ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม กรรมฐาน ต้องเริ่ม ปฏิบัติที่การเข้าใจ เบญจขันธ์ ครับ  (อ่าน 3691 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม กรรมฐาน ต้องเริ่ม ปฏิบัติที่การเข้าใจ เบญจขันธ์ ครับ
 คือ ผมคิดว่า ผมก็รู้จัก เบญจขันธ์ นะครับแต่ก็ไม่เห็นว่า จะทำให้กรรมฐาน หรือ สติปัญญา ในการละกิเลส ได้ก้าวหน้าเลยครับ ผ่านมาหลายปี จนครึ่งคนแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกว่า จะเห็นอะไรจาก เบญจขันธ์ เลยครับ
 
 หรือท่านผู้รู้ที่มีความสำเร็จ มีคำอธิบายใด ๆ ที่จะทำให้ผมได้กระจ่างในการภาวนาครั้งนี้ด้วยครับ

  :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
   ทําไมต้องเข้าใจเบญจขันธ์......เพราะเบญจขันธ์ คือรูป และ นาม แปลอีกที ก็คือกายและใจเรานี้เอง
        ถ้าฝึกตามแบบ กรรมฐาน มัชฌิมา เรียนปีติห้า ก็จะเห็นความเกิด-ดับ จัดเป็นญาณที่สี่ (อุทยัพ) เห็นวิปัสนาญาณ ความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป บ้าง
     การฝึกกรรมฐาน ก็เพื่อปล่อย และ คลายความยึดถือ ออกจากขันธ์ทั้งห้า  หรือปีติห้า เรียนปีติห้า ก็เพื่อรู้ และละ ถอยออกจากความยึดถือในเบญจขันธ์ ไม่ยึดมั่นถือมั่น
    เรียนกรรมฐานมัชฌิมา ก็เพื่อรู้ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ และปล่อยขันธ์ห้า
เรียนปีติห้า ก็เพื่อทําลายความยึดมั่นถือมั่น ออกจากขันธ์ห้า เพราะเข้าไปรู้ทันเบญจขันธ์ เมื่อรู้ทันมันก็ไม่ถือเพราะมันหนัก

     พระพุทธองค์ ตรัสไว้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
          เมื่อปฏิบัติเห็นความเกิด-ดับ

         เมื่อธรรมทั้งหลายในภาวนาปรากฏ     ทิฏฐิ ความคิด ความอ่าน การปรุงแต่ง ที่เคยเป็นทุกข์เป็นสุข ที่ใส่ไว้ ในกล่องดํา ทั้งในรูป และอารมณ์ ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และขันธ์ห้า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ถูกล้างออกตามขั้นตอน ตามลําดับ ตามธรรม พระกรรมฐาน
      เพราะการเรียนกรรมฐาน มีครูเราไม่ได้เรียนเองรู้เอง เพราะเรามีครู
        มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่รู้เองได้
      ฝึกกรรมฐานอย่าให้เกินเจ็ดปี มันเกินที่พระสูตรพระพุทธองค์ระบุไว้
         คงต้องย้อนกลับไปดูที่เหตุ...ว่า...ทําไมเราจึงไม่สําเร็จดั่งที่ตั้งใจ
       การฝึกกรรมฐาน ตั้งใจมากก็ไม่ได้ ไม่ตั้งใจเลยก็ไม่ได้ ต้องเฉลี่ยใจเอาไว้กลางๆ(between) เอาให้อยู่ระหว่าง ตั้งใจ-ไม่ตั้งใจ การฝึกตรวจตรงนี้หน่อยก็ดี เฉลี่ยให้อยู่ตรงระหว่าง
          เรา เชื่อความคิดตัวเองมากไปรึเปล่า
          หรือเอาตามแนวเฉพาะที่ชอบ ที่เราไม่ชอบไม่ใช่ไม่เอา สรุปเอง
          เชื่อเพื่อน ตามเพื่อน ชอบความโด่งดัง ติดฤทธิ์ ชอบฟัง ชอบคุย ชอบเล่า ชอบอวด
          สํานักนั้น สํานักนี้ ชอบเที่ยวไป แต่ไม่มีเป้าหมาย ปณิธาน ว่าเราตั้งตัวเราไว้ยังไง เอาสําเร็จหมดมั๊ย
          ก็ต้องเริ่มต้น การเริ่มต้นก็ไม่ยาก......หยุด (สําเร็จทุกอย่าง)
          แล้วตั้งปณิธานเป้าหมายใหม่
           มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นใหญ่ที่ใจ
           กัลญาณมิตร ครูอาจารย์ ที่จะบอกกรรมฐานเฉพาะตัวของเราโดยตรง
            ถ้ายังไม่มี เราขอเชิญชวนท่าน
             ไปที่ คณะห้า วัดราชสิทธาราม ฝั่งธน
             พระอาจารย์กรรมฐานใจดี มีเมตตาสูง
             ทั้งหมดที่เล่ามาเพราะเรามีครูบาอาจารย์พระกรรมฐาน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำตอบ การรู้เรื่อง ขันธ์ 5 นั้น เป็นเรื่องจำเป็นแต่การรู้ขันธ์ 5 ก็เป็นเพียงเบื้องต้นนะครับ อย่าลืมว่า วิปัสสนา นั้นเริ่ม ที่ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ตามลำดับ นะครับ คือ จากหยาบ ไปสู่ ละเอียด

