ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - bomp
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / โครงการก้าวย่างเส้นทางธรรม 2 เดือน 3 เม.ย.56 - 26 พ.ค. 56 เชียงใหม่ - นครปฐม เมื่อ: มีนาคม 15, 2013, 02:22:07 pm
โครงการก้าวย่างเส้นทางธรรม
 


เกริ่นนำ
การเดินเพื่อแสวงบุญถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับพระภิกษุสงฆ์ แต่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาหากผู้ที่ไม่ใช่พระหรือนักบวชจะเดิน เพราะการเดินระยะทางไกลๆนั้น เป็นการฝึกหัดขัดเกลาจิตใจวิธีหนึ่ง ที่ค่อนข้างจะลำบากกายและลำบากใจ แต่หากก้าวผ่านไปได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงสภาพจิตใจของบุคคลผู้มีอุดมการณ์ ที่จะต่อสู้กับสิ่งต่างๆโดยเฉพาะกับตัวเอง ดั่งเช่น ท่าน คล็อด อันชิน โทมัส อ.ประมวล เพ็งจันทร์ อ.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ หรือ คุณ พฤ โอ่โดเชา ฯลฯ

ระยะทางในการเดิน
จากประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ ไปจนถึง พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ประมาณ 800กม.

ระยะเวลาในการเดิน
3 เมษายน - 26 พฤษภาคม 56 ใช้เวลาในการเดินประมาณ 2 เดือน

วัตถุประสงค์โครงการ

    เพื่อฝึกหัดขัดเกลาร่างกายและจิตใจของตนเอง ให้ตระหนักรู้ถึงแก่นของชีวิต
    เพื่อนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธา
    เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักกับคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
    เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารวมโครงการได้เห็นคุณค่าของน้ำใจมากยิ่งขึ้น
    เพื่อสร้างสันติภาคับให้เกิดขึ้นโดยเริ่มจากภายในตัวเรา แล้วโยงใยไปยังสรรพสิ่งที่แวดล้อม


สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากโครงการ

    ได้โอกาสในการฝึกความอดทนจากความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
    ได้โอกาสในการฝึกการอดใจต่อสิ่งที่เป็นคุณค่าเทียมแห่งชีวิต
    ได้โอกาสในการต่อสู้กับปัญหาอันยิ่งใหญ่ที่เกิดจากสภาพกายและใจ
    ได้โอกาสที่จะเรียนรู้จากตัวเองมากขึ้น
    ได้พบกับกัลยาณมิตรที่ยังไม่เคยได้พบมาก่อน
    ได้ทำบุญใหญ่ที่คนส่วนมากไม่มีโอกาสจะได้ทำ
    มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมไปด้วย
(ในการนำสิ่งใดก็ตามติดตัวขอให้พิจารณาว่า ผู้เข้าร่วมต้องถือเอง ฉะนั้นสิ่งใดไม่จำเป็นจริงๆ หรือใหญ่เกินไป ไม่ควรนำมาให้ลำบาก)

    เสื้อผ้าสบายๆที่คงทนและทำความสะอาดง่าย
    อุปกรณ์ที่ใช้ในการจุดไฟ
    อุปกรณ์รองนอนที่ไม่ลำบากในการพกพา
    ลูกอม(ในกรณีต้องการพลังงาน)
    พลาสเตอร์ยา
    เชือก
    กระติกน้ำ
    ยาแก้ปวด แก้ไข้ ที่ถูกจริต
    ของที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย
    ของใช้อย่างอื่นที่จำเป็น เช่น ยาประจำตัว สมุดจด ปากกา ผงซักฟอก แว่นสำรอง...ฯลฯ
    กล่องพลาสติกและช้อน


สิ่งที่ห้ามนำมาด้วย

    เงิน
    โทรศัพท์มือถือ
    สิ่งเสพติดทุกชนิด


กฏกติกาของการเดินทางร่วมกัน

    สัมภาระต้องถือและดูแลรักษาด้วยตนเอง
    ไม่พูดคุยกันหากไม่จำเป็นจริงๆ
    มีสติอยู่กับการเดิน
    สงเคราะห์ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในระหว่างทาง


สำหรับผู้ที่สนใจ
โทรสอบถามและสมัครได้ที่ 080-0481188
กรุณาแจ้งความประสงค์ก่อนกำหนดนัดประชุมกลุ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมในวันที่ 3 เมษายน 2556 นี้ค่ะ


http://www.dhammadrops.org/news_detail.php?id=25
2  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ผมควรจัดการอย่างไร ถึงจะได้ใจลูกค้า..... เมื่อ: มีนาคม 15, 2013, 01:48:17 pm

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.holidaythai.com/
 
ผมขับรถวินมอร์เตอร์ไซค์ ครับ ขับมาหลายเดือน จนกระทั่งมีลูกค้าผู้หญิงท่านหนึ่ง ก็จะเรียกรถเป็นประจำ วันหนึ่งผมก็ขับรถส่งพี่เขาไปตามปกติ แต่วันนั้น โดนรถทหารแซงเบียด รถติดนะครับ คือเราจะผ่านไปในช่องมอร์เตอร์ไซค์ รถใหญ่ก็แซงเลี้ยวออกมาเอาหน้าปิดช่อง ทำให้รถเสียหลักเกือบล้ม ด้วยความเป็นห่วงพี่เขาผมก็ถามว่าเป็นอะไรหรือไม่ พี่ก็ตอบว่าไ่ม่เป็นไร แค่ลงไปยืนเท่านั้น คือนั่งแบบผู้หญิง ( ไม่ใช่นั่งคร่อม ) รถตะแครงก็เลยลงไปยืน ไม่ได้ขับเร็ว เพราะรถติด สภาพใน กทม. ก็รู้ ๆ กันอยู่

   เพื่อแสดงความเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้โดยสาร ผมก็เลยไปถีบประตูรถ พี่ทหาร แล้วบอกว่า พี่ เห็นไหม ว่าพวกผมเกือบเป็นอันตรายแล้ว พี่ทหาร ก็หันมามองแต่ไม่พูดอะไร ทำท่า ควาน ๆ หาอะไรอยู่ ( จะมีด หรือ ปืน หรือ โทรศัพท์ ) ไม่แน่ใจ เห็นขับรถถอยหน้าออกมาผมก็พาผู้โดยสารจากไปทันที

   ตั้งแต่วันนั้นมา พี่คนนี้ไม่เรียกรถ ผมอีก

   ผมก็มานั่งนึก ว่า ในกลุ่มวิน ผมขับรถุช้า ทำตามกฏจราจร ดีที่สุด ในกลุ่มแล้ว ไม่แซง ไม่พาให้หวาดเสียว ไม่ฝ่าไฟแดง แต่เหตุการณ์ทำให้ผมเสียลูกค้า อย่างน้อย 15 คน เพราะ ทีม พี่ นี้ไม่ขึ้นรถผมเลย แสดงว่า ต้องไม่พอใจ ในพฤติกรรมผมบางอย่าง ทั้ง ๆ ที่ผมเองที่แสดงออกก็เพื่อ เทคแคร์ลูกค้า

  หรือ ท่านชาวธรรม มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

  โปรดแนะนำผมด้วย


  thk56
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ เมื่อ: มกราคม 11, 2013, 12:36:34 pm
มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ

  เมื่อวานนี้โดนเพื่อน ถาม อย่างนี้ ครับ ก็ชักแม่น้ำทั้งห้า อธิบาย แต่รู้สึกว่าเหตุผลเองฟังยังไม่เข้าท่า ครับ ออกมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่ จึงมาเรียนถามที่ห้องนี้ครับ

  :smiley_confused1: thk56
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวง วรสุทโธ"ศรัทธาสร้าง" เมื่อ: มกราคม 07, 2013, 08:24:32 pm
วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวง วรสุทโธ"ศรัทธาสร้าง"








วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวง วรสุทโธ"ศรัทธาสร้าง" : ท่องไปในแดนธรรม โดย เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู

            “พระครูสุทธิวราภรณ์” หรือ “หลวงปู่สรวง วรสุทโธ” อายุ ๗๕ ปี พรรษาที่ ๕๐ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลช่องสาริกา นับเป็นเกจิอาจารย์ร่วมสมัยแห่งในยุคนี้ที่ได้รับการยอมรับนับถือในฐานะ “พระดีศรีเมืองละโว้”

