ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "พระเอาถ่านจริงๆ" วัดม่วง สิงห์บุรี  (อ่าน 3340 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"พระเอาถ่านจริงๆ" วัดม่วง สิงห์บุรี
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2012, 02:42:38 pm »
0


"พระเอาถ่านจริงๆ" พระครูโสภิตบุญญาคม วัดม่วง สิงห์บุรี

โดยเรื่อง ไตรเทพ ไกรงู ภาพ กุลพันธ์ ศิริพิมพ์อัมพร

          ในอดีตก่อนที่จะมีไฟฟ้าและแก๊สใช้ “ถ่าน” ถือเป็นสุดยอดของเชื้อเพลิงในการหุงหาอาหาร บ้านใดที่ใช้ถ่านหุงข้าว ต้มแกง ถือว่าเป็นบ้านผู้มีอันจะกิน ส่วนผู้ที่มีฐานะระดับกลางลงมาต้องใช้ฟืน หรือ ใช้แกลบแทน เพราะไม่ต้องซื้อหา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป คนใช้ถ่านกลับเป็นคนที่ฐานะระดับกลางลงมา ในขณะที่ผู้มีอันจะกินใช้ไฟฟ้าและแก๊สหุงหาอาหาร
         
           “ถ่าน” แม้จะเป็นเชื้อเพลิงของคนชั้นกลางลงมา รวมทั้งหมดความสำคัญในด้านให้ความร้อนในการหุงหาอาหาร แต่ใช่ว่าจะหมดความสำคัญเสียเลยทีเดียว เพราะอาหารหลายชนิดรสชาติดีจะต้องใช้ความร้อนจากถ่านเท่านั้น และด้วยเหตุนี้เองทำให้ถ่านจากวัดม่วง อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งมีพระครูโสภิตบุญญาคม หรือหลวงพ่อรวย เจ้าคณะตำบลอินทร์-น้ำตาล และเจ้าอาวาส จึงกลายเป็นสินค้าที่คนแย่งกันซื้อ ชนิดที่เรียกว่า “เผาออกมาเท่าไรไม่พอขาย”

          “เมื่อหลายปีก่อนต้นมะขามที่วัดล้ม อาตมาจ้างคนมาตัดหมดเงินไปเกือบ ๗,๐๐๐บาท ใจก็คิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้เงินคืน คิดไปคิดมาก็นึกถึงชีวิตเมื่อวัยเด็กที่พ่อมักจะพาไปตัดต้นไม้เพื่อเผาถ่าน จึงตัดสินใจทำเตาเผ่าถ่านโดยใช้ไม้มะขามเผาเป็นถ่าน ไม่น่าเชื่อเลยว่าจากไม้ที่ต้องเผาทิ้ง สามารถเพิ่มมูลค่าเป็นเกือบ ๒๐,๐๐๐ บาท” นี่เป็นจุดเริ่มต้นการเผาถ่านของหลวงพ่อรวย


           การทำเตาเผาถ่านของหลวงพ่อรวยนั้น ท่านจุดเริ่มต้นเตาเพียงใบจากนั้นได้พัฒนารูปแบบเตาขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดมี ๕ ใบ โดยเตาใบใหญ่ ๑ ใบ สามารถเผาถ่านได้มากถึง ๕๐ กระสอบ เมื่อรวมแล้วในแต่ละเดือนจะเผาถ่านได้ประมาณ ๓๐๐ กระสอบ ส่งขายกระสอบละ ๑๒๐ บาท ซึ่งรวมแล้วมากพอที่จะจ้างคนมาดูแลวัดได้ตลอดทั้งเดือน

           “ทุกวันนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีไม้ฟืนมาเผาถ่าน ทุกๆ วันมีการตัดต้นไม้ริมถนน ต้นไม้ล้ม ต้นไม้ขวางถนน ทุกๆ วันจะมีรถขับมาส่งไม้เพื่อเผาถ่านที่วัดทุกวัน ไม้ฟืนเต็มคันรถปิกอัพแค่ ๑,๐๐๐ บาท เท่านั้น เมื่อเผากลายเป็นถ่านคันหนึ่งขายได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แม้จะมีผลกำไรต่างกันถึง ๒ เท่า แต่ไม่มีใครทำ เพราะดูเป็นงานสกปรก” หลวงพ่อรวยกล่าว

           ทั้งนี้ หลวงพ่อรวยได้อธิบายวิธีการเผาถ่านให้ฟังว่า ก่อสร้างเตาเผาถ่านต้องเลือกสถานที่ในการสร้างเตา โดยควรเป็นที่ดอนและโล่ง ควรอยู่ห่างจากบ้านเรือนอย่างน้อย ๕๐ เมตร จะมีหลังคาคลุมก็ได้ อายุงานจะนานขึ้น อยู่ใกล้แหล่งไม้ฟืนหรือวัตถุดิบ ที่สำคัญคือต้องปล่อยควันออกสู่ที่โล่งได้สะดวก บริเวณรอบๆ ควรมีต้นไม้เยอะๆ เพื่อดูดซับควัน

