ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - tasawang
หน้า: [1]
1  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ศึกษา วิภังคสูตร เพื่อเข้าใจ ธาตุ กัน เถิดครับ เมื่อ: มีนาคม 08, 2013, 09:54:27 am
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://3.bp.blogspot.com

อ่านหน้า ต่าง สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๒. วิภังคสูตร
             ๔ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาท
นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
             ๕ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             ๖ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
             ๗ ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
             ๘ ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
             ๙ ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
             ๑๐ ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ
             ๑๑ ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา-
*เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
             ๑๒ ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ
             ๑๓ ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ
@๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ ๓. คือเป็น
@อุปปาติกปฏิสนธิ ฯ
             ๑๔ ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและ
รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ
             ๑๕ ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
วิญญาณ ฯ
             ๑๖ ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร
จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ฯ
             ๑๗ ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่ง-
*ทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
             ๑๘ ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง
ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=33
2  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา อาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปบาท เมื่อ: มีนาคม 08, 2013, 09:50:24 am
ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา

อาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาท คือ อดีตเหตุ ๕, ปัจจุบันผล ๕, ปัจจุบัน เหตุ ๕ และอนาคตผล ๕

มีความหมายว่า อาการ ๒๐ นั้นได้แก่ สภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปปาท นั่นเอง จึงจำแนกไปตามเหตุตามผลแห่งกาลทั้ง ๓ จึงจัดได้เป็น ๔ พวก ๆ ละ ๕ รวมเป็นอาการ  ๒๐ คือ

๑. อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้ปรากฏปัจจุบันผล ๕

๒. ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา

๓. ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ อวิชชา และสังขาร ธรรม ๕ ประการนี้เป็นปัจจัยให้ปรากฏอนาคตผล ๕

๔. อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา

อาการที่เป็นไปในกาลเวลาที่ล่วงไปแล้วซึ่งเรียกว่า อดีตเหตุนั้นมี ๕ ประการ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ(คือกัมมภพ)ที่นับ ตัณหา อุปาทาน ภพ รวมเข้ากับอวิชชา สังขารด้วยนั้น ก็เพราะว่า ธรรม ๕ ประการนี้เกี่ยวเนื่องกัน ไม่เว้นจากกันไปได้เลย กล่าวคือ เมื่อมีอวิชชา สังขาร เกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่มีตัณหา อุปาทาน กัมมภพ เกิดรวมด้วยนั้นเป็นไม่มี ในทำนองเดียวกัน ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ ปรากฏเกิดขึ้นในขณะใด ขณะนั้นย่อมจะต้องมี อวิชชา สังขาร เกิดร่วม ด้วยเสมอไป รวมความว่า เพราะในอดีต มีอวิชชาอยู่ จึงได้กระทำกรรม อันเป็น เหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน

ผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็ได้แก่วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนารวม ๕ ประการ ไม่นับ ชาติ ชรา มรณะ รวมเข้าด้วยก็เพราะเหตุว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นแต่เพียงอาการของ วิญญาณ นามรูป เท่านั้นเอง ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ จึง ไม่นับรวมเข้าด้วย รวมความว่า เพราะในอดีตกาลได้ก่อเหตุขึ้นไว้ จึงมาได้รับผล เป็นรูปเป็นนามในปัจจุบันนี้

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา อันเป็นผลในปัจจุบันนี้นี่เอง เป็นตัวการที่ก่อให้มี ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา และสังขารขึ้นอีก เพราะว่า ได้ก่อเหตุโดยกระทำกรรมขึ้นอีกดังนี้ จึงเรียกว่า ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา สังขาร รวม ๕ ประการนี้เป็นปัจจุบันเหตุ เมื่อได้ก่อให้เกิดปัจจุบันเหตุเช่นนี้แล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะได้รับผลต่อไปในอนาคต ผลที่จะได้รับต่อไปในภายหน้านั้นจึง ได้ชื่อว่า อนาคตผล

