ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง  (อ่าน 22532 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็น ศาสนาอื่น ๆ นั้นใช้ วิธีการ ฝัง กันเป็นส่วนใหญ๋

 แต่ ศาสนาพุทธเรา บางครั้ง ก็ เก็บไว้ บางครั้ง ก็ เผา บางครั้ง ก็ ฝัง

 แท้ที่จริง การจัดการศพ แบบไหน จึงจะถูกต้อง คะ ตามธรรมเนียมชาวพุทธ

   มารบกวน คุณ nathaponson อีกแล้วนะคะ

   :c017: :88: :58:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 10:15:03 am »
0


๒. ทำไมเมื่อคนเราตายไปจึงต้องมีพิธีการจัดงานศพ ต้องไปเคารพศพ อะไรคือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจัดงานศพ?
   
   ตอบ    พิธีกรรมในงานศพ พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร จะจัดหรือไม่จัดก็ได้ เพราะไม่มีประโยชน์อะไรกับผู้ตาย ผู้ตายเมื่อวิญญาณออกจากร่างก็ไปเกิดใหม่ ตามอำนาจของบาป-บุญ ที่ตนได้กระทำไว้ก่อนตาย ผู้อื่นไม่สามารถช่วยอะไรได้

      พิธีกรรมต่างๆในงานศพ พวกสัปเหร่อจะแนะนำไปตามความเชื่อและตามความคิดเห็นของตน แต่ละท้องที่ก็ทำแตกต่างกันไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของงานศพก็คือ เกียรติยศชื่อเสียงของผู้ตาย ของเจ้าภาพ และหวังเพื่อให้ผู้ตายไปสู่ที่ดีๆ อีกอย่างหนึ่งก็เพื่ออาชีพของสัปเหร่อเอง

      ตามริมฝั่งแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย ตลอด ๒๔ ชั่วโมงทุกวัน จะไม่ว่างจากควันไฟเผาศพเลย แต่ละศพจะมีญาติเพียง ๑ - ๒ คน ช่วยกันเผา เผาเสร็จแล้วก็เอาเถ้ากระดูกโปรยลงแม่น้ำคงคา โดยมีความเชื่อว่าแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปของผู้ตายได้ ไม่ต้องทำพิธีกรรมใดๆ ขณะเดียวกันก็มีสัปเหร่อที่ไม่ต้องจ้าง คือ คุณแร้ง คุณกา คุณนก คุณหนูทั้งหลาย เฝ้าคอยดูอยู่ใกล้ๆ ถ้าญาติจัดการงานศพไม่หมด หรือศพไม่มีญาติ ก็จะช่วยจัดการให้เรียบร้อย

   
๓. พิธีศพของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร?

   ตอบ    สำหรับพิธีศพของพระพุทธเจ้านั้น พระอานันทะ(พระอานนท์) เคยถามพระองค์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะจัดการพระศพของพระองค์อย่างไรพระเจ้าข้า" พระองค์ทรงตรัสว่า "อานันทะ.... เธออย่าเดือดร้อนเลย พวกกษัตริย์เขาจะจัดการเอง"

พระอานันทะก็ทูลถามว่า "ถ้าพวกกษัตริย์จะจัดการ จะให้จัดการอย่างไร?" พระองค์ทรงตรัสว่า "จงจัดอย่างพระศพของพระเจ้าจักรพรรดิ คือ ห่อพระศพด้วยผ้าใหม่ ซับด้วยสำลีสลับกัน ๕๐๐ ชั้น

แล้วอัญเชิญลงในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยฝาเหล็ก พรมด้วยของหอม เผาบนเชิงตะกอน แล้วนำสรีระธาตุบรรจุในสถูปประดิษฐานไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนใดบูชาด้วยดอกไม้ของหอม หรือกราบไหว้ด้วยจิตอันเลื่อมใสในพระสถูปนั้น จะเป็นประโยชน์ เป็นความสุขตลอดกาลนาน"

   

๔. ทำไมในงานศพต้องมีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดศพ? ทำไมต้องมีการสวดพระอภิธรรม?
   
