ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครรู้แหล่งที่มาของเนื้อหานี้ อยู่ในพระไตรปิฏก ตอนไหนครับ  (อ่าน 6001 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พอดีไปอ่านมาแล้ว copy เก็บไว้เป็น text ไม่มีลิงก์เดิมครับ

อยากรู้ว่าข้อความส่วนนี้อยู่ในพระไตรปิฏกตอนไหนครับ

ขอบคุณครับ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

นั้นหมายถึงว่า "เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี" ขออธิบายดังนี้นะครับ

ใน ปัจจุบันนี้เป็นยุคเสื่อมคือหลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว มนุษย์จะมีอายุขัยลดลงเรื่อยๆคือ ทุกๆ 100 ปี อายุขัยเฉลี่ยจะลดลง 1 ปี  หมายความว่า ในยุคพระพุทธเจ้ายังทรงอยู่ อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ปี  ปัจจุบัน พศ. 2553 มนุษย์จะมีอายุขัยเฉลี่ยลดลง 25 ปี อยู่ที่ประมาณ 75 ปี

รอจนมนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยลดลงไปเรื่อยๆจนเหลือ 10 ปี หญิงอายุ 5 ปีจะมีบุตรได้ ร่างกายมนุษย์จะแคระแกร็นลงจนต้องใช้ไม้สอยมะเขือมากินศีลธรรมจะเสื่อมทราม อย่างที่สุด มนุษย์จะสมสู่กันโดยไม่เลือกว่าเป็นญาติสาโลหิต เมื่อนั้นจะเป็นยุคมิคสัญญี จะเกิดสงครามเข่นฆ่ากันไปทั่วโลก ผู้ที่กลัวสงครามจะหลบไปในป่าบ้าง ในถ้ำบ้าง สงครามจะดำเนินไปทั้งสิ้น 7 วัน ผู้คนจะตายกันเกือบทั้งหมดยกเว้นผู้ที่หลบไปก่อนหน้านั้น

ผู้คน ที่รอดชีวิตจะพากันออกมา เมื่อเห็นสภาพของบ้านเมืองก็จะพากันสลดสังเวช และพากันเจริญศีลภาวนา คุณธรรมจะเจริญขึ้น อายุขัยมนุษย์ก็จะเพิ่มขึ้น ทุกๆ 100 ปี อายุจะเพิ่มขึ้น 1 ปี  ผ่านเวลาไปอีกเนิ่นนาน รอจนอายุขัยมนุษย์เพิ่มขึ้นเป็น 80,000 ปี หญิงอายุ 40,000 ปีจะมีบุตรได้ ศีลธรรมจะงอกงามอย่างยิ่งยวด สภาพบ้านเมืองจะเจริญถึงขีดสุด บ้านช่องไม่ต้องมีรั้วเพราะไม่มีขโมย เมื่อนั้นพระศรีอาริยเมตไตรพุทธเจ้าจึงจักอุบัติขึ้นในโลก

ที่พิมพ์ มานี้คือเอามาจากพระไตรปิฎกครับ คห. ที่เห็นว่าศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันจะสิ้นสุดที่ พศ. 5000 จึงไม่จริงครับ ที่ผมคำนวนไว้ตามเนื้อหาที่พิมพ์มานี้คืออย่างน้อยต้องอีกประมาณ 8 ล้านปีนับจากปัจจุบัน จึงจะถึงยุคพระศรีอารย์ฯครับ

พระพุทธเจ้าแต่ละ พระองค์จะอุบัติขึ้นในโลกต้องมีเงื่อนไขคือ ยุคนั้นต้องเป็นยุคที่ไม่มีศาสนาพุทธเดิมหลงเหลืออยู่เลย ไม่มีหลักฐานการจารึกใดๆอยู่ทั้งสิ้น รวมทั้งอาจไม่มีศาสนาใดๆเลยก็ได้   ถ้าเป็นยุคเสื่อม อายุขัยมนุษย์เฉลี่ยต้องอยู่ที่ 100 ปีเป็นอย่างต่ำ  ถ้าเป็นยุคเจริญ อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ต้องไม่เกิน 80,000ปีครับ


 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)

             [๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ

             ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน

             ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ

             ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

             ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ

             ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดา
ของตน มารจักไม่ได้โอกาส มารจักไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้
เจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล ฯ

             [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาจักรพรรดิ์
พระนามว่า ทัลหเนมิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์
ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วน
กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์


ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดิน มีสาคร
เป็นขอบเขต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย
พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้ว
อันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย

โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็น
ทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอย-
*เคลื่อนจากที่แล้ว ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มา
รับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว
ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ใด ถอย
เคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นานในบัดนี้

ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากาม
ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทร
เป็นขอบเขตนี้  ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ใหญ่
ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อม-
*น้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ฯ

             [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว


ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย ท้าวเธอเสด็จเข้าไป
หาพระราชฤาษีถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์พึงทรงทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูกรพ่อ พ่อ
อย่าเสียใจ และอย่าเสวยแต่ความเสียใจไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์

อันตรธานไปแล้ว ดูกรพ่อ ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสืบมาจาก
บิดาของพ่อไม่ ดูกรพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้
เป็นฐานะที่จะมีได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ จักรแก้ว
อันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมี
แก่พ่อผู้สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ใน
วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ


             ร. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯ
             ราช. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม
ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย
มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม
ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์และ
คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อ

และนก ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง
บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้น
ด้วย ดูกรพ่อ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจาก
ความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบ
ตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
โดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร ท่านขอรับ


อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ
กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใด
เป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูกรพ่อ
นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราชฤาษีแล้ว ทรง
ประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอัน
ประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ
ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นแล้ว
มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม


บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้
มูรธาภิเษก สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เราได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ์หรือหนอ ฯ

             [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่แล้ว
ทรงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรง
ประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงเป็น
ไปเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางทิศบูรพา พระเจ้า
จักรพรรดิ์พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาพากันเสด็จ
เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราช-
*เจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอ
พระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด มหาราชเจ้า ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า

                          พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
                          ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
                          ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
                          ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
                          ไม่พึงดื่มน้ำเมา
                          จงบริโภคตามเดิมเถิด


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงไปสู่สมุทร
ด้านบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม
ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว
ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น
พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมก็พากันเสด็จ
เข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า
พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น
มหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า

                          พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
                          ไม่พึงเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
                          ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
                          ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
                          ไม่พึงดื่มน้ำเมา
                          จงบริโภคตามเดิมเถิด


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่ง
แผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้ว จึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตู
พระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว
สว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ ฯ

             [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี
องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไป
หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษ
ผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พ่อพึงบอก
แก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของ


ท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่
ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับ
นั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า

จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักร-
*แก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์ใด ถอยเคลื่อนออกจากที่ พระ-
*เจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย
อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลาย
อันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรเป็น


ขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์
ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้า
ย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงพระผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธาน
ไปแล้ว ฯ

             [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
ผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
ได้ทรงเสียพระทัย และได้ทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไป
เฝ้าพระราชฤาษี ทูลถามจึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ นัยว่าท้าวเธอทรงปกครอง


ประชาราษฎร์ ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์
ตามพระมติของพระองค์อยู่ ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือน
เมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์
นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา

ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่าเมื่อพระองค์ทรงปกครอง
ประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน
เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ
อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้าราชบริพาร โหราจารย์
และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคน


เลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายด้วยและประชาราษฎร์ เหล่าอื่นด้วย จำทรงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธ-
*เจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักกวัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์ฯ

             [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอำมาตย์ราช-
*บริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น จนคนรักษา
ประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เขา
เหล่านั้นอันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวาย
ท้าวเธอ ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน

และคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์
เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่น
ไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ

             บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             ร. เพราะเหตุไร ฯ
             บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์
มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่งก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขา
ช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูล
อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯ

             บุ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯ
             ร. เพราะเหตุไร ฯ
             บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงชีพมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผล ในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่
สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์
นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระราชทาน
ทรัพย์ให้อีก เขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เรา
ทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ฯ

             [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของ
คนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ


             บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             ร. เพราะเหตุไร ฯ
             บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา
จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวี
ขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำ
การตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ
ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเอาเชือก
เหนียวๆ มัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น


แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตู
ด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย นอก
พระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของเธอแล้ว จึงเอาเชือก

เหนียวมัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพา
ตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ
คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนคร
ทิศทักษิณแล้ว ฯ


             [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่น
อย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมา พวกเขา
จึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตรา

อย่างคม ครั้นแล้วจะคุมตัวบุรุษที่เราจักขโมยเอาทรัพย์ให้แข็งแรง จักทำการตัด
ต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ครั้นแล้ว
จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนน
หนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด
ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลนั้นเสีย ฯ

             [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
*กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ

ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุ
ถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี
บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดง
แก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า


บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่าง
นี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ
คนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
*กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่


หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี
อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่งจึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้
มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์
ของคนอื่นไป ฯ


             [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
*กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
วรรณก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะ
ดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี
ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น ฯ


             [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
*กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ

กาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือ
ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ
แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวก
เขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาท
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ
สัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุ
บ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง
เหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความ
แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย
แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ
อธรรมราคะ ๑- วิสมโลภ ๒- มิจฉาธรรม ๓- ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม
๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็
เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตร
ของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความ
ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ
ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้
ถึงความแพร่หลาย ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่
พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
อทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ
แพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย


มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้
ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ
แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา
และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย
อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ

แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย
ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
@(๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความ
@กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา


อ่านต่อด้านล่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2011, 01:28:01 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน
มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ
ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ

[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก


ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ
ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ
ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล ในบัดนี้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ
ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน
แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ

บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ
อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพราน
เนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


             [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป
สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง
หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น

เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
เจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า
กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก
อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น
จากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม


อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย

วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง


๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ

             [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
*พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น


ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
*พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด

ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่
พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ
ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก
ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง
ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต-
*สัมมาสัมพุทธเจ้า

ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ใน
ทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ


             [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มี
ธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯ

             [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย
อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร
ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ
จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน
สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท
๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ
ของภิกษุ ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี
ความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี

สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน
เรื่องสุขของภิกษุ ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก
สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต


ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต
ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา

อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่
ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง


เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ
ของภิกษุ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ

             พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ

จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑๑๘๙ - ๑๗๐๒. หน้าที่ ๕๐ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=1189&Z=1702&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=33
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2011, 01:28:47 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ชื่อทีฆนิกาย ปาฏิวัคค์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๓

๓. จักกวัติสูตร
สูตรว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ์

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นครมาตุลา แคว้นมคธ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตนพึ่งธรรมและเจริญสติปัฏฐาน ๔ ๑ แล้วตรัสเล่าเรื่องรัตนะ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า ทัฬหเนมิ คือ:-

   ๑. จักร   ( ลูกล้อรถ ) แก้ว   ( จักกรัตนะ )      ๒. ช้างแก้ว     ( หัตถิรัตนะ )
   ๓. ม้าแก้ว     ( อัสสรัตนะ )      ๔. แก้วมณี    ( มณีณีรัตนะ )
   ๕. นางแก้ว     ( อิตถีรัตนะ )      ๖. ขุนคลังแก้ว     ( คฤหปติรัตนะ)
   ๗. ขุนพลแก้ว    ( ปริณายกรัตนะ )


   พระเจ้าทัฬหเนมิตรัสสั่งบุรุษคนให้คอยดูว่า จักรแก้วเคลื่อนจากฐานเมื่อไรให้บอก จำเนียรกาลผ่านมา เมื่อจักรแก้วเคลื่อนจากที่ บุรุษนั้นก็ไปกราบทูล พระองค์จึงตรัสเรียกพระราชบุตรองค์ใหญ่มอบราชสมบัติให้แล้วปลงพระเกสาพระ มัสสุ ทรงผ้ากาสยะ ( ผ้าย้อมฝาด ) ออกผนวชเป็นบรรพชิต. เมื่อออกผนวชเป็นฤษีได้ ๗ วัน จักรแก้วก็อันตรธานหายไป.

    พระราชา ( พระองค์ใหม่ ) ก็ทรงเสียพระราชหฤทัย เล่าความถวาย. พระราชฤษีก็ตรัสปลอบว่า จักรแก้วเป็นของให้กันไม่ได้ และทรงแนะนำให้บำเพ็ญจักกวัตติวัตร คือข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ มีฐานะอยู่ที่เมื่อปฏิบัติแล้ว จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ก็กำตั้งพัน , มีกง , ดุมสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง จักปรากฏขึ้นแก่พระราชาผู้รักษาอุโบสถในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ผู้ขึ้นสู่ชั้นบนปราสาท. กราบทูลถามว่า วัตรอันประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นอย่างไร.

ตรัสตอบว่า
“ ๑. จงอาศัยธรรมสักการะเคารพนับถือธรรมให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์แล สัตว์ ไม่ยอมให้ผู้ทำอันเป็นอธรรมเป็นไปได้ในแว่นแคว้น ๒ .     
๒. ผู้ใดไม่มีทรัพย์ก็มอบทรัพย์ให้   
๓. เข้าไปหาสมณพราหมณ์ผู้เว้นจากความเมา ประมาท ตั้งอยู่ในขันติ ( ความอดทน ) โสรัจจะ ( ความสงบเสงี่ยม ) และถามถึงสิ่งเป็นกุศล, อกุศล , มีโทษ , ไม่มีโทษ, ควรเสพ, ไม่ควรเสพ, อะไรทำเข้าเป็นไปเพื่อเสียประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน , อะไรทำเข้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน. เมื่อฟังแล้ว ก็รับเอาสิ่งที่เป็นกุศลมาประพฤติ. นี้แลคือวัตรอันประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้น.”


