สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: patra ที่ กันยายน 26, 2014, 06:17:52 pm



หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: patra ที่ กันยายน 26, 2014, 06:17:52 pm
(http://www.madchima.org/kid/images/samui-1.jpg)

ถ้าไม่ใช่พระโสดาบันขึ้นไป วัตถุเหล่านี้ ยังมีประโยชน์ แก่ท่าน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15436.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15436.0)

"วันนี้ฉันได้ขึ้นเขามาจาก สนส.แหลมสอ เห็นญาตโยมพากันขึ้นมาเพื่อมาสร้างพระพุทธรูป กันมาก มาช่วยกันเทปูน ผสมปูนและปั้นกัน เรากับคณะที่ไปเยี่ยมเห็นแล้วชื่นชม ก็เลยไปร่วมสวดมนต์ ให้พรแก่ญาตโยม ถึงแม้ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยคนของ สนส. แต่ก็เกี่ยวเนื่องด้วย ญาติธรรม ชาวพุทธ ที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เริ่มจากศรัทธา และก็แล้วแต่บุคคลจะภาวนา จนเข้าถึงและรู้จักพระพุทธเจ้า ที่เป็นคุณ กันได้ ตามสติปัญญาของตนเอง ตามวาสนา บารมี แต่เชื่ออย่างหนึ่ง วัตถุเหล่านี้เป็นสักขีพยาน ของ ศรัทธา แห่งชน ผู้ยังเคารพในพระพุทธเจ้าแน่นอน"

ข้อความส่วนหนึ่ง ในหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของธัมมะวังโส ภิกขุ


เมื่อรวมจิต ประจักษ์แจ้ง พุทโธ ที่หทัยแล้ว นามกายเกิด อัตตาก็หายไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15306.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15306.0)

"ศรัทธา เป็นเหตุ ให้เกิดปีติ ปีติเป็นเหตุให้เกิดปราโมทย์ ปราโมทย์เป็นเหตุให้เกิด ในสุข สุขเป็นเหตุให้เกิดในสมาธิ สมาธิเป็นเหตุให้เกิด ยถาภูตญาณทัศศนะ ยถาภูตญาณทัศศนะเป็นเหตุให้เกิด นิพพิทา นิพพิทาเป็นเหตุให้เกิดวิราคะ วิราคะเป็นเหตุให้เกิดใน วิมุตติ และ วิมุตติเป็นเหตุให้เกิด นิพพพาน ท่านทั้งหลายที่ภาวนา ถ้านึกลำดับธรรม กรรมฐาน ภาวนา จิตก็จักก้าวย่างสู่ ตามลำดับภูมิจิต และ ภูมิธรรม อริยะมรรค แล อริยะัผล ก็ย่อมเกิดขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกัน ดังนั้นท่านทั้งหลาย โปรดอย่าลืม ลำดับพระกรรมฐาน เพราะพระกรรมฐาน เป็นลำดับอย่างนี้ เราจึงเรียกการภาวนาเช่นนี้ ตามครู ตามพระอาจารย์ ของ พระอาจารย์ว่า พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เหตเพราะภาวนา ทางสายกลาง อย่างเป็นขั้น เป็นตอน ไม่โดดไป โดดมา ไปตามลำดับ เหมือนกับการบรรลุธรรม ที่เป็นไปตามลำดับ นั่นเอง"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดแห่งพระธรรม
ธัมมะวังโส ภิกขุ

  รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15243.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15243.0)
 เมื่อจิตไม่ใส่ใจในปีติ คงใส่ใจในการวางจิตให้นิ่ง ใน บริกรรม และ ฐานจิต ปีติ ย่อมค่อย ๆ ดับไป เมื่อปีติดับไป ก็จักทำให้ สุข ปรากฏเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอาการครอบคลุม ทั้งกาย และ จิต คือ รู้สึกสบาย เย็น นิ่ง สุข ยินดี ในปีติที่ดับไป แต่ อุคคหนิมิต ก็จะหายไปอีกเช่นกัน เพราะจิต ยินดี ใน ความสบายนั้น ๆ ดังนั้น แม้อย่างนี้ ก็ต้องวางใจให้เป็นอุเบกขา คือ นิ่งเฉย อยู่ บริกรรม และ ฐานจิต เช่นเดิม อุคคหนิมิต จึงจักปรากฏชัด เจน แจ่มแจ้ง เป็นรางวัล แก่ผู้ภาวนา แท้ที่จริง อุปจาระสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ อาศัย อุคคหนิมิต ( คือนิมิตรวมศูนย์จิต ) ที่เกิดขึ้นเป็น องค์กำหนดใน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน อีก ปัญจมฌาน ก็อาศัย ด้วยเช่นกัน



หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส 2
เริ่มหัวข้อโดย: patra ที่ กันยายน 26, 2014, 06:26:54 pm
(http://www.menocean.com/uploads/product/96/04031207480776.jpg)

มารบังตา อย่าท้อถอย แผ่เมตตาให้มาร หรือ รำลึกถึงพระพุทธคุณเถิด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14968.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14968.0)

"วันนี้ตั้งใจศึกษาพระไตรปิฏก เรื่อง สติปัฏฐาน แต่พอหยิบหนังสือมาเตรียมที่จะอ่านสายตาฉันมันกับมองไม่เห็นพล่าขึ้นมา เป็นเพราะอายุมากขึ้น สายตาเริ่มไม่ดี จึงควานหาแว่นตา ก็ไม่เจอ ฉันจึงเดินหาแว่นตา ตามที่คิดว่าจะอยู่ตรงนั้น ตรงนี้ ค้นอยู่อย่างนี้ ไปทั่ว กว่าชั่วโมงก็ไม่พบ จนใจทำไม ? เราจะอ่านพระธรรม ก็มีมารมาขวางเสียแล้ว พลันฉุกคิดได้ว่า หรือว่ามารมาบังตาจริง ๆ จึงหาแว่นตาไม่เจอ ตอนนั้นนึกได้อย่างนี้ก็เลยยกมือพนม จรดที่หน้าอก กล่าวคำอธิษฐานถึง พระพุทธเจ้า ว่าข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งอยู่ในความประมาท ต้องการศึกษาหลักธรรมเพื่อการภาวนา ขออย่าให้มีอะไรมาบังตาเลย และปัญญาของข้าพเจ้าด้วยเถิด จากนั้นก็สวดบทพุทธคุณแล้วหลับตาลง สวดคาถาพญาไก่เถื่อนอีก 9 จบ พอลืมตาขึ้นมา เหมือนปาฏิหาริย์ แว่นตาฉันที่เดินหากว่าชั่วโมง มันอยู่ตรงหน้า บนโต๊ะตรงที่หนังสือพระไตรปิฏก ที่วางอยู่ เออ แล้วทำไม ? ฉันจึงมองไม่เห็นนะ ทั้ง ๆ ที่มันก็อยู่ตรงหน้า แต่พอได้อธิษฐาน สวดบทพระพุทธคุณแว่นตาก็ปรากฏให้เห็น ฉันจึงบางอ้อ ... ว่า นี่มารมาบังตาจริง ๆ นะนี่ ทำให้มองไม่เห็นเสียตั้่งชั่วโมง แต่เพราะความตั้งใจ ไม่ท้อถอย ไม่ถอยหนี และรำลึก ถึงพระพุทธคุณ สิ่งบังตาจึงหมดไป เหมือนเส้นผมบังภูเขาจริง ๆ"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
จากบันทึกการภาวนาของ ธัมมะวังโส ภิกขุ



อยากเรียนธรรม แต่ไม่ต้องการเป็นศิษย์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14711.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14711.0)
"ผู้ติดตามฉัน มักถามฉันเสมอว่า เวลาไปในที่ต่าง ทำไมฉันจึงไม่สอนกรรมฐาน หรือบอกกรรมฐาน กับผู้ที่สนทนาด้วย บางคนสนทนากับฉันไม่ต่ำกว่า 5 ชม. ก็มี แต่คนเหล่านั้นไม่เคยได้ยินเอ่ยเรื่องกรรมฐาน หรือแสดงยกตนว่า ฉันสอนกรรมฐานนะ

ฉันตอบผู้ติดตามเหล่านั้นว่า ก็ไม่เราไม่เป็นอะไรทั้งนั้นเป็น เพียงแต่ผู้ที่ชราและความตายรออยู่ เท่านั้น การสอนกรรมฐาน ต้องมีวาสนา ต้องถูกชะตา ทั้งผู้เรียน และผู้สอน การสอนและมัวแต่อยากสอน เป็นความฟุ้งซ่าน อย่างหนึ่ง สำหรับผู้มีความสงบแล้ว ก็อยู่เฉย ๆ นั่นแหละดี"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ

ขั้นตอนของพระกรรมฐาน โปรดอย่าลืม อย่าหลง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14577.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14577.0)
 "ในขณะที่ฉันนั่งด้วยความต้องการภาวนาอยู่นั้น ความรู้สึกของกรรมฐาน บรรดาสรรพวิชาที่ร่ำเรียนมาตั้งแต่เล็ก วิธีการของพระกรรมฐานต่าง ๆ ก็ผุดขึ้นมามากมาย ทำให้ฉันลังเล ไม่รู้ว่าจะฝึกฝนด้วยกรรมฐานใด ฉันเสียเวลาอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาเนิ่นนาน จนรู้สึกท้อแท้ และเหตุการณ์อย่างนี้ก็เกิดกับฉันบ่อยเสียเหลือเกิน หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ทั้ง ๆ ที่ฉันก็นั่งนอนอยู่ที่ถ้ำ แต่ฉันกับฝึกกรรมฐานไม่ได้ จนกระทั่ง วันนี้ฉันได้สวด บทพุทธคุณ หลายรอบสวดเป็น สิบๆ จบ แบบไม่ได้นับ สวดประชดตัวเองอย่างนั้น และฉันก็นึกถึงคำสอนของครูขึ้นมาได้ ด้วยวิธีการสำรวมจิตลงกรรมฐาน ด้วยการสัมปยุตธรรม ก่อน ฉันจึงทำตามขั้นตอนนั้น วันนั้นฉันฝึกกรรมฐาน เพียงกรรมฐานเดียว และเป็นกรรมฐานพื้น ๆ ที่ไม่ซับซ้อนใด ๆ แต่ผลของการฝึกวันนั้น ก็ล้างข้อผิดพลาด หนึ่งสัปดาห์ของฉันได้อย่างรวดเร็ว"

ข้อความบางส่วน จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม


 ใดใด ในโลก นี้ ล้วนแล้ว อนิจจัง อะไร คือ อนิจจัง
( สำหรับตอนนี้ เกี่ยวกับตอนที่ พระอาจารย์ เข้าป่า ลับแล นะครับ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14699.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14699.0)

"เมื่อฉันเดินเข้าไปสุดในถ้ำ ได้มองเห็นร่างอันไร้วิญญาณ ทีเป็นกระดูกท่านั่ง อันมีผ้าจีวรผุ ๆ หลุดร่วงอยู่ตรงนั้น ฉันจึงรู้ได้ว่า นี่คือร่างของพระผู้ที่ใฝ่ในการภาวนา มาเสียชีวิตในท่านั่ง ที่สุดถ้ำกลางป่าเขาที่ไม่มีใครจะมาเยี่ยม มีแต่เพียงพระธุดงค์ ที่แสวงหาที่สงัดเข้ามาเยี่ยมกัน หากเราไม่ได้เข้ามาดูโดยบังเอิญ ก็จักไม่เห็นร่างนี้เลย อนุโมทนา แด่ท่านที่เป็นผู้ใฝ่ในการภาวนา จนวินาที สุดท้าย

 เมื่อฉันก้มตัวลงกราบ ภาพโครงกระดูกที่เห็นกลับเป็นเพียงกองกระดูก ที่มีเศษผ้าจีวรเท่านั้น ฉันได้ขุดหลุมในถ้ำนั้นด้วยมือและฝังกองกระดูกนั้นในถ้ำนั้นนั่นเอง ขอบคุณอาจารย์ใหญ่ที่ชี้แนะให้ข้าพเจ้า มิต้องวุ่นวายกับการมุดถ้ำต่อไป เพราะจะนั่งนอกถ้ำ ในถ้ำ มันก็เหมือนกันเสียแล้ว คือมีความตายเป็นที่สุดเช่นเดียวกัน"

(๕๒๗)  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว  ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  สิ่งใดล่วงไปแล้วสิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว  และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง  ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น  ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้  บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ  ให้ปรุโปร่งเถิด  พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ  ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง  เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


"วันนี้ฉันมานั่งอยู่ที่ชายฝั่ง ณ วัดหลวงพ่อแดง เกาะสมุย ฉันนั่งมองดวงอาทิตย์ในยามเย็น ที่ตกลงอย่างรวดเร็ว เพียงห้านาทีกว่า ๆ พระอาทิตย์ก็ลับตา ความสลัวก็เข้ามาเยี่ยมเยียนเรา ลมชายฝั่งพัดเบา ๆ ไม่มียุงอย่างที่คิด ฉันนั่งตรงพื้นทราย และมองออกไปที่ทะเล ซึ่งมีแต่ความมืดมิด และเสียงน้ำซัดชายฝั่ง ซ่า ซ่า ฉันยังไม่สามารถสะกดใจให้ ทำสมาธิได้ เพราะความระแวง ด้วยความหวาดกลัว ต่อความมืด ผ่านไปเนิ่นนานน่าจะเป็นชั่วโมง ฉันจึงตัดใจ อธิษฐาน กรรมฐาน เพื่อภาวนากรรมฐาน ฉันนั่งภาวนาอยู่ตรงนั้น ใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลวงพ่อแดง นึกถึงท่านอย่างมีกำลังใจ จึงภาวนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง พลันแสงสว่างก็ปรากฏรอบตัว เป็นเพียงแสงนวล ๆ เหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญ ไม่ได้สว่างอะไรมากมายแต่พอจะทำให้ฉันเห็นตัวเองที่นั่งอยู่เท่านั้น เบื้องหน้ามีเพียงแสงสว่างที่ปรากฏอย่างชัดเจน ที่ฐานจิตที่ภาวนาฉันมองเห็นสีต่าง ๆ ที่ฐานนั้น ด้วยความเพลิดเพลิน มองดู จดจำลักษณะของแสงนั้น ครั้นพอฉันออกจากกรรมฐาน ก็เห็นพระที่ติดตามมาด้วยกันสองรูป ยืนอยู่ที่เจดีย์ ความสว่างของยามเช้าที่ปรากฏ ช่างเป็นภาพที่แจ่มใส เป็นอย่างมาก จากเวลาที่ฉันนั่งกรรมฐานที่ชายหาดนี้ตั้งแต่ ห้าโมงเย็น เมื่อออกจากกรรมฐาน กลายเป็นเวลา หกโมงเช้า เสียแล้ว วันนี้จึงเข้าใจคำว่า ฉันทะในสมาธิ จริง ๆ ก็วันนี้ นี่เอง"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
จากบันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส 3
เริ่มหัวข้อโดย: patra ที่ กันยายน 26, 2014, 06:33:59 pm
(http://www.madchima.org/kid/images/kay-1.jpg)

ถ้าเห็นธรรมอันเกิดขึ้นในที่เฉพาะหน้านั้นอย่างแจ่มแจ้ง พึงพอกพูนธรรมนั้นไว้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14706.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14706.0)

"ฉันมาเข้าใจคำว่า กายในภายใน เมื่อฉันประจักษ์ในกายในภายใน ซึ่งการเข้าไปประจักษ์ในครั้งนั้น ทำให้มองเห็นธรรม อย่างรวดเร็ว มีสภาวะที่สงบระงับ สภาวะเบา สภาวะอ่อนโยน สภาวะที่รู้ตัว สภาวะที่ตื่นอยู่ สภาวะที่เด็ดเดี่ยว ธรรมสภาวะทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ฉัน มีความสบายในภายในเป็นอย่างมาก อยากจะบอกว่า มันสุขจนไม่อยากออกจากกายนั้น มันสุขอย่างยิ่ง เพราะไม่มีความทุรนทุรายใด ๆ ให้ฉันไม่สบายใจเลย ในที่นั้นมีแต่คำว่า สบาย สบาย สบาย เท่านั้นเอง"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


ในยามที่ฉันอาพาธ และ เมื่อทุเลาจากอาพาธ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14640.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14640.0)

พุทธัง วันทามิ
ธัมมัง วันทามิ
สังฆัง วันทามิ
อุปัชฌาครุอาจิยคุณัง วันทามิ
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ

สินนิ้วนอบ น้อมเศียร กราบไตรรัตน์
คณานับ กอร์ปด้วยครู อาจารย์ฉัน
ทั้งคุณแม่ และคุณพ่อ คุณอนันต์
ทุกคืนวัน ด้วยสำนึก ในพระคุณ
บวชมาแล้ว ด้วยตั้งใจ หลายพรรษา
ดั้นด้นมา เพียรอยู่ เป็นนิสัย
ทั้งเรียนธรรม กรรมฐาน และวินัย
ด้วยตั้งใจ พ้นจาก สงสารพลัน
ทุกค่ำคืน ฉันเพียรเพ่ง ปฏิบัติ
เพื่อจะตัด ตัณหา พิศมัย
จึงเดินนั่ง ยืนนอน ภาวนาไป
เพื่อเสือกไส ตนรอด จากวังวน
ห้าพรรษา ที่ฉัน หลีกเร้นอยู่
ขรัวตาปู่ สอนธรรม ให้แก่ฉัน
สุญญตา อนัตตา เชื่อมต่อกัน
ทุกสิ่งสรร มีเหตุ เชื่อมกันมา
สว่างโพล่ง มาก่อน ประจักษ์เห็น
ทั้งกลายเป็น เกิดดับ นับไม่ไหว
จิตเชื่อมเห็น อยู่อย่างนี้ คืนวันไป
ใจผ่องใส่ วางลง ไม่เก็บมา
สรรพสิ่ง เป็นเหมือน มายาหมอก
เป็นตัวหลอก ให้จม ด้วยตัณหา
ทั้งกายนี้ จิตนี้ กรรมบังตา
ทั้งชรา ทั้งอาพาธ มากมายจริง
อันหัวโขน อันชน สมมุติขึ้น
เหมือนประหนึ่ง ยิ่งใหญ่ ทุกทิศา
ล้วนเหมือนควัน เกิดดับ ไร้ราคา
อันเวลา กัดกิน ชนยินดี
เมื่อเจริญ กรรมฐาน ยิ่งประจักษ์
ทั้งกองรูป กองนาม อันฉงน
ที่สงสัย ทำไมฉัน ยังงวยงง
ก็จบลง ตรงคำว่า อนัตตา
ธัมมะวังโส ภิกขุ
28 มิ.ย.57
ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งรูปมากระทบตา เป็นอนัตตา
หู เป็นอนัตตา  เสียง เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งเสียงมากระทบหู เป็นอนัตตา
จมูก เป็นอนัตตา กลิ่น เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งกลิ่นมากระทบจมูก เป็นอนัตตา
ลิ้น เป็นอนัตตา รส เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งรสมากระทบลิ้น เป็นอนัตตา
กาย เป็นอนัตตา สัมผัส เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งสัมผัสต่างๆมากระทบกาย เป็นอนัตตา
ใจ เป็นอนัตตา อารมณ์ เป็นอนัตตา วิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์มากระทบใจ เป็นอนัตตา

   "ดูก่อน โมฆราช เธอจงมองโลกนี้ โดยความเป็นของว่างเถิด" ( พุทธภาษิต )
    เพราะทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ล้วนแล้วอยู่ภายใต้ กฏแห่งพระไตรลักษณ์ หาได้มีสิ่งใด เป็นสิ่งที่ยึดมั่น ถือมั่นได้ เพราะว่างเปล่าแล้ว จากความหมายแห่งคำว่า เรา ว่าของเรา ว่า ตัว ว่า ตน ของเรา เป็นเพียงความว่างเปล่า

   กาย ก็เป็นของว่างเปล่า จิต ก็เป็นของว่างเปล่า
   งาน ก็เป็นของว่างเปล่า  แม้ธรรม ก็เป็นของว่างเปล่า
   ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง เป็น อนัตตา

   รูปที่หยาบ กลาง หรือ ประณีต ก็เป็นเพียงสักว่า รูป ว่างเปล่า จากความหมาย แห่งความเป็นตัว เป็นตน
   ตาที่มองเห็น ใจที่รับทราบ ก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดมากระทบ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะแล้ว ก็ดับไป หาใช่ตัว หาใช่ตน หาใช่ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา

   รูปนี้ มีชราเป็นผู้นำไป มีอาพาธเป็นรางวัล มีความตายเป็นที่สุด แม้นี้ก็ประจักษ์ ว่างจากเรา ว่างของเรา ว่างจากตัว ว่างจากตนของเรา

   เสียงธรรม และสื่อนี้ ก็เป็นเพียงความว่าง แม้ใครใคร่อ่านเข้าใจ ก็อนุโมทนา ไม่เข้าใจก็อนุโมทนา ขอให้ท่านทั้งหลายจงเจริญ สุญญตา นี้เป็นที่พึ่งเถิด เพราะท่านจักละ อัสมิมานะ ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ไม่ตกเป็นทาสแห่งตัณหา ประจักษ์แจ้ง ในลักษณะ ของ อนัตตา อย่างแท้จริง


แสงสว่าง เป็นต้นทาง รัศมี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14607.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14607.0)

โปรดอย่าลืม ว่า การกำหนด ปีติ เป็นคุณธรรม หนึ่ง ใน ขั้นตอน พระอานาปานสติ
พระยุคลธรรม เป็นส่วนหนึ่ง ของการกำหนด จิต คือ จิตตะสังขาร ระงับลง เป็นปัสสัทธิ ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งใน พระอานาปานสติ ซึ่งเป็นส่วนที่ พระพุทธเจ้า แนะนำว่า ควรเข้าไปศึกษา สำเหนียก เมื่อหายใจเข้า หายใจออก กำหนดรู้ สำเหนียก ในสภาวะ จิต นี้ การกำหนดได้ ส่งเสริม วิชชา คือ การรู้แจ้ง ถ้าไม่กำหนด ธรรมสภาวะ ก็ไม่มีการรู้แจ้ง ถ้ามีการเข้าไปกำหนด ธรรมสภาวะ จึงจักมีการรู้แจ้ง

   พระพุทธเจ้า สำเร็จธรรม แล้ว พระองค์ ทรงทำความรู้แจ้ง อย่างชัดเจน 7 สัปดาห์ หรือ 49 วัน หลังจาก ตรัสรู้ การตรัสรู้ ก็ธรรมสภาวะปรากฏ บรรลุธรรม 3 ระดับ ของ พระพุทธเจ้า มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นที่สุด แต่ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้า ก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงทำกำหนด รู้ธรรมสภาวะเป็นเวลา 49 วันหลังจากตรัสรู้ เมื่อพ้น 49 วัน พระองค์จึงได้ปฏิญาณพระองค์ ว่า เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

   ท่านทั้งหลาย อย่าประมาท ในวิชากรรมฐาน อย่าคิดว่าเสียเวลา เมื่อภาวนากรรมฐาน ตามลำดับขั้นตอน แต่จงคิดและตำหนิตนเอง ว่าเสียเวลา ถ้าไม่ปฏิบัตในองค์กรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่ง เสียมากกว่า

   ดังนั้นบางท่านอาจจะต้องฝึก พระธรรมปีติ เป็นปี สองปี พระยุคลธรรม เป็นปี สองปี หรือ น้อยวัน น้อยปี ตามบุญวาสนา บารมีที่สั่งสมมาด้วยเช่นกัน