เมื่อรู้ผลปัจจุบัน และละเหตุปัจจุบันได้โดยสิ้นเชิงแล้ว ผลในอนาคตก็ไม่มี เมื่อนั้นจึงเรียกว่า สิ้นเหตุสิ้นปัจจัย พ้นจากอาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาทธรรม นี้ได้



ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com


http://abhidhamonline.org/aphi/p8/051.htm
3  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมื่อพระพุทธองค์ ทรง อสัญญีภาพ เมื่อ: มีนาคม 08, 2013, 09:42:20 am
ทรงอสัญญีภาพ

ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้าง เสวยอาหารละเอียดบ้าง จนพระกายเหี่ยวแห้ง พระฉวี(ผิว)เศร้าหมอง พระอัฏฐิ(กระดูก)ปรากฏทั่วพระกาย เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากเน่าร่วงจากขุมพระโลมา พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนเซล้ม วันหนึ่งทรงอ่อนพระกำลัง อิดโรยโหยหิวที่สุด จนไม่สามารถจะทรงพระกายไว้ได้ ก็ทรงวิสัญญีภาพ(สลบ)ล้มลงในที่นั้น

ขณะนั้น เทพยดาองค์หนึ่งสำคัญผิดคิดว่า พระมหาบุรุษดับขันธ์ทิวงคตแล้ว จึงรีบไปยังพระปราสาทพระเจ้าสุทโธทนะ ณ เมืองกบิลพัสดุ์ ทูลว่า บัดนี้ พระสิทธัตถะกุมารพระราชโอรสของพระองค์ สิ้นพระชนม์ชีพเสียแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งถามว่า พระโอรสของเราได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าหรือยัง เป็นประการใด เทพยดาก็ตอบว่า ยังมิทันได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ ท้าวเธอไม่ทรงเชื่อ จึงรับสั่งว่า จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้ หากพระโอรสของเรายังมิได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะด่วนทำลายพระชนม์ชีพหามิได้เลย แล้วเทพดาองค์นั้นก็อันตรธานจากพระราชนิเวศน์ไป

ส่วนพระมหาบุรุษ เมื่อได้ซึ่งสัญญาฟื้นพระกายกุมพระสติให้ตั้งมั่น พิจารณาดูปฏิปทาในทุกกรกิริยาที่ทำอยู่ ทรงดำริว่า ถึงบุคคลทั้งหลายใด ๆ ในโลกนี้ จะทำทุกกรกิริยาอย่างอุกฤษฐ์นี้ บุคคลนั้น ๆ ก็ทำทุกกรกิริยาเสมออาตมาเท่านั้น จะทำให้ยิ่งกว่าอาตมาหามิได้ แม้อาตมาปฏิบัติอย่างอุกฤษฐ์อย่างนี้แล้ว ไฉนหนอจึงยังไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณ ชรอยทางตรัสรู้จะมีเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่อย่างนี้เป็นแน่ เกิดพระสติหวลระลึกถึงความเพียรทางใจว่า จะเป็นทางตรัสรู้ได้บ้าง

พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ใครเคยแผ่ เมตตา 10 ทิศบ้างครับ ไม่ทราบหาครูอาจารย์ อธิบาย นำสอนเรื่องนี้ได้ที.. เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 07:00:15 pm
 ask1

ใครเคยแผ่ เมตตา 10 ทิศบ้างครับ ไม่ทราบหาครูอาจารย์ อธิบาย นำสอนเรื่องนี้ได้ทีไหน บ้างครับ ที่จะได้ปฏิบัติแผ่เมตตา 10 ทิศ และเราควรมีสภาวะจิต อย่างไรจึงจะสามารถแผ่เมตตา 10 ทิศได้ จำเป็นต้องสวดบท ออกทิศด้วยหรือไม่ครับ

 thk56

5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขณะเพ่งจิต คือการตั้งจิตไว้ในกาย ขณะปล่อยจิต คือการตั้งกายไว้ในจิต ใช่หรือไม่ ? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 06:57:43 pm
 ask1
อยากให้ท่านผู้รู้ ช่วยอธิบาย

