ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
 91 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 03:07:55 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 92 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 11:55:51 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 93 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 11:19:52 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 94 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 10:19:30 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



๑. สัมพาธสูตร
ว่าด้วยวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ
(๑-)

[๔๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพีครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยกับท่านพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

    “ผู้มีอายุ ปัญจาลจัณฑเทพบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
     ‘พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงหลีกเร้นอยู่ ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรงรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ’           
     ผู้มีอายุ ที่คับแคบ เป็นอย่างไร วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร”

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
   ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
   ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
   ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
   ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
   ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
             
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ


@@@@@@@

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยาย(๒-) หนึ่งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในปฐมฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนั้นวิตกและวิจารที่ยังไม่ดับในปฐมฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนี้

ภิกษุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในทุติยฌานนั้น ก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนั้น ปีติที่ยังไม่ดับในทุติยฌานนั้นชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนี้

ภิกษุ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในตติยฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในตติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขที่ยังไม่ดับในตติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในตติยฌานนี้

ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุถึงช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในจตุตถฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนั้น รูปสัญญาที่ยังไม่ดับในจตุตถฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนี้





ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนั้น อากาสานัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้

ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในวิญญาณัญจายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น วิญญาณัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้

ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อากิญจัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้

ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้


@@@@@@@

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้มีอายุพระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยนิปปริยาย(๓-)แล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

                            สัมพาธสูตรที่ ๑ จบ







เชิงอรรถ
(๑-) ดูเทียบข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๐ และดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๗ หน้า ๕๑๓ ในเล่มนี้ และดู ที.ม. ๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ. ๒/๒๘๘/๒๕๕
(๒-) ปริยาย ในที่นี้หมายถึง เหตุหนึ่งๆ หรือวิธีหนึ่งๆ กล่าวคือ ทรงแสดงว่า วิธีแต่ละอย่าง ต่างก็เป็น“ช่องว่าง”ในที่คับแคบแต่ละอย่าง เช่น ปฐมฌานเป็นช่องว่างในที่คับแคบ คือ กามคุณ ๕ และนิวรณ์ ๕ , ทุติยฌานเป็นช่องว่างในที่คับแคบคือ วิตกและวิจาร (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
(๓-) นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่างสิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)

ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๓-๕๓๕
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] , ๕. สามัญญวรรค ๑. สัมพาธสูตร
URL : https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=14936

 95 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 09:29:51 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข
(๑-)


[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน(๒-) เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า
    “ผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
    “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข 

กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
   ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
   ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
   ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
   ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
   ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
             
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข


@@@@@@@

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดัน(๓-) แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร




ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดันแม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้นทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

@@@@@@@

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”

                                     นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ






เชิงอรรถ
(๑-) ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
(๒-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้
(๓-) ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึง ความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)

ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๐-๕๐๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] , ๔. มหาวรรค , ๓. นิพพานสุขสูตร
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=197

 96 
 เมื่อ: เมษายน 09, 2024, 08:57:47 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 97 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 04:06:37 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 98 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 02:04:18 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 99 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 11:52:52 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
เลื่อนกระทู้

 100 
 เมื่อ: เมษายน 08, 2024, 10:09:34 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

หน้า: 1 ... 8 9 [10]