    ( หมายเหตุ :   ข้าพเจ้าย่อวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์ได้ ๓ อย่าง แต่ในอรรถกถาแจกไปตามพยัญชนะได้ถึง ๑๐ อย่าง คือ ให้อารักขาอันเป็นธรรมแก่   
๑ . พลกาย หรือกองทางทหารที่อยู่ใกล้ชิด เป็นอันโตชน )   
๒. กษัตริย์ (น่าจะหมายถึงพระราชวงศ์และกษัตริย์เมืองขึ้น )   
๓. ผู้ติดตาม   
๔. พราหมณ์คฤหบดี   
๕. ชาวนิคมชนบท   
๖. สมณพราหมณ์   
๗. เนื้อและนก   
๘. ขัดขวางผู้กระทำการที่ไม่เป็นธรรม 
๙. เพิ่มให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทัรพย์   
๑๐. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์แล้วถามปัญหา.

 และแล้วอธิบายต่อไปว่า แยกเป็น ๑๒ ข้อก็ได้ คือแยก คฤหบดีออกจากพราหมณ์และแยกนกออกจากเนื้อ. แต่ที่ข้าพเจ้าย่อเหลือเพียง ๓ ก็เพราะประเด็นแรกมุ่งในทางเคารพธรรม ให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรม และปราบอธรรม จักเป็นข้อที่ ๑ - ผู้จัดทำ ).

    เมื่อพระราชา ( ผู้เป็นราชบุตร ) กระทำตาม จักรแก้วก็ปรากฏขึ้นตามที่พระราชฤษีทรงกล่าวไว้ พระราชาจึงทรงถือเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหมุนจักแก้วไปด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา รับสั่งว่า จักรแก้วอันเจริญจงหมุนเถิด จงมีชัยเถิด แล้วยกกองทัพมีองค์ ๔ ติดตามไปทั้งสิ้นจนจดสมุทร สั่งสอนพระราชาในทิศนั้น ๆ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วมอบให้ครอบครองสมบัติต่อไปตามเดิม ( เพียงให้ยอมแพ้เท่านั้น). เมื่อได้ชัยชนะทั้งสี่ทิศแล้ว ก็เสด็จกลับสู่ราชธานีตามเดิม.

    พระเจ้าจักรพรรดิ์ พระองค์ที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ และที่ ๗ ก็เป็นอย่างนี้ พระเจ้าจักรพรรดิ์ที่ ๗ เมื่อออกผนวชและมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรสแล้ว จักแก้วก็อันตรธานหายไป พวกอำมาตย์ราชบริพารก็ถวายคำแนะนำเรื่องวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์.

ความผิดพลาดในพระราชาองค์ที่ ๘
    พระราชาสดับแล้ว ก็ทรงจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม แต่ไม่พระราชทานทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์ ( ในข้อนี้เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันก็คือ ไม่จัดการด้านสังคมสงเคราะห์ ไม่มีการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ) ความยากจนไพบูล เมื่อความยกจนไพบูล คนก็ลักทรัพย์ของผู้อื่น. ราชบุรุษจับได้ก็นำไปปถวายให้ทรงจัดการ เมื่อทรงไต่ส่วนได้ความเป็นสัตย์ และทรบว่าเพราะไม่มีอาชีพ ก็พระราชทานทรัพย์ให้ไปเลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตรภรรยาประกอบการงานและบำรุงสมณพราหมณ์ . ต่อมามีคนลักทรัพย์ของผู้อื่นและถูกจับได้อีก ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์อย่างเดิม ก็พระราชทานทรัพย์อีก . ข่าวก็ลือกันไปว่า ถ้าใครลักทรัพย์ก็จะได้พระราชทานทรัพย์ คนก็ลักทรัพย์กันมากขึ้น

    ต่อมา ราชบุรุษจับคนลักทรัพย์ได้อีก แต่คราวขึ้นพระราชาทรงเกรงว่า ถ้าพระราชทานทรัพย์ การลักทรัพย์อีกก็จักเพิ่มยิ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้มัด โกนศีรษะ พาตระเวนไปตามถนนหนทาง ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ๓ .  นำออกทางประตูพระนครใต้ ปราบกันอย่างถอนราก ตัดศีรษะเสีย.

    เมื่อมนุษย์ได้ข่าว ก็พากันสร้างศัสตราอันคมขึ้น และคิดว่า ถ้าลักทรัยพ์ใครก็ต้องตัดษีรษะเจ้าทรัพย์บ้าง จึงเกิดการปล้นหมู่บ้านนิคมนครและการปล้นในหนทาง.

อายุลด อธรรมเพิ่ม

   จากการที่ไม่ให้ทรัพย์แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ก็มากด้วยด้วยความยกจน มากด้วยการลักทรัพย์ มากด้วยการใช้ศัสตรา มากด้วยการฆ่า มากด้วยการพูดปด อายุผิวพรรณของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมลง คือมนุษย์มีอายุ   ๘ หมื่นปี บุตรมีอายุเพียง  ๔ หมื่นปี และลดลงเรื่อย ๆ ในเมื่อความชั่วเกิดมากขึ้น เช่น การพูดเท็จอย่างจงใจ, การพูดส่อเสียด, การประพฤติผิดในกาม . เมื่ออายุลดลงเหลือ   ๕ พันปี มากไปด้วยธรรม  ๒ อย่าง คือการพูดหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ. เมื่ออายุลดลงมาถึง   ๒,๕๐๐ ปี มากไปด้วยธรรม   ๒ อย่าง โลภอยากได้ของเขา และพยาบาทปองร้ายเขา.

เมื่ออายุลดลงมาถึง  ๑ พันปี มากไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดคลองธรรม เมื่ออายุลดลงมาถึง   ๕๐๐ ปี มากไปด้วยธรรม  ๓ อย่าง คือ  ๑. ความกำหนัดที่ผิดธรรม ๔ .  ( อธมฺมราค)   ๒. ความโลภรุนแรง (วิสมโลภ )   ๓. ธรรมะที่ผิด ( อรรถกถาอธิบายว่า ความกำหนัดพอใจผิดปกฏิ เช่น ชายในชาย หญิงในหญิง ). เมื่ออายุลดลงมาถึง ๒๕๐ ปี มากไปด้วยธรรม คือการไม่ปฏิบัติชอบในมารดา , บิดา , ในสมณะ, ในพราหมณ์ , การไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล . เมื่อเสื่อมลงอย่างนี้ ทั้งอายุและผิวพรรณ มนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี บุตรก็มีอายุเพียง ๑๐๐ ปี.

เหลืออายุ ๑๐ ปี เกิดมิคสัญญี
    จักมีสมัยที่บุตรของมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญิงสาวอายุ ๕ ปี ก็มีสามีได้ ; รสเหล่านี้จะอันตรธานไป คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รสเค็ม ; เมล็ดพืช ชื่อกุทรุสกะ ไทยแปลกันว่าข้าวหญ้ากับแก้) จะเป็นโภชนะอันเลิศ เสมือนหนึ่งข้าวสุกแห้งข้าวสาลีและเนื้อสัตว์เป็นโภชนะอันเลิศในสมัยนี้

   ( คือของเลวสมัยนี้กลายเป็นของดีในสมัยเสื่อม ) ; กุสลกัมบถ ( ทางแห่งกุศล ) ประการ จะอันตรธาน อกุศลกัมบถ ( ทางแห่งอกุศล ) ๑๐ประการ จะรุ่งเรืองยิ่ง; แม้คำว่า กุศล ก็ไม่มี ผู้ทำกุศลจะมีที่ไหน ; การไม่ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในสมณะ ในพราหมณ์ การไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล จะได้รับการบูชาสรรเสริญ ซึ่งตรงกันข้ามกับสมัยปัจจุบันนี้; จะไม่มีคำว่า มารดา, น้า , บิดา , ป้า , อา , ภริยาของอาจารย์ , ภริยาของครู . โลกจะเจือปนกันเหมือนสัตว์ เช่น แพะ ไก่ สุกร; จักมีอาฆาต, พยาบาท, มุ่งร้ายกัน, คิดฆ่ากันอย่างรุนแรง , แม่คิดต่อลูก ลูกคิดต่อแม่ , ต่อคิดต่อลูก ลูกคิดต่อพ่อ , พี่ชายคิดต่อน้องหญิง น้องหญิงคิดต่อพี่ชาย.

  จะเกิดมีสัตถันตรกัปป์ ๕ .  คือกัปป์ที่อยู่ในระหว่างศัสตรา ๗ วัน คนทั้งหลายจะมีความสำคัญในกันและกันว่าเป็นเนื้อ ( มิคสัญญา ๖ .  ) จะมีศัสตรา อันคมเกิดขึ้นในมือ ฆ่ากันและกันด้วยสำคัญว่าเนื้อ.

กลับเจริญขึ้นอีก
    มีบุคคลบางคนหลบไปอยู่ในป่าดง พงชัฏ กินเหง้าไม้ ผลไม้ในป่า เมื่อพ้น   ๗ วันแล้ว ออกมา. ก็ดีใจร่าเริงที่รอดชีวิต จึงตั้งใจทำกุศลกรรม ละเว้นการฆ่าสัตว์ และบำเพ็ญกุศลกรรม ละเว้นอกุศลกรรม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อายุก็ยืนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง   ๘ หมื่นปี.

