ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา  (อ่าน 991 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา
« เมื่อ: มกราคม 12, 2020, 07:02:28 am »
0




ข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา

บทคัดย่อ : “คนจะข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา จะข้ามมหรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท จะล่วงพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร และจะบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา” อาฬวกสูตร

ศรัทธาจะทำให้ฟังธรรมะรู้เรื่อง ฟังธรรมะรู้เรื่อง สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากคนที่มันยังอย่างหนาอยู่ ไม่มั่นใจ ใช่ไม่ใช่ ได้ไม่ได้หรือได้ ให้เป็นคนประเสริฐ ปรับได้เปลี่ยนได้ แปลงตัวเองได้ให้ดีขึ้นมาได้

@@@@@@

ให้ท่านผู้ฟังมีความมั่นใจ ความมั่นใจนั้นคือศรัทธา ความมั่นใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถปฏิบัติได้จริง ทำได้เห็นผล นำไปใช้งานได้ นี่คือความมั่นใจในข้อที่๑ ที่พอเราเปิดรายการมาเราต้องมี คุณจะมามีความมั่นใจในธรรมะได้ คือการที่จะมาเป็นธรรมะได้ชนิดที่ใช้งานได้จริง ชนิดที่เห็นผล ชนิดที่ตรวจสอบมาแล้ว ตรงนี้แหละต้องมีคนตรวจสอบมาแล้ว ต้องมีคนทดลองทำมาแล้ว เอาผู้ที่ทดลองทำผู้ที่ตรวจสอบมาแล้วนั่นคือพุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานก่อนแล้ว มีการตรวจสอบทดสอบทดลองมาแล้ว อันนี้คือมีความมั่นใจในพุทโธ มีความมั่นใจในธัมโมด้วย มีความมั่นใจในสังโฆด้วย

บางคนมั่นใจอยู่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง มั่นใจอยู่คำสอนสามารถที่จะเอามาฝึกเอามทำได้ไม่มีปัญหา แต่ฉันคงทำไม่ได้หรอก ชาตินี้มันวุ่นวายเหลือเกินทั้งเรื่องครอบครัวทั้งเรื่องการงาน นั่น คือไม่มีความมั่นใจในสังโฆ ถ้าเราไม่มีความมั่นใจในการทำการปฏิบัติ มันก็จะไม่ได้ มันต้องมาด้วยกัน ถ้าเรามีความมั่นใจในวิธีการในธรรมะ ว่าธรรมะนี้มีการทำมา มีการปฏิบัติมา ทดสอบทดลองมาแล้ว คือมีพุทโธเกิดขึ้นแล้ว สองอย่างแล้วเนี่ย แล้วเราไม่มีความมั่นใจในการทำการปฏิบัติของตัวเราเอง อย่างนี้ฟังธรรมมันจะประโยชน์น้อย จะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ถึงเรื่องราวที่มันควรจะต้องเป็น เพราะอะไร เพราะว่าศรัทธาไม่เต็ม มีแค่สองในสามนะ เหมือนกับเก้าอี้โต๊ะเนี่ย สองขามันตั้งอยู่ไม่ได้ มันต้องมีสามขาเป็นอย่างน้อย มันจะล้ม ได้แป๊ปเดียว เดี๋ยวล้มอีก ล้มอีกก็ตั้งอีก เพื่อให้มันได้สามขาล่ะ


@@@@@@

คือบางทีบางคนศรัทธาแค่พระพุทธเจ้าพระธรรมะ แต่ไม่ได้มีมีการศรัทธาในการทำการปฏิบัติของหมู่คือสังโฆ ศรัทธาเขาจะไม่ได้ทำให้เป็นการปฏิบัติอย่างเต็มที่ พอไม่ได้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริง สติก็มีๆหายๆโผล่ๆผลุบๆผลุบๆ สมาธิก็ได้บ้าง พออยู่พอกิน ว่างั้น ปัญญาก็ถูกกวนอยู่เรื่อย จากเรื่องนั้นกระทบเรื่องนี้ ปล่อยวางไม่ได้

