ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการปฏิบัติภาวนา : พระอาจารย์เปลี่ยน  (อ่าน 3062 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เทคนิคการปฏิบัติภาวนา : พระอาจารย์เปลี่ยน


การเดินจงกรม เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ ขณะเดินจงกรมนี้ เราก็บริกรรม เหมือนกัน เหมือนเวลาเราเดินไปเดินมา ตามธรรมดา ทางเดินจงกรม ควรจะให้ยาวพอสมควร ยาวถึง ๑๕ เมตร หรือ ๒๐ เมตร ก็ดีมาก แต่ถ้ามันไม่มีจริงๆ เราก็เดินใกล้กว่านั้น แต่เดินไปแล้วสุดทาง ให้ยืนอยู่ก่อน จึง ค่อยๆหมุนตัวกลับมา กลับคืนมา แล้วก็ค่อยๆเดินกลับ การเริ่มต้นเดินจงกลมนั้น ให้ยืนกำหนดจิตอยู่ แล้วก็ให้ยกมือไหว้ก่อน

แล้วจึงเริ่มเดินจงกรม เวลาเดินจงกรมอย่าให้น้อยกว่า ๑๕ นาฑี หรือ ๒๐ นาฑี ถ้าไปทำความเพียร อย่างอยู่ในวัดในป่า ควรจะ้เดินประมาณ ๓๐นาฑีอย่างน้อยที่สุด เดินได้มากเท่าไหรมันก็ยิ่งดี ถึงชั่วโมงได้ก็ยิ่งดี เพื่อให้ร่างกาย ของเรานี้เปลี่่ยนอิริยาบถให้ดี เวลาเราไปนั่งมันจะนั่งได้ทน การเดินจง กรมนี้มีอานิสงส์ สามารถทำให้เราเดินทางไกลได้ สองข่วยย่อ่ยอาหาร สามร่างกายแข็งแรง สี่ไม่ค่อยเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ห้าทำให้จิตใจ นิ่งสงบหนักแน่นดี

   ถ้าเรามีแต่นั่งอย่างเดียว นี่เราจะเดินทางไกลไม่ได้ มันจะเป็นโรคภัย ไข้เจ็บง่าย เหตุฉะนั้นจึงเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถที่ดีมาก เวลาเดินเรา ก็กำหนดไป ดุลมไปนี่แหละ ไม่ให้จิตของเราไปที่ไหน ให้มันอยู่กับตัวของเรา ก็ทำเหมือนนั่ง แต่ทว่าการเดินจงกรมนี้จิตของเรามันจะอยู่ที่เดิมไม่ได้ มันต้องลงมาสั่งมห้ก้าวขา สั่งงานให้ก้า่วขา มันจึงลงมาที่เท้า เดี๋ยวมันจะกลับขึ้นมาหาลมหายใจเข้าออก แต่อย่าให้มันออกไปจากร่างกายของเราก็พอ จะให้มันสงบแนบแน่นจริงๆ เหมือน อย่างนั่งนี้ไม่ได้

เพราะมันเคลื่อนไหวอยู่เท่่านั้นเอง ถ้ามันมีปิติ เกิดขึ้นว่า ตนเองนี้กำลังสร้างความเพียรทำความเพียรอยู่ เพื่อทางพ้นทุกข์อยู่ เกิดมันนึก ขึ้นมาอย่างนี้นะ มันจะเดินจงกรมเร็วขึ้น เร็วกว่าเดิมขึ้น แล้วก็จะเดินได้นาน ถ้ามันเดินตัวเบาสบายแล้ว มันจะเดินได้นานมาก มีความสุขกับความเบาด้วยเหมือนกัน จะมองเห็นว่า เรานี้ทำความเพียรอยู่ เป็นคนไม่ประมาท ตรงนี้แหละมันจะมีปิติเกิดขึ้น มันจะเดินเร็ว เดินเร็วกว่าเดิมหน่อย แต่ก็ไม่เป็นไรหรอก

   พอเดินจงกรมเสร็จ เราก็มานั่งพักอยู่เสียก่อน อย่าพึ่งไปนั่งทำสมาธิ นั่งพักผ่อน ร่างกาย เมื่อพักผ่อนร่างกายแล้ว เราจึงเข้าไปนั่งสมาธิตามที่เราฝึกกัน ถ้าเราเดิน ๓๐ นาฑี เรานั่งทำสมาธิได้ชั่วโมงหนึ่ง ซึ่งเรายังถือว่าน้อยอยู่เราก็ค่อยเพิ่มขึ้น ถ้าเราเดินจงกรมชั่วโมงหนึ่ง เกิดมันนั่งได้น้อย ถือว่าร่างกายของเรายังไม่ไหว เช่น เดินชั่วโมงหนึ่งเราก็นั่งได้ ๔๐ นาที มันเพลีย มันง่วง ถือว่าร่างกายของคน มันไม่สมบูรณ์ มันก็จะเป็นอย่างนั้น