   ตอบ การนิมนต์พระภิกษุมาสวดอภิธรรมในงานศพนั้น ชาวบ้านจัดกันไปเอง แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ได้ทำบุญทำกุศลกับพระภิกษุ เพราะการเห็นสมณะเป็นมงคล

      การสวดอภิธรรมนั้นหวังให้ผู้ตายได้ฟังธรรมขั้นสูง ถ้าผู้ตายเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ไม่สนใจในการบุญการกุศล ไม่สนใจในธรรม ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรในการสวด แต่อภิธรรมยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าผู้ฟังมีความสนใจฟัง และรู้คำแปล รู้ความหมาย ย่อมเกิดบุญเกิดอานิสงส์จากการฟังนั้น


๕. พิธีศพเท่าที่เห็นมาทำไมเจ้าภาพต้องเลี้ยงเหล้าเลี้ยงเบียร์ ให้กับแขกที่มาในงาน จะเลี้ยงแต่อาหารกับขนมจะได้หรือไม่?
   
   ตอบ   เจ้าภาพจะเลี้ยงอะไรก็ได้ไม่ผิด แต่เหล้าเบียร์เป็นสิ่งสมมุติกันว่าดีในสังคมของปุถุชน ถ้าเจ้าภาพไม่เลี้ยงด้วยสิ่งเหล่านี้ เกรงว่าแขกจะติเตียน กลัวจะเสียหน้าซึ่งเจ้าภาพคิดไปเอง ถ้าเจ้าภาพไม่เลี้ยงเหล้าเลี้ยงเบียร์ใครจะทำอะไรได้

บัณฑิตยังสรรเสริญว่าเจ้าภาพเป็นคนดี มีศีลธรรม มีกัลยาณธรรม การเลี้ยงด้วยเหล้าเบียร์ยังเป็นผลเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายสูง แขกที่กินเหล้าแล้วมักพูดมาก กินหมดขวดแล้วก็อ้อนออดขออีกไม่จบไม่สิ้น เมื่อเมาแล้วอาจเกิดการทะเลาะวิวาทตีกันในงาน อีกอย่างหนึ่งการทำบุญสงเคราะห์คนขี้เมา คือคนทุศีล ย่อมมีผลน้อย มีอานิสงส์น้อย
 

๖. พิธีศพเท่าทีเห็นมา ทำไมต้องมีการเล่นการพนัน?

   
   ตอบ   การพนันในงานศพนี้เป็น กาฝาก เป็นกติกามืดของสังคมไทย ผู้ไม่เคยจัดงานศพจะไม่รู้ แต่เมื่อใดได้จัดงานศพแล้วจะรู้เองว่า มีแขกผู้ไม่ต้องเชิญ คือพวกนักพนัน บุคคลพวกนี้เขาจะรู้ได้เองว่าบ้านไหนมีงานศพ เขาจะพากันไปอย่างมากมายโดยมิได้นัดหมาย เหมือนเป็นกระบวนการโดยเจ้าหน้าที่ไม่อาจจัดการอะไรได้

เจ้าภาพก็พูดไม่ออก เจ้าภาพจะต้องจำใจต้อนรับขับสู้ บำรุงบำเรอเขาเหล่านั้นด้วยสุรา อาหารต่างๆ และที่หลับที่นอนอย่างดี เสมอด้วยแขกผู้เกียรติที่ได้รับเชิญ

พวกนักพนันเหล่านี้มักติดต่อกับเจ้าภาพ ขอเป็นเจ้าภาพจัดการงานศพต่ออีก ๗วันบ้าง ๑๐วันบ้าง ยิ่งนานยิ่งดี โดยยอมจ่ายค่าป่วยการให้ทุกอย่าง ขอให้เล่นการพนันได้เท่านั้น เพราะถ้าไปเล่นที่อื่นที่ไม่ใช่งานศพตำรวจจะจับ เจ้าภาพที่เห็นแก่ได้ก็มีอยู่ นี่คือธุรกิจมืดที่มองเห็นได้แต่แก้ไขไม่ได้ของสังคมไทย!



๗. ถ้ามีการทำสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุกระดูกไว้ตามวัดจะดีหรือไม่ประการใด?

