ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ้เรียนถามเรื่อง ภยาคติ กับ อุเบกขา แตกต่างกันอย่างไรครับ  (อ่าน 6725 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
้เรียนถามเรื่อง ภยาคติ กับ อุเบกขา แตกต่างกันอย่างไรครับ
คือคิดว่าเพื่อน ๆ อาจจะเข้าใจผิดกันอยู่ได้นะครับ ส่วนเรื่องของอุเบกขา กับ ภยาคติ นะครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ฺBenten

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ภยาคติ คือ อะไรครับ ไม่เคยได้ยิน

อุเบกขา แปลว่า วางเฉยครับ

   :s_hi:
บันทึกการเข้า
ร่วมขบวนการกับ อ๊บ อ๊บ เพื่อศึกษาธรรม

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ภยาคติ ความมุ่งตรงไปสู่ภัย อันหมายโดยนัยคือ ความหวาดหวั่นพรั่นพรึงในทุกข์คตภัยโดยถึงซึ่งความฟุ้งกลัวเป็นราก

เหตุให้เกิดความฟุ้งซ่านหวาดระแวงเกรงเหตุอุบัติเบื้องหน้าอันยังมิบังเกิดขึ้น อุเบกขา คือหมายเอาว่าวางสัตว์โลกล้วน

ประสบทุกข์เนื่องด้วยเคราะห์กรรมเป็นอยู่เนืองๆ มรณัสสติ เท่านั้นที่พึงมีกันไว้ครับ!




http://variety.thaiza.com/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/189048/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 05:41:29 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ภยาคติ อยู่ในอคติ 4 นะครับ
หมายถึง ความลำเอียงเพราะกลัวว่าจะมีภัยมาถึงตน จึงลำเอียงไม่ช่วยเหลือ ภาษาเราชาวบ้านเรียกว่า ลอยแพ ทอดทิ้ง เลือกข้าง เลือกฝ่าย ครับ

 อุเบกขา หมายถึงการวางเฉย แต่ว่าวางเฉยแล้วต้องผ่านกระบวนการตั้งแต่ เมตตามาก่อน

 ยกตัวอย่าง เห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ความเมตตา ส่งสารอยากใ้ห้เขามีความสุข กรุณาช่วยเหลือ มุทิตาด้วยความเต็มใจยินดี แต่เมื่อถึงคราวที่เหลือบ่ากว่าแรง ก็ต้องวางอุเบกขา

   ภยาคติ นั้น ใกล้ เคียงกันมาก กับ อุเบกขา
 
  มีเรื่องจริงที่ผมเองก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นผู้หญิง ถูกเจ้านายมากระลิ้มกระเลี่ย ลวนลามพวกเราเห็นกันหลายคน ในตอนนั้นผมอายุยังน้อยครับพึ่งเข้าทำงานใหม่ เรื่องก็เลยถูกร้องเรียนไปถึง เจ้านายที่ใหญ่กว่า แต่พวกเรา ลงความเห็นไม่เข้าไปยุ่ง โดยใช้คำ่ว่า อุเบกขา ใช่กันอย่างเต็มปากเลยครับ ว่าให้วางเฉยดีกว่า อย่าหาเรื่องเจ็บตัว เดี๋ยวตกงาน เงินเดือนไม่ขึ้น พนักงาน 20 กว่าคนที่เห็นเหตุการณ์ ล้วนแต่ให้การว่าไม่เห็นเหตุการณ์ รวมทั้งผมด้วย 

