งหลายในที่เป็นที่อยู่ของตน
      คือว่า อุบาสกคนหนึ่งไปในที่อื่นเข้าไปสู่วิหารไหว้โดยเคารพแล้ว ทำการทักทายปราศรัยกับภิกษุด้วยถ้อยคำอันไพเราะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายย่อมไม่มาสู่ที่เป็นที่อยู่ของพวกกระผม ที่นั้นเป็นประเทศอันสมบูรณ์ พวกกระผมสามารถเพื่อทำการบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายด้วยยาคูและภัตเป็นต้น.
      ภิกษุคิดว่า อุบาสกนี้มีศรัทธาจะสงเคราะห์พวกเราด้วยข้าวยาคู เป็นต้น

     ลำดับนั้น พระเถระรูปหนึ่งเข้าไปบ้านนั้น เพื่อเที่ยวไปบิณฑบาต.
     ฝ่ายอุบาสกนั้นเห็นพระเถระนั้นแล้ว ย่อมเลี่ยงไปทางอื่น หรือเข้าไปสู่เรือน คิดว่า
     ถ้าพระเถระมาประจัญหน้า เราก็ต้องยกมือไหว้ แล้วก็ต้องถวายภิกษาแก่พระผู้เป็นเจ้า อย่ากระนั้นเลย เราจะไปด้วยการงานอะไรสักอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้วหลบหลีกไป
     พระเถระเที่ยวไปสู่บ้านทั้งสิ้น เป็นผู้มีบาตรเปล่าเทียวออกมาแล้ว.
     ข้อนี้ชื่อว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน (มุทุมัจฉริยะ).


      :96: :96: :96: :96: :96:

     บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก คือเป็นผู้ประกอบด้วยเหตุอันใดนั้น
     ในที่นี้ท่านประสงค์เอาบุคคลผู้มีความตระหนี่จัด(ถัทธมัจฉริยะ) คือว่า อุบาสกนั้นประกอบด้วยมัจฉริยะอันใด เมื่อมีผู้กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พระเถระทั้งหลายยืนอยู่แล้ว ดังนี้ ก็จะพูดว่า เท้าของเราเจ็บมิใช่หรือ จะเป็นผู้กระด้างยืนอยู่ ดุจเสาหินหรือดุจตอไม้ ย่อมไม่กระทำแม้สามีจิกรรม.

    บทว่า กทริยา ความเหนียวแน่น นี้เป็นไวพจน์ของความตระหนี่นั่นแหละ
    เพราะว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน ท่านเรียกว่ามัจฉริยะ. ส่วนความตระหนี่จัด ท่านเรียกว่า กัทริยะ.

     คำว่า ปริภาสกา ดีแต่ว่าเขา. คือ เห็นภิกษุทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูบ้าน ก็จะคุกคามด้วยคำว่า พวกท่านไถนามาหรือ หรือหว่านข้าวมา จึงมาเร็วนัก แม้พวกเราก็ยังไม่ได้เพื่อตน จักได้อาหารเพื่อท่านแต่ที่ไหน ดังนี้เป็นต้น......(ยกมาแสดงบางส่วน)


อ้างอิง :-
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=148



    ยังมีต่อ โปรดติดตาม.......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2015, 01:15:08 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นั่นแหละ ต่อไป พระต้องรู้จัก ทำนาบ้าง อิ อิ

  :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำทานเพื่อ "ละความตระหนี่ หรือ จะรอรับอานิสงส์" กันแน่..?
กระทู้สนทนาธรรม 2554 เว็บบ้านธัมมะ ถามโดยลุงหมาน

 ask1 ask1 ask1 ask1

ถามว่า การทำทานก็เพื่อละความตระหนี่ ที่มีอยู่กับตนให้เบาบางตามหลักพระอภิธรรม แต่พอพูดถึงการทำบุญอย่างนี้ มีอานิสงส์อย่างนี้ เช่น ทำบุญสร้างศาลาต่อไปจะได้วิมานที่สวยงาม เป็นต้น ทุกคนก็เลยทำบุญเพื่อเอาผล ไม่ใช่เพื่อจะละมัจฉริยะ จนกลายเป็นประเพณีการทำบุญเพื่อจะเอาผลบุญ บางที่ทำบุญก็อธิฐานเสียจนเป็นนานสองนาน