  :49:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากพระสูตร  เรื่องของความเห็นในเบญจขันธ์(จากหยาบไปสู่ละเอียด)
       ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น
       อนิจจานุปัสนา
       ทุกขานุปัสนา
       อนัตตานุปัสนา
       ตามลําดับ

       ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้
         ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ นี้

        ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้
        ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ นี้มี
             อนิจจานุปัสนาเท่าไร
             ทุกขานุปัสนาเท่าไร
             อนัตตานุปัสนาเท่าไร
       ท่านกล่าวว่า
             มีอนิจจานุปัสนา ๕๐
             มีทุกขานุปัสนา ๑๒๕
              มีอนัตตานุปัสนา ๒๕ ฉะนี้แล
                  จบวิปัสสนากถา
             จากคู่มือกรรมฐานเล่ม๒ อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค

        คราวนี้จาก....ปัญญาวรรค วิปัสนากถา บ้าง...เรื่องจากสาวัตถีนิทานบริบูรณ์

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจราณาเห็นนิพพาน โดยความเป็นทุกข์อยู่จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างสู่สัมมัตตนิยามข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทําให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจราณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทําให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้...
         
        จากคู่มือกรรมฐานเล่ม๒ อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค
          เรียบเรีงจากพระสูร คําสอนของพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระราหุลพุทธชิโนรส ท่านสอนพระราหุลเป็นรูปแรก
        ซึ่งการสอนนั้นมีระเบียบแบบแผนชัดเจนในเรื่อง อานาปานสติ มาก ซึ่งมีวิธีการที่ถูกต้องในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ
                                               จาก คู่มือกรรมฐาน เล่มสอง อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค
                                                         เรียบเรียงโดย พระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส (อาโลโก)
       
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขันธ์ ๕ ก็คือ กายกับใจเรานี้เองครับ

๑. รูปขันธ์ คือ อาการทั้ง 32 ของเรา เช่น ขน ผม หนัง ฟัน เล็ก ตับ ไต ม้าม ดี เสลด อาหารเก่า(ขี้) อาหารใหม่ เยี่ยว กระดูก เส้นเอ็น เส้นเลือด หัวใจ ปอด ผังผืด เป็นต้น
    - ท่านให้พิจารณาเห็นในรูปขันธ์ดังนี้ว่า ไม่มีตัวตน บุคคลใด หรือสิ่งใด สักแต่เป็นเพียงอาการทั้ง 32 นั้นเกิดก่อขึ้นรวมกันโดยมีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ เมื่อเห็นอาการทั้ง 32 ก็จะเห็นว่ามันเป็นเพียงแค่ธาตุ อันมีธาตุหลักทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมตัวกันเป็นรูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่มีสิ่งอันใดที่น่าพิศมัยยินดี เป็นไปเพื่อความไม่ยึดติดในรูปอันที่เราว่าสวยงามนั้นด้วยการเป็นจริงเช่นนี้ๆเป็นต้น
    - การไปยึดมั่นถือมั่นในรูป นั่นคือ ถืออุปาทานในรูปว่า ดี ว่าสวย ว่างาม น่าพอใจยินดีใคร่ได้ จึงเป็นตัวทุกข์