             หลวงปู่สรวง เป็นผู้ให้กำเนิดวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์เป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว มีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด จริยวัตรงดงาม และปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีเมตตาธรรมสูง อยู่อย่างเรียบง่าย เป็นผู้มีจิตมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนามาแต่สมัยเป็นสามเณร จนกระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และมีความกล้าแกร่งทางจิตอันเกิดจากการฝึกฝน โดยออกธุดงค์แต่ครั้งยังเป็นพระหนุ่ม ได้พบเจอและได้รับการอบรมสั่งสอน พร้อมกับถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆจากพระอาจารย์สายกรรมฐานมากมายหลายองค์

             นอกจากนี้แล้วหลวงปู่สรวงยังเป็นพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หนึ่งเดียวในลพบุรี รวมทั้งยังเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า ที่ตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น

             พ.ศ.๒๔๙๖ มีโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวงเนื่องในวโรกาสเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย ท่านจึงตัดสินใจบวชครั้งแรก ณ วัดศรีบุรีรัตนาราม อ.เมือง จ.สระบุรี แล้วไปพักที่วัดบ้านทึ่ง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่แขม หรือ “อดีตเสือฝ้าย” เสือรุ่นเก่าก่อนเสือมเหศวร รวมทั้งได้ไปกราบสนทนาธรรมและเรียนวิชาจากหลวงปู่ขอม วัดไผ่โรงวัว

             พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นได้กลับไปอุปสมบทเป็นพระฝ่ายมหานิกาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ที่วัดบ้านโพนเมืองน้อย โดยมีเจ้าอธิการคำ อิณณมุตโต วัดบ้านชะแง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่แขม ท่านได้สอนสรรพวิชาอาคมต่างๆ ให้จนหมดสิ้นตลอด ๒ พรรษา และยังได้เรียนวิชากับหลวงพ่อแขก วัดหัวเขา, เรียนสักยันต์กับอาจารย์ผาด หรือเสือผาด

             ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปหาพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน โดยก่อนเดินทางได้กลับไปเยี่ยมบ้านและพบกับพระอาจารย์คำบุ ธัมมธโร สหธรรมิกของพระอาจารย์จวน ท่านจึงพาไปพบกับพระอาจารย์จวน และได้รับการแนะนำให้ญัติใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ที่วัดประชานิยม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม วัดบ้านหนองดินดำ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบุญมี จิตปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดประชานิยมซึ่งมีพระอาจารย์บุญ ชินวังโส เป็นเจ้าอาวาส

             ระหว่างที่ธุดงค์อยู่ตามชายฝั่งแม่น้ำโขงได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตาเดียว พระกรรมฐานในป่า ผู้เรียนวิชาจากสมเด็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง ได้เรียนวิชาตำราโบราณตะกรุดไก่แก้ว-ไก่เถื่อน สาลิกา สีผึ้งพญาหงส์ทองจาก อาจารย์ทา ฆราวาสชาวเขมรที่จังหวัดศรีษะเกษ และอาจารย์เพ็ง จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์ฆราวาสสมเด็จลุน หลังจากเดินธุดงค์มาสร้างวัดที่จังหวัดลพบุรีแล้ว หลวงปู่สรวงยังได้มีโอกาสถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ได้รับการถ่ายทอดวิชาการสร้างพระยันต์ นะ ครอบจักรวาลกับหลวงปู่ดู่ด้วย

             เมื่อครั้งที่ท่านธุดงค์เดี่ยวมาถึง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ได้ปักกลดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อริมคลองพร้อมอธิษฐานจิตจำพรรษา จากนั้นได้นั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ปรากฏในนิมิตมีเทวดา ๓ องค์มานิมนต์ให้ไปโปรดญาติโยม (อดีตชาติ) ที่อยู่ในถ้ำพรหมสวัสดิ์ ท่านจึงกำหนดจิตไปตามเทวดา ได้พบเห็นสภาพภายในถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย หลืบห้องสลับซับซ้อนสวยงามวิจิตรและถ้ำห้องโถงใหญ่ที่มีองค์เทพคอยพิทักษ์รักษา เป็นที่สัปปายะ จึงคิดสร้างวัดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ โดยเริ่มบุกเบิกพื้นที่ ก่อสร้างถาวรวัตถุ ศาสนวัตถุ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องรวมเวลาถึง ๒๖ ปี จนกระทั่งกลายเป็น “วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์” ที่มีกุฏิเสนาสนะ และสถานที่ปฏิบัติธรรมร่มรื่นกลมกลืนกับธรรมชาติ

 

 “เทพเจ้าแห่งขุนเขาสาลิกา”


              "สรวง พรหมสวัสดิ์" เป็นชื่อและสกุลเกิดของหลวงปู่สรวง วรสุทฺโธ เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ ปีระกา ณ บ้านน้อยนาเวิน เลขที่ ๗ หมู่ ๑๐ ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน  จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จ.อำนาจเจริญ) บิดา นายประสาร มารดา นางสอน พรหมสวัสดิ์ มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน

             หลวงปู่สรวง เป็นพระที่สมถะ เรียบง่าย สงบ นิ่งบริสุทธิ์ สุขุม แม้จะไม่ใช่พระสายพุทธาอาคมขลัง  เพราะโด่งดังมาตามเส้นทางสายป่าวิปัสสนากรรมฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ความเชื่อความศรัทธาในบุญบารมี และ “ของดี” ที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้น  ล้วนมีกระแสตอบรับที่ดีเหนือคำบรรยาย ท่านได้รับสมญานามว่า เจ้าตำรับ “ไก่ฟ้าพญาเลี้ยง” และ “เทพเจ้าแห่งขุนเขาสาลิกา” ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร วัตถุมงคลเครื่องรางของขลังทุกรุ่น เป็นที่นิยมแพร่หลาย มากด้วยประสบการณ์เข้มขลังในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม โชคลาภ

             พลังศรัทธาในตัวหลวงปู่สรวงนั้นมีมากมาย ส่งผลให้มีลูกศิษย์ลูกหาหลากหลายสาขาอาชีพ  และมีการจัดสร้างพระเครื่อง-วัตถุมงคลเป็นที่ระลึกในโอกาสต่างๆ เพื่อนำปัจจัยรายได้ใช้ในพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองให้วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ดั่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

ขอบคุณเนื้อหาจาก
www.komchadluek.net/detail/20110923/109891/วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวงวรสุทโธศรัทธาสร้าง.html
5  เรื่องทั่วไป / ประกาศ โฆษณา ธุรกิจชาวธรรม / เหรียญไก่ฟ้าพญาเลี้ยง หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ จ.ลพบุรี รุ่นพิเศษ เมื่อ: มกราคม 07, 2013, 08:04:30 pm
เหรียญไก่ฟ้าพญาเลี้ยง หลวงปู่สรวง วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ จ.ลพบุรี รุ่นพิเศษ





 199  บาท

 สำหรับท่านที่ชื่นชอบ พก ไก่ กันนะครับ

  st12
6  เรื่องทั่วไป / ประกาศ โฆษณา ธุรกิจชาวธรรม / พญาไก่ฟ้ามหาลาภ หลวงปู่เช้า วัดห้วยลำใย เนื้อทองทิพย์ ฝังข้าวเปลือก ตะกรุดเงินค เมื่อ: มกราคม 07, 2013, 07:59:57 pm
 พญาไก่ฟ้ามหาลาภ หลวงปู่เช้า วัดห้วยลำใย เนื้อทองทิพย์ ฝังข้าวเปลือก ตะกรุดเงินคู่