พออินทรีย์ห้า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่ไล่มาเนี่ย มันอ่อนมันไม่แข็งกล้า เพราะว่าตั้งแต่อันแรกศรัทธามาไม่เต็มสามขาเนี่ย ก็ทำให้อ่อน อ่อนแล้วก็ทำให้วางอะไรได้ยาก

พอวางอะไรได้ยาก มันไปปูดตรงไหนล่ะ ถ้ามันไปปูดตรงปัญญา ไอ้ความที่วางได้ยากก็จะเป็นการยกตน ยกตนข่มท่านว่า โอวหรือดูถูกเบียดเบียนคนอื่นว่า คงไม่มีแล้ว คำสอนนี้ผู้ที่เป็นอริยะ หรือว่าฉันบรรลุแล้ว ปูดไปตรงนั้น ปูดออกมาตรงจุดที่เป็นสมาธิ ไอ้ที่ปูดออกมาก็จะเป็นความขี้เกียจขี้คร้าน ความท้อถอยเชื่องชาเฉื่อยแฉะ ถ้ามาปูดตรงความเพียร มันกลายเป็นความฟุ้งซ่านรำคาญใจ หรือทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ต้องทนต้องอดหลายอย่าง และถ้ามันมาปูดตรงศรัทธานะ บางทีทำให้เกิดความงมงาย ความลุ่มหลง หรือเป็นศรัทธาแบบหัวเต่า เอาแต่อ้อนวอนขอร้องไป

@@@@@@

ในโครงการที่เริ่มมาจากศรัทธาท่านผู้ฟัง ฟังกันมาตั้งแต่เริ่มรายการเนี่ย เราต้องตั้งไว้ซึ่งศรัทธาให้ดี ศรัทธาในคำสอน ให้มีความมั่นใจเถอะน่า ในคำสอนเนี่ยทำได้จริง พาคนพ้นทุกข์ได้ ที่ทำไมถึงทำได้ เพราะว่ามีคนทดสอบทดลองมาแล้ว ผู้นี้เป็นพระอยู่ที่อินเดีย สมัยก่อนเขาเรียกชมพูทวีป ท่านมีนามสกุลว่าโคตม เกิดในสากยตระกูล ท่านทำมาแล้ว ท่านทดสอบมาแล้ว ท่นลองใช้งานมาแล้ว ได้ นั่นคือมีความมั่นใจคือพุทโธ

แล้วเราจะต้องมีความมั่นใจว่า ไม่ใช่แค่พระรูปนั้นเท่านั้น ที่เป็นพระสมณโคดมเท่านั้น มีความสามารถระดับพระพุทธเจ้าเท่านั้นแหละที่จะทำได้ อย่าไปคิดอย่างนั้น คิดอย่างนั้นไม่ถูก เพราะว่าคนอื่นที่เขาทำแบบสมณะโคดมคือตามธัมโมเนี่ย ทำแล้วเขาได้ มี ได้ในระดับที่พ้นทุกข์ได้ ได้ในระดับที่แบบว่า โอว เยี่ยมแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำไปยิ่งกว่านี้ ได้ถึงระดับนั้นเลยนะ คือไม่ใช่แค่ได้ระดับทางกายทางวาจาได้อยู่ ศีล โอ๊ย อย่างนี้พระปัจจเจกพุทธเจ้าก็สอนได้ ลูกศิษย์ท่านบางทีในสมัยที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีแต่พระปัจจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้น เห็นพระปัจจเจกพุทธเจ้าทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เข้าไปกราบไปไหว้ สมาทานศีล ก็ทำได้ นั่นพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็สอนได้

แต่ว่าไม่ใช่แค่ทางกายทางวาจาที่ข้าพเจ้าพูดถึงเนี่ย ไม่ใช่แค่ทางกายทางวาจาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องทางใจ ทางใจในระดับไหน สามารถที่จะละราคะโทสะโมหะให้มันเบาบางลงไป เบาบางลงไปๆจนถึงระดับทีเรียกว่าไอ้เจ้าเครื่องร้อยรัดที่มันจะทำให้ความเห็นผิดไป ทำให้เกิดความไม่มั่นใจแบบมั่นใจแบผลุบๆโผล่ๆ วิจิกิจฉามันยังมีเนี่ย เดี๋ยวก็ศรัทธา เดี๋ยวก็เลือนหายไป ไอ้เจ้าวิจิกิจฉาเนี้ยมันก็หายไป แล้วการปฏิบัติชนิดที่ เอออยู่ต่อหน้ามาวัดเจอพระ แหมตั้งสำรวมจิตใจไว้เป็นอย่างดี พอกลับบ้านเปลี่ยนแล้วๆ ไปลัลล๊าหูตาเหวอะหว่ะ อันนี้มันจะไม่ใช่การทำอย่างต่อเนื่อง เป็นการทำแบบขอไปที สีลปัตตปรามาสตรงนี้


