ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่  (อ่าน 2531 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


โดยปกติแล้ว บุคคลที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติธรรม หรือ บุคคลผู้เริ่มศึกษาพระธรรมใดๆ จะพบเจอคำว่า "ปล่อยวาง" ซึ่งก็จะเกิดขัดแย้งในใจขึ้นเสมอๆว่า ทำไมต้องปล่อยวาง แล้วจะต้องปล่อยวางยังไง ทำอย่างไรถึงเรียกว่าปล่อยวาง บางคนพูดถึงแม้ว่า หากมีคนมาฆ่าเรา เราก็ต้องปล่อยให้เขาฆ่าหรือ อย่างนี้ใช่ไหมเรียกว่าปล่อยวาง หรือ เขามาทำร้ายลูกเมียตนก็ปล่อยวางให้เขาทำไป ซึ่งในส่วนนี้ๆจะมีแยกแยะระหว่าง คำว่า "หน้าที่" และ "ความปล่อยวาง" ซึ่งแยกเป้นส่วนๆ โดยจะเริ่มกล่าวดังต่อไปนี้ครับ


๑. วิธีปล่อยวาง

1. การระลึกรู้ตามพุทธวจนะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเป็นเบื้องต้น

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย;
สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.

สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.


- การปล่อยวางใดๆนั้น ให้พึงเจริญสติ ระลึกพิจารณาในพุทธวจนะนี้เป็นเบื้องต้น เป็นประจำอยู่เนืองๆ
- เมื่อเรามีความพอใจยินดีสิ่งใดๆอยู่ คือ พอใจยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมมารมณ์ใดๆ จนเสพย์เสวยอารมณ์ในเวทนานั้นๆ เมื่อเกิดความโสมนัสเวทนา(สุขใจ)ใดๆ
- เมื่อสุขใจปุ๊บ ก็จะเสพย์เสวยอารมณ์ประกอบกับความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ(สัญญา)ว่า สิ่งนี้คือสุข สิ่งนี้แหละที่พอใจยินดี สิ่งนี้แหละที่น่าใคร่ได้ปารถนา สิ่งนี้แหละที่ยินดีต้องการ ซึ่งเกิดประกอบกับความติดใจใคร่ได้ยินดี เช่น อยากได้แฟนสวย อยากได้เงินเยอะๆ อยากให้คนรักตนเอง เชื่อฟังตนเอง เกรงกลัวตนเอง ให้เกียรติตนเอง อยากมีบ้าน อยากมีรถ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้แบบเขา-เหมือนเขา อยากได้บ้าน รถ เงิน แฟนของเขา อยาก..ฯลฯ
- พออยากได้ ก็จะเกิดความต้องการทะยานอยากใคร่ได้ที่จะมี อยากที่จะเป็น ทะยานอยากต้องการใคร่ได้ที่จะเสพย์ เป็นต้น วิ่งไขว่คว้าหามาให้ได้เป็นตัณหา
- พอตัณหาเกิด เราก็จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาว่าสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้มีจริง สิ่งนี้เป็นของเรา สิ่งนี้มีตัวตน บุคคล สิ่งของจริง สิ่งน่าน่าใครได้ปารถนายินดีเป็นต้น เป็นอุปาทานสืบมา
- ก็เมื่อยิ่งเราไขว่คว้าต้องการจะหามาให้ได้ซึ่งสิ่งใดๆที่ไม่ใช่ของเรา สิ่งใดๆที่ไม่ใช่ของจริง สิ่งใดๆที่ไม่มีตัวตน สิ่งใดๆที่เราเข้าไปยึดถือตั้งเอามาเป็นตัวตนอุปาทานมากเท่าไร ก็ยิ่งตะเกียกตะกายดิ้นรนวิ่งเข้าไปสู่กองทุกข์มากเท่านั้น
เมื่อเกิดความต้องการปารถนาใคร่ได้ใดๆ แต่ไม่เป็นไปตามที่ใจเราปารถนาใคร่ได้ยินดี เราก็จะเกิดความอัดอั้นใจ กรีดใจ ขัดเคืองใจ ขุ่นมัวใจ หมองมัวใจ โศรกเศร้าเสียใจ ร่ำไรรำพัน คับแค้นกายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ นี่เรียกว่าทุกข์ที่เกิดแก่ใจทั้งหลาย เป็นต้น
- ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงควรที่จะพึงเจริญสติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า สิ่งใดๆทั้งหลายที่เราปารถนาใคร่ได้อยู่นี้ๆ มันไม่ใช่ของเรา เราไม่อาจจะบังคับให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการได้ เพราะมันไม่มีตัวตนบุคลคลใดอันที่เราจะไปยื้อบังคับจับต้องมันให้เป็นไปดังใจได้ สิ่งนี้ๆไม่ใช่ของเรา
- ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ๆ..แม้ว่าเราจะสามารถไขว่คว้าหามาได้ แม้ว่าได้เสพย์สมดั่งใจปารถนานั่นแล้ว แต่ทว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ๆมันก็คงยังความเสื่อมสลาย สูญสลายไปเป็นธรรมดา มันไม่คงอยู่กับเราตลอดไป ต้องสูญสลายไปไม่ด้วยเหตุเพราะสภาพแวดล้อม ไม่ก็กาลเวลา หรือไม่ก็เพราะการดูแลรักษา ด้วยเพราะสิ่งนี้มันไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันไม่ใช่เรา และ ไม่ใช่ของเรา