พระเจ้าจักรพรรดิ์อีกพระองค์หนึ่ง
    เมื่อมนุษย์มีอายุยืน   ๘ หมื่นปีนั้น หญิงสาวอายุ  ๕ พันปีจึงมีสามีได้. มนุษย์จะมีโรคเพียง   ๓ อย่าง คือ   ๑ . ความปรารถนา ( อยากอาหาร)   ๒. ความไม่อยากกินอาหาร ( เกียจคร้านอยากจะนอน )   ๓ . ความแก่. ชุมพูทวีปนี้จะมั่งคั่งรุ่งเรือง มีคามนิคมราชธานีแบบไก่บินถึง ( ใกล้เคียงกัน ) ยัดเยียดไปด้วยมนุษย์. กรุงพาราณสีจะเป็นราชธาณีนามว่า เกตุมตี อันมั่งคั่ง มีคนมาก อาหารหาง่าย. จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า สังขะ เป็นพระราชาผู้ปกครองโดยธรรม มีชัยชนะจบ  ๔ ทิศ ปกครองชนบทถาวรสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้งเจ็ด.

พระเมตไตรพุทธจ้า
   เมื่อมนุษย์อายุ ๘ หมื่นปีนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย จักบังเกิดในโลกเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ( ความรู้ ) จรณะ ( ความประพฤติ ) เป็นต้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย พร้อมทั้งอรรถะพยัญชนะ บริหารภิกษุสงฆ์มีพันเป็นอเนกเช่นเดียวกับที่เราบริหารภิกษุสงฆ์มีร้อยเป็น อเนก . พระเจ้าสังขจักรพรรดิ์จักให้ยกปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะให้สร้างขึ้น ครอบครอง แจกจ่ายทาน และออกผนวชในสำนักพระเมตไตรยพุทธเจ้า ในไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมด้วยความรู้ยิ่ง ด้วยพระองค์เอง ( คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ).

    ครั้นแล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายพึ่งตน พึ่งธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ และสอนให้ท่องเที่ยวไปในโคจรของบิดา ( ดำเนินตามพระองค์ ) ก็จักเจริญด้วยอายุ วรรณะ ( ผิวพรรณ ) สุข โภคะ ( ทรัพย์สมบัติ ) และพละ ( กำลัง ).

    ๑. ทรงแสดงการเจริญอิทธิบาท ( คุณให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔ ประการ ว่าเป็นเหตุให้ดำรงอยู่ได้ตลอดกัปป์หรือกว่ากัปป์.
   ๒. ทรงแสดงการมีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ว่าเป็นเหตุให้มีวรรณะ.
   ๓. ทรงแสดงการเจริญฌาณทั้งสี่ ว่าเป็นเหตุให้มีสุข.
   ๔. ทรงแสดงพรหมวิหาร ๔ ว่าเป็นเหตุให้มีโภคะ ( ทรัพย์สมบัติ ).
   ๕. ทรงแสดงการทำให้แจ้งเจโตวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ) ปัญญาวิมุติ ( ความหลุดพ้นเพราะปัญญา ) อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นเหตุให้มีพละ ( กำลัง ).


   ตรัสในที่สุดว่า ไม่ทรงเห็นกำลังอย่างอื่นสักอย่างหนึ่งที่ครอบงำได้ยากเท่ากำลังของมาร. เพราะสมาทานกุศลธรรม บุญก็จะเจริญยิ่ง.
   

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ที่พิมพ์ มานี้คือเอามาจากพระไตรปิฎกครับ คห. ที่เห็นว่าศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันจะสิ้นสุดที่ พศ. 5000 จึงไม่จริงครับ ที่ผมคำนวนไว้ตามเนื้อหาที่พิมพ์มานี้คืออย่างน้อยต้องอีกประมาณ 8 ล้านปีนับจากปัจจุบัน จึงจะถึงยุคพระศรีอารย์ฯครับ


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
พหุธาตุกสูตร

               อันตรธาน ๓              
               เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฏก ๓ ชื่อว่าปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อว่า ปฏิบัติ.

               ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติมีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจนว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียวในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราวก็มีน้อย.

               ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ (ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา.

               พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฏกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธและปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๗ ให้เกิดในสำนักของอาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่าน อาฬารดาบส บอกว่าไม่รู้. ต่อแต่นั้น พระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของอุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้.

               ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเอง พระบรมโพธิสัตว์ก็ทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นให้สำเร็จฉันใด ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่.

               อธิบายปริยัติอันตรธาน               
               ก็เมื่อใดปริยัตินั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้นพระอภิธรรมจักเสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐานจะอันตรธานก่อนกว่าทุกคัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะอันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อพระอภิธรรมปิฏกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฏกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้.