@@@@@@

มีราคะโทสะโมหะปฏิบัติ๊ปฏิบัติไป ทางกายวาจาและใจด้วยนะ จนกระทั่งความเห็นผิดหายไป มิจฉาทิฏฐิ ความที่ไม่มั่นใจ วิจิกิจฉาหายไป ความที่เป็นสีลปัตตปรามาสหายไป ถึงได้ระดับหนึ่งนะ ระดับที่ไม่ต้องมาเกิดอีกเป็นชาติที่ 8 เกิดอย่างมาก 7 ชาติ เขาปฏิบัติกันได้จนถึงแบบนี้ก็มีนะ คนแรกนี่คือคนแก่ด้วย ไม่ใช่คนหนุ่มๆ คนแก่ปฏิบัติธรรมมาตั้งน๊านนาน คิดว่าจะขอพ้นทุกข์น่า แต่ก็ไม่พ้น จนแก่หง่อมแล้ว ท่านยังทำได้ นั่นคือท่าโกณฑัญญะ พอท่านรู้เป็นคนแรกแล้ว เขาก็ยกย่องกันมาก เทวดาจนถึงเป็นชั้นพรหมนี่แหละเขายกย่องกัน แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังยกย่องท่านว่าชื่อ อัญญาโกณฑัญญะ

คนแก่ๆ เราไปดูถูกไม่ได้นะ คมนะ มีความรู้นะ มีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว มีธุลีในดวงตาน้อยด้วย คนแบบนี้ มีอินทรีย์แก่กล้า มีธุลีในดวงตาน้อย ฟังธรรม เอาเฉพาะแค่หัวข้อ พูดให้ฟังกันไม่นานแค่ไม่ถึง 20 นาที เอาหัวข้อเด็ดๆ ให้ฟังแล้ว โอโห บรรลุเป็นโสดาบัน ณที่นั้น ปฏิบัติได้ ทำได้ขนาดนี้ เกิดความมั่นใจขึ้น 100% ไม่ได้สุดอยู่แค่นี้ การทำการปฏิบัติในธรรมวินัยนี้ ที่ทำมาในทางกายทางวาจาและทางใจ สามารถที่จะกำจัดทุกข์ได้จริง สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงจิตใจจากที่มีความเห็นวิปริต เห็นสิ่งที่มันไม่ควรจะเป็นตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความวิปริตอย่างนี้เป็นต้น เห็นสิ่งที่มันไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ของเราว่าเป็นของเราอย่างเนี๊ยะ เรียกว่าความเห็นวิปริต

เปลี่ยนจากคนที่มีความเห็นวิปริตให้มีความเห็นที่ถูกได้ ยังเปลี่ยนจากคนที่ปฏิบัติแบบไม่จริงจังลูบๆคลำๆ เออใช่ไม่ใช่ ให้เป็นคนที่มีความทำจริงแน่วแน่จริง ในเรื่องของศีลทางกายทางวาจานี่อย่างน้อยไม่ผิดเลย ไม่อาจที่ในการที่จะทำกรรมแล้วที่จะต้องไปตกนรกได้ ยังรวมถึงความหัวเต่า ผลุบๆโผล่ๆ พอมีข่าวเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็หวั่นไหวคลอนแคลน ละเจ้าวิจิกิจฉาสงสัยเคลือบแคลงนี้ไปได้ โดยมีความมั่นใจมีความศรัทธาเต็มเปี่ยม