๒. เวทนาขันธ์ คือ ความเสพย์เสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นเจตสิกตัวหนึ่ง แต่ที่แยกออกมาเป็นขันธ์ เพราะถือว่าเป็นอินทรีย์ คือ เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งหลาย เพราะเมื่อเวทนาเกิดขึ้นแก่จิต ไม่ว่าจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ ต่างก็ทำให้เราเสพย์เสวยสิ่งนั้นจนสิ่งอื่นดับไปหมด เช่น เมื่อเราสุขใจ มีความพอใจยินดีใดๆ สิ่งอื่นๆที่จะเกิดรับรู้ตามก็ดับไปหมดไม่แสดงให้เห็น เมื่อทุกข์ใจไม่พอใจยินดี ก็เกิดความคับแค้นใจ อึดอัดใจ ขุ่นมัวใจ โศรกเศร้า ร่ำไรรำพัน ไม่สบายกายใจ สิ่งอื่นใดที่จะเกิดขึ้นร่วมด้วยก็ดับไปหมดคงรู้สึกแต่เวทนานั้นเป็นใหญ่
    - ท่านให้พิจารณาเห็นว่า เพราะเวทนาขันธ์นี้ ความเสพย์เสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ เฉยๆ นี้หากเมื่อสุขใจก็พอใจยินดีมาก ก็ต้องการอยากได้ ทะยานอยากต้องการที่จะได้สุขนั้นมาอีก เมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เมื่อเจอทุกข์ก็ไม่พอใจยินดีที่จะได้ทะยานอยากจะผลักหนีให้ไกลตน พยามดิ้นรนหลีกหนีจากสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นเป็นต้น
    - การไปยึดมั่นถือมันในเวทนาขันธ์ คือ ถืออุปาทานในเวทนาขันธ์ เพราะติดในสุข ชอบพอใจ อยากได้สิ่งนี้ๆเพราะมันทำให้สุข ไม่พอใจเพราะเป็นทุกข์อยากจะผลักหนีให้ไกลตนอย่างนี้เป็นต้น จึงเป็นตัวทุกข์


๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ เป็นเจตสิกตัวหนึ่ง แต่ที่แยกออกเป็นขันธ์ เพราะถือว่าเป็นอินทรีย์ คือ เป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งหลาย เพราะเมื่อสัญญาเกิดขึ้นแก่จิต คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายตั้งไว้ในใจ เช่นว่าสิ่งนี้สุข สิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้ไม่ชอบ สิ่งนี้เกลียด สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดีเกิดขึ้นเราก็จะตกอยู่การเสพย์อารมณ์ที่เราได้จดจำสำคัญมั่นหมายไว้ สิ่งอื่นใดๆที่จะเกิดขึ้นแม้เป็นปัจจุบันขณะนั้นก็ดับไปหมด เพราะจิตตกอยู่ในการเสพย์เสวยในสัญญาเหล่านั้น เช่น เวลาเราทำอะไรอยู่แล้วถูกด่าถูกว่า เราก็ไม่พอใจยินดี เพราะจดจำไว้ว่าคำพูดแบบนี้ น้ำเสียงแบบนี้หมายถึงการด่า การพูดไม่ดี ก็โกรธแค้นไม่พอใจทันที หรือ เมื่อเหตุการณ์นั้นแม้ได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว เราไปตรึกนึกถึงมันอีก เราก็โกรธ ก็ทุกข์จากการที่ไปหวนย้อนระลึกถึงสิ่งนั้นที่ได้จดจำไว้ ที่สำคัญมั่นหมายไว้
    - เอาอย่างเช่น เวลาเราเลิกกับคนที่รัก หรือ สูญเสียสิ่งที่รัก แม้ผ่านมานานแล้วก็ยังเสียใจเป็นทุกข์อยู่ เพราะยังมีความจดจำว่าบุคคลนั้นสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราพอใจยินดี เป็นสิ่งที่ทำให้เราสุข เราก็เสพย์ตรึกนึกปรุงแต่งไปเพราะมีสัญญาเป็นใหญ่ ไม่ชอบพอใจที่เกิดเหตุการ์อย่างนี้ขึ้น ทุกข์ก็ทุกข์จากสัญญานั้น เพราะให้ความสำคัญจดจำไว้ในการเอาความสุขของตนเองไปผูกเกี่ยวไว้กับคนอื่น จดจำสำคัญไว้ว่าคนนี้ทำให้สุข คนนี้ทำให้ทุกข์ คนนี้ดี คนนี้ไม่ดีเป็นต้น
    - การไปยึดมั่นถือมันในสัญญาขันธ์ คือ ถืออุปาทานในสัญญาขันธ์ เพราะความจดจำสำคัญมั่นหมายตั้งไว้ในใจว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่ชอบใจพอใจ สิ่งนี้ทำให้ทุกข์ใจ สิ่งนี้ๆคือสุข สิ่งนี้ๆคือทุกข์ เมื่อเราจดจำสำคัญมั่นหมายสิ่งใดไว้ว่าเป็นสิ่งที่ชอบสิ่งที่ทำให้สุขเราก็ใคร่ได้ปารถนาทะยานอยากที่จะได้เสพย์ในสิ่งนั้น ต้องการในสิ่งที่เราสำคัญเอาไว้ว่าสุข ว่าดี ว่าพอใจ สิ่งใดที่จดจำไว้ว่าไม่ดีเป็นทุกข์ก็ไม่อยากจะพานพบเจอ กลัว อยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากจะหลีกหนีให้ไกลๆ จึงเป็นตัวทุกข์