ไก่หลวงปู่เช้า หากินเก่ง คุ้ยเขี่ย หาแก้วแหวนเงินทอง โภคทรัพย์ ยศถาบรรดาศักดิ์ มาให้เจ้าของอยู่เรื่อย ก็ท่านเสกด้วยมหามนต์เมตตา พญาไก่ฟ้า เป็นไก่ฟ้าพญาเลี้ยง หมายถึงเจ้าของหากรับราชการก็เจริญก้าวหน้า เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง หากมีอาชีพทางค้าขาย ก็จะขายของดีมีกำไร มีลูกค้าหมั่นซื้อ หมั่นหาอยู่ตลอด เหมือนพญาไก่ที่คุ้ย เขี่ยหาอาหารอยู่ตลอดเวลา ไม่เหนื่อย ไม่หยุด ไม่เกียจคร้าน การบูชา ให้หาน้ำเปล่า ข้าวเปลือกสักกำ เลี้ยงไก่อย่าให้ขาด แล้วคอยสังเกตดู ร้านค้าที่ว่าเงียบจะมีคนเข้ามา มีลูกค้ามากขึ้น เป็นนักธุรกิจ นักเจรจา พ่อค้าพานิช นายหน้า นายธนาคาร ติดต่อการงาน จะราบรื่น ได้เงินก้อนใหญ่ ได้งานชิ้นโต เหนื่อยน้อยได้มาก ผิดกับเมื่อก่อนที่เหนื่อยมากได้น้อย ทรัพย์สินเงินทองบริบูรณ์ขึ้น หากินง่ายขึ้น ถ้ารับราชการจะเจริญก้าวหน้า เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เป็นไก่ฟ้าพญาเลี้ยง บูชาไว้ที่บ้าน ที่ร้านค้า ที่บริษัท จะร่มเย็นเป็นสุข มีโภคสมบัติหลั่งไหลมาสู่สถานที่นั้นมิได้ขาดแล ยิ่งวันไหน เห็นข้าวเปลือกกระจาย คล้ายไก่เขี่ยกิน ลองเสี่ยงโชค ลาภลอยสักหน่อย ท่านว่า จะมีโชคดีนัก

เนื้อทองทิพย์ (ผิวสีทอง) ตัวครู หรือจ่าฝูง หากินเก่ง หลวงปู่ให้ผูกด้ายสายสิญจน์ไว้ที่คอเป็นสำคัญ ใต้ฐาน ฝังตะกรุดสาลิกาคู่ ฝังข้าวเปลือกเสก 1 เมล็ด

สร้างจำนวน 999 ตัว

ขนาดความสูง 3.4 ซ.ม. กว้าง 2.1 ซ.ม. มีโค๊ดกำกับทุกตัว

สนใจสอบถามโทร. 084 - 4648055  ณภัทร
 
สนใจเช่าบูชาโดยโอนเงินผ่าน ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยหมู่บ้านธนินทร ออมทรัพย์
 
เลขที่ 110-2-21023-0   ชื่อบัญชี นางสาว ณภัทร  พรอัครพันธุ์
 
หรือที่ ร้าน ณ  หลักสี่ ไอทีสแควร์หลักสี่ ชั้น 3 ชมรมพระเครื่องหลักสี่ (ด้านในสุด)
 
เพิ่มค่าจัดส่งตามน้ำหนัก 60.- ขึ้นไป  กรุณาสอบถามก่อนชำระเงินทุกครั้ง
 
ชำระเงินแล้วแจ้งที่อยู่และรายการทางโทรศัพท์ 084-4648055 หรือทาง
 
nalaksi@hotmail.com

รหัสสินค้า : 4945698

วันที่อัพเดท : 20-09-55 00:49

ร้านค้า : ศูนย์พระเครื่อง ณ หลักสี่

ราคา : 499 บาท
7  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 01:28:31 am
จากฮาร์วาร์ด-สวนโมกข์  : พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัย มจร. กรุงเทพฯ

 

ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย

สาเหตุที่ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักในสมัยของท่านพุทธทาสภิกขุ ทอดทิ้งส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบการศึกษา กล่าวคือ ทอดทิ้ง "ปฏิบัติสัทธรรม" (ธรรมคือการปฏิบัติธรรม) และ "ปฏิเวธสัทธรรม" (ธรรมคือการบรรลุมรรคผล) คงไว้แต่ "ปริยัติสัทธรรม"

(การศึกษาธรรมะภาคทฤษฎีซึ่งแม้จะเป็นการศึกษาส่วนที่สำคัญที่สุดที่คณะสงฆ์ยกย่อง แต่กระนั้นก็ยังก้าวไปไม่ถึงการศึกษาที่ตัวพระไตรปิฎกโดยตรง หากยังคงเป็นเพียงการศึกษาผ่านคัมภีร์รุ่นหลัง และยุ่งยากกว่าพระไตรปิฎก กล่าวคือ ศึกษาคัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกซึ่งเนื้อหาเน้นหนักไปทางอักษรศาสตร์มากกว่ามุ่งความแจ่มแจ้งในธรรมะ)

จนกลายเป็นระบบการศึกษาที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียกรวมกันในเวลาต่อมาว่า "การศึกษาหมาหางด้วน" นั้น สืบเนื่องจากเหตุปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน

ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการอธิบาย เพราะมิเช่นนั้นแล้ว เราจะทำได้อย่างดีเพียงแค่โจมตีพระสงฆ์กระแสหลักในปัจจุบันที่อุดมไปด้วยปัญหานานาชนิด

ซึ่งเมื่อกล่าวอย่างถึงที่สุดและยุติธรรมแล้ว คณะสงฆ์ก็เสมอเป็นเพียง "เหยื่อ" หรือ "ผู้ถูกกระทำ" อย่างหนึ่งของระบบการศึกษาที่พิกลพิการเท่านั้นเอง หาใช่ "สาเหตุหลัก" แห่งความย่ำแย่ของระบบการศึกษาแต่อย่างใดไม่

การที่ระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักในยุคของท่านพุทธทาสภิกขุ (คำนวณอย่างไม่เคร่งครัดนัก คือนับแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งวชิรญาณภิกขุเริ่มตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย) จวบจนล่วงเลยมาถึงยุคปัจจุบันไม่ให้ความสำคัญกับ "โลกุตรธรรม" อันได้แก่ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ทว่า กลับเน้นเพียง "โลกิยธรรม"

กล่าวคือ ความเจริญก้าวหน้าในทางสมณศักดิ์ ความมีเกียรติ มีตัวตน มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ความมีอำนาจวาสนาในทางการปกครอง รวมทั้งความมั่งคั่ง (และควรเพิ่มค่านิยมความอยากมีปริญญาอย่างที่ชาวบ้านทั่วไปเป็นอยู่ในเวลานี้เข้าด้วยนั้น) อันเป็นค่านิยมแบบโลกีย์ระดับเดียวกันกับที่สังคมคฤหัสถ์เป็นกันอยู่นั้น

เราสามารถสืบสาวหาสาเหตุของปรากฏการณ์เช่นนี้ได้ตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 3 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

แต่เดิมนั้น โลกทัศน์หรือระบบความคิดความเชื่อของสังคมไทยอิงอยู่กับพระพุทธศาสนาอย่างชนิดที่แยกกันไม่ออก และรากฐานสำคัญของการที่พระพุทธศาสนาเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อประชาชนอย่างแน่นแฟ้น ก็คือ ระบบความคิดความเชื่อที่ส่งผ่านมาทางไตรภูมิพระร่วง ความเชื่อเรื่อง "นรก-สวรรค์" กลายเป็นกรอบอ้างอิงทางศีลธรรมที่ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข

โลกทัศน์เช่นนี้ยืนยาวสืบต่อมาแม้จนในสมัยของรัชกาลที่ 1, 2, 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น เราจะพบว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น เมื่อทรงตั้งพระราชปณิธานก็ยังทรงอ้างเอา "พุทธภูมิ" เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งพระชนม์ชีพ เช่น

ข้อความที่ปรากฏในพระราชกำหนดใหม่ (ในกฎหมายตราสามดวง) ตอนหนึ่งว่า "...มีพระราชประณิธานปรารถนาพระพุทธภูมิโพธิญาณ"

อุดมคติสูงสุดของชนชั้นนำไทยในลักษณะนี้ เป็นอุดมคติพื้นฐานสำหรับคนไทยในยุคสมัยที่พุทธศาสนายังเฟื่องฟูอย่างยิ่ง ซึ่งเราสามารถอ้างอิงย้อนกลับไปได้ถึงสมัยพระยาลิไท ที่พระองค์โปรดให้จารึกข้อความทำนองนี้ไว้ในจารึกหลักหนึ่งความว่า

"พระองค์มีพระราชประสงค์พระโพธิญาณในอนาคตกาล แลปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อจะนำสัตว์ให้พ้นจากสงสารวัฏ ไปสู่พระนฤพานในอนาคตกาล"

