ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ข่มวาสนา รักษาศรัทธา" พระสารีบุตรแสดงไว้อย่างไร.?  (อ่าน 7786 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

"ข่มวาสนา รักษาศรัทธา" พระสารีบุตรแสดงไว้อย่างไร.?
    
     ครั้งหนึ่ง มีเศรษฐีท่านหนึ่งเกิดจิตศรัทธา ใคร่ถวายผ้าจีวรสามผืนแด่พระสารีบุตร
     จึงนิมนต์ให้พระสารีบุตรไปรับประเคนที่บ้านของตน ระหว่างทางต้องข้ามท้องร่อง
     พระสารีบุตรกระโดดข้ามด้วยความว่องไว เศรษฐีรู้สึกขัดใจจึงคิดว่า


        “สมณะรูปนี้ไม่สำรวมเลย เราจักถวายผ้าเพียงสองผืนเท่านั้น” เศรษฐีคิดในใจ

     เมื่อเดินทางผ่านท้องร่องที่สอง พระสารีบุตรยังคงกระโดดข้ามอีก
     เศรษฐีจึงกำหนดหมายว่าจักถวายผ้าเพียงผืนเดียวเท่านั้น
     แต่พอผ่านมาถึงท้องร่องที่สาม พระสารีบุตรไม่กระโดดข้าม กลับเดินอ้อมไปอย่างสำรวม
     เศรษฐีจึงถามด้วยความแคลงใจว่า


         “ทำไมท้องร่องนี้พระคุณเจ้าจึงไม่กระโดดเล่า ขอรับ”
         “ถ้าอาตมากระโดดข้ามท้องร่องนี้ โยมก็ไม่ได้ถวายผ้าแน่ะซี”

     พระสารีบุตรในอดีตชาติได้ถือกำเนิดเป็นวานร
     เพราะฉะนั้น นิสัยกระโดดโลดเต้นจึงติดมา
     แม้ในปัจจุบันชาติ สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว
      ยังไม่อาจตัดวาสนาแห่งวานรได้อย่างหมดจด


อ้างอิง คัดลอกมาจากประวัติพระสารีบุตร
ที่มา http://www.wattham.org/wattham_Buddha_monk_Saribood.php
ขอบคุณภาพจาก http://statics.atcloud.com



ความหมายของคำว่า "วาสนา"

วาสนา - อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น

    ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ
    ป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มีที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ

    แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
    ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย กับ ส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ
    ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้
    แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้
    จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;


    ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป
    กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://download.buddha-thushaveiheard.com/,http://i2.ytimg.com/vi/y-rkP_R-kGs/


   
     พระสารีบุตรท่านมีเจโตปริยญาณ ล่วงรู้วาระจิตของเศรษฐีได้
     แต่เศรษฐีไม่ทราบว่า ท่านรู้ว่าเศรษฐ๊กำลังคิดอะไร
     การที่ท่านไม่กระโดดข้ามท้องร่องที่สาม ใช่ว่าท่านมีจิตคิดอยากได้ผ้าของเศรษฐี
     แต่เป็นการรักษาศรัทธาของเศรษฐีเอาไว้ เพราะเศรษฐีมีศรัทธาที่บริสุทธิ์มาตั้งแต่ต้น
     เหตุที่เศรษฐีมีศรัทธาหดเข้าหดออก ดังหัวเต่า เพราะไม่อาจเข้าใจวาสนาของพระสารีบุตร


    เรื่องนี้สุดท้ายแล้วเล่ากันว่า เศรษฐีได้กราบขอขมาและถวายผ้าทั้งสามผืนให้แก่พระสารีบุตร
     และได้มีภิกษุไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงเล่าอดีตชาติของพระสารีบุตรให้ฟังว่า
     ท่านเคยเป็นลิงมา ๕๐๐ ชาติ นิสัยชอบกระโดดจึงติดตัวมา ไม่อาจจะละนิสัยนี้ได้


