ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน  (อ่าน 5082 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 07:17:17 pm »
0
อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
เมื่อผู้ปฏิบัต ก็จะต้องผ่านไปตามลำดับ อย่างนี้ ก็เป็นอันจบ ไม่ว่าจะเป็นในแนวทางสมถะ หรือ วิปัสสนา ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะอานาปานสติ เป็นการทำสัมมาสติ เพื่อ สัมมาสมาธิ เมื่อสัมมาสมาธิเกิด อริยมรรคก็จะดำเนินเป็นไปตามองค์ แห่ง มรรค ผล และ นิพพาน

ผล คือ ผู้ภาวนาจะเห็นความสำคัญของลมหายใจเข้าออก คือ ชีวิต และ ชีวิต คือ ลมหายใจเข้าออก
เพราะชีวิตจะมีอยุ่ได้ ต้องมี ลมหายใจเข้าและออก ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร ก็ต้องมีลมหายใจเข้าและออก

มีสุข ก็มีลมหายใจเข้าและออก
มีทุกข์ ก็มีลมหายใจเข้าและออก
มีอารมณ์กลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็มีลมหายใจเข้าและออก

มีกิเลส ก็มีลมหายใจเข้าและออก
ไม่มีกิเลส ก็มีลมหายใจเข้าและออก

ทำกุศล ( มีการภาวนา เป็นต้น ) ก็มีลมหายใจเข้าและออก
ทำอกุุศล ( มีการฆ่า เป็นต้น ) ก็มีลมหายใจเข้าและออก

ดังนั้น ชีวิต ก็คือ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก
ผู้ภาวนาได้ส่วนนี้ เรียกว่า เข้าใจ รูปขันธ์ คือ กายส่วนที่ 1 อันเรียกว่า การเห็นกายในภายใน

ที่ต้องกล่าวว่าเป็นภายใน เพราะจับต้องได้เฉพาะเตน เป็นลมหายใจเข้าและออก เฉพาะตน

ความพิศดาร เรื่อง ลมหายใจเข้าและออก

อยู่ที่การเข้าใจ ลมหายใจเข้าและออก มีอยุ่ สามส่วน

   1.ส่วนที่เป็นอานา ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ส่วนเสียที่ปรับสมดุลย์ เรียกว่า อัสสาสะ และปัสสาสะ

   2.ส่วนที่เป็นปาน ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ที่เป็นส่วนสร้างเสริม  เรียกว่า ปราณ (ลมปราณ)

   3.ส่วนที่เป็นสติ (ญาณ) ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ของผู้ภาวนาที่บรรลุธรรม เรียกว่า นิสวาตะ

ทั้งหมดนี้เรียนรู้ ภาวนาให้เ็ห็น เพียงในกายในภายในเท่านั้น

เจริญธรรมเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

   ธัมมะวังโส

  ( จาก email )


บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

Jet

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 07:21:09 pm »
0
ยังมีอีกหรือ ไม่ คะ ถ้ามี ก็นำมาแจกธรรม กันเพิ่ม นะคะ
 :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 07:25:36 pm »
0
มีเท่านี้ครับ ผมเองสนใจเรื่อง อานาปานสติ อยู่ครับ เลยถามไป คิดว่าข้อความน่าจะมีประโยชน์ กับเพื่อน ๆ
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 11:39:05 pm »
0
ดังนั้น ถ้าใครมี เมล ของพระอาจารย์ นำมาโพสต์ ให้อ่านบ้างก็ดี ครับสำหรับเรื่อง อานาปานสติ ผมเองก็สนใจเช่นกันครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

konsrilom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 69
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 11:44:36 pm »
0
อนุโมทนา ที่นำธรรม มาแบ่งปัน โดยเฉพาะ ธรรมะที่พระอาจารย์ ธัมมะวังโส ได้มอบไว้แก่ทุกท่านคะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 11, 2012, 12:05:00 am »
0
อนุโมทนา สาธุ ข้อความธรรม ที่นำมาฝากกันครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ มี 16 ระดับ มี ญาณ สติ 200 ส่วน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 11, 2012, 08:20:52 am »
0
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน กันคะ
 :25:
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สำหรับ อานาปานสติ มี 16 ระดับ มาแนะนำคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 08:39:13 am »
0
การฝึกกำหนดลมหายใจเป็นการฝึกอานาปานสติ