     ผมได้แต่คาดคเนเอาว่า ก็คงหนีไม่พ้นเพื่อเอาผลบุญนั่นเอง หรือไม่ก็คงเอาผลบุญที่ทำนั่นแหล ะเพื่อที่จะฝากไปให้ญาติอันเป็นที่รักของตน
     ถ้าเป็นอย่างที่ว่านี้แทนที่ความตระหนี่จะลด กับเพิ่มมัจฉริยะให้มากขึ้นใช่ไหมครับ
     ผมมาลองคิดอีกทีเหมือนว่า
     "เกิดมาชาตินี้การทำบุญก็เท่ากับโยนสิ่งของไปข้างหน้า แล้วพอถึงชาติหน้าก็ไปเก็บเอา"
     ก็โยนต่อไปอีก ก็คงต้องโยนกันไม่รู้จบสิ้น ช่วยวิเคราะห์ความคิดให้ด้วยครับว่าผิดถูกอย่างไร เพื่อเปลี่ยนแนวความคิดเสียใหม่ ให้ถูกต้อง

     ขอขอบคุณมากครับ





ความคิดเห็นที่ 1 โดยคุณ paderm

กุศลเป็นสภพาธรรมที่ดีงาม กุศลแบ่งเป็นใหญ่ๆอีก 2 อย่าง คือ
   - กุศลที่เป็นฝ่ายมิจฉาปฏิปทา คือ กุศลที่เป็นทางผิด  กุศลที่เป็นไปในฝ่ายเกิดนำมาซึ่งความเกิด วนเวียนในสังสารวัฏฏ์ และ
   - กุศลฝ่าย สัมมาปฏิปทา คือ กุศลทีเป็นไปในแนวทางที่ถูก อันเป็นไปเพื่อการดับกิเลส ดับการเกิดในสังสารวัฏฏ์ครับ

      ดังนั้น กุศลใดที่หวังเพื่อให้ได้ซึ่งรูปเสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นไปเพื่อนำมาซึ่งความเิกิดในภพภูมิที่ดี หวังเพื่อให้ได้สิ่งที่ดี แม้สภาพธรรมนั้นจะเป็นกุศล แต่กุศลนั้นไม่เป็นไปเพื่ออกจากวัฏฏะ แต่ยิ่งจะนำมาซึ่งการเกิด วนเวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด
      ไม่เป็นกุศลทีเห็นโทษของกิเลส จึงเจริญกุศล เป็นกุศลที่ไม่เห็นโทษของการเกิดด้วยปัญญาจึงทำกุศลเพื่อการได้เกิดในภพภูมิที่ดี ให้ได้สิ่งที่ดี เมื่อเป็นกุศลที่นำมาซึ่งการเกิด ไม่ใช่การดับ ก็เป็นกุศลที่เป็นทางที่ผิด เรียกว่า มิจฉาปฏิปทาครับ

      ดังนั้นตามตัวอย่างที่ท่าผู้ถามได้ยกมา ในเรื่องการทำบุญ หวังผลบุญ อธิษฐานขอสิ่งต่างๆเมื่อทำบุญ บุญ หรือกุศลนั้นย่อมเป็นมิจฉาปฏิปทา คือ เป็นกุศลที่เป็นทางผิดเพราะนำไปสู่การเกิด การไม่สิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์ ก็ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตายไม่มีที่สิ้นสุดครับ

      เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น พระองค์ตรัสรู้ความจริง ด้วยพระปัญญา ทรงแสดงหนทางดับกิเลส หนทางดับการเกิด หนทางสิ่นสุดสังสารวัฏฏ์  ด้วยกุศลที่เป็นไปในการดับกิเลส คือ อกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นการเห็นโทษของกิเลสตามความเป็นจริง