      เรื่องการละวาสนาไม่ได้นี้ มีอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ
     พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา ผู้มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย”
     การที่ท่านเรียกคนอื่นว่า "คนถ่อย" ก็เป็นวาสนาของท่านที่ละไม่ได้

     
     เรื่องการรักษาศรัทธานี้ ผมมีอีกตัวอย่างหนึ่ง เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เรื่องมีดังนี้ครับ


   
     นี้เป็นภาพมีในพุทธประวัติจากหินสลัก พระพุทธองค์ออกบิณฑบาต พวกเด็ก ๆ ที่น่ารักกำลังนั่งเล่นดินเล่นทราย เอากะโหลกกะลามาทำข้าว ทำขนม ครั้นเมื่อเห็นพระพุทธเจ้าบิณฑบาต ก็เรียกพระพุทธเจ้าว่าจะรับไหม

     พระพุทธเจ้าก็เปิดบาตรรับจากเด็กผู้มีจิตศรัทธาน้อมอยากจะให้ จิตที่คิดจะให้นั้นมันสบาย
     แล้วจิตที่คิดจะให้ด้วยศรัทธานั้นชื่อว่าน้อยไม่มี
      เพราะขึ้นชื่อว่าจิตที่คิดจะให้ด้วยศรัทธาแล้ว

     มันไม่มีคำว่าค่าน้อย มันมีคุณค่าทางจิตใจมาก
      เพราะใจที่จะคิดให้นั้นมันยาก


      ซึ่งมันไม่เหมือนกับเดี๋ยวนี้ แม้แค่ดินแค่ทรายล่วงล้ำเกินนิดเดียวเพื่อประโยชน์ของสาธารณะก็ยังยาก บางคนนี่ขยายที่รุกเขตกันเข้ามาจนหมดรั้วหมดหนทางเดิน นี่แหละ…จิตที่คิดจะให้มันยาก


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://kunkroo.com/2554/index1.php?page=bdhistory3_5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 27, 2012, 05:56:57 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ข่มวาสนา รักษาศรัทธา" พระสารีบุตรแสดงไว้อย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2012, 09:58:47 am »
0
สมัยก่อนเวลาจะทำบุญ ... กับพระอริยะเจ้า มีโอกาสยากมาก ยิ่งเป็นเรื่องการถวายผ้าไตร ด้วยแล้วยิ่งยากไปกันใหญ่เลย เพราะพระสมัยก่อนท่านให้คุณค่าทางวินัยด้าน เครื่องนุ่งห่มสูง ยิ่งเป็นผ้าบังสุกุลมาจาก ศพด้วยแล้วยิ่งต้องรักษาอย่างดี เพราะเจ้าของผ้าย่อมต้องมีความพอใจในการรับผ้าของพระอริยะเจ้า และเป็นบุญกุศลติดตัวแก่ผู้ได้รับมอบถวาย เป็นอย่างมาก มีพลานิสงค์หลายประการ

    สมัยหลวงปู่ก็เช่นกัน ครั้นพอพระองค์ท่านรับเป็นสังฆราช ได้เปลี่ยนผ้าไตรครองครั้งนั้นเปลี่ยนเสร็จก็โยนผ้าออกมาจากอุโบสถ คนทั้งหลายพากันแย่งผ้าผืนนั้น ขาดกันเป็นชิ้น ๆ คิดเอา แม้ผ้าที่ใช้แล้วนั้นมีอานุภาพมากเพียงใด เพราะเป็นสิ่งติดกายของพระผู้ภาวนาเสมอ โดยเฉพาะอย่างสมเด็จหลวงปู่สุก ด้วย หลายพรรษาผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านเหตุการณ์มากมาย