           ก่อนเข้าสู่กระบวนการเผา สิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมคือไม้ ที่จะนำมาเผาเลือกไม้ขนาดไล่กัน ทั้งนี้ไม้ที่นำมาเผาไม่ควรสด หรือแห้งจนเกินไป ถ้าเป็นท่อนยาวควรตัดให้ยาวพอจะใส่ในเตาได้พอดี และคัดแยกไม้เป็นกลุ่ม ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อสะดวกในการเรียงไม้เข้าเตา

          การเรียงไม้สำคัญมาก ควรวางให้มีช่องว่างจากท้องเตาเพื่อหมุนเวียนความร้อนภายในเตา เริ่มเรียงไม้เข้าเตา โดยให้ไม้ขนาดเล็กสุดอยู่ด้านล่าง ขนาดใหญ่สุดอยู่บน เพราะธรรมชาติของความร้อนจะลอยอยู่ด้านบน อุณหภูมิด้านล่างจะต่ำกว่า เมื่ออุณหภูมิต่างกัน ไม้เล็ก ไม้ใหญ่จะเป็นถ่านพร้อมกันพอดี และใส่ไม้ควรเอาด้านเล็กกว่าเข้าไปในเตา จนไม้เต็ม จากนั้นจุดไฟหน้าเตาก่อนที่ก็ปิดเตา


 
          ทั้งนี้ หลวงพ่อรวยได้เปรียบเทียบธรรมะกับถ่านไว้อย่างน่าคิดว่า
          “ธรรมะสำคัญต่อการใช้ชีวิตต่อคนฉันใด ถ่านก็มีความสำคัญต่อการทำอาหารฉันนั้น
          แม้ว่าจะมีเชื้อเพลิงอย่างอื่น แต่ถ่านก็ยังมีความสำคัญ เพราะอาหารประเภทปิ้งย่าง ถ้าไม่สุกด้วยความร้อนจากถ่านก็รสชาติไม่ดี ถ้าคนไม่มีธรรมะก็เป็นคนไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นกล้วยปิ้ง ลูกชิ้นย่าง รวมทั้งหมูกระทะ ต้องสุกด้วยถ่านเท่านั้นถึงจะอร่อย”


          นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ถ่านจากวัดที่ออกมากว่าเดือนละ ๓๐๐ กระสอบ ขายหมดเกลี้ยงชนิดต้องเรียกว่า “เผากันไม่ทัน ใครอยากถ่านต้องสั่งซื้อล่วงหน้าเท่านั้น”

           นอกจากเผาถ่านแล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือว่าน่าจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินเรื่องราวของหลวงพ่อมารวย คือ แทนที่จะฉันภัตตาหารที่ญาติโยมใส่บาตรหรือกิจนิมนต์ในงานบุญต่างๆ โดยเฉพาะงานบุญของวัดม่วง ๒ งาน คือ งานทำบุญครบรอบวันมรณภาพอดีตเจ้าอาวาส และงานบุญทอดกฐิน

           ท่านกลับทำอาหาร ทั้งคาวหวาน ด้วยฝีมือการปรุงรสของท่านเอง จนเป็นที่รู้กันในหมู่วงการสงฆ์ว่า “อาหารคาวหวานฝีมือหลวงพ่อรวยอร่อยมาก” ถึงขนาดพระด้วยกันเองตั้งสมญาว่า “หลวงพ่อครัวหัวป่าก์”

          สำหรับผู้ที่จะลิ้มรสอาหารพระทำจริงๆ ซึ่งเป็นฝีมือหลวงพ่อรวยนั้นมีเพียงวันเดียว คือ ในวันทอดกฐินสามัคคี โดยในปีนี้วัดยังไม่กำหนดวัน เพราะน้ำท่วมหนัก ส่วนใครอยากเรียนรู้ดูงานเผาถ่าน สอบถามข้อมูลได้ที่โทร.๐-๓๖๕๘-๑๖๖๒, ๐๘-๙๕๓๙-๙๗๗๖

 


ที่มา "ไม่เอาถ่าน"

