ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สาระธรรมะวันนี้ "ธรรมสังเวช เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนา"  (อ่าน 10342 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ธรรมะวันนี้ "ธรรมสังเวช เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนา"


  หลายท่านอยากรู้ว่า อะไรเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติธรรม และเป็นเหตุให้การภาวนาธรรมทั้งปวง ไม่เสื่อมคลายลง ซึ่งหลายท่านเกิดความสงสัยแม้กระทั่งตนเอง และ ธรรมะ ว่าควรจะทำความเพียรอย่างไรที่จะไม่เสื่อมคลายวันนี้ จึงจะได้ตอบคำถามของท่านอีกหลายท่าน คราเดียวกัน

   ธรรมทั้งปวง ล้วน มีเหตุ และ ผล ในตัว ไม่มีธรรม ใดเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยปัจจัยเนื่องซึ่งกันและกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธรรม ฝ่ายอกุศล ก็ต้องมีเหตุปัจจัย หนุนเนื่องด้วยกัน และ ธรรมที่เป็น กุศล ด้วยก็เช่นกัน ก็ต้องมีธรรมที่ เป็นเหตุปัจจัยสนับสนุน ด้วยเช่นกัน

   ธรรมที่จะทำให้ ธรรม อื่น ๆ ไม่ถดถอยลง เรียกว่า ธรรมสังเวช ภาษา ทางการเรียกว่า นิพพิทา

   ธรรมสังเวช หมายถึง ความสลดใจ  นิพพิทา หมายถึง ความหน่าย
   
   ธรรมสังเวช เป็น เหตุ  นิพพิทา เป็น ผล

   การพอกพูน ธรรมสังเวช เพื่อให้เกิดนิพพิทา จึงเป็นการสมควร

    วิธีการ พอกพูน ธรรมสังเวช
   
         1.จินตา คือ การพิจารณา พิจารณา รูป และ นาม ขันธ์ 5 พิจารณาอย่างไร พิจารณาว่า มีความเกิด เป็นธรรมดา เป็นต้น
   
         2.มนตรา คือ การสวดบทพิจารณา เช่น บทพิจารณาสังขาร บทอภิณหปัจจเวก เป็นต้น

         3.อักขรา คือ การศึกษา อักขระของพระธรรม มีเนื้อหา ด้วย ธรรม 2 ประการ คือ น้อมไว้ในใจ กระทำไว้ด้วยเหตุสมควร
 
         4.สุตา คือ การฟัง สดับพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยอาการเคารพ

         5.เสวนา คือ การสนทนากับ กัลยาณมิตร

         6.ภาวนา คือ การหมั่นภาวนา ให้รู้แ้จ้ง เห็นตามความเป็นจริง


  เหตุ 6 อย่างนี้เป็น เหตุให้เกิด ธรรมสังเวช ถ้าบุคคลใดเว้นจากเหตุ 6 ประการนี้ ธรรมสังเวช ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบุคคลนั้น

   ดังนั้นท่ีานทั้งหลาย ที่ยังขาดธรรมสังเวช ข้อใด หรือ มีข้อใดเกินไป ก็ต้องปรับสมดุลย์ ส่วนใหญ่ ข้อที่ 6 จะมีน้อยกันเกินไป เท่าที่พบและประสบ

   เจริญธรรม


    ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 09:43:25 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
"ธรรมสังเวช เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนา" อากังเขยยสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 09:19:23 am »
0
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์ 
      [๑.  มูลปริยายวรรค]
      ๖.  อากังเขยยสูตร


       [๖๕]    ภิกษุทั้งหลาย
                          ๑.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงเป็นที่รัก    เป็นที่ชอบใจ    เป็นที่เคารพ
                                    และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’    ภิกษุนั้นพึงทำศีล
                                    ให้บริบูรณ์    หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน    ไม่เหิน
                                    ห่างจากฌาน    ประกอบด้วยวิปัสสนา(๑)  เพิ่มพูนเรือนว่าง(๒)
                          ๒.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงได้จีวร    บิณฑบาต    เสนาสนะ    และ
                                    คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    หมั่นประกอบ
                                    ธรรมเครื่องสงบใจภายในตน    ไม่เหินห่างจากฌาน    ประกอบด้วย
                                    วิปัสสนา    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                          ๓.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงบริโภคจีวร    บิณฑบาต    เสนาสนะ
                                    และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของชนเหล่าใด    ขอสักการะของชน
                                    เหล่านั้น    พึงมีผลมาก    มีอานิสงส์มาก’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์
                                    หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน    ไม่เหินห่างจากฌาน
                                    ประกอบด้วยวิปัสสนา    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                          ๔.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘ญาติสาโลหิต(๓) เหล่าใดผู้ล่วงลับไปแล้ว    มีจิต
                                    เลื่อมใส    ระลึกถึงเราอยู่    ขอการระลึกถึงเราของญาติสาโลหิต
                                    เหล่านั้นพึงมีผลมาก    มีอานิสงส์มาก’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์
                                    หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน    ไม่เหินห่างจากฌาน
                                    ประกอบด้วยวิปัสสนา    เพิ่มพูนเรือนว่าง