   ขณะเพ่งจิต คือ

   การตั้งจิตไว้ในกาย คือ

   ขณะปล่อยจิต คือ

   การตั้งกายไว้ในจิต คือ

  ผมอาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะอ่านแล้ว ก็ยังงุนงง กับคำศัพท์ นี้ครับ

   thk56
6  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ต้องการ 5 หมื่นชื่อ..ด่วน.! เพื่อรักษา "วัดเก่าแก่และโบราณวัตถุ" เมื่อ: ตุลาคม 29, 2012, 10:30:51 am
www.borkboon.com/donate/ต้องการ-5-หมื่นชื่อด่วน-เ/



 ร ะ ก า ศ !!! ร่ ว ม ล ง ชื่ อ 5 ห มื่ น ชื่ อ

เพื่อ

ป้องกันสถานที่เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา และโบราณวัตถุมากมาย

โดยร่วมลงชื่อ ป้องกันการทำเหมืองทองแดง ทับพุทธสถานเก่าแก่ ที่ Mess Aynak ณ ประเทศอัฟกานิสถาน

รายชื่อนี้ จะยื่นต่อองค์การ UNESCO และต่อประธานาธิบดี ของประเทศอัฟกานิสถาน เพื่อขอต่อรองเลื่อนเวลา ของการทำเหมืองแร่ทองแดงออกไป

การทำเหมืองแร่ทองแดง ซึ่งกำลังจะเริ่มในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ จะทำลายโบราณสถานและโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนาไปสิ้น และสร้างมลพิษให้เกิดขึ้น กับประชาชนอัฟกานิสถานเองด้วย

การขอยืดเวลาออกไป จะทำให้นักโบราณคดีมีเวลาทำงานอนุรักษ์และนำหลักฐานเก่าแก่ของพุทธศาสนา ไปรักษาไว้ในที่อันควร เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

จนถึงบัดนี้ เป็นที่ทราบกันดีในวงวิชาการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนาว่า คัมภีร์พุทธที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา ถูกพบจากอัฟกานิสถานกับปากีสถาน ถ้าถูกทำลายไป หลักฐานดั้งเดิมก็ถูกทำลายไปด้วย

ทุกท่านสามารถลงชื่อได้ในทั้ง ๒ เว็บนี้ ซึ่งจะส่งไปคนละแห่ง
7  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / หนังสือ ดูรู้ หนึ่งพรรษา ( บรรณาการเชิญดาวน์โหลดครับ ) เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 02:12:06 pm




พึ่งจะเริ่มเข้าพรรษานะครับ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์นะครับ

เชิญดาวน์โหลดได้ นะครับ สำหรับสมาชิกครับ

8  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รายงาน 7 วันเทศกาล เพื่อความปลอดภัย ( น้อยลงหรือไม่ ) เมื่อ: เมษายน 13, 2012, 11:02:26 pm


เพียงวันแรก 12 เมษายน 2555 นะครับ



อันนี้รวม 2 วัน 12 -13 เมษายน 2555



สาเหตุหลัก ก็ เมาแล้วขับ

9  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คิดอย่างไร ไม่ให้ทุกข์ เมื่อ: เมษายน 01, 2012, 03:22:21 pm


ชีวิตกับความทุกข์นี้ดูเหมือนว่าจะเป็นของที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ทุกข์เป็นสัจจะ” หมายความว่า เป็นความจริง เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ตลอดเวลา

มีพระพุทธภาษิตบทหนึ่งตรัสว่า “ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์หามีอะไรไม่” ชีวิตจิตใจของเรานั้นมีเรื่องเกี่ยวกับความทุกข์อยู่ตลอดเวลา เกิด-ดับ.. เกิด-ดับ.. อยู่ในชีวิตของเรา

แต่ว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้น เป็นเรื่องที่แก้ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ค้นพบวิธีการแก้ทุกข์เป็นคนแรก แล้วก็ใช้วิธีนั้นเยียวยาพระองค์เอง จนพระองค์หลุดพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างเด็ดขาด ไม่มีความทุกข์ยากลำบากใจเกิดขึ้นในใจต่อไป