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: patra ที่ กันยายน 26, 2014, 06:35:55 pm
กระทู้นี้ รวบรวมไว้เป็นตัวอย่างเพื่อ อ้างอิงกับโพลล์ ดังนั้นไม่อนุญาต การเพิ่มข้อความต่อไป ปิดกระทู้ไว้แต่เพียงแค่นี้ไว้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น


 ทีมงาน มัชฌิมา สระบุรี

ติดตามโพลล์ ได้ที่ลิงก์นี้ ครับ


หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่ง พระธรรม อาจจะเปิดดาวน์โหลด เป็น PDF
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15516 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15516)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:10:58 am
(http://i1223.photobucket.com/albums/dd509/petvepar/44-2.gif)


"หากวันหนึ่ง ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องเข้าไปยุ่งกับเรื่องของชาวโลก แล้วละก็ ต้องระวังใจเป็นอย่างมาก เพราะชาวโลก ยึดถือความชอบความชัง เป็นหลักใหญ่ เหมือนของในตลาดนั่นแหละ ชอบก็เอา ไม่ชอบก็ทิ้ง ชอบแพงก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ชอบถูกอย่างไรก็ไม่เอา นี่เป็นความคิดของชาวโลก และชาวโลกก็มีความคิดเป็นเช่นนี้ ดังนั้น หากจะอยู่กับชาวโลก ก็ต้องระวังใจ นึกถึงคำสอนหลวงปู่ ที่เป็น สโลแกน เรื่องการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ที่ปรากฏข้อความในหนังสือประวัติหลวงปู่ โดยหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านเรียบเรียงไว้ ทำให้เห็นธรรม แบบง่าย ๆ ทันที เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก เวลาที่เราต้องยุ่งกับชาวโลก และสิ่งที่ต้องระวัง ก็คือ ใจของเราเอง เพราะชาวโลก ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะชาวโลก ยึดความชอบและชัง ดังนั้นอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้องยึดหลักธรรม คือ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไว้เป็นหลักแรก กล่าวคือการมีศีล เพราะอยู่กับชาวโลก สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกัน ก็คือ ศีล ดังนั้น ศีลธรรม จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลก ใช้อยู่คู่กัน ส่วนธรรมขั้นสูง เป็นธรรมภายใน อันนั้น ส่วนใจของเรา ดังนั้น ถ้าอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้อง อาศัยศีลเป็นเครื่องกั้น กาย วาจา ไว้ นั่นเอง"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:13:36 am
(http://www.dhammathai.org/store/karma/data/imagefiles/251.jpg)

"ชีวิต คนเรา เลือกไม่ได้ ที่จะต้องเกิด มาด้วยวาสนา ของตัวและคน แต่ครั้นเกิดมาแล้ว ก็จงดีใจ อย่างน้อยที่มีกายสมบูรณ์ แม้จะฐานะต่ำต้อย ก็ควรดีใจ ที่ยังได้รู้จักพุทธศาสนา เพราะอย่างน้อยตรงนี้ก็นับว่ามีบุญมาก อยู่แล้ว ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มีการหายใจเข้าและออกในการดำเนินชีวิต ด้วยการระลึกนึกถึง พุทโธ ๆ บ้าง เยี่ยงนี้ นับว่าประเสิรฐ กว่าการที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่รู้จัก หนทางแห่งการสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลส ปิดภพ ปิดชาติ เสียเลย คนเราวาสนา ย่อมต่างกันด้วยบุญบารมีที่ได้สั่งสมไว้ จะลำบาก ยากจน แร้นแค้น ก็เพราะว่ากรรมที่ได้เคยทำไว้ นั่นเอง เพราะเรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน อย่างนี้ หากฟุ้งซ่าน น้อยใจว่าชีวิตของเราต่ำต้อย เหลือเกิน โอกาส มีน้อยเหลือเกิน ก็จงรีบหายใจเข้า และ ออกด้วยการนึกถึง พระพุทธเจ้าให้มากเถิด เมื่อความฟุงซ่าน เข้ามา ก็เป็นเวลาสมควรทีจะได้ เจริญ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ แล้ว จะมัวรออะไร จงเรียน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ และพึง เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ให้ถึงพร้อมเถิด..."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:15:43 am

(http://f.ptcdn.info/113/006/000/1370999923-Appearance-o.jpg)

"อันที่จริง เวลาฉันจะไปเทศน์ ธรรมะ ที่ไหน ฉันต้องอ่านกัณฑ์เทศน์หลายรอบ นะการทำอย่างนี้ ก็เพื่อตั้งอยู่ในความไม่ประมาท คือจะได้คล่อง เวลาอ่าน ผู้ฟังก็ประทับเวลาที่ได้ฟัง อันนี้ตอนที่ฉัน ยังเป็นสามเณรพระใหม่ ขึ้นเทศน์ ครั้งแรก ใจมันสั่น ตุ๊บ ๆ ตื่นเต้น จริง ๆ แต่พอได้ออกไปเทศน์บ่อย ๆ ขึ้น ๆ ความประหม่า ก็หายไป มานึกถึงปัจจุบัน เดี๋ยวนี้เวลาเทศน์ ไม่มีจุดประสงค์ ให้ใครฟังเลย นอกจากตัวเองฟังเอง เวลาเทศน์ครั้งใดก็ตาม ฉันจะอธิษฐาน ว่าขอให้ปัญญาของข้าพเจ้าจงเกิด ขอให้ธรรม จงปรากฏขึ้นในใจของข้าพเจ้า พออธิษฐานเสร็จ ก็นั่งพูดอัดรายการไป คือ พูดไปนี้ ก็พูดให้ตัวเองฟัง นะ ไม่ได้พูดให้คนอื่นฟังเลย เพราะฉันไม่รู้หรอกว่า ใครจะได้ฟัง เสียงของฉันจริง ๆ ในรายการ บางครั้งสอบถามลูกศิษย์ ที่ดูเป็นศิษย์เอก กลับไม่มีตอบคำถามฉันได้ ทำให้ฉันรู้ว่า เขาไม่ได้ฟัง กันเลย ดังนั้นทุกวันนี้ ที่ฉันพูด ก็พูดสอนตัวเอง พอยิ่งพูดสอนตัวเอง ก็เลยแสดงธรรมในแบบที่ตนเอง ควรจะต้องฟัง เดี๋ยวนี้เวลา ฉัน พูด ไม่มี สคริปต์ จริงๆ ไม่มี คือ นึกตรงไหนจะพูดก็พูด แต่การพูดทุกครั้ง ต้องมีการภาวนา ด้วยอย่างน้อย ต้องมีการเจริญสติ อย่างมาก ก็มีการเจริญสมาธิ อย่างสูงสุด ก็คือการเดินมรรคกรรมฐาน ...."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:18:09 am
(http://www.bloggang.com/data/oakley/picture/1158841503.jpg)

"ธรรมะในห้องน้ำ ก็มีได้ .....
ไม่สบายใจ ไม่สบายใจ ไม่สบายใจ ฉันบ่นของฉันอย่างนี้ มันมีมากหลายเรื่อง ที่ไม่สบายใจ ความเจ็บ ที่ทรมาน ความอดอยาก ที่หิวโหย ความทุกข์ที่ไม่มี ปัจจัยติดตัว ความไม่สบายใจจากการดูถูกเหยียดหยาม แหม มันสาระพัด เรื่อง ของความไม่สบายใจเลยนะ ฉันเดินบ่นไป อย่างนี้ ก็เลยเข้าไปที่ห้องน้ำ ฉันไม่มีธุระอะไรทางกายในห้องน้ำหรอก วันนี้ แต่ฉันมีธุระทางใจ ในห้องน้ำ ก็ห้องน้ำ เขาเรียกว่า ห้องสุขา ไม่ใช่หรือ ก็วันนี้ฉันไม่สบายใจ ก็เลยต้องไปห้อง สุขา เพื่อให้ได้สบายใจ เสียหน่อย พอเข้าไปฉันก็ไปยืนอยู่หน้ากระจกในห้องน้ำ แล้ว ก็พูดกับตัวเองในกระจก ( มันบ้าแล้วตอนนี้ ) ไหนแก ไม่สบายใจเรื่องอะไร บอกข้ามาสิ พอถามออกไป เงาที่สะท้อนก็บอกเรื่องทุกข์ เรื่องนั้น เรื่องนี้ เข้ามามากมายเลย มันช่างขยันพูด เสียจริง ไอ้เจ้าเงา นี่นะ มันบอกว่า วันนี้เจ็บท้องมากมาย ทรมานเหลือเกิน โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อย่างนี้แย่แล้ว จะทำอย่างไร ? เราก็ตอบลงไปว่า มันเป็นธรรมดา ความเจ็บมันเป็นธรรมดา การมีอัตภาพร่างกาย มันก็เป็นต้องมีความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย มันเป็นธรรมดา ที่มันต้องมี ต้องเป็น ของมันอย่างนั้น แล้วหิวละ ไม่มีกิน ไม่มีฉัน มันทำให้กายลำบากนะ เราก็ตอบลงไปว่า อันการกินการฉัน ของ ผู้ภาวนาต้องถือว่าเป็นเรื่องรอง เมื่อไม่มีก็ต้องแสวง เมื่อแสวงไม่ได้ ก็ต้องรู้จักวางใจ ให้เห็นว่า บญมีน้อย ดื่มน้ำไปก่อน ให้เสริมบารมี ......"

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:19:23 am
 
(http://www.madchima.org/forum/gallery/1_21_11_09_7_20_55.jpeg)

"เป็นครูอาจารย์ กัน ไม่ได้เป็นกันเพียงแค่วันเดียว วันนี้เรียนกรรมฐานไป ก็ไม่รู้ว่าท่านจะนำไปปฏิบัติกันหรือไม่ ? แต่ถึงจะอย่างนั้น อะไรที่เสริมกำลังใจในการภาวนา พอได้ระลึก นึกถึงกัน ก็ขอให้หมั่นภาวนา พุทโธ นึกถึง คาถา พระนามย่อพระพุทธเจ้า ทั้ง 28 พระองค์ และแม้แต่ ระลึก ถึงกรรมฐาน ให้มากขึ้น ขอเพียงท่านยังมีความเคารพในพระรัตนตรัย นั่นก็หมายถึง ความเป็น ศิษย์ ครู อาจารย์ กับ ฉัน ก็ยังไม่ขาดกัน หากท่านขาดความเคารพในพระรัตนตรัย แล้ว ความเป็นครู เป็น ศิษย์ ก็ขาดกัน เราก็ได้แต่เป็น เพียงแต่ เพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันเท่านั้น ....."

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:21:19 am
(http://mblog.manager.co.th/uploads/143/images/2184470197_51d7423c11.jpg)

"บางทีเราก็ทำอะไร ไปเรื่อยเฉื่อย เพราะตัวเราเองก็ไม่ได้สนใจอะไร เมื่อก่อนฉันเวลาปฏิบัติไม่เคยกำหนดเป้าหมาย อะไรเลย เพราะฉันทำตามเขาไป เรื่อย ๆ บางครั้งก็เดินธุดงค์ ไปกับเขาแต่ก็ไม่เคยกำหนดอะไรเลย เพียงแต่ไปกับเขา สนุกไปกับเขา มาวันนี้ฉันจึงเข้าใจ คำว่า "สะเปะสะปะ " มากขึ้นจริง เพราะการทำอะไรไป โดยไม่ได้กำหนดเป้าหมาย เมื่อก่อนฉันคิดว่า ไม่ต้องไปคาดหวังอะไรให้เป็นอุปาทาน แต่ในที่สุดกับได้คำตอบกับมาว่า มันไม่มีสัญญลักษณ์ อะไรเป็นที่พึ่งเลย แม้สิ่งที่เกิดทางใจที่เรียกว่า ทุกข์ นั้นก็ไม่สามารถไปขจัดขัดเกลา ลงไปได้ ครั้นครูของฉันมาแนะนำ ข้อมรรคตามอริยะทั้ง 8 ประการ กับการที่ฉันควรต้องกำหนดเป้าหมายปลายทาง ให้ชัดเจน แน่นอนในการกระทำทุกครั้ง ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจา หรือ ใจ ฉันจึงอธิษฐานความเป็นผู้หมดชาติ หมดเชือ้ ไม่ต้องการกลับมาเวียนว่ายตายเกิด ในโลกนี้ต่อไป เสียในชาตินี้ พอฉันอธิษฐานกำหนด อย่างนี้ เมื่อก่อนเห็นเพื่อนเราเพลิดเพลิน ในกามสุข เอาแต่หลับ แต่นอน ฉันก็เลย นอนหลับเป็นเพีื่อน ทุกวันนี้กลายเป็นว่าฉันยินยอม ออกมาโดดเดี่ยว ยอมเดิน ยืน นั่ง นอน ด้วยกรรมฐาน ไม่เป็นเพื่อนใคร ดังนั้นเพือนในสายการภาวนานั้น ฉันจึงไม่มี เวลาเดิน ยืน นั่ง นอน ฉันจึงทำของฉันคนเดียว เพื่อไปสู่เป้าหมาย ของฉันเอง ที่ตั้งใจ....."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:23:11 am
(http://img1.imagehousing.com/21/38aaab5dafd9745fc197a6a1c0c76cda.gif)

"ตั้งแต่เช้านี้ มาจนถึงค่ำ ฉันเดินอยู่คนเดียวท่ามกลาง เขาบนเส้นทางที่ฉันเดินไปนี้ มันเริ่มสูงชันเพิ่มขึ้น ความวังเว ความเหนื่อยล้า ที่เกิดขึ้นมีเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ในตอนนั้น ฉันก็นึกว่า แล้วเราทำไมต้องมาเดินอยู่อย่างเดียวดาย ที่นี่นะ ทั้ง ๆ ที่ ฉันเอง มีรถผ่านขึ้นมาประปราย ระหว่างที่ฉันเดิน แต่เพราะความตั้งใจที่จะเดิน เพ่ื่อบูชา พระพุทธเจ้า วันนี้ฉันจึงตั้งใจด้วยศรัทธา ว่าจะไม่พึ่งพาหนะใด ๆ นอกจาก กายของฉันเอง แรงฉันเอง ฉันก้าวเดินขึ้นไปด้วยศรัทธา ความเหน็ดเหนื่อยที่ครอบคลุมใจเริ่มสูงขึ้น เพราะยิ่งเดินขึ้นไป ก็ยิ่งก้าวเท้าไปไม่ออก เนื่องจากสถานที่ฉันไปนั้นเป็นเส้นทางที่ขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างเดียว ฉันเดินอย่างนี้จนถึง บ่ายสามโมงเย็น โดยเริ่มตั้งแต่ เจ็ดนาฬิกา เป็นระยะทางทั้งหมด 22 กม. จึงถึงที่หมาย ตอนนั้น ฉันรีบไปที่จุดหมายปลายทาง คือ พระธาตุดอยตุง เมื่อฉันไปถึง และได้กราบ น้ำตาก็พลันไหลออกมาเป็นสาย ความปลื้มปีติ จุกแน่น อยู่ที่ใจ และ คอของฉัน ฉันนั่งอยู่ตรงนั้นเป็นเวลานาน พร้อมสวดมนต์ คือ พุทธคุณ ไปเรื่อย ๆ ......"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:25:05 am
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/10989506_775347975879992_3746676510215389886_n.jpg?oh=dc0a3f8370b871bfbaa663f665143704&oe=5593712C&__gda__=1432102982_c4e02d5631502c27754a1a1c0352a901)

"บางครั้งรับนิมนต์ไปฉันภัตร์ บ้านโยม แต่ ละท่านก็บรรจงบรรจุอาหารอย่างดี ภาชนะอย่างงาม มาให้ตามฐานะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวฉันเองก็เรียบง่าย เมื่อก่อนก็ฉันในบาตร แต่ต่อมาบาตรมันใหญ่ไป ฉันไม่สะดวกมือจ้วงไม่ถนัด ( เปิปมือ ) ก็เลยเก็บกระทะอลูมีเนียมที่ชำรุดเขาโยนทิ้งกันแล้วใบนี้ มาใช้ประจำอธิษฐาน เป็นภาชนะสำรอง ในการฉัน ในภาพนี้เป็นอาหารสุดหรูของวันนี้แล้ว นะ เท่านี้แหละสำหรับการภาวนา และการใช้ชีวิตของพระ น้ำชาสักถ้วย นมสักกล่อง(ถ้ามี) เท่านี้ก็หรูหรามากแล้วสำหรับตัวเองฉันนะ"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2015, 11:27:01 am
(http://www.tnamcot.com/wp-content/uploads/image/2014/08/19/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%8D%E0%B8%A7.jpg)

"เมื่อถึงทางแห่ง การภาวนาพุทโธ คืนนั้นมืดมาก เป็น คืนแรม 2 ค่ำ เดือน 8 มองไปทางไหน ก็มีแต่ความมืด ป่าที่มืดอยู่แล้ว ก็ยิ่งดูมืดครึ้ม เข้าไปอีก เสียงสัตว์ ในคืนนี้เงียบจนผิดปกติ เหมือนมีอะไรจะเกิด คิดอยู่ไม่นาน ก็เห็นช้างเดินเข้ามา 4 ตัว เป็นช้างป่า เห็นช้างป่าเป็นครั้งแรก ช้างทั้ง 4 ตัว เดินตรงดุ่ยเข้ามา ดูเหมือนเขาจะเพ่งที่แสงตะเกียง ของเราตอนนั้น ก็นึกอยู่ว่า ตอนนี้มันเป็นเวลา ทุ่มกว่า ๆ ปกติแล้ว ช้างจะไม่เดินกลางคืน และ ไม่ออกมาให้คนเห็นถ้าไม่จำเป็น เราจึงเดินออกไปจากกระต๊อบที่พัก ไปแอบหลบอยู่หลังต้นไม้ ตอนนี้เอา รุกขเทวดา เป็นที่พึ่ง ช้างทั้ง 4 ตัวเดินวนอยู่รอบกระต๊อบ สักพักก็จากไป สิ่งที่รู้ ที่เห็น ขณะนั้น มันมีหลายอย่าง คือ ความตื่นเต้น ( มันเป็นครั้งแรกที่พบ ) สงสัยว่าเขาต้องการอะไร และนึกหาเหตุผล ความกลัว อันจะถูกช้างทำร้าย เพราะทราบว่า เขตปราณบุรี นี้ ช้างมักทำร้ายพระประจำ ครั้งนี้เรามาถึงที่ปราณบุรี ก็หลายวันอยู่ ธรรมสภาวะ ครั้งนี้นำไปสู่วิถีแห่งการเผชิญความจริงมากขึ้น วันต่อมา ช้างมาตอนกลางวัน แต่ครั้งนี้ ทำลายกระต๊อบเรา บริขา่รบางชิ้นเสียหาย เช่นกลดหัก บาตรบุบ กระติกน้ำแตก ผ้าจีวรขาด มุ้งขาด และอีกหลายชิ้น เรียกว่าครั้งนี้ ช้างทำลายทั้งกระต๊อบ และบริขาร ที่สำคัญเขาเดินไล่เรา วันนี้ต้องอาศัย รุกขเทวดา ต้นเดิม พร้อมทั้งวิชา ที่ครูถ่ายทอดไว้ให้ เป็นการใช้อย่างกระทันหันครั้งแรก ช้าง สี่ตัว วนหาเรารอบต้นไม้ เราได้แต่ยืนนิ่ง เพราะเชื่อมั่นในวิชาของครู แต่ขณะเดียวกัน ก็ทำใจไว้ว่า หากเราเคยทำร้ายเขาไว้ ถ้าจะทำร้ายเราคืน เราก็จะไม่ผูกเวรกับพวกเขา ถ้าจะตาย ก็ยินยอม จะไม่ผูกโกรธกับช้าง ทั้ง 4 ตัวนี้ต่อไป ......."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2015, 12:44:36 am
 st11 st12 thk56


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2015, 05:54:37 am
 thk56 :25: :25:


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 21, 2015, 06:36:40 pm


"วันนี้ได้พิจารณา หลากเรื่อง ที่เหล่าสมาชิกโพสต์กันไว้ ในเฟคบุ๊ค โดยเฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับศรัทธา บางครั้งการนำภาพที่แต่ง ขึ้นมา เพื่อสร้างศรัทธาปาฏิหาริย์ นั้น อาจจะไม่เหมาะสมนะ เพราะว่า ถึงแม้ มีไลค์ เยอะมาก ถ้าเจ้าตัว ที่ตัดต่อตกแต่ง ออกมาบอกความจริงขึ้นมาว่า ภาพนี้ผมใช้ เอฟเฟกต์แต่ง ขึ้นมานะครับมันไม่ได้เป็นอยางนี้ในตอนแรก ผลเสียหายจะตามมาเยอะนะ ฉันเห็นแล้ว เพราะมันแสดงถึงสิ่งที่ในใจของคนกดไลค์ อยากให้เป็น ถึงแม้ว่า มันจะดูเหลือเชื่อไปหน่อย และหลายคน ก็รู้ว่าเป็นภาพที่ ใช้ เอฟเฟ็ก คนที่ใช้งานโปรแกรม Adobe อยู่เขารู้ทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่ฉันคนเดียว ที่รู้ แต่ฉันไม่กดไลค์ เพราะไม่เห็นด้วย คนไทยอ่านแล้ว พุ่งยอดศรัทธา แต่ไปอ่านของฝรั่ง แล้ว เขาบอกว่า คนไทยโง่ ภาพนี้เป็นภาพอะไร ( ฉันไม่พูดนะ เอาแค่นี้พอแลว)
เจริญธรรม / เจริญพร"
(ข้อความบันทึกใหม่ เดือนนี้ 18 ธ.ค.58 )
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 21, 2015, 06:39:47 pm
"ตอนที่ทำงานอยู่ มีงาน มีหน้าที่ ก็มีความรู้สึกว่า เราเป็นส่วนสำคัญในงาน ในหน้าที่ มีความรู้สึกว่า ถ้าขาดเรา งานไม่เดิน งานนี้ต้องมีเราถึงจะทำได้เสร็จสิ้น พระอาจารย์เฒ่า บอกว่าให้สละงาน เสีย แล้วจะเข้าใจ ก็เลยสละงาน ปรากฏว่า ก็ได้เห็นความจริง ความยึดมั่นถือมั่นว่า เราสำคัญ เราจำเป็นกับงาน นั้น มันถูกทำลาย ด้วยการมองเห็นความเป็นจริง แท้ที่จริงไม่มีเรา งานก็ไปได้ ก็ทำได้ แต่เป็นเพราะเราสำคัญมั่นหมายว่า เราสำคัญ และ ให้ค่าความสำคัญ จนกระทั่งกิเลสมันพองตัว มานะ ออกไปว่า เราเก่งกว่าเขา ไม่มีเก่งเหมือนเรา เราดีกว่าเขา ไม่มีใครดีเหมือนเรา เราเยี่ยมกว่าเขา ไม่มีใครเยี่ยมกว่า เรา ทั้ง ๆ ที่สัจจธรรม เหนือฟ้า ก็ยัง มีฟ้า เหนือพสุธา ก็ยังมีต้นหญ้า กิเลสหนอกิเลส มันช่างน่าอาย เสียจริง ๆ เมื่อรู้ควาจริง หน้าก็แดง รู้สักอับอาย ในความเป็นเรา ของเรา นี่เป็นตัวตนของเรา เสียจริง ท่านทั้งหลาย พระอนาคามี สละกามคุณได้ สละความโกรธได้ แต่ยังสละ มานะ และ ความฟุ้งซ่านในความดีไม่ได ้ยังสละอวิชชาก็ยังไม่ได้ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัส พระอนาคามี ก็ยังไม่ถึงการสิ้นสุดแห่ง พรมหจรรย์ ยังต้องพิจารณาธรรมบางส่วนอีกประมาณอึดหนึ่ง ในสุทธาวาส ทั้ง 5 "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://th.jobsdb.com/th-th/wp-content/uploads/sites/3/2014/08/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg)

