ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ควรแบ่งเวลา อย่างไรในการทำสมาธิ ครับ ที่จะภาวนาได้ผล  (อ่าน 3626 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ควรแบ่งเวลา อย่างไรในการทำสมาธิ ครับ ที่จะภาวนาได้ผล

  ผมคิดว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการแบ่งเวลาไม่ถูก ใช่หรือป่าวครับ

   :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การแบ่งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา
   พระโยคาวจร ควรแบ่งกลางคืน และกลางวันออกเป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระโยคาวจรไม่พึงทำความหลับให้มาก
   พระโยคาวจร ควรชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม เครื่องกางกั้น(นิวรณ์) ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน ควรชำระจิตให้บริสุทธิ์ตลอดวัน และธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ตลอดปฐมยามแห่งราตรี แล้วสำเร็จสีหไสยา คือนอน คือนอน โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับตื่นขึ้นแล้วควรชำระจิตให้บริสุทธิ์จากเครื่องกางกั้น ด้วยการจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
   พระโยคาวจรไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียรส่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความลวง ความหัวเราะ การเล่นเมถุนธรรมอันเป็นไปกับด้วยการประดับฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทส
พระพุทธเจ้า ทรงเตือนให้ ลุกขึ้นนั่งภาวนา
   เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไรด้วยการหลับ เพราะความหลับจะเป็นประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อนเพราะโรคคือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูกลูกศร คือ ราคะ เป็นต้น แทงแล้วย่อยยับอยู่ เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จงหมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด มัจจุราช คือความตายอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาทแล้ว ยังเธอทั้งหลายผู้ตกอยู่ในอำนาจ ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ ผู้มีความต้องการอาศัยรูปเป็นต้นดำรงอยู่ ขณะเวลาอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียดกันในนรกเศร้าโศกอยู่ ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้องแล้วเพราะความมัวเมาในวัย เพราะฉะนั้น กุลบุตร ผู้เป็นบัณฑิตพึงถอนลูกศรคือ กิเลสมีราคะเป็นต้นของตนเสีย ด้วยความไม่ประมาทและด้วยอวิชชา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2010, 09:30:45 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสูตร เป็นข้อปฏิบัติแบบเอาจริง เอาจัง เลยนะ สำหรับคนที่ทำงานอยู่ก็จักไม่ได้ตามนั้น

แม้พระสงฆ์ ที่ปฏิบัติกิจวัตรอยู่ตามนั้นก็ยังทำตามไม่ได้

ต้องเป็นพระภิกษุ ที่ปลีกวิเวก จากหมู่คณะ เท่านั้น ที่จะสามารถทำได้อย่างนี้

   ดังนั้นในครั้งพุทธกาล  เมื่อภิกษุทั้งหลาย เรียนหลักธรรมและกรรมฐาน อันสมควรแก่ฐานะ แล้ว ก็จะพากัน
กราบลา อุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อปลีกวิเวก ในป่า ที่โคนไม้ เรือนว่าง ป่าช้า ป่าชัฏ เป็นต้น เพื่ออาศัยวิเวก

 ความสงบ ความเงียบ ความสงัด แม้ผู้ปฏิบัติได้แล้ว ย่อมไม่มีผล

 แต่ สัปปายะเช่นนี้ กับมีความสบายแก่ ผู้ปรารถนาจากวิราคะ และ มีกรรมฐาน เบื้องต้นที่ได้แล้ว

  หากยังปฏิบัติ กรรมฐานในเบื้องต้น ยังไม่ได้ การปลีกวิเวกนั้น จักทำให้ฟุ้งซ่านได้

  ความฟุ้งซ่าน นี้สำคัญมาก เพราะหากจิตฟุ้งซ่านมาก ๆ แล้วย่อมทำให้ เป็นบ้า วิกลจริตได้


 เมื่อครั้งอาตมา เดินทางไปสวนโมกขพลาราม ในครั้งนั้นได้มีพระขอไปด้วย 1 รูป ท่านก็ไปอยู่ที่นั่นได้ 3 เดือน

ท่านก็ว่าตัวท่านปฏิบัติ ได้สำเร็จแล้ว ท่านเดินแก้ผ้า ไปทั่ว จนเขาต้องจับท่านส่งโรงพยาบาล บ้า อันนี้ที่เล่าให้ฟัง

เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะพระอาจารย์ก็เคยผ่านสภาวะเช่นนั้นมาแล้วเหมือนกัน ความเงียบย่อมเป็นอุปสรรค

กับบุคคลผู้มีจิตยังไม่ตั้งมั่น แต่พระอาจารย์ ใช้การเดินให้เหนื่อย เพลียหลับ อย่างนี้ แต่ก็บอกตรง ๆ ว่าการเดิน

จาริก 9 เดือน ไม่ได้ดับกิเลสได้จริง เพียงแต่ ข่มกิเลส ไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งตอนนั้นพลาดเรื่องการฝึกจิต

ให้เป็นสมาธิ เน้นแต่วิปัสสนามากเกินไปทำให้ จิต ไม่มีความแข็งแกร่ง วันนี้ย้อนหลังไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว

 พระอาจารย์ จึงเข้าใจ และ ปฏิบัติในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ แล้ว เจริญ

วิปัสสนา จึงทำให้เกิดความเ้ข้าใจ ต้องลองทำ ถึงจะรู้ พูดให้ฟัง ก็คงเข้าใจอยาก เพราะสมมุติบัญญัติ ไม่สามารถ

อธิบาย ปรมัตถ์สัจจะ ได้ครบ


   เอาเป็น ว่า สั่งสม สมาธิให้มากไว้ จะดีกว่า สั่งสมปัญญา ฝ่ายเดียว

    ทีนี้ จิต จะเป็น สมาธิ ได้ ก็มาจาก ศีล เป็นผู้สนับสนุน ด้วย

    พิจารณา ให้ดีแล้ว ศีล ไปสู่ สมาธิ   สมาธิ ไปสู่ ปัญญา ทั้งสามสิ่ง ขาดกันไม่ได้

   ในการจางคลายจาก กิเลส


     ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้รับคำแนะนำที่ดี คร้า...

สาธุ สาธุ สาธุ
 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถึงแม้จะเป็นคำแนะนำ ที่ดี แต่ตามความเป็นจริง เราตามอย่างพระไม่ได้หรอกครับ

เพราะว่าพระท่านไม่ได้ประกอบอาชีพ นะครับ

เราอุบาสก อุบาสิกา ต้องประกอบอาชีพ ครับ

ผมว่า ควรปฏิบัติ ตามความเพียร 4 ดีกว่า นะครับ

  คือ 1. ปฏิบัติละความชั่ว ที่มีในใจให้หมดไป และส่งออกไป ที่ กาย วาจา

      2. ปฎิบัตอย่าให้ความชั่ว เกิดขึ้นอีก

      3. ปฏิบัตทำความดี ให้เกิดขึ้นในใจ และส่งออกไป ที่ กาย วาจา

      4. ปฏิบัติรักษาความดี อันเกิดขึ้นแล้ว ให้มีอยู่ ต่อไป

   :)
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่