ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ครูกรรมฐาน หากห่วงศิษย์ ย่อมชี้โทษ แห่ง วัฏฏะสงสาร อย่างเนือง ๆ  (อ่าน 5203 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ด้วยสำนึกในคำสอน ของ ครูกรรมฐาน

" ปัญญาวุฑฒิ กะเรเต เต ทินโนวาเท นะมามิหังฯ"


"วันนี้หลังจากออกจากกรรมฐาน ผ่านไป 16 ชม.ฉันหันไปมองเห็นศิษย์ของฉัน ก็กำลังทำความเพียร อยู่ด้วยเช่นกัน แต่ก็มีบางท่าน ยังนอนอยู่ เมื่อเรียกมาสอบถามก็ทราบว่าท่านเหนื่อยอ่อน รู้สึกว่ากรรมฐานนี้ทำได้ยาก สิ่งเดียวที่ฉันทำได้ในตอนนั้น ก็คือการให้กำลังใจ และชี้โทษ ของวัฏฏะสงสาร ให้รับทราบ การเป็นครูที่ห่วงศิษย์ แล้ว ต้องพยายามชี้โทษแห่งวัฏฏะสงสาร นี้ให้มาก คำของครูฉัน ก็เป็นเช่นนั้น และฉันเองเมื่อพูดกับศิษย์ ก็ทำเช่นนั้นเช่นกัน วัฏฏะสงสารนี้ มีโทษมาก ถ้าเราตายตอนที่เรามีความสามารถเพื่อจะออกจากวัฏฏะได้ จึงไม่สมควรหยุดกระทำความเพียร เพราะวิบากที่รออยู่ข้างหน้า ของคนที่ต้องเวียนว่ายนั้น มันมากเหลือเกิน "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรรม
จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปัคคาหะ วิปัสสนูกิเลส หมายถึง ความเพียรที่ใส่ สติ ลงไปเพื่อให้ความสำเร็จโดยเร็วพลัน

   การกระทำเยี่ยงนี้ เรียกว่า การกระทำความเพียรกล้า บางครั้งมันก็มีข้อเสีย บางครั้งก็มีข้อดี พูดถึงข้อดีก่อนก็แล้วกันนะ ก็คือ  การกระทำความเพียรอย่างแรงกล้า แสดงถึงความศรัทธา มุ่งมั่น ต่อการภาวนา อย่างแท้จริง หลายอย่างก็ต้องอาศัยการกระทำความเพียรอย่างแรงกล้า เพื่อเพิ่ม ตบะ เช่น การอดหลับ อดนอน อดอาหาร เดินมากขึ้น ยืนมากขึ้น พวกนี้ก็ต้องอาศัย ปัคคาหะ คือ ความศรัทธาอย่างแรงกล้า เพื่อกระทำภาระกิจ บางครั้งความศรัทธา ก็ทำให้การภาวนา เกิดได้
     ความขยัน ที่ เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ย่อมมีสักครั้งที่จะถึง ค่าของ ความปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้ กำลังความเพียร ก็ถึงขีดขั้นความสำเร็จได้ เช่นกัน เหมือนการสุ่มโยนของใส่ในแก้ว  ถ้าเราโยนได้บ่อย ก็มีโอกาสที่จะลงได้สักครั้ง แต่ปัญหามันอยู่ว่า เราจะมีกำลังที่จะโยนได้บ่อยไหมจะมีชิ้นส่วนที่จะให้โยนมากพอหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ก็ต้องอาศัยการสั่งสมบารมีมาก่อน นั่นหมายความ ท่านต้องเคยสั่งสมการทำตบะอย่างนี้มา หลายต่อ หลายครั้ง นั่นเอง ถ้าจะว่าในปัจจุบัน ก็ต้องมีการฝึกฝนมาก่อน เหมือนนักวิ่งมาราธอน ก็ต้องฝึกซ้อมวิ่ิงมาก่อน ไม่ใช่นึกจะวิ่งก็วิ่งกันได้

     ในอดีต ก็มีพุทธสาวก ที่อาศัย ปัคคาหะ ความเพียรแรงกล้านี้ เพื่อการบรรลุเป็นพระอรหันต เช่น
      พระสารีบุตร ประกอบความเพียร ด้วย อนุปทบทฌาน 15 วัน
      พระโมคคัลลานะ ประกอบความเพียร ด้วย อาโลกสัญญา คือ นอนน้อย 7 วัน
      พระจักขุปาละเถระ ประกอบความเพียร เนสัชชิกธุดงค์ 3 เดือน ยอมตาบอด แต่ได้เป็นพระอรหันต์ สุกขวิปัสสก
      พระโสณโกฬิวิสะ ผู้ประกอบความเพีียร ด้วยการเดินจงกรม จนเท้าเป็นแผล ก็เดินด้วยเข่า ด้วยมือ แม้เป็นแผล พุพองขึ้นก็ไม่หยุด ( องค์นี้ด้านรับการแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะด้านการทำความเพียร )