@@@@@@

ทำได้ละเอียดลงไปตามความสามารถของแต่ละคน ราคะโทสะโมหะเบาบางลงไปมากน้อยก็ทำให้ทุกข์ลดลงในทุกขั้นทุกตอน จากที่ต้องเกิดอีก๗ชาติ ศัพท์เทคนิคเขาเรียกว่าสัตตักขัตตุงปรมะ มาเหลือเกิดแค่สองสามชาติสัตตักขัตตุงปรมะ สองสามชาติคือโกลังโกละ หรือว่าแค่เกิดอีกชาติเป็นเอกพลีชี ก็มีนี่คือศัพท์เทคนิค ตามหลักการต้องเป็นอย่างนี้

หรือถ้าราคะโทสะโมหะลดลงไปอีก ทำให้มีความเป็นสกทาคามี ทุกข์ก็ลดลงไป ราคะโทสะโมหะทำให้เราทุกข์ มันเบียดเบียนเราอยู่ในใจ คนที่ถึงแม้จะมีความสบายทางกายภายนอก นอนเตียงนุ่มๆ กินอาหารอร่อยๆ เดินทางไปไหนก็มีคนพินอบพิเถา อยากได้อะไรก็มีคนคอยปรนเปรอ มีความสุขมีความสบายอยู่ แต่ต่อให้คุณกินอาหารอย่างดีๆ แล้วก็เขาเอาอาหารแบบดีๆเลยแหล่ะ แบบของที่ควรกินร้อนเขาก็เอามาให้ตอนมันร้อน ของที่ควรกินเย็นก็เอามาให้ตอนที่มันเย็นอยู่ พอกินเข้าไป แต่ถ้ามันอยากของร้อนแต่ดันเอาของเย็นมาให้ หรือถ้ามันอยากของเย็นแต่ดันเอาของร้อนมาให้ อยากกินผัดแต่ดันเอาต้มมาให้อย่างนี้ แหมมันจะเคือง เพราะอะไร เพราะความอยาก อยากได้อย่างหนึ่งแล้วมันดันไม่ได้ มีความเคืองแล้ว เคืองแล้วก็นั่นก็คือโทสะ อาหารนั้นไม่อร่อยเลยท่านผู้ฟัง ต่อให้มันอร่อยปานไหนก็ตาม ด้วยโทสะที่มันปนเข้าไป กินก็ไม่อร่อย ที่นอนต่อให้มันนุ่มขนาดไหนก็ตาม


@@@@@@

พระเจ้าจักรพรรดิ์ พระพุทธเจ้าเคยเล่าให้ฟัง ถ้าจักรแก้วเคลื่อนออกจากฐาน สมมุติคนที่เขามีดินแดน โอโหเยอะแยะไปหมดเนี่ย เป็นพระราชาอย่างนี้เป็นต้นนะ ท่านพระรัฐบาลเยถามท่านพระเจ้าโกรัพยะว่า ถ้ากษัตริย์ที่ครองความเป็นใหญ่ยิ่ง นอนเตียงที่มีหมอนแดงสองข้าง นุ่มๆ มีที่ระบายความร้อน มีเครื่องทำความเย็น มีคนเฝ้าดูเตียงสูงใหญ่ มีความสุขเรื่องที่นอนนี่มากเลย แต่พอวันนี้นี่มีเจ้าหน้าที่เขามาบอกว่ามีดินแดนอยู่ตรงโน้น โหยอุดมสมบรูณ์มากเลย เราสามารถไปยึดได้นะ ตรวจสอบดูแล้ว นอนคืนนั้นะ ไม่หลับ มันจะแบบพลิกไปพลิกมา บางทีฝันด้วยซ้ำว่า ต้องทำอย่างงั้น ต้องตีอย่างงี้ หรือใช้การยุทธ์ หรือใช้การฑูต ด้วยอำนาจของความอยากที่จะได้ เตียงนุ่มๆดีๆมันกลายเป็นนอนไม่สบาย พลิกไปพลิกมา สะดุ้งตื่นบ้าง นอนไม่หลับบ้าง เพราะคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ด้วยความสบายสุดๆแล้วนะท่านผู้ฟัง