      ดังนั้น กุศลใดที่ผู้มีปัญญาเห็นโทษของกิเลส มีความตระนี่ เป็นต้น จึงให้ทานทำบุญเพราะเห็นโทษของกิเลส คือ ความตระหนี่จึงให้  อันมุ่งหมายเพื่อดับกิเลส กุศลนั้นเป็น สัมมาปฏิปทาครับ และกุศลที่ประกอบปัญญา ทีเป็นการเจริญสติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา อันเป็นการเจริญวิปัสสนา กุศลนี้เป็นกุศลที่เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะเป็นทางที่ชอบ อันนำไปสู่การดับกิเลสได้หมด ไม่มีการเกิดอีกครับ และกุศลใดทีเจริญด้วยความเห็นถูก โดยน้อมกุศลไปเพื่อไม่ใช่การได้ รูป เสียง กลิ่น รสที่ดี หรือเพื่อการเกิดในภพภูมิที่ดี แต่น้อมไปเพื่อพระนิพพาน ดับกิเลส กุศลนั้นจึงเป็นสัมมาปฏิปทา เป็นไปเพื่อการดับกิเลสจริงๆครับ

     ผุ้มีปัญญาจึงเห็น โทษของกิเลส จึงเจริญกุศลทุกๆประการและน้อมบุญไปเพื่อการดับกิเลส น้อมไปในพระนิพพานและอบรมปัญญาโดยการฟังพระธรรม เพื่อถึงการดับกิเลสอันเป็นกุศลที่เป็นสัมมาปฏิปทาครับ


     ขออนุโมทนา

     เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...ปฏิปทา ๒ [ปฏิปทาสูตร] ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน





ความคิดเห็นที่ 2  โดยคุณ khampan.a

การเจริญกุศลประการต่างๆในชีวิตประจำวัน  ถ้าเป็นไปเพื่อหวังผลหรือต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทนนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะในขณะนั้นเป็นไปกับด้วยอกุศล เป็นการสะสมโลภะเพิ่มขึ้น ไม่เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส  ยังเป็นไปในวัฏฏะ แม้จะได้เกิดในวิมานที่ดี อันเป็นผลของกุศลกรรม ก็ยังไม่พ้นไปจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม ที่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็จะเข้าใจว่า การเจริญกุศลทุกอย่างทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทานศีลและภาวนา ล้วนเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสทั้งสิ้น ที่จะเป็นไปเพื่อเพิ่มกิเลส เพิ่มโลภะ โทสะ โมหะ ให้มากๆนั้น ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในชีวิตประจำวันควรอย่างยิ่งที่จะได้เจริญกุศลประการต่างๆ ที่พอจะเป็นไปได้เพราะเหตุว่าถ้ากุศลจิตไม่เกิดแล้ว  จิตก็เป็นอกุศล ไหลไปด้วยอำนาจของกิเลส ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและทางใจ ซึ่งเป็นโทษกับตนเองโดยส่วนเดียว อกุศลธรรมทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องละ เป็นเรื่องที่จะต้องดับให้หมดสิ้น รวมถึงมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความหวงแหนด้วย 

ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความตระหนี่ คือ การให้ การสละวัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น การให้เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับความตระหนี่อย่างสิ้นเชิง  ในชาติหนึ่งๆถ้าทานกุศล การให้วัตถุสิ่งของเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่เกิดเลย ไม่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แก่ผู้อื่นเลย ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินไปถึงการดับกิเลสได้

ดังนั้นควรที่จะได้พิจารณาว่า การให้ทานในชีวิตประจำวัน ก็เพื่อกำจัดอกุศลธรรม คือ ความตระหนี่ของตนเอง  เป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย ครับ.   
                       