    เราใช้คำว่า อุเบกขา วางเฉย อย่าเข้าไปยุ่งเดี๋ยวเดือดร้อน

    ผลของการวาง อุัเบกขา ทำให้พนักงานหญิง ซึ่งเธอเป็นคนดี ต้องออกจากงาน ไม่รู้ชะตากรรมเป็นอย่างไร จะเคียดแค้นพวกผมกันขนาดไหน แต่กรรมนี้ก็มาตามทันกัน อย่างต่อเนื่องทุกคน เมื่อเราอยู่ในเหตุการณ์ ที่คิดว่าจะมีคนช่วยเหลือเรา แต่เราก็จะุถูกเขาวางเฉยไม่ช่วยเหลือ ทำให้เดือดร้อน เพื่อนผมคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุรถมอร์เตอร์ไซค์ตกหลุม กลางถนน เจ้าตัวนอนอยู่กับพื้นเพราะสลบ จนตื่นเองอยู่ในพงหญ้า ข้างทาง คนผ่านไปผ่านมาก็มีเห็นเหตุการณ์ ฟังจากเพื่อนเล่า แต่ไม่มีใครช่วยเหลือ เขาโทษว่าคนทั้งหลายเหล่านั้นไร้น้ำใจ แต่ผมว่ามันเป็นเวรกรรมที่กลับมาตามทันกัน และอีกหลายๆ ท่านที่ผมเห็นและรู้ รวมทั้งตัวผมด้วย ก็จะถูกเหตุการณ์ ที่คนทั้งหลาย วางอุเบกขา อย่างนี้กับเรา

    เมื่อผมได้ศึกษาธรรม จากครูอาจารย์แล้วเรียนถามท่านเรื่องนี้ ท่านกล่าวว่า โยมใช้คำผิด แท้ที่จริงไม่ใช่ อุเบกขาธรรม แต่ เป็น ภยาคติ คือลำเอียงเพราะกลัวภัย

    ผมเล่าอย่างนี้ เพื่อนๆ ก็คงจะเข้าใจกันบ้างแล้วนะครับ
 
    ผมคิดว่า คนที่ทำก็น่าจะคิดแบบเดียวกับผม นี่แหละครับ

    ดังนั้น วันนี้อยากให้ท่านทั้งหลาย ใช้คำธรรมะ สอบใจตัวเอง ว่า เราเป็น เป็น ภยาคติ หรือ อุเบกขา ที่ปล่อยให้คนดี เดือดร้อนโดยที่เราก็ช่วยได้แต่ไม่ช่วย


   

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 07:06:55 pm โดย painting »
บันทึกการเข้า

มหายันต์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 154
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โอ้ เหตุการณ์อย่างนี้ ยังคงมีต่อไปในสังคมของคนที่ขาดธรรมะ
แต่ผมว่า บางครั้งการวางเฉยนั้น สำหรับชาวธรรม ต้องประกอบด้วยความพยายามที่จะแก้ปัญหาก่อนใช่หรือไม่ครับ ที่คุณ painting กล่าวว่า ต้องผ่านลำัดับธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา มาก่อน

   ดังนั้นในกรณี ที่คุยเล่าไว้นั้น ผมก็คิดว่าคุณก็คงจะผ่านลำดับ พรมวิหาร 4 มาก่อนแล้วใช่หรือไม่ครับ ผมเองก็คงต้องคิดหนักนะครับ ถ้าต้องตกงาน แล้ว คนรอบข้างเราต้องเดือดร้อน

    สมมุติ นะครับ ว่า เจ้านายคนนั้นเป็นลูกของนายจ้างใหญ่ (เดาเอานะครับ) ถ้าผมช่วยเหลือผู้หญิง ผมก็เดือดร้อน ครอบครัวผมก็เดือดร้อน คนรอบข้างก็ต้องเดือดร้อนเพราะผมอย่างนี้ จะหาว่าผมขาดเมตตา กรุณา มุทิตา ได้หรือไม่ครับ เพราะห่วงคนที่จะเดือดร้อนข้างเคียงกัน
   
    หรือยังคงอยู่ในความหมาย ว่า ลำเอียงเพราะกลัว อยู่อีก

   ลองวิจัยเป็นเพื่อนนะครับ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ เข้าใจยากนะครับ
   
    :49: :c017:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ภยาคติ กับ อุเบกขา ก็เฉียด ๆ กันนะคะ
เฉยเมย กับ กลัวไม่กล้าแสดงออก ก็คล้ายคลึงกัน คนส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนั้น ละคะ พวกคนกลางนี้แหละคะที่น่ากลัวนะคะ พวกเลือกฝั่งนั้นก็ชัดเจน ดังนั้น กลาง ๆ เฉย ๆ นี้แหละคะ ต้องระวัง

  :49: :88:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่ ว่า การที่เราทำความดีแล้ว เดือดร้อน

แล้วใครทำให้เราเดือดร้อน ?

แล้วเราจะยังคงทำงานกับคน กับองค์กรณ์นั้นอยู่อีกหรือ ?

นี้เป็นเรื่องที่แปลก !
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ยุวธิดา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่ ว่า การที่เราทำความดีแล้ว เดือดร้อน

แล้วใครทำให้เราเดือดร้อน ?