   ดังนั้นท่านทั้งหลายที่มีศรัทธา ต้องการถวายผ้าไตรแก่พระสงฆ์แล้วไซร์พึงรีบขวนขวาย ในการถวายและจัดทำอย่างประณีต ยิ่งขึ้นตามกำลังศรัทธา ในสมัยปัจจุบันผ้านั้นหาง่าย แต่ ศรัทธานั้นหายาก กำลังใจก็เป็นสิ่งที่เกิดยาก ดังนั้นความหมายของกำลังศรัทธา พร้อมปัญญานั้นจึงเป็นสิ่งที่รักษาและมีอานิสงค์ในการถวาย เป็นอย่างยิ่ง

     ดังนั้นขอให้ท่านรักษา โอกาสแห่งศรัทธา นี้ไว้ให้เหมาะสม แก่กาลเวลา อย่าได้เป็นศรัทธาหัวเต่า ผลุบเข้าผลุบออก หากครูอาจารย์ไม่เมตตา เศรษฐีจะได้บุญอย่างไร ?

    เจริญธรรม / เ้จริญพร


   ;)

อริยธนคาถา
         (หันทะ มะยัง     อะริยะธะนะคาถาโย         ภะณามะ เส)

         เชิญเถิด   เราทั้งหลาย   จงกล่าวคาถาสรรเสริญพระอริยเจ้าเถิด.
         ยัสสะ  สัทธา ตะถาคะเต     อะจะลา สุปะติฏฐิตา
         ศรัทธาในพระตถาคตของผู้ใดตั้งมั่นอย่างดีไม่หวั่นไหว

         สีลัญจะ ยัสสะ   กัล๎ยาณัง    อะริยะกันตัง   ปะสังสิตัง

         และศีลของผู้ใดงดงาม, เป็นที่สรรเสริญที่พอใจของพระอริยเจ้า

         สังเฆ ปะสาโท     ยัสสัตถิ    อุชุภูตัญจะ  ทัสสะนัง

         ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์,   และความเห็นของผู้ใดตรง

         อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ    อะโมฆันตัสสะ  ชีวิตัง

         บัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่าคนไม่จน,  ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน

         ตัส๎มา สัทธัญจะ   สีลัญจะ ปะสาทัง    ธัมมะทัสสะนัง,
         อะนุยุญเชถะ เมธาวี    สะรัง พุทธานะ  สาสะนัง

         เพราะฉะนั้น, เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่,
         ผู้มีปัญญาควรสร้างศรัทธาศีล, ความเลื่อมใส,  และความเห็นธรรมให้เนืองๆ





บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ข่มวาสนา รักษาศรัทธา" พระสารีบุตรแสดงไว้อย่างไร.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 27, 2012, 11:34:49 am »
0
อนุโมทนา สาธุ ครับนับว่าเป็นเรื่องที่ทำให้ ผมได้เปิดตาด้วยครับ กับเนื้อเรื่องที่ฟังมาเนิ่นนานแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจ สิ่งสำคัญ คือ เมื่อศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ก็อย่าล้มศรัทธา เพราะเหตุปัจจัยภายนอก ใช่หรือไม่ครับ ?

  โอกาสไม่ได้ มีหลายหน นะครับ ยิ่งการถวายผ้าไตรแก่ พระอัตรสาวก ด้วย

  แต่ผมวิเคราะห์แล้ว ในเมื่อพระสารีบุตร ท่านมีเจโตปริยญาณ ท่านรู้ว่าทำอย่างนี้ เศรษฐี จักเปลี่ยนใจผมว่ามีเหตุผลอยู่ นะครับ

   1. เศรษฐี มีความศรัทธามาก เกิน ถวายผ้าไตร 3 ไตร อันนี้ลำบาก ศรัทธาได้ทำแต่ทำเกิน ซึ่งอาจจะมีผลคือเกิดมานะในทานได้

   2. พระสารีบุตร ต้องการรับเพียงไตรเดียว จึงแสร้งทำกิริยา ให้เศรษฐีนั้นคลายศรัทธาลงบ้าง

   3.เชื่อว่าเป็นเรื่องจงใจ ของพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก นะครับ ( อันนี้ไม่หมิ่นในปัญญาท่าน )