ขอบคุณภาพจาก http://th.jobsdb.com (http://th.jobsdb.com)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 21, 2015, 06:41:35 pm
(http://www.madchima.org/kid/images/forimg58/pra/pra-07.jpg)

ครูอาจารย์กรรมฐาน ยุคนี้ เหนื่อยกว่าสมัยก่อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องมีความฉลาดในการสอน ด้วย เนื่องด้วยคนในสมัยปัจจุบัน เป็นคนเชื่อยาก ขาดความเคารพในครูอาจารย์ ที่สำคัญสำนักการสอน พุทธ เราเอง ก็ขัดกันก็มี คนในปัจจุบัน ชอบทำแบบง่าย รวมถึงการไปสู่พระนิพพาน แบบง่าย ๆ ภาพที่นำมาโชว์ นี้เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่ได้รับมาบ้าง ซื้อมาบ้าง แต่ หนังสือแต่ละเล่มนั้น ก็คือ หนังสือผลงานของ อาจารย์ใหญ่กรรมฐาน องค์ปัจจุบัน นั่นก็คือ พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5 ท่านได้ทุ่มเทนำความรู้ ตลอดถึงพระประวัติ / ประวัติ ในสายกรรมฐาน ออกมาเผยแผ่ ตลอดถึงจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์ พระกรรมฐาน ไว้ที่ คณะ 5 เพื่อหวังให้คนที่มีบุญร่วมกันในพระกรรมฐาน ได้มาศึกษาพระกรรมฐาน นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ บางยุคก็เฟื่องฟู บางยุคก็ถอยหลัง แต่ สิ่งที่มีสืบเนื่องถึง มา ก็คือ การส่งต่อพระกรรมฐาน ยังมีอยู่ได้ เพราะครูอาจารย์กรรมฐาน ท่านยังทำหน้าที่ เผยแผ่พระกรรมฐาน อยู่
ฉันเอง ก็ต้องขอบคุณ ในครูอาจารย์ ที่ท่านชี้แนะทั้งทางตรง และทางอ้อม ในเรื่องกรรมฐาน ตลอดถึงให้กำลังใจ ยามที่หวั่นไหว เพราะกิเลสเข้าแทรก ก็ได้ครูกรรมฐาน นี่แหละเป็นผู้ชี้นำ
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
เจริญพร


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 21, 2015, 06:48:57 pm
ชื่อนั้น สำคัญ ไฉน ?
มีคนถามพระอาจารย์ หลายครั้ง ว่า ชื่อพระอาจารย์ อย่างกับผู้หญิง พระอาจารย์ไม่คิดจะเปลี่ยนชื่อ แบบคนอื่น บ้างหรือ ส่วนตัว ก็ขอตอบว่า เมื่อก่อนเคยคิดที่จะเปลี่ยนอยู่ แต่ไม่รู้เป็นอย่างไร ก็ไม่ทราบ รู้สึกว่า ถ้าเราเปลี่ยนชื่อ ที่พ่อแม่ ตั้งให้ รู้สึกว่า เราไม่เคารพพ่อแม่ ในเมื่อ พ่อแม่ กำหนดชื่อนี้ให้เรา ๆ ก็ควรพอใจ ด้วยชื่อนี้ ไม่ว่ามันจะเป็นอย่างไร ? จะมีความรู้สึก แปลก ๆ อย่างเพื่อน ๆ ล้อ ก็ช่างเขาเหอะ ฉันก็พอใจ กับ ชื่อ ที่พ่อแม่ ตั้งให้
สนธยา เป็นชื่อ ของฉัน เมื่ออยู่ในสภาวะ ที่ฉันรู้ ความจริง ฉันถึงกับต้องร้องไห้ หลั่งน้ำตา อยู่เป็นเวลานาน เพราะชื่อนี้ สำหรับ แม่ฉัน ตั้งไว้ ระลึก ถึงพ่อ คือ นายสน แต่สิ่งที่ฉันระลึกได้ นั้นไม่ใช่เหตุนี้ แต่ชื่อนี้ กับเกิดจากความปรารถนา ของฉันเอง ที่ต้องการให้เป็นอย่างนี้
สนธยา แปลว่า ยามเย็น อัสดง พระอาทิตย์ตกแล้ว กำลังหมดความสว่าง จวนเจียน นั่นคือความปรารถนา ส่วนหนึ่ง ที่อยากเตือนตนเองอีกสักครั้งว่า อย่าได้ประมาท คิดว่า เวลามันยังเหลือ อยู่ พอจะมาสำนึกคิดว่าต้องทำมันก็สายไป แล้ว อายุ 121 ปี มันสายไปแล้ว ไม่ทันการที่จะใช้ สังขารที่ร่วงโรย ทำกิจที่จำเป็นของจิตได้ ตอนที่ฉันรู้ความจริงอย่างนี้ ฉันหลั่งตาอยู่นานมาก และนั่นก็เป็นการตัดสินใจ ที่ออกไปวิเวกส่วนหนึ่ง อย่าลังเล .. ถ้าคิดจะทำ ก็ควรจะทำ กิจที่สำคัญที่สุด ก็คือ กิจแห่งพรมหจรรย์ ไม่มีกิจอื่นยิ่งกว่า
การละยศ การละสรรเสริญ เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อกิจแห่งพรหมจรรย์ เมื่อก่อนเรามีคติว่า เรามีความสำคัญต่อโลก ต่อสังคม ต่อชุมชน ต่อใคร ๆ แต่เมื่อความจริงปรากฏ เรากับรู้ว่า การเป็นอยู่เรา มีตัวตนของเรา ไม่มีความหมายอะไรเลย เป็นเพียงดั่งความว่างเปล่า ไม่มีตัว ไม่มีตน ว่างจากเรา ว่างจากของเรา โลกไม่มีเราก็ได้ สังคมไม่มีเราก็ได้ ชุมชนไม่มีเราก็ได้ ใครต่อใคร ๆ ไม่มีเราก็ได้ เมื่อรู้ความจริง ในกิจเพียงสิ่งเดียว นั่นก็คือ กิจแห่งพรหมจรรย์ อันเป็นกิจอื่น ที่ยิ่งกว่า กิจไหน ๆ นั่นเอง
กิจนี้ไม่จำเป็นต้องมีใคร มีเพียงแต่เรา เท่านั้นที่รู้ และเราเท่านั้นที่ทำ เพราะว่า มันว่างจากเราในโลก ในสังคม ในชุมชน ในหมู่คณะ ในใครต่อใคร
ขอบคุณที่คำอธิษฐาน ก่อนจิตดับ มีจริง การละการเกิด การดับ มีจริง การเวียนว่ายตายเกิด มีจริง ฉันจึงไปสู่ความจริง ที่ฉันต้องการ

(https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t1.0-0/p526x296/12240091_831518480297931_250951802163605139_n.jpg?oh=65460e1e1cda85e12f1fbb2a59dbf212&oe=5715CE5D)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 21, 2015, 06:50:31 pm
พระอรหันต์เอตทัคคะ 40 อนุพุทธ 80 ่ที่พระพุทธเจ้ารับรองว่า เป็นพระขีณาสพแล้ว เป็นอรหันต์ แล้ว ท่านทั้งหลาย อย่าร่วมการกล่าววาจาตำหนิติเตียน ท่านเลยเป็นการปรามาสตรง เลยนะ นี่ฉันไม่ยกพระในปัจจุบัน เอาแค่ยุคพระพุทธเจ้าอยู่ ฉันฟังมามากแล้วตอนนี้ พระบางรูป กล่าวติเตียน พระสารีบุตร บ่อยครั้งมาก ว่าสอนผิดบ้าง ไม่ถูกบ้าง ( ตัวเองดีกว่า พระสารีบุตร หรือไม่ ใครรับรองให้ ) ดังนั้นเตือนท่านทั้งหลาย อีกครั้งที่เป็นศิษย์ อย่าได้ร่วมวงกับพวกติเตียนพระอริยะเจ้า
พระอรหันต์ ท่านบริสุทธิ์ ด้วยกาย วาจา และ ใจแล้ว แม้วินัยก็ไม่ปรับอาบัติ ยกฐานะแห่งอาบัติออก อย่าหาเรื่องปรามาสสังฆรัตนะ อันพระพุทธเจ้า ทรงแต่งตั้งแล้ว
กรรมอันติเตียนพระอริยะเจ้า ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่อย่างนี้ ยิ่งกว่าการปรามาส อาจนำไปนำสู่ สังฆเภท ( เป็นอนันตริยกรรม )

(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/12239925_830715777044868_8052579984441202730_n.jpg?oh=c59178f1d42013096b839a5d44922e8c&oe=56D38FF7&__gda__=1460973213_3f2adb0567d89831815cdc1a256c1ab2)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 04, 2016, 05:49:02 pm
(http://www.madchima.net/images2558/song_58/pidtong.jpg)


"ความอดทน และปณิธาน ศรัทธา และผลการปฏิบัติมีความสำคัญต่อการเผยแผ่ธรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเผยแผ่ธรรมแบบปิดทองหลังพระนั้น มักถึงทางตันเสมอ ๆ เพราะการปิดทองหลังพระไม่สามารถเรียกร้องอะไร ๆ จากใครได้ นอกจากแสดงถึงความเสียสละว่า เป็นการทำการทำงานแบบไม่มีหวังกำไร แต่ยังหวังผลอยู่ หลายครั้งฉันเอง ก็ลำบาก เศรษฐกิจก็บีบคั้น การเดินทางก็ยังลำบาก เนื่องด้วยเป็นพระสงฆ์ จะเที่ยวไปขออย่างขอทานไม่ได้ ไม่มีก็เดินเอา ไม่มีใครช่วยก็ทำเอง ไม่มี ต่อ ไม่มี ก็จะมีเยอะ จนบางคร้้งตอนที่ปฏิบัตได้ต่ำ ๆ คราแรก มันก็ยังแอบร้องไห้ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเราต้องทำด้วย ทำไมเราไม่ไปอยู่เสพสุข ในโลกธรรม อย่างเพื่อน ๆ มาเลือกหนทางอัคคัตขัดสนนี้ทำไม ? เมื่อสติมันได้คำตอบว่า ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ บูชาครูเท่านั้น ใจมันก็สบาย สิ่งที่หนักมันก็ไม่หนัก ถึงแม้ไม่ได้เปลี่ยนอะไรภายนอก แต่มันเปลี่ยนแปลงในใจฉัน ให้รู้จักคำว่า ปฏิบัติบูชา ดังนั้นในการภาวนา จึงมีการอธิษฐานปฏิบัติบุชาเสมอ ๆ การปิดทองหลังพระไม่จำเป็นต้องมีใครช่วย หรือ มาสรรเสริญ หรือแม้แต่เขาจะรังเกียจว่า เราทำอยู่ แล้วก็ตาม จิตของเราก็จะไม่ตกไปอีก เพราะรู้ว่า ที่ทำเป็นการปฏิบัติบูชา "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทางของธัมมะวังโส


"เมื่อถึงทางตัน ที่มีแต่ความทุกข์ รอรับทางใจ และทางกายอย่างสุด ๆ  แต่ทุกขณะที่มีลมหายใจอยู่นั้น ก็คือรางวัล ในการพิจารณาธรรมเพื่อธรรมอันสูงสุด ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ การปฏิบัติบูชา ก็ยังทำได้อยู่ การภาวนา ก็ยังมีโอกาสอยู่ ไม่ควรจะหยุดทอดอาลัย หรือ ปล่อยตัวปล่อยกายใจ ให้มันมัวหมอง จงตั้งสติเถิดว่า ทุกข์ แห่งสังสารวัฏ นั้น มันรอเราอยู่มากมาย ถ้ายังต้องเกิดต่อไป จะมีเวลาไหนที่จะได้ความสุข ที่ได้อยู่กับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์แล้ว ดังนั้นจงใช้ขณะที่มีอยู่ แม้เพียงเสี้ยวนาทีนั้น เพื่อการภาวนาให้เห็นตามความเป็นจริง เสียเถิด อย่ามัวแต่นอนเจ็บและทุกข์ ไม่มีอะไรให้จิตฟุ้งซ่านไปเปล่า ๆ "

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทางของธัมมะวังโส



หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: vichai ที่ มกราคม 04, 2016, 08:36:18 pm
 st12 st12 st12


หัวข้อ: อาหารที่หยาบ พอแจกจ่าย แก่ผู้คนเปรียบเหมือน ปริยัติ ที่มีมากกว่า การปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มกราคม 08, 2016, 08:44:30 am
(https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/hphotos-xpf1/v/t1.0-9/12509338_854085994707846_5144650230757840443_n.jpg?oh=7620416b6ced7ff8e70100427b7a341c&oe=56FB7600)

"อาหารที่รสชาด ธรรมดา มีเพียงให้ปริมาณบริโภค มีกำลัง อันบุรุษผู้บริโภคอาหารนั้นด้วย การสำนึกในการมีชีิวิต อาหารนั้นแม้ไม่ประณึิต อันหารสชาดที่ประทับใจได้น้อย แต่ให้ชีวิตรอดแก่ผู้บริโภค ฉันใด
เปรียบเหมือนบุรุษที่ มีปัญญา มีแรง รับธรรมเพียงส่วนหนึ่ง เพียงพอแก่จริต เขาย่อมกระทำความเพียรอย่างนั้น ตามธรรมอันให้ผล คือชีวิตอมตะแก่เขา เมื่อจิตของเขาพ้นแล้วจากสภาพที่ไม่มีการปรุงแต่ง ย่อมถึงแก่ความเป็นรอดจากโอฆะ ฉันนั้น
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: อาหารดีประณีต แต่ไม่เพียงพอแจกจ่าย เปรียบเหมือน ปฏิเวธ ที่ มีน้อยกว่าการปฏฺิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มกราคม 08, 2016, 08:46:26 am
"อาหารจะดี ประณีต มีค่าหายาก คนครัวมีชื่อเสียง ปีหนึ่งทำได้สักครั้ง มีเพียงนิดหน่อย จัดเป็นอาหารที่เลิศ ครั้นมีผู้เดินทางไกล ผ่านมาจำนวนมาก เรานำอาหารแบ่งเล็ก แบ่งน้อย กระจายแจกแก่ผู้เดินทางจำนวนมาก รสแห่งอาหารย่อมถึงเขาบ้าง ไม่ถึงบ้าง ความประณีตของอาหารแลอารมณ์ นั้นย่อมไม่บังเกิด จะมีเพียงไม่กี่คนที่ลิ้มรสแล้ว ก็ปรารถนา จะเสพรสนั้นอีก ฉันใด
พระธรรมอันงาม อันละเอียด อันมีประมาณที่ยากจะได้รับ จากพระอริยะ อันมีกาลแห่งมรรคและผล ที่เกิดขึ้นแล้ว จัดเป็นธรรมอันละเอียดสุขุม ครั้นมีผู้เข้าภาวนามิได้ปรารถนา ในความสิ้นกิเลส พระธรรมที่กระจายลงไปสู่คนเหล่านั้น ย่อมมีเพียงรสนิดหน่อย พอให้เขาระลึกได้ถึงผลแห่งอันระลึกได้เล็กน้อย มีเพียงผู้มีปัญญา ไม่กี่คน ที่ได้รับฟังแล้วภาวนาตามได้น้อย ฉันนั้น "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส



(https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/hphotos-xfp1/v/t1.0-9/12507479_854076031375509_6420074823997586386_n.jpg?oh=12d5aab636aab42ece3926bf377d5854&oe=5700DEE6)


หัวข้อ: ไม่ต้องจำเรา เพราะเราเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 14, 2016, 12:00:05 pm
(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201312/04/66086fd1e.jpg)

"เมื่อจิตเข้าสู่ลหุตา วางลหุสัญญา ธรรมปัญญาที่เกิดมองเห็น ความเป็นจริงว่า ไม่มี ว่าง เพราะคลายความยึดถือได้เสียแล้ว เบื้องต้นและ ละความยึดมั่นถือมั่นว่า นั่นเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา เข้าสู่รอบแห่ง ญาณทวนไปกลับมา 16 ครั้ง จึงเข้าใจได้ดีว่า โลกนี้เป็นเพียงความว่างเปล่า ที่มีก็เป็นเพียงสักว่าธาตุ ที่อยู่ก็เพียงธาตุ ว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ว่างจากสัญลักษณ์ใด ๆ มีแต่เพียง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่เป็นไปอย่างไม่สิ้นสุด ความสำคัญว่าเราเลิศกว่าเขา ก็เป็นเรื่องตลก เบา ๆ ความสำคัญว่าเราด้อยกว่าเขา ก็เหมือนของขบขัน แม้ความคิดว่าเราเทียบเคียงเสมอใคร ๆ ก็เหมือนสายลม และควัน ความสำคัญที่มีอยู่ก็เหมือนเพียงดั่งพยัพแดด จับต้องไม่ได้ ท้ายที่สุด มันถึงสิ่งที่รู้วา ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาจำเรา หรือรู้จักเรา เข้าใจเรา และนับถือเรา เพราะมันมีแต่เพียง ธาตุเท่านั้นที่เกิดขึ้น ธาตุเท่านั้นที่ตั้งอยู่ ธาตุเท่านั้นที่ดับไป นอกจากนี้ไม่มีอะไรเลย ความจริงก็เป็นเพียงเช่นนั้น ไม่มีอะไรสักสิ่งที่จะยึดได้ว่าเป็นอะไร สุขก็เป็นเพียงว่างเปล่า ทุกข์ก็เป็นเพียงความว่างเปล่า อุเบกขากลาง ๆ ก็เป็นเพียงความว่างเปล่า เท่านั้น นั่นเอง ...... "

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: ความสุขอารมณ์เดียว นั่นแหละ ที่จะกระทบถึงสภาวะแห่ง ความดับทั้งปวง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 14, 2016, 12:13:04 pm
(http://www.iphonemod.net/wp-content/uploads/2012/01/water-drop1.jpg)

"กระบวนการของการบรรลุธรรม เกิดขึ้นหลังจากสภาวะจิต ไม่ซัดส่าย มีอารมณืเดียว นั้นคือ ความสุข มุ่งที่อารมณ์เดียวคือความสุข จนความสุขเป็นอารมณ์เดียว เมื่อจิตถึงสุขที่เป็นอารมณ์เดียวได้แล้ว จิตก็จะปรารภธรรม ว่าสุขนี้เกิดจากอะไร ในขณะนั้นเอง อย่างธรรมชาติ การปรารภธรรมนี้เรียกว่า ธัมมะวิจยะ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของผู้ที่ภาวนาธรรม ที่อาศัย พุทโธ เป็นไปเองโดยธรรมชาติ การปรารภธรรมเป็นเพราะว่าจิต ว่างจากสังขตธรรม ไม่ได้ถูกปรุงแต่ง ด้วยอารมณ์ แห่งตัณหา แต่เป็นการมองเห็นตามสภาพความเป็นจริง ด้วยการสำรวจผลที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ในขณะที่จิต มีสุขเป็นอารมณ์เดียว การปรารภจะเกิดการกระจายธรรม ด้วยที่เจ้าของผู้ภาวนาไม่ได้ปรุงแต่ง แต่มันเป็นผลที่เกิดจาการกระทบ กับความสุขอารมณ์เดียว กล่าวได้ว่า ตติยะฌานให้ผลตั้งในความสุข แต่ ความสุขที่เป็นอารมณ์เดียว นั้นกลับกลายเป็ต จตุตถฌาน การปรารภธรรม จึงเป็นไปตามสภาวะของ จิต ที่กระทบเอง กรรมฐานในพุทธศาสนา ส่งผลให้ ธรรมวิจยะ เลือกเฟ้นธรรมที่สมควรยกจิตไปสู่สมาธิ ระดับ โลกุตตระธรรมเอง เพราะการอธิษฐาน จะส่งผลไปอย่างนั้น....."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ควรอยู่ในกระแส แห่งความว่าง ( สายธารแห่งความว่าง )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 14, 2016, 12:38:05 pm
"ความว่าง ความว่าง ความว่าง ที่กระทบจิต ขณะนั้นทำให้ ความรู้สึกบางอย่างที่ซ่อนลึกอย่างเงียบมาเป็นเวลานานมาก กระเทือนขณะนั้น กายที่ถูกกระทบ ใจที่ถูกกระทบอย่างนั้น มันพลุ่งพล่าน ความพลุ่งพล่าน มันกระทบกระเทือนใจจนน้ำตาทะลักทะลาย กายสั่นเทิ้ม ใจที่ราบเรียบก้กระเพื่อม เพราะความว่าง ใช่แล้ว ปีติ ที่มันพลุ่งพล่าน เพราะความว่างที่ไหลกระทบ ขณะนั้น เหมือนสายน้ำที่ตกกระทบกับร่างอย่างรุนแรง ความว่าง ความว่าง ความว่าง กายและใจ ที่ถูกความว่างไหลผ่านอย่างนั้น ก็เกิดระลอก ความต้านทานมันไม่ยอม บอกว่า ว่าง นี่ตัวเรานะ นี่บ้านเรา นี่แม่เรา นี่พ่อเรา นี่ญาติเรา นี่วัดเรา นี่เพื่อนเรา นี่แฟนเรา นี่คนรักของเรา นี่พระธรรมของเรา นี่พระพุทธของเรา นี่ครูเรา นี่ชื่อเสียงเรา นี่ยศของเรา นี่สุขของเรา ความว่างที่ไหลขึ้นมาอย่างนั้น กับความรู้สึกต้านทาน ที่ไม่ยินยอมให้ว่าง แต่ความว่างก็ยังไหลผ่านไปดุจนำ้ตกที่ไหลกระแทกพัดไปเรื่อย ทำให้กายจิตของเรา ยิ่งมีน้ำตาพรั่งพรู ออกมาเป็นสาย มันผ่านพร้อมความต้านทานเป็นเรื่องแล้ว เรื่องเล่า จิตที่มันฮึกเหิมมาตลอดว่า นี่ของเรา มันกลับกลายจิตที่มันหดหู่ พยายามจะจับ พยายามจะเกาะ พยายามจะยึด พยายามจะยื้อ แต่แล้วมันก็จับอะไรที่เป็นเราไม่ได้สักอย่าง ถูกความว่างพัดพาผ่านไปอย่างหมดสิ้น เหมือนคนสิ้นเนื้อประดาตัว ที่มองตาปริบ กับของที่ไหลไปกันน้ำที่แรงอย่างนั้นทำอะไรไม่ได้ ได้แต่หมดอาลัยตายอยากว่า จากกันแล้ว สิ้นสุดกันแล้ว ตอนนี้มันยัง เหลือเพียงแต่กายที่นั่งอยู่นี่แหละ มันก็ยังพยายามต้านทานว่า นี่เรา นี่เรา นี่่ผมของเรา นี่เนื้อหนังของเรา นี่ที่นั่งอยู่นี้เป็นของเรา ความว่างก็ยังไหลกระทบกับกายจิตนี้อยู่เหมือนเดิม ใจของฉันที่ยึดถือ และพยายามต้านทานบอกไว้ว่า เรา เรา เรา นะ ความว่างก็ยังไหลอยู่ต้านทานความความรู้สึกว่ากายนี่เป็นเรา ของเรา จนกระทั่งมันกระเทือนใจอย่างมาก มีความรู้สึกอย่างผู้พ่ายแพ้ จำนนอย่างหมดอาลัยตายยาก เลย น้ำตาที่ไหลอยู่แล้ว ยิ่งไหลพราก ๆ เพราะมันรู้สึกพ่ายแพ้ แม้กายของฉันที่บอกว่า เรา เรา เรา อยู่นี่ ท้ายที่สุด มันก็จับต้องอะไรไม่ได้ ความว่างได้พัดพาไปหมด เหมือนตนเองที่ลอยคอไปตามสายน้ำที่เชี่ยวกราก และนึกอยู่ในใจว่า ไม่รอดแล้ว แม้กายนี้ก็ไม่รอดแล้ว ความว่างได้พัดพา ความเป็นเราออกไปทีละอย่าง ที่ละอย่าง จนรู้สึกหมดสิ้นเนื้อประดาตัว แต่ทันใดใจมันก็นึกขึ้นมา  มันยังต้านทานอยู่ต่อไปว่า จิตนี้ไง ถ้งกายเป็นธาตุ แต่จิตนี่ไง ที่เป็นเครื่องยืนยัน ถึงความรู้สึก นึกคิด รับรู้ จดจำ เป็นตัวบอกอารมณ์ทุกอย่าง ความรู้สึกมันต้านทานอยู่อย่างนี้ ส่วนความว่าง ก็ยังไหลไปเรื่อย ๆ และแรงเพิ่มขึ้น ขณะนั้นจิตของฉันก็ถึงความพ่ายแพ้ ว่า แม้จิตที่ว่ามันเป็นเรา ก็หาอะไรไม่ได้ จำอะไรก็ไม่ได้ รู้สึกอะไรก็ไม่ได้ คิดอะไรก็ไม่ได้ มันถูกความว่างแย่งชิงไป จนมีความรู้สึกอย่างลึกที่สุดว่า แม้จิตจริง ๆ ก็ไม่มี ยึดถืออะไรไม่ได้เลย น้ำตาฉันที่ไหลอยู่เริ่มเหือดแห้งลง และแห้งลง และแห้งลง มีความรู้สึกว่า อะไร อะไร อะไร ในโลกนี้ ในจักรวาลนี้ ในที่ฉันรู้จักนี้ ทั้งหมด นั้น ไม่มีอะไรเลย ที่จะใช้เป็นเครื่องยึ่ดเหนี่ยวหรือรั้ง สิ่งที่เรียกว่า ความว่างได้เลย มันเวิ้งว้าง ว่างไปหมด แสงสีขาวที่สว่างจ้า เบื้องหน้า ก็ไม่รู้สึกอะไร จักรวาลที่ปรากฏอยู่ก็ไม่มีอะไร มีแต่ความว่าง ความว่าง ความว่าง ก็ยังไหลอยู่อย่างนั้น มันกลับย้อนให้ฉันเห็นความจริงที่มาของฉัน ก็เป็นเพียงความว่างอีกนั่นเอง สุดท้ายฉันก็แพ้แก่ความว่าง เพราะมองเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ทำมาทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วไม่มีสาระเลย ทั้ง ๆ ที่ว่ามีสาระ เข้าใจว่ามีสาระ และยึดถือว่ามีสาระ ท้ายที่สุด มันไม่มีอะไร เป็นสาระ เพราะกลายเป็นความว่าง เหมือนจักรวาลที่ไม่มีฉันอยู่ตั้งแต่ต้น มีแต่เพียงความรู้สึก ปรุงแต่งไปเองว่า ว่ามันมีสาระ มันมีความสำคัญ แม้ความถูก แม้ความผิด มันก็ไม่มี ความว่าง ที่ปกคลุมตัว กลายเป็น ว่า ฉันกลายเป็นความว่าง ไม่มีอะไรที่ต้องคิด อีกต่อไป ไม่มีการเดินทาง ไม่มีการเริ่มต้น......."

 ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
 บันทึกการภาวนาและ การเดินทางของ ธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2558/water.jpg)



หัวข้อ: ตื่นเถิด ท่าน พระโยคาวจรทั้งหลาย
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 15, 2016, 11:07:47 pm
(http://www.madchima.net/images2558/wat.jpg)

"ไม่ใช่ใครที่จะทำให้เรา ดี หรือ ชั่ว ได้ ทุกข์ หรือ สุขได้ แต่เป็นเพราะตัวเรานั่นแหละที่สร้างกรรม ให้กับตนเอง ดี หรือ ชั่ว ทุกข์ หรือ สุข ถ้ารู้ว่า ชาตินี้มันลำบาก เพราะกรรมอดีต ก็สร้างกรรมดีให้มากขึ้นในปัจจุบัน ให้มันรูกันไปว่า กรรมในปัจจุบัน หรือ กรรมในอดีต กรรมไหน จะแน่กว่ากัน กรรมในอดีตแก้ไม่ได้ แต่กรรมในปัจจุบัน สามารถกระทำได้ทันที พูดดี คิดดี และ ทำดี ทำได้ไหม ท่านชาติอาชาไนย เหล่าเวไนยยะ ทั้งหลาย ผู้ชื่อเป็นพระโยคาวจร โดยสายธรรม เกิดแต่พระอุระ ของพระธรรม เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า มีอริยะสงฆ์เป็นพี่น้อง จงอย่ายอมแพ้ แก่หมู่มาร จงตวาดมาร ให้มารหลีกทางไปเสียเถิด กิจอื่น ยิ่งกว่า การคิดดี ทำดี พูดดี ยังมีอยู่ คือกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นกิจที่ เหมาะสมกับผู้ตื่น แลมองเห็นตามเป็นจริง เหนือเรื่องดี เรื่องชั่ว แล้ว เหนือเรื่อง ทุกข์ เรื่องสุขแล้ว ...."
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: อย่าแกว่งตีนหาเสี้ยน เจ็บแล้วไม่จำ ควรพิจารณาเหตุที่ควร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 18, 2016, 02:47:53 pm
(http://www.madchima.net/images2558/pasit-01.jpg)


"แค่ลำพัง แบกทุกข์ ตัวเอง และให้ตนเองภาวนา ก็ยากอยู่แล้ว นี่ยังจะไปแกว่งเท้าหาเสี้ยน เพื่อแบกทุกข์ของคนอื่นเข้าไปอีก มันก็ยิ่งหนักไปกันใหญ่ การไปสู่พระ นฤพาน นั้นเกิดจากตัวเรา กระทำความเพียรที่ตัวเรา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้นแหละ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งของเราได้ นี่เป็นเรื่องการออกแรง ต้องใช้ตนเองเป็นที่พึ่ง แต่ถ้าขาดกำลังใจแล้ว ให้ ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นที่พึ่งทางใจเพื่อไม่ให้ใจเคว้งคว้าง ดังนั้นเวลามีแรงกาย ก็ต้องตนเอง เวลาเสริมกำลังใจ ก็ต้อง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ถ้าวาง โลกธรรมลงได้ ความขัดแย้ง ก็จะมีน้อยลง หรือ ไม่มีเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 18, 2016, 02:51:01 pm
"ความขัดแย้ง นั้นมาจากกิเลส เนื่องด้วยกิเลส พยายามรักษาคำว่า ยศ ลาภ สุข สรรเสริญ ไว้ เมื่อ บุคคลผู้เสพมีความรู้สึกว่า จะเสีย ยศ ลาภ สุข สรรเสริญ เขาย่อมกระทำการทุจริตด้วย กายกรรมบ้าง วจีกรรมบ้าง มโนกรรม บ้าง เพื่อจะรักษา ยศ ลาภ สุข สรรเสริญ ส่วนนั้นไว้ แต่ในทางธรรม พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยะสงฆ์เจ้า ผู้วางแล้วต่อกิเลส ย่อมให้กำลังใจแกผู้ที่เสียกำลังใจเพราะการถูกเบียดเบียนทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเกิดจาก การภาวนา และการเป็นผู้ถือ พระรัตนตรัย เป็นสรณะ แล้ว ด้วย พระดำรัสจากพระพุทธเจ้าว่า ธรรมนั้นแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ดังนั้นฉันเชื่อมั่นว่า ตราบใดที่ฉันยังภาวนาอยู่ แม้จะสิ้นสุดการภาวนาแล้ว ฉันเดินตามทางและปฏิปทาของครูอาจารย์ที่ท่านละกิเลสแล้ว เชื่อว่า ธรรมแหละย่อมรักษาฉัน ด้วยเช่นกัน ถึงแม้วันนี้อาจจะดูลำบากลำบน ด้วย ปัจจัย 4 อยู่บ้าง แต่กำลังใจฉัน ยังอยู่ดี ....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2558/lotus-01.jpg)


หัวข้อ: มีแต่ปรากฏการณ์ สักว่า ความเป็น ธาตุ เท่านั้น ไม่มีอะไรเลย
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 18, 2016, 02:54:15 pm
(http://roowai.com/wp-content/uploads/2014/10/2510727.jpg)

"ฉันไม่ได้มีความสำคัญ ต่อโลก ต่อสังคม ต่อบ้านเมือง ต่อวัด ต่อพระศาสนา ต่อใคร หรือต่ออะไรทั้งนั้น และก็จากสามปีที่ผ่านมานี้ และต่อๆไป ฉันไม่เคยคิดว่า ฉันจะไปเปลี่ยนแปลงอะไร ในโลกนี้เลย สิ่งที่ทำด้วยกายขันธ์ในปัจจุบัน แม้มันจะสูญหายไป และไม่มีใครจดจำฉันได้ มันก็ไม่เป็นไร และไม่ได้มีความสำคัญอะไร ต่อใคร ๆ และ ต่อโลกเลย เพราะฉันรู้ดีว่า มันป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า ปรากฏการ์ณแห่งธาตุ เปรียบดั่งเหมือนสายฟ้าที่แลบบนอากาส ที่เกิดขึ้นอย่างเร็ว และหายไปอย่างเร็ว เช่นนั้น เพราะหากท่านถึงความเป็น ธาตุ แล้วจริง ๆ สิ่งที่ฉันกล่าวนี้ ท่านก็จะเข้าใจกันได้เอง ว่ามันเป็นเพียงปรากฏการณ์ สักว่าธาตุ นั่นเอง...  "


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ที่ไม่ได้ห่วง เพราะ รู้ว่า ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 18, 2016, 02:56:58 pm
(http://image.mcot.net/media//images/2013-10-15/1391453_1406138646283846_1720115736_n.jpg)

"ตาฉันไม่ได้บอด หูฉันไม่ได้หนวก ปัญญาฉันไม่ใช่ไม่มี สติฉันก็ไม่ได้ลืมหลง การภาวนาก็มีอยู่ทุกเวลา การเสวยผลภาวนาก็มีอยู่ทุกเวลา ดังนั้นคนที่ปฏิบัติธรรม ถึงธรรม แท้ ๆ นั้น ฉันย่อมดูออก มองออก และวินิจฉุัยได้ ผู้ปฏิบัติธรรม ได้ดี สมควรแก่ธรรมฉันย่อมอนุโมทนา แก่ผู้ปฏิบัติดี ส่วน ผู้ที่มีปณิธาน พระนิพพานชาตินี้ ฉันก็ขออนุโมทนา .... "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: เติมเต็ม บุญ อิ่ม บุญ ให้พร้อม ภาวนา ก็จักสมบูรณ์
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 19, 2016, 01:01:33 am
"รวบรวมความกล้าหาญ ในการเผชิญ กับกิเลสบ้าง อย่ายอมแพ้ ประจุศรัทธา ที่ยังไม่ตั้งมั่นให้มีความตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ทบทวนกรรมฐาน ที่เหมาะสม แก่ฐานะ อย่ามัวแต่มองคนอื่น ขาดสิ่งใดในบารมีก็ให้ทำให้เสริม ให้มั่นคง บางท่านทานไม่เคยทำ ศีลไม่เคยรักษา หรือ ทำก็ทำแต่พอไปที ศีลก็ขาดบ้าง มีบ้าง พร่องบ้าง ถ้าเป็นอย่างนี้ให้ไปเสริม ส่วนนั้นให้เต็มเสีย เต็มอย่างไร เต็มใจทำไงละ ถ้ามันมีความเต็มใจ บารมีก็จะเต็ม แต่ที่นี้ถ้ามันไม่เต็มใจ ก็ต้องขอให้ทุกคนกลับ .... ไปทบทวน เป้าหมายกันใหม่อีกสักครั้ง ว่า ทีท่านกำลังทำอย่างนี้ ต้องการอะไรกันแน่ เป้าหมายนั่นแหละจะทำให้ท่านเต็มใจทำไงละ
      คำว่า เต็ม มาจากคำว่า ปุญญะ หมายถึง ทำให้เต็ม และอิ่ม เต็มก็คือ เต็มใจ อิ่มก็คือ อิ่มใจ ....."


(http://palungjit.org/feature/data/522/for-free.jpg)

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: เวลา และ วารี ไม่เคยชะลอ เพื่อรอใคร วันคืนอันล่วงไป ทำอย่างไรอยุ๋... ผู้ปฏิบัติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 19, 2016, 01:32:37 am


"สายธาร แห่งสายน้ำ ที่ไหลผ่าน จากบนสู่ ล่าง จากสูง สู่ ต่ำ จากภูเขาสู่ มหาสมุทร  , เวลา ที่เคลื่อนคล้อย จากวัน เป็นคืน จากคืน เป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี ก็ไม่เคยหยุดนิ่งเพื่อรอใคร ผู้ภาวนาไม่พึงประมาท ต่อชีวิตที่ มันไหลลงไปสู่ความตาย ทุกวินาที ชีวิตของผู้ภาวนา ผู้ปรารถนา พระนฤพาน ในปัจจุบันชาติ ย่อมไม่ควรตั้งนิ่ง หยุดอยู่ ด้วยความประมาท ว่า พรุ่งนี้ค่อยภาวนา มะรืนนี้ ค่อยภาวนา สัปดาห์ต่อไป ค่อยภาวนา เพราะการผลัดอย่างนี้เป็นวิสัยของคนประมาท พระพุทธองค์ ทรงตรัสกับภิกษุไว้ใน บรรพชิตปัจจเวกขณ์ ข้อแรกเลย ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เป็นคำถาม แต่คำตอบไม่ต้องตอบ เพียงแต่ผู้ถูกถาม เรียก สติ คืนกลับมา และ ดำเนินตามมรรค ด้วยความไม่ประมาท ก็ใช้ได้แล้ว

ดังนั้นท่านทั้งหลาย ที่เห็นว่า สังสารวัฏนี้มีแต่ความทุกข์ มีเป้าหมายในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แล้ว ก็อย่ามัวหลับใหลประมาท จงกระทำความเพียร ที่สมควรโดยเริ่มจาก
    1. ทบทวนเป้าหมาย ว่า ต้องการอะไร ในการภาวนา
        ถ้าต้องการเพียงสุขไปวัน ๆ ก็ไม่ต้องภาวนาก็ได้
        ถ้าต้องการ ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสาระ นี้อีกต่อไป ให้มุ่งไปที่ มรรค มีองค์ 8
    2. ทบทวนความรู้ดั้งเดิม ที่มีติดตัวอยู่ว่า เข้าใจในแก่นสารธรรม ขนาดไหน
         ถ้ามียังน้อยให้รีบขวนขวาย สุตตะ และ กัลยาณมิตร
    3.ทบทวนศีลของตนเอง ว่างดงามตาม อริยะมรรค หรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้แก้ข้อบกพร่อง เสีย
    4.ทบทวนกรรมฐาน โดยเฉพาะกรรมฐาน ของพระพุทธสาวกในชาติปัจจุบัน ควรจะเริ่มจากพุทธานุสสติ
    5.หมั่นสอบกรรมฐาน จากกัลยาณมิตร อย่าทำตัวเป็นผู้ปากหนัก เพราะถ้ากัลยาณมิตร ไม่อยู่แล้ว ไปปราศแล้ว เราจะเคว้งคว้าง มากกว่า เดิม
    8. ควรสร้างบารมีให้ยิ่งขึ้น ตามบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ
    9. ควรตั้งสัจจะอธิษฐาน บารมีทุกวัน
    10. ควรว่าพระคาถา ต่ออายุไว้สม่ำเสมอ ถึงแม้จะไม่มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดกรรมตัดรอนก็ไม่ควรประมาทสำหรับผู้ที่ต้องการสิ้นเชื้อ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบการเวียนว่ายตายเกิด

    10 ประการขอฝากท่านทั้้งหลายที่ ปรารถนา ในพระนฤพาน ในชาติปัจจุบัน ควรต้องรีบทบทวน ไว้อย่าประมาท

 "


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: คุณพร้อมหรือยัง ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 19, 2016, 06:26:48 pm
(http://www.madchima.net/images2558/areuready.jpg)


"บางคน มีความรู้ทางธรรมมาก่อน วิชากรรมฐานมีมาก่อน บางท่านก็วิปัสสนามาก่อน มีครู มีอาจารย์ มากมายสอนทั้งที่มีืชื่อเสียงระดับประเทศ และ มีชื่อเสียงระดับจังหวัด หลายท่านเหล่านี้ ต้องใช้เวลาเตรียมการในการที่จะรับการฝึก โดยให้ฝึกขึ้นพื้นฐานไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน ต้องให้ธรรมะเพื่อให้เพลาการใช้ ความคิดทางธรรมให้น้อยลง เนื่องด้วยสังขตที่ออกแนววิปัสสนานั้น เป็นความฟุ้งซ่าน เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ดับกิเลสได้จริง ไม่ต่างอะไรกับคำว่า สมาธิหินทับหญ้า ดูแล้ว พอ ๆ กัน บางท่านเป็นนักเทศน์ นักสอน มาเรียนด้วย มีการใช้โวหาร ที่หลากหลาย แต่ไม่มีสมาธิ ในขั้นอุปจาระสมาธิ เลย ท่านทั้งหลายเหล่านี้ ก็จะถูกสอนในขั้นพื้นฐาน เพื่อเตรียม บางท่านถูกเตรียมไว้ ถึง 15 ปีแล้วก็มี แต่เป็นเพราะทำบ้างไม่ทำบ้าง ไม่ยอมบ้าง ก็ต้องรอ ปกติเวลาฉันสอบ ก็จะใช้โวหารสอบถามก่อน และค่อนใช้สมาธิเข้าไปสอบ โดยที่ท่านไม่รู้ว่าฉันกำลังสอบพวกท่าน พวกเขาอยู่ ถ้ายังไม่อธิบาย กรรมฐาน 3 ส่วน ให้รับทราบ ก็แสดงว่ายังสอบไม่ผ่าน แต่ถ้าผู้ใด ได้รับฟัง เรื่องกรรมฐาน 3 ส่วนแล้ว แสดงว่ามีภูมิจิตที่จะปฏิบัติต่อไปได้แล้ว นั่นเอง....."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 20, 2016, 10:07:01 am
"สี่ตีนยัง รู้ พลาด
นักปราชญ์ยัง รู้ พลั้ง
ผู้ภาวนายัง รู้ เผลอ
นักเดินทางยัง รู้ หลง
ดังนั้นคำว่า รู้ บางครั้ง มาจากข้อผิดพลาด พลั้งเผลอและประสบการณ์ ยิ่งเป็นผู้ภาวนา ปรารถนาพระนิพพานในชาตินี้ดวย ก็ต้องพิจารณา ประสบการณ์ที่ผิดพลาดพลั้งเผลอ ทั้งหมดนั้นด้วยการวิเคาระห์ อย่างแยบยล ว่าเพราะอะไร เหตุอะไร ทำไม ขาดอะไร ไม่ใช่อาศัยความถึก บุกอย่างเดียว ต้องใช้ วิจารณญาณ ลงไปด้วย ภาวนาบางครั้ง ก็กล้าเกินไป จิตแกร่งเป็น ปัคคาหะ เพียรจัด หย่อนเกินไป ก็เป็น ญาณัง รู้มาก พาลขี้เกียจ ดังนั้นอุปกิเลส คือ นิวรณ์ตัวน้อย ของผู้มีภาวนานั้น พึงต้องศึกษาให้ดี ๆ พยายามลำดับไล่กลับไป กลับมา ว่าตัวไหนมันคั่งค้างอยู่ จึงทำให้ไม่ก้าวหน้า บางคนโกรธพ่อ โกรธแม่ โกรธแฟนแล้วมานั่งภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ ไป มันไม่ก้าวหน้า เพราะว่าถูก พยาบาท และ โกธะ อุปนาหะ มักขะ สาเถยยะ มทะ อติมานะ ถัมภะ มายา ปลาสะ ปมาทะ ครอบงำไว้ เห็นไหม แค่เรื่องนิดเดียว ทำไม่ได้แล้ว ต้องไปแก้ตรงต้นเหตุก่อน ดังนั้น ต้องวิจารณญาณ ลงไปด้วย หลังจากภาวนาเสร็จสิ้นควรบันทึกไว้ว่า ทำอย่างไรที่ผ่านมา ผลเป็นอย่างไร อย่างนี้เรียกว่า ทวนกรรรมฐาน ถ้าได้ผลดีแล้ว ก็บันทึกไว้ ก็เรียกว่า ทบทวนกรรมฐาน...."