    ถ้าร่างกายสมบูรณ์ เราเดินจงกรมได้ ๒ ชั่วโมงนี่ เวลาเรานั่งจะนั่งได้น้อย มันเหนื่อย เราก็ต้องลดการเดินจงกรมลงมา เพื่อให้นั่งได้มากขึ้นอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ บางองค์ท่านเดิน ๔ ชั่วโมง จึงมานั่ง สำหรับอาตมา นี้เดินตาม ปกติที่กำลังเร่งความเพียรนี้ ต้องเดินจงกรม ๒ ชั่วโมงครึ่ง แล้วเวลามานั่งนี่ มันได้ ๒ ชั่วโมงครึ่งเหมือนกัน ถ้าเราไม่ต้องการอย่างนั้น เราลดการเดินจงกรมลงมา ๑ ชั่วโมง-๒ ชั่วโมง เราก็นั่งได้ ๓ ชั่วโมง ถ้าจำเป็นจริงๆ เรามาเดินชั่วโมงครึ่ง แต่เรานั่งได้ถึง ๔ ชั่วโมง
 

เราจะเลือกเอาในระหว่างนี้ ถ้าเราเลือกเอานั่งมากกว่าก็เดินน้อย แต่ว่า จริงๆแล้วไม่อยากให้น้อยกว่า ๔๐ นาฑี หรือว่าชั่วโมงหนึ่ง เพื่อให้ร่าง กายของเรานี้เคลื่อนไหวได้ดี เลือดลมวิ่งได้ดี แข็งแรงด้วยเดินทางไกลก็ดี โรคภัยไข้เจ็บไม่ค่อยเบียดเบียน ย่อยอาหารดี เมื่อเรารับประทานอาหารใหม่ๆ ให้นั่งพักสักหน่อย ก่อนมาเดินจงกรม ให้อาหารย่อยดีๆเสียก่อน พอพักผ่อนแล้ว จึงมานั่งทำสมาธิ


    ที่นี้การยืน การยืนพิจารณานี้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราไม่ได้เคลื่อนไหว แต่มันจะยืนไม่ทน ก็จะปวดขาไม่ทน แต่ทำสมาธิได้ ยืน เดิน แล้วก็นั่ง นอน การนอนนี้เป็นอิริยาบถที่คนหลับง่าย เป็นอิริยาบถที่สบายที่สุุดของร่างกายของคน ถ้าเราไม่ฝึกฝนอบรมจิตใจของเรา ให้สงบดีจริงๆก่อน เราจะไปนอนทำสมาธิไม่ได้ง่ายๆ เดี๋ยวมันหลับไปก่อนเดี๋ยวมันก็หลับไป เดี๋ยวมันหลับไป มันจะไม่เจริญ ไม่ก้าวหน้า ในการทำสมาธิถ้านอนทำ

เหตุฉะนั้นต้องคุม ๓ อิริยาบถเสียก่อน ถ้าหาก เราทำความเพียรของเรา พอมันดึกแล้ว ถึง ๕ ทุ่มเราจะพักผ่อน นี่ว่าเรา มาทำความเพียรจริงๆ เราพักผ่อน ก็จะนอน เราก็นอนกำหนดตาม ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็นอนกำหนดไป หรือจะแผ่เมตตาเสียก่อน นอนกำหนดก็บริกรรมเหมือนเวลานั่ง จนมันหลับ หลับกับการบริกรรมภาวนา ข้อธรรมกัมมัฏฐาน มันหลับแล้วพอเราตื่นขึ้นมันอิ่ม ตื่นถึงตี ๒ ครึ่ง-ตี ๓ เราก็กราบแล้วรีบนั่งทำสมาธิเลยระยะนั้น เพราะการนั่งทำสมาธิ

ตอนเช้านี้ร่าง กายมันเบา อาหารมันย่อยแล้ว มันจะนั่งได้ดีกว่าตอนกลางวัน หรือหัวค่ำ ร่างกายมันเบาเบาดีเรานั่งได้ทน เราจึงทำจิตใจสงบได้เร็วมากกว่า นี่การทำสมาธิ ตอนเช้านี่ดีกว่าทุกเวลา เพราะอาหารมันย่อยหมด ร่างกายมันเบาสบายดี