แต่ต่อให้สบายทางกายอย่างไร ถ้าใจมันยังมีราคะโทสะโมหะเบียดเบียนอยู่ มันไม่ได้อยู่สบายหรอกท่านผู้ฟัง ไม่ได้อยู่สบาย แค่วินาทีเดียวคุณก็อยู่สบายไม่ได้ แต่ถ้าคนที่ปราศจากราคะปราศจากโทสะไม่มีโมหะด้วยแล้ว สามารถอยู่เย็นๆชิลด์ๆนิ่งๆ ไม่ใช่แค่นาทีเดียวเป็นชั่วโมงหลายๆชั่วโมง โอ๊ยอย่าไปพูดเลยชั่วโมง หลายวันโน่นน่ะ หนึ่งวันหนึ่งคืนจนถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน สามารถที่จะอยู่แบบนิ่งๆชิลด์ๆเย็นๆ นั่งใต้โคนไม้ โอ๊ยไม่ต้องพูดถึงเรื่องกิน ไม่กินอะไรก็ได้ กินปิติเป็นอาหาร

ไล่มาเลยตั้งแต่พระพุทธเจ้าของเรา บางทีไม่ได้ไปบิณฑบาตรเป็นหลายวัน หรือท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะพวกนี้ ท่านสามารถเข้าฌานสมาธิชนิดลึกๆชนิดนิ่งๆ ไม่ไปกินข้าว ไม่ต้องเปลี่ยนท่า นั่งอยู่เฉยๆ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าองค์เดียวรูปเดียวที่ทำได้นะ อันนั้นท่านทำได้อยู่แล้ว ยกไว้อ่ะ แต่คนอื่นเขาก็ทำได้นะ แก่ๆ อย่างท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ท่านพระมหากัสสปะ ที่มารู้ธรรมฟังธรรมตอนเฒ่าแล้วนะ แก่แล้วนะ หรือเด็กน้อยเบบี๋อายุเจ็ดแปดขวบบวชมาใหม่ๆ อย่างพระกุมารกัสสปะ สามเณรบัณฑิต สุขสามเณร หรือแม้แต่สามเณรราหุล เอ้า นั่นก็อายุแบบเป็นเด็กน้อย ยังไม่พอสิบขวบเลยตอนที่ปฏิบัติธรรมเห็นธรรมต่างๆเหล่านั้นได้



ไม่ใช่แค่คนแก่หรือว่าเด็ก กับคนหนุ่ม คนหนุ่มที่ไม่ค่อยร่ำรวย จิตตหัตถสารีบุตร เอ้า ลูกคนจน เป็นคนเลี้ยงช้าง ตอนไม่เลี้ยงช้างก็ต้องไปทำการเกษตร ตอนบวชมาแล้วบางทียังมีความคิดว่า โอ ฉันจะไปทำมาหากินสึกๆบวชๆ อยู่ตั้งหลายรอบ ไม่ใช่คนยากจนท่านผู้ฟัง คนรวย ลูกเศรษฐี เอ้า อย่างเช่นท่านพระโสณะ เกิดมานี่ โอโห ไม่ต้องทำอะไร พ่อแม่นี่จัดให้ปรนเปรอทุกอย่าง จนกระทั่งมือและเท้ามีขนงอกออกมา ไม่ต้องทำอะไรนะ เป็นลูกคุณหนูมากๆเลย หรือกรณีของท่านพระรัฐบาล มีเมียแล้วด้วย เมียสวยด้วย ไม่ใช่แค่คนเดียวด้วยสองสามคนนั่นน่ะ เขาเอามาปรนเปรอให้ ทรัพย์สินนี้มากมายพอบวชไปแล้วพ่อแม่จะมาขอให้สึกทำกุศโลบายวิธีการต่างๆ ทั้งเอาทรัพย์มาล่อ เอาอาหารมาล่อ ไม่ติดใจด้วยรสที่ผ่านทางลิ้น สามารถรักษาพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์บริบรูณ์สิ้นเชิง มีนะท่านผู้ฟัง มี

ไม่ใช่แค่คนแก่หรือเด็ก ไม่ใช่ทั้งคนยากจนแต่คนมั่งมีด้วย คนหนุ่มคนสาว ผู้ชายผู้หญิง คนแก่เด็ก ได้หมด ตัวอย่างมี ไม่ใช่แค่พระพุทธเจ้าองค์เดียวที่เป็นวรรณะกษัตริย์ แหม ท่านทำได้ ไม่ใช่แค่นั้น คนแก่เป็นชาวบ้านธรรมดา เป็นเด็ก ลูกเศรษฐี ลูกคนจน ทุกวรรณะ พราหมณ์ คนขายของ คนหาปลา ทำการเกษตร เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย สามารถทำได้หมดเลย

