ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำให้จิตใจบริสุทธิ์ในวันปีใหม่ของไทย  (อ่าน 2647 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

การพัฒนาจิต พัฒนาวิญญาณหรือวิญญาณบริสุทธิ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่วิญญาณบริสุทธิ์ โดยตามแนวธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน สัพพาสวสังวรสูตร สูตรที่ว่าด้วยการละกิเลสละอาสวะด้วยวิธีต่างๆ

1. การละอาสวะวิธีที่ 1 คือ ละด้วยการเห็น ในที่นี้ท่านหมายถึงเห็นด้วยโยนิโสมนิการ คือ ความคิด ที่แยบคาย ละอโยนิโสมนสิการ

2. สังวร หมายถึง การสำรวมระวัง ในที่นี้หมายถึง สำรวมระวังจิต ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกายและธรรมารมณ์ สิ่งที่คิดด้วยใจ ครอบงำได้ ดำรงตนเป็นอิสระ จากการครอบงำของ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เรียกว่า สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ 6

3. ละอาสวะด้วยการเสพ หมายถึง การพิจารณาปัจจัย 4 แล้วจึงเสพ หรือบริโภคใช้สอย ไม่บริโภคใช้สอยเพื่อเล่นเพื่อเมา แต่บริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ตรงตามจุดมุ่งหมาย คือ ใช้อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ใช้อาหาร บริโภคเพื่อร่างกายพออยู่ได้ ใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เพื่อปกปิดร่างกายให้ดูเรียบร้อย ป้องกันหนาวร้อน บริโภคอาหารเพียงพอไม่ให้อึดอัด ไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น คืออึดอัดและบรรเทาเวทนาเก่าคือหิว พิจารณาเห็นโทษของอาหารที่มากเกินไปอยู่เสมอ
   ใช้เสนาสนะที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันลมแดดเหลือบยุงสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ
   กินยาเพื่อบำบัดโรค ไม่ใช่เพื่อร่างกายสวยงาม เรียกว่า เสพปัจจัย 4 ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือขั้นปฐมภูมิเป็น primary need ไม่ใช่เพื่อความต้องการที่เกินจำเป็น ที่เป็น artifi-cial หรือ secondary need
   อันนี้เป็นกายภาวนา ในภาวนา 4 คือ การอบรมกายให้ดี

4. ความอดทน ละอาสวะด้วยความอดทน เรียก อธิวาสนะ 3 อย่าง
   1) อดทนต่อความหิวกระหาย อดทนหนาวร้อน เรียกธีติขันติ อดทนต่อถ้อยคำต่างๆ ของผู้อื่น 
   2) อดทนต่อสิ่งยั่วยวนต่างๆ เรียกว่า ตีติกขา ขันติ
   3) อดทนต่อทุกขเวทนากล้าแข็ง ความเจ็บป่วย แม้จะเบาหรือหนักเพียงไร ก็มีความอดทน

5. ปริวัชชนะ ละอาสวะด้วยการเว้น คือเว้นสถานที่ที่ไม่ควรไป เรียกว่า อโคจร และเว้นบุคคลที่ไม่ควรคบ

6. ละอาสวะด้วยการบรรเทา ได้แก่ บรรเทากามวิตก ตรึกเรื่องกาม พยาบาทวิตก ความตรึกในเรื่องพยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในเรื่องการเบียดเบียน

7. ภาวนา ละอาสวะด้วยภาวนา คือ การอบรม อบรมโพชฌงค์ 7 คือ สติ ธรรมวิจัย การวิจัยธรรม วิริยะ ความเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบกาย สงบใจ สมาธิ การที่มีจิตใจมั่นคง ตั้งมั่น อุเบกขา ความเฉยในสุขและทุกข์

   เมื่อมีวิธีการทั้ง 7 วิธีนี้อยู่ก็จะละอาสวะได้ด้วยวิธีนั้นๆ ตามสมควร จนสามารถจะละอาสวะได้ จนหมดสิ้น จนเป็นผู้สิ้นอาสวะ เรียกว่า ขีณาสโว หรือพระขีณาสพ
 
   เพราะฉะนั้น เราก็ควรจะตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิตไว้ว่า เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ จะเร็วจะช้ากว่ากันบ้างก็ตามเหตุปัจจัย และก็แล้วแต่อุปนิสัยหรือบารมีของแต่ละคน แต่ในที่สุดก็ต้องขึ้น ให้ถึงความบริสุทธิ์ให้ได้ ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเราชาวพุทธต้องระลึกถึงพุทธคุณเอาไว้ให้มาก เพราะว่าท่ามกลางความมืดคืออวิชชา ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายเพราะตัณหาอุปาทานต่างๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นพระศาสดาองค์แรกที่ได้นำจิตหรือวิญญาณมนุษย์ไปสู่แสงสว่าง
 
   พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนทำชั่วหาความสุขได้ยาก พระพุทธพจน์มีว่า น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา แปลว่า ความสุขอันบุคคลผู้ทำชั่วหาได้โดยง่ายมิได้เลย นี่แปลโดยพยัญชนะ ความดีส่งคนให้ลอย ความชั่วกดคนให้จมลง ท่านลองนึกดูก็ได้ ถ้าในสถานการณ์เดียวกัน ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน ถ้าคนไหนที่ประกอบกรรมดีอยู่เสมอ เขาจะมีกำลังใจดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำความดี หรือคนที่ทำความชั่ว มีความมั่นใจอยู่เสมอว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เขาไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเชื่อผลของกรรมดีว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแน่นอน

   ส่วนคนที่ไม่แน่ใจในการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนั้นอาจเป็นเพราะว่าเขาทำดีน้อยเกินไป หรือทำดีนิดหน่อยแล้วก็หวังผลมากเกินไป หรือว่าเขาไม่ได้ละชั่วเสียก่อน แล้วก็ทำดี จึงทำดีไม่ค่อยขึ้น หรือบางคน ก็ทำดีไปด้วย ทำชั่วไปด้วย ความดีความชั่วจึงหักกลบลบกันไปหมด เหลือเป็นศูนย์ บางทีก็ติดลบเสียอีก เพราะความชั่วเห็นง่ายกว่าความดี

   ถ้าจะทำความดีให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จงละความชั่วเสียก่อน ถ้ายังละความชั่วไม่ได้ ก็หวังความดีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ยาก ต้องเตรียมตัวรับ ความผิดหวังไว้บ้าง เช่น ถ้าเราให้ของเด็กแต่ละครั้ง เราก็ด่าเขาให้เจ็บใจเสียก่อนทุกครั้งไป อย่างนี้ก็ได้ผลบ้างแต่ก็มีผลลบติดมาด้วย บางคนมีความรู้ดี แต่ก็มี ความประพฤติร้าย ความรู้นั้นก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในหนังสือหิโตปเทศ กล่าวไว้ว่า สิริของคนผู้ดื้อด้าน มีแต่จะตกอับ สิรินี่คือมิ่งขวัญหรือบุญ หรือความดี มีแต่จะตกอับ ไมตรีของผู้กลับกลอก มีแต่จะวิบัติ ผลแห่งความรู้ของผู้ประพฤติร้ายมีแต่จะร่วงหล่น

ฉะนั้น ถ้าเราทำดีให้เป็น มีความรู้แล้วใช้ให้ เป็นก็จะได้รับผล คุ้มเหนื่อย

   มีพระพุทธภาษิตว่า ความรู้เกิดแก่คนพาล เพื่อความพินาศของคนพาลอย่างเดียว ความรู้นั้นจะฆ่าส่วนดีของคนพาลเสีย ทำปัญญาของเขาให้ตกไป

   แต่ถ้าความรู้เกิดแก่คนดี ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนดี ฉะนั้น โบราณท่านให้คนเรียนความดีก่อนแล้วค่อยเรียนความรู้ทีหลัง หรืออย่างน้อยก็ควบคู่กันไป แต่ว่าสมัยต่อมาดูเหมือนว่าเราจะไปเร่งเอาความรู้ให้มาก กอบโกยเอาความรู้ให้มาก แต่ละเลยระบบของความดีมากมาย ละเลยมากไป ความรู้เกิดขึ้นกับคนชั่ว มันก็พาไปสู่ความชั่วต่างๆ


   นึกถึงคนที่เคยบวชเรียนมานานๆ ควรจะเป็นคนฉลาดในการทำความดี เพราะในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลักในการทำความดีเยอะ แต่บางคนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่ฉลาดในการทำความดี แต่ไปฉลาดในการทำชั่วก็มี เพราะว่าเขาไม่ได้ตระหนักให้เห็นความสำคัญของระบบที่จะทำความดี ไม่ขัดเกลา มีความเห็นแก่ตัวมาก ไม่เอาส่วนที่ดีมาใช้ ที่จริงส่วน ที่ไม่ดี ท่านก็ไม่ได้สอน ทำเอาเอง

   การพัฒนาจิตหรือวิญญาณให้ดียิ่งขึ้น คือเรา ต้องไม่วิตกต่อการเปลี่ยนแปลงในหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตอยู่เสมอว่า ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เลวลง

   เรื่องนี้ทำให้เราสบายใจต่อการเปลี่ยนแปลง ได้ทุกๆ กรณี บางเรื่องบางทีสิ่งที่เราได้รับ ดูเหมือนจะเป็นข่าวร้ายสำหรับเรา แต่ว่าพอมองให้ดีจะต้องมีผลดี แอบแฝงในเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อย ที่สุดเราก็มีกำไรสุทธิ คือการได้บทเรียนและได้ความรู้จากเหตุการณ์นั้นเอง แม้จะเป็นความผิดพลาดบกพร่องของเรา ก็เป็นประโยชน์และผลกำไรสำหรับใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ ให้เรารักษากำลังใจเอาไว้ให้ดี และหมั่น ประกอบกรรมดีเอาไว้เสมอ

    ศึกภายนอกเขาสู้กันด้วยกำลังอาวุธ เสบียง กำลังพล แต่ศึกภายในเราต้องสู้กันด้วยกำลังใจ ศึกชีวิต สงครามชีวิต ต้องสู้ด้วยกำลังใจ ถ้ามีกำลังใจอยู่ก็มีหวังชนะ เราจะแพ้ก็เมื่อหมดกำลังใจ บางทีสิ่งที่ดูเหมือนร้ายในเบื้องต้น จะดีในเบื้องปลายก็ได้