อานาปานสติ หมายความว่า สติที่เกิดขึ้นโดยมีการระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก อานะ คือ ลมหายใจเข้า อปานะ คือลมหายใจออก สติ คือความระลึก ดังนั้น อานาปานสติ หรือ อานาปานัสสติ คือ การมีสติระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อานาปานสติ เป็นกรรมฐานหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ และเป็นสติปัฏฐานด้วย การเจริญอานาปานสติจึงเป็นไปได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา

ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า :- “ ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ ๗ เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์ ”

“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล อันพระโยคีเจริญแล้ว ท้าให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน เปรียบเสมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อนให้อันตรธานไปสงบโดยพลัน ฉะนั้น”

นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอานาปานสติว่าเป็นอริยวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ) พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) และตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า) นับว่าอานาปานสติเป็นกรรมฐานที่สาคัญยิ่ง พระพุทธองค์ทรงสนับสนุนให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ

การเจริญอานาปานสติหากจะให้จิตสงบถึงระดับฌานต้องหาสถานที่ที่สงบสงัด เช่น เรือนว่าง ในถ้า โคนต้นไม้หรือในป่าที่ไม่มีผู้ใดหรือเสียงรบกวน เพราะเสียงเป็นปฏิปักษ์กับฌาน เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้วให้นั่งคู้บัลลังก์หรือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรงอย่าค้อมมาข้างหน้าหรือแอ่นไปข้างหลัง เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือจรดกัน การนั่งในท่านี้มีผลดีคือทาให้ตัวตรง เลือดไหลเวียนได้

วิธีเจริญอานาปานสติ ผู้ปฏิบัติพึงกำหนดสติหายใจออก กำหนดสติหายใจเข้า

๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น

๓. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า

๔. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า

๕. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า

๖. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุข หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้า

๗. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจเข้า

๘. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า

๙. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจเข้า

๑๐. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทาจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักทาจิตให้บันเทิง หายใจเข้า

๑๑. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า

๑๒. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

๑๓. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า

๑๔. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า

๑๕. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า

๑๖. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจเข้า

สำเหนียก หมายความว่า มีสติกำหนดที่จุดลมหายใจกระทบ สาหรับคนจมูกยาวลมจะกระทบที่กระพุ้งจมูก สาหรับคนจมูกสั้นลมจะกระทบที่เหนือริมฝีปากบน เพราะส่วนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับลมหายใจเข้าออก

ถ้ารู้การกระทบก็แสดงว่ามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ไม่ต้องพิจารณาลมที่เข้าไปแล้วหรือลมที่ออกไปแล้ว มีสติกำหนดรู้อยู่ ณ บริเวณจุดที่ลมกระทบเท่านั้น เพราะการที่พิจารณาตามลมที่เข้ามาหรือออกไปนั้นจะเป็นเหตุทาให้จิตฟุ้งซ่าน กายและจิตก็จะกระสับกระส่าย ภาวะอย่างนี้เป็นโทษ

การหายใจก็ไม่ควรหายใจแบบตั้งใจทำ เช่น หายใจยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป เพราะจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน กายและจิตจะกระสับกระส่าย สิ่งเหล่านี้เป็นโทษไม่ควรปฏิบัติ ควรปฏิบัติไปตามสมควร คือ ไม่พากเพียรหนักหรือหย่อนเกินไป ถ้าหย่อนเกินไป ความหดหู่และเซื่องซึม(ถีนมิทธะ) ก็จะครอบงำ ถ้าพากเพียรมากเกินไป ก็จะฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ)
บันทึกการเข้า