แค่เรามีความมั่นใจ มีความมั่นใจว่าด้วยความเพียรของบุคคล ด้วยกำลังของบุคคล ด้วยความบากบั่นมั่นคงของบุคคล ของตัวเรานี่ล่ะ เอ้า ถ้าเราทำแล้ว ทำไมเราจะไม่ได้ ศรัทธานี้มันสำคัญ ศรัทธาในการทำการปฏิบัติของตัวเราเองให้มันดีให้มันชอบ ว่า เอ๊ะ ตรงก้อนนี้มันอยู่ไหนนะ ไอ้ก้อนที่มันมีความมั่นใจในการปฏิบัติของตัวฉันเอง นั่นคือ ศรัทธาในสังโฆ ให้เรามีความมั่นใจว่า เออ ฉันทำ ฉันก็น่าจะได้สิ นี่เริ่มมีความมั่นใจแล้วนะ ถ้าเรามีคามมั่นใจในพุทโธ ธัมโม สังโฆแบบนี้ คิดใหม่เท่านั้นเองท่านผู้ฟัง คิดใหม่ ตั้งทิฏฐิ ปรับทิฏฐิเอาไว้ให้ถูก


@@@@@@

ศรัทธาจะทำให้ฟังธรรมะรู้เรื่อง ฟังธรรมะรู้เรื่อง สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากคนที่มันยังอย่างหนาอยู่ ไม่มั่นใจ ใช่ไม่ใช่ ได้ไม่ได้หรือได้ เอ๊ะอย่างไง ให้เป็นคนประเสริฐ คนประเสริฐก็คืออริยบุคคล ปรับได้เปลี่ยนได้ แปลงตัวเองได้ให้ดีขึ้นมาได้

พอเรามีความมั่นใจนั่นคือศรัทธาปรับเปลี่ยนตัวเองให้มาอยู่ตามทางของคนที่ประเสริฐเขาจะเป็นกัน นั่นคือคุณได้เป็นอริยมรรคในขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว ตอนนี้มันก็จะเป็นแบบทดสอบ ว่าที่คุณเดินมาตามทางอันประเสริฐ คืออริยมรรค ไม่ว่าจะเป็นอริยมรรคสำหรับโสดาบันเรียกโสดาปัตติมรรค จะเป็นอริยมรรคสำหรับอรหันต์เลย เอ้า ชาตินี้ฉันต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่หวังเอาแค่โสดาบัน ได้ ทำเลย คุณอยู่ตามทางแล้วนะ ตามทางอะไรเนี่ย อริยมรรคที่ว่า ตามทางประเสริฐที่ว่า มีองค์ประกอบ 8 อย่างนะ ทางที่มีองค์ประกอบ 8 อย่างก็เป็นกรอบขอบของทางที่เราจะต้องเดินไป อย่าออกทางนอกนี้นะ คำพูดนี้ก็คือ อย่าออกนอกทาง อย่าออกนอกทางที่มีองค์ประกอบ 8 อย่างนี้

แล้วเราจะรู้ได้ไง ก็ต้องมีเครื่องหมายบอกไว้ ว่าตรงนี้เกินแล้วนะ ตรงนี้ไม่ใช่แล้วนะ จะใช่ไม่ใช่ เกิดไม่เกิด ไอ้ตรงจุดทีมันจะบอกได้ เหมือนอย่างเอา คุณไหลไปตามแม่น้ำ ล่องเรือไปตามแม่น้ำ คุณจะออกไปนอกแม่น้ำได้ไง มันก็มีตลิ่งเป็นขอบไง โอวนี่ชนแล้วไง ไม่ได้มันจะขึ้นบก ไม่ได้ เรือมันไม่ใช่เรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก หรือต่อให้เรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก คุณจะรู้ว่าคุณอยู่บนน้ำหรืออยู่บนบก คุณก็ดูตรงตลิ่งมัน เป็นกรอบขอบเอาไว้ ตลิ่งที่เป็นกรอบขอบไม่ว่าจะฝั่งนี้หรือฝั่งโน้นพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบเอาไว้กับผัสสะ