   ตอบ   พระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลผู้ควรบรรจุสถูปเจดีย์มี ๔ บุคคล คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑, พระปัจเจกพุทธเจ้า๑, พระอรหันต์สาวก๑,
   
พระเจ้าจักรพรรดิ๑ บุคคลทั้ง ๔ นี้ เกิดขึ้นมาในโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"

   ส่วนพระภิกษุทั่วไปหรือคนทั่วไป ไม่ควรทำสถูปเจดีย์ เพราะทำให้เปลืองที่ทาง มีบางวัดปล่อยให้มีการสร้างเจดีย์เหล่านี้อย่างใหญ่โตและมากมายจนวัดไม่มีที่จะเดิน เพียงเห็นแก่ผลตอบแทนเล็กน้อยจากเจ้าของเจดีย์ แล้วทางวัดต้องคอยดูแลให้เขาจนชั่วนิรันดร์ ไม่คุ้มกับราคาที่ดินทีมีราคามูลค่าสูงเพิ่มขึ้นทุกวัน แทนที่วัดจะมีที่ทางอันร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
   

๘. การไปเคารพศพ ไปขอขมาศพ ให้มีการอโหสิกรรมให้กันและกัน ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ดี สามารถอโหสิกรรมเลิกการจองเวรได้หรือไม่?

   ตอบ   การเคารพศพ การขอขมาศพ เป็นความดี ถ้าทั้งผู้อยู่และผู้ตายอโหสิกรรม ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน เวรก็ระงับได้ แต่ถ้าฝ่ายใดยังจองเวรอยู่ ฝ่ายนั้นก็ยังต้องทุกข์อยู่


ที่มา http://www.watkhaohinturn.net/ans_june.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.sangkapan.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 10:34:12 am »
0

ศาสนพิธี

 ๒. ทำบุญงานอวมงคล

     การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตายดังกล่าวแล้ว นิยมทำกันอยู่ ๒ อย่างคือ ทำบุญหน้าศพ ที่เรียกกันว่าทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพ อย่างหนึ่ง ทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภการตาย ของบรรพบุรุษ หรือผู้ใดผู้หนึ่ง ในวันคล้ายกับวันตายของท่านผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้ มีระเบียบ ที่จะพึงปฏิบัติ ดังนี้


      ก. งานทำบุญหน้าศพ

     พิธีฝ่ายเจ้าภาพ ในงานทำบุญหน้าศพ มีกิจกรรมที่ควรตระเตียมไว้เป็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่คล้ายกับงานทำบุญมงคล แต่มีข้อแตกต่างอยู่บางประการ คือ

     ๑. อาราธนาพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ มีจำนวนนิยม ๘ รูป หรือ ๑๐ หรือกว่า นั้นขึ้นไป แล้วแต่กรณี ในเรื่องอาราธนาพระสงฆ์สำหรับทำบุญงานอวมงคล ไม่ใช้คำอาราธนาว่า ่”ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” เหมือนอย่างทำบุญงานมงคล แต่ใช้คำอราธนาว่า “ขออราธนา สวดพระพุทธมนต์”

     ๒. ไม่ตั้งน้ำวงด้าย หมายความว่า ไม่ต้องตั้งภาชนะน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ และไม่มี การวงด้ายสายสิญจน์

     ๓. เตียมสายโยงหรือภูษาโยงต่อจากศพไว้ เพื่อใช้บังสุกุลสายโยงนั้น ก็ใช้สายสิญจน์ นั่นเอง แต่ไม่เรียกว่าสายสิญจน์เหมือนงานมงคล เรียกว่า สายโยง ถ้าไม่ใช้สายสิญจน์โยง มีหลักที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง คือ จะโยงในที่สูงกว่าพระพุทธรูป ที่ตั้งในพิธีไม่ได้ และจะปล่อย ให้ลาดมากับพื้นที่เดินหรือนั่งก็ไม่เหมาะเพราะสายโยงนี้ เป็นสาย ที่ล่ามโยงออกมาจากกระหม่อม ของศพ เป็นสิ่งเนื่องด้วยศพ จึงต้องล่ามหรือโยงให้สมควร