(https://i2.wp.com/farm6.static.flickr.com/5201/5266438896_163b859ef6.jpg)

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ที่สุดสองอย่าง อัน บรรพชิต ( ผู้ภาวนา ) ไม่ควรเสพ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 22, 2016, 01:17:13 pm
(http://www.madchima.net/images2559/prasoot-01.jpg)


" ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )
เมื่อเราระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ พึงทำสติให้ตั้งมั่น และน้อมใจไปในธรรม อันเป็นธรรมที่งามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ก็ธรรมอันเป็นธรรมอันงามในเบื้องต้น เป็นอย่างไรเล่า
การที่บุคคลไม่เข้าไปใกล้ ไปเสพธรรมสองอย่างอันเป็นส่วนสุด มีการเสพการคุณเป็นที่สุดประการหนึ่ง และการทรมานกายตนเพื่อคุณธรรมอันพิเศษ บุคคลเป็นประการที่สอง เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอน ของพระพุทธองค์แล้ว พึงเว้นการกระทำอันเข้าไปใกล้เหตุสองประการ อันนี้ชื่อว่าบุคคลประกอบแล้วด้วยธรรมอันงามในเบื้องต้น
การที่บุคคคลตั้งมั่นในศีล เว้นขาดจากเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นผู้ไม่กระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้กระทำนิวรณ์ทั้งห้า ให้สงบระงับ เสวยอยู่ซึ่งสุขอันเกิดแต่กุศล ที่เว้นขาดจาก กายทุจริต วจีทุจริต มีใจผ่องใสในภายใน มีวิตก วิจาร ปีติ และ สุข เอกัคคตา อันเกิดขึ้นแล้ว เป็นขณะเป็นช่วง ถึงแม้ไม่ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ก็ชื่อว่า เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมอันงามในท่ามกลาง แล้วนั่นเอง
การที่บุคคลตั้งมั่นในจิต มีธรรมผ่องใสในภายใน มีสุขอันเกิดแต่ความสงัดขจัดแล้วซึ่งมลทินอันเป็นข้าศึก ถึงพร้อมแล้วด้วยผลแห่ง พระโสดาบัน ผลแห่ง พระสกทาคามี ผลแห่ง พระอนาคามี ผลแห่ง อรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่กลับมาแล้ว มีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ก็ชื่อว่า เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมอันงามในที่สุด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าแล้ว นั่นเอง
ธรรมอันงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมเกิด เพราะอาศัย ซึ่งธรรมจักษุ ญาณเพื่อรู้ย่อมมีเหตุมาจากธรรมจักษุ การเข้าไปสงบระงับกิเลส ย่อมอาศัย ญาณเพื่อรู้ ญาณเพื่อความรู้ยิ่ง ย่อมอาศัยซึ่งการเข้าไปสงบระงับ แม้ความรู้ดีเพื่อความดับกิเลส ย่อมอาศัย ญาณเพื่อความรู้ยิ่งนั่นเอง
ธรรมสภาวะ ในทางสายกลาง ย่อมเกิดไปตามลำดับ ย่อมเป็นไปตามลำดับ ย่อมแจ้งไปตามลำดับ นั่นเอง ......"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดืนทาง ของธัมมะวังโส


(http://www.madchima.net/images2559/prasoot-02.jpg)
ภาพจากสมุดบันทึก มีวันหนึ่ง ฉันได้เปิดน้ำใช้ และแรงดันของน้ำวันนั้น มันเบามาก ก็เลยต่อสายแล้วเอาถังไปรอง ขณะที่ต่อสายขณะนั้น ก็จำเป็นเพราะว่า อุปกรณ์ที่ต่อมันกระท่อนกระแท่น หาไม่ได้ จึงได้ต่อน้ำไปหลายระดับ และเห็นหลายระดับ ถึงกระทั่งแม้ต่อน้ำไม่ทันใช้ น้ำหมดก่อน ตามภาพ

ขณะนั้น จิตก็รับเรื่องนี้เข้ามาป้วนเปี้ยนในสมาธิ ตัวสมาธิ ก็เลยจัดการเป็นภาพนิมิตร ขึ้นมา แต่กลับเป็นว่า ไม่ได้วิธีแก้ไขให้น้าเพิ่มหรือน้ำน้อย จิตกับไปเห็นเรื่องราวที่น้ำกระเพื่อม กระเด็นตามแรงไหล จนจิตไปเห็นธรรม ฉากหนึ่ง อย่างยาวนาน ออกจากสมาธิคราวนั้นมา ประมาณ 14 ชม. เห็นอะไร คงบอกพวกท่านไม่ได้

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ

( อันที่จริงบอกได้ แต่วินัยกั้นไว้ ไม่ให้บอก นับว่า ธรรมบางอย่างไม่ถูกถ่ายทอด เพราะวินัยสงฆ์ ห้ามไว้ อย่างนั้นหรือ )


หัวข้อ: เกศา คือ ผม เป็นเพียงดั่งธาตุดิน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 23, 2016, 10:20:33 am
(http://www.madchima.net/images2559/kayang.jpg)

"การปลงผม เป็นสิ่งที่บรรพชิต ในสายพุทธ นั้นได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล การปลงผม จึงเป็นการแสดงเจตนาในการละโลกีย์วิสัย ดังนั้น ธาตุกรรมฐาน แรกที่ปรากฏในการภาวนาของผู้ภาวนาบทแรกบริกรรมว่า เกศา จึงเป็นบทต้นใน ตจปัญจกะกรรมฐาน ผู้ที่สำเร็จธรรม เนื่องด้วยการกำหนดเส้นผมนั้น มีมาก ดั่งพระสีวลี ผู้เลิศด้วยลาภสักการะ นั้นเป็นต้น มีพระภิกษุ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระขีณาสพอีกหลายรูปด้วยการกำหนด กายคตาสติ บทนี้ ดังนั้นท่านทั้งหลาย อย่าได้ประมาท แม้บริกรรมสั้น ๆ เห็นว่าง่าย ๆ แต่ ถ้าท่านกำหนดได้ แม้เพียงฐานที่หนึ่ง ว่า เกศา เกศา เกศา อย่างนี้เป็นต้น การเห็นธรรมก็จักปรากฏได้ ตามการสั่งสมไว้ซึ่งบารมีของตัวท่านเอง ใครจะเห็นมาก เห็นน้อย เห็นขาดก็อยู่ที่การบ่มอบรมบารมี มาให้งาม ด้วยตนเอง ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย กำหนด เกศา เกศา เกศา ลงในฐานใจของท่านกันบ้าง จะได้เห็นความจริง และได้คลายความยึดมั่นถือมั่นต่อกายนี้กันลงบ้าง ใจจะได้ผ่องใส เพราะละความถือมั่นในกายได้...."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ตัณหา เป็นเครื่องลวง LOve story
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 23, 2016, 11:09:27 am
(http://www.madchima.net/images2559/lovestory.jpg)

"อันที่จริง ทุกคนย่อมรู้สาเหตุ จริง ๆ ว่า เป็นเพราะ ตัณหา ความอยากมี ความอยากเป็น ความไม่อยากมี ความไม่อยากเป็น เป็นเครื่องร้อยรัด ใจ ให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร ปถุชชน แต่เมื่อตัณหา เกิดขึ้นแล้ว หลาย ๆ ท่านไม่สามารถหักห้าม ตัณหานั้นไว้ได้ เพราะไม่เคยฝึกการหักห้าม สำหรับพระโยคาวจร ย่อมชินต่อการฝึกห้ามตัณหา ด้วยการรั้งสติ เพิ่มสัมปชัญญะ จึงทำให้ตํณหานั้นดับลงบ้าง คลายบ้างตามกำลังของสติ ที่หน่วงไว้ได้ สำหรับพระอริยะบุคคล คือพระอรหันต์ ย่อมประหารตัณหานั้น ตัณหาย่อมไ่ม่เกิด ขึ้นอีก ไม่กำเริบอีก อย่างไรจึงประหารตัณหาได้ การรู้เห้นตามความเป็นจริง ว่าตัณหาเป็นทุกข์ เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ เป็นมรรค และเป็นนิโรธ นั่นแหละ เป็นหนทางดับเสียซึ่งตัณหา

( ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑
  เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ 
  ความดับผัสสะเป็นส่วนท่ามกลางตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด  เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ  เหตุเกิดผัสสะ  และความดับผัสสะนั้นไว้เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า
        ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
        กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
       เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง  กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
       ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว ).......

"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ธรรมสองส่วน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 24, 2016, 01:37:37 pm
(http://www.madchima.net/images2559/tawipakee.jpg)

  "ไม่มีสภาวะธรรมใดไม่มีคู่ แม้สภาวะ ที่เรียกว่า นิพพาน ก็มีสองประการเช่นกัน คือ นิพพาน กับ ไม่นิพพาน มันเป็นสิ่งสมดุลย์  ดังนั้น จึงไม่มีใครมีแต่ทุกข์อยู่อย่างเดียว หรือ สุขอยู่อย่างเดียว แต่ จะมีทุกข์ หรือ สุข สลับกันไปมา อย่างนี้ บัณฑิตผู้ฉลาด ย่อมเตรียมใจและฝึกฝนใจกายของตนเอง เพื่อตั้งรับ และยอมรับในสภาวะที่แปรปรวน อย่างนั้น ไม่ว่า จะสุข หรือ จะทุกข์ ก็จะกำหนดทันได้ว่า มันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น ทุกข์ก็ตาม สุขก็ตาม ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอย ๆ มันมีเหตุปัจจัย มาจากกรรมที่เราได้กระทำไว้ ทั้งอดีต และปัจจุบัน ดังนั้นไม่ว่าผล มันจะออกมาอย่างไร ก็จงรับทราบไว้ว่า ผลนั้นเกิดจากกรรมของเรา ที่ได้กระทำไว้กอน หรือ ในปัจจุบัน บัณฑิตผู้ฉลาด จึงพยายามที่จะสร้างกรรมที่ส่งผลในปัจจุบัน เพื่อดักกรรมในส่วนอดีต ไม่ให้มีผลกระทบในปัจจุบัน เพราะเราผู้เป็นเจ้าของแห่งกรรมไม่สามารถ รู้ได้ว่า กรรมดี อันเป็นผลดี กรรมชั่ว อันเป็นผลชั่ว จะมาตอบสนองเราตอนไหนนั่นเอง ตราบใด ที่ยังมีชีวิตโลดแล่น เวียนไปในสังสัารวัฏ ธรรมส่วนสอง สภาวะสองส่วนนี้ ก็จะมีติดตามเราไปทุกที่ ทุกกำเนิด นั่นเอง.... "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 25, 2016, 02:55:45 pm
(http://www.madchima.net/images/150_29012012_018_re.jpg)
"ชีวิตจริง ไม่อิงนิยาย ก็ต้องมีทั้งสุข และทั้งทุกข์ สลับกันไป บัณฑิตที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด จึงต้องหมั่นสะสมคุณความดีทางจิต ด้วยการบ่มเพาะสติ อย่าให้ลิงโลด ในสุขเกินไป และอย่าให้ท้อแท้ ต่อทุกข์ ที่มีอยู่ แต่พึงรักษาจิตด้วยการปล่อยวาง ทุกข์ และ สุข ที่เกิดขึ้นมาขณะนั้นบ้างว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตมีรสชาด ถึงแม้ ทุกข์ ไม่มีใครต้องการ ใคร ๆ ก็ต้องการสุข แต่ถ้าไม่มีทุกข์ สุขก็มีไม่ได้ เพราะทุกข์ และ สุข อาศัยซึ่งกันและ เหมือนสีดำ สีชาว ก็อาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อเรียนกรรมฐาน ส่วนแรกที่ครูอาจารย์ จะสอนไว้ในกองกรรมฐาน คือ การวางจิตเป็นกลาง ก็คือรู้ธรรมสองส่วน เพื่อให้จิตวางอุเบกขา ลูกศิษย์ที่ฝึกปฏิบัติตามมา อย่างนี้เขาจึงวางอารมณื ไม่ยินดีในสุข และ ไม่ยินร้าย ในทุกข์ มากเกินควร บางท่านวางอารมณ์ ได้ดีแม้ยังปฏิบัติไม่ได้มาก ก็นับว่าเป็นศิษย์ที่สมควร อนุโมทนา ...."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: ปิดทองหลังพระ ที่นี่ไม่ได้เลือกบัวว่า เหล่าไหน ? แต่เลือกเฉพาะ ผู้ร่วมบารมีกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 27, 2016, 07:11:53 pm
(http://p1.isanook.com/ca/0/ud/185/926504/87580564.jpg)

"ปิดทองหลังพระ ที่นี่ ไม่ได้เลือกบัวว่าเหล่าไหน ? หรือเพ่งสอนแนะนำเฉพาะ เหล่าบัว ใน เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อย่างที่หลายคนไปเข้าใจเอาเอง แต่ที่นี่เลือกคนที่มีวาสนาต้องชะตา และอธิษฐานบารมีร่วมธรรม กันมาในอดีตถึงปัจจุบันในสายกรรมฐาน เพื่อได้ปะติด ปะต่อวิชา ให้สมความปรารถนา การสอนก็สอนกันตั้งแต่เบื้องต้น นั่นแหละ ไม่ได้มาสอนชั้นสูงกันเลย ทุกคนต้องผ่านไปตามลำดับขั้นตอน จนถึงตอนสุดท้ายที่ตนเองได้ นั่นแหละถึงจะเรียกว่า สูง บางคนชาติก่อนทำได้แค่ อุปจาระฌาน บางคนก็อัปปนา บางคนก็วิปัสสนาไปแล้ว อย่างไรชาตินี้ ของที่ซ้ำ ก็ไม่ซ้ำนาน ที่ซ้ำนานนั้น ก็ด้วยเหตุไม่กี่อย่าง คือ 1. ของเก่ายังทำไม่ได้ 2. ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่สอน ( ยังดื้อไม่ทำตามอยู่ ) 3. ขาดความต่อเนื่องของตนเอง ต่อหน้าครูอาจารย์ ก็ทำพอหลับหลัง ก็เลิกทำ 4. ตอนภาวนาไม่ศึกษาขั้นตอนให้เข้าใจก่อน หรือสงสัยในขั้นตอนไม่ได้สอบถาม ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดิืนทางของธัมมะวังโส

บารมี หลายคน รอบตัวอาจารย์ตอนนี้ เป็นจิ๊กซอว์ ที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ แล้ว ขาดเพียงแต่ เหตุปัจจัยบางประการ บางท่านก็ขาดความเพียร บางท่านขาดปฏิภาณ บางท่านก็ขาดการสั่งสมทาน บางท่านก็ขาดการรักษาศีล บางท่านขาดการอธิษฐาน บางท่านขาดการหยั่งรวมในธรรม บางท่านก็ไม่ต้องการตัดโลกเองตอนนี้

และอีกหลายเหตุผล
คำว่า ห่วง .... มันมีมากมาย
บางท่าน ก็ห่วง ทรัพย์สมบัติ
บางท่าน ก็ห่วง พ่อแม่
บางท่านก็ห่วง ลูกหลานญาติมิตร
บางท่านก็ห่วง อนาคตของตนเอง มากไป
ลางท่าน ก็ห่วงเกรียติยศ
ลางทาน ก็ห่วงในอุดมการณ์
ลางท่าน กก็ห่วงการศึกษาเล่าเรียน
ลางท่าน ก็ห่วงสนุก

และอีกหลายห่วง ที่เป็นข้ออ้างสารพัด ที่พยายามอธิบายบอกฉันจนฉันต้องอนุญาต ไม่ต้องสอบกรรมฐาน ไม่ต้องภาวนาต่อ เพราะทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวท่านทั้งหลาย ด้วยนะจ๊

เจริญธรรม / เจริญพร


หัวข้อ: โลก คือ สังขาร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 29, 2016, 11:45:51 am
(http://f.ptcdn.info/340/017/000/1396286861-skyview1-o.jpg)

"ที่จำเป็นต้องสอนก็สอนแล้ว ที่เหลืออยู่ที่ท่านทั้งหลาย จะปฏิบัติตามที่สอนหรือไม่ แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น ปัญหาจริง ๆ คือ พวกท่านที่เรียนกันไป ยังไม่ตัดสินใจจริง ๆ ที่จะละ ร้างลาจาก สังสารวัฏต่างหาก ยังชอบเผชิญ ผจญกับ โลก แล้ว ก็จะกลับมาบอกว่าฉันว่า โลก ให้ทุกข์กับพวกท่าน อย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งฟังจนชินชาแล้ว
พระพุทธเจ้าผู้ชนะมาร ตรัสไว้ว่า
เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ
" ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่."
หากท่านทั้งหลาย อยากเห็นโลก ให้ชัดเจน ก็ต้องยืนบนที่สูง ฉันใด หากท่านต้องการเห็นกิเลสที่ปรุงแต่ง ก็ต้องทำให้ใจให้สูง ให้นิ่ง ฉันนั้น......."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: หาต้นตอให้เจอ แล้ว ชำระต้นตอให้ถูก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2016, 01:55:47 pm
(http://www.madchima.org/img2559/pasit-02.jpg)

"สังขาร ไม่เที่ยงหนอ คำนี้ฉันใช้สวดประจำ แต่ความเป็นจริง เวลาภาวนากับไปนึกถึงแต่ กายสังขาร ว่่ามันแก่ชรา คร่ำคร่า แต่แท้ที่จริงแล้ว สังขารในที่นี้ คือ จิตตสังขาร การปรุงแต่งทางจิตต่างหากที่ควรจะต้องระวัง และต้องรู้ทัน และดับให้ทัน กายสังขาร เป็นไปตามกฏธรรมชาติ คือ แก่ เจ็บ และ ตาย ไม่มีใครหนีพ้น หนี้ไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์เอง ก็หนีไม่ได้ วจีสังขาร อันนี้ นักภาวนาส่วนใหญ่ จะหยุดเองอยู่แล้ว ด้วยการปิดวาจา ส่วนตัวที่เป็น ข้าศึกแท้จริง คือ มโนสังขาร และ มโนสังขาร ที่เราจำเป็นต้องฝึกฝนพระกรรมฐาน เพื่อต่อกร กับเขา นี่แหละท่านทั้งหลาย ถ้าท่านไม่รู้ว่าฝึกภาวนาไปเพื่ออะไร ก็ควรจะต้องลำดับ ให้ถูกปัญหา จริง ๆ มันจะได้หมด สังสารวัฏจะได้สิ้น แต่เป็นพวกเรามัวแต่ไปแก้คนละสังขาร จึงทำให้การภาวนาไม่ก้าวหน้า....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดืนทาง และการภาวนาของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ความไม่ประมาทเป็นทาง แห่งความไม่ตาย ( หมายถึงอะไร เพราะผู้ไม่ประมาทก็ต้องตาย)
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2016, 08:57:19 pm
(http://www.madchima.net/images2559/korn-01.jpg)

"เมื่อก่อนฉันก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไม ถ้าเราจะถึงแก่น ของศาสนา แล้วทำไมต้องบวช ครั้นพอได้ศึกษา จากลูกศิษย์ ทั้งที่อยู่ใกล้ และ อยู่ไกล ทั้งใกล้ชิดสนิทกัน ทั้งห่างเหินไม่สนิทกัน จึงได้ทราบความเป็นจริงว่าทำ พวกเขาเหล่านั้นจึงไม่มีความก้าวหน้า ในระดับที่เราพึงพอใจ นั่นก้เพราะเหตุว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้น มัวแต่ยุ่งในเรื่องการประกอบอาชีพ เพราะการประกอบอาชีพ มันมีความหมายหลายอย่าง ไม่ว่า จะความเป็นอยู่ ชื่อเสียง คนรัก ลูกหลาน ญาติ มิตร ความสะดวก เจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งหลายทั้งปวง ของชาวโลก ล้วนมีตัวแปรสำคัญ อยู่ที่การประกอบอาชีพ เขาทั้งหลายเหล่านั้น จึงใช้เวลา และสูญเสียเวลา ไปกับเรื่องการประกอบอาชีพ จนไม่ยอม หรือ จะรอ เพื่อที่จะภาวนา โดยที่ไม่ยอมไปถึง แก่นธรรม คือการพ้นจากสังสารวัฏ อย่างที่ฉันพยายาม มอบธรรม ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น กลไกของโลก ที่มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพ นั่นเอง ที่เป็นอุปสรรคใหญ่ หลายท่าน จึงเพียงแต่ รอ และ รอ และ ก็ รอ ในขณะที่ฉัน ไม่มีเวลา จะรอ ใครอีกต่อไปแล้ว
ดังนั้นสาระธรรมที่ท่านพยายามปรึกษา กับฉันทุกวันนนี้ไม่ใช่เรื่องการภาวนา ที่ถึงแก่น กันเลย มีแต่ปรึกษาว่า จะทำงานรอดไหม จะหาเงินได้คล่องไหม จะดำรงค์ชีวิตแบบฟู่ฟ่า กับเขาบ้างได้ไหม ถึงตอนนี้ฉันจึงบางอ้อว่า คนที่จะไปถึงแก่น ในขณะที่ ครูถึงแก่นแล้ว มันน้อยเหลือเกิน
ปัจจุบันยังไม่มีทั้งพระ และฆราวาส ท่านใดที่จะมาศึกษา หาแก่นธรรมจากฉัน มีแต่ปรึกษาปัญหา ชีวิต ในขณะที่ชีวิตฉัน ก็กำลังจะหมดไป
สิ่งที่คงทำไว้ดได้ในตอนนี้ก็เพียง ตำรา ข้อความ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ กับท่านใด ท่านหนึ่ง หลังจากที่ฉันได้ไปแล้ว
สำคัญหรือไม่ ที่จะมีใคร เข้าใจ ถ้าสำหรับพระอริยะแล้ว ไม่มีความสำคัญ แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดืนทาง ของธัมมะวังโส


    รักษาศีล เพื่ออะไร ?
        ภาวนา สมาธิ เพื่ออะไร ?
            วิปัสสนา เพื่ออะไร ?

   แล้วอะไร ควรทำก่อน ทำหลัง ?
   หรือว่า ควรทำพร้อมกัน ?

   ใคร่ครวญให้ดี ก็จะเห็นธรรม ..... ว่าที่กำลัง ทำอยู่ นั้น ทำไปเพื่ออะไร ?