    ขออย่าได้กลัวความเปลี่ยนแปลงของชีวิต จะต้องนึกมั่นใจอยู่เสมอว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใจของเราจะไม่เดือดร้อน เป็นการรักษาจิตอย่างดีที่สุด

    อีกประการหนึ่ง ขอให้เราฝึกความคิดความสำนึก หรือฝึกจิตของเราให้คุ้นกับสิ่งที่เรียกว่า พหุลา-นุสาสนี คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนอยู่ เสมอว่า

"ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทนไม่ได้ และทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่จะยึดถือได้ บังคับบัญชาไม่ได้"

    นี่ก็เป็นเรื่องเหนือจริยธรรมเหนือจริยศาสตร์ ก็มีหลักฐานจากคัมภีร์บางแห่งว่า น หิ สีลวตํ เหตุ อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา อฏฺฐกฺขรา ตีณิ ปทา สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา แปลว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้อุบัติขึ้นเพื่อทรงสอนศีลธรรมเท่านั้น แต่ทรงอุบัติขึ้นเพื่อทรงประกาศ 3 บท 8 อักษร 3 บท ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง 8 อักษร ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ว่ามันออกเสียง อะ เมื่ออนิจจังก็ 3 แล้ว ทุกขังก็ 2 อนัตตา ก็ 3 เป็น 8 อักษร

      การอบรมไตรลักษณ์ ทำให้จิตใจสบายอยู่เสมอ และเพิ่มพูนปัญญาในทางธรรมอย่างมาก นอกจากนี้ เราก็ควรจะสนใจศึกษาให้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท คือ กลุ่มธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกอย่างอยู่ในปฏิจจสมุปบาท มันเป็น cosmic law ครอบจักรวาล ทุกอย่างมันอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ที่ว่ามันจะเป็นได้เองโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้มันเกิดขึ้น มันต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิด

      แต่ในระดับสูง ท่านให้พิจารณาให้เห็นเป็นความว่างหรือสุญญตา เป็นเพียงกลุ่มธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ อย่างสุภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ อันนี้หมายถึงระดับสูงนะ ไม่ใช่ระดับจริยธรรม ถ้าระดับจริยธรรม ท่านต้องพูดอีกแบบหนึ่ง เช่นว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำดีย่อมได้รับผลดี ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ทำชั่วย่อม ได้รับผลชั่ว

      แต่ว่าเหนือจริยธรรมขึ้นไป ในระดับของ สุญญตา ในระดับของปฏิจจสมุปบาท ท่านจะพูดใหม่ว่า ผู้กระทำกรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี ธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง เอเวตํ สมฺมทสฺสนํ นี่คือทัศนะที่ถูกต้อง

      นี่ก็ในระดับปรมัตถธรรม หมายถึงว่า ธรรมที่ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเอามาดับทุกข์ได้ คำว่า สุทธธัมมา หรือธรรมล้วนๆ หมายถึง กลุ่มปฏิจจสมุปบาท เป็น dependent origination หรือ The Law of causa-tion บางทีเรียกว่า The Law of dependent origina-tion อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน คำสอนที่ว่ากรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี เป็นต้น ก็เล็งถึงธรรมระดับสูงที่เป็นโลกุตตรธรรม เหนือบุญเหนือบาป ไม่ได้มุ่งให้ปฏิเสธเรื่องกฎแห่งกรรม หรือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐาน พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์ที่จะทรงยกระดับพุทธสาวก ที่ทำจริยธรรมขั้นพื้นฐานสมบูรณ์แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งซึ่งอยู่เหนือระดับศีลธรรม จึงทรงแสดงเรื่องกลุ่มธรรมหรือปฏิจจสมุปบาท ผู้ที่เข้าใจเรื่องอย่างนี้ดีก็จะสามารถถอนตัณหานุสัยหรือตัณหาอุปาทานได้ง่าย เป็นไป เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ

อ้างถึง "วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ : อ.วศิน อินทสระ " http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%AD-%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0-219055.html



 
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2012, 06:57:39 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำให้จิตใจบริสุทธิ์ในวันปีใหม่ของไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 08:21:34 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ กับหัวข้อธรรมที่สำคัญในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย
เสียดายปีนี้ไม่มี การส่งการ์ดปีใหม่ไทย นะคะ ไม่งั้นคงได้คำอวยพร หลาย ๆ ข้อความ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การทำให้จิตใจบริสุทธิ์ในวันปีใหม่ของไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 12, 2012, 08:42:37 pm »
0


อ่านธรรมะกันแล้ว ก็ขอให้ทุกท่านชุ่มฉ่ำกัน เล่นน้ำกันด้วยความสนุกสนานคลายร้อนกันทุกท่านนะครับ



  ส่วนท่านใดไปปฏิบัติธรรม ก็ขอให้ได้รับความเย็น คลายจากกิเลสทั้งปวง
บันทึกการเข้า