 


(๑) วิปัสสนา  หมายถึงอนุปัสสนา  ๗  ประการ  คือ  (๑)  อนิจจานุปัสสนา  (พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง)
   (๒)  ทุกขานุปัสสนา  (พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์)  (๓)  อนัตตานุปัสสนา  (พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน)
   (๔)  นิพพิทานุปัสสนา  (พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย)  (๕)  วิราคานุปัสสนา  (พิจารณาเห็นความคลาย
   กำหนัด)  (๖)  นิโรธานุปัสสนา  (พิจารณาเห็นความดับกิเลส)  (๗)  ปฏินิสสัคคานุปัสสนา  (พิจารณาเห็น
   ความสลัดทิ้งกิเลส)  (ม.มู.อ.  ๑/๖๕/๑๖๙)
(๒) เพิ่มพูนเรือนว่าง  ในที่นี้หมายถึงการเรียนกัมมัฏฐาน  คือ  สมถะและวิปัสสนา  เข้าไปสู่เรือนว่างนั่ง
   พิจารณาอยู่ตลอดคืนและวัน  แล้วบำเพ็ญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน  บำเพ็ญอธิปัญญาสิกขาด้วย
   วิปัสสนากัมมัฏฐาน  (ม.มู.อ.  ๑/๖๔/๑๖๙-๑๗๐,  องฺ.ทสก.อ.  ๓/๗๑/๓๕๗)
(๓) ญาติ  หมายถึงบิดามารดาของสามี  หรือบิดามารดาของภรรยาและเครือญาติของทั้ง  ๒  ฝ่าย
   สาโลหิต  หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน  ได้แก่  ปู่หรือตา  เป็นต้น  (ม.มู.อ.  ๑/๖๕/๑๗๒,  ม.มู.ฏีกา
   ๑/๖๕/๓๒๙)


      [๖๖]    ภิกษุทั้งหลาย
                          ๕.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงข่มความไม่ยินดี(ในกุศลธรรม)    และ
                                    ความยินดี(ในกามคุณ    ๕)    อนึ่ง    ความไม่ยินดี    ไม่พึงครอบงำเรา
                                    เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นอยู่’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้
                                    บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                          ๖.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงเอาชนะความขลาดกลัว    อนึ่ง    ความ
                                    ขลาดกลัวไม่พึงครอบงำเรา    เราพึงเอาชนะ    ครอบงำ    ย่ำยีความ
                                    ขลาดกลัวที่เกิดขึ้นอยู่’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ
                                    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                          ๗.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงได้ฌาน    ๔    ซึ่งเป็นอภิเจตสิก(๑)    เป็น
                                    เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน    ตามความปรารถนา    ได้โดยไม่ยาก
                                    ได้โดยไม่ลำบาก’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูน
                                    เรือนว่าง
                          ๘.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงบรรลุวิโมกข์ที่สงบ    เป็นอรูปฌาน
                                    เพราะก้าวล่วงรูปาวจรฌานด้วยนามกาย’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้
                                    บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูนเรือนว่าง
            [๖๗]    ภิกษุทั้งหลาย
                          ๙.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงเป็นพระโสดาบัน(๒)    เพราะสังโยชน์๓    (๓)

 


