ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก (โดยพระมหาวีระ ถาวโร)  (อ่าน 4362 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก
     บางคนชอบแบบสุกเอาเผากิน เรื่องความละเอียดเรียบร้อย การรู้เล็กรู้น้อยแสดงฤทธิ์ อวดเดชเดชาอะไรนั้น ไม่มีความต้องการ หวังอย่างเดียวคือความบรรลุผล ท่านประเภทนี้พระพุทธเจ้ามีแบบปฏิบัติไว้ให้เรียกว่า สุกขวิปัสสโก คือ ปฏิบัติแบบสบาย เริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี้ นักปฏิบัติต้องสนใจเป็นพิเศษ ถ้าหวังผลในการปฏิบัติแล้ว อย่าให้ศีลบกพร่องเป็นอันขาด แม้แต่ด่างพร้อยก็อย่าให้มี ถ้าท่านเห็นว่าศีลเป็นของเล็กน้อย ปฏิบัติยังขาด ๆ เกิน ๆ แล้ว ท่านไม่มีหวังในมรรคผลแน่นอน เมื่อมีศีลครบถ้วนบริสุทธิ์ผุดผ่องดีแล้ว ท่านก็ให้เจริญสมาธิ ตอนสมาธินี้ ท่านฝ่ายสุกขวิปัสสโกท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริญวิปัสสนาญาณควบกันไปเลย คุมสมาธิบ้าง เจริญวิปัสสนาบ้าง พอสมาธิที่รวบรวมได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน วิปัสสนาก็มีกำลังตัดกิเลสได้ จะได้มรรคผลก็ตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌานเพียงใด จะได้มรรคผลไม่ได้ นี้เป็นกฎตายตัว เพราะมรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ ฌานนี้จะบังเกิดขึ้นเมื่อจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ คือเกือบถึงปฐมฌาน ห่างกันระหว่างปฐมฌานกับอุปจารฌานนั้น เพียงเส้นผมเดียวเท่านั้น จิตเมื่อตั้งมั่นในอุปจารสมาธิแล้ว ก็จะเกิดทิพยจักษุฌาน คือเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์ และได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เพราะตามธรรมดาจิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้ว ที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์

คืออกุศลหุ้มห่อไว้ ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่มีขอบเขต ความผูกโกรธคือพยาบาทจองล้างจองผลาญ ความง่วง เมื่อขณะปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึกสมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือ จะสำเร็จหรือ ทำอย่างนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ความสงสัย ไม่แน่ใจอย่างนี้ เป็นนิวรณ์กั้นฌานไม่ให้เกิด รวมความ แล้ว ทั้งห้าอย่างนี้นั่นแหละ แม้เพียงอย่างเดียว ถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ฌานจะไม่เกิด จะคอยกีดกันไม่ให้ จิตผ่องใส มีอารมณ์เป็นทิพย์ตามสภาพปกติได้ จิตเมื่อถูกอกุศลห้าอย่างนี้หุ้มห่อก็มีอารมณ์มืดมนท์รู้สิ่งที่เป็น ทิพย์ไม่ได้เพราะอำนาจอกุศลคือนิวรณ์ห้านี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตทรงอารมณ์ของฌานไว้ได้เท่านั้น ถ้า จิตทรงอารมณ์ปฐมญานไม่ได้ จิตก็ต้องตกเป็นทาสของ นิวรณ์ อารมณ์ปฐมฌานนั้นมี ๕ เหมือนกัน คือ
     ๑. วิตก คำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกตลอดเวลา
     ๒. วิจาร ใคร่ครวญกำหนดรู้ตามในองค์กรรมฐานนั้น ๆ ไม่ให้บกพร่องตรวจตราพิจารณาให้ครบถ้วนอยู่เสมอๆ
     ๓. ปีติ มีความเอิบอิ่มรื่นเริงหรรษา ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
     ๔. สุข เกิดความ สุขสันต์หรรษาทางกายอย่างไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อนมีความสุขสดชื่นบอกไม่ถูก
     ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์มั่นคงในองค์กรรมฐาน จิตกำหนดตั้งมั่นไม่คลาดจากองค์กรรมฐานนั้นๆ
     ทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงตอนนี้จิตก็เป็นทิพย์มาก สามารถกำหนดจิตรู้ในสิ่งที่เป็น ทิพย์ได ้ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณเป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่าน กล่าวไว้ว่าเมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มีญาณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็ทรงหมายเอาญาณที่เป็นทิพย จักษุญาณนี้ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนวิสุทธิ วิมุตติแปลว่า หลุดพ้น ญาณ แปลว่า รู้ ทัสสนะ แปลว่า เห็น วิสุทธิ แปลว่า หมดจดอย่างวิเศษ คือ หมดไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอก ไว้เพื่อรู้)
     ฉะนั้น ท่านสุกขวิปัสสโก ถึงแม้ท่านจะรีบปฏิบัติแบบรวบรัดอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องอาศัยฌานในสมถะจนได้ แต่ได้เพียงฌานเด็กๆ คือปฐมฌาน เป็นฌานกระจุ๋มกระจิ๋มเอาดีเอาเด่นในเรื่องฌานไม่แน่นอนนัก กล่าวโดยย่อ ก็คือ
  ๑. ท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ ชนิดไม่ทำเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีในเมื่อคนอื่นทำบาป
  ๒. ท่านเจริญสมาธิควบกับวิปัสสนา จนสมาธิรวมตัวถึงปฐมฌานแล้ว ท่านจึงจะได้สำเร็จมรรคผล
     ท่านสุกขวิปัสสโก มีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านจึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก แปลว่า บรรลุแบบง่ายๆ ท่านไม่มี ฌานสูง ท่านไม่มีญาณพิเศษอย่างท่านวิชชาสาม ท่านไม่มีฤทธิ์ ท่านไม่มีความรู้พิเศษอะไรทั้งสิ้น เป็นพระ อรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล

บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
๒. อัชฌาสัยเตวิชโช (โดยพระมหาวีระ ถาวโร)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 07:03:44 pm »
0
๒. อัชฌาสัยเตวิชโช
     อัชฌาสัยเตวิชโช หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชชาสาม คือทรงคุณสามประการ ในส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้
     ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติที่แล้วๆ มาได้
     ๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
     ๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป
     เมื่อพิจารณาตามคุณพิเศษสามประการนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าท่านที่มีอุดมคติในด้านเตวิชโชนี้ ท่านเป็นคน อยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อน จะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิดก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจ ดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้ แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมาได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
     ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้าเลยนั้น ท่านประเภท นี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทางปลายทางเสียก่อน ถ้าต้องทำ แบบคลุมหน้าเดิน

อย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคาญใจหยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วนใหญ่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่ เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้กรรมฐานประเภททิพยจักษุญาณ หรือมโนมยิทธิ เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ด เหนื่อย จะยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้

บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก (โดยพระมหาวีระ ถาวโร)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:17:20 am »
0
อนุโมทนา สาธุ

 :25:
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา