ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนิมนต์พระ ในพิธี ต่าง ๆ ทำไมมีจำนวนไม่เท่ากันคะ  (อ่าน 88471 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การนิมนต์พระ ในพิธี ต่าง ๆ ทำไมมีจำนวนไม่เท่ากันคะ คือสงสัย
บางครั้ง ก็ 1
บางครั้ง ก็ 2
บางครั้ง ก็ 3
บางครั้ง ก็ 4
บางครั้ง ก็ 5
บางครั้ง ก็ 7
บางครั้ง ก็ 9
บางครั้ง ก็ นิมนต์จำนวนมาก

 มีสาเหตุ จากอะไร คะ มีระเบียบเรื่องอย่างนี้ในสมัยครั้งพุทธกาล อย่างไรคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



การนิมนต์พระสงฆ์

    การนิมนต์พระสงฆ์ คือ การที่เจ้าของงาน หรือผู้แทนงาน ไปติดต่อแจ้งความจำนงกับเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ณ วัดใดวัดหนึ่ง ขออาราธนา คือ ขอเชิญพระสงฆ์ตามจำนวนที่ต้องการ ให้ไปประกอบพิธีในงาน การนิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมนต์พิธีทำบุญงานมงคลทั่วไป นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 รูป

      ส่วนจำนวนข้างมากไม่มีกำหนด ตามกำลังศรัทธาของเจ้าภาพยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มบุญกุศลมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ และพอเหมาะแก่สถานที่ซึ่งจะอำนวยให้เป็นประการสำคัญ
การนิมนต์พระสงฆ์ในงานมงคลสมรส

      การนิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมนต์พิธีทำบุญงานมงคลสมรสนั้น แต่เดิมมานิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคู่ คือ 6 รูป 8 รูป หรือ 10 รูป เป็นต้น เพื่อกำหนดแบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าว และฝ่ายเจ้าสาว เลือกนิมนต์พระสงฆ์ที่มีความรู้จักมักคุ้นกับตระกูลของตนฝ่ายละเท่า ๆ กัน จะได้ไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันและกัน

      แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ พิธีทำบุญงานมงคลทุกประเภท รวมทั้งพิธีทำบุญงานมงคลสมรสด้วย โดยมากมักนิยมนิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมงคล จำนวน 9 รูป ทั้งนี้ เพราะชาวบ้านโดยมากถือกันว่า เลข 9 นั้น การออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า “ก้าว” คือก้าวหน้า หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง หรือ ถือกันตามมหาทักษาพยากรณ์ว่า เลข 9 นั้น เท่ากับกำลังพระเกตุ 9 ซึ่งอาจคุ้มครองป้องกันภยันตรายได้นานาประการ

      และถือกันตามคติธรรมทางพระพุทธศาสนาว่า เลข 9 นั้น เท่ากับนวหรคุณ 9 ประการ อันเป็นสิริมงคลอย่างสูง และเท่ากับโลกุตตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นผลที่เยี่ยมยอดสูงสุดในพระพุทธศาสนา




การนิมนต์พระสงฆ์ในงานทำบุญอายุ
      การนิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมนต์งานทำบุญอายุนั้น นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนเกินกว่าอายุของเจ้าภาพขึ้นไป 1 รูป เช่น ทำบุญอายุ 48 ปี นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 49 รูป ทำบุญอายุ 72 ปี นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 73 รูปทำบุญอายุ 60 ปี นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 61 รูป ทำบุญอายุ 84 ปี นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 85 รูป เป็นต้น

การนิมนต์พระสงฆ์ประกอบพิธีงานอวมงคล
      การนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีงานอวมงคลเกี่ยวเนื่องกับศพนั้น นิยมนิมนต์พระสงฆ์มีจำนวน ดังนี้
         1. พิธีสวดพระอภิธรรม นิยมนิมนต์จำนวน 4 รูป เป็นอย่างน้อย
         2. พิธีสวดหน้าไฟ เวลาเผาศพ นิยมนิมนต์จำนวน 4 รูป เป็นอย่างน้อย
         3. พิธีสวดพระพุทธมนต์งานบำเพ็ญกุศลศพ เช่นทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วันเป็นต้น นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป 7 รูป 10 รูป เป็นต้น หรือตามกำลังศรัทธา และพอเหมาะแก่สถานที่นั้น ๆ
         4. พิธีสวดแจงงานฌาปนกิจศพ นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 20 รูป 25 รูป 100 รูป หรือนิยมนิมนต์หมดทั้งวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศรัทธา
         5. พิธีสวดมาติกาบังสุกุลศพ นิยมนิมนต์พระสงฆ์ จำนวนเท่าอายุของผู้ตายที่บำเพ็ญกุศลอุทิศให้นั้น เช่น ผู้ตายอายุ 75 ปี ก็นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 75 รูป เป็นต้น หรือจะนิมนต์ตามกำลังศรัทธา ไม่มีข้อห้ามแต่ประการใด