หรือแม้แต่พระเจ้ากรุงธนบุรี ก็ยังทรงเชื่อในโลกทัศน์แบบพุทธภูมิคือที่หมายสุดท้ายของชีวิตเช่นนี้ พระองค์ได้ทรงตั้งพระสัตยาธิษฐานไว้ในคราวบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดบางยี่เรือใต้ว่า "เดชะผลทานนี้... จงเป็นปัจจัยแก่พระโพธิญาณในอนาคตกาลโน้นเทอญ"

หลังสมัยรัชกาลที่ 1 มาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 อุดมคติแห่งชีวิตที่ผูกโยงอยู่กับมรรค ผล นิพพาน ของชนชั้นนำไทย (ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนของประชาชนในสมัยนั้นด้วย) ก็ยังคงเด่นชัดอยู่ ดังปรากฏอยู่ในพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จารึกไว้ในฐานพระสมุทรเจดีย์ ที่จังหวัดสมุทรปราการ ว่า

"ทรงปรารถนาพระโพธิญาณศรัทธิกบารมี...ทรงพระวิริยะภาพเพียรพะยายามตามประเพณีพระมะหาโพธิสัตว์เจ้าแต่ปางก่อนสืบมา...ปลงพระไทยแต่จะให้สำเร็จแก่พระสรรเพชญโพธิญาณจะรื้อขนสัตว์จากสงสารทุกข์"

ในศิลาจารึกสมัยพุทธศตวรรษที่ 13-14 ที่จังหวัดนครราชสีมา มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ขอให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย...จงเป็นพุทธองค์...และลุถึงพุทธภูมิ"

ข้อความในศิลาจารึกฉบับนี้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของประชาชนทั่วไปที่มีความเชื่อ หรือมีอุดมคติในชีวิตเช่นเดียวกันกับชนชั้นนำของตน

แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 อุดมคติแห่งชีวิตที่ผูกพันความฝันอันสูงสุดของตนเองเอาไว้กับพุทธภูมิหรือนัยหนึ่งกับโลกุตรธรรม เริ่มสั่นคลอนและเลือนหายไปในที่สุด ดังที่พระองค์ทรงระบุเอาไว้ในเอกสารฉบับหนึ่งว่า "มิได้ทรงเอื้อมอาจปรารถนาพุทธภูมิ ดังท่านผู้อื่นๆ เป็นอันมาก"

แต่ข้อความสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า คติการถือเอาพุทธภูมิหรือมรรค ผล นิพพาน เป็นเป้าหมายสูงสุดได้ "ขาดตอน" ลงอย่างจริงจังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตอนที่พระองค์ทรงระบุถึงคนที่ "ได้มรรคผลรู้พระนิพพาน" ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ "...ทุกวันนี้ ไม่มีคนเช่นนั้นแล้ว"

นอกจากนี้แล้ว ทัศนะของชนชั้นนำไทยอย่างเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ ผู้เขียนหนังสือ "แสดงกิจจานุกิจ" ที่กล่าวว่า "ทุกวันนี้ พระอริยบุคคลที่จะเป็นเนื้อนาบุญไม่มีแล้ว" ก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันได้ว่า ปฏิเวธสัทธรรม ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องที่ไม่มีความหมายอีกต่อไปในสมัยพระจอมเกล้านี่เอง

และเมื่อปฏิเวธสัทธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หรือพุทธภูมิ ไม่ได้รับความสำคัญอีกต่อไปในสมัยรัชกาลที่ 4 สิ่งที่ถูกนำมาเน้นย้ำก็คือประโยชน์ในปัจจุบันหรือโลกิยธรรม (เข้ามาแทนที่โลกุตรธรรม)

 

คําถามสำคัญก็คือ ทำไมโลกุตรธรรม หรือปฏิเวธสัทธรรม และ/หรือมรรค ผล นิพพาน ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญถึงขนาดเป็นโลกทัศน์หลักของชนชั้นนำไทยและประชาชน จึงมาขาดช่วงหรือไม่มีความสำคัญอีกต่อไปในสมัยรัชกาลที่ 4

คำตอบก็คือ เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ที่รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกนั่นเอง การศึกษาแผนใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญนั้น ถูกถ่ายทอดผ่านมายังภาษาอังกฤษ

หรือกล่าวให้ตรงกว่านั้นก็คือ

ผ่านมายังตำรับตำราภาษาอังกฤษมากมายที่พระองค์ทรงศึกษาเพื่อเตรียมรับมือกับจักรวรรดินิยมตะวันตก รวมทั้งผ่านตำราแขนงอื่นๆ ที่ต่างออกไปจากภูมิปัญญาไทยแบบเดิม และผ่านวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งทรงสนพระทัยศึกษาค้นคว้าเป็นพิเศษจนต่อมาทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของเมืองไทย นับแต่สมัยที่พระองค์ยังทรงครองเพศสมณะและเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "วชิรญาณภิกขุ" เสียด้วยซ้ำ

ลักษณะจำเพาะอย่างหนึ่งของของการศึกษาแผนใหม่ที่พระจอมเกล้าทรงศึกษา ก็คือ วิทยาการต่างๆ ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นความมีเหตุผล และเน้น "ความรู้เชิงประจักษ์" เป็นสำคัญ ทั้งนี้ โดยมีระบบเหตุผลหรือลัทธิเหตุผลนิยมเป็นเครื่องมือสนับสนุนที่หนักแน่นยิ่งนัก

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เมื่อศึกษาวิทยาการแผนใหม่อย่างลึกซึ้งแล้ว โลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเปลี่ยนแปลงไปจากคนในสมัยก่อนหน้านั้นอย่างแทบจะสิ้นเชิง

ผลของการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ก็คือ ทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นนักเหตุผลนิยม และนักมนุษยนิยม ที่โดดเด่นของยุคสมัย คำสอนของพระองค์อันเนื่องด้วยพุทธศาสนาแต่เมื่อเป็นวชิรญาณภิกขุก็ดี แม้เมื่อทรงลาสิกขาออกมาเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เต็มตัวแล้วก็ดี มีน้ำเสียงของความเป็นนักเหตุผลนิยมและเน้นความจริงเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน เช่น

เรื่องนรกสวรรค์ พระองค์ก็ทรงอธิบายเสียใหม่โดยเน้นไปที่ "สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นสำคัญ

คติเรื่องพระนิพพานคืออุดมคติสูงสุดของชีวิตก็ทรงไม่ให้ความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องเหนือวิสัยไกลตัวนัก

หลักฐานที่เด่นชัดที่สุดก็คือ การที่ทรงปรับเปลี่ยนวิธีบรรพชาของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย โดยในคำขอผ้ากาสายะ ทรงโปรดให้ตัดข้อความบาลีที่แปลว่า "เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน เป็นที่ออกไปจากทุกข์ทั้งปวง : นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย" ออกเสีย

ทั้งนี้ โดยทรงให้เหตุผลว่า การกล่าวข้อความเช่นว่านั้น "ไม่ตรงต่อความจริงใจของผู้กล่าวมากกว่ามาก" ซึ่งเราอาจตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่า การบวชไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการก้าวไปให้ถึงพระนิพพานอีกต่อไป

โลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์วัตถุนิยมเต็มรูปแบบนี้ ไม่เพียงปรากฏในขณะเมื่อยังทรงเป็นภิกษุเท่านั้น ทว่า เมื่อเสวยราชย์แล้ว พระองค์ก็ทรงเลิกเชื่อมั่นในโลกทัศน์แบบไตรภูมิอย่างชัดเจน แล้วหันมาทรงเน้นศักยภาพของมนุษย์ (มนุษยนิยม) มากกว่า เช่น

เมื่อทรงเอ่ยถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์ ก็ทรงปฏิเสธว่าไม่ใช่ได้มาเพราะ "บุญญาธิการ" แต่ปางก่อนเหมือนอย่างที่เคยเชื่อกันมา ทว่า พระองค์กลับทรงเชื่อว่า การทั้งปวงที่ทำให้ได้เป็นพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเพราะ "มนุษย์" มากกว่า