(๑) อภิเจตสิก  หมายถึงอุปจารสมาธิ  (ม.มู.อ.  ๑/๖๖/๑๗๓)
(๒) โสดาบัน  หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์  ๘  เพราะคำว่า  โสตะ  เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์  ๘
   (อภิ.ปญฺจ.อ.  ๓๑/๕๓  ดูประกอบใน  สํ.ม.  (แปล)  ๑๙/๑๐๐๑/๔๙๕)
(๓) สังโยชน์  หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,  ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์  มี  ๑๐  ประการ  คือ  (๑)  สักกายทิฏฐิ
   (๒)  วิจิกิจฉา  (๓)  สีลัพพตปรามาส  (๔)  กามฉันทะหรือกามราคะ  (๕)  พยาบาทหรือปฏิฆะ  (๖)  รูปราคะ
   (๗)  อรูปราคะ  (๘)  มานะ  (๙)  อุทธัจจะ  (๑๐)  อวิชชา
         ๕ ข้อต้นชื่อโอรัมภาคิยสังโยชน์  ๕  ข้อหลังชื่ออุทธัมภาคิยสังโยชน์  พระโสดาบันละสังโยชน์  ๓
   ข้อต้นได้  พระสกทาคามีทำสังโยชน์ที่  ๔  และที่  ๕  ให้เบาบาง  พระอนาคามีละสังโยชน์  ๕  ข้อต้นได้หมด
   พระอรหันต์ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง  ๑๐  ข้อ  (องฺ.ทสก.(แปล)  ๒๔/๑๓/๒๑)



 ประการสิ้นไป    ไม่มีทางตกต่ำ(๑)    มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
                                    สัมโพธิ(๒)ในวันข้างหน้า’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ
                                    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                      ๑๐.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงเป็นพระสกทาคามี    เพราะสังโยชน์
                                    ๓    ประการสิ้นไป    (และ)เพราะทำราคะ    โทสะ    โมหะให้เบาบาง
                                    กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว    แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’    ภิกษุนั้น
                                    พึงทำศีลให้บริบูรณ์    หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน
                                    ไม่เหินห่างจากฌาน    ประกอบด้วยวิปัสสนา    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                      ๑๑.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงเป็นโอปปาติกะ(๓)    เพราะโอรัมภาคิย-
                                    สังโยชน์    ๕    ประการสิ้นไป    ปรินิพพานในพรหมโลกนั้น    ไม่ต้อง
                                    กลับมาจากโลกนั้นอีก’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูน
                                    เรือนว่าง
            [๖๘]    ภิกษุทั้งหลาย
                      ๑๒.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงบรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง    คือ
                                    คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้    หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
                                    แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้    ทะลุฝา    กำแพง    และภูเขา
                                    ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้    ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดิน
                                    เหมือนไปในน้ำก็ได้    เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบน
                                    แผ่นดินก็ได้    นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
                                    ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก    มีอานุภาพ
                                    มากก็ได้    ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’    ภิกษุนั้นพึง
                                    ทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูนเรือนว่าง

 


(๑) ไม่มีทางตกต่ำ  หมายถึงไม่ตกไปในอบาย  ๔  คือ  นรก  กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน  แดนเปรต  และพวกอสูร
   (องฺ.ติก.อ.  ๒/๘๗/๒๔๒)
(๒) สัมโพธิ  ในที่นี้หมายถึงมรรค  ๓  เบื้องสูง  (สกทาคามิมรรค  อนาคามิมรรค  และอรหัตตมรรค)  (องฺ.ติก.อ.
   ๒/๘๗/๒๔๒,  องฺ.ติก.ฏีกา  ๒/๘๗/๒๓๕)
(๓) โอปปาติกะ  หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที  และเมื่อจุติ(ตาย)  ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้  เช่น
   เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น  (เทียบ  ที.สี.อ.  ๑๗๑/๑๔๙)  แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดใน
   สุทธาวาส  (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์)  ๕  ชั้น  มีชั้นอวิหาเป็นต้น  แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้น ๆ  ปรินิพพานสิ้น
   กิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง  ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก  (องฺ.ติก.อ.  ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓)