   ฉะนั้นคนมาทำความเพียร ท่านจึงไม่ให้รับประทานอาหารตอนเย็น ตอนเที่ยงแล้วไป พยายามที่จะให้ ๒ มื้อพออย่างมาก เช้าแล้วก็มา ๑๑ โมง เพราะตอน เย็นนี้ไม่ต้องรับประทานอาหาร กินแต่น้ำหรือสิ่งจำเป็นที่ควร ร่างกายเราเบา เราจะทำความเพียรให้มาก ถ้าเกิดคนไหนมาทำความเพียร ถือแต่ศีล ๕ อย่างนี้ แล้วไปรับประทานอาหารตอนเย็น อยู่-ยากคนนั้นจะง่วง มันง่วงมันหนักร่างกาย มันจะไม่เจริญก้าวหน้าในการทำสมาธิ เหตุฉะนั้นผู้บำเพ็ญเพียร จึงเป็นผู้ไม่กังวล กับอาหารตอนเย็น

    เวลาเรานั่งทำสมาธิ ถ้ามันง่วง เราต้องสังเกต เรื่องอาหาร ถ้าเรารับประทาน อาหารเป็นข้าวมัน มะม่วงสุก หรือว่าข้าวมันทุเรียน หรือกินอาหารมันเป็นหมู หรือกินข้าวมันมะพร้าวอะไรก็แล้วแต่ ฟักทองมัน จำพวกนี้ ถ้ามันทำ ให้ร่างกายเราง่วงก็ควรเลิกสิ่งอย่างนั้น อย่าไปรับประทาน ถ้ารับประทาน ก็ต้อวรับประทานน้อย เพื่อไม่ให้เรานี้ง่วงซึม การบำเพ็ญ ต้องการความ สงบแช่มชื่นเบิกบาน เราต้องพยายามปรับตัว

    เวลารับประทานอาหาร ก็อย่ารับประทานอาหารมาก นักปฏิบัติจริงๆนี่ พระพุทธ องค์ทรงสั่งสอนไว้แก่ภิกขุ-ภิกขุนีภิกขุโน ก็ดี นักปฎิบัติทั้งหลาย เวลารับประทานอาหาร หรือภิกษุฉันอาหารมันใกล้จะอิ่ม เหลือประมาณ สัก ๕ คำ นี้ให้หยุดเสีย คำนวณว่า เราเคยรับประทานอาหาร ๒๐ คำ อย่างนี้นะ มันอิ่ม เราควรจะกินให้ได้ประมาณ สัก ๑๕ คำ-๑๖ คำแล้วไปดื่มน้ำ มันจะพอดี ฉันน้ำ กินน้ำ มันจะพอดี


ถ้าเรารับประทานอาหารให้อิ่มพอดีแล้ว เราไปดื่มน้ำแล้วมันจะอึดอัด ร่างกายมันจะหนัก มันไม่ดีตรงนี้ ถ้าเรารับประทานข้าวเหนียว มันทำให้ง่วง เราควรที่จะรับประทานข้าวเจ้า ข้าวเจ้านี้มันทำให้ไม่ง่วง อิ่มขนาดนี้แหละ มันพอดีกับร่างกายของเรา เราควร ที่จะรับประทานให้พอดีพอดี

รับประทานอาหารพอดีกับร่างกายของเราแต่ละครั้ง ละครั้งนี่นะ อย่าไปรับประทานอาหารมาก พระท่านก็ไม่ให้ฉันมาก นักปฏิบัติ ให้มันพอดีกับร่างกายแล้วมันอยู่สบาย สบาย ก็ถอยหาเอา รับประทานเท่านี้ช้อน จำไว้ ถ้ามันหิวอยู่มันเบาเกินไป ก็เพิ่มขึ้นไป ถ้าเกิดมันง่วงมันหนักเกินไป เราก็ลดลงมา ลดอาหารแม้อาหาร ที่ตนเองชอบที่สุดก็ตาม ก็อย่าไปรับประทานมาก ตรงนี้ ต้องระวังตลอดเรื่องอาหาร ถ้าใครระวังอย่างนั้น จะทำให้ตนเองร่างกายเบา แล้วก็นั่งสมาธิได้ดีมากกว่าทุกๆคน นี่เป็นอย่างนี้

    เวลาเราทำใหม่ๆ มันก็เพลียบ้าง ง่วงบ้าง อ่อนเพลียบ้าง อย่าไปหวั่นไหวกับ มันอย่างนั้น ถ้ามันง่วง อาตมาก็ไม่อยากให้นักปฎิบัติทั้งหลายดื่มกาแฟ ทั้งพระ ทั้งโยมก็ดี ปลุกให้มันชื่นด้วยกาแฟอย่าไปทำอย่างนั้น ให้เราปลุกมันชื่นด้วยการ ที่เราระลึกถึงพระรัตนตรัย และการตั้งใจทำความดีของตน เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
 
ถ้าเราไปอาศัยยาไปอาศัยกาแฟอย่างนั้นมันไม่ดี เกิดไม่มีแล้วมันจะทำให้ง่วง ทำให้เรา ติดทางที่ดีที่สุด อย่าไปดื่ม ถ้าดื่มน้อยๆ ตามธรรมดา มันก็ไม่เป็นอะไร อย่าไปดื่มแก่ๆ ว่าจะให้มันนั่งได้มาก วันนี้ไม่ให้มันหลับ ไม่ได้ความแล้ว อย่างนั้นมันไม่ดี