               ในปิฏกเหล่านั้น เมื่อพระสุตตันตปิฏกจะอันตรธานหายไป อังคุตตรนิกายย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่เอกาทสกนิบาตจนถึงเอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่จักกเปยยาลสูตรจนถึงโอฆตรณสูตร. ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่อินทริยภาวนาสูตรจนถึงมูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้น ทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ทสุตตรสูตรจนถึงพรหมชาลสูตร.

               ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑- และอาฬวกปุจฉา.
____________________________
๑- พม่า - สภิยปุจฉา

               ได้ยินว่า ระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้.
               ก็เมื่อปิฏกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฏกยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่

เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่ออุภโตวิภังค์อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกาอันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชาและอุปสมบทจักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนินไปได้ระยะกาลยาวนาน.

ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาวไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอันเสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะและคนสุดท้ายที่ทำลายศีล. จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.

               ปรินิพพาน ๓               
               ชื่อว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน ธาตุปรินิพพาน. ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้ว ณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปรินิพพานจักมีในอนาคต.

              พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน              
               ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุมกันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยังราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่างๆ กาล.

               พระธาตุทั้งหมด (จะรวม) เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระฉัพพรรณรังสี (รัศมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ.

               แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬจักประชุมกัน แสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพลว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินิพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามีและพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้นในพระธาตุทั้งหลายแล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก.

               เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป.

               เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันตรธานไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างนี้.

               ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

              เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติพร้อมกัน               
               ก็เพราะเหตุไร จึงไม่อุบัติไม่ก่อนไม่หลังกัน?
               เพราะไม่น่าอัศจรรย์.
               เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอัจฉริยมนุษย์.
               สมดังที่ตรัสไว้ว่า๑-
               ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมเป็นมนุษย์อัศจรรย์อุบัติขึ้น บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร? คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

____________________________
๑- องฺ. เอก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๑๔๑

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234&p=2


แท้จริงแล้ว ปัจจัยที่กำหนดอายุของพุทธศาสนา ก็คือ การอันตรธานของพระธาตุนั่นเอง

หลังจากนั้นใช่ว่า พระศรีอารย์จะอุบัติขึ้นทันที แต่จะเป็นช่วงที่ไม่มีพระพุทธเจ้า

และไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า ช่วงเวลานี้ เรียกว่า พุทธันดร กล่าวกันว่า เป็นช่วงที่ไม่ยาวนัก

ต่อเมื่อมนุษย์มีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี พระศรีอารย์จึงอุบัติขึ้น

 :25:

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง เชิญคลิกครับ

พระศรีอาริยเมตตรัย พระพุทธเจ้าองค์ต่อไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=132.msg381#msg381
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2011, 08:59:17 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขอแนะนำลิงค์นี้ครับ มีเรื่องพระศรีอารย์อยู่เพียบ http://www.metteya.org/

พระรูปพระศรีอารย์มีมานับพันนับร้อยปี่แล้ว เช่น จากซ้ายไปขวา ศรีลังกา ไทย(อีสาน) เนปาล ไทย(รัชการที่ 2) อินเดียและเกาหลี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

แนะนำให้อีกลิงค์ครับ เรื่อง
"เมื่อสิ้น ๕,๐๐๐ ปี จะมี “พุทธันดร” ขึ้นมาแทรก"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=476.0


คัดลอกจากหนังสือ "หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม" ฉบับพิเศษเล่ม ๒
หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระพุทธเจ้าแต่ละ พระองค์จะอุบัติขึ้นในโลกต้องมีเงื่อนไขคือ ยุคนั้นต้องเป็นยุคที่ไม่มีศาสนาพุทธเดิมหลงเหลืออยู่เลย ไม่มีหลักฐานการจารึกใดๆอยู่ทั้งสิ้น รวมทั้งอาจไม่มีศาสนาใดๆเลยก็ได้   ถ้าเป็นยุคเสื่อม อายุขัยมนุษย์เฉลี่ยต้องอยู่ที่ 100 ปีเป็นอย่างต่ำ  ถ้าเป็นยุคเจริญ อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ต้องไม่เกิน 80,000ปีครับ


ขอให้คุณ sakda ลองไปอ่านพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ 

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

จะพบว่า ในยุคที่มนุษย์มีอายุ ๙๐,๐๐๐ปี (เก้าหมื่นปี)  และ ๑๐๐,๐๐๐ ปี(แสนปี) ก็มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น

ยกตัวอย่างก็คือ พระทีปังกร ผู้พยากรณ์สุเมธดาบสเป็นองค์แรกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า มีอายุถึงแสนปี

