ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่อง นิวรณ์ ขอให้พระอาจารย์ อธิบายคำว่า นิวรณ์ ด้วยคะ  (อ่าน 2597 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่า นิวรณ์ ยังจำไม่ได้ และ บางนิวรณ์ ก็ไม่เข้าใจ ต้องการให้พระอาจารย์ แนะนำ เรื่อง นิวรณ์ ด้วยคะ

 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 23, 2011, 01:21:35 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คือนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ

๑.  กามฉันท์นิวรณ์               
๒.  พยาบาทนิวรณ์
๓.  ถีนมิทธะนิวรณ์               
๔.  อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์
๕.  วิจิกิจฉานิวรณ์               

กามฉันท์นิวรณ์ เป็น อย่างไร
    ความพอใจคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย    ความกำหนัดคือความใคร่ ในกามทั้งหลายความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย    ตัณหาคือความใคร่ ในกามทั้งหลายสิเน่หา คือความใคร่ ในกามทั้งหลาย        ความเร่าร้อน คือความใคร่ ในกามทั้งหลายความสยบ คือความใคร่ ในกามทั้งหลาย        ความหมกมุ่น คือความใคร่ ในกามทั้งหลายอันใดนี้ เรียก กามฉันท์นิวรณ์




พยาบาทนิวรณ์ เป็นไฉน
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า    ผู้ใดได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า    ผู้นี้กำลังทำความเสียแก่เรา
อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า    ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา
หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง  ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะที่ว่าเช่นนี้อันใด การคิดประทุษร้ายกิริยาที่คิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า พยาบาทนิวรณ์




ถีนมิทธะนิวรณ์ เป็นอย่างไร
    ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ คือ ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย ความหดหู่ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่ ความซบเซา อาการที่ซบเซา ภาวะที่ซบเซา แห่งจิตอันใด นี้เรียกว่า ถีนะ
    มิทธะ คือ ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่งานแห่งนามกาย ความปกคลุม ความหุ่มห่อ ความปิดบังไว้ภายใน ความง่วงเหงา ความหาวนอน ความโงกง่วง ความหาวนอน อาการที่หาวนอน ภาวะที่หาวนอน อันใดนี้เรียกว่า มิทธะ
๐ถีนะ และ มิทธะ ว่าดังนี้ รวมเรียกว่า ถีนะมิทธะนิวรณ์




อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ เป็นอย่างไร
อุทธัจจะกุกกุจจะ นั้น แยกเป็น อุทธัจจะ อย่างหนึ่ง กุกกุจจะ อย่างหนึ่ง อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า อุทธัจจะ
    กุกกุจจะ คือ ความสำคัญในของว่าควรในของที่ไม่ควร ความสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ความสำคัญว่ามีโทษในของที่ไม่มีโทษ ความสำคัญในของที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ การรำคาญ กิริยาที่ความรำคาญ ความเดือดร้อนใจ ความยุ่งใจ ซึ่งมีลักษณะเช่นว่านี้อันใด เรียกว่า กุกกุจจะ
อุทธัจจะ และ  กุกกุจจะ รวมกันเรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์




วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอย่างไร
    ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและในส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง การเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น ๒ แง่ ความเห็นเหมือนทาง ๒ แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุตติได้ ความกระด้างแห่งจิตใจ ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้ เรียกว่า วิจิกิจฉานิวรณ์


ที่มาของคำตอบในเรื่อง นิวรณ์
( เข้าใจว่าบางท่านอย่างไม่ได้อ่านหนังสือเล่ม เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ได้แจกทั่วไป )

แต่สามารถ ดาวน์โหลดได้ ติดตามได้ที่ลิงก์นี้

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=55.0

จากหนังสือ สมถะ วิปัสสนาจากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวรAeva Debug: 0.0009 seconds.Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 23, 2011, 01:23:30 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