เช่น ที่พระองค์ตรัสยืนยันแนวคิดเช่นนี้ไว้ว่า

"ที่ได้เปนเจ้าแผ่นดินทั้งนี้ ครั้นจะว่าไปว่าได้เปนด้วยอำนาจเทวดา ก็จะเปนอันลบหลู่บุญคุณของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่ท่านพร้อมใจกันอุปถัมภ์ค้ำชูให้เปนเจ้าแผ่นดินนั้นไป ด้วยว่า ความที่ได้เปนเจ้าแผ่นดิน เพราะท่านผู้หลักผู้ใหญ่ค้ำชูอุดหนุนนั้น รู้อยู่แก่ตา เห็นอยู่แก่ตา ของคนเปนอันมากตรงๆ ไม่อ้างว่าอำนาจเทวดาแล้ว"

ข้อความที่ว่า "รู้อยู่แก่ตา เห็นอยู่แก่ตา ของคนเปนอันมาก ไม่อ้างว่าอำนาจเทวดาแล้ว" นั้น สะท้อนท่าทีแบบเหตุผลนิยม (ไม่อ้างอำนาจพิเศษเหนือสามัญวิสัย) มนุษยนิยม (ยอมรับศักยภาพของมนุษย์) และสะท้อนท่าทีวิทยาศาสตร์แบบประจักษ์นิยม/วัตถุนิยม (เน้นความจริงเชิงประจักษ์ที่เห็นผ่านประสาทสัมผัส) อย่างไม่ต้องสงสัย

และด้วยเหตุดังนั้นเอง เราจึงอาจกล่าวได้ว่า โลกทัศน์ที่ถือเอาโลกุตรธรรมอย่างคติการถึงพุทธภูมิเป็นที่หมายสุดท้ายของชีวิตก็ดี การเชื่อมั่นว่ามรรค ผล นิพพาน และนรกสวรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงก็ดี

ได้ "ขาดตอน" ลงและหายไปจากโลกทัศน์ไทยเอาในสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง

 

ต่อมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ พระองค์ซึ่งทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ ภายใต้โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเช่นเดียวกับพระราชบิดา ก็ได้สานต่อแนวคิดแบบลดทอนความสำคัญของโลกุตรธรรมลงให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ตำราที่ทรงรจนานั้นก็เน้นเฉพาะ "ประโยชน์ในปัจจุบัน" (ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์) เป็นหลัก

หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือ "นวโกวาท" นั้นต้องนับว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดที่แสดงให้เห็นแนวความคิดแบบเหตุผลนิยม และความจริงเชิงประจักษ์แบบวิทยาศาสตร์ เพราะในหนังสือเล่มนี้ไม่กล่าวถึง "โลกุตรธรรม" เอาเลย

เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญต่างๆ แล้ว ก็มาหยุดอยู่เพียง "คิหิปฏิบัติ" (หลักธรรมสำหรับคฤหัสถ์) หรือเมื่อทรงกล่าวถึงสมาธิภาวนาบ้าง ก็ทรงกล่าวถึงแต่ในฐานะที่เป็นวิชาการทางปริยัติ (ทฤษฎี) ล้วนๆ ทั้งนี้ จึงไม่จำต้องกล่าวถึงธรรมขั้นลึกอย่างปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจยตาว่าจะได้รับการยกขึ้นมาเน้นย้ำหรือไม่

แต่หลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เราเห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องมรรค ผล นิพพาน ถูกทำให้เลือนหายไปอย่างเด่นชัดในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็คือ การที่ทรงปฏิเสธที่จะนับเอา "ปฏิบัติสัทธรรม" (สมถกรรมฐาน, วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาคณะสงฆ์ โดยทรงให้เหตุผลว่า "เพราะเป็นวิชาที่ไม่มีหลักที่จะสอบไล่ได้"

นอกจากไม่ทรงสนพระทัยที่จะจัดให้ปฏิบัติสัทธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นวิชาสำคัญในหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์แล้ว พระองค์ยังไม่ทรงมีนโยบายในทางส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจในวิปัสสนากรรมฐาน หากแต่ทรงหันมาส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจแต่เรื่องปริยัติธรรมและการปกครองอย่างเป็นด้านหลัก

เครื่องมือสำคัญของพระองค์ที่ทรงใช้เพื่อการนี้ก็คือ ระบบสมณศักดิ์ นั่นเอง

และด้วยเหตุดังที่กล่าวมา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมถกรรมฐาน/วิปัสสนากรรมฐานอันเกี่ยวเนื่องกับมรรคผลนิพพานหรือโลกุตรธรรม จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากวิถีชีวิตและจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์โดยลำดับอย่างเป็นรูปธรรม และกลายเป็นมรดกที่ตกทอดมาจนถึงยุคสมัยของ พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)

จนเป็นเหตุให้ท่านปฏิเสธระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักโดยให้เหตุผลว่า ไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้ค้นพบความบริสุทธิ์ และการศึกษาพระปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ ก็เป็นการ "ก้าวผิด" ไปก้าวหนึ่ง จนทำให้ท่านเลิกก้าวตามโลกอย่างสิ้นเชิงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2475 ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงหนึ่งเดือน

การค้นพบ "เงื่อน" ที่ทำให้เราได้รับคำตอบว่าโลกุตรธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หายไปจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักได้อย่างไร ทำให้เราเข้าใจคณะสงฆ์ในปัจจุบันได้ชัดขึ้น รวมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุแห่งความเสื่อมทรามของคณะสงฆ์ได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น

และประการสำคัญยังทำให้เราได้ค้นพบคำตอบด้วยว่า เหตุไรการศึกษาที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความใฝ่รู้ความจริงของท่านพุทธทาสภิกขุได้

และสิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุ กับนักปฏิรูปพุทธศาสนาชั้นนำอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญารวโรรส ซึ่งเติบโตมากับโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเหมือนกัน แต่ทว่า นักปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งสองฝ่ายกลับมีปฏิสัมพันธ์ต่อพระพุทธศาสนาหรือโลกุตรธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะท่านพุทธทาสภิกขุได้นำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยมและมนุษยนิยมนั้นเองมาช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อ "รื้อฟื้น" โลกุตรธรรมให้คืนกลับมา

ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลับนำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์นั้นแหละมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดทอนโลกุตรธรรม

จนหายไปจากวิถีชีวิตของพระสงฆ์ และระบบการศึกษาของคณะสงฆ์อย่างแทบจะสิ้นเชิง

 



ที่มา : http://info.matichon.co.th/weekly/wk_txt.php?srctag=MTMyMzAwNjQ5
8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อยากทราบชาดกเกี่ยวกับเรื่อง นกกระเรียนที่กินพลอยสีแดงเข้าไป เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2012, 01:20:46 pm
อยากทราบชาดกเกี่ยวกับเรื่อง นกกระเรียนที่กินพลอยสีแดงเข้าไป แล้วโดนตีตายครับ  ว่าต้นฉบับจริงๆ มาจากพระไตรปิฎกส่วนไหน

เรื่องมีว่า มีช่างพลอยของกษัตริย์ ได้พลอยแดงมาไว้ที่บ้าน

มีพระมาเยี่ยมเพราะสนิทสนมกัน

ช่างเลยแวะไปเอาน้ำมาให้ แต่วางพลอยไว้

ช่างเลี้ยงนกกระเรียนไว้  นกเลยกินพลอยเข้าไป

ช่างออกมา เห็นพลอยหายไป คิดว่าพระขโมยครับ เลยตีพระ แต่พระก็ไม่กล้าบอก กลัวนกโดนผ่าท้องตาย

แล้วนกกระเรียนมาพัวพันนายช่างที่กำลังโมโห เลยโดนไปด้วย เลยตายครับ


ขอบคุณมากครับ

  :c017: :c017: :c017:
9  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ชีวิตเรามีค่า เท่านี้หรือ ? เมื่อ: มีนาคม 09, 2012, 09:45:42 am
เมื่อวานรู้สึก หดหู่ กับชีวิตคู่ของ หญิงชาย คู่หนึ่งที่ตัดสินใจ ฆ่าตัวตาย เพราะเพียงหาเงินสินสอด 10000 บาทไม่ได้ ทำให้รู้สึกและคิดว่า ชีวิตของคนเรามีค่าเพียงแค่ เงิน 10000 บาท หรือ ชีวิตของเรามีค่า อย่างใด

  พอติดตามข่าวไปเรื่อย ๆ ก็ยังพบเรื่อง ที่ผิดศีล ผิดธรรม กันเป็นข่าวให้ทราบมากขึ้น จนรู้สึกว่า สังคมวันนี้มิได้ปลอดภัยจริง ๆ อย่างเช่นข่าว ของ ผู้ช่วยพยาบาล ถูกฆาตรกรรมข่มขืนห่างจากที่พัก 500 เมตรเป็นต้น

  รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในสังคม ที่มีความเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น จนลืมคำว่าธรรม คุณธรรม ค่าของความเป็นมนุษย์กันไปมากทีเดียว

  แล้วชีวิตของคนเรา ควรจะมีค่า เท่าไหร่ ? หรือ ควรจะมีชีวิต เพื่ออะไร กันแน่ ?

