ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาชวนเพื่อน ฝึกสมาธิ มักได้รับคำปฏิเสธว่า กลัวเป็นบ้า จิตฝั่นเฟือน  (อ่าน 2960 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เวลาชวนเพื่อน ฝึกสมาธิ มักได้รับคำปฏิเสธว่า กลัวเป็นบ้า จิตฝั่นเฟือน

  อยากถามพระอาจารย์ ว่า

   1. คนฝึกสมาธิ นั้น จะเป็นโรคจิต นี้จริงหรือ ป่าวครับ

   2. เราจะอธิบายอย่างไร ให้เพื่อนทราบว่า การฝึกสมาธิ นั้นไม่ทำให้เป็นบ้า

   :25: :25:
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อิอิ  อิอิ.......ถึงจะบ้าก็เรียกว่าบ้าทางสมาธิ .....ดีกว่าบ้าหอบฟางเป็นไหนๆ....... :d030:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ก็เป็นปัญหา ที่เป็นมาแต่ไหน แต่ไร ? และ ก็ยังเป็นเช่นนี้ ต่อไป

 ถ้าถามชวน เพื่อน ไปดูหนัง เล่นเกมส์ กับ ชวนเพื่อน มา นั่งสมาธิ อันไหน ง่ายกว่า


   ความดี อัน คนดี ทำได้ง่าย

   ความไม่ดี อัน คนไม่ดี ทำได้ง่าย

  จิตของปุถุชน ย่อมไหลลง สู่ ห้วงแห่งตัณหา เหมือน น้ำที่ไหลลงไปสู่เบื้องต่ำคือมหาสมุทร ฉันใด

  จิตของพระโยคาวจร ย่อมไหลทวนกระแส เหมือนน้ำที่เหือดหายไปฉันนั้น


==============================================================

วิธีการ ชักชวนเพื่อน

 1. พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ชักชวนในธรรม บ่อย ๆ เดี๋ยวก็ต้องทำตามสักครั้ง

 2. บารมีธรรม ที่สั่งสมมาทั้งในอดีต และ ปัจจุบัน นั้นไม่เท่ากัน 
    ( ในยุคนี้เป็น ยุค เวไนยะ แล้ว ไม่ใช่ อุคติตัญญู หรือ วิปจิตัญญู )

 3. พัฒนาสมาธิ ที่เราเป็นหลัก เพราะถ้าเรามีสมาธิ นั่นหมายความว่า เรากำลังแสดงผลของสมาธิ
    ให้เป็นที่ประจักษ์ แก่เพื่อน

ถึงไม่ชักชวน ทุกคนก็ต้องปฏิบัติ สมาธิ

1.คนเราทุกคน ไม่มีใคร ไม่ได้ ปฏิบัติ สมาธิ แต่ สมาธิ ที่ฝึกฝนมานั้นล้วนแล้วมีรูปแบบแตกต่างกัน
  ไป บางคนก็ฝึกฝนจากการฟัง การรำ การร้อง การสวด การเรียน เพราะสมาธิเป็นเรื่องที่มีอยู่โดย
   ธรรมชาติแห่งจิต สังเกต ว่า ยามใด ที่เรา มีจิตเป็นสมาธิ การงานนั้น ก็จะทำได้ดี
   ยามใด ที่จิตฟุ้งซ่าน ยามนั้นงานนั้น ย่อมทำได้ไม่ดีั อันนี้ไม่แยกสมาธิ ที่เป็น สัมมา และ มิจฉา
2.มิจฉาสมาธิ อาศัย ตัณหา เป็นเครื่องล่อ ให้ทำ เช่น คนเล่นไพ่ เป็นวันเป็นคืน เด็กเล่นเกมส์ เป็นวันเป็นคืน
  เป็นต้น ทรงสมาธิ ได้ถึงแม้จะผิด แต่ก็เป็นการเรียกพลังจิตมาใช้งาน นาน ๆ ไป สุขภาพ ก็เสื่อม

3.สัมมาสมาธิ อาศัย ปัญญา เป็นเครื่องนำจิต ไม่มีสภาวะตัณหา เป็นเครื่องล่อ ผู้ฝึกย่อมได้ 3 ส่วน
  3.1 ส่วนเพิ่มคุณภาพจิต ทำให้มีสุขภาพ ดี เพราะกรรมฐานสมาธินั้น จักฟอกธาตุ ฟอกขันธ์ ให้บริสุทธิ์
  3.2 สามารถ ลด วิบากกรรม บางส่วนได้ เพราะผู้ฝึก สมาธิ นั้นจักมุ่งมั่นใน กุศลกรรมบถ 10 คือเป็นผู้รักษา ศีลของพรหม
  3.3 จักยุติ สังสารวัฏ เพราะสมาธิ ย่อมทำให้มองเห็นตามความเป็นจริง ในอริยสัจจะ 4 ที่พระพุทธเจ้าทรง
ตรัสแสดงไว้แล้ว ด้วยเป้าหมาย คือ พระนิพพาน

ดังนั้น การชักชวน สำหรับพระอาจารย์นั้นไม่มีความสำคัญ

      ความสำคัญ อยู่ที่เรา ภาวนา

      การชักชวน ให้คนสนใจธรรม ให้ทำเป็นหน้าที่ ๆ ไม่ต้องรับผิด และ รับชอบ เถิด จักเข้าใจ ด้วยปัญญา


   เจริญพร พอให้ทราบวิธีการ และ จุดมุ่งหมายของสมาธิ

   ;)





บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