วิธีนิมนต์พระสงฆ์
      การนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีในงานมงคล หรืองานอวมงคลต่าง ๆนั้น นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ทั้งการนิมนต์ด้วยวาจา และการนิมนต์ด้วยการทำหนังสือฎีกานิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าเป็นงานพิธีทำบุญส่วนตัว เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ก็นิยมนิมนต์พระสงฆ์ด้วยวาจา โดยไปติดต่อนิมนต์ด้วยตนเอง

      แต่ถ้าเป็นงานพิธีทำบุญเกี่ยวกับทางราชการทุกอย่าง ก็นิยมทำหนังสือฎีกานิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อพระสงฆ์จะได้ทราบกำหนดเวลาที่แน่นอน และเพื่อป้องกันความหลงลืมอีกด้วย

      การนิมนต์พระสงฆ์ไปประกอบพิธีในงานมงคลและงานอวมงคลทุกประเภทนั้น นิยมกราบเรียนให้พระสงฆ์ทราบโดยย่อ ดังนี้
        1. พิธีทำบุญปรารภงานอะไร
        2. กำหนดงานวันที่ เดือน พ.ศ. ตรงกับวันขึ้น-แรม เดือนอะไร
        3. สถานที่ไหน
        4. ต้องการพระสงฆ์จำนวนเท่าไหร่
        5. จะจัดรถมารับ หรือ จะให้พระสงฆ์ไปเอง


ที่มา http://spb.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=132:2009-06-04-01-30-58&catid=70:2009-06-03-04-34-24&Itemid=132
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://rustanyou.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 11:10:47 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒

สงฆ์ ๕ ประเภท
   
      [๑๘๗] สงฆ์มี ๕ คือ   
                                                ภิกษุสงฆ์จตุรวรรค ๑.
                                                ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค ๑.
                                                ภิกษุสงฆ์ทสวรรค ๑.
                                                ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค ๑.
                                                และภิกษุสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค ๑.


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์เหล่านั้น
     ภิกษุสงฆ์จตุรวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นกรรม ๓ อย่าง คือ อุปสมบท ปวารณา อัพภาน
     ภิกษุสงฆ์ปัญจวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท และอัพภาน

    ภิกษุสงฆ์ทสวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง เว้นอัพภานกรรมอย่างเดียว
    ภิกษุสงฆ์วีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง
    ภิกษุสงฆ์อดิเรกวีสติวรรค พร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ในกรรมทุกอย่าง.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  บรรทัดที่ ๔๙๖๔ - ๕๐๐๔.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๐๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=4964&Z=5004&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.watpaknam.org/




สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
       1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง


วรรค หมวด, หมู่, ตอน, พวก;
       กำหนด จำนวนภิกษุที่ประกอบเข้าเป็นสงฆ์ หมวดหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อครบจำนวนแล้วจึงจะทำสังฆกรรมอย่างนั้นๆ ได้ มี ๔ พวก คือ
       ๑. สงฆ์จตุรวรรค (สงฆ์พวก ๔ คือ ต้องมีภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป ทำกรรมได้ทุกอย่างเว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน)
       ๒. สงฆ์ปัญจวรรค (สงฆ์พวก ๕ คือ ต้องมีภิกษุ ๕ รูปขึ้นไป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และอุปสมบทในปัจจันตชนบท)
       ๓. สงฆ์ทศวรรค (สงฆ์พวก ๑๐ คือต้องมีภิกษุ ๑๐ รูปขึ้นไป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบทได้)
       ๔. สงฆ์วีสติวรรค (สงฆ์พวก ๒๐ คือต้องมีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป ทำอัพภานได้)


อัพภาน “การเรียกเข้า” การรับกลับเข้าหมู่,
       เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส
       ได้แก่ การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์
       วิธีปฏิบัติ คือ ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้ พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค สงฆ์สวดอัพภานแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ,
       แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใด ต้องประพฤติวัตรเรียกว่า อยู่ปริวาส ชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้อง ชื่อว่า เป็นอันระงับ

อดิเรก
       1. เกินกำหนด, ยิ่งกว่าปกติ, ส่วนเกิน, เหลือเฟือ, ส่วนเพิ่มเติม, ส่วนเพิ่มพิเศษ
       2. ถวายอติเรก หรือ ถวายอดิเรก คือพระสงฆ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหรือสมเด็จพระบรมราชินี ท้ายพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ในระหว่างอนุโมทนา ถ้ากล่าวในพระราชฐานต้องต่อท้ายด้วยถวายพระพรลา, เรียกอย่างนี้เพราะขึ้นต้นว่า “อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุฯ”


ปัจจันตชนบท เมืองชายแดนนอก มัชฌิมชนบท ออกไป

มัชฌิมชนบท, มัชฌิมประเทศ ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง,
       ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น
       กำหนดเขต
           ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา
           อาคเนย์ นับแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา
           ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา
           ปัจจิม นับแต่ถูนคามเข้ามา
           อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา
       นอกจากนั้นไปเป็น ปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ


มัธยมชนบท เมืองในท่ามกลางชมพูทวีป

     

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