ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญ ใส่บาตร แล้ว พระไม่ได้ ฉัน เอาไปแจกต่อ ได้บุญอย่างไรคะ  (อ่าน 3088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือ มีความตั้งใจ ตื่น แต่ ตี3 ตั้งใจ ทำอาหาร อย่างประณีต เป็นอาหารที่มีราคาแพง ได้ทำบุญใส่บาตรกับพระสงฆ์ แต่ ปรากฏว่า พระสงฆ์ไม่ได้ฉัน กลายเป็นชาวบ้าน ซึ่งเป็นศิษย์กับนำไปทาน ต่อ เพราะมีผู้พูดให้ฟัง ชื่ออาหารอันปราณีต ที่เราไว้นั้น คนที่นำไปทาน เที่ยวพูดว่า เป็นลาภปาก อย่างนี้

  อยากทราบว่า การที่เราถวาย พระ แล้ว พระไม่ได้ ฉัน เราได้บุญหรือไม่ ?

  ส่วนคนที่ นำอาหารเราไปทานนั้น มีผลกรรมอย่างไร และ เราจะได้รับผลกรรม อันเป็นสาเหตุ ให้เขาเป็นบาปหรือไม่ คะ

   :25: :25: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลูกศิษย์ ในเมือง ส่วนใหญ่ ที่ผมเจอจะเป็นแบบนี้ คือ เลือกอาหารที่ตนเองชอบ ไว้ก่อนขึ้นนำถวายพระ บางทีอาหารมีมาก พระท่านไม่ทราบ อยู่ที่คนจัดโต๊ะ ขึ้นไปถวายครับ


  เรื่องบาป ของคุณ นี้ไม่แน่ใจ ครับ แต่เรื่อง บุญ แน่ใจว่าคุณ ได้บุญ แล้วครับ
  เพียงแต่คุณอยากได้มากกว่า บุญ จึงไปสดับว่า พระถูกใจ หรือ ไม่ อันนี้เป็นปัญหา อาจจทำให้ คะแนนบุญ ลดลง ไปได้ เพราะเจตนา ผิด

  ส่วนเรื่อง ของ เด็กวัด นั้น เป็นเปตร ครับ

   :49:
บันทึกการเข้า

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บุญเกิดตั้งแต่ถวายไปแล้ว  ส่วนพระจะนำไปแจกตามวิธีของสงฆ์นั้นไม่ได้ทำให้บุญของเราหายไปไหน.... ??? ?
จิตของผู้ให้อย่าตกเมื่อเห็นพระนำของดี ๆๆๆ ไปแจก
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


3.4 วิธีการทำทาน       
   
          เงื่อนไขที่จะทำให้การทำทาน แต่ละครั้งมีความสมบูรณ์พร้อม คือ ทำแล้วได้ผลบุญมาก จะมีองค์ประกอบสำคัญๆ อยู่หลายประการ เช่น ในเบื้องต้นต้องมีศรัทธา มีไทยธรรม และมีผู้รับทาน โดยเฉพาะที่เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ

           นอกจากองค์ประกอบสำคัญทั้งสามนั้นแล้ว ยังมีสิ่งสำคัญอื่นอีก เช่น กำหนดเวลาที่จะทำทานได้ (กาลทาน) เจตนาและกิริยาอาการที่เราให้ เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ บางครั้งไม่อยู่ในขอบเขตที่ เราสามารถกำหนดเองได้ เช่น อยากถวายผ้ากฐิน แต่ยังไม่ถึงกาล หรืออยากทำทาน แต่ได้ผู้รับไม่มีศีล เป็นต้น

           อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทานที่เราทำไปได้บุญมากที่สุด ก็ควรเตรียมตัวของเราเองให้พร้อมไว้  โดยเมื่อจะทำทานครั้งใด ก็ให้ทำไปตามลำดับดังนี้ คือ

           3.4.1 ตั้งใจ ทำเจตนาของเราให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะทำทาน ด้วยการระลึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย และคุณประโยชน์ของการทำทาน ที่ทำให้เราชนะความตระหนี่ในใจของเราได้ เป็นการชำระใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ปลูกจิตให้เลื่อมใสศรัทธา และปีติยินดีอย่างเต็มที่ว่าเราจะได้ทำทานในครั้งนี้

           3.4.2 แสวงหาไทยธรรม (สิ่งของที่ควรให้ทาน) ด้วยความเพียรที่บริสุทธิ์ ให้เหมาะสมและดูควรแก่ผู้รับ เมื่อได้มาแล้วพึงจัดแจงตกแต่งให้งดงาม สะอาด ประณีต ให้เป็นสามีทาน และควรให้ทานให้ ครบถ้วนตามคำสอนที่มีมาในพระไตรปิฎก คือทานในพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม จะทำให้ได้  บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ

           3.4.3 ทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะให้ทาน ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 แล้วนั่งสมาธิ กลั่นใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ นึกถึงปฏิคาหก (ผู้รับ) เสมือนท่านเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นตัวแทนของสงฆ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

           3.4.4 ตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยการยกทานนั้น จบ เหนือศีรษะว่า ขอให้ทานของข้าพเจ้านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น....จะเริ่มต้นด้วยให้ความสมบูรณ์พูน สุขหรือด้วยอะไรก็ตาม แต่ลงท้ายให้เป็น....นิพพานปัจจโย โหตุ (จงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน) ดังที่บัณฑิตทั้งหลาย ในกาลก่อนจบอธิษฐานก่อนให้ทานว่า.....ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาลเทอญ จะทำให้ใจของเราใสสะอาดเต็มที่ในขณะที่ให้