เช่น

- เมื่อเรามีความปารถนา อยากได้แฟน หล่อๆ สวยๆ อยากได้เงินเยอะๆ อยากได้บ้านใหญ่ๆ หรูๆ อยากได้รถคันสวยแพง มัวเมาหมกอยู่กับสิ่งที่ไม่มีตัวตน สิ่งที่มีความแปรเปลี่ยนเสื่อมสลายเป็นปกติธรรมดา สิ่งที่ไม่ใช่ของเรา พยายามเสาะแสวงหามาให้ได้ แต่ไม่อาจที่จะเอื้อมคว้าเอาได้ ทีนี้ก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไปปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา ทุกข์เพราะไปปารถนาในสิ่งที่ไม่คงอยู่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกข์เพราะไปหวังในสิ่งที่ไม่อาจจะบังคับให้เป็นไปดั่งใจได้ ทุกข์จากการตั้งอุปาทานในสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ทุกข์จากการตั้งอุปาทานในสิ่งที่มันไม่ใช่เรา ทุกข์จากการตั้งอุปาทานในสิ่งที่มันไม่ใช่ของเราดังนี้
- เมื่อเรารู้ความจริงว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ใช่เรา-มันไม่ใช่ของเราดังนี้แล้ว
- เมื่อเรารู้จักปล่อยวางโยนทิ้งไปเสีย ซึ่งความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่เสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา โยนทิ้งความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรานี้แล้ว
- ความทุกข์ย่อมไม่มีแก่กายและใจเรา ความสุขจากความไม่ทะยานอยากใคร่ได้ต้องการ ความสุขจากการที่เราไม่มัวเมาหมกอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่ของเราก็จะเกิดขึ้น มีความวางเฉย นิ่งว่างอยู่ ไม่ระส่ำระส่ายดิ้นรนไขว่คว้า ไม่ยึดมั่นถือมั่นตั้งอุปาทานในสิ่งใดๆ

ดังนั้นพึงเจริญพิจารณาอยู่เนืองๆดังพุทธวจนะนี้ว่า

สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย;
สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.


แม้พิจารณาให้เห็นตามจริงใน "สฬายตนะ" คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พึงเจริญระลึกรู้ว่า มันไม่ใช่ของเรา
หากเป็นของเราย่อมบังคับให้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ บังคับให้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รส ไม่ตรึกนึกคิดทะยานในสิ่งใดๆได้
ก็เพราะสิ่งนี้ๆมันไม่เที่ยงเพราะมีความสุญสลายเป็นธรรมดาๆ
เราจึงไม่สามารถไปบังคับมันได้ว่า ขอตาฉันอย่าฝ้าฟางเลย ขอหูฉันอย่าหนวกไม่ได้ยินเลย เป็นต้น
ก็เพราะมันไม่มีตัวตน อันที่เราจะบังคับให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการปารถนาได้
ด้วยนั่นเพราะมันไม่ใช่เรา
ด้วยนั่นเพราะ มันไม่ใช่ของเรา