๑๓.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงได้ยินเสียง    ๒    ชนิด    คือ    (๑)    เสียงทิพย์
                                    (๒)    เสียงมนุษย์    ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้    ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์
                                    เหนือมนุษย์’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                      ๑๔.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น
                                    คือ    จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า    ‘จิตมีราคะ’    หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัด
                                    ว่า    ‘จิตปราศจากราคะ’    จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า    ‘จิตมีโทสะ’    หรือจิต
                                    ปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า    ‘จิตปราศจากโทสะ’    จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า
                                    ‘จิตมีโมหะ’    หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า    ‘จิตปราศจากโมหะ’
                                    จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า    ‘จิตหดหู่’    หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า    ‘จิตฟุ้งซ่าน’
                                    จิตเป็นมหัคคตะ(๑)    ก็รู้ชัดว่า    ‘จิตเป็นมหัคคตะ’    หรือจิตไม่เป็น
                                    มหัคคตะก็รู้ชัดว่า    ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัด
                                    ว่า    ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’    หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า    ‘จิตไม่มี
                                    จิตอื่นยิ่งกว่า’    จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า    ‘จิตเป็นสมาธิ’    หรือจิตไม่
                                    เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า    ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’    จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า    ‘จิต
                                    หลุดพ้น’    หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า    ‘จิตไม่หลุดพ้น’    ภิกษุนั้น
                                    พึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                      ๑๕.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ    คือ    ๑
                                    ชาติบ้าง    ๒    ชาติบ้าง    ๓    ชาติบ้าง ๔  ชาติบ้าง  ๕ ชาติบ้าง
                                    ๑๐  ชาติบ้าง    ๒๐    ชาติบ้าง    ๓๐    ชาติบ้าง    ๔๐    ชาติบ้าง   
                                    ๕๐    ชาติบ้าง   ๑๐๐    ชาติบ้าง    ๑,๐๐๐    ชาติบ้าง   
                                    ๑๐๐,๐๐๐    ชาติบ้าง    ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง   
                                    ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
                                    ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒เป็นอันมากบ้างว่า    ‘ในภพโน้นเรา
                                    มีชื่ออย่างนั้น    มีตระกูล    มีวรรณะ    มีอาหาร    เสวยสุขทุกข์    และ
                                    มีอายุอย่างนั้น  ๆ    จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น    แม้ในภพนั้น
                                    เราก็มีชื่ออย่างนั้น    มีตระกูล    มีวรรณะ    มีอาหาร    เสวยสุขทุกข์
                                    และมีอายุอย่างนั้น  ๆ    จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’    เราระลึก

 


๑ มหัคคตะ  หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร  เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเลสได้
   และหมายถึงฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  และปัญญาอันยิ่งใหญ่  (อภิ.สงฺ.อ.  ๑๒/๙๒)
๒ ดูเชิงอรรถที่  ๑  ข้อ  ๕๒  (ภยเภรวสูตร)  หน้า  ๔๒  ในเล่มนี้


            ชาติก่อนได้หลายชาติ    พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป    และชีวประวัติอย่างนี้’
                                    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    ฯลฯ    เพิ่มพูนเรือนว่าง
                      ๑๖.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ    กำลังเกิด    ทั้ง
                                    ชั้นต่ำและชั้นสูง    งามและไม่งาม    เกิดดีและเกิดไม่ดี    ด้วยตาทิพย์
                                    อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์    รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
                                    ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต    วจีทุจริต    และมโนทุจริต    กล่าวร้าย
                                    พระอริยะ    มีความเห็นผิด    และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด
                                    พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย    ทุคติ    วินิบาต    นรก(๑)
                                    แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต    วจีสุจริต    และมโนสุจริต    ไม่กล่าว
                                    ร้ายพระอริยะ    มีความเห็นชอบ    และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความ
                                    เห็นชอบ    พวกเขาหลังจากตายแล้ว    จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
                                    เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ    กำลังเกิด    ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง    งามและ
                                    ไม่งาม    เกิดดีและเกิดไม่ดี    ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
                                    รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้
                                    บริบูรณ์    หมั่นประกอบธรรมเครื่องสงบใจภายในตน    ไม่เหินห่าง
                                    จากฌาน    ประกอบด้วยวิปัสสนา    เพิ่มพูนเรือนว่าง
            [๖๙]    ภิกษุทั้งหลาย
                      ๑๗.    หากภิกษุพึงหวังว่า    ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ(๒)    ปัญญาวิมุตติ(๓)
                                    อันไม่มีอาสวะ    เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง    เข้าถึง

 


๑ ชื่อว่า  อบาย  เพราะปราศจากความงอกงาม  คือความเจริญหรือความสุข  ชื่อว่า  ทุคติ  เพราะเป็นคติ
   คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์  ชื่อว่า  วินิบาต  เพราะเป็นสถานที่ตกไปของหมู่สัตว์ที่ทำความชั่ว  ชื่อว่า  นรก  เพราะ
   ปราศจากความยินดี  เหตุเป็นที่ไม่มีความสบายใจ  (ม.มู.อ.  ๑/๑๕๓/๓๕๘)
๒ เจโตวิมุตติ  หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล  ที่ชื่อว่า  เจโตวิมุตติ  เพราะพ้นจากราคะ(ที่เป็น
   ปฏิปักขธรรมโดยตรง  แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้  ดู  ม.มู.ฏีกา  ๑/๖๙/๓๓๔)  ในที่นี้
   หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน  (ม.มู.อ.  ๑/๖๙/๑๗๗,  เทียบ  องฺ.ทุก.อ.  ๒/๘๘/๖๒)
๓ ปัญญาวิมุตติ  หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น  ที่ชื่อว่า  ปัญญาวิมุตติ  เพราะหลุดพ้นจาก
   อวิชชา(ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง  แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้  ดู  ม.มู.ฏีกา  ๑/๖๙/
   ๓๓๔)  ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน  (ม.มู.อ.  ๑/๖๙/๑๗๗,  เทียบ
   องฺ.ทุก.อ.  ๒/๘๘/๖๒)