และยังมีพระพุทธเจ้าอีกแปดพระองค์ ที่มีอายุถึงแสนปี อีกทั้งมนุษย์ทั้งหลายในยุคนั้นๆก็มีอายุแสนปี

คลิกดูรายละเอียดได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6874&Z=7263&pagebreak=0

ส่วนพระพุทธเจ้าที่มีอายุถึง เก้าหมื่นปีนั้น มีตัวอย่างก็คือ พระมงคลพุทธเจ้า คลิกดูรายละเอียดได้ที่

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=7320&Z=7378


 :welcome: ;) :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2011, 08:56:50 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ข้อมูล ครบถ้วน เลยคร้า....

อนุโมทนาสาธุ คร้า...

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากครับ ทำให้ผมตาสว่างเพิ่มขึ้น ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหลที่คน กุ กันขึ้นมา
ทำให้เบื่อไม่อยากไปอยู่กับพระพุทธเจ้า องค์ต่อไปแล้ว

 แต่ที่นี้ ผม มีความสงสัย ตั้งแต่เด็กมาจวนจะ 40 ปีทุกครั้ง ที่ยาย พ่อแม่ สอนให้เราอธิษฐาน สำเร็จธรรม ในยุคพระศรีอาริยเมตตรัย นี้คำอธิษฐาน นั้นย่อมส่งผลด้วยใช้หรือไม่ครับ ถ้าต้องการยกเลิก คำอธิษฐาน นั้นต้องทำอย่างไร ครับถึงจะมีผลได้สำเร็จธรรม ในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ในชาตินี้ และอย่าให้เกิน 1000 ปี นี้เลยครับ

 :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากครับ ทำให้ผมตาสว่างเพิ่มขึ้น ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหลที่คน กุ กันขึ้นมา
ทำให้เบื่อไม่อยากไปอยู่กับพระพุทธเจ้า องค์ต่อไปแล้ว

 แต่ที่นี้ ผม มีความสงสัย ตั้งแต่เด็กมาจวนจะ 40 ปีทุกครั้ง ที่ยาย พ่อแม่ สอนให้เราอธิษฐาน สำเร็จธรรม ในยุคพระศรีอาริยเมตตรัย นี้คำอธิษฐาน นั้นย่อมส่งผลด้วยใช้หรือไม่ครับ ถ้าต้องการยกเลิก คำอธิษฐาน นั้นต้องทำอย่างไร ครับถึงจะมีผลได้สำเร็จธรรม ในพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ในชาตินี้ และอย่าให้เกิน 1000 ปี นี้เลยครับ

 :s_hi: :c017:

อยากให้คิดว่า คำอธิษฐานหรือความปรารถนาของเราเป็นสัมมาทิฐิ เป็นสัมมาวาจา ซึ่งล้วนเป็นเรื่องดี

ดังนั้นไม่ควรกังวัลเรื่องคำอธิษฐานเดิม อธิษฐานใหม่ได้ครับ ก่อนอธิษฐาน ให้กล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย


การประพฤติตน ตามมรรคมีองค์แปด เป็นซึ่งที่ทุกคนทราบว่า เป็นทางสู่นิพพาน

ขอให้พิจารณามรรคแปดโดยละเอียดว่า เราพร่องข้อไหน คนในสังคมเมืองส่วนใหญ่จะขาด

เรื่อง "จิตตสิกขา (วายามะ สติ สมาธิ)" โดยเฉพาะสัมมาสมาธิ

กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มีวิธีการสอนสมาธิที่พิสดาร

หากสนใจ วันที่ ๑๒ มิถุนายนนี้ เชิญที่บ้านคุณจิตตรี(สระบุรี)


อีกเรื่องที่สำคัญมาก ก็คือ ขอให้พิจารณาอินทรีย์ ๕(ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)

ทั้งห้าข้อต้องไปด้วยกัน การจะบรรลุธรรมได้ ต้องมีอินทรีย์ที่แก่กล้า

การบรรลุธรรมภายใน ๗ เดือน มีจริงครับ ไม่ต้องรอให้นานถึง ๑,๐๐๐ ปี

ขอให้ไปอ่านพระสูตรนี้ครับ http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=442.0

ผมแนบไฟล์หนังสือมาให้เล่มครับ

 :welcome: ;) :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
รับกรรมฐานให้ถูกกับจริตของตน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3660.0

สติปัฏฐาน แบ่งตาม "จ ริ ต" ?..และ อ า นิ ส ส ง ส์.. ๗ ๖ ๕ ๔..?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3485.0

ขอแนะนำให้คุณ sakda อ่านครับ น่าจะมีประโยชน์

 :welcome: ;) :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