เหตุฉะนั้นอาตมาจึงเลิกมาได้ ๒๐ ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับกาแฟ โก้โก้ ไปลองโกโก้ดูที่เวลลิงตัน ทำให้เจ็บท้อง ลองดูเฉยๆ ก็หยุด ก็เลิกไม่เกี่ยวข้อง เข็ดแล้วไม่เอาแล้ว นั่นนะเราต้องเลือกหาการรับประทานอาหารทุกอย่าง อะไรมัน ทำให้เจ็บท้อง มันกวนท้องเราก็พยายามดู สิ่งนี้ควรหยุด ต้อง รับประทานแล้วท้องมันเบาสบาย มันไม่อืดอย่างนี้

เราต้องหา เลือกหา อาหารชนิดนั้นทาน จะเป็นน้ำพริก จะต้มผัก หรือจะกินแกงชนิดไหนมันไม่รบกวน หรืออาหารชนิดใดเราพอหามาได้ เราก็พยายาม โยมนี้ต้องพยายาม ปรับหาอาหารเฉพาะร่างกายตนเองได้ ไม่เหมือนพระ พระนี่แล้วแต่มันจะมี ต้องเลือกเอาเท่านั้นเอง แล้วแต่โยมจะให้อะไรมา เลือกเอาว่าอะไรควรฉันได้ อะไรไม่ควรฉัน

    เหตุฉะนั้นเวลาพระไปฉันที่บ้าน อย่าไปรบกวน อย่าไปคุมท่านฉันอันนั้นอันนี้ ท่านจะเลือกหาเอาเอง ที่มันเหมาะสมกับร่างกายของท่าน ที่ท่านไม่มีอะไรรบกวน ที่ท่านสบาย ท่านจะเลือกหาอย่างนั้นของท่านเอง ไม่ต้องไปพูดถึง เพราะ ท่านเลือกมานานแล้ว ท่านต้องรู้จักอาหารต่างๆ ผู้ที่จักจัดอาหารบริโภคของตนเองนั้น จะได้เป็นคนไม่มีโรค

พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนว่าเป็นคนอยู่สบาย คนไหนโลภ อะไรก็กิน อะไรก็กินหมด คนนั้นเป็นโรคง่าย คนไม่ระวังตนเอง เหตุฉะนั้น ร่างกายของคนนี้ อาหารการกินมันต่างกัน รสชาดมันก็ชอบต่างกัน บางคนก็ชอบเปรี้ยว บางคนก็ชอบหวาน บางคนก็ชอบขม บางคนก็ชอบเผ็ด บางคนก็ชอบเค็ม บางคนก็ชอบจืด นั่นแน่ะ อะไรมันทำให้สบายที่สุดต้องเลือกหา รสอาหารทั้งหลายเหล่านี้ บางคนก็ชอบมันๆ

 

พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนการไปปฏิบัติในสถานที่เป็นสัปปายะ

๑. สถานที่สัปปายะ คือสถานที่สงบ
๒. ไม่เป็นหนทางพลุกพล่าน คนจอแจ
๓. ไม่เป็นสถานที่ก่อสร้าง อยู่ตลอดทั้งแล้ง ทั้งฝน มีการทำให้มันสงบ
๔. ไม่อยู่ใกล้ท่าน้ำ ที่คนลงอาบน้ำ
๕. ไม่เป็นสถานที่เขาไปหาหลักหาฟืน
๖. ไม่เป็นสถานที่เป็นสวนดอกไม้ ที่คนเที่ยว ท่องเที่ยว
๗. ต้องมีบุคคลสัปปายะ ก็คือมีอาจารย์สอน
๘. สถานที่นั้นไม่อยู่ทางตะวันตกของหมู่บ้าน ต้องอยู่ทิศใต้ ทิศเหนือ
๙. คนอยู่ด้วยกันเป็นหมู่ รักตน ทุกคนก็รักสงบเหมือนกัน
๑๐. มีคิลานสัปปายะ ก็คือมียาพอจะรักษาตนเอง ได้อยู่ได้กิน เรื่องอาหารนี่ก็พูดกันแล้ว


    รวมแล้วเป็น ๑๐ อย่าง ถ้าไม่ได้ถึง ๑๐ อย่าง ก็ให้ได้สัก ๕ อย่างก็ยังดี สำนักปฎิบัติที่สงบนี้มันเป็นสถานที่อำนวยนะสิ่งแวดล้อมมันก็อำนวย ที่มันสงบ เวลาเรา นั่งทำสมาธินี่ เรามองเห็นจิตของเราง่าย พอได้ยินเสียงมัน วิ่งออก ไปใช่ไหม วิ่งออกไปหาเสียงนี่เราเห็นง่าย เรามองเห็นจิตของเราง่าย