อยู่ในปัจจุบัน’    ภิกษุนั้นพึงทำศีลให้บริบูรณ์    หมั่นประกอบธรรม
                                    เครื่องสงบใจภายในตน    ไม่เหินห่างจากฌาน    ประกอบด้วย
                                    วิปัสสนา    เพิ่มพูนเรือนว่าง
            ภิกษุทั้งหลาย    เราเห็นประโยชน์จึงกล่าวว่า    ‘เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์
มีปาติโมกข์สมบูรณ์อยู่    จงสำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์    เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่    จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย    สมาทานศึกษาใน
สิกขาบททั้งหลาย”
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว    ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค    ดังนี้แล
               อากังเขยยสูตรที่ ๖ จบ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 10:11:36 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
               ๑๑. นิพพิทาพหุลสูตร
            ว่าด้วยผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย
            [๑๔๖]    เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรมอันเหมาะสม    คือ   
               พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย  ในรูปอยู่
               พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย  ในเวทนา
               พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย  ในสัญญา
               พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย  ในสังขาร   
               พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย  ในวิญญาณอยู่

             ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่าย ในรูปอยู่ 
             ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่าย ในเวทนา
             ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่าย ในสัญญา
             ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่าย ในสังขาร
             ผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่   
 
             ก็จะกำหนดรู้ รูป
             ก็จะกำหนดรู้ เวทนา   
             ก็จะกำหนดรู้สัญญา
             ก็จะกำหนดรู้สังขาร   
             กำหนดรู้วิญญาณ   

          ผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป  กำหนดรู้เวทนา  กำหนดรู้สัญญา กำหนดรู้สังขาร  กำหนดรู้วิญญาณ   
          ย่อมพ้นจากรูป  ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจากสัญญา  ย่อมพ้นจากสังขาร  ย่อมพ้นจากวิญญาณ   
         เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส    และย่อมพ้นจากทุกข์’
               นิพพิทาพหุลสูตรที่ ๑๑ จบ

เล่มที่ 17 หน้า 236

บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
นิพพิทา ปรากฏได้ด้วย โพชฌงค์ 7 ประการ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 10:07:45 am »
0
                  ๑๐. นิพพิทาสูตร
         ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
            [๒๐๑]    “ภิกษุทั้งหลาย  โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับเพื่อรู้ยิ่ง    เพื่อตรัสรู้    เพื่อนิพพาน

            โพชฌงค์    ๗    ประการ    อะไรบ้าง    คือ

             ๑.    สติสัมโพชฌงค์
             ๒.    ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
             ๓.    วิริยะสัมโพชฌงค์
             ๔.    ปีติสัมโพชฌงค์   
             ๕.    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์   
             ๖.    สมาธิสัมโพชฌงค์
             ๗.    อุเบกขาสัมโพชฌงค์
            ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
               นิพพิทาสูตรที่ ๑๐ จบ



เล่มที่ 19 หน้า 133




บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ครับ

ขอให้พระอาจารย์ ลงให้อ่านทุกวัน เลยนะครับ

จะติดตามอ่านครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ ติดตามอ่านทุกวันคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ รอบนี้พระอาจารย์ ให้อ่านกันยาว ๆ เลยนะครับ
ขอบคุณมากครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมนั่งอ่าน ทบทวน มาหลายวันแล้วรู้สึกว่าเหมือนเป็นสิ่งที่ผมกำลังขาดไป และเหมือนเป็นสิ่งที่ใจเรียกร้อง แต่ยังมองไม่เห็น คงต้องใช้เวลาพิจารณา อ่านทบทวนกันอีกหลายครั้ง ครับ

  ผมขอบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระกรรมฐาน และ บารมีพระอาจารย์ ขอให้ผมเข้าใจในอรรถ ในธรรมส่วนนี้ด้วย เถิด

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า