    ;)

    สำหรับบันทึกนี้เกิดตอนที่ฉัน ระลึก ถึงลำดับ พระกรรมฐาน และ ต้องการเฟ้นธรรม ที่สมควรในพรรษา ก่อนที่จะได้ตัดสินใจเลือก เนสัชชิกธุดงค์ ซึ่ง แม้สังขาร มันจะแย่ ลง แต่ สภาวะธรรมที่เกิด ขึ้นนั้น มีค่าอนันต์


   
       



หัวข้อ: "อัชชดากาศ ,อัดชะดากาด,อัชชฏากาศ,อัชชดากาษ คือ อะไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2016, 09:26:41 pm
(http://www.madchima.net/images2559/korn-02.jpg)

"อัชชดากาศ ,อัดชะดากาด,อัชชฏากาศ,อัชชดากาษ คือ อะไร ?
เป็นคำถามที่ดี คำนี้มีปรากฏอยู่ อรรถกถา ของพระอภิธรรม เป็นส่วนใหญ่
อชฺชตากาส สนธิศัพท์ มาจากคำว่า อชฺช + อากาส ส่วนการยกศัพท์ นั้นไม่สันถัด เท่าใด เอาตรงความหมายก็แล้วกัน
อชฺชตากาส แปลง่าย คือ อากาสรอยต่อ หรือ ในอรรถกถา กล่าวว่า ช่องว่างที่มีระหว่าง จักรวาล กับ จักรวาล นั้นเรียกว่า อัชชตากาส แต่คำแปลที่ครูท่านเน้นไว้ ก็คือ อากาสที่พิเศษ โดยปกติในภาวะกรรมฐาน ผรณา จะอาศัย อากาศ และ ฌาน จิต จะอาศัยธาตุอากาส เป็นหลัก
ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น คำว่า อชฺชตากาส นั้นถูกนำมาใช้ เป็น ฐานจิต สองส่วน ในพระอานาปานสติ และ โพชฌงค์
อัชชดากาศ เบื้องสูง กับ อัชชดากาศ เบื้องต่ำ
อชูชตํ ( เดี่ยวนี้ วันนี้ ระหว่าง ภาวะที่เป็น ) + อากาส ( อากาศ )
อัชชดากาศ เบื้องสูง เข้าใจง่ายหน่อย คือ กระหม่อมจอมเพดาน ครูอาจารย์ใช้คำนี้ แต่ เอาง่ายบนศรีษะนั่นแหละ เข้าใจง่ายที่สุด
อันความหมาย พระอาจารย์เฒ่า ท่านได้อธิบายไว้ ว่า ช่องหว่างที่สัมผัส กับตน และ จักรวาล เป็นส่วนที่ควรกำหนด อานาปานสติ มีที่ตน แต่กำเนิดจากจักรวาล มีเพียงอากาส ที่ห่อหุ้มกายตน คือ อานะ และ ปานะ....
มองเห็นหรือยัง อธิบายอย่างนี้.....
"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดืนทาง ของธัมมะวังโส


ตามคำขอ นะสำหรับคนที่ถาม มา พอดีบันทึกไว้บ้างแต่ไม่ได้ไว้มาก เพราะสภาวะ ฐานจิต อาศัย นิมิตร นั้น นิมิตรต้องมีที่อยู่แม้พื้นที่จะแนบ แต่ อัชชดากาดเบื้องบน เป็นที่ลง และ ที่ออกของชีวิต

คนเกิดมาใหม่ ตรงนี้จะยังไม่ปิด ตาจะลืมมองไม่ได้ จนกว่าชีวิตจะลง
แม้ตอนตาย ก็เป็นทางออกของ ชีิวิต ด้วย

ความสำคัญของ อัชชดากาศ มีความสำคัญเกี่ยวกับการถอดกายทิพย์ด้วย แต่คงไม่กล่าวในที่นี้


หัวข้อ: ทานที่ท่านทำแล้ว กับ ฉัน ไม่ใช่ไม่มีผล อยู่ที่ จิตของท่านตอนที่ทำกำหนดอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2016, 10:05:14 pm
(http://www.madchima.net/images2559/korn-03.jpg)

"การประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยที่ทำให้ทุกคน เสียเวลา ดังนั้นนักบวช จึงไม่ควรเสียเวลา กับการประกอบอาชีพ พระพุทธเจ้า จึงให้มีอาชีพเป็นผู้ขอ ฟังอ่านดูเหมือนเอาเปรียบ คนอื่น ๆ อยู่ แต่เป็นเพราะว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ต้องการให้ตัดปลิโพธ (ความกังวล) ด้วยเรื่องการประกอบอาชีพ ในกับผู้บวช ดังนั้นผู้บวชจึงดำรงค์ชีพอยู่ด้วยการขอ และภาวนาให้สมกับผู้ที่เสียสละ สิ่งต่าง ๆ มาเพื่อให้นักบวชมีเวลาในกาภาวนา เพื่อถึงธรรมอันประเสริฐ ซึ่งจะเป็นนาบุญให้แก่ผู้ที่สนับสนุน คือผู้ที่ยังต้องประกอบอาชีพอยู่ นั่นเอง
น่าเสียดาย ถ้าพระสงฆ์ พระคุณเจ้า ที่บวชมาแล้ว และใช้ชีวิตบิณฑบาต อันสำเร็จแล้วจากผู้ประกอบอาชีพ อยู่ด้วยความประมาท จึงไม่เป็นการสมควร เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพย่อมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการประกอบอาชีพ เพื่อเสียสละให้นักบวชได้มีเวลาภาวนา
ดังนั้นนักบวชไม่ควร ให้การเสียสละของตนเองและของผู้ประกอบอาชีพเสียสละบำรุงนักบวช อย่างสูญเปล่า ควรจะใช้ชีวิตอย่างสมณะ หรือบรรพชิตให้สมบูรณ์
"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: กุศลกรรมบถ 10 ทำให้ถึง จรณ 15
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2016, 04:17:35 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-03.jpg)

"ถ้ากุศลกรรมบถเจริญ ขึ้นในใจของท่าน อย่างสมบูรณ์ แล้ว องค์แห่งสมาธิ แม้ไม่ได้ฝึกฝน ก็เกิดขึ้นเองได้ เพราะกุศลกรรมบถ เป็นคุณธรรมของผู้มีจิตเป็นอุปจาระวิถีจิตขึ้นไป ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ที่ผู้สำเร็จ อุปจาระฌาน หรือ อัปปนาฌาน จึงสร้างอกุศล อันขัดต่ออกุศลกรรมบถ ทั้ง 10 ประการ ในทางกลับกัน ผู้ที่กล่าวอ้างว่า ตนมี อุปจาระฌาน มี อัปปนาฌาน แต่ กุศลกรรมบถทั้ง 10 พร่องลง หรือไม่มี นั่นหมายถึงเขาไม่มีทางถึง สิ่งที่กล่าวอ้างนั้นได้
กุศลกรรมบถทั้ง 10 มีอะไรบ้าง มีดังนี้
กุศลกรรมบถ 10 แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้
1. กายกรรม 3 ประการ
1. ไม่ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น
2. ไม่ลักขโมย หรือยึดเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
2. วจีกรรม 4 ประการ
4. ไม่พูดเท็จ
5. ไม่พูดส่อเสียด
6. ไม่พูดคำหยาบคาย
7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
3. มโนกรรม 3 ประการ
8. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น
9. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
10. เห็นชอบตามคลองธรรม
ส่วนท่านใดที่มีกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีจิตเป็นอัปปนา ย่อม ถึง จรณะ 15 ประการ
จรณะ หมายถึง ความประพฤติอันงดงาม มี 15 ประการ ได้แก่
1.ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
2.อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
3.โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค
4.ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ
5.ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น ต่อพระรัตนตรัย
6.สติ คือ ความระลึกได้ ในกองกรรมฐาน
7.หิริ คือ ความละอายทีจะทำอกุศล
8.โอตตัปปะคือ ความเกรงกลัวต่อการทำอกุศล
9.พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ศึกษาในสัจจธรรม ( พหูสูต )
10.อุปักกะโม คือ เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ในการเว้นจากบาป
11.ปัญญา ญาณรู้แจ้งเห็นจริงในองค์แห่ง มรรค และ ผล
12.ปฐมฌาน
13.ทุติยฌาน
14.ตติยฌาน
15.จตุตถฌาน
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กุศล กรรมบถ 10 เป็นสภาวะที่ทำให้เกิด จรณะ 15 ประการ
ดังนั้นผู้ ตั้งมั่นในการเจริญพระกรรมฐาน ไม่พึงขาด จาก กุศลทั้ง 10 ....
"
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: เป็นผู้ปฏิบัติ ไม่ว่า พระ หรือ โยม ควรต้องพิจารณาการใช้ปัจจัย สี่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 09, 2016, 07:43:44 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-04.jpg)

"ปัจจัย 4 เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับ พระสงฆ์ ที่เป็นผู้ภาวนา พระพุทธเจ้ามีพระดำรัสให้ หมั่นพิจารณา ทั้งก่อนใช้ และ หลังใช้ โดยปกติ พระคุณเจ้าก็ต้องสวดพิจารณาทุกวันไม่ให้ขาด บทนี้ถ้าเป็นพระก็จะรู้ดีว่า คือบทอะไร นั้นก็คือ บท ปฏิสังขาโย พิจารณาก่อนใช้ อัชชะมะยา พิจารณาหลังใช้ เพื่อไม่ให้จิตเป็นทุกข์ ถูกครอบงำด้วยตัณหา หากพระคุณเจ้า รูปใดได้ปฏิบัติเจริญทั้งสวด ทั้งพิจารณา ก็จะเห็นความเป็นจริงของปัจจัย 4 ไม่ได้เป็นไปเพื่อการสนองตัณหา ตัวอย่าง ถ้าไม่มีการพิจารณา เวลาเวลาที่ไม่ได้กิน หลายคนอาจจะหงุดหงิด และมีอารมณืขึ้นมาได้ แต่สำหรับพระที่มีการพิจารณา ก็จะดับกิเลสส่วนนี้ไป อย่างง่ายดาย อารมณ์ที่เรียกว่า โมโหหิว สนองความอยาก ก็จะไม่มี หลายครั้งที่ฉันเอง ต้องพบกับ ชิฆัจฉา ( ความหิว ) แต่อารมณ์มันสงบ บางครั้งไม่ได้ฉันอะไร เลย สองสามวัน ฉันแต่ นมกับ น้ำ อารมณ์มันคลายไม่โมโหหิว นะ เพราะบทพิจารณาธรรม เป็นบทดักกิเลส อย่างดี ปัจจัย 4 ที่ได้รับมานั้น จึงถูกใช้อย่างพิจารณา มีคุณค่า ...."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: ฉันชอบอยู่กับผู้เจริญด้วยการภาวนา และ พระอริยะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 10, 2016, 08:50:17 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-05.jpg)

"เคยมีคนถามว่า พระอาจารย์ ชอบอยู่ที่ไหนมาก ? ฉันไม่เคยตอบคำถามนี้ แต่่คำถามนี้ ก็รู้สึกจะถูกถามบ่อย ก็คืดว่า ตอบสักครั้งหนึ่งในสมุดบันทึกตัวเอง ตอบให้ตัวเองฟัง ก็ดีเหมือนกัน ถ้าถามแบบนี้คำตอบก็คือ ชอบอยู่ในสถานที่ ๆ มี บุคคลที่มีธรรมเสมอกัน หรือ สูงกว่า นั่นหมายถึง ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติภาวนาอยู่ ก็ขอให้ มีแต่ผู้ปฏิบัติภาวนา เหมือน ๆ กัน ถ้ามิฉะนั้น ก็ขอให้มีพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไป สถานที่อย่างนี้ ฉันชอบอยู่ เพราะอยู่กับท่านเหล่านี้ ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความเจริญงอกงามไพบูลย์ มากยิึ่งขึ้น แต่ถ้าอยู่กับผู้มีธรรมที่ต่ำกว่า เลวกว่า ย่อมลำบากแก่เราเพราะ บุคคลที่ต่ำช้า ย่อมไหลลง สู่ ภวังค์แห่งกิเลส ด้วยราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง วันหนึ่งคืนหนึ่ง ต้องเสียเวลาไปกับการให้อภัย กับคนเหล่านี้ เป็นเวลามาก บางครั้งก็ถูกราวี จากความต่ำทราม ของคนที่เลวกว่า ถึงไม่มี มานะ ว่าเราดีกว่า แต่ความเดือดร้อนย่อม มีเพราะคนทุศีลเหล่านี้ ดังนั้นฉันอยู่ไม่ได้ กับพวกทุศีล เพราะพวกทุศีล ย่อมคอยประทุษร้ายฉัน ทั้งความคิด เริ่มต้น ด้วยวาจาเป็นท่ามกลาง และด้วย กายกรรม เป็นที่สุด หนักเบาเริ่มอย่างนี้ แต่ส่วนมากฉันจะไม่ค่อยอยู่ด้วย แค่ระดับกลาง ฉันก็หนีแล้ว จากพวกทุศีล วันหนึ่ง ของฉันไม่อยากมาเสียเวลา ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง สังสารวัฏ การกลับมาเกิด มันยังอ้าแขนรับอยู่ มั่วแต่เสียเวลา ระวังโลกธรรมอย่างนี้ สู้ออกวิเวก ปฏิบัตภาวนาตรงจะดีกว่า อดอยากปากแห้งบ้าง ดีกว่า เสียเวลาเรื่องสังคมของพวก ทุุศีล อย่าไปพูดเรื่องปรมัตถ์เลย แค่ ศีลธรรม ก็ไม่ผ่านแล้ว
นั่นคือคำตอบว่า ฉันชอบอยู่กับผู้เจริญด้วยการภาวนา และ พระอริยะ นั่นเอง....."


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ถ้าภาวนาอะไร ไม่ได้ ก็ กลับ ปรารภธรรม ( ปัจจุบัน เวไนยยะ ใช้แบบนี้กัน )
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2016, 09:48:43 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-06.jpg)

"ฉันไม่ได้หาทาง ดับทุกข์อันเกิดจากโลกธรรม แต่ที่หาอยู่ทุกวันนี้ คือความน่าจะเป็นไปได้ในการเผยแผ่ พระกรรมฐาน ไม่ให้ติด ไม่ให้ขัด หลายคนเข้าใจผิดว่า ฉันหนีความทุกข์ไปที่ต่าง ๆ ฉันไม่มีความจำเป็นต้องมีหนีความทุกข์ไปในที่ต่าง ๆ เพราะฉันรู้ดีว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกี่ยวกับสถานที่ หรือบุคคล แต่มันเกิดที่ใจ ที่มีเหตุปัจจัยจากตัณหาต่างหาก ดังนั้นต่อให้ฉันหนีไปที่ไหน ๆ มันก็ไม่พ้นจากทุกข์ เพราะทุกข์ที่เกิดที่ใจ ต้องดับที่ใจเท่านั้น ที่ฉันทำทุกวันนี้ คือความเป็นไปได้ ในการเผยแผ่พระกรรมฐาน ไม่ให้ติดข้อแม้มากมายต่างหาก ลำพังแค่ประเพณีการขึ้นกรรมฐาน ก็เป็นอุปสรรคใหญ่ ขาดผู้ปฏิบัติจริงจัง นี่ก็เป็นอุปสรรคอยู่เช่นกัน ดังนั้นบางครั้งการหลีกเลี่ยงเพื่อให้การเผยแผ่ธรรมเป็นไปอย่างสะดวก ก็ต้องมีการเสียสละ และผู้เสียสละ ก็ไม่ต่างอะไรจากทหารที่ไปปกปักษ์รักษาดินแดน สิ้นชีพเพื่อชาติ ไม่ต่างกันเท่าใดนัก เพียงแต่ฉันทำหน้าที่นักรบของศาสนา คือ รบกับกิเลส ของคนที่พร้อมจะไปสู่ ประตูอมตะเท่านั้น ถ้ามากกว่านั้นก็ไม่ไหวเหมือนกัน ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: บันทึกหนัก เรื่อง พระเณร ก็มี แต่คงให้อ่านมากไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2016, 10:41:20 am
"ไปเยี่ยมพระเณร อบรมบาลี พระเณรอยู่ในวัดร่วม สามร้อยรูป เวลานั่งฉันภัตรมาโดยพร้อมเพรียง เวลาเรียนก็ไปกันอย่างคับคั่ง แต่ถึงเวลาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มี พระเณรเข้าเฝ้าเพียง 4 - 6 รูป ตกลงว่าทุกวันนี้เราให้ความรู้ หรือ ให้คุณธรรม เราให้ความรู้อะไร กับศาสนทายาท ให้ ตัวตน หัวโขน ยศศักดิ์ แล้วหลงลืมตัว กันไปเลยใช่ไหม ....."

ตัวอย่างเขียนหนัก ๆ ในบันทึก นะ เอามาให้ชมสักนิด อย่าคิดว่าฉันว่าไม่ได้มองพระเณร ดี หรือ ไม่ดี หรือ ไม่แยกแยะ เพียงแต่อาจจะไม่พูด เพราะไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ กับ พระเณรเหล่านั้น

 ใครมีบุญวาสนาร่วมกัน ก็ตักเตือน ชี้ทางให้ เท่านั้น ฉันเองก็ไม่ได้มีความสามารถจะเปลี่ยนแปลงสังคมตอนนี้ได้ ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อคนที่มีวาสนา เป็น ศิษย์ ครู กันมาก่อน ตามคำอธิษฐาน เท่านั้นใครจะไป สู่ประตู อมตะ รีบมา สังขารฉันเองก็ใกล้แล้ว ....

  บ่มเพาะลูกศิษย์บางครั้งใช้เวลามากทีเดียว บางท่านทดสอบกัน สอนกัน 10 กว่าปี ที่น้อย ๆ ไม่มีดอกนะจ๊ะ ยิ่งเกิดใหม่ กิเลสอนุสัย ก็พอกพูนทางลบมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นยิ่งนานวัน พระอริยะ ก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ยุคนี้เป็น ยุค ของพระอนาคามี และ พระสกทาคามี ที่ยังมีจำนวนมาก

   ;)


หัวข้อ: ลำดับ องค์แห่งมรรค ดู ที่คุณแห่ง จะเข้าใจ 4 ภาค
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2016, 09:24:05 am
(http://www.madchima.net/images2559/kunamak.jpg)

"อริยมรรค มีองค์ 8 แม้กล่าวว่า มี 8 แต่ก็มีคุณสมบัติ สำหรับการภาวนา หากจะพิจารณาให้ดีแล้ว บางท่านบอกว่า ภาวนาไม่ได้ ทำไม่ได้ นั่นเพราะว่า ข้ามลำดับของมรรค ใช่หรือไม่ องค์ ภาวนา ในอริยะมรรค อยู่ภาค ที่ 4 นั่นแหละคือสาเหตุที่หลายคน ภาวนาไม่สำเร็จ เพราะข้ามขั้นตอนที่ควรกระทำ ที่แสดงอย่างนี้ก็เพื่อให้รู้ตัวเองว่า บกพร่อง อะไร ก็ไปเติมส่วนนั้นให้เต็ม เพราะอริยะมรรคนั้น ไม่สามารถขาดองค์ใด องค์หนึ่งได้ นั่นแหละ คือสาเหตุที่ท่านภาวนากันไม่ได้ ...."
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: เรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งแรก พ.ศ.2526
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2016, 09:05:33 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-07.jpg)

"ฉันเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2526 เรียนตอนเป็นสามเณร แต่ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าคือกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ในตอนนั้น อายุ 15 ปีบวชสามเณร ที่ วัดสารภี อ.บ้านหมอ โดยความอุปถัมภ์ ของหลวงพ่อจรัญ สุญญกาโม ศิษย์สายหลวงพ่อพุทธทาส ท่านมาดูแล สำนักสงฆ์ อิทัปปัจจยตาราม ตอนนั้นฉันไปเที่ยวฟังธรรมะ กับพวกคุณป้าใหญ่ คุณป้าเล็ก คุณป้ากลาง ไปแล้วชอบการสวดมนต์แปล ฟังแล้วไพเราะดี แล้วมีความรู้สึกชอบสวนป่า สวนพฤษศาสตร์พุแค ก็เลยขอท่านบวชเป็นสามเณรเพราะเรียนจบ ป6 แล้วไม่ได้เรียนต่อ เนื่องด้วยพ่อแม่ แยกทางกันปัญหาชีวิตครอบครัว 2526 บวชมาแล้ว 3 ปี นะไม่ใช่บวชตอน 2526 ในเดือน มีนาคม ปีนั้นก่อน สงกรานต์ มีพระธุดงค์ แก่มากห่มจีวรสีคล้ำออกน้ำตาลแบกกลดเดินเท้าเปล่า มาเพื่อไปยังเส้นทางเพชรบูรณ์ ฉันเป็นสามเณร กำลังนั่งเล่นอยู่ และกวาดใบไม้หน้า กุฏิ ท่านเดินเข้ามา แล้วพูดว่า ลูกเณร ขอน้ำดื่มให้หลวงตาได้ไหม กระหายน้ำจัง อากาศร้อน ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะว่าเจอพระแปลก ๆ บ่อย ที่สวนอิทัป สาขาสวนโมก ก็อย่างนี้ ตอนนั้นก็นิมนต์ท่านนั่ง รอหน้ากุฏิ แล้วไปหาน้ำดื่ม และเอากานั้ำท่านไปเติมน้ำ ท่านไม่ใช้ขวดใช้กาน้ำ เป็นปั้นดินอีกต่างหาก พอนำน้ำมาถวายท่าน รู้สึกถูกชะตากับท่านเหมือนกัน ดูแล้วเหมือนท่านใจดีมาก ผมหงอกสีขาวทั้งหัว ดูอายุประมาณ 80 ปีน่าจะได้ ตอนนั้นไม่ได้เรียกท่านว่า หลวงตาหรอก เรียกว่าท่านหลวงปู่ เพราะนึกถึง ก๋ง ( ปู่ ) ......."
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต

อยากอ่านตอนต่อไป หรือ ไม่ ติดตามนะ

นี่เป็นครั้งแรก ในชีวิต ที่ฉันได้เรียนก กรรมฐาน สายนี้ แต่ตอนนั้น ไม่ค่อยสนใจ เพราะความเป็นศิษย์ สายสวนโมก มันจะหลีกเลี่ยงการทำสมาธิ ตอนนั้น ฉันก็ฝึกตามครูที่สำนักสงฆ์ คือ อานาปานสติ ตามหนังสือปกดำ ชุดธรรมโฆษณ์ นั่นแหละ

ก่อนที่หลวงจรัล สุญญกาโม จะส่งฉันไป เรียน วิชาต่อจาก อาจารย์ ถวิล สุญญธาตุ อาจารญ์ วิรัช รวิวังโส ที่จังหวัดลำปาง

พอไปอยู่ลำปาง ก็อยู่ประจำที่ศาลาพระพุทธพิธยาจารย์ ใน วค.ลำปาง ใช้ชีวิตเดินทาง จังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง พะเยาว์ แค่ 3 จังหวัดนี้ ไปกันบ่อย ก่อนที่จะร่วมเดินทางสาย ธรรมโฆษณ์สัญจร และลงไปอยู่ภาคใต้

พ.ศ. 2546 อายุ 35 ปีจึงได้พบท่านอีกครั้ง ก็มีเหตุการณ์อีก เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง เพื่อให้หลายท่านโปรดอย่าเข้าใจผิด ว่าฉันไปขึ้นกรรมฐาน เพราะว่า ใครมาแนะนำฉัน ๆ ไม่รู้จักวัดราชสิทธารามมาก่อน สมัยที่ฉันไป เว็บยังไม่มีเลย มือถือ สมัยนั้น 3310 กำลัง ฮฺิต


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทีึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


วิชาที่ท่านสอนในวันนั้น คือ วิชา ย่นฟ้าย่อพสุธา ใช้สำหรับเดินทางไกล ตอนนั้นก็เรียนไปอยางนั้นแหละ ไม่ค่อยเชือ่ กว่าจะทำได้ผ่านไปสามเดือน จึงทำได้


หัวข้อ: เข้า อัปปนาสมาธิ ได้ตั้งแต่ อายุ 14 ปี ก่อนไปอยู่ อิทัปปัจจยตา แต่เป็นการบังเอิญ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2016, 09:07:59 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-08.jpg)

"เข้าสมาธิครั้งแรกในชีวิต อายุ 14 ปี
ขณะเป็นสามเณร ตอนนั้นไปอยู่ที่วัดดาวเสด็จ พ.ศ.2523 โดยท่านโยมพ่อท่านนำไปฝากเรียนวิชา กับ พระอาจารย์รำลึก วัดดาวเสด็จ แต่ไปอยู่แล้วด้วยความเป็นเด็ก ก็เลยดื้อ ๆ อยู่บ้างแต่ พระอาจารย์รำลึก ท่านก็เมตตา สอนหลายอย่าง เคยพาฉันไปเที่ยว ชัยภูมิ กทม. ท่านชอบสอนการฉายหนัง 16 มม. ในสมัยนั้นคนนิยมกัน วีดีโอยังไม่มี มีอยู่วันหนึ่ง ฉันอาหารเพล แต่วันนั้นไม่ได้ปิดฝาไว้ในตอนเช้า แมลงวันตอมกันเยอะ ถึงเวลาฉัน ก็นำมาฉันโดยไม่ได้คิดว่า จะมีโทษ ไม่ค่อยฉลาดนะ ลูกศิษย์วัดเก็บอาหารไปซ่อนไว้ แกล้งเณร เหลือแกงมะรุม ที่แมลงวันตอมนั่นแหละ ปิ่นโตเดียว ก็ฉันกับข้าวตามปกติ ผ่านไปประมาณ บ่าย 2 เริ่มอาเจียร์ ท้องเสีย และหมดสติ สลบไปข้างตุ่มใหญ่ ตรงข้างพระอาจารย์รำลึก ท่านเดินมาเจอเณร นอนหมดสติ ก็เรียกโยมโชติ มัคนายกวัด ให้เอามอร์เตอร์ไซด์ พาไปส่งโรงพยาบาล หมอรับไว้นอนตึกสงฆ์ ( สมัยนั้นเรียกว่า ตึกจิตเวช เพราะตึกสงฆ์ไม่มี ) ตอนได้สติตื่นขึ้นมาก็นอนบนเตียง มีสายยาง ต่อยู่ที่แขน ตอนตื่นมานั้นมันมืด แสงไฟสลัว ๆ พอมองเห็นขวดน้ำเกลือ พยายามจะดึงออก มันปวดแขน นี่เป็นการให้น้ำเกลือ ขวดแรกในชีวิต......"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


การได้สมาธิ ครานั้นเป็น เรื่องบังเอิญ อย่างมาก ซึ่งส่วนตัวก็ไม่ทราบว่าเป็น สมาธิ หรอก