แล้วเราจะยังคงทำงานกับคน กับองค์กรณ์นั้นอยู่อีกหรือ ?

นี้เป็นเรื่องที่แปลก !


ไม่แปลกหรอกคะ เพราะคนส่วนใหญ่ ก็ทำเพื่อให้ตนอยู่รอดคะ
 :08:
บันทึกการเข้า
เกิดเป็นคนต้องสร้างตนให้มีดี เรียนทั้งทีต้องสร้างดีศรีแก่ตน
เป็นอยุ่ด้วยความพอเพียง ดีกว่าฟุ้งเฟ้อจนเป็นทุกข์

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จริง ๆ แล้วจุดประสงค์ของ kidsada ต้องการให้ใช้คำให้ถูกใช่หรือไม่คะ

 กรณี อย่าง มวยโอลิมปิก ของ คุณแก้ว ก็เป็นตัวอย่างนะคะ
 
 ทุกคนได้ชมกันแล้ว จาก การถ่ายทอด วีดีโอ แต่ทุกคนก็ได้มอบเหรียญทองให้ในใจกัน และ ก็วางอุเบกขา ใช่หรือไม่คะ ที่เหลือก็แล้ว ชะตากรรม ดีนะคะที่ยังชนะใจคนดูในประเทศไทย นะคะ

  ภยาคติ ก็คือ ลำเอียงเพราะขี้ขลาด ไม่กล้าเผชิญความเป็นจริง เพราะกลัวจะเดือดร้อน ไงละคะ
 
   ส่วนอุเบกขา คือจิตปรารถนา ช่วยเหลือแล้ว ได้กระทำมาตั้งแต่ เมตตา กรุณา มุทิตา แล้ว จึงต้องยุติเพราะไม่สามารถช่วยต่อไปได้แล้ว

   :25: :49:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความวางเฉย วางใจไว้กลางๆ หรือ อุเบกขา มีทั้งฝ่ายกุศล และ อกุศล
ฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งนั้น ก็มีทั้งฝ่ายกุศล และ อกุศล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 09:56:14 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ภยาคติ คือลำเอียง เพราะกลัวภัยจะมาถึงตน

อุเบกขา คือความวางเฉย

  ทั้งสองประการ เกี่ยวเนื่องกัน ภยาคติมาก่อน อุเบกขา เพราะภยาคติ เป็นเหตุ อุเบกขา เป็น ผล
สำหรับ บุคคลทั่วไป ที่ เกรงกลัวต่อภัย ที่จะมาถึงตน เกรงกลัวต่อความเดือดร้อน ที่จะมาทำให้ตนยุ่งอยาก ในขณะนั้นเรียกว่า ภยาคติ เมื่อ ภยาคติสั่งสมไว้เป็นเหตุมาก ๆ ก็ส่งเสริมทางด้านการกระทำ คือ อุเบกขา คือการวางเฉย ดังนั้นเราก็จะเห็นในสังคมนี้ ใช้ อุเบกขา กันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เห็น ผัวเมีย เขาทะเลาะตบตีกัน ไม่มีใครเข้าไปช่วยห้ามปราม แต่ทุกคนยืนมอง นั่งดู ด้วยความรู้สึกเฉย ๆ อันนี้เรียกว่า วงจรครบถ้วน คือ ภยาคติ ต่อด้วย อุเบกขา


   อุเบกขา เป็นธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ก็มี เป็นธรรมที่เป็น ฝ่าย อกุศล ก็มี
 
  ดังนั้นการวางอุเบกขา พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสแสดงไว้ว่า ถ้าเราวางอุเบกขา ลงไปแล้วธรรมเป็นกุศล พอกพูนเพิ่มขึ้น อุเบกขา นั้นพึงเจริญให้มาก กระทำให้มาก แต่อุเบกขา ใดกระทำลงไปแล้ว พอกพูนอกุศล ให้มากขึ้น อุเบกขานั้น พึงละ ไม่พึงวางอุเบกขา

   อะไรเป็นธรรม เครื่องแก้ ภยาคติ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พรหมวิหารเป็นธรรมเครื่องแก้ ภยาคติ แต่ให้ใช้ตามลำดับ ไม่ใช่ข้ามไป อุเบกขาเลย

   เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