ดั่งพุทธวจนะนี้ในเบื้องท้ายที่ว่า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย;
จักษุนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และ
ความสุขแก่เธอ
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มโน ก็ได้
ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือน อะไร ๆ ในแคว้นนี้
ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขา
ขนไปทิ้ง หรือ เผาเสีย หรือทำตามปัจจัย; พวกเธอรู้สึก
อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือ
ทำแก่เราตามปัจจัยของเขา ?
“ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า !”
เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่า
ตัวตน (อตฺตา) ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น
พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
จักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ...มโน ไม่ใช่ของเธอ
เธอจงละมันเสีย
สิ่งเหล่านั้น อันเธอละเสียแล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.



2. การระลึกรู้พิจารณาละความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ที่เป็นสัจธรรมเป็นเบื้องต้น

ความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง-สิ่งที่ไม่มีตัวตน-สิ่งที่ไม่ใช่ของเรานี้ๆ ย่อมเป็นทุกข์
ความปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นตั้งอุปาทานสิ่งใด ไม่ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง-สิ่งที่ไม่มีตัวตน-สิ่งที่ไม่ใช่ของเรานี้ ย่อมเป็นสุข

ดังนั้นพึงระลึกรู้พิจารณาอยู่เนืองๆดังนี้ว่า


- ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราร้อย ก็ทุกข์ร้อย
- ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราห้าสิบ ก็ทุกข์ห้าสิบ
- ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราสิบ ก็ทุกข์สิบ
- ไม่ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราเลย เราก็จะไม่ทุกข์เลย


ดังนั้นเราไม่ควรปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งใดๆ ไม่ควรไปติดข้องใจสิ่งใดๆ ที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา เพราะมันมีแต่ทุกข์ เพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์

ดังนั้นพึงเจริญพิจารณาอยู่เนืองๆดังนี้ว่า


- สิ่งใดๆที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา แล้วเราเอากายเอาใจเข้าไปตั้งความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ มันก็มีแต่ทุกข์ หาสุขใดๆไม่ได้เลย
- อย่าไปติดข้องใจใคร่ได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา เพราะมันเป็นทุกข์
- เมื่อไหร่ที่เราไป ติดใจ-ข้องใจ ในสิ่งใดๆที่ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราปุ๊บ ก็ทุกข์เพราะความติดใจนั้นปั๊บทันที (ติดใจปุ๊บ ก็ทุกข์ปั๊บ)
- ละความติดข้องใจนั้นไปเสีย ปล่อยวางทิ้งไปเสียซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของรา เพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์


พิจารณาแนวทางทั้งข้อที่ 1 และ 2 สลับกันไปมาจิตจะรู้ความเอือมระอาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
ซึ่งจะได้ผลดี 100% หากเจริญควบคู่กับ
1. มหาสติปัฏฐาน๔
2. สัมมาสมาธิ อันเป็นเครื่องช่วยสลัดซึ่งความฟุ้งซ่าน ความคิดพล่าน ติดใจ ความข้องใจ ความอยากใดๆได้
3. ศีล
4. พรหมวิหาร๔
5. กุศลกรรมบถ๑๐



(เจริญให้มากในข้อ 1-4 จะช่วยให้ปฏิบัติในข้อที่ 5 นี้ง่ายขึ้น เมื่อเจริญเป็นประจำย่อมยังประโยชน์ให้เข้าถึงใน โพชฌงค์๗)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 03:42:09 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 11:53:33 am »
0
๒. หน้าที่

คำว่า "หน้าที่" ในที่นี้ คือ สิ่งที่เราควรต้องทำในกิจการงานนั้นๆที่เหมาะสมที่ควรต่างๆกันไปตามแต่สถานะภาพที่ตนดำรงอยู่นั้น ให้ดี ไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ละทิ้ง