     ส่วนการปฏิบัติกรณียกิจ ในเมื่อพระสงฆ์มาถึงตามกำหนดแล้วก็คล้ายกับงานมงคล

     สำหรับข้อปฏิบัติในวันเลี้ยงพระ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในงานมงคล มีแต่เพียงว่า ในงานมงคล หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว นิยมให้มีบังสุกุล แล้วจึงถวายไทยธรรม เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาพึงกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลต่อไป



     พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ต้องใช้พัดที่เกี่ยวกับงานศพเป็นเหมาะสม เพราะงานอวมงคล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตายทั้งสิ้น ถ้าไม่มี จะใช้พัดงานอื่นก็ได้ เช่น พัดงานฉลองต่าง ๆ การสวดมนต์ ในงานอวมงคลนี้ (สวดมนต์เย็นและฉันวันรุ่งขึ้น) มีระเบียบนิยมเหมือนกัน ในตอนต้นและตอนท้าย ทุกงาน ต่างกันแต่ตอนกลาง ซึ่งมีนิยมเฉพาะงาน ๆ ดังนี้

     ๑. ทำบุญศพ ๗ วัน สวดอนัตตลักขณสูตร

     ๒. ทำบุญศพ ๕๐ วัน สวดอาทิตตปริยายสูตร

     ๓. ทำบุญศพ ๑๐๐ วัน หรือทำบุญหน้าวันปลงศพสวดธรรมนิยามสูตร

     ๔. ทำบุญศพในวาระอื่นจากที่กล่าวนี้จะสวดสูตรอื่นใดนอกจากที่กล่าวนี้ก็ได้ แล้วแต่ เจ้าภาพประสงค์หรือหัวหน้านำสวด แต่มีธรรมเนียมอยู่ว่า ไม่สวดเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัย


     ในการสวดนี้ มีระเบียบปฏิบัติ คือ เมื่อพระหัวหน้าให้ศีลและเจ้าภาพอาราธนา สวดพระปริตรจบแล้ว ไม่ต้องขัด สคฺเค พระทุกรูปประนมมือพร้อมกันแล้ว หัวหน้านำสวด

       ก. นมการปาฐะ (นโม......)

       ข. สรณคมนปาฐะ (พุทฺธํ สรณํ.....)

       ค. ปัพพโตปมคาถาและอริยธนคาถา (ยถาปิ เสลา....)


     พอจบตอนนี้ ทั้งหมดลดมือลง แล้วรูปที่นั่งอันดับ ๓ ตั้งพัดขัดบทขัดของสูตร ที่กำหนด สวดตามงานสูตรใดสูตรหนึ่ง เมื่อขัดจบวางพัด ทุกรูปประนมมือพร้อมกันอีก หัวหน้านำสวดสูตร ที่ขัดนำนั้น จบสูตรแล้ว นำสวดบทท้ายสวดมนต์ของงานอวมงคลต่อ คือ

       ก. ปฏิจจปมุปบาท (อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา....)

       ข. พุทธอุทานคาถา (ยทา หเว....)

       ค. พุทเทกรัตตคาถา (อตีตํ นานฺวาคเมยฺย....)

       ฆ. ภวตุ สพฺพมงฺคลํ....


     ถ้าสวดธรรมนิยามสูตร ใช้สวดติลักขณาทิคาถา (สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯเปฯ เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ) ก่อนสวดปฏิจจสมุปบาท

    เมื่อพระสวดมนต์จบแล้ว ถ้ามีการชักผ้าบังสุกุลต่อท้าย เจ้าจะลากสายโยงหรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกัน (อย่าข้าสายโยง หรือภูษาโยง เพราะ จะถือว่าเป็นการข้ามศพ) การตั้งพัดในพิธีชักบังสุกุลของพระให้ใช้มือซ้ายจับพัดแล้วใช้มือ ขวาจับผ้าบังสุกุล