  อนุโมทนา สาธุ ครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ข่มวาสนา รักษาศรัทธา" พระสารีบุตรแสดงไว้อย่างไร.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 29, 2012, 11:12:38 pm »
0
เห็นพระอาจารย์ พูดเกี่ยวกับเรื่อง ผ้าบังสุกุล มาจากศพ

       ก็เลยขอเท้าความ ไปถึง............ไม้เท้า ของพระพุทธเจ้า ที่คณะ5 วัดราชสิทธาราม ซักหน่อย

        ในคราวหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ ทรงทราบว่า มีผู้นําศพมาทิ้ง ศพนั้น ชื่อว่า นาง ปุณณะทาสี
พระองค์ทรงต้องการ นํามาเป็น ผ้าสังฆาฏิ
 
       ท้าว สักกะเทวราช ทราบถึง สิ่งที่พระพุทธเจ้ากําลังพิจราณาอยู่

         จึง ทรงนํา ไม้ธารพระกร (หรือไม้เท้า ที่พระองค์ จะใช้เขี่ย ผ้าห่อศพ) นํามาถวาย พระพุทธเจ้า เพื่อใช้ พิจารณา มหาบังสุกุล

       ไม้เท้า พระพุทธเจ้า หรือ ไม้เท้าธารพระกรนี้  ที่เท้าสักกะเทวราช ได้นํามา
เรียกว่า ธารพระกรไผ่ยอดตาล หรือไม้เท้าไผ่ยอดตาล
      ท้าวสักกะเทวราช นํามาจากดงไผ่ยอดตาล ใกล้กับสํานัก อุรุเวล-กัสสป

             ไม้เท้าพระพุทธเจ้า นี้ ต่อมาพระองค์ ได้ประทานให้ต่อมา แด่ พระราหุล พุทธชิโนรส

        และตกทอดต่อมาเรื่อยๆมา ในศิษย์สาย กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับนี้เรื่อยมา
จนกระทั่งมาถึง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ปรมาจารย์แห่งยุค รัตนโกสินทร์

       ปัจจุบันไม้เท้าพระพุทธเจ้า ถูกเก็บรักษา ไว้เป็นอย่างดี
        อยู่ที่คณะ5 วัดราชสิทธาราม

        ในอดีต ไม้เท้าธารพระกรนี้ เคยหายเพราะถูกขโมยไป หายไปนานมาก หากัน ตามหากันก็ไม่พบ ตอนที่หายอยู่ในยุค พระอาจารย์เชื้อ

              แต่แล้วก็มีเหตุ อัศจรรย์ เพราะมีผู้ พบและได้คืนมา อยู่ที่เก่า

            เหมือนกับไม้ธารพระกรได้เสด็จกลับมาเอง

          ของดีก็ต้องควรไปกราบ

         ใครอยากกราบไม้เท้าของพระพุทธเจ้า ก็ขอเชิญ

         ที่วัดราชสิทธาราม คณะ5 ฝั่งธนบุรี

         
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




        ศรัทธา 4 (ความเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล)

       1. กัมมสัทธา (เชื่อกรรม, เชื่อกฎแห่งกรรม, เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่าและเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น)
       2. วิปากสัทธา (เชื่อวิบาก, เชื่อผลของกรรม, เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว)
       3. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน)
       4. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง)


       ศรัทธา 4 อย่างนี้ มีมาในบาลีเฉพาะข้อที่ 4 อย่างเดียว (เช่น องฺ.สตฺตก. 23/4/3 เป็นต้น) ว่าโดยใจความ ศรัทธา 3 ข้อต้น ย่อมรวมลงในข้อที่ 4 ได้ทั้งหมด
       อนึ่ง ในข้อ 3 มีข้อธรรมที่มาในบาลีคล้ายกัน คือ กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ) เช่น อภิ.วิ. 35/822/443



ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