๔. สังขารขันธ์ คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ไม่ว่าจะเป็น ความตรึกนึกคิด ความปรุงแต่งเรื่องราว ความ รัก โลภ โกรธ หลง กระทบสัมผัสใดๆเป็นต้น เมื่อเราไปติดใจพอใจ-ไม่พอใจกับความปรุงแต่งจิตใดๆ เอาความปรุงแต่งจิต กระสบสัมผัสใดๆ ตรึกนึกใดๆ มาตั้งไว้ในใจ เอามาเป็นตัวตนยึดมั่นถือมั่นตั้งอุปาทานเป็นตัวตนในใจ ทำให้เป็นทุกข์ (สังขารขันธ์นี้กว้างมากทุกๆอย่างเกิดขึ้นก็เพราะสังขารนี้ เพราะสิ่งที่ใจรู้ที่ใจตรึกนึกปรุงแต่งบัญญัติใดๆที่ทำให้เสพย์เสวยอารมณ์ใดๆทางใจ หรือ ธัมมารมณ์ ก็เพราะสังขารนี้เป็นใหญ่ จะรู้สังขารได้ลึกซึ่งจริงๆในทางสมถะก็ด้วยสภาพเมื่อมีจิตจดจ่อเห็นตามจริง วิปัสนาจะเห็นได้ก็ด้วยรู้ปัจจุบันขณะจิต รู้ใน ธัมมานุสติปัฏฐาน หรือสติปัฏฐานทั้ง 4 รวมกันเห็นใน นามรูป)
   - ส่วนกายสังขารจะหมายถึงร่างกายอาการทั้ง 32 ของเรานี้
    - ส่วนสังขารธรรม คือขันธ์ทั้ง 5 รวมกัน


๕. วิญญาณขันธ์ คือ จิต หรือ ใจ คือ ธรรมชาติที่เป็นตัวรู้ ความรู้อารมณ์ทั้งหลาย การไปยึดมั่นถือมั่นในความรู้อารมณ์ใดๆเป็นตัวทุกข์ เช่น ตามองเห็นว่า คนนี้สวย คนนี้หล่อ ก็ติดใจยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตนอุปาทานจากสิ่งที่จิตเห็นนั้น (จิตเป็นตัวรู้อารมณ์ สิ่งใดที่จิตรุ้ในทางธรรมสิ่งนั้นคืออารมณ์ อย่างมองเห็นได้ก็เพราะมีรูปภายนอก+ตา+วิญญาณ เกิดผัสสะกันจึงเห็น ส่วนต่อๆกัยมาก็ปรุงแต่งเสพย์เสวยอารมณ์กันไป)
    - การถืออุปาทานในวิญญาณขันธ์ คือ ตัวทุกข์


ที่ผมกล่าวมานั้นเป็นแค่โดยย่ออาจจะทำให้ไม่เข้าใจได้ตามจริงเลยแต่ลองระลึกพิจารณาตามดูอาจจเป็นประโยชน์แก่คุณก็เป็นได้ครับ ขอให้เห็นตามจริงในขันธ์ จนถึงแยกกองทั้งหลายนี้ได้เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้นะครับ สาธุ


ลองอ่านตาม Link นี้เพิ่มเติมครับ ท่านเจ้าของกระทู้มีการอธิบายไว้ชัดเจนดี และ มีการอ้างอิงในพระไตรปิฎกด้วยครับ

http://buddhiststudy.tripod.com/ch2.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 13, 2012, 06:37:05 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอบคุณ คุณ Admax ด้วยนะครับ ที่มาช่วยตอบปัญหาในช่วงนี้นะครับ
 :c017:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบพระคุณเช่นกันครับที่กรุณาให้ผมได้ร่วมสนทนาธรรมด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