  :s_hi: :03:
10  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / งานบุญประจำปีนมัสการหลวงพ่อมาลัยไกรศร วัดดงน้อย ลพบุรี 24 มี.ค.55 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2012, 06:53:45 pm
พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์ จันทูปโม)

        เจ้าอาวาส วัดดงน้อย ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี

ประกาศงานบุญประจำปีนมัสการหลวงพ่อมาลัยไกรศร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด

ในวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๙น.ฝังตะกรุดทองคำ

เวลา ๑๔.๐๐น. ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาเสริมดวงเสริมบารมี

และทอดผ้าป่าสามัคคี 
เวลา ๒๐.๐๐น. มีมหรสบสมโภชตลอดคืน

    ดังนั้น จึงขอเชิญท่านสาธุชนพุทธบริษัทอุบาสกอุบาสิกาพร้อมศิษยานุศิษย์

ไปร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกันในวันและเวลาดังกล่าว
                    จึงเจริญพรมาเพื่อทราบ





http://watdongnoi94.com
11  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ความจริงของ ร่างกาย โดย อัมพปาลีเถรี เมื่อ: ธันวาคม 13, 2011, 10:37:53 am
พระอัมพปาลีเถรีเมื่อบวชแล้วปฏิบัิติวิปัสสนา อาศัยความที่สรีระของตนทรุดโทรมลงเพราะชรา ก็เกิดสังเวชใจ


              เมื่อจะชี้แจงถึงความที่สังขารไม่เที่ยงอย่างเดียว ไม่เป็นอื่น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า


                                  แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้ามีสีดำเสมือนสีแมลงภู่
                        มีปลายงอน เดี๋ยวนี้ ผมเหล่านั้นก็กลายเป็นเสมือน
                        ป่านปอ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
                        แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน มวยผมของข้าพเจ้าเต็มด้วยดอกไม้
                        หอมกรุ่น เหมือนผอบที่อบกลิ่น เดี๋ยวนี้ ผมนั้นมีกลิ่น
                        เหมือนขนแพะ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้า
                        ผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้าดกงามด้วยปลายที่รวบ
                        ไว้ด้วยหวีและเข็มเสียบ เหมือนป่าไม้ทึบที่ปลูกไว้เป็น
                        ระเบียบ เดี๋ยวนี้ ผมนั้นก็บางลงในที่นั้นๆ เพราะชรา
                        พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำ
                        จริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน มวยผมดำ ประดับทอง ประดับด้วย
                        ช้องผมอย่างดี สวยงาม เดี๋ยวนี้ มวยผมนั้นก็ร่วงเลี่ยน
                        ไปทั้งศีรษะเพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
                        ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน คิ้วของข้าพเจ้าสวยงามคล้ายรอยเขียน
                        ที่จิตรกรบรรจงเขียน เดี๋ยวนี้ กลายเป็นห้อย ย่นลง
                        เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ
                        จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ดวงตาทั้งคู่ของข้าพเจ้าดำขลับมีประ-
                        กายงาม คล้ายแหวนมณี เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำลายเสีย
                        แล้วจึงไม่งาม พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่
                        ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน เมื่อวัยสาว จมูกของข้าพเจ้าโด่งงาม
                        เหมือนเกลียวหรดาล เดี๋ยวนี้ กลับเหี่ยวแฟบ เพราะ
                        ชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
                        เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ใบหูทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเหมือน
                        ตุ้มหูที่ช่างทำอย่างประณีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เดี๋ยวนี้
                        กลายเป็นห้อยย่น เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธ
                        เจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ฟันของข้าพเจ้าสวยงามเหมือนหน่อตูม
                        ของต้นกล้วย เดี๋ยวนี้กลับหักดำ เพราะชรา พระดำรัส
                        ของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่
                        แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ข้าพเจ้าพูดเสียงไพเราะเหมือนนก
                        ดุเหว่า ที่มีปกติเที่ยวไปในไพรสณฑ์ในป่าใหญ่ ส่ง
                        เสียงร้องไพเราะ เดี๋ยวนี้ คำพูดของข้าพเจ้าก็พูดพลาด
                        เพี้ยนไปในที่นั้นๆ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธ
                        เจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่ แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน คอของข้าพเจ้าสวยงามกลมเกลี้ยง
                        เหมือนสังข์ขัดเกลี้ยงเกลาดีแล้ว เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
                        งุ้มค้อมลง เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
                        ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน แขนทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม
                        เปรียบเสมือนไม้กลอน กลมกลึง เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
                        ลีบเหมือนกิ่งแคคด เพราะชรา พระดำรัสของพระ
                        พุทธเจ้าตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็น
                        อย่างอื่น.

                                  แต่ก่อน มือทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม ประดับ
                        ด้วยแหวนทองงามระยับ เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเสมือน
                        เหง้ามัน เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
                        แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ถันทั้งสองของข้าพเจ้าอวบอัดกลมกลึง
                        ประชิดกันและงอนสล้างสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
                        หย่อนยานเหมือนถุงหนังที่ไม่มีน้ำ เพราะชรา พระ
                        ดำรัสของพระพุทธเจ้า ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริง
                        แท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน กายของข้าพเจ้าเกลี้ยงเกลาดังแผ่น
                        ทอง สวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็นสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น
                        อันละเอียด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
                        ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน ขาอ่อนทั้งสองข้างของข้าพเจ้าสวยงาม
                        เปรียบเหมือนงวงช้าง เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเหมือนข้อ
                        ไม้ไผ่ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
                        แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน แข้งทั้งสองของข้าพเจ้าประดับด้วยกำไล
                        ทองเกลี้ยงเกลาสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเหมือนต้น
                        งาขาด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่
                        ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  แต่ก่อน เท้าทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเปรียบ
                        เสมือนรองเท้าหุ้มปุยนุ่น เดี๋ยวนี้ แตกเป็นริ้วรอย
                        เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ
                        จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

                                  บัดนี้ ร่างกายนี้ เป็นเช่นนี้ คร่ำคร่า(ชำรุดทรุดโทรม)เป็นแหล่ง
                        ที่อยู่แห่งทุกข์เป็นอันมาก ปราศจากเครื่องลูบไล้ เป็น
                        เรือนชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ
                        จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.



พระอัมพปาลีเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พิจารณาทบทวนข้อปฏิบัติของตนแล้ว ก็เอื้อนเอ่ยคาถาเหล่านั้นออกมาเป็นอุทาน


***************************

อัมพปาลีเถรีคาถา
คาถาของพระอัมะปาลีเถรีผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=9609&Z=9666
12  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ทำไมเอาแต่ นั่งคิดถึงความตาย ครับ มีประโยชน์อะไร ? เมื่อ: ธันวาคม 12, 2011, 02:51:51 pm
ผมพาเพื่อนไปวัน ฟังธรรม วันนั้นก็มีคำสอนส่วนหนึ่งที่เพื่อน ๆ ผมพูดขึ้นว่า

 เพื่อน "ถ้ามัวแต่คิดอย่างพระ ก็อดตายกันพอดี"

  ผม "อดตายอย่างไร"

 เพื่อน "ก็พระสอนให้เรานึกถึงความตาย ไงละ่"

  ผม "แล้วมันเกี่ยวกันตรงไหน กับเรื่องอด"

 เพื่อน "พอเรานึกถึงความตายแล้วใจมันหดหู่ ไม่อยากจะทำอะไร เพราะเดี๋ยวเราก็ต้องตาย จะหา จะคิดอะไร ก็ไม่อยากคิด เพราะเศร้าวะต้องตายแล้ว"