หลังจากที่ได้ตื่นขึ้นมา พร้อมสายน้ำเกลือที่โยงที่แขน ความที่ไม่เคยถูกใส่สายน้ำเกลือมาก่อน มันก็รำคาญ อยากจะถอดออก แต่ประมาณ 4 ทุ่มพยาบาล (ผู้ชาย น่าจะเป็นผช.พยาบาล ) เข้ามาตรวจสอยน้ำเกลือ เขาปรับ ๆ ไปมา คือ เร่ง ช้า เร็ว ดู แล้วถามว่าปวดหรือป่าว ก็ตอบว่าไม่ปวดเขาก็ปรับให้ช้าลงหน่อยหนึ่ง ฉันก็ถามว่า จะเอาออกเมื่อไหร่ เขาตอบว่า หมอสั่งให้ใส่ไว้ 3 ขวด ก็ถามว่า ขวด 1 ใช้เวลานานไม่ครับ ผช.พยาบาล ตอบว่าประมาณ 20 - 24 ชม. ต่อขวด แล้วเขาก็ปล่อย ตอนนั้นใจรู้สึกว่า อยากเอาออก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ก็เลยจ้องมองที่หยดน้ำเกลือ จ้องมองอยู่อย่างนั้น ( มีเหตุการณ์ เกิดขึ้น นะ แต่ไม่เล่าตรงนี้ ) การจ้องมองอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวจริง ๆ อีกครั้งก็ตอน ไม่มีสายน้ำเกลือแล้ว รู้แต่ว่านอนจ้องขวดน้ำเกลือ ทั้งขวดเก่า ขวดใหม่ ทั้งสิ้น 4 ขวดเป็น เวลา 4 คืน 3 วัน เขาจึงให้ออกจาก รพ. กลับ วัดได้

( นี่ขอเล่าสั้น ๆ ไว้เท่านี้ )



มีเหตุการณื ในชีวิต มากมาย ทีเ่กิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่ จะลืม แต่เถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสมาธิแล้ว จะไม่ลืมเลย และยังจำได้ดี ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี จนกระทั่งอายุปัจจุบัน เหตุการณ์ เหล่านั้นก็ยังนึกขึ้นได้ เสมอ ๆ ทั้งที่เหตุการณ์ พยายามจะนึก กลับนึกไม่่ออก ลืมไปซะนี่


หัวข้อ: วันแห่ง สุข ใกล้จะหมดแล้ว ความแปรปรวนแห่ง สุข กำลังจะมาถึง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2016, 09:18:50 am
"ตอนนี้ เป็นเวลาที่สุข ของชาวโลก กำลังสู่ความอิ่มตัว และอีกสักพักก็จะคลายเป็น ขาลง ดังนั้นท่านทั้งหลายที่ กำลังมีความสุข กัน ก็รักษาความสุข แะจดจำความสุข นั้น ๆ ไว้ เมื่อวันแห่งทุกข์ เข้ามาท่านทั้งหลาย ก็จะรู้คุณค่าของความสุข ที่หายไปอย่างแจ้งใจ หากยังดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด การจะได้รับความสุข อย่างปัจจุบันนี้ ในอนาคตเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ท่านทั้งหลายที่มีเวลา ก็ควรพิจารณาการไม่เกิด เสีย จะดีกว่า"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/ayuthaya01.jpeg)


หัวข้อ: ภาวนา ที่มีน้อย เมื่อ ถูกกระทบ ก็ย่อมกระเทือน มาก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2016, 09:26:54 am
"เมื่อผู้เริ่มฝึกภาวนา ใหม่ ๆ นั้น ส่ิงที่กระทบ เมื่อกระทบแล้ว ก็ย่อมมีการกระเทือนมาก เพราะว่า ใจที่ไม่เคยถูกฝึกฝนควบคุมมาก่อน มาเริ่มภาวนาใหม่ ก็จะเริ่มตีกรอบ แคบ ๆ เพื่อจำกัดวง ในการพิจารณา ดังนั้นพอมีอะไรกระทบกับใจ ก็รุ้สึก หดหู่ เศร้าสร้อย รับไม่ได้ ยากลำบาก เพราะความแปรปรวน แต่เมื่อฝึกบ่อยเข้า บ่อยเข้า ใจก็จะวางลง ดังนั้น ผู้ฝึกภาวนา ในเบื้องต้น จึงควรต้องอาศัย ธรรมบารมี ขันติ และ ความเพียร ไว้อย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้ปริมาณของใจที่ฝึกดีแล้ว มันกว้างขึ้น ที่เรียกว่า ใจกว้าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติ เบื้องต้นของผู้ฝึกภาวนา ขั้นกลาง เปรียบเสมิือน น้ำในมหาสมุทร ที่กระเพื่อมอยู่ แต่ก็สะอาดเพราะการกระเพื่อม ส่วนผู้ที่ฝึกฝนใหม่ ๆ นั้น เหมือนน้ำในหม้อ เมื่อถูกกระทบ ก็กระเพื่อมทันที นั่นเอง

    บัณฑิต ผู้หวังคุณธรรมเบื้องสูง จึงควรต้องฝึกฝน จิต ของตนเอง อย่างสม่ำเสมอ ..."



 ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/water-01.jpg)


หัวข้อ: กรรมฐาน ไม่ใช่ แต่ โบราณ แต่ มีมาตั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:22:33 pm
(http://www.madchima.net/images2559/kampee.jpg)

( พระวีระ สุขมีทรัพย์ ฐานวีโร

คัมภีร์สมุดไทดำต้นฉบับบันทึกพระกัมมัฏฐานโบราณ วัดป่าแก้ว อยุธยา อายุ ๔๐๐ ปี ของพระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า เจ้าอาวาส องค์ที่สี่ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ของวัดป่าแก้ว ตกทอดมาถึง สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม
ข้อความจากเฟค พระครูสิทธิสังวร
)

กรรมฐาน ไม่ใช่ แต่ โบราณ แต่ มีมาตั้งแต่ สมัยพระพุทธเจ้า มีพระสชมม์อยู่
บางทีไปเน้นบอกกล่าว ว่า กรรมฐาน โบราณ แต่ ความเป็นจริง กรรมฐาน ไม่โบราณ ใช้คำว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นถูกต้องอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนตาม เพื่อให้เข้ากับยุค สมัย เหมือน หลาย ๆ คนที่พยายามชอบเปลี่ยนชื่อ หนังสือ พระไตรปิฏก นั่นแหละ จะให้เรียก คัมภีร์ นิพพาน บ้าง คัมภีร์ พุทธ บ้าง แล้วแต่จะจินตนาการ แต่ชื่อที่เหมาะสมก็คือ พระไตรปิฏก นั่นแหละ เหมาะสมอยู่แล้ว

   สมัยหนึ่ง ได้เข้ากราบ หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านบอกว่า ให้เรียก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ใหม่ว่า กัมมัฏฐานโบราณ คนจะได้สนใจ ส่วนตัวรับฟังไว้ แต่ ก้อย่างที่แสดงไว้ด้านบนนั่นแหละ คือ เราไม่มีความจำเป็นต้องไปเรียกเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย หรือ ตีฆ้องร้อง เรียกคนเข้ามาปฏิบัติ สายนี้เพราะความเป็นจริง คนที่จะเข้ามาปฏฺบัติ มันต้องมีวาสนา บารมีกันด้วย จึงจะยอมรับกันเป็น ครู เป็น ศิษย์ เรียนกรรมฐานกันด้วยความเคารพ

 อันความเป็นจริง ตัวพระกรรมฐาน ไม่ใช่โบราณ เพราะมีมาแต่ยุค สมัยพระพุทธเจ้า มีพระชมม์อยู่ ผู้ที่เป็นผู้สืบทอด องค์แรก ก็คือ พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส การบันทึกมีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยนั้น พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส เป็น เอตทัคคะด้าน ผู้คงแก่การเรียน การบันทึกวิชา มีมาตั้งแต่สมัยนั้น มีตอนหนึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา แต่ลืมหน้าไปแล้ว ต้องค้นใหม่ ขณะที่ ทรงอักษร ( บันทึก) ได้ร่วมกับ พระอริยะมหากัจจายนะ ในขณะ รวบร่วมอักษร เป็นตำรา ชื่อว่า มูลกัจจายนะ ซึ่งเป็นต้นแบบ ในการศึกษาบาลี ของ พระสงฆ์ หลายยุค ในสมัยนั้น มีกลุ่่มพระภิกษุ ต้องการรวบเป้น ภาษา สันสกฤต เพราะมีความไพเราะ สละสลวย เหมือนบทเพลง มีการขึ้นทูลขอพุทธานุญาต จากพระพุทธเจ้า แต่ พระพุทธเจ้าห้าม ใช้ภาษาสันสกฤต พร้อมบัญญัติ วินัยลงโทษปรับอาบัติ ไม่ให้พระภิกษุ เอื้อนเอ่ย เป็นเพลง พระสูตร พระคัมภีร์ จึงเว้นจากภาษาสันสกฤต น่าจะอยู่ในวินัย เล่มที่ 1 - 7 ต้องอ่านใหม่ มันนานแล้ว อ่านแล้วก็ไม่ได้จำไว้ เป็นพิเศษ ก็อย่างนี้
   
นวัน มาฆบูชา เป็นวันประชุม สันนิบาต คือ พระอรหันต์ เอหิภิกขุอปสัมปทา มาประชุมกัน มิได้นัดหมาย 1250 รูป และพระพุทธเจ้า ทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกบ์ แก่พระอรหันต์ เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแผ่ พระธรรม อย่างย่อ 3 อย่างขยาย 6 วันนั้นเป็นคืนเดือนเพ็ญ

 และมีเหตุการณ์เพิ่มขึ้นอีกสองเหตุการณ์ คือ การแต่งตั้ง พระอัครสาวก ซ้าย ขวา คือ ประกาศให้ พระอรหันต์ ทั้ง 1250 รูปนั้น เลือกพระสงฆ์ 2 รูป เป้นอัครสาวก ซ้าย ขวา พระอริยะโมคคัลานะ และ พระอริยะสารีบุตร

อีกเหตุการณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ คัมภีร์ มูลกัจจายนะ เรื่องรับสั่งให้มีการบันทึก พระสูตร พระวินัย ให้กับ พระธรรมกถึก และ พระวินัยธร มีการประกาศ ให้พระปุถุชน ที่สงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่ เป็น พระธรรมธร และ พระวินัยธร

เรื่องของสองพระนี้ เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัว สมัยหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปอยู่ป่า พระองค์เดียว อาศัย ลิง และ ช้า อยู่ ในขณะนั้น

สำหรับช้างได้รับ พยากรณ์ ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า องค์ต่อไปอีกประมาณ 7 องค์ เรื่องนี้เกิดที่ ป่าลิไลย ( ป่าเลย์ไลย์ ) ส่วนลิง ก็น่าจะไม่ธรรมดา

พระธรรมธร ให้เรียน พระสูตร และวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน คือ มูลกัจจายนะ
พระวินัยธร ให้เรียน และ จดจำข้อบัญญัติวินัยของ พระภิกษุ และการวินัจฉัยโทษ ปรับอาบัติ




หัวข้อ: สายสัมพันธ์ ที่ร่วมปิดทองหลังพระ ขออนุโมทนา ทุกท่าน
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:17:04 am
(http://www.madchima.net/images2559/pidtong-01.jpg)

"สายสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่สายเลือด แต่มีความอบอุ่น ถึงขั้นเสียสละให้ไดทั้งชีวิตเช่นเดียวกับ บุพพการี คือ พ่อและแม่ สายสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่สายเลือดนี้ คือสายสัมพันธ์ ของครูกรรมฐาน กับศิษย์ ที่เรียนกรรมฐาน ซึ่งสายสัมพันธ์แตกต่างกัน สายสัมพันธ์ ระหว่าง อุปัชฌาย์ และ ผู้บวช ที่เรียกว่า อันเตวาสิก และ สัทธิวิหาริก แต่สายสัมพันธ์ ทางด้านการภาวนานั้น มันมีคุณค่าในตนเอง ในความเป็น พระที่เป็นเนื้อนาบุญ บรรดาศิษย์ถึงแม้ไม่แก่กล้าในวิชา กรรมฐาน แต่ก็ย่อมเห็น อัธยาศัย ของครูที่เป็นเนื้อนาบุญ ศรัทธา และ ความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ ที่เป็นครูย่อมถึงพร้อมซึ่งการเสียสละ เพื่อรักษาอัตภาพ ของครู และสนับสนุนการเผยแผ่ธรรม อันงาน ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด นี่คือที่มาของความเสียสละ ภายใต้ คำว่า ปิดทองหลังพระ ....."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: การโปรดญาต พ่อแม่พี่น้อง เป็นเรื่องที่ควรทำสุดท้าย ก่อนละสังขาร
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2016, 01:34:01 pm

(http://www.bloggang.com/data/t/travelaround/picture/1242320048.jpg)

การโปรดญาต พ่อแม่พี่น้อง เป็นเรื่องที่ควรทำสุดท้าย ก่อนละสังขาร

"พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หลายท่านเคยถามอาจารย์ ท่านทำไม ไม่ไปโปรดพวกเขาบ้าง หรือไปเยี่ยมเยียนมอบธรรมะให้กับเขากันบ้าง ส่วนตัวก็ยินดีนะถ้า พ่อแม่พี่น้อง ญาติ สนใจธรรมะปฏิบัติ แต่ความเป็นจริง ทำได้ยาก สำหรับ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ นั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้พวกเขาลงนรกมากกว่า จะได้รับธรรมะ เพราะเจอหน้า เจอตา แต่ละคน เขาก็เหยียดหยามเรา ด้วยความรู้สึกแบบญาติ ว่าไม่เอาไหน บวชเลี้ยงชีวิต ไม่สู้งาน ไม่สู้ชีวิต ประมาณนั้น เสียมากกว่า ที่จะมีใครมารับ ธรรมะ เจอหน้าแต่ละคน ก็ถามว่าเมื่อไหร่ จะสึก และแสดงความเห็น ว่าควรจะสึกออกมาเลี้ยงชีวิต มันจะภาคภูมิ กว่าอยู่เป็นพระ นี่กล่าวยังเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นการโปรด พ่อแม่พี่น้อง ญาติ เหล่านี้ สำหรับฉันตอนนี้ไม่มีความคิดเลย เพราะ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ ท่านทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ดูความเป็นจริง ทุกวันนี้พระ ภาวนาก้าวหน้าไปถึงขั้นไหนแล้ว ควรจะที่จะสึกหาลาเพศ มาอยู่ครองเรือนให้พวกเขาเล่นหัว เหยียดหยาม กันอย่างเมามัน ซึ่งบาปมากกว่า นรกจึงมีมากกว่า .... ทุกวันนี้ ญาตฉันไม่เคยให้มาช่วยเหลือ แม้แต่ฉันให้บิณฑบาต เขายังเลือกที่จะไม่ใส่บาตรฉัน เวลา ขับรถผ่านทางเห็นฉันเดินอยู่เขาก็ไม่จอดรับ แม้จะไปทางเดียวกัน ดังนั้นควรหรือที่เราจะไปโปรดเขา บางคนถ่มน้ำลาย ถุย ใส่ บอกว่า อาศัยผ้าเหลืองแดก ก็มี นี่ละคือ ญาต ที่ท่านทั้งหลายสงสัยกันว่า ทำไมฉันไม่ขอให้ญาตมาช่วย ทุกวันนี้ ฉันมี ญาต เพียงคนเดียวคือ แม่ ที่ฉันยังยอมรับบาตร อยู่ ถึงแม้ท่านจะบ่น เรื่องให้ลาสิกขาอยู่บ้าง แต่การอนุเคราะห์ท่านเห็นว่าเป็นชาติสุดท้ายแล้ว ที่เราจะได้มาเป็นแม่ลูกกัน ดังนั้นจึงเปิดโอกาสการสนทนาธรรมที่ยังพอเป็นไปได้ให้กับท่าน ทุกคร้งที่เจอกัน ฉันยังเป็นฝ่ายฟังท่านสอน ฉันก็ยินดีอยู่เพราะทำให้ท่านสบายใจ ที่ได้สอนพระ อย่างน้อยจิตใจมีการวิจารณ์ธรรม ไปด้วย แต่ก็มีข้อเสีย คือท่านไม่เคยสนใจการภาวนาของเราที่ก้าวหน้า ไปเกินกว่าจะอยู่กับชาว ฆราวาสได้แล้ว จึงมองปัญหามุมเดียว ว่าควรใช้ชีวิตอย่างฆราวาส หรือถ้าใช้ชีวิตอย่างพระก็ควรอย่างพระที่เขาอยู่กันในวัดเสกสวดมีรายได้ จะได้ไม่ต้องมาทำให้ญาต ตระกูลเดือดร้อนตนเอง เดือดร้อน อันที่จริงก็แปลกใจอยู่เหมือนกัน สิบกว่าปีมานี้ก็อยู่ด้วยทรัพย์ของเราที่มีอยู่ก่อนไม่ได้ใช้ทรัพย์ของญาติท่านนั้นมาจุนเจือชีวิตให้อยู่รอด และได้ลูกศิษย์ช่วยกันพยุงอัตภาพ จึงพออยู่ได้ ทำงานได้ .... "



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: น้ำผึ้ง ช่วยชีวิต
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2016, 08:45:05 am
บันทึกใหม่ล่าสุด 22 ก.พ.2559
"เช้านี้ลุกขึ้นมาได้ วิงเวียนศรีษะ เล็กน้อยความเป็นผู้ภาวนา อยากจะนอนมันก็ไม่นอน นอนแล้วก็ลุกขึ้นมานั่ง ร่างกายมันขึ้นมานั่งเอง พอรู้ตัวเรา นั่งอยู่อีกหรือนี่ 32 ชม. ทรมานเพราะพิษ ฉันอะไรก็อาเจียร ชมนมฉันก็อาเจียร น้าต้มค่อย ๆ จิบ นับว่าชีวิตยังดี ลูกศิษย์ท่านหนึ่งนำน้ำผึ้งมาให้ ควานหาได้ เหลือเพียงขวดเล็กนี้เท่านั้น น้ำมาดื่มสด และดื่มน้ำตาม เพื่อเจตนาให้ลงไปเคลือบกระเพาะ ที่มีอาการว่างแสบท้อง ได้ผลชะงัดทันทีหลังจากฉันลงไป 3 - 4 ช้อนชา อีกประมาณชั่วโมงกว่า ๆ รู้สึกหายอ่อนเพลีย และสดชื่นขึ้น อาการเวียนศรีษะ ก็น้อยลงไม่ได้ฉันยาอะไร แต่อาการปวดท้องยังมีอยู่บ้าง เพราะว่าเมื่อวานไม่คิดว่าจะมีน้ำผึ้งเหลืออยู่ จึงไม่ได้ค้นหามาช่วยตัวเอง ปล่อยให้อาการอาเจียร เป็นพิษลามเป็น ปวดท้องด้วย เลยดูอาการจะแย่ เช้านี้มาหลังจากได้พัก กึ่ง พักกับ นั่งบ้าง นอนบ้าง ส่วนใหญ่จะนั่งหลับ วันนี้จึงเข้าใจแล้วว่า น้ำผึ้งทำไมจัดเป็นเภสัช ไม่ใช่ ปานะ เพราะว่าผึ้ง มีคุณค่ายารักษา และ บำรุง ด้วยนั่นเอง ใครที่ไม่รู้จะถวายเภสัชพระสงฆ์อย่างไร ซื้อน้ำผึ้งไม่ต้องขวดใหญ่ แค่ขวดเล็กอย่างนี้ ก็ใช้ได้แล้ว ขอให้เป็นของแท้เท่านั้น จะได้มีสรรพคุณท่างยา ด้วย สำหรับครั้งนี้ผู้ที่ได้ถวายเภสัช ขวดนี้ ไว้ได้รับบุญเต็ม ๆ เพราะว่ามันได้ช่วยชีวิตอาจารย์ ให้อัตภาพดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ขออนุโมทนา ถ้าจำไม่ผิด ขวดนี้คุณ ณัฐพลสรรค์ เป็นผู้ถวายไว้ใน วันที่ 20 ม.ค. 2559
เจริญพร ขอบคุณ"
ข้อความเต็ม จากบันทึก ล่าสุด


(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xpa1/t31.0-8/12778670_877639905685788_149325066717607037_o.jpg)


หัวข้อ: เอาคำว่า จะ ออก บ้าง เพราะอะไร มันก็ไม่แน่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2016, 08:47:53 am
"อะไรที่ว่าแน่ มันก็ไม่แน่ ถ้าเราคิดว่าจะทำ ก็เอา คำว่า "จะ" ออก แล้วทำในขณะที่มียังพอมีโอกาส เนื่องด้วยเพราะว่าโอกาสย่อมมีไม่มาก อันบรรดาโอกาส บัณฑิตกล่าวว่า ย่อมไม่มีสำหรับผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะฉะนั้นเมื่อระลึกได้อย่างนี้ ชนทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในความประมาท ในการภาวนา ก็จงขวนขวายในการภาวนา ถ้าหากนึกถึงการภาวนาอะไรไม่ออก ก็ให้นึกถึง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขึ้นในใจ ทำให้ได้ ในขณะ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง 10 ครั้ง 100 คร้้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง ทำและนึกถึงก่อนที่จะสายเกินไป แล้ววันนั้นเมื่อความเจ็บ ความชรา ความตายเข้ามาถึง เราจะไม่เสียดายเวลาที่มีอยู่นั้นเลย ...."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของ ธัมมะวังโส

(http://image.mcot.net/media/images/2014-04-08/13969465394619-948x632.jpg)


หัวข้อ: สัมผัสชาเวทนา ถ้าวาง มัชฌิมา ไว้ที่นี่ ก็จะ......
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2016, 10:23:05 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-09.jpg)

"วันนี้นั่งฟัง ครูอาจารย์ แต่ละรูปที่ว่าสุดยอดในด้านการภาวนา ฟังตั้งแต่ 03.00 - 08.00 , 09.00 - 15.00 , 16.00 - 21.00 หลังจาก 19 ชม.นี้ก็พักผ่อนด้วยสมาธิ ทำเนสัชชิกธุดงค์ คำว่า "มานะ" มันต้องสยบ ออกไปให้ได้ ปีนี้ตั้งใจมากเลย สำหรับภารกิจนี้ แรก ๆ ที่ฟัง จิตมันจะบอกว่า ท่านสอนผิด ท่านสอนถูก ท่านสอนดี ท่านสอนไม่ดี ท่านสอนเยี่ยม ท่านสอนไม่เยี่ยม ท่านแย่กว่าเรา ท่านเหนือกว่าเรา ท่านเสมอเรา มันวนเวียนอยู่อย่างนี้ จนช่วงที่ใกล้จะออกพรรษา หลังจากได้เข้าสายธารแห่งความว่าง เรื่องเหล่านี้มันเริ่มหายไปทีละหน่อย ท่านที่สอนผิด เราก็ไม่คิดเราดีกว่า ท่านที่สอนดี เราก็ไม่คิดว่าเสมอ ท่านที่สอนพอใช้ได้ เราก็ไม่คิดว่า เลิศ เพราะ ใจมองเห็นสิ่งที่ท่านพูดออกมานั้น เป็นสภาวะธรรม ที่เป็นกุศล และ อกุศลเท่านั้น ถึงแม้ท่านเหล่านั้น บางรูป บางองค์ แสดงธรรมเพราะลาภสักการะ ก็เป็นเพียงสภาวะของอกุศล บางรูปแสดงธรรมเพื่อธรรม ก็เป็นสภาวะของ กุศล สุดท้ายจิตมันมองเห็นแต่เพียงสภาวะธรรม ของผู้พูดไม่ได้มีบุคคลผู้พูด และไม่ได้มีบุคคลผู้ฟัง มีเพียงสภาวะธรรม สองอย่างที่เกิดสลับกันไปมา คือ กุศล และ อกุศล ก่อนออกพรรษา 1 เดือน ฉันจึงเปิดฟังแต่เสียงอ่านพระไตรปิฏกเล่มที่ 31 ฟังตั้งแต่เช้ายันหลับ ฉันก็ฟัง เข้าห้องน้ำก็ฟัง เดินก็ฟัง นั่งก็ฟัง ยืนก็ฟัง แปลกมาก เมื่อก่อนอ่านเล่มปฏิสัมภิทามรรค ไม่ค่อยจะเข้าใจ แต่หลังจากเราฟังเป็น สภาวะของกุศล และ อกุศล พอฟังรอบนี้กลายเป็นการฟังแบบกลาง ๆ คือ น้อมใจฟัง โดยไม่มีผู้ฟัง ปกติฟังเราใช้หูฟัง แล้วใช้ตัวตนของเรา ที่ว่า ต่ำกว่า เสมออยู่ หรือ เลิศกว่า เป็นตัวฟัง แต่รอบนี้มี แต่หูฟัง กับใจที่เป็นกลาง ที่ฟังแต่สภาวะ ในขณะที่ฟัง ก็มีเสียงสูง เสียงต่ำ ความแปรปรวน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ในขณะนั้น....... "



ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 29, 2016, 02:25:55 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-11.jpg)

"เป้าหมายของการฝึกพระกรรมฐาน คือ อะไร ? ทุกท่านควรตระหนักไว้ด้วย
บางครั้งก็ไม่ต้องเรียนมาก เหมือนพระจูฬปันถก ไม่ได้เรียนกรรมฐานอะไรมากมาย แค่ ภาวนาว่า รโช หรณํ แล้ว เอามือลูบผ้าขาวไปเรื่อย ๆ ก็สามารถบรรลุธรรมได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ฝ่ายอภิญญา จากพระโง่ ๆ ที่ความจำไม่ดี ถูกพี่ชายไล่สึก เรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี เพียง 3 ชม. ได้รับการแต่งตั้ง ด้าน มโนมยิทธิ ดังนั้นเป้าหมายของการเรียนกรรมฐาน การภาวนากรรมฐาน ไม่ได้อยู่ว่า เรียนไปอวดใคร หรือเรียนไปเพื่อพูด เพื่อเบ่ง เพื่อข่มคนอื่น แต่การเรียนกรรมฐาน เรียนไปเพื่อสร้างแนวทาง สำหรับการขจัดกิเลส ถ้าหากเรียนกรรมฐาน ภาวนากรรมฐาน ไม่ว่ากรรมฐานอะไรก็ตาม จะแนวไหน สาขาไหน สำนักไหนก็ตาม หากเรียน แล้ว ภาวนาตาม ไม่ขจัดกิเลส ไม่ลดละ ราคะ โทสะ และ โมหะ ลงได้ กรรมฐานนั้นก็ไม่มีประโยชน์ สำหรับท่านที่เรียนไป ดังนั้นถ้าเข้าใจเป้าหมายในพระกรรมฐาน แล้ว มันก็จะถึงที่สุดแห่งการละจากสังสารวัฏ ได้ นั่นเอง....."