ตามปกติคนเราไม่ได้เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา ที่เป็นทุกข์เกิดขึ้นนั้นก็เพราะความคิดผิดในเรื่องเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวกับความนึกคิดจิตใจของเรา เมื่อใดเราคิดผิดไป เราก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน

การที่คิดผิดนั้นก็เพราะอำนาจอวิชชา ความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตในเรื่องปัญหาเหล่านั้น ความทุกข์อาจเกิดแทรกแซงขึ้นได้ แต่ว่าความทุกข์มันก็เป็นสิ่งไม่เที่ยงเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเป็นของเที่ยงแท้ถาวรคงทนอยู่อย่างนั้นตลอดไป อะไรๆมันเกิดขึ้นนั้น มันอยู่ในสภาพที่เรียกว่าเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา

ความทุกข์ก็เกิด-ดับ ความสุขก็เกิด-ดับ อะไรๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้น มันเป็นเรื่องเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าถ้ามีเหตุปัจจัยเครื่องส่งเสริม การเกิดนั้นก็ง่ายมาก แล้วก็ดับอยู่เหมือนกัน

ความเกิด-ดับของสิ่งทั้งหลายนั้น มันชั่วขณะเดียวเท่านั้น ชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออกเท่านั้นเอง แล้วมันก็ดับไปก่อน แต่มันเกิดอีก ทำไมจึงได้เกิดขึ้นมาอีก ก็เพราะว่าเราเอาใจเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นในทางที่ผิด เราไปยึดสิ่งนั้นไว้ ไปคิดในเรื่องนั้นโดยไม่ถูกต้อง เราก็มีความทุกข์ติดต่อเรื่อยๆกันไป

ตัวอย่างเช่นว่าเรากลุ้มใจ ความกลุ้มใจนั้นก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าเราก็ยังกลุ้มอยู่ตลอดเวลา ที่เรากลุ้มนั้น ก็เพราะว่าเราใส่เชื้อแห่งความกลุ้มเข้าไปในความคิดของเรา คล้ายกับไฟที่มันไหม้เชื้อ เมื่อมีเชื้อให้ไหม้ ไฟก็ลุกโพลงเรื่อยไป ไม่รู้จักดับไม่รู้จักสิ้น

แต่ถ้าหมดเชื้อเมื่อใดไฟมันก็ดับลงเมื่อนั้น แต่ถ้ายังมีเชื้ออยู่ไฟก็ไม่ดับ

คนที่หมั่นใส่เชื้อเพลิง ไฟก็ลุกโหมอยู่ตลอดเวลาฉันใด ในจิตใจของเรานี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราเพิ่มเชื้อให้แก่ความทุกข์ ให้แก่ความกลุ้มใจอะไรก็ตาม สิ่งนั้นก็เกิดเรื่อยไปไม่รู้จักจบสิ้น เช่นว่า

ความกลุ้มใจเกิดขึ้นเพราะว่าเราคิดในแง่ที่ให้เกิดความกลุ้มใจ

ความโกรธก็คิดในแง่ที่ให้เกิดความโกรธ

ความเกลียดก็เพราะคิดในแง่ที่ให้เกิดความเกลียด

ความริษยาเกิดขึ้นในใจ ก็เพราะความคิดในแง่ริษยา

แล้วมันก็มีเชื้อคืออารมณ์ที่เราใส่ลงไปนั่นแหละ มันก็ลุกโพลงอยู่ในใจของเรา เผาใจของเราให้เร่าร้อนอยู่ด้วย ปัญหาอย่างนั้นตลอดเวลา ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น เพราะว่าเราไม่รู้จักตัดต้นเหตุ

พระพุทธเจ้าท่านชี้ไว้ชัดในเรื่องนี้ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ไม่มีเหตุ ผลจะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่บางทีเราก็ลืมไปถึงหลักความจริงข้อนี้ ไม่ได้เอาหลักความจริงข้อนี้มาใช้ เป็นหลักในการปฏิบัติ แก้ไขปัญหา เช่น มีอะไรเกิดขึ้น เราก็ไม่ได้คิดนึกตรึกตรองเพื่อจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เราปล่อยให้ใจของเรามีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อนตลอดเวลา ไม่คิดแก้ไม่สะสาง เราก็มีความทุกข์เรื่อยไป