     ในกรณีที่เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเพียงสดมนต์ ไม่มีการเลี้ยงพระ ไม่ต้องสวดบทถวาย พรพระ เมื่อพระสงฆ์รับไทยธรรมแล้ว หากไม่มีการรีบด่วน ในการอนุโมทนาด้วยบทวิเสส อนุโมทนา พึงใช้บท “อทาสิ เม” เพราะศพยังปรากฏอยู่



       ข. งานทำบุญอัฐิ

     พิธีฝ่ายเจ้าภาพ พึงจัดตระเตียมทำนองเดียวกับงานทำบุญหน้าศพที่กล่าวแล้ว ทุกประการ ต่างแต่เพียงงานนี้เป็นงานทำบุญหน้าอัฐิหรือรูปที่ระลึกของผู้ที่ล่วงลับ เป็นต้น เจ้าภาพต้องเตรีมที่ตั้งอัฐิหรือที่ตั้งรูประลึกนั้น ๆ ต่างหากจากโต๊ะบูชา จะใช้โต๊ะหมู่หรือโต๊ะอื่นใด ที่สมควรก็ได้ ให้มีออกไม้ตั้งหรือประดับพองามตามแต่จะพึงจัดได้ และตั้งกระถางธูปกับเชิงเทียน ๑ คู่ ที่หน้าโต๊ะอัฐิหรือรูปนั้นด้วยเพื่อบูชา จะใช้พานหรือกระบะเครื่องห้าสำหรับบูชาแทนก็ได้ ข้อสำคัญให้ดูงามเด่นพอควร เป็นใช้ได้

     พิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์ ส่วนใหญ่ก็พึงปฏิบัติเช่นเดียวกับงานทำบุญหน้าศพ ต่างแต่ การสวดมนต์ นิยมใช้สูตรอื่นนอกจากอนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร และธรรมนิยามสูตร ที่ใช้สำหรับงานทำบุญศพ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือหน้าวันปลงศพดังกล่าวแล้ว (ในปัจจุบัน สวดธรรมนิยามสูตรก็มี) ทั้งนี้แล้วแต่หัวหน้าสงฆ์ จะกะนัดหมาย หรือเจ้าภาพจำนง หมาย เช่น สติปัฏฐานปาฐะ เป็นต้น


อ้างอิง http://www.dhammathai.org/practice/practice2.php
ขอบคุณภาพจาก http://www.udon108.com/,http://www.dhammajak.net/



ภาพงานศพ ศพ และกระดูกที่เห็นข้างบน เป็นของ หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หลวงปู่ทา จารุธัมโม เป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์, หลวงปู่มั่น, หลวงปู่มี ญาณมุนี

ชมภาพเต็มๆได้ที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12890&postdays=0&postorder=asc&start=0


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2011, 10:50:21 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 11:00:02 am »
0


งานศพ ควรเป็นโอกาสในการทำประโยชน์ส่วนรวม

     "พี่ตาล....จัดการเรื่องพวงหรีดให้ด้วยนะ  ในนามโรงเรียนบ้านพุตะแบก ชมรมครู  สหกรณ์ออมทรัพย์ครู  และก็ตามด้วยโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพ" เสียงเจ้านายสาวของฉัน ส่งเสียงมาทางโทรศัพท์

     เช้าวันที่ ๓๑ ตุลาคม ท่ามกลางฝนตกโปรยปราย ฉันจึงต้องทำหน้าที่ ซื้อพวงหรีด ไปเคารพศพคุณพ่อ รวม ๕ พวง เดินทางจากหาดใหญ่ไปสทิงปุระ(สทิงพระ) จนฉันและลูก ๆ ต้องสละพื้นที่รถเก๋งคันงามให้กับพวงหรีดดอกไม้สด จำนวนหลายพวง โดยใช้บริการรถตู้แทน

     เมื่อไปถึงงานศพ ฉันพาลูก ๆ เข้าไปกราบคุณพ่อ  พบว่าหน้าหีบศพมีพวงหรีดเฉพาะที่ฉันนำมาเท่านั้น เอาล่ะซี เกิดอะไรขึ้น ก็อยู่ที่ประจวบฯ ฉันเคยเห็นงานศพแต่ละงานมีพวงหรีดเต็มไปหมด จนแทบจะไม่มีที่แขวน