      ที่ยกข้อดี ขึ้นมาก็เพราะว่า การทำความเพียรอย่างแรงกล้า ต้องแลกด้วยชีิวิตนั้นเป็น สิ่งที่พระอรหันต์ท่านทำกันมาก่อนทั้งนั้น หรือ บางท่านเดินขึ้นเขาไป ทิ้ิงชีิวิตเลยว่าหากไม่บรรลุคุณธรรม ก็จะไม่ลงจากเขาจะยอมตายที่นั่น อันนี้เรียกว่า การกระทำความเพียรอย่างแรงกล้า แม้พระพุทธเจ้าในคืนตรัสรู้ ก็กระทำเช่นกันด้วยกันตั้งความปรารถนาว่า หากวันนี้ยังไม่บรรลุคุณธรรม ก็จะไม่ลุกจากที่นั่ง แม้ชีิวิตนี้จะสิ้นไปก็ตาม


      เห็นข้อดี แล้ว ใช่ไหม ?


     ทีนี้ มาข้อเสียบ้าง ที่จัดอยู่ใน วิปัสสนูกิเลสแล้ว ก็จัดได้ว่า การกระทำความเพียร อย่างแรงกล้า นี้ ต้องประกอบด้วยตัณหา คือ ความอยากเป็น ด้วยถึงแม้จะเป็นกุศล เพื่อการเป็นพระอริยะบุคคล ก็จัดว่าเป็น ตัณหา ที่ประกอบด้วยกุศล เหมือนกัน
   
      ในความเป็นจริง ของการภาวนาแล้ว ความเพียร เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้เสมอ ๆ ว่า ความเพียร เป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้ จงปฏบัติภาวนา ดุจไฟลามเลียบนศรีษะเถิด จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องการทำความเพียร แม้ ความเพียร ก็เป็นองค์ หนึ่งใน อริยะมรรค ดังนั้นท่านที่มีความเพียร ต้องรู้จักการปล่อยวาง กันเสียบ้าง

      ปล่อยวาง นะ ไม่ใช่ ปล่อยว่าง

      ปล่อยวาง ก็คือ วางใจให้เป็นกลาง ไม่อยากได้ อยากมี อยากเป็น ให้เป็นอุปนิสัย ปล่อยวางมีได้ เพราะอุเบกขา ในโพชฌงค์ ไม่ใช่นึกจะปล่อยวาง มันก็จะเป็นปล่อยวาง การปล่อยวางต้องเข้าไปเห็นธรรม ในโพชฌงค์ 7 เมื่อปล่อยวางในโพชฌงค์ ถึงระดับแล้ว การปล่อยวาง ก็จักมีได้ ดังนั้นเมื่อมาถึงคำว่า ปล่อยวาง ท่านที่มาถึงเข้าใจว่าบรรลุ แท้ที่จริงยังไม่ได้บรรลุ เพียงแต่ พระธรรมส่งผลให้ สุญญตามหาวิหาร ของพระโสดาปัตติมรรคเท่านั้น หลายท่านเลยมาหยุด และคิดว่าตรงนี้คือการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ช่างน่าเสียดายจริง ๆ ที่ ปัญญาเป็นอุปสัค อันนี้แหละที่เรียกว่า ปัคคาหะ ซึ่งแปลตรง ๆ ก็คือ การปักใจเชื่อ แต่ทำไมไปแปลว่า ความเพียรแรงกล้า แทนนะ อันนั้นต้องไปดู อรรถกถา ดังนั้น ปัคคาหะ เป็น วิปัสสนูกิเลส ก็ตรงนี้ เพราะทำให้ท่านที่กำลังเข้าสู่ การปล่อยวาง ไปสู่สภาวะ การปล่อยว่าง และก็สรรเสริญ สัญญา กับ สุญญตา กันเป็นหลัก ทั้ง ๆที่ พระธรรมขั้นสูงสุด ไม่ใช่ สุญญตา แต่ เป็น นิพพาน มันคนละอย่าง กัน สุญญตา คือ การเห็นความหมายแห่ง ตัวตน ว่าว่างเปล่า จากตัวตน เป็นคุณสมบัติเริ่มต้น ของ พระโสดาบัน เพื่อ ทำลาย สักกายทิฏฐิสังโยชน์ ทีเห็นว่า มีเรา เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา แต่ การเห็นและละแค่นี้ เป็นเพียงการเริ่มต้น การเป็นพระอรหันต์ ต้อง ละ อวิชชา 8 ประการ ละมานะ 9 ละ อุทธัจจะ ในกุศล ละรูปราคา ละอรูปราคะ ซึ่ง ธรรมทั้งห้านี้ พ้นจากกฏของ สุญญตา เพราะต้องอาศัยตนที่ยังมีอยู่ ถึงจะละได้ แต่ ตัวสุญญตา นั้นคือความว่างเปล่า มันไม่มี จึงละไม่ได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดง อนัตตลักขณะสูตร แก่ พระปัญญจวัคคีย์ใน พระสูตรที่สอง ที่ให้พระโสดาบันทั้งห้า สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สุญญตาเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของ อนัตลักขณะเบื้องต้น ดังนั้น ท่านที่ ปัคคาหะ ( ปักใจว่าบรรลุ ) ลงไปในช่วงนี้ ต้องอาศัยครูอาจารย์ ในการเข้า อนุโลมสัจจะญาณก่อน ถึงจะปวารณา ว่าตนบรรลุธรรม การเข้า อนุโลมสัจจะญาณ จึงเป็นการตรวจตนเอง ว่าบรรลุ หรือ ไม่บรรลุ

