ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่ากรรมฐาน ที่เรากำลังเรียนอยู่นี้เป็นกรรมฐาน ที่ถูกต้อง..  (อ่าน 2581 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nippan55

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่ากรรมฐาน ที่เรากำลังเรียนอยู่นี้เป็นกรรมฐาน ที่ถูกต้องตามอริยะมรรค ไม่ใช่เป็นการสอนกันเอง สอดแทรกความรู้ของครูผู้สอนในการแสดงความคิดของตนเองลงไป ในกรรมฐาน ที่สอน เพราะเดี๋ยวนี้ผมเห็นมีการสอนกรรมฐาน ในรูปแแบบที่แปลกจากแนว กรรมฐานทั้ง 40 กองมาก

   อย่างเช่น วิชชาธรรมกาย  มโนมยิทธิ  กรรมฐานหมุนจักร วิชาธรรมเปิดโลก ทั้งหมดนี้มันนอกออกจากตำราพระไตรปิฏก

   คือจะเรียนถามว่า เราจะตรวจสอบได้อย่างไร ว่าที่กำลังเรียน เป็นกรรมฐานที่ถูกต้อง ตามอริยะมรรค อริยะผล เพราะ ถ้าหากพลาดพลั้งกลายเป็นว่าไปเรียนกรรมฐาน ที่ตรงกันข้าม แล้วเราจะหลุดจากวัฏฏะสงสสารนี้ได้อย่างไร ครับ

   thk56
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่า กรรมฐานที่เรากำลังเรียนอยู่นี้เป็นกรรมฐานที่ถูกต้องตามอริยะมรรค ไม่ใช่เป็นการสอนกันเอง สอดแทรกความรู้ของครูผู้สอนในการแสดงความคิดนอกตำราพระไตรปิฏก

คือจะเรียนถามว่า แล้วเราจะหลุดจากวัฏฏะสงสารนี้ได้อย่างไร ครับ

:96:  ans1

เราท่านทั้งหลายลองพิจารณาทำความเข้าใจในมิติ ๒ ส่วน อย่างนี้

       กล่าวคือ การบอกกล่าวสอนของครูบาอาจารย์ในสายภาวนานั้น ท่านจะแหยบคายในอุบายวิธีแล้วแต่จริตปฏิปทาท่าน พิจารณาจากความเข้าในยุคสมัยแห่งกามวัตถุุบริโภคที่ผู้คนต่างล้วนอยากได้อยากมีดีเด่นเสมอหน้าขวางกันเองนั้น การจะเพาะบ่มอุปนิสัยธรรมไปในณานวิถีเยื่องอย่างฤาษี ดาบส ผู้เพ่งถึงอัปปนา-รูปสัญญา/อรูปสัญญา นั้นยากมาก จึงหวังโกยขนเวไนยยแต่เพียงตั้งไว้อุปจาระเท่านั้น เป็นการเพียงพอแล้วที่สามารถหยั่งได้ในอานาปานสติภาวนาอันพอเพียงที่จะขัดเกลาอนุสัยสันดานให้สามารถตั้งอยู่ในความเป็นวิปัสสกได้ประการ ๑

       กล่าวคือ ในความหลากหลายของแนวทางภาวนาต่างสำนักครูอาจารย์ นี้เป็นส่วนจริตวาสนาวิถีญาณที่ครูอาจารย์ท่านใช้เพื่อเจริญศรัทธาญาติธรรมที่มาพึ่งบารมีอาศัยท่านปลดเปลื้องทุกข์แห่งตนของตน มิปรารถนามรรคผลใดใด ดังนั้นวิชชาธรรมกาย วัดปากน้ำ/ธรรมกาย นี้ขวนขวายสร้างบุญวาสนาเอามรรคผลเบื้องหน้ามิใช่มุ่งตรงนิพพานฉับพลัน มโนมยิทธิ วัดจันทาราม(ท่าซุง) คือการรู้เห็นมิติเกินเลยไปกว่าผัสสะสัมผัสเห็นด้วยกายหยาบ มิใช่ทางเดินไปสู่มรรคผล เพียงเจริญศรัทธาเพื่อจักก้าวล่วงไปเท่านั้น ธรรมเปิดโลก วัดเขาสมโภชน์ เข้าออกโยกลึกดึงใจไปสู่วิถีปลดเปลื้องอนุสัยสันดานเบื้องลึกแสดงออกอย่างวิปลาส ฉงนเมื่อเห็น ซึ่งไม่เหมาะควรแก่ผู้มีจิตอ่อนขาดพื้นฐานการภาวนา ก็มิใช่ทางมรรคผลใดใดเช่นกัน เกจิคณาจารย์คุณเครื่องรางขมังเวทย์ มีหลากหลายเพียงเจริญศรัทธารักษาชะตาตนให้มุ่งค้นหนทางดีมีศีลธรรมเจริญดำรงอยู่อย่างพอเพียงเลี่ยงละอกุศลสร้างวาสนากับทานศีลเป็นปัจจัยไปเบื้องหน้าเท่านั้นประการ ๑