@@@@@@

เวลาเราไปฟังเทศน์ฟังธรรมไปใช้งานในชีวิตประจำวัน มันมีผัสสะแน่นอน ต่อให้คุณอยู่ที่วัด เอ้า กินข้าวนี่ก็ผัสสะ นั่งสมาธิจิตสงบ สงบนั่นก็ผัสสะ เอ้า ทำไม ก็คุณรับรู้รสอาหารทางไหน ลิ้น ลิ้นนั่นไงเป็นอายตนะ อายตนะก็ต้องเกิดผัสสะ คุณรับรู้ความสงบที่ไหน ที่ใจ อ้าว ใจนี่เป็นอายตนะ มีอายตนะมีช่องทางก็เกิดผัสสะ มีผัสสะตลอดท่านผู้ฟัง จะมากจะน้อย จะแรงจะเบา จะน่าพอใจไม่น่าพอใจ จะมาตามช่องทางตาหรือหู เขาเรียกว่าผัสสะทั้งสิ้นเลย ตรงนี้แหละท่านผู้ฟังว่า

…พอมีผัสสะเกิดแล้ว คุณมาอยู่ตรงขอบแล้ว คุณจะออกนอกเส้นทาง หรือคุณจะปรับมาให้อยู่ในเส้นทาง นี่คือสำคัญ…จะออกนอกเส้นทางหรือจะกลับมาให้อยู่ในเส้นทาง เมื่อเจอผัสสะแล้วนะ

ถ้าเผื่อว่าเราลืมไปเผลอไป เผลอไทำไมถึงเผลอไป ก็ต้งแต่ว่าไม่มั่นใจแล้วล่ะว่า เอ๊ะจะได้ไม่ได้ ใช่ไม่ใช่ ยังมีอยู่มั้ยคำสอนนี้ มันประกอบกันหลายอย่างที่จะออกนอกทางแล้ว สิ่งที่จะทำให้เราออกนอกทางได้ทุกอย่าง ไม่ใช่ผัสสะนะ ผัสสะนี่เป็นขอบบอกเฉยๆ แต่เราจะออกนอกทางหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าคุณมีมิจฉามรรคมั้ยล่ะ ถ้ามีมิจฉามรรคออกนอกทางเลย เป๋เลย ไม่มั่นใจ ทิฏฐิความเห็นไม่ถูกต้อง แบบด่าเขาว่าเขานั่น นั่นมิจฉาวาจา พอด่าเขาว่าเขา ยังคิดร้ายเขาอีก นั่นมิจฉาสังกัปปะ ออกนอกทางเลย เป๋เลย มีผัสสะแล้ว ก็ไหลรูดพรวดพราดไปในทางไม่ดีเลย แล้วคิดว่านี่เป็นอย่างเดียวกัน มันกระทบแบบนี้เพลินไปแล้ว เพลินไปตามผัสสะที่ไม่น่าพอใจที่มากระทบ


@@@@@@

หรือต่อให้เป็นผัสสะที่น่าพอใจ กลิ่นหอมๆ สถานที่ที่มันสวยงาม วิวดีเหลือเกิน แล้วถ้าเรามีความยินดีพอใจ กำหนัดลุ่มหลง นั่นไม่เรียกมิจฉาสังกัปปะแล้วเรียกอะไร ความคิดไปในทางกาม หรือว่าจะ lay back que เย็นนั่งแบบแล้วก็ขี้เกียจ นั่น มิจฉาวายามะ ทำความเพียรย่อหย่อนไปบ้าง เกินไปบ้าง ไม่ถูกบ้าง ก็ออกนอกทางทันที ผัสสะที่น่าพอใจนะนั่นน่ะ ไปถึงขอบกรอบตรงนั้น หลุดออกนอกทางเฉย

เราต้องปรับท่านผู้ฟัง ผัสสะเป็นตัวบอกเป็นกรอบขอบเอาไว้ จริงๆกรอบขอบตามเส้นทางคือมรรคแปด ผัสสะเป็นจุดที่เราจะออกนอกทางหรือเราจะอยู่ในทาง