       ดังนั้น ปัคคาหะ ก็มี ข้อดี และ ข้อเสีย เช่นกัน
     

     เจริญธรรม / เจริญพร


   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2014, 12:36:14 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
   
      ปล่อยวาง นะ ไม่ใช่ ปล่อยว่าง

      ปล่อยวาง ก็คือ วางใจให้เป็นกลาง ไม่อยากได้ อยากมี อยากเป็น ให้เป็นอุปนิสัย ปล่อยวางมีได้ เพราะอุเบกขา ในโพชฌงค์ ไม่ใช่นึกจะปล่อยวาง มันก็จะเป็นปล่อยวาง การปล่อยวางต้องเข้าไปเห็นธรรม ในโพชฌงค์ 7 เมื่อปล่อยวางในโพชฌงค์ ถึงระดับแล้ว การปล่อยวาง ก็จักมีได้ ดังนั้นเมื่อมาถึงคำว่า ปล่อยวาง ท่านที่มาถึงเข้าใจว่าบรรลุ แท้ที่จริงยังไม่ได้บรรลุ เพียงแต่ พระธรรมส่งผลให้ สุญญตามหาวิหาร ของพระโสดาปัตติมรรคเท่านั้น หลายท่านเลยมาหยุด และคิดว่าตรงนี้คือการบรรลุเป็นพระอรหันต์ ช่างน่าเสียดายจริง ๆ ที่ ปัญญาเป็นอุปสัค อันนี้แหละที่เรียกว่า ปัคคาหะ ซึ่งแปลตรง ๆ ก็คือ การปักใจเชื่อ แต่ทำไมไปแปลว่า ความเพียรแรงกล้า แทนนะ อันนั้นต้องไปดู อรรถกถา ดังนั้น ปัคคาหะ เป็น วิปัสสนูกิเลส ก็ตรงนี้ เพราะทำให้ท่านที่กำลังเข้าสู่ การปล่อยวาง ไปสู่สภาวะ การปล่อยว่าง และก็สรรเสริญ สัญญา กับ สุญญตา กันเป็นหลัก ทั้ง ๆที่ พระธรรมขั้นสูงสุด ไม่ใช่ สุญญตา แต่ เป็น นิพพาน มันคนละอย่าง กัน สุญญตา คือ การเห็นความหมายแห่ง ตัวตน ว่าว่างเปล่า จากตัวตน เป็นคุณสมบัติเริ่มต้น ของ พระโสดาบัน เพื่อ ทำลาย สักกายทิฏฐิสังโยชน์ ทีเห็นว่า มีเรา เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา แต่ การเห็นและละแค่นี้ เป็นเพียงการเริ่มต้น การเป็นพระอรหันต์ ต้อง ละ อวิชชา 8 ประการ ละมานะ 9 ละ อุทธัจจะ ในกุศล ละรูปราคา ละอรูปราคะ ซึ่ง ธรรมทั้งห้านี้ พ้นจากกฏของ สุญญตา เพราะต้องอาศัยตนที่ยังมีอยู่ ถึงจะละได้ แต่ ตัวสุญญตา นั้นคือความว่างเปล่า มันไม่มี จึงละไม่ได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดง อนัตตลักขณะสูตร แก่ พระปัญญจวัคคีย์ใน พระสูตรที่สอง ที่ให้พระโสดาบันทั้งห้า สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สุญญตาเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของ อนัตลักขณะเบื้องต้น ดังนั้น ท่านที่ ปัคคาหะ ( ปักใจว่าบรรลุ ) ลงไปในช่วงนี้ ต้องอาศัยครูอาจารย์ ในการเข้า อนุโลมสัจจะญาณก่อน ถึงจะปวารณา ว่าตนบรรลุธรรม การเข้า อนุโลมสัจจะญาณ จึงเป็นการตรวจตนเอง ว่าบรรลุ หรือ ไม่บรรลุ

       ดังนั้น ปัคคาหะ ก็มี ข้อดี และ ข้อเสีย เช่นกัน
     

     เจริญธรรม / เจริญพ



   อนุโมทนา...สาธุ สาธุติ.
เห็นด้วย สมควรตามนั้น  ดีแล้ว!  ดีแล้ว!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 30, 2014, 09:55:02 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