     เมื่อสอบถามพี่น้อง ๆ ก็สรุปความได้ว่า งานศพของภาคใต้ไม่นิยมจัดงานศพด้วยพวงหรีด จัดเพียงดอกไม้เท่านั้น  บางวัดถึงกับตั้งกฏกติกาว่า มิให้ใช้พวงหรีดที่เป็นดอกไม้แห้ง และโฟม โชคดีที่พวงหรีดที่นำไปเป็นประเภทดอกไม้สดทั้งหมด

     ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่า พิธีงานศพมักถูกจัดขึ้นที่บ้านผู้ตาย ขนบธรรมเนียมของภาคใต้เรื่องอาหารการกินเป็นเรื่องใหญ่ งานศพ ๗ วัน ฆ่าหมู ฆ่าวัวเป็น ๑๐ ตัว รู้สึกว่างานใดฆ่าหมูฆ่าวัยเยอะเท่าไหร ก็แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของงาน นั่นคือประเพณีที่มิอาจเปลี่ยนแปลงเพราะยึดถือกันมาเช่นนั้น

     "ถ้าพ่อตาย ไม่ต้องฆ่าหมู ฆ่าวัว  พ่ออยากไปคนเดียวมากกว่า ไม่ต้องพาวัวพาหมูไปเลี้ยงเป็นฝูง ๆ "  พ่อเคยพูดกับฉันเช่นนี้ ดังนั้นตอนงานศพคุณพ่อ จึงไม่มีการฆ่าหมูฆ่าวัวในงาน แต่ใช้วิธีการสั่งจากตลาดสดทั้งหมด และก็ใช้ปลาเข้ามาช่วยในการปรุงอาหาร ซึ่งต้องใช้งบประมาณที่สิ้นเปลืองอย่างมาก (ใช้หมู ๑๐ ตัว  ปลาอีกครั้งละเป็น ๑๐,๐๐๐)



    ปัจจุบันการจัดพิธีศพ เปลี่ยนไป ส่วนมากจะจัดกันที่วัด เพื่อความสะดวกในทุก ๆ ด้าน การจัดงานในวัด ทำให้เรื่องของการเล่นการพนันลดลงไปได้บ้าง แต่ก็มิใช่ไม่มีเสียทีเดียว เพียงแต่ยังมีความละอายต่อสถานที่อยู่บ้าง

     จริง ๆ แล้ว มองว่า "งานศพ" น่าจะได้รับการประยุกต์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ สิ่งที่ควรทำน่าจะเป็นเรื่องการทำบุญ เคยได้อ่านวารสารวัฒนธรรมไทย ฉบับหนึ่ง จำไม่ได้แล้วเหมือนกันว่าเป็นฉบับใด สรุปได้ว่ามีเนื้อหาในทำนองว่า

    "สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการจัดงานศพ คือ การทำให้งานศพเป็นโอกาสในการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เช่น การบริจาคเงินในนามของผู้ตายสนับสนุน หรือช่วยเหลือผู้ยากไร้ สนับสนุนพระสงฆ์  การบวชหน้าไฟ ของลูกหลานก็ไม่ควรให้ระยะเวลาสั้นเกินไป และควรให้ลูกหลานที่บวชได้ปฏิบัติธรรม อาณาปาณสติภาวนาอุทิศให้ผู้ตาย ส่วนธรรมเนียมของงานศพที่จัดหลายวัน ทำให้สิ้นเปลืองไปกับพิธีกรรมที่ไม่จำเป็นก็ควรนำมาทบทวนกันบ้าง"

      การจัดดอกไม้ประดับในพิธีและโรงศพ ไม่ควรให้มากเกินความจำเป็น สำหรับพวงหรีดที่มีผู้ร่วมงานนำมาเคารพ ที่มักนิยมใช้ผ้าขนหนูมาประดิษฐ์หรือดอกไม้สด ถ้ามากเกินไปก็จะกลายเป็นของเหลือใช้ เน่าเสีย หากให้เกิดประโยชน์เต็มที่ในการทำบุญ