  ท่านผู้อ่านเห็นด้วยหรือไม่ครับ ว่า การปฏิบัติธรรม ไม่เอื้อกับการทำงาน ถ้าใครมีความคิดเห็นที่เกิดปัญญาดี ๆ แล้วช่วยแถลงหน่อยครับ จะได้นำไปบอกเพื่อนผมครับ

  :c017: :c017: :c017:
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถ้าเราแผ่เมตตา ให้กับ โดเรม่อน ที่ตายไป จะได้บุญหรือวิปริต ครับ เมื่อ: ธันวาคม 12, 2011, 02:46:10 pm
จากบทแผ่เมตตาว่า  สัพเพสัตตา
แปลว่าสัตว์ทั้งหลาย ในภพภูมิต่างๆ เท่ากับเป็นสิ่งมีชีวิตในภพภูมิต่างๆ
ลองเทียบเอาน่ะครับ ว่าสิ่งไม่มีชีวิตจะแผ่เมตตาไปให้มันได้ไหม

อ่านเรื่องที่คุณกล่าวขึ้นในกระทู้นี้ ก็ยังดีน่ะครับ นั่นเป็นแค่นิทาน
แต่แล้วให้อดคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆเรื่องนี้ครับ
การเผาโดราเอมอน ของข่าวนี้ ลองอ่านดูน่ะครับ


เผาศพ"ตุ๊กตาโดราเอมอน" แม่เป็นลมเผยรักเหมือนลูกจริงๆ

เวลา 16.00 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่เมรุวัดมหาโลก ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายอนันต์ ตุรงค์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ เป็นประธานเผา"ตุ๊กตาโดราเอมอน" ชื่อจิเหว่ย นาคทอง  อายุ 3 ขวบ และเป้นเด็กนักเรียนของระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ โดยเจ้าภาพ คือ นางพลับพลึง งามเจริญ มารดา พร้อมญาติผู้ใหญ่จำนวนกว่า 100 คน ร่วมงานศพที่จัดเหมือนกับงานศพของประชาชนทั่วไปทุกประการ โดยก่อนหน้านี้มีการสวดพระอภิธรรมมาแล้ว 3 คืน อย่างไรก็ตาม ในงานศพดังกล่าว นางพลับพลึ่งเศร้าเสียใจมากถึงขนาดเป็นลมล้มพับ

นางพลับพลึง กล่าวว่า ทำงานเป็นแม่บ้านในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องสุขภาพ การทำงานและปัญหาครอบครัว  จนปี 49 ได้ไปปรึกษาพระครูนิเวศธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม ต.พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ์ จ.สระบุรี โดยพระให้นำตุ๊กตาโดเรม่อนมาเลี้ยงเหมือนลูก จะให้โชคและทำให้จิตใจสบาย จึงนำมาเลี้ยงรู้สึกสุขภาพดีขึ้น และถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลบ่อยครั้งมาก เมื่อปีที่ผ่านมา เพิ่งพาไปฝากเรียนชั้นอนุบาล 1 ที่ร.ร.วัดสว่างอารมณ์  จนกระทั่งตุลาคม 52 น้องจิเหว่ย มาเข้าฝันว่าเสียชีวิตแล้ว จากนั้นนำตุ๊กตาไปคืนยันวัดสามัคคีธรรม และทนความคิดถึงไม่ไหว จึงขอนำร่างมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อเผาศพในวันนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1265105347&grpid=&catid=19

14  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ อ่านเสริมสำหรับผู้ที่กำลังพิจารณาเห็นธรรมในอนิจจัง เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 06:58:45 am
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


ความเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิดขึ้นก็เพราะไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ที่ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ก็เพราะมีสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์อยู่ สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ คือ



๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง  (ความต่อเนื่อง   ปดปิด  ความเปลี่ยนแปลงและความไม่คงทนถาวร)  สันตติ คือ ความสืบต่อของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็วเหลือเกิน จึงทำให้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของนามและของรูป ทำนองเดียวกับที่เห็นแสงไฟที่ธูป ซึ่งแกว่งหมุนเป็นวงกลมอย่างเร็ว ๆ ในที่มืด ๆ จึงทำให้เห็นไปว่าแสงไฟนั้นติดกันเป็นพืด เป็นวงกลมไปเลย


เมื่อยืนขึ้น  รูปที่เคยนั่งก็ดับไป   เมื่อเดิน  รูปยืนนั้นก็ดับไป   เมื่อเดิน  รูปที่ยกเท้าขึ้นก็ดับไปไม่ถึงในขณะก้าว  เมื่อก้าว รูปที่ก้าวก็ดับไปไม่ถึงในขณะย่าง  เมื่อย่าง รูปที่ย่างก็ดับไปไม่ถึงในขณะเหยียบ  รูปแต่ละส่วน  ดับไป แตกไปในส่วนของตน ๆ ในช่วงนั้น ๆ เอง  ไม่ปนกัน 


เมื่อยืนขึ้น  รูปที่นั่งก็ดับไป  เมื่อเดิน  รูปที่ยืนนั้นก็ดับไป  เมื่อนอน รูปที่เดินก็ดับไป   รูปแต่ละส่วนสิ้นไปสิ้นไปไม่ปนกันอย่างนี้


ทั้งนาม คือเจตนาที่คิดจะเดินก็ดับไปไม่ถึงเวลานอน  เจตนาที่คิดจะนอนก็ไม่ถึงเวลานั่ง   นามธรรมต่างดับไปเป็นส่วน ๆ ไม่ปนกันดังนี้

สังขารในอดีต  แตกไปแล้วในอดีต  ไม่ได้ไปกองรวมกันอยู่ที่ไหน ไม่ติดมาถึงปัจจุบันและอนาคต

สังขารในอนาคต  ก็จะเกิดขึ้นและแตกไปในอนาคต  ไม่ติดมาถึงปัจจุบันและอดีต

สังขารปัจจุบันก็จะแตกลง  หายไป  ในปัจจุบันนี้เอง  ไม่ได้สืบเนื่องไปถึงอนาคต  และไม่ได้ปนอยู่กับอดีต


สังขารในกาลทั้งสาม  ไม่ได้ปะปนกัน  เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็แตกทำลายไป  และเมื่อแตกสลายไปแล้วก็ไม่ได้ไปตั้งอยู่ที่ไหน  มีแต่หายไป  หายไป  แม้จิตที่กำหนดว่าสังขารไม่เที่ยง จิตดวงนั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ควรกำหนัดยินดี ไม่ควรถือว่า เป็นเรากำหนด หรือจิตของเรา หรือเราดีกว่าคนอื่น เพราะได้กำหนด คนอื่น ๆ ไม่กำหนด เป็นต้น


เมื่อไม่เห็นความเกิดดับ ก็ทำให้เข้าใจผิดไปว่ารูปนามนี้ไม่มีการเกิดดับ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตนเราเขา เป็นของสวยงามน่าชื่นชมยินดี ต่อเมื่อได้กำหนดจนเกิดปัญญาเห็นความดับไปของนามของรูปอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว จึงจะทำลายความวิปลาส(เข้าใจผิด)ที่เห็นว่าเที่ยงว่ายั่งยืน และทำลาย  ความถือตัวได้



๒. อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ อันความทุกขเวทนาทั้งหลาย ตามปกติเป็นส่วนมากนั้นเกิดจากอิริยาบถ เช่น นั่งมากก็เมื่อยเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาแล้วทนอยู่ไม่ได้ เดินมากก็เมื่อยทนไม่ได้ ยืนมากก็ทนไม่ไหว แม้แต่นอนมากก็ลำบากทนอยู่ไม่ได้นานเหมือนกัน

อิริยาบถเก่าเป็นทุกข์นั้นย่อมรู้เห็นกันทั่วไปได้โดยง่าย เมื่อนั่งนานก็เมื่อยทนไม่ได้จึงลุกเดิน ก็นึกว่าการเดินนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเมื่อย เดินนานหน่อยก็เหนื่อยทนไม่ได้อีกจึงนอน ก็นึกว่าการนอนนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเหนื่อย คือเห็นว่าอิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่นั้นเป็นสุข เพราะขณะที่เปลี่ยนใหม่ ๆ นี้ ทุกขเวทนายังไม่ทันเกิด