         คำว่า “ไม่เอาถ่าน” นักภาษาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า มาจากสิ่งที่ไม่เอาถ่านจริงๆ คือ เหล็ก ในการถลุงเหล็กใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง ถ่านจะปล่อยคาร์บอนออกมาในเตาเผา และเข้าไปผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก เหล็กที่มีคาร์บอนหรือถ่านเข้าไปปนอยู่ในเนื้อในปริมาณที่เหมาะสมหลังจากการถลุง เป็นเหล็กที่คุณภาพดี ส่วนเหล็กที่ไม่มีถ่านผสมอยู่ด้วยเป็นเหล็กคุณภาพต่ำกว่า เป็นเหล็กไม่เอาถ่าน

        ทั้งนี้ “ขุนวิจิตรมาตรา” ได้ให้ความหมายที่มาของสำนวน “ไม่เอาถ่าน” ไว้ว่า มีที่มาจากการถลุงแร่แบบการเล่นแร่แปรธาตุ การถลุงแร่นั้น ต้องใช้ถ่านไฟในการถลุง แต่แร่บางชนิดถลุงยากใช้ถ่านมากมาย เท่าไหร่ก็ถลุงไม่สำเร็จไม่หลอมละลาย จึงเกิดเป็นสำนวน ไม่เอาถ่าน

        ในขณะที่หนังสือภาษาคาใจ ภาค ๓ ถอดรหัสภาษาไทยที่ยัง 'ค้างคาใจ' เขียนโดย สังคีต จันทนะโพธิ พฤติกรรมของ "เด็กไม่เอาถ่าน" คาดกันว่าคำนี้มีที่มาจากคำเดิม คือ "เหล็กไม่เอาถ่าน" เพราะในสมัยก่อนนั้น การหลอมเหล็กหรือตีอาวุธจากเหล็กให้แข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องใช้ถ่านในการก่อเปลวไฟจนลุกโชน เพื่อให้ความร้อนแก่เหล็ก แล้วถ่านหรือคาร์บอนจะแทรกตัวเข้าไปอยู่ในเนื้อเหล็กหลังจากการถลุง

         ถ้าเหล็กไม่มีถ่านผสมอยู่เลย เหล็กนั้นจะมีคุณภาพต่ำ ไม่แข็งและเหนียวพอที่จะเรียกว่า เหล็กกล้า แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เหล็กเปราะ เหล็กที่ดีควรมีคาร์บอนเข้าไปผสมอยู่ประมาณ ๐.๑-๑.๘ 8%

         ช่างตีอาวุธจากเหล็กในสมัยโบราณ จำเป็นต้องคิดค้นหากลวิธี เพื่อขจัดปัญหาดาบหัก เพราะแสดงถึงกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ดีทำให้เหล็กไม่เอาถ่าน จนกลายเป็นคำพูดติดปาก เปรียบเทียบนิสัยคนกับอาวุธว่า "เหล็กไม่เอาถ่าน"



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20111011/111450/[/url]พระเอาถ่านจริงๆวัดม่วงสิงห์บุรี.html][url=http://www.komchadluek.net/detail/20111011/111450/]http://www.komchadluek.net/detail/20111011/111450/[/url]พระเอาถ่านจริงๆวัดม่วงสิงห์บุรี.html
http://www.krungshing.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2012, 02:46:33 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

catwoman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 88
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระเอาถ่านจริงๆ" วัดม่วง สิงห์บุรี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 04, 2012, 04:06:54 pm »
0
แล้วพระไม่เอา ถ่าน เป็นอย่างไรคะ หมายถึง พระัที่ไม่ได้เผาถ่าน หรือ ว่าไม่เอาไหน บวชไปวัน ๆ

แต่ในเรื่องนี้ แล้วชี้ให้เห็นว่า มีพระสงฆ์ ส่วนหนึ่งที่ท่านต้องพึ่งตนเองอยู่ ใช่หรือไม่คะ
 
   เมื่อก่อนเคยพบพระรูปหนึ่ง ท่านมีอาชีพทำเครื่องดนตรีไทย ที่วัดหนองสีดา สระบุรี ปัจจุบันคงมรณภาพแล้วเคยคิดเหมืนอกันว่า ไม่ใช่กิจของสงฆ์ แต่เรื่องการเผาถ่าน หาฟืน ต้มน้ำร้อนน้ำชา ดื่มนี้ยังมีพุทธานุญาต แต่เรื่องทำอาหารนี่ ไม่อนุญาต ยกเว้นเสียแต่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ไม่มีใครใส่บาตรให้ฉัน อนุญาตให้ทำเองได้

 :s_hi: :67:
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระเอาถ่านจริงๆ" วัดม่วง สิงห์บุรี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 05, 2012, 10:44:20 am »
0
 :a102: :a102: :a102:

  พระเอาถ่าน จริง ๆ  ด้วย  ๆ

 เชื่อแล้ว .......

  :hee20hee20hee: :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:
บันทึกการเข้า