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ



ที่มา http://www.dhammahome.com/webboard/topic/19581
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


ความตระหนี่ธรรม เป็นความตระหนี่ที่น่าเกลียดที่สุด

    [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้
     ๕ ประการเป็นไฉน คือ
        ความตระหนี่ที่อยู่ ๑
        ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑
        ความตระหนี่ลาภ ๑
        ความตระหนี่วรรณะ ๑
        ความตระหนี่ธรรม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม


ที่มา :- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=6404&Z=6617




ละความตระหนี่ ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

    [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ
       อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๑
       กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๑
       ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๑
       วรรณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๑
       ธรรมมัจฉริยะ(ตระหนี่ธรรม) ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละมัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล


ที่มา :- มัจฉริยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9829&Z=9836&pagebreak=0




บุคคลระดับโสดาบันขึ้นไป ละความตระหนี่ได้ แต่ยังไม่เด็ดขาด


     [๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความผ่องใส จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ส โข โส ภิกฺขเว ดังนี้.

     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ วิทิตฺวา แปลว่า รู้อย่างนี้.
     บทว่า ปชหติ ความว่า ละ (อุปกิเลสแห่งจิต) ด้วยอริยมรรค ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน.

     ในบทว่า ปชหติ นั้น พึงทราบการละมีอยู่ ๒ อย่าง คือ (ละ) ตามลำดับกิเลส และตามลำดับมรรค. (จะอธิบายการละ) ตามลำดับกิเลสก่อน.

      กิเลส ๖ เหล่านี้คือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา) ย่อมละได้ด้วยอรหัตตมรรค.

      กิเลส ๔ เหล่านี้คือ พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ) ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค.


      กิเลส ๖ เหล่านี้คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค.

       ans1 ans1 ans1 ans1

      ส่วนการละตามลำดับมรรคจะอธิบายดังต่อไปนี้ :-

      กิเลส ๖ เหล่านี้ คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค.

      กิเลส ๔ เหล่านี้ คือ พยาปาทะ (ความพยาบาท) โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ) ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค.

      กิเลส ๖ เหล่านี้คือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา) ย่อมละด้วยอรหัตตมรรค.

     แต่ในที่นี้กิเลสเหล่านี้จะถูกฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค หรือถูกฆ่าด้วยมรรคที่เหลือก็ตาม ถึงกระนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า บุคคลย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้ ทรงหมายเอาการละด้วยอนาคามิมรรคนั่นเอง.

      st12 st12 st12 st12

     นี้เป็นการเกิด (แห่งผล) อันมาแล้วตามมรรคที่สืบต่อกันในที่นี้.
     ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคที่ ๔ ไว้ในขั้นสูงสุดแล้ว การเกิดแห่งผลนั้นจึงจะถูก อุปกิเลสมีวิสมโลภะเป็นต้น ที่เหลือจากอุปกิเลสที่ละได้แล้วด้วยตติยมรรค ย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นั้น.
     กิเลสที่เหลือย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นี้เช่นกัน.
     เพราะว่า อุปกิเลสมีมักขะ เป็นต้น แม้เหล่าใดย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค อุปกิเลสแม้เหล่านั้นย่อมเป็นอันละได้เด็ดขาดแล้วด้วยอนาคามิมรรคนั่นแล เพราะจิตอันเป็นสมุฏฐานแห่งอุปกิเลสมีมักขะเป็นต้นนั้น ยังละไม่ได้โดยเด็ดขาด (ด้วยโสดาปัตติมรรค).

     แต่ในอธิการนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาการละได้ด้วยปฐมมรรคนั่นแล. คำนั้นไม่สมกับคำต้นและคำปลาย. อาจารย์บางพวกพรรณนาวิกขัมภนปหานไว้ในอธิการนี้. คำนั้นเป็นเพียงความประสงค์ของอาจารย์พวกนั้นเท่านั้น.



ที่มา :- อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1136&Z=1236
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2015, 01:36:53 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