ผมมักจะเจอคำถามที่ว่าบอกปล่อยวางๆ ปล่อยไปแล้วได้อะไร
หากลูกเมียเราถูกทำร้าย เราก็จะปล่อยวางให้เขาทำอย่างนั้นหรือ
หากถูกขโมยขึ้นบ้านก็จะปล่อยให้เขาทำอย่างนั้นหรือ
หากลูกไปติดยาเสพย์ติดก็ปล่อยวางหรือ
หากลูกเมียถูกฆ่าก็ปล่อยวางหรือ
ด้วยเหตุการณ์อย่างนี้ ผมอยากให้ทุกท่านรู้พิจารณาและเข้าใจในธรรมมากขึ้นด้วยครับว่า ความปล่อยวาง ผมได้ชี้แจงไปแล้วในข้อที่ ๑ ว่าทำไปทำไม ได้ประโยชน์อะไร ใช้เพื่ออะไร
ส่วนหากเมื่อเราถูกทำร้าย ลูกเมียเดือดร้อน สิ่งที่เราต้องทำก็คือหน้าที่ของ พ่อ แม่ สามี ภรรยา ลูก หลาย เหลน ปู่ ย่า ตา ยาย หน้าที่ของสถานะภาพเหล่านี้คืออะไร ควรกระทำอย่างไรเราทุกคนน่าจะรู้นะครับ ความมี สติ สมาธิ ศีล พรหมวิหาร๔ กุศลกรรมบถ๑๐ จะช่วยให้ทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด

เช่น

- เมื่อบ้านถูกปล้นแล้วเราเห็นโจร เราก็ควรที่จะพิเคราะห์ด้วยสติว่า เราจะทำอย่างไรได้บ้าง เช่น หน้าที่ของเจ้าบ้านก็คือดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ บุคคล และ สิ่งของภายในบ้าน
หากมีโอกาส เราก็โทรแจ้งตำรวจ ถ่ายรูปโจรไว้โดยไม่ใช่เสียงเอฟเฟคของกล้อง ไม่ใช้แฟลต
- หากโจรไม่มีอาวุธเราพอที่จะทำหน้าที่รักษาดูแลความปลอดภัยภายในบ้านได้ ก็ให้ทำโดยคิดพิจารณาว่าจะใช้วิธีไหนต่อสู้ปกป้องบุคคลและสิ่งของภายในบ้าน เป็นต้น ทำให้ดีที่สุด โดยพิจารณาว่าเราจะดูแลรักษาปกป้อง บุคคล และ สิ่งของให้ยังความฉิบหายได้มากน้อยแค่ไหนก็แค่นั้น ตั้งใจทำให้ดีที่สุด ทุกอย่าง ทุกทาง นั่นคือสุดกำลังกายและใจเราแล้ว ก็ไม่ติดใจสิ่งนั้นอีก เพราะทำดีที่สุด สุดกาย-ใจ สุดกำลังแล้ว
- เมื่อบ้านถูกปล้นแล้วเราไม่เห็นโจร ก็ให้รีบแจ้งตำรวจเพื่อหาหลักฐานในการจับกุม
แต่ด้วยเพราะไม่เห็นตัว อาจใช้เวลานานในการสืบหา หรือ สิ่งของใดๆที่ถูกขโมยไปอาจจะไม่ได้คืน ด้วยเหตุนี้พร้อมกันนั้นเราก็ต้องรู้จักปล่อยวางร่วมกับการเจริญที่ไม่พยาบาทด้วยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีความสุญสลายไม่คงอยู่เป้นธรรมดา ต้องสูญสลายไปด้วย สภาพแวดล้อม กาลเวลา หรือด้วยปัจจัยใดๆ สิ่งเหล่านี้มันไม่มีตัวตนอันเราจะไปบังคับมันได้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรายืมมาใช้ชั่วคราวเท่านั้น อย่าติดใตจสิ่งใด ให้ใจปารถนาที่จะให้สิ่งนั้นๆหวนคืนกลับมาเลย ดับความปารถนานั้นๆไปเสียเป็นต้น อย่างนี้เราก็จะใช้ชีวิตโดยไม่เกิดความขุ่นมัวขัดใจ เจ็บแค้นใจ อยู่โดยปกติสุข ไปเรื่อยๆ จนเมื่อตำรวจสืบหาตัวได้หรือได้ของกลับมาเป็นต้น และพร้อมกันนั้น ด้วยหน้าที่ของเจ้าบ้านหรือผู้อาศัยก้ตาม เราก็ต้องคอยดูและรักษาปกป้องบุคคลและสิ่งของภายในบ้านให้ดีให้มีปกติสุข หาแนววิธีป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัย
 - หากลูกเมียถูกทำร้ายมาโดยเราไม่อยู่ในเหตุการณ์ โดยที่ลูกเมียเราไม่ได้กระทำสิ่งที่ผิด เมื่อเรารู้ว่าใครเป็นคนทำร้ายครอบครัวเรา แล้วเราอยากจะไปเอาคืน ไปฆ่าเขา นั่นคือความพยาบาทอย่างแรงกล้าเป็นความกระทำโดยอารมณ์เป็นใหญ่
เมื่อทำด้วยอารมณ์ความปรุงแต่งนึกคิดใดๆเป็นใหญ่ ความฉิบหายย่อมยังเกิดขึ้นแก่เราเป็นแน่ไม่มากก็น้อย ไม่มีที่จะไม่เกิดเลย
- ดังนั้น..หากเมื่อรู้ว่าเป็นใครทำร้าย เราก็ควรที่จะแจ้งตำรวจเข้าสืบหาหลักฐานจับกุม และ ฟ้องร้องจับกุม ให้เขาชดใช้ค่าเสียหาย ชดใช้กรรมจากการกระทำนั้นในคุก
- โดยเมื่อแจ้งตำรวจแล้ว ทำการดำเนินคดีแล้ว เดินเรื่องเต็มที่สุดกำลังกาย-ใจ สุดความสามารถ สุดปัญญาที่มีอยู่แล้ว ผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องปล่อยมันเป็นไป ปล่อยวาง ไม่ติดใจอีก
- ในเรื่องที่ลูก-เมียของเราถูกทำร้ายนั้น เราก็ต้องคอยดูแลรักษาทั้งกายและใจเขาเหล่านั้นเป็นอย่างดี โดยพึงระลึกว่า แม้เราไปเอาคืนเขาแบบที่เขาทำกับลูกเมียเราแล้ว ลูกและเมียยิ่งจะอยู่ดำรงชีวิตต่อไปด้วยลำบากมากขึ้น การกระทำนั้นๆยังจะส่งผลร้ายมาแก่เราในภายภาคหน้า มันก็ไม่ต่างจากคู่กรณีที่มาทำร้ายลูก-เมียเราอยู่ในตอนนี้ เรามองการกระทำเหล่านั้นของเขาว่า เลว ไม่ดี ชั่วร้ายใช่ไหมครับ เมื่อเรารู้สึกไม่ดีอย่างนี้ต่อการกระทำแบบนั้นของเขา เราก็อย่าไปทำอย่างนั้นต่อคนอื่นหรือแม้แต่คู่กรณีที่ทำร้ายครอบครัวเราด้วย ดังนั้นการดำเนินคดีให้เขาชดใช้โทษตามกฎหมายบ้านเมืองเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ปล่อยวางความพยาบาทนั้นไปเสีย เพราะเราก็ได้ดำเนินคดีแก่คนที่มาทำร้ายให้ได้รับโทษจากการกระทำโดยเจตนานั้นๆของเขาแล้ว เราจะไม่ติดใจเอาโทษจากเขาอีก
 
จากนั้นเราก็ต้องคอยเอาใจใส่ดูแล ปกป้อง รักษาลูก-เมียให้ดี ชี้แนะแนวทางให้ป้องกันและระวังตัวเอง นี่คือหน้าที่ของคนเป็น "พ่อ" หรือ "สามี" ไม่ว่าหน้าที่ของ แม่ หรือ ภรรยา ก็เช่นกัน