   ถ้าหากเป็นที่คลุกคลี นั้นเรามองไม่เห็นจิตของเราเลย มันออกไปไม่รู้มันไปถึงไหน มันวิ่งอยู่ แ้ว้บ แว้บไปนั่น แว้บไปนี่ เรามองไม่เห็นจิตเลย จับมันไม่ได้ ฉะนั้นอยู่ที่สงบ มันจึง เป็นสถานที่จับจิตของตนเอง มาไว้กับข้อธรรมกัมมัฏฐานได้ดี นั่นคือสถานที่สัปปายะ ดังได้กล่าวมานั้น ถ้าหากว่ามันไม่ได้มาก มากถึงขนาด ๑๐ อย่าง ก็ให้ได้ ๕-๖ อย่าง

๑. สถานที่ไม่ก่อสร้าง
๒. ไม่อยู่ทางผ่าน
๓. ไม่อยู่ใกล้ท่าน้ำ
๔. ไม่อยู่ที่หาหลักฟาฟืน
๕. มีอาจารย์สอน
๖. มียารักษาโรคภัยไข้เจ็บ อาหารการกินก็พอฉัน พออยู่ ๕-๖ อย่างนี่ก็ใช้ได้


    นักปฎิบัติใหม่ พระพุทธเจ้าไม่ให้อยู่ในอาวาสที่ทางคนพลุกพล่าน มันไม่สงบ ไม่ให้อยู่วัดที่ก่อสร้างทั้งแล้งทั้งพรรษา ไม่ให้อยู่วัดปลูกแต่สวนดอกไม้ ท่านก็ไม่ให้อยู่ ให้หนี คนพากันมาเที่ยว ชมดอกไม้ มาชมดอกนั้นสวยดอกนี้ไม่สวยอยู่นั่น เดี๋ยวมันก็เข้าไปจับใจของผู้ไปปฏิบัติ มันไม่สงบ มันเสียหาย ครั้นอยู่ใกล้ท่าน้ำ เขาก็ลงเล่นน้ำใช่ไหม ร้องสนุกสนาน รื่นเริงรบกวนเราอีก มันไม่สงบ เขามาหาหลักหาฟืน เขาก็ร้องเพลงนั่น ไม่สงบอีก ไม่เอาอาวาสที่ไม่ควรมันเป็นอย่างนั้น วัดเราอยู่ตะวันตก บ้านคนอยู่ตะวันตก

   เมื่อคนเขาคุยกัน เสียงมันดังเบ้าวัด ก็ไม่สงบ วัดที่ไม่มียารักษาโรคภัยไข้เจ็บ สักหน่อย ท่้านก็ไม่ให้อยู่เพราะมันไม่สัปปายะ เรื่องยาแก้ไข้ อาหารกิน อาหารที่เราเลือกได้ ถ้ามันไม่สัปปายะ เราชอบจืดอย่างนี้ เกิดมีแต่อาหารเค็มๆ มันอยู่ไม่ได้ เราชอบหวานเกิดมีแต่ของเปรี้ยวๆท่านก็ให้เลือกระยะนั้นมันกำลังคิดอยู่ มันกำลังขึงขัง มันกำลังทำใหม่ เวลามันเฒ่ามา(แก่) ดีจริงๆ มันจะละสิ่งนั้นทิ้ง กำลังฝึกใหม่นี่ก็เรียกว่า หาสนองกิเลสอยู่ หาสนองจิตอยู่

    เพื่อให้มันเข้ากับจริตมัน มันชอบของเปรี้ยว มันไปโดยนของหวานมันสู้ไม่ไหว ควรจะให้ไปอยู่กับของเปรี้ยวก่อน ถ้าชอบจืดก็ให้ไปอยู่ที่อาหารจืดๆ ก่อน อาหารหวาน ไม่เอานี่ ให้มันอยู่ที่ชอบก่อน เวลามันภาวนาดีๆ จิตใจสงบดีแล้ว มันทิ้งของมันเองหรอก มันเลือกของมันเอง มันก็ทำให้สบายดีตรงนี้

    บัดนี้ดูร่างกายของเรา เวลานั่งทำสมาธิ ถ้ากระดูกเข่ากระดูกโคนขาไม่ดี เรานั่งทน ไม่ได้ มันเจ็บมันปวด เราก็ต้องพยายามหานั่งแบบที่จะนั่งได้ทนที่สุด ตรงนี้ไม่ บังคับขัดสมาธิอย่างเดียว ถ้าขาเราไม่ดีเราก็นั่งเก้าอี้ นั่งเกาอี้ทำเพราะเรา ไม่ได้ไปคุมขานี่ เราคุมที่จิตใจอยู่ ภาวนาแท้ๆ เราไม่ได้คุมที่ขา ขามันจะอยู่อย่างไรก็ช่างมั