สรุปอย่างนี้ คือ ครูบาอาจารย์ชี้เด่นฝาก,ฝัง ผู้ภาวนาได้ ๑
                     ครูบาอาจารย์ชี้เด่นหย่อน,หยอด เจริญศรัทธาให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมเบื้องต้นให้ได้ ๑

หากเราท่านทั้งหลายมีความครางแครงใจในความหลากหลายของแนวทางวิถีภาวนา ก็เข้าหาหลักแหล่งต้นเค้าเอาอย่างมีที่มาที่ไปเด่นชัด ก็ขอให้พิจารณาวัดราชสิทธาราม คณะ ๕ และตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจไปโดยลำดับ กัลยาณมิตรที่นี่มี สุดท้าย:ธรรมะเป็นของจริง ครูบาอริยะคณาจารย์มีอยู่จริง จริงอยู่ที่ใจท่านจักค้นหรือไม่อย่างไร.?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2013, 12:12:44 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การที่เราจะมั่นใจในสิ่งใดๆ ก็ตาม เราต้องได้ผ่านในสิ่งนั้น ๆ ด้วยตนเองก่อน เช่น อาหารอร่อยการมองเพียงแต่เห็นภาพอาจจะทำให้เรารู้สึกตามภาพที่เห็น หรือกลิ่นที่ได้สัมผ้ส แต่เมื่อเราได้นำเข้าไปในปากแล้วชิมรสแล้ว เราจึงจะรู้ได้ว่าอาหารนั้น ๆ รสเป็นเช่นไร และอีกประการอาหารจะมีรสชาติเช่นไรก็ตามผู้ชิมแต่ละคนก็มีรสนิยมในอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งก็หมายความว่า ในขณะที่หลาย ๆ คนอาจได้ลองรสอาหารนั้น อาจมีความคิดที่แตกต่างกัน เช่น อาหารอร่อยแต่เผิดไปนะ หรืออาหารรสจึดไป หรือเค็มไป ก็ยังขึ้นอยู่กับผู้ที่ได้ลองสัมผัสที่ความแตกต่างในเรื่องความชอบในรสชาติอาหารนั้น  ถ้าเปรียบได้ก็เช่นเดียวกับ สิ่งที่ได้กระทู้ถาม...นั่นหมายความว่า ได้ไปศึกษาและปฏฺิบัติอย่างถูกต้องในวิธีที่ครูผู้สอน จึงจะได้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นเช่นไร  แนวการสอนและวิธีแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ตามลักษณะนิสัยบุคคลิกของครูอาจารย์ แต่ที่สำคัญต้องอย่าลืมตัวผู้ถูกสอนด้วย เพราะจริตแต่ละย่อมมีความเห็นลักษณะต่างกัน ก็ให้ใช้วิธีเดียวบอกการปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ที่สำคัญควรคำนึงถึงหลักในการปฏิบัติต่างหากที่มุ่งเน้นไปแนวทางใด  ในคำสอนของพระพุทธองค์ท่านได้ตรัสว่า การรู้รู้ได้ตนเอง ไม่จำกัดกาล... (หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วก็จะเกิดองค์รู้ ซึ่งผู้รู้จะได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่จากบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติได้แล้วบอกว่า องค์รู้ควรเป็นเช่นนั้น เช่นนี้) และสิ่งที่สำคัญท่านเป็นเพียงผู้ชี้แนะให้ผู้ปฏิบัติได้ไปปฏิบัติด้วยตนเอง.......เท่านั้น  ฉะนั้น ถ้าผู้ที่ไม่ปฏิบัติเผ้าเพียรแต่หาสาระแนวทางว่าสิ่งใดถูกผิดอยู่ โดยไม่ลงมือปฏิบัติ ผู้นั้นจะรู้ได้อย่างไร??...... และจะมั่นใจอย่างไรว่าสิ่งนั้นเป็นแนวทางอย่างที่คาดหวัง...เริ่มปฏิบัติเสียก่อนเถอะแล้วถึงจะมองถึงข้างหน้าว่าจะพบทางอริยมรรค...อย่างที่ตั้งใจหรือไม่??? เพราะมีหลายเหตุผลประการ..ที่อาจทำให้ไม่สำเร็จด้งเช่นที่คาดหว้ง เช่น ตนเองที่จะมีความเพียร ความตั้งใจ ที่จะปฏิบัติหรือไม่??? อย่าใช้เหตุผลข้างเดียวที่จะอ้างถึงแนวปฏิบัติครูอาจารย์ไม่ถูกต้อง โปรดใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ให้ชัดเจน และถูกต้อง 
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."