ถ้าเราสามารถที่ เออ ยังรักษาวาจาของเรา อย่างน้อยพูดดีกับเขาน่า กล่าววาจาให้เกิดความรักใคร่กัน ให้มีกำลังใจกัน มันเป็นสัมมาวาจานะ ความคิดค่อยปรับเอาท่านผู้ฟัง ว่า เออ ให้มีเมตตากันอย่างน้อยมีอุเบกขา นั่นก็เป็นความคิดความดำริในการไม่เบียดเบียน กายเรารักษาให้ถูกต้องตามศีล เออ เราอยู่ในทางทันที เราอยู่ในทาง

คนที่ปฏิบัติธรรม ถ้าเราจะเดินตามทางอันประเสริฐที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง เดินมาตามทางมรรค ไม่ว่าจะขั้นความที่เป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ที่เป็นมรรคเนี่ย ต้องมีผัสสะมาทดสอบแน่นอน อันนี้เขาเรียกว่าเป็นบททดสอบ ว่าคุณสามารถที่จะทำการภาวนา คือการทำให้เจริญในมรรคแปด ได้หรือไม่ ในแต่ละผัสสะที่เกิดขึ้นๆ ถ้าเพลินเผลอพลาด หลุด ถ้าไม่เพลินไม่เผลอไม่พลาดระลึกได้ นั่นคือ สติ

@@@@@@

จุดที่มีผัสสะพลั๊วะเมื่อไหร่ คุณจะซ้ายหรือคุณจะขวา คุณจะหลุดหรือคุณจะอยู่ ถ้าหลุดนั่นคือเผลอสติ ถ้าอยู่นั่นคือมีสติ อยู่ได้ท่านผู้ฟัง ตั้งสติของเราขึ้น สติของเราจะมีได้ อยู่ที่ว่าทำจริงมั้ย ด้วยกำลังของบุคคลมั้ย ด้วยความเพียรของบุคคลมั้ย ถ้าทำจริงแน่วแน่จริง มันต้องได้ ต้องมีสติตั้งขึ้นได้

เอ้า เราจะทำจริงแน่วแน่จริงได้อย่างไง คุณต้องมีความมั่นใจ มีความมั่นใจ มีความลงใจ มีความเด็ดเดี่ยว ความเด็ดเดี่ยวนั่นคือความเพียร ความมั่นใจนั้นคือศรัทธา เรามีศรัทธาในพุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำให้เกิดความมั่นใจแล้ว เราจะมีความเด็ดเดี่ยวห้าวหาญ นั่นคือความเพียร พอมีความทำจริงแน่วแน่จริง มีความกล้าแล้ว จะทำให้เกิดสติ มีผัสสะอะไรมากระทบ สุขบ้างทุกข์บ้าง ธรรมดาของโลก เราอยู่ในทางได้ อยู่ในทางได้ เห็นด้วยปัญญา ว่า เออ สุขมีทุกข์มีธรรมดา ฉันทำฉันปฏิบัติ จะสามารถทำให้เกิดผลเป็นความสั่นสะเทือนชนิดที่ว่า เทวดาจนถึงชั้นพรหมเนี่ยเขายัง โอโห ขึ้นมาว่า ยอดเยี่ยมจริงๆ พวกที่ปฏิบัติได้อย่างนี้ ผู้ที่ทำได้อย่างนี้ มีท่านพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น

ข้าพเจ้าเป็นที่พึ่งให้ท่านผู้ฟังได้ มายืนยันได้ ว่าในคำสอนนี้ยังมีดีอยู่ ยังมีคุณวิเศษในธรรมวินัยนี้อยู่ สติชนิดที่เป็นสัมมาสติ ชนิดที่เป็นสติปัฏฐานสี่ ยังมีอยู่ ตรงนี้แหละที่เราต้องรักษาตัวเองแล้วนะเวลามีผัสสะ มีผัสสะรักษาตัวเองด้วยสติ จะสามารถทำให้เกิดเป็นผลชนิดที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าขึ้นมาได้แน่นอน




ขอบคุณบทความและภาพจาก : https://puredhamma.com/1801a0612tu/
รายการธรรมะรับอรุณ โดยพระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ ,ออกอากาศทาง FM92.5 ในวันที่ 12/06/2561
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