แท้จริงอิริยาบถเก่าเป็นทุกข์ อิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่ก็จะเป็นทุกข์อีกเหมือนกัน รวมความว่า หนีทุกข์เก่าไปสู่ทุกข์ใหม่นั้นเอง อิริยาบถเก่านั้นเห็นทุกข์ได้ง่าย เพราะทุกขเวทนากำลังมีอยู่ แต่อิริยาบถใหม่ก็ไม่สามารถพ้นทุกข์ไปได้ จะต้องสำแดงให้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่างแน่นอนไม่เร็วก็ช้า

อิริยาบถเก่าที่กำลังมีทุกข์เวทนาอยู่ เป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส อิริยาบถใหม่ที่นึกว่าเป็นสุขนั้นก็เป็นที่ตั้งแห่ง ตัณหา คือ อภิชฌา แต่ว่าการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น เพื่อกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ทั้งสองอย่าง


ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงการเห็นทุกขเวทนา ซึ่งผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานย่อมจะเห็นทุกขเวทนาก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะทุกขเวทนาเป็นของหยาบ เห็นได้ง่าย ขั้นที่สอง จึงจะเห็นสังขารทุกข์ที่จะต้องถูกเบียดเบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ ต่อไปก็เห็น ทุกขลักษณะ คือ ความเกิดดับเป็นขั้นที่สาม และจะปรากฏทุกขสัจจ เป็นขั้นสุดท้าย

ทุกขเวทนา เห็นได้ในอิริยาบถเก่า เห็นสังขารทุกขได้ในอิริยาบถใหม่ เห็นทุกขลักษณะได้เมื่อกำหนดนามรูปจนสันตติ(ความต่อเนื่อง)ขาด และจะเห็นทุกขสัจจ ได้ในสังขารุ เบกขาญาณที่แก่กล้า มีกำลังพอที่จะอนุโลมให้เห็น อริยสัจจ ทั้ง ๔ ได้   เมื่อเห็นทุกข์ ก็ทำลายวิปัลลาสธรรมที่เห็นว่าสุขว่าสบายนั้นได้ และประหาณตัณหาลงได้

ความทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้น ครูดสี แม้จิตที่กำหนดรู้ทุกข์นั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนของใคร จิตที่กำหนด สติที่กำหนด ต่างก็เป็นสังขารที่เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน จึงไม่ควรถือมั่นจิต ถือมั่นสติ ด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าจิตของเรา หรือด้วยการกำหนดนี้ เราจะมีปัญญา เราจะได้อานิสงส์อย่างนั้นอย่างนี้ เราจะได้บุญมากขึ้น เราจะเกิดในสวรรค์ เป็นการสร้างตัณหาผูกกับอนาคตเข้าไปอีก


๓. ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความเข้าใจว่าเป็นก้อน เป็นแท่ง ความสำคัญว่าเป็นก้อนเป็นแท่งนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นคนเป็นสัตว์ ที่ว่าเป็นคนก็สำคัญเอาหมดทั้งก้อนหมดทั้งแท่งนี้ว่าเป็นคน

แต่ถ้าย่อยก้อนนี้แท่งนี้ออกไปแล้ว ก็จะมีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อาการ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้นเท่านั้นเอง หาสิ่งที่เป็นคนเป็นตนเป็นตัวนั้นไม่มีเลย ถ้ายังถือทั้งก้อนทั้งแท่งว่าเป็นคนอยู่ ก็ย่อมจะเข้าใจผิดไปว่าเป็นของเที่ยง เพราะยั่งยืนอยู่นับสิบ ๆ ปี เป็นสุข เป็นสาระ สวยงามน่ารักน่าใคร่ เวลาที่โกรธก็คิดว่าคนเขาทำไม่ดีกับเรา  แต่เมื่อแยกออกมาแล้ว จะเห็นแต่รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ  หาคน หรือสัตว์ ให้โกรธไม่มี


รูป ไม่ใช่เวทนา  เวทนา ไม่ใช่สัญญา สัญญา สังขาร วิญญาณ  แต่ละอย่างแยกออกจากกัน  แต่เมื่อเข้าใจผิด ก็จะมองว่าเป็นเรา เป็นของเรา ทั้งที่ขันธ์แต่ละส่วนนั้น มีปัจจัย ๆ ต่างกัน แต่เมื่อผสมออกมาแล้ว ตั้งแล้ว ก็แตกตัวไปทันที หาความเป็นอะไรจริง ๆ ไม่ได้ แม้เหตุให้เกิดรูปขันธ์นั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนทำให้เกิด แต่เป็นเพราะกรรมเก่าทำให้มีรูปร่างหน้าตาต่าง ๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง เพราะการทานอาหาร ทำให้กายนี้ตั้งอยู่ เติบโตได้ ไม่ตาย  เพราะจิต ทำให้เิดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นได้ และเพราะอุตุ ทำให้กายนี้มีไออุ่น ไม่เย็นเหมือนศพ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รูปเกิด ไม่ใช่ตัวตนของใครทำให้รูปเกิด แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็ไม่ยั่งยืน ถูกบีบคั้น และไม่ใช่่ตัวตน พึงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปด้วยประการนี้ แม้เวทนาก็เกิดเพราะผัสสะ แม้สัญญา สังขาร ก็เกิดเพราะผัสสะ แม้วิญญาณ ก็เกิดเพราะนามรูป ไม่มีขันธ์ห้าเกิดได้เอง ด้วยกำลังของตัวเองในส่วนไหนเลย

เมื่อเห็นอนัตตา ก็ทำลายวิปลาสว่า เป็นตัวเป็นตนบังคับบัญชานั้นได้ว่าให้เป็นอย่างยนั้นอย่างนี้ได้ เพราะเห็นชัดแล้วว่าไม่มีขันธ์ทั้งภายในคือของเรา และภายนอกคือของคนอื่น ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเทวดา ของใคร ที่จะบังคับ หรือสั่งให้เป็นไปอย่างไหนตามใจได้ เพราะปัจจัยที่ให้เกิดขันธ์เหล่านั้นเป็นที่มาของขันธ์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่ใช่การบงการหรือคำสั่งจากใคร คลายจิตออกจากความคาดคั้นในขันธโลกได้ และประหาณทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ลงได้ การทำลายสิ่งที่ปกปิดไตรลักษณ์ เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์นั้น มีวิธีเดียว คือ การกำหนดเพ่งรูปนามตามวิธีที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

แม้จิตที่ประกอบกับสติที่กำลังวิปัสสนากำหนดลักษณะอนัตตา หรือไตรลักษณ์ทั้งหมดนั้น ก็เป็นสักว่าสังขารอย่างหนึ่ง ที่ถูกผสมผสานแล้วออกมาเป็นจิต เป็นสติ เป็นปัญญา หาได้มีความเป็นตัวตนไม่  ทั้งสังขารเหล่านั้นก็ไม่ได้ตั้งเจตนาว่า "ขอเราจงเป็นสติ" หรือ "ขอเราจงเป็นปัญญา" เป็นต้น ทั้งหมดเป็นเพียงสักว่าสังขารที่เกิดขึ้นตามปัจจัย ตามอารมณ์ ที่ไหลไป  เกิดขึ้น แล้วสลายตัวลง ไม่มีการอยู่กับที่ ถูกบีบคั้น และถือเอาไม่ได้  เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในไตรลักษณ์แล้ว ย่อมระอา เมื่อระอากับสังขาร ในอกุศล หรือแม้แต่ระอาที่จะถือมั่นกุศล หรืออัพยากฤต ได้แก่สิ่งที่เป็นกุศลก็ไม่ใช่ เป็นอกุศลก็ไม่ใช่ เช่นกาย หรือธาตุดินน้ำลมไฟอันไม่มีจิตใจ นี้แล้ว ตัณหาย่อมไม่มีที่ตั้ง ไม่มีเหตุผลให้เกิดขึ้น เมื่อสิ้นตัณหา ย่อมไม่ีมีทุกข์ตามมาได้อีกต่อไป สิ้นสุดกับภาพการมีความสุขบนลวงตา



***************************

วิธีวิปัสสนาจากพระไตรปิฎกเพื่อให้ญาณแก่กล้า
มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
         
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273


 :25: :25: :25:
หน้า: [1]