           3.4.5 เมื่อทำทานเสร็จแล้ว ให้สละทานขาดออกจากใจ ไม่คิดเสียดายทรัพย์เลย ให้ปีติเบิกบาน ใจทุกครั้งที่นึกถึงทานที่ทำแล้ว บุญจากการทำทานนั้นก็จะส่งผลเต็มที่ทันที เมื่อบุญเกิดขึ้นแล้ว ควรอุทิศส่วนกุศลผลบุญนั้น เป็นปัตติทานมัย จะด้วยการกรวดน้ำให้ หรือตั้งจิตอุทิศให้ก็ได้ ขอเพียงจิตเป็นสมาธิ บุญจึงจะสำเร็จประโยชน์ ด้วยคำอุทิศส่วนกุศล ฯลฯ

            .............................


3.5.3 ทำทานต่างกันให้ผลไม่เหมือนกัน       

           การทำทานทุกครั้งย่อมมีอานิสงส์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุก ครั้งไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้างหลายประการ ตั้งแต่ความต่างแห่งวัตถุ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  ที่ให้เจตนาที่ให้ทาน กาลเวลาที่ให้ทาน หรือผู้รับทานแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งจะได้ยกความแตกต่างในการทำทานมาดังนี้
       
           ความแตกต่างที่เจตนา 3 กาล               

          ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี) ของผู้นั้นพบแต่ความสมบูรณ์พูนสุขเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งดีงาม
               
          ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (อายุ 26-50 ปี) ของผู้นั้น พบกับความสุข ความสบาย บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
               
          ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัยของผู้นั้น (อายุ 51 ปี ขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วย ความสุข สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่เป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ถี่เหนียว
         
           และเมื่อผู้ใดสามารถรักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต
         
           จะเห็นได้ว่าเจตนามี 3 ระยะ แต่ละระยะจะส่งผลในแต่ละวัย ถ้าเจตนาดีจะส่งผลดี แต่ถ้าเจตนา ระยะใดเสียไป วัยนั้นก็จะเสียไปด้วย เช่น ก่อนจะให้ทาน ผู้ให้รู้สึกไม่ค่อยเต็มใจนัก แต่ครั้นถึงเวลาให้ เห็นพระภิกษุจำนวนมากมาย จึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ยินดีในการให้นั้น และหลังจากให้แล้ว นึกถึงบุญทีไร ก็เกิดความปีติเบิกบานใจทุกครั้ง

          บุญที่ทำนี้จะส่งผลให้เกิดในภพชาติหน้า คือ ในช่วงปฐมวัย จะมีชีวิตที่ลำบาก ต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ต่อเมื่อถึงมัชฌิมวัย จึงจะเริ่มประสบกับความสุข ความสำเร็จ และ   ปัจฉิมวัยก็มีความสุขความสบาย สามารถใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สุข และสร้างบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น
         
           อีกนัยหนึ่ง ในภพชาตินี้ ถ้าในช่วงปฐมวัยเรามีความสุขดี มัชฌิมวัยก็เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่ปัจฉิมวัยกลับพบแต่อุปสรรค มีทรัพย์ก็เสียดาย ไม่กล้าทำบุญ ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แสดงว่าในอดีตนั้น เวลาทำบุญ ปุพพเจตนาและมุญจนเจตนาดี แต่อปราปรเจตนาเสียไป ทำบุญแล้วใจไม่เลื่อมใส เสียดายทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น
         
           ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า การให้ทานจะมีผลมากนั้น ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาที่บริสุทธิ์ของผู้ให้ทั้ง 3 ระยะ เป็นสำคัญ คือ ก่อนให้ก็ดีใจ ขณะให้ก็เลื่อมใส และหลังจากให้แล้วก็ปีติเบิกบานใจ หากสามารถประคองเจตนาทั้ง 3 ระยะนี้ได้  นั่นย่อมหมายถึงอานิสงส์ผลบุญที่จะเกิดขึ้นอย่างสุดประมาณ


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=385
ขอบคุณภาพจาก http://gotoknow.org/,http://www.banmaesa.com/


   การทำทานด้วยอาหาร โดยการใส่บาตร เมื่อหลุดจากมือลงบาตรแล้ว บุญที่ปรารถนาก็สำเร็จแล้วครับ
ไม่ควรคิดว่า ต่อไปอาหารนี้ใครจะกินใครจะฉัน เมื่อให้แล้วก็เป็นสิทธิื์์ของผู้รับ ผู้รับจะฉันหรือไม่ฉัน
หรือจะนำไปให้ใคร อย่างไร ไม่ควรสนใจ


   บุญสำเร็จด้วยเจตนาครับ หากเจตนาเราบริสุทธิ์ วัตถุทานบริสุทธิ์ ก่อนให้ ขณะให้และหลังให้ จิตมีปิติ
ทำได้อย่างนี้จะเป็นบุญที่มีอานิสงส์มาก ขอให้อ่านบทความที่ผมนำเสนอให้เข้าใจเถิดครับ

   ใครจะได้รับบาปรับกรรมอย่างไร เรื่องนี้ไม่ประกอบด้วยกุศล อย่าได้สนใจ ทิ้งมันไปเถอะครับ คิดมากทำให้ฟุ้งซ่าน จิตจะขาดปิติ บุญที่ได้รับอาจจะไม่สมบูรณ์
   เหนือสิ่งอื่นใด ขอให้ยึดหลักว่า เรามีเจตนาบริสุทธิ์

    :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