 
    แต่ว่าพราะร่างกายของเราไม่สมประกอบ ไม่สมบูรณ์ เราก็จะคุมจิตนั่งแบบไหน นั่งพับเพียบทนหรือนั่งสมาธิทน หรือนั่งเก้าอี้ทนเราต้องดุนะ ดู่ว่าอะไร มันจะนำจิตใจให้สงบได้เร็วที่สุด เราก็มองหาอย่างนั้น ถ้ามันนั่งแล้วง่วง เราก็เดินจงกรมนะ อย่านั่งต่อ มันง่วง มันแก้กัน แก้ง่วง เดินจงกรมให้มันชื่น เดี๋ยวมานั่งใหม่

   บ้ัดนี้ถ้าร่างกายของเรามันอ่อนเพลียจริงๆเราเดินทางไกลาอย่างนี้นะ เราก็ควรที่จะพักผ่อน มันไปไม่ไหว ร่างกายมันต้องพักผ่อน แต่จิตมันไม่พักนะ แต่ร่างกายมันไปด้วยไม่ได้นะ มันคนละส่วนกัน เราก็ต้องการพักผ่อน นี่มันเป็นอย่างนี้ ต้องพักผ่อนนอน

    เราอย่าไปหักโหมเกินไปเราอย่าเอาเป็นอัตตกิลาถานุโยค การ บังคับตนไม่หลับไม่นอน เดินจงกรมทั้งคืนนั่งทั้งคืน หมดวันยันรุ่ง เป็น อัตตกิลมถานูโยโค การประกบตน ให้เหน็ดเหนื่อยเปล่านี้แล ทำให้เกิดทุกข์ แก่ผู้ประกอบนั่น ทุกโขอนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ใช่ทางพระอริยธรรม อนัตถสัญหิโต ไม่ประกอบด้วยอย่างหนึ่ง ไม่ใช่หนทาง หมดวันหมดคืน เอาหมดคืนแต่กลางวันนอนหมดวั มันไม่ได้เรื่องอะไร
 
ต้องแบ่งเวลานอน เวลา กลางวันก็นอนบ้าง กลางคืนก็นอนบ้าง แต่มันคนละเวลากัน ถ้าเกิด เรากลางคืนหมดคืน กลางวันมาทำความเพียร ทำความเพียรหมดคืน มานอนกลางวัน ก็ไม่เป็นอะไรหาวิธีพักผ่อนร่างกาย บางคนเดินจงกรมทั้งวัน กลางคืนไม่หลับ ไม่นานก็ล้มป่วยแล้วไปไม่รอด เราต้องพัก ถ้าทำทำสักคืนหนึ่งนี่ กลางวันพัก วันหลังมาทำไม่เป็นไร เพราะกลางวันก็ได้พักอยู่ ร่างกายไม่เป็นอะไร

    บัดนี้ อัตตกิลมถานุโยค อดข้าว อดอาหาร ร่างกายมันกินอาหาร พอไปอดมันนี่ อดอดไป มันป่วยสิ นี่ร่างกายมันทรุดลง ไม่รู้ตัว ล้มไม่รู้ตัว ตายไม่รู้ตัว ชนิดนี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค เราต้องรู้จัก สภาวะร่างกายของเรา เพราะเรา เอาร่างกายทำความเพียร เราต้องรู้จักรักษา พอให้มันประทังไปได้ นี่้มันเป็นอย่างนี้

   กามสุขัลลิกานุโยค คือความเพียรล่าช้า มัวแต่เพลิดเพลินอยากฟังดนตรีบ้าง อยากไปเที่ยวสนุกสนานดูหนังดูลิเกบ้าง จิตใจมันยึดสนุกสนาน ไม่นั่งภาวนา ไม่เดินจงกรม หาแต่เรื่องสนุก อันนั้นก็ช้า คนเดินทางช้า ไม่ใช่ทางพระอริยเจ้าท่านทำ ทำให้เสียกาลเสียเวลา

นี่การทำความเพียรต้องเป็น มัชฌิมาปฎิทา เดินสายกลางให้พอดี พอดีถ้าเหมือนคนตึงเกินไปนี่แหละ สมมุติเราเดินทางอยู่ เราวิ่งเอง มันยังไม่ถึงหมู่บ้าน ที่เราจะไป มันล้ากลางทาง แล้วเห็นไหม มันตายอยู่กลางทางมันไปไม่รอด อันนี้ถ้าเราเดินช้าเกินไป เดินเล่นอยู่ มันก็ไม่ถึง เราต้องเดินก้าวขา พอดี พอดี มันจึงจะไม่เหนื่อย มันจึงถึง หมู่บ้านี่เราจะไป
 

พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ให้เดินสายกลาง วิธีทำความเพียรภาษากลางก็คืือ เหมาะกับร่างกายของตนเอง แต่ละคนละคนเขาตัวใหญ่ เขาแข็งแรงเขาก็ทำได้หนักกว่า เราตัวน้อยเราก็เอาแบบใหม่ เดินได้ น้อย เราก็นั่ง นั่งดูเพราะฝึกจิตเหมือนกัน เหมาะกับร่างกายเหมาะสม แต่ไม่ได้ไปตามกับกิเลสนะ กิเลสมันชอบนอนก็นอน แบบนั้นมันไม่ใช่ แต่เราฝืนมันอยู่ นั่ง

สมมติเรานั่งได้ ๒๐ นาฑี เราฝืนไป พยายามให้มันได้ ๒๕ หรือ ๓๐ ได้ ๓๐ นาฑี เราก็พยายามฝืนให้มันได้ ๓๕ นาฑี มันถึงเวลา เราก็อย่าออกจากนั่ง ฝืน ฝืน บ้าง บังคับมันบ้าง เพื่อให้มันก้าวหน้า อย่าเอาแค่เดิมอย่าเอาแค่เดิมเท่านั้น บางทีอัน อาจจะน้อยกว่าเดิม ถ้ามันสั้นแต่ว่าเราเรามีเวลาว่าง เรามีความตั้งใจทำ ให้มันมีระบบมีเกณฑ์ เคยนั่ง ๓๐ นาฑี

วันนี้เราต้องเอาให้เกินนั่นไป เกิดมันเบา มันสบาย มันเกิดของมันเอง มันไปของมันเองชั่วโมงหนึ่งก็เป็นเรื่องเล็กเข้าไปแล้ว ให้จิตใจสงบ แล้ว มันเบา นี่ตรงนี้ เราก็ควร พยายาม แต่อย่าลืมว่า อิทธิบาท ๔นั่นมันมี

ฉันทะ ความพอใจในการที่จะทำความเีพียรของตน
วิริยะ ต้องเพียร เดินจงกลม นั่งภาวนา
จิตตะ เอาใจฝักไฝ่อยู่ มีช่องว่างเมื่อไรก็ต้องทำเมื่อนั้น ทำอยู่พิจารณาอยู่
วิมังสา ตริตรองเหตุผล ถ้าจิตใจของตนนั้นสงบเป็นสมาธิ เราจะได้รับความสุข


    ธรรม ๔ อย่างนี้ ต้องเป็นเครื่องประกอบตลอดไปในการทำความเพียร และ ทำกิจการงานทุกอย่าง ทางด้านวัตถุก็เหมือนกัน ธรรม ๔ อย่างนี้ ต้องเป็น เครื่องประกอบอย่างดี ความเพียรก็เรียกว่า อิทธิบาท๔ เป็นบทเป็นบาท ในการที่จะเดินทางและให้ไปถึงจุดหมาย ปลายทาง และสำเร็จได้ ถ้าขาดแล้วไม่ได้เลย ขาดข้อเีดียวก็ไม่ได้

   ถ้าเรามีฉันทะ ความพอใจอยู่ อยากทำความเพียร แต่ไม่มีวิริยะ ไม่นั่ง ไม่เดิน จงกลมไปไม่ได้ ได้ข้อเดียวถ้าเรามีความเพียรอยู่ มีฉันทะ และมีความเพียร เดินจงกรม นั่งภาวนาอยู่ แต่มันทำเป็นระยะระยะ ไม่ฝักใฝ่เลย เวลามีช่องว่างไม่ดู ความเพียรก็ไม่ต่ออีก ต้องดูช่องว่าง เมื่อไหร่ทำความเพียรทั้งนั้นไม่เลือก เช้า - สาย- บ่าย- เที่ยง- เลยมันเป็นอย่างนี้ เพราะธรรมมะ มันเป็นอกาลิโก ไม่ประกอบ ด้วยกาลด้วยเวลาเหมือนผลไม้ต่างๆ

ถ้าเราทำจิตใจของเราสงบเดี๋ยวนี้ เราก็สุขเดี๋ยวนี้ เราไปสงบเที่ยงคืน เราก็สุขเที่ยงคืน เราสงบตีสอง เราก็มีความสุขตีสอง ถ้ากลางวันเราสงบเราก็มีความสุขเวลาไหนไม่เลือก ทำความเพียร ไม่เลือกกาล เลือกเวลา เป็นอกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลด้วยเวลา ท่านจึงให้ทำได้ทุกเวลา ไม่ใช่ว่าเลือกค่ำ ค่ำแล้วจึงจะทำ กลางคืนจึงจะทำ ไม่ใช่อย่างนั้น เราก็ตั้งใจทำต่อไป นึกว่าเรามาทำความเพียร พอตื่น-ตื่นมาก็มันยังชื่นอยู่-นั่ง ใครไม่นั่งก็ช่าง ใครนะนอนกรนอยู่ก็ช่าง เราต้องทำของเรา ให้ทำอย่างนั้น