- หากลูกเมียถูกทำร้ายแล้วเราอยู่ในเหตุการณ์ เราก็ควรรีบเข้าไปช่วย ให้เต็มที่ในฐานะ "พ่อ" หรือ "สามี" ให้ดีที่สุด ทำสุดกาย-ใจได้แค่ไหนก็แค่นั้น ยอมรับผลจากกรรมคือการกระทำนั้น ระลึกว่าเราทำดีที่สุดแล้ว เต็มที่แล้ว สุดชีวิตแล้ว แม้ผลออกมาจะเป็นยังไง เป็นไปตามที่พอใจยินดีต้องการหรือไม่ก็ช่างมัน เราจะไม่ติดใจมันอีกด้วยเราได้ทำเต็มที่สุดใจแล้ว ย้ำนะครับต้องทำเต็มที่ให้ดีที่สุดทุกด้านทุกทางจนสุดความสามารถที่มี ไม่ใช่ทำเล็กน้อย ครึ่งๆกลางๆ นี่ก็คือการทำตามหน้าที่และการปล่อยวางในฐานะที่ควรทำ

- หากการที่ครอบครัวเราถูกทำร้ายเพราะการกระทำที่ไม่ดีทาง กาย และ วาจา ของครอบครัวเราเองเราก็ต้องยอมรับผลจากการกระทำนั้นๆ แล้วให้เขาเปลี่ยนแนวความคิดการพูดการกระทำใหม่ในทางที่ดีขึ้นเพื่อตัวเขาเอง แต่ถ้าเราเป็นต้นเหตุเราก็ควรจะเปลี่ยนที่ตัวเราและยอมรับผิดจากการกระทำอันเกิดมาจากเรานั้น
- การใช้สติระลึกรู้ หรือ หวนคิดพิจารณาใดๆ ก่อนการกระทางกายและวาจาโดยไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเราไตร่ตรองดีแล้วค่อยกระทำย่อมเกิดผลดีและประโยชน์มากกว่าผลเสียแน่นอนครับ


(ที่สำคัญห้ามนำไปเปรียบเทียบในพระเวสสันดรเป็นอันขาด เพราะพระเวสสันดรนั้นท่านมีบารมีมาครบแล้ว ท่านรู้และเห็นในความเป็นไปทั้งหมดถึงที่ต้องทำแล้ว เพื่อบารมีอันใหญ่หลวงในการจะสำเร็จเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภายหน้าเพื่อมาโปรดสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ไม่ใช่ท่านไม่รู้-ท่านไม่เห็น-ไม่ทำตามหน้าที่แล้วปล่อยวางไปเป็นต้น หากท่านไม่ทำในขณะเสวยชาตินั้นก็ต้องไปทำในชาติอื่นๆต่อไปอีกไม่รู้จบจนกว่าจะทำสำเร็จแล้วในทานนั้น)

- แม้พระอริยะเจ้าทั้งหลายที่ยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยยังครองเพศคฤหัสถ์อยู่ ท่านก็ยังทำตามหน้าที่ของ สามี ภรรยา ลูก หลาน ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติ ของท่านอย่างดี แม้ต้องยังด้วยกามอยู่ก็ตามแต่ แต่ท่านไม่ละทิ้งใน สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ กุศลกรรมบถ๑๐ พิจารณาในธรรมทั้งหลาย ปฏิบัติตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในฐานะของคฤหัสถ์



- หลังจากที่ท่านๆทั้งหลายได้อ่านในวิธีการปล่อยวางที่ผมได้นำมาเผยแผ่นี้ ผมหวังอย่างยิ่งว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจและสามารถแยกระหว่างหน้าที่และการปล่อยวาง พร้อมการนำวิธีการปล่อยวางและการดำเนินในหน้าที่นี้ๆไปใช้ร่วมกัน และ ก่อเกิดประโยชน์ได้มากขึ้นนะครับ
- วิธีการปล่อยวาง และ หน้าที่นี้..ยังมีอีกหลายแนวทางในการระลึกรู้พิจารณาปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนอกจากแนวทางในกระทู้นี้ ที่ผมนำพุทธวจนะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่ สมถะจนถึงวิปัสนาอีกมากมายครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 19, 2013, 04:04:37 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 11:57:51 am »
0
ผมใคร่ขออนุญาต พระคุณเจ้าทั้งหลาย ท่านสมาชิกเวบ และผู้ดูแลระบบทุกท่าน เผยแพร่กระทู้ธรรมที่ผมปฏิบัติเจริญอยู่ตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน โดยผมได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้าตามจริตของผม ซึ่งคิดและเชื่อว่า..แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์ และ ให้ผลได้แก่ทุกท่านไม่จำกัดกาล จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อท่านสมาชิกเวบทุกท่านให้ได้ลองปฏิบัติกัน หากเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเห็นผลได้ มีประโยชน์แท้จริง ผมใคร่ขอรบกวนท่านทั้งหลายได้อุทิศส่วนบุญกุศลแห่งธรรมทานนี้ให้แด่


คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ซึ่งท่านถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 15.49 น. อายุ 90 ปี 4 วัน

ประวัติโดยย่อของท่าน

- ท่านได้เลี้ยงลูกและเอาใจใส่ปลูกฝังให้ลูกมี ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี มีความขยัน หมั่นเพียร อดทน ซื่อสัตย์ สุจริต ซึ่งตัวท่านเองก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นประจำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกๆเห็นแล้วทำตาม
- เท่าที่ผมจำความได้ท่านสอนให้ผมว่า ให้เว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ให้เว้นจากการฆ่าสัตว์แม้ มด ยุง ริ้น ไร ก็ห้ามไม่ให้ฆ่า ให้ผมไม่ขโมยลักทรัพย์ ไม่เอาของๆผู้อื่นที่เขาไม่ได้ให้ ให้ผมซื่อสัตย์-ซื่อตรงทำดีต่อครอบครัวตนเองและผู้อื่น ชี้ให้ผมเห็นโทษของสุราเมรัยไม่ให้ปารถนาที่จะดื่มกิน รู้สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน ท่านสอนให้ผมมีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่น รู้เอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น มีการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีสติรู้ตน รู้สิ่งที่ควรละ-ควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรวาง มีความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความปกติสุข-ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกาย-ใจ รู้วางใจกลางๆในการอันควร ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คิดดี พูดี ทำดี ขยัน อดทน ไม่เกี่ยงงาน ไม่พูดจาด่าทอให้ร้ายใคร
- ท่านเป็นเสมียนของ บริษัทสินธุสมุทรจำกัด (โรงน้ำปลาทั่งโก๋วฮะ) มานานหลายสิบปี ท่านซื่อสัตย์ต่อบริษัทมาตลอด ไม่เคยคดโกง ไม่เคยลักขโมย อยู่ด้วยความซื่อสัตย์ จนปัจจุบันท่านเป็นที่นับถือในความซื่อสัตย์สุจริต และ เพียรทำงานที่ดีที่ถูกต้องต่อบริษัท
- ตั้งแต่ผมจำความได้ สมัยยังเด็กๆ คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ท่านเป็นสหายธรรมของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ (ซึ่งหลวงปู่ท่านเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิง หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่ท่านเป็นครูอุปัชฌาย์องค์แรกของผมเอง) สมัยเด็กๆจะเห็นท่านปั่นจักรยาน เอากับข้าวไปถวายเพลหลวงปู่ ไปนั่งสนทนาธรรมกับหลวงปู่นิลเป็นประจำ และ น้อมเอาแนวปฏิบัติสายพระป่ามาเจริญปฏิบัติ มีศีล สมาธิ เจริญกัมมัฏฐาน จนท่านสิ้นอายุขัยด้วยอายุ 90 ปี 4 วัน ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 15.49 น.

ผมขอบุญแห่งการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติเพื่อความมีประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายนี้ มอบให้แด่ คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา (เตี่ยกิมคุณ แซ่โง้ว) ให้ได้อยู่ในภพภูมิที่ดีงาม มีความปกติสุขกายสบายใจ ไม่มีความทุกข์กายใจใดๆ ตราบสิ้นกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2013, 12:12:09 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