เพราะฉะนั้น ในการแก้ไขปัญหาชีวิต คือความทุกข์ความเดือดร้อน เราต้องใช้ธรรมะเป็นเครื่องประกอบ เอาธรรมะเข้าไปแก้

บางทีมันมีเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา แล้วเราก็มีความไม่สบายใจด้วยปัญหานั้นๆ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ เช่นว่าเราต้องสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตของเราไป จะเป็นบุคคลก็ตาม จะเป็นวัตถุสิ่งของเครี่องใช้ไม้สอยก็ตาม

เวลาสิ่งนั้นสูญหายไป เราก็มีความระทมตรมตรอมใจ มีความทุกข์อยู่ในใจตลอดเวลา ไม่สบายไม่อยากพูดกับใคร นั่งคนเดียว ปล่อยจิตปล่อยใจไปตามอารมณ์ อันเป็นเหตุที่จะให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจเท่านั้น

ไม่พยายามเปลี่ยนความคิด ไม่พยายามวิเคราะห์วิจัย ตัวปัญหาที่มันเกิดขึ้นในใจของเราว่า มันคืออะไร ทำไมมันจึงทำให้เรามีความคิดอย่างนั้นมีความคิดอย่างนี้ การไม่วิเคราะห์วิจัยนั้นแหละเรียกว่า “ไม่ใช้ปัญญา” เป็นเครื่องพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ชัดในเรื่องนี้ ท่านบอกว่า เมื่อใดมีอะไรเกิดขึ้นในใจของเรา จงใช้ปัญญาเพ่งพินิจในเรื่องนั้น เพ่งพินิจหมายความว่าดูอย่างละเอียด ดูอย่างรอบคอบ ดูให้มันลึกซึ้ง เพื่อจะให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และเราจะแก้ไขสิ่งนั้นอย่างไร

ตามปกติคนเราทั่วๆ ไปนั้น ไม่ค่อยจะได้ใช้สิ่งนี้ ที่ไม่ได้ใช้นั้นเพราะอะไร เพราะว่าไม่เคยใช้เลย ก็ใช้ไม่เป็น แต่ถ้าหัดใช้บ่อยๆ ก็เคยชินเป็นนิสัย แล้วเราก็จะหยิบเอาปัญหาขึ้นมาวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

จึงอยากขอแนะนำญาติโยมทั้งหลายว่า เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเราต้องหมั่นคิด

แต่ว่าการคิดนั้นอย่าคิดในแง่ที่ให้เกิดความกลุ้มใจ ในแง่ที่ให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ เราต้องคิดในแง่ที่ว่าความจริงของสิ่งนั้นคืออะไร มันเกิดจากอะไร มันอาศัยอะไร แล้วเมื่อสิ่งนั้นมาอยู่ในใจของเรานั้น สภาพจิตใจของเราเป็นอย่างไร มีความทุกข์มีความเบาใจ มีความสุขใจ ร้อนใจ เย็นใจ หรือว่าสงบใจอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องเพ่งลงไปพิจารณาลงไป ให้เข้าใจเรื่องนั้นชัดเจนถูกต้อง


(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรม
วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๐)

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 132 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2554
โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
10  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ธรรมมะ สั้น ๆ ง่าย ๆ อริยะสัจจ์ประยุกต์มิใช่ปฏิรูป เมื่อ: เมษายน 01, 2012, 03:15:00 pm
ธรรมมะ สั้น ๆ ง่าย ๆ
หัวข้อธรรมะ : ธรรมะสั้นๆ ง่ายๆ ชุดที่ 2 (อริยะสัจจ์ประยุกต์มิใช่ปฏิรูป)
โดย : พระไพโรจน์ กตธมฺโม
วันที่ : 19-06-2552
รายละเอียด :
 
