ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีคำกล่าวว่า ถ้าต้องการศึกษาให้เห็นจริงในธรรม ให้ศึกษาที่ตัวเราเอง  (อ่าน 4211 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ลำใย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 83
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


 จงรู้จักตนเอง

ภาพและข้อความ สืบเนื่อง คะ



มีคำกล่าวว่า ถ้าต้องการศึกษาให้เห็นจริงในธรรม ให้ศึกษาที่ตัวเราเอง

อยากทราบว่า การศึกษาตัวเราเอง มีกฏ กติกา ระเบียบ หรือ หัวข้อศึกษาอย่างไร บ้างคะ

ใครพอจะรู้บ้างคะ

   :c017:
บันทึกการเข้า

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเริ่มต้น
    ต้องเริ่มจากข้อสงสัยต่างๆนานาที่มาตั้งแต่จำความได้ว่า เราสงสัยอะไร
และยังหาคำตอบที่แท้จริงไม่ได้ จากนั้น ก็เริ่มออกค้นหาคำตอบจากธรรมะ ถามตัวเอง
ไปเรื่อยๆ แล้วก็หาคำตอบไปเรื่อยๆ เช่น ถามว่าเราเกิดมาทำไม ทำไมเราต้องเกิดมา
อะไรเป็นตัวกำหนด แล้วลองหาคำตอบในเว็บธรรมะต่างๆ
       ดังนั้น จุดเริ่มต้นศึกษาธรรมะ ก็คือต้องเริ่มจากตัวเองครับ หากไปอ่านหนังสือ
โดยไม่มีข้อสงสัยมาก่อนเลย ก็จะทำให้เบื่อ สับสน และก็ท้อไปในที่สุด
ฝากคำพูดนี้ไว้เป็นเครื่องนำทางในการศึกษาธรรมะครับ 
“ เมื่อเจ้ามาเจ้ามีอะไรมาด้วยเจ้า    แล้วเจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
   เมื่อเจ้ามามือเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไรไป เจ้าก็จงไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา”
บันทึกการเข้า

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


เริ่มจาก ต้องรู้ว่า หลัก คืออะไร

ถ้าจับหลักไม่ได้ก็เคว้ง

หลัก คืออะไร ก็เช่น ศานาพุทธมีเป้าหมายอย่างไร  เพื่ออะไร ทำอย่างไร

สำหรับ ผมยึดจาก "โอวาทปาฏิโมกข์"  ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่

  1.  การไม่ทำบาปทั้งปวง
  2.  การทำกุศลให้ถึงพร้อม
  3.  การทำจิตใจให้บริสุทธิ์


  1.  การไม่ทำบาปทั้งปวง - งดเว้นจากอกุศลกรรมบภ 10 
  2.  การทำกุศลให้ถึงพร้อม  -  บุญกิริยาวัตถุ 10
  3.  การทำจิตใจให้บริสุทธิ์  - ปฏิภาวนา :  สมถะภาวนา แล วิปัสสนาภาวนา

ลอง ไปศึกษาดูสิ่งทั้ง 3 อย่างนี้นะครับ ว่าในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดอะไรบ้าง แล้วปฎิบัติสิ่งนี้ไป ผลที่ได้คืออะไร  แล้ววิธีปฎิบัติทำอย่างไร

รวมทั้งจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาคืออะไร  ลองไปค้นคว้ามาก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านเล่มนี้ วิธีสร้างบุญบารมี ในนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช



เนื้อหาอยู่ในห้อง ดาวน์โหลด ครับ

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
แนะนำให้อ่านลิงค์นี้ครับ

อัตตา ตัวตนอันนี้ มีความหมายอย่างไรคะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=384.msg1452#msg1452



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


 โดยย่ออุปาทาขันท์ ๕ เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ คือ รูป
 อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
 อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
 อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
 อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ

 อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๘๑๔ - ๘๘๒.  หน้าที่  ๓๔ - ๓๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=814&Z=882&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=80




ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)

๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)

๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)

๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)

๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
 
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖)

   ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป;
   รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม.

   อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔ :
   วิญญาณขันธ์เป็น จิต,
   เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็น เจตสิก,
   รูปขันธ์ เป็น รูป,
   ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕


อ้างอิง
สํ.ข.๑๗/๙๕/๕๘; อภิ.วิ.๓๕/๑/๑.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



    ตัวเราก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง แบ่งออกเป็น รูปกับนาม หรืออธิบายง่ายๆก็คือ กายกับใจนั่นเอง
    การยึดมั่นในขันธ์ ก็คือ การยึดมั่นในกายกับใจของเรานั่นเอง
    ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า  "โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"

    ดังนั้นการจะพ้นทุกข์ได้นั้น จะต้อง "ละอุปทานขันธ์ ๕"
    การวัดว่า ละได้หรือยัง ต้องดูที่สังโยชน์
    การละสังโยชน์ได้ ๕ ข้อแรก เป็นการละการยึดมั่นในกายของเรา(เป็นอนาคามี)
    การละสังโยชน์ได้อีก ๕ ข้อที่เหลือ เป็นการละการยึดมั่นในจิตของเราเอง(เป็นอรหันต์)

     :welcome: :49: :25: ;)




การละอุปทานขันธ์ ๕

จุดประสงค์

    บอกความหมายของคำว่า “อุปาทาน” ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง
    อธิบายความสัมพันธ์ของ "ขันธ์ 5" กับ "อุปาทานขันธ์ 5" ได้ถูกต้อง

    ความหมาย

                 ราชบัณฑิตยสถาน 2542 (2546 : 1388) อธิบายว่า อุปาทานหมายถึง การยึดมั่นถือมั่น โดยนึกเอาเองว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆการนึกเอาเองแล้วยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ

                พุทธทาสภิกขุ (2535 : 53) กล่าวว่า “คำว่าอุปาทาน แปลว่าความยึดถือ ถ้าตามตัวหนังสือจริงๆ ก็แปลว่าการเข้าไปถือเอาหรือการเข้าไปถือเอาหรือการเข้าไปทรงไว้เป็นต้น แต่โดยใจความแล้ว คือการเข้าไปยึดถือเอาด้วยกำลังจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นนั่นเอง”



  ขันธ์ 5 กับอุปาทานขันธ์ 5

    ตามที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการเกิดขึ้นของนามธรรม จากเริ่มต้นถึงสิ้นสุดเป็น เวทนา ความรู้สึก เป็นสุข เรียกว่า สุขเวทนา ความรู้สึกเป็นทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา หรือ เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย พึงทราบว่า “เวทนา” นี้ล้วนเป็น อุปาทาน ดังที่พระธรรมปิฎก ได้กล่าวไว้ ดังนี้ 

 “…ในพุทธพจน์ที่ทรงแสดงความหมายของอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ประมวลใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา มีข้อความที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเกี่ยวกับขันธ์ 5 ปรากฏอยู่ในอริยสัจข้อที่ 1 คือข้อว่าด้วยทุกข์ ซึ่งในอริยสัจข้อที่ 1 นั้น ตอนต้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมายหรือคำจำกัดความของทุกข์ ด้วยวิธียกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆที่มองเห็นได้ง่ายและมีอยู่เป็นสามัญในชีวิตของบุคคล ขึ้นแสดงว่าเป็นความทุกข์แต่ละอย่างๆ

แต่ในตอนท้าย พระองค์ตรัสสรุปลงเป็นข้อเดียวว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังพุทธพจน์ว่า  ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ทุกข์อริยสัจ  ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์   

พุทธพจน์นี้ นอกจากแสดงถึงฐานะของขันธ์ 5 ในพุทธธรรมแล้ว ยังมีข้อสังเกตสำคัญ คือ ความหมายของทุกข์นั้น จำง่ายๆด้วยคำสรุปที่สั้นที่สุดว่า คืออุปาทานขันธ์ 5 หรือเบญจอุปาทานขันธ์เท่านั้น และ คำว่าขันธ์ในที่นี้มี อุปาทาน นำหน้าด้วย...” 

    “…สิ่งที่ควรศึกษาในที่นี้ ก็คือคำว่า ขันธ์ กับ อุปาทานขันธ์ ซึ่งขอให้พิจารณาตามพุทธพจน์ ต่อไปนี้ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เธอทั้งหลายจงฟัง ขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป   เวทนา  สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใด อันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ไกลหรือใกล้ ก็ตาม......เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ 5   

อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป เวทนา  สัญญา สังขาร  วิญญาณ อันใด อันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เหล่านี้เรียกว่าอุปาทานขันธ์ 5

รูป...เวทนา สัญญา สังขาร. วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทะ ราคะ ในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร. วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้น
หลักขันธ์ 5 รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน


ฉันทะ ราคะ ในรูป .เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้น
หลักดังกล่าวนี้ เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่สำคัญอย่างหนึ่งในการศึกษาพุทธธรรมต่อไป...”


              และพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงเรื่องของอุปาทานไว้ ดังนี้     

“…อาตมาเห็นว่าการศึกษาให้เข้าใจเรื่องกิเลส ส่วนที่เป็นเหตุให้ยึดถือ หรือที่เรียกว่า อุปาทาน นี่แหละเสียก่อน จะเป็นการช่วยให้เราเข้าใจพุทธศาสนาได้ชัดเจนลึกซึ้งถึงที่สุดและโดยง่ายจึงขอร้องให้บรรดาท่านนักศึกษาทั้งหลายได้สนใจในเรื่องอุปาทาน หรือความยึดถือนี้ให้มากเป็นพิเศษ

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอให้ศึกษาจนรู้จักตัวความยึดถือที่แท้จริงที่ท่านกำลังมีอยู่ในท่านทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง หรือว่าจะเป็นตัวบุคคลที่เรากำลังจะไปช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์ภัยที่เกิดมาแต่กิเลส   กิเลส ซึ่งเป็นความยึดถือ หรือเป็นเครื่องยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั้น พุทธศาสนาเรียกว่า อุปาทาน…”

สรุป
    จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า “อุปาทาน” เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กับ “ขันธ์ 5” เป็น “อุปาทานขันธ์ 5”   ตัวอย่าง เช่น นาย ก. กับ นางสาว ข.มีความรักใคร่ชอบพอกัน หากพิจารณาตั้งแต่เริ่มต้นจาก จักษุวิญญาณ คือ การที่ทั้งคู่มองเห็น “รูป” ของกันและกัน เกิดวิญญาณรับรู้ทางตา แล้วปรุงแต่งจิต (เกิดสังขาร) ให้คิดถึง ระลึกถึงกันอยู่ตลอดเวลา ( เกิดสัญญา)

เมื่อได้รักและแต่งงานกันสมใจก็เกิดเป็นเวทนา ประเภท  “ความสุข” เรียกว่า “สุขเวทนา” เกิดความยึดติด ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของของตนตามอำนาจของกิเลส คือ ความรัก  เรียกว่า อุปาทาน แต่การแต่งงานไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต

เพราะเหตุการณ์ภายหลังแต่งงานมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต หรือขันธ์ 5 ซึ่งมีทั้งสุขเวทนา และทุกขเวทนา อันเป็นไปตามการกระทำ หรือ กรรมของแต่ละคนหากเกิดผิดพลาด นาย ก.ต้องไปแต่งงาน กับนางสาว ค. , นางสาว ข.  ก็เกิดเวทนา ประเภท “ความทุกข์” เรียกว่า “ทุกขเวทนา”

เพราะยึดมั่นถือมั่นว่า นาย ก. เป็นของตน เคยรักกับตน จะต้องแต่งงานกับตนเท่านั้น (สัญญา) นางสาว ค. จะมาแต่งงานด้วยไม่ได้ อำนาจของ กิเลส คือความโกรธ เรียกว่า อุปาทาน จึงปรุงแต่งจิต (สังขาร) คิดไปทำร้าย นางสาว ค. เป็นต้น

อุปาทานจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากขันธ์ 5 เป็นอุปาทานขันธ์ และเป็นเหตุให้มนุษย์มีความทุกข์ดังอรรถาธิบายความในพุทธพจน์ ของพระธรรมปิฎกข้างต้น

และ ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนของตนมีอยู่ในรูป บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน คือ ทำอะไรตามใจ ยึดมั่นถือมั่นว่า ตนเองดีที่สุด ใหญ่สุด จะเอาอะไรต้องได้ ตามใจ โดยมีอำนาจของกิเลส และอุปาทานนำไป


 โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น หากผลที่เกิดเป็นผลดี ก็ดี หากผลที่เกิดเป็นผลร้าย ก็คงเป็นข่าว อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

อ้างอิง http://www.suwalaiporn.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2&Id=131996
ขอบคุณภาพประกอบจากhttp://multiply.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2011, 08:10:39 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