แต่ต้องใจกล้าหาญ ยืนหยัดมั่นคง ไม่อ่อนแอ ไม่ท้อแท้ ตั้งใจทำ เห็นเขานอน เราก็อยากนอน อย่าไปทำทางที่ดี ที่สุดให้หมู่นอนหลับ เราตื่นนั่งทำสมาธิ ชื่นที่สุดเลย ยิ่งมีปิติ ยิ่งมีความแช่มชื่น ถือว่าคนอื่นประมาท คนอื่นประมาทไม่สร้างความดี ไม่ทำความดี ตนเองนี้กำลังทำความดี อาตมาทำอย่างนั้น เวลาอาตมาไปในงาน พระ ๕๐ องค์๑๐๐ องค์นี่นอนในปะรำมากๆ อาตมาจะนอนภาวนา เล่นเสียก่อน พอพระเณร นอนหลบหมดแล้

อาตมาลุกนั่งจนยันรุ่งเลย นั่งดูเหมือนกับคนประมาทหมดเลย พระทั้งเฒ่า ทั้งหนุุ่ม ทั้งแก่ นอนคราง อือ-อือ อือ- อึ-อึ อยู่ โอ๋ย ยิ่งชื่น ยิ่งชื่นยิ่งสงบ เห็นพวกนั้นประมาท มีแต่นอน เรานี้ไม่ได้ประมาท นิ่งสงบดี ดีมากเลย ที่เป็นอย่างนี้ อาตมาอยากให้ญาติโยมทำเหมือนกันนะ เพื่อมันจะได้ชื่น เรามาทำความเพียรนี่ เราไม่ใช่มาประมาทนะ ไม่ใช่มาเล่นนะ เราต้องการความพ้นทุกข์ เข้าสู่นิพพาน เราต้องวางเป้าเราไว้อย่างนั้น

ถ้าหากยังไม่ถึงนี่ จะให้เราเป็นผู้เพิ่ม พูนบุญบารม๊ของเราให้แก่กล้าขึ้นไป เพิ่มพูนสติปััญญาของเราด้วย ถ้าตายไป จากชาตินี้ ไปเกิดชาติหน้า ขอให้สติปัญญาแก่กล้ากว่านี้ เพื่อจะได้ละกิเลสให้เบาบางลงไปเรื่อยๆ เฒ่าไม่แก่ถึงขนาดยิ้มไม่ออก เราก็ต้องเอาสิ ท่านยังทำได้ ผู้หญืิงผู้ชายไม่เลือก ทำสมาธิความทุกข์ ความสุข มันมีเหมือนกันหมด เหมือนกันหมด ความโกรธ ความเกลียด มันมีเหมือนกันหมด ทั้งรักทั้งชังเขามี ความสุข-ความทุกข์ เขาก็มีเหมือนกันหมด ความเบือ่หน่ายเขามีเหมือนกันหมด

เหตุฉะนั้นการปฏิบัต เขาจึงว่ามันมีเหมือนกัน แต่สติปัญญา ใครจะว่องไวกว่ากัน ก็ต้องสร้างซิ เห็นว่าตนเองไม่สงบ จะหยุดก่อนไม่ได้ -ทุกข์ ก็ดุเขาวิ่งแข่งกันใช่ไหม ถ้าเขาแพ้เรา ต้องไปฟิตทุกเช้าใช่ไหม ฟิตเพื่อให้วิ่งเร็วขึ้น เราก็ฝึกสติของเราให้เร็วขึ้นซิ ฝึกการปฏิบัติของเราให้แข็งแกร่งขึ้น ต้องดูอย่างนั้น ถ้าใครมีจุดมุ่งหมายอย่าง นั้นสงบแน่ ได้รับความสุขแน่

    เพราะเราไม่มีงานอะไรนี่ ไม่ได้แบกได้หามอะไรนี่ เราละทิ้งงานทางกาย ไม่ได้ ทำงานทางกาย พิจารณางานทางจิต จิตตวิเวก จิตสงบ ถ้าจิตสงบแล้ว อุปธิวิเวก จะไปละกิเลส เข้าวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อหา ละกิเลส เพื่อให้จิตของเราได้ว่าง ไม่มีกิเลสจดจำ มันจะได้สบาย เอาแค่นี้แหละนะ


* จากเรื่อง-เทคนิคการปฎิบัติภาวนา หนังสือการทำสมาธิ โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญปทีโป วัดอรัญญวิเวก( บ้านปง) อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ หน้า๒๗-๓๙

ที่มา http://board.palungjit.com/f4/เทคนิคการปฏิบัติภาวนา-พระอาจารย์เปลี่ยน-203139.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