ธรรมะสั้นๆ ง่ายๆ ชุดที่ 2 (อริยะสัจจ์ประยุกต์มิใช่ปฏิรูป)

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ คือ อริยสัจ 4 ประการ หรือ ความจริงอันประเสริฐสี่ประการดังนี้

1 ทุกข์หมายถึงความทุกข์ หรือ ปัญหา

2 สมุทัย หมายถึงเหตุแห่งความทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา

3 นิโรธ หมายถึงความดับทุกข์ หรือความไม่มีปัญหา (no broblem)

4 มรรค หมายถึงวิธีแก้ความทุกข์ หรือ วิธีแก้ปัญหา

 ขณะที่แก้ปัญหาใดๆ ขณะนั้นคือการปฏิบัติอริยะสัจจ์ทั้ง 4 ประการ

* ดังนั้นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คืออริยะสัจจ์ 4 และรวมลงในข้อเดียว คือ การดับทุกข์ หรือ การแก้ปัญหา *



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.happyreading.in.th
11  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พายุสุริยะ ปรากฎการณ์ที่โลกต้องรับมือ เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 07:22:28 pm
พายุสุริยะ ปรากฎการณ์ที่โลกต้องรับมือ



[วิจารณญาณ] แผนที่โลกปี ค.ศ.2012
12  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ลานินญ่ากับปรากฏการณ์น้ำท่วมไทย เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 07:19:51 pm
ลานินญ่ากับปรากฏการณ์น้ำท่วมไทย




ตอนนี้ มีข่่าวสรุป ว่าปราฏการณ์ นี้จะสิ้นสุด กลางปี 2555 นะครับ
อย่างไรเสีย ใครมีความรู้ส่วนนี้มาเพิ่มพูนกันให้หน่อยนะครับ

  :smiley_confused1:
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไม เรารู้ แต่จิต ทำไม่ไม่คลาย ครับ เมื่อ: ธันวาคม 10, 2011, 03:17:32 pm
ก็ในเมื่อพระพุทธเจ้าก้ตรัสว่า

กายนี้ไม่ใช่ สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเขา 

ผมก็มีความเชื่อว่าไม่ใช่ของเรา


แต่... จิตก็ยังไม่คลายความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็น เรา

เป็นเพราะอะไรครับ ทั้ง ๆ ที่เรารู้อย่างนี้จิตก็ยังไม่คลายจากความยึดมั่น ถือมั่น นี้ได้ ครับ

 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อยากทราบความหมาย ของ คำ ต่อไปนี้ ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 02:14:16 pm
1. สมาบัติ

2. ผลสมาบัติ

3. นิโรธสมาบัติ

4. สัญญาเวทยิตนิโรธ

   คือ 4 คำนี้จัดเป็น อริยมผลขั้นไหน บ้าง ครับ คือ สงสัยและยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับ

  :c017:
15  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทุกท่านเคยพิจารณา กรรมฐาน-พิจารณาอาการ ๓๒ เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 10:08:32 am
พิจารณาอาการ ๓๒
อาการ ๓๒ ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย ได้แก่อวัยวะส่วนต่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ และน้ำมูตร ในการพิจารณาอาการ ๓๒ นี้ ให้พิจารณาลักษณะของอาการนั้น ๆ ให้เห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ถ้าจะพิจารณาให้เห็นอาการเหล่านี้เป็นของปฏิกูลล้วนแต่ไม่สะอาด ก็เป็นการเจริญสมถกัมมัฏฐาน



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bangpan.org
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน.. เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:10:26 am
การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..

ผู้ที่ฝึกสมาธิ ใช่หรือไม่ ครับ หรือ ผู้ที่ฝึกสมาธิ มีโอกาส ได้คุณธรรมก่อนครับ

มีตัวอย่างประกอบหรือไม่ ครับ

   :25:
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มีภาพสวย ๆ มาให้ชม ให้จิตร่มรื่น ในธรรม ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 10:31:30 am




























ขอบคุณที่มาภาพ
http://board.postjung.com
http://www.oknation.net
หน้า: [1]