 เจ้าภาพอาจสอบถามทางวัดว่าต้องการอะไรหรือเจ้าภาพตั้งใจจะนำของไปบริจาคใคร หรืออาจเขียนแจ้งในบัตรเชิญ หรือ ป้ายกำหนดการ เช่น "ขอเชิญบริจาคพันธุ์ไม้ถวายวัด แทนพวงหรีด" หรือ "ขอเชิญบริจาคหนังสือหรืออุปกรณ์กีฬามอบให้กับโรงเรียน  แทนพวงหรีด" วิธีการแบบนี้ จะช่วยลด "ขยะพวงหรีด" ได้อย่างสร้างสรรค์

      ของแจกในงานศพ  ถ้าพิมพ์เป็นหนังสือธรรมมะก็จะเป็นสิ่งดี  หรือไม่ อาจเปลี่ยไปพิมพ์หนังสือเกียวสุขภาพ  หรืออาจพิมพ์เป็นพจนานุกรมแจกเด็กนักเรียน โดยใช้ภาพผู้ตายเป็นปก ก็เป็นการสร้างสรรค์

      เจ้าภาพที่มีทุนน้อย อาจเขียนบรรยายความรู้สึกของการสูญเสียผู้ตายด้วยตนเอง รวมทั้งบรรยายวินาทีสุดท้ายของการเสียชีวิต ลงในกระดาษต้นฉบับ นำไปถ่ายเอกสารแจกในงานศพ ก็สร้างความแปลกใหม่ได้ไม่น้อย หากเจ้าภาพมีทุนมาก อาจแจกเป็นแผ่นซีดีธรรมะก็น่าสนใจ ได้ประโยชน์ไม่น้อย

       สำหรับธรรมเนียมของงานศพที่ต้องเปิดฝาโลงให้ญาติได้เห็นผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย ให้ถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้ทำมรณสติ ระลึกรู้ถึงความตาย เป็นเรื่องการภาวนาภายในที่ต้องเผชิญกับอารมณ์โศกเศร้าแห่งการพลัดพราก เป็นจังหวะเหมาะในการเรียนรู้ตัวเองอย่างมีสติภายใต้ความโศกเศร้านั้น ให้ถือเป็นปรกติวิสัยของมนุษย์ปุถุชน



ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/423407
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 12:34:48 pm »
0
ไม่ผิดหวัง กับ การถามในห้องนี้ จริง ๆ คะ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

ลูกเณร-รัตน์

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 31
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 07:16:06 pm »
0
ได้ความรู้ดี ครับ แต่ในสถานการณ์ จริง นั้นพบเห็นบ่อยครับว่า
การจัดการงานศพ นั้น ต้องทำตามความประสงค์ ของเจ้าภาพครับ

โดยเฉพาะ เจ้าภาพ ยิ่งมีบารมีมาก กระเป๋าหนัก ละก็ แทบจะได้ทุกอย่างครับ

  การจัดการเรื่อง พวงรีด สำหรับวัดที่ไม่เคยควบคุมนั้น  เมื่อประกาศออกไป มักจะถูกต่อต้านกัน

  ถ้าต้องการจัดการเรื่อง พวงรีด เลยคงต้องเิริ่มอย่างวัด ชลประทาน ครับ ผมเห็นเป็นระเบียบดีมากครับ

 ในเรื่องการจัดการงานศพ เป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างยิ่ง


   ส่วนที่วัด ที่ผมอาศัยอยู่ นั้น ทำไม่ได้ครับ ญาตโยม ไม่ยอมกันครับ

   โดนต่อว่ากลับ กันด้วยครับ เืมื่อไปขอร้อง พวงรีดเป็นเก้าอี้ หรืออย่างอื่นแทน ครับ

  :08: ??? :25: :25:
บันทึกการเข้า

ลำใย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 83
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 09:30:14 am »
0
คลิป VDO เผาศพตามพระไตรปิฏก 2

บันทึกการเข้า

ลำใย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 83
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดการศพ ผู้เสียชีิวิต อย่างไร จึงจะถูกต้อง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 09:31:07 am »
0
พิธีการทิ้งศพอินเดีย
บันทึกการเข้า