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: บางอ้อ แล้ว ครับ ว่าทำไม ไม่ได้เรียน กายอากาศ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 04, 2016, 07:20:09 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-12.jpg)

 "พระอาจารย์ ท่านกล่าวว่า แกไม่ต้องเรียน กายอากาสแล้ว
  เพราะอะไร หรือ ครับ
  สมัยข้า นั้น ไม่มีเทคโนโลยี สิ่งที่ทำได้ในขณะนั้น ก็ต้องใช้ กายอากาส ส่วนปัจจุบัน มีการบันทึกภาพ แสง เสียง ข้อความ ได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็น้อง ฝึก กายอากาศอีก
  !!!!!!!!???
   
"
ข้อความบางส่วนจาก บันทึกประจำวัน ของธัมมะวังโส

 


หัวข้อ: กินข้าวของชาวบ้าน ทำความดี คุ้มค่าข้าว แล้วหรือยัง ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 06, 2016, 09:12:42 am
(http://www.madchima.net/images2559/food-01.jpg)

ภัตร อันเลิศ เกิดจากศรัทธา อันเลิศ
มีเพื่อยังอัตภาพ ให้เป็นไป เพื่อการปฏิบัติ
ข้าวก้องบ้านนา ข้าวสารเมืองเพรียว ถั่วอบจากกระนวณปากช่อง พริกจากตลาดนัด แตงกวาดองจากแก่งขนุน ปลาหยองจากพัทยา กลมกล่อม แล้ว

สำหรับฉันซึ่งศิษย์ต่างก็เรียกว่า พระอาจารย์
  อาหารแค่นี้ ฉันแค่นี้
  วิเวก อย่างนี้ มา 10 กว่าปีแล้ว เป็นอาหารนับว่าเลิศแล้ว กับอัตภาพ ของฉัน

สำหรับท่านที่ตั้งอยูในความประมาท มีชีวิตอยู่ด้วยภัตรอันเลิศ แต่ไม่พากเพียรปฏิบัติ เพียงอาศัยกินภัตร อันเลิศขาดการภาวนา ระวังจะเป็น วัว เป็น ควาย ใช้หนี้เขานะ กรรมวาจาจารย์ฉัน ท่านสอนฉันไว้ว่า ถ้าท่านกินของชาวบ้านแล้วขาดการภาวนา ขาดศีล ไม่ประพฤติธรรม รักษาศีล มันเหมือนกินก้อนถ่านไฟแดง ขณะกินก็เป็นโทษ หลังบริโภคก็เป็นโทษ มีแต่ความเสื่อม เกิดชาติต่อไป เป็นวัวเป็นควายให้เขาเชือดนะ ( เขาไม่ได้เอาไปทำนาอย่างเมื่อก่อน ) บางทีมองเห็นวัวควายที่วิ่งหนีการถูกเชือด แล้วร้องไห้ อย่างเห็นชัดเลย

ธมฺมวํโส


(http://www.madchima.net/images2559/buffalo-01.jpg)


 "อย่าคิดว่า วันนี้ เสพสุข เพราะบุญเก่า แล้วสร้างกรรมบาปไว้ ไม่ส่งผลนะ ไม่มีอะไรเหนือกรรมหรอก เพียงแต่จะมาช้า หรือ เร็ว เท่านั้น องค์พระภควา ตรัสไว้ บุคคลหว่านพืชเช่นไร ก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น สำหรับฉันเอง ที่ลำบาก หรือ สบาย ก็เพราะว่ากรรมที่ทำไว้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าจะเหนือกรรมได้ ต้องออกจากสังสารวัฏ เท่านั้น การออกจากสังสารวัฏ ไม่มีหนทางอื่นเลย นอกจาก มัชฌิมา ทางสายกลางเท่านั้น "


 :s_good:


หัวข้อ: ปรุงอาหาร อย่างง่าย ๆ สำหรับ รักษาอัตภาพ ให้เป็นไปเพื่อการภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 06, 2016, 09:18:28 am
(http://www.madchima.net/images2559/food-01.jpg)

วิธีปรุงอาหารชุดนี้
 ( อาบัติอยู่นะ เพราะทำอาหารเอง )

1.ข่าวสาร 2 กำมือ
2.ข้าวก้อง 2 กำมือ
ใส่ในปิ่นโต ใส่น้ำ 1 แก้ว
หุงให้แห้งแบบข้าวสวย
3.ต้มน้ำร้อน ชงน้ำชา 1 กระติก
4. เทน้ำร้อนใส่ ข้าวทีหุงมา แกว่งน้ำให้แทรกในข้าวให้ทั่ว
5. หยิบพริกใส่ 1 เม็ด
6. ตักถั่วอบใส่ 2 ช้อนโต๊ะ
7. ปลาหยอง 1 หยิบมือ
8. แตงกวาดอง 1 ช้อนโต๊ะ
แกว่งคนให้เข้ากัน

พิจารณา ปัจจเวกขณ์ ฉัน เพื่อให้อัตภาพ อยู่ได้ ฉันเสร็จ น้ำชาอันเลิศ 1 แก้ว

เท่านี้แหละชีวิตฉัน

ถ้าวันไหน เครื่องปรุงเหลือเพียงข้าว ก็จะนั่งกรรมฐาน ให้นานขึ้น

เวลานั่งกรรมฐาน หลายวัน
ฉันน้ำผึ้ง หรือ น้ำหวาน สองแก้ว แล้วนั่งกรรมฐาน เมื่อออกจากกรรมฐาน ให้ฉันน้ำดื่มที่สะอาด 1 ขวดเล็ก ผ่านไป 4 ชม. ให้ฉันน้ำผึ้ง หรือ น้ำหวาน 2 แก้ว ผ่านไป 2 ชม. จึงฉันนมได้ ถ้าทำอย่างนี้ท้องจะไม่เสีย เคยทำผิดกฏ ออกจากกรรมฐานมาฉันนมทันที ก็ได้นอนกรรมฐานต่อเลย เดินเข้าห้องน้ำจนต้องนอน เพราะเวลาท้องเสีย ตอนท้องว่าง แม้แต่น้ำก็ฉันไม่ได้ มันพาลให้เป็นโรคกระเพาะ ด้วย นะ

ฝากไว้สำหรับ ผู้ภาวนา ที่วิเวก เช่นกัน


หัวข้อ: การประคองจิต ในสมัยที่ ควรประคอง ก็คือตอนนี้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 07, 2016, 08:59:50 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-14.jpg)

 "พูดสอนลูกศิษย์ประจำ วิธีแก้อารมณ์ ออกจากภวังค์ หรือ การไปปล่อยนิ่งในอารมณ์ ระหว่างดำเนินจิต สมาธิ สอนไว้เสมอ ๆ แต่เวลาภาวนาจริง ๆ ทุกคนก็มักจะลืม
  วิธีการถอนอารมณ์ ที่ผิดทางคือ ดึงสติ รู้ตัวก่อนว่า เพื่อให้จิตยอมรับผิด ถ้าจิตยอมรับผิดแล้ว นั่นแหละเรียกว่า รู้ตัว แต่ถ้าไม่ยอมรับ จะเรียกว่า รู้ตัวไม่ได้ อะไรก็ตามถ้าทำผิดออกไปโดยไม่รู้ตัว ความผิดก็จะผิดซ้ำผิดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้ตัว และยอมรับว่าผิด ดังนั้นเมื่อรู้ตัวแล้ว ก็ให้ถอนความผิดนั้นออกด้วยการระบายลมหายใจ แบบถอนหายใจ สี่ - ห้าครั้ง ตื่่นแล้ว เริ่มใหม่ ส่งลมหายใจชุดใหม่ที่อธิษฐานใหม่เข้าไปแทน พร้อม กำหนด พุทโธ พุทโธ พุทโธ เร็ว ๆ สักสองสามรอบ เมื่อจิตนิ่งดีแล้ว ก็ดำเนินจิตไปตามลำดับกรรมฐาน ต่อไป  "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส

 ;)


หัวข้อ: การเป็นอยู่ ของ ฉัน มี หรือ ไม่มี ก็ไม่ได้ทำให้โลกเดือดร้อน หรือ วิเศษขึ้น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 08, 2016, 09:26:07 am

"ฉันไม่ได้ยินดีที่ท่าน ปฏิบัติตามมา หรือ เสียใจที่ท่านไม่ได้ตามมา เพราะการตามมาของท่าน และไม่ตามมาของท่าน ไม่ได้ทำให้วิมุตติ และปณิธาน ของฉันหายไป การที่ท่านเลือกไม่ปฏิบัติตาม ก็ถือว่าท่านไม่มีวาสนาร่วมกัน การที่ท่านน้อมนำไปปฏิบัติตาม ก็ถือว่ามีวาสนาร่วมกัน ท่านจะชอบใจก็เป็นบุญของท่าน ท่านจะไม่ชอบใจก็เป็นวาสนาของท่าน ท่านจะเฉยมันก็เป็นอัพยากตาของท่าน ดังนั้นการเป็นอยู่ มีอยู่ของฉัน ไม่มีความหมายอะไรในโลกนี้ทั้งนั้น จะมีฉันหรือไม่มีฉัน โลกนี้เขาก็อยู่กันได้ ที่ทำอยู่ก็เพียงเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ครู และคนมีวาสนาร่วมกันในชาตินี้เท่านั้น สักวันหนึ่งฉันก็ต้องจากท่านไป ตามอายุขัย สิ่งทีเหลือไว้ก็เพียงข้อความธรรมให้แก่ผู้ที่ยังข้องขัดเท่านั้น ......."
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส


หัวข้อ: รำลึกถึง ครา เมื่อได้เดินขึ้นกราบไหว้ พระธาตุดอยตุง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 08, 2016, 10:41:29 am
(http://www.misterlees.com/wp-content/uploads/2015/01/20141228_140217.jpg)

"ฉันเดินทางไปหลายร้อย กิโลเมตร ไปที่จังหวัดเเชียงราย หลังจากได้นั่งกรรมฐานที่ พะเยา" ผ่านไป 1 อาทิตย์จึงเดินทางไปต่อที่ เชียงราย ด้วยการอนุเคราะห์จากผู้มีศรัทธาท่านหนึ่ง ฉันได้เข้าพักที่วัดศรีบุญเรือง ในเช้าวันต่อมา ก็มีความคิดว่า จะลองเดินจากปากทางแยกแม่สาย ขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยตุง คิดดังนั้นก็จึงเริ่มเดิน มีรถจอดรับหลายคันอยู่ แต่ฉันก็ปฏิเสธในการอาศัยรถเหล่านั้น เริ่มเดิน 08.20 น. เดินขึ้นไปฉันเพลที่ ตำหนักดอยตุง ซื้อนะ ไม่มีใครถวาย ให้นายตำรวจแถวนั้นท่านหนึ่ง เอาปัจจัยไปจัดข้าวมันไก่มาจานหนึ่ง ( ไม่ได้สั่ง แต่เขาจัดมาให้หมด ปัจจัย 100 บาท ตามสั่ง )ก็อนุโมทนา ที่ยังได้บริการถ้าจะให้ฉันไปเดินถือถาดซื้อเอง เกรงว่าจะน่าเกลียด ตั้งแต่วันนั้นมาไปไหนมาไหน ก็จะบอกลูกศิษย์ว่า ข้าวมันไก่จาน น้้าขวด เป็นที่มาของการฉันข้าวมันไก่ คือทำเร็ว ยกเร็ว เสริฟเร็ว ง่ายดี และลุกจากได้ไว ฉันเสร็จก็เดินต่อมุ่งตรงสู่ พระธาตุดอยตุง ที่จริงวันที่ไป มันก็คือวันนีี้นั่นแหละ วันที่ 8 มี.ค. ปี พ.ศ.2551 ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยสิ ทำไมจะไม่เหนื่อย เพราะหลังจากแยก สถานีตำรวจตำหนักแล้ว มันเป็นทางขึ้นตลอด เดินไปหอบไป ขณะนั้นมันก็วังเวง นานมากถึงจะมีรถผ่านมาสักใคร วันนั้นที่จริงอากาศร้อนมาก แต่พอเข้าเขต จาก ป้อมตำหนักแล้ว ฉันก็อธิษฐานว่า ขอเทวดาช่วยบังแดดให้หน่อย ให้มันเหนื่อยกายอย่างเดียวอย่าได้เพลียแดด เหมือนคำอธิษฐานจะได้จริง ปรากฏมีเมฆหมอกลอยปกคลุมในพื้นที่นั้น ในเวลาประมาณ 20 นาทีหลังจากอธิษฐาน เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างมาก ฉันจึงตั้งใจเดินด้วยปีติ ขณะเดินไป มันอดไม่ได้ที่จะหลั่งน้ำตาที่ตื้นตันใจ อย่างน้อยธรรมชาต เทวดา เขาก็ยังเห็น ยังอำนวยช่วยอยู่บ้าง ฉันเดินถึง พระธาตุดอยตุงเวลา 16.15 น. ขณะที่กราบลงพระธาตุ ขณะนั้น ปีติมันขึ้นสูงมาก ก้มกราบไปน้ำตาไหลอย่างต่อเนื่อง จากนั้นได้ทำประทักษิณรอบพระธาตุ 3 รอบ และนั่งกรรมฐานหน้าพระธาตุอีก 1 ชม. ฝนก็ตกลงมาอย่างต่อเนื่องแต่เรื่องแปลกก็เกิดตรงนั้นอีกว่า ฝนตกทั่วไปหมด แต่ตรงที่ฉันนั่งกรรมฐาน และองค์พระธาตุไม่มีเปียกฝน ฉันเองก็ไม่เปียกฝน เป็นที่น่าอัศจรรย์ สำหรับพระธาตุดอยตุงนี้ ไม่มีความกังขาในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ได้เดินทางไปไหว้กราบพระธาตุหลายที่ มีเพียงสองแห่ง ที่แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่ฉัน นั่นก็คือ 1 พระธาตุดอยตุง 2 พระธาตุพนม มีเพียงสองแห่งที่ฉันได้ประสบปาฏิหาริย์ ในการไปไหว้ไปกราบ โดยตรง................"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส




หัวข้อ: เราเป็นแต่เพียง ผู้สนับสนุน (ผู้บอกทาง ) ไม่ใช่ผู้สอน ( ผู้สอนคือพระศาสดา )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 09, 2016, 08:30:27 am
(https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/hphotos-xat1/v/t1.0-0/q85/p526x296/12800115_886623374787441_4248470555526994694_n.jpg?oh=65fecd9139953a72208949bfa77789a4&oe=57575427)

ขอบคุณภาพประกอบจาก https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/

"สำหรับฉันการเป็นพระ ก็เพื่อไปสู่่วิมุตติ กรรมฐานที่เรียน และนำมาภาวนาก็เพื่อวิมุตติ ดังนั้นถ้ากระทำการใดก็ต้องเป็นการส่งเสริม วิมุตติ มีคนเจอฉันคราเดินทาง มากมายนั่งอยู่กันก็มาก แต่เขาเหล่านั้นไม่เคยสดับคำว่ากรรมฐานจากฉัน เพราะฉันได้แต่นั่งนิ่ง จนลูกศิษย์ที่ติดตามบางท่านสงสัยและมาถามว่า
    ทำไมอาจารย์ไม่บอกเขาเหล่านั้นว่า อาจารย์เป็นผู้สอนกรรมฐาน
    ฉันถามย้อนกลับไปว่า บอกเขาทำไม
    ลูกศิษย์ บอกเขาเพื่อจะได้รับฟังกรรมฐานและเรียนไปปฏิบัติบ้าง
   ฉันก็ตอบว่า จะสอนเขานั้นด้วยการสนองตัณหา ทำไม่ได้นะ ถ้าเขามีวาสนา อาศัยการสังเกต วัตรปฏิบัติของเรา เขาจะสนในใจเอง นั่นแหละถึงจะสอน แต่ถ้าเขาไม่เป็นคนที่สังเกต ไม่พิจารณาลักษณของสมณะ หยาบ การสอนกรรมฐานกับคนหยาบ ก็จะทำได้ยาก แม้ปัจจุบันที่มีอยู่ก็ยังไม่ใช่จะทำได้ หรือ ภาวนาได้กัน ดังนั้นอย่ามัวเสียเวลาทำตัวเป็นผู้สอน ที่อาจารย์ทำอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ผู้สอน เป็นเพียงผู้สนับสนุน และก็สนับสนุนแบบปิดทองหลังพระมาตลอด ถึงแม้ส่วนที่เราสนับสนุน เขาจะไม่ช่วยเหลือ หรือ ดูถูกรังเกียจบ้าง เราไม่ได้ทุกข์ใจตรงนั้น ถ้าจะทุกข์ก็จะมีเรื่องเดียว ว่า เรายังต้องแหวกว่ายในโอฆะ อีก นั่นแหละจึงจะทุกข์
   ดังนั้นกรรมฐาน ไม่ได้มีไว้เพื่อ ลาภ สักการะ ยศ หรือ สุข แบบชาวโลก แต่มีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการเดินสู่สายกลาง ไปสู่ วิมุตติ ......"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

เช้านี้เห็นภาพนี้แล้วถูกใจ นะ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: patra ที่ มีนาคม 12, 2016, 10:12:57 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-15.jpg)

"มีคำกล่าว ของบัณฑิต เวลาที่เราจะเห็นคนรักเรา ก็ตอนที่เราทุกข์ หรือ ลำบาก เวลาที่จะเห็นมิตร ก็ตอนที่เราไปขอความช่วยเหลือ เวลาที่เราจะเห็นคุณพ่อคุณแม่ ก็ตอนที่ถูกกดขี่จากสังคม เวลาที่จะรู้คุณค่าของไม้กวาด ก็ตอนทีต้องการจะกวาดนั่นเอง อุปมานี้ยังมีอีกมาก แต่รวมความสำหรับชาวโลก การเห็นเพื่อน มิตร ผู้ช่วยเหลือ พ่อแม่ ครุฮาจารย์ ส่วนมากก็ตอนที่เราเป็นทุกข์ เวลาที่ทุกข์นี่แหละที่สำคัญที่สุด ที่ชาวโลกต้องการเพื่อน มาช่วยอย่างน้อยก็เป็นกำลังใจให้ แม้จะช่วยอะไรไม่ได้ ทำไมเวลาป่วยไข้ เราจึงไปเยี่ยมคนป่วย เพราะอย่างน้อยให้เขารู้ว่าเห็นว่า เราให้กำลังใจเขาอยู่ ถ้ามองโลกสวย การแสดงน้ำใจแบบนี้ในยามยาก ภาษาพระเรียกว่า มุทิตา คือการแสดงน้ำใจ ความยินดี ที่ท่านทั้งหลายมีความสุข ...."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเ้ดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: อดทน อดกลั้น เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 15, 2016, 09:47:41 am
"ถ้าเราไม่ยอมออกมาลำบาก เพื่อส่งเสริมมันก็ไม่มีวันนี้ ความสำเร็จมาจากความอดทน อดกลั้น ส่วนหนึ่ง ถ้าคิดแล้วมัวแต่อยู่ที่วัด เราก็ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีเกรียติยศ ไม่มีสุขรออยู่ข้างหน้าแบบชาวโลก ถ้าคิดจะทำเพื่อพระรัตนตรัย สิ่งที่ต้องมีคืออย่าหวังเรื่องทางโลก แต่ให้คาดหวัง ใน มรรค ผล นิพพาน เป็นหลัก ถ้าเรามีปณิธานตรงต่อพระรัตนตรัย ความลำบากที่เกิดขึ้น ก็ถวายบูชา แด่พระรัตนตรัย ถ้าจะว่าลำบากแล้ว ก็ยังเทียบไม่ได้กับ พระอริยะทั้ง 60 ที่ท่านต้องออกเผยแผ่ไปทุกทิศทุกทาง ท่ามกลางอมิตร ต่างลัทธิ ต่างขั้ว แค่นี้ยังพอทนสำหรับเรา ยังพอไหว เพราะมีเป้าหมาย ที่ มรรค ผล นิพพาน ไม่ใช่โลกธรรม นั่นเอง ขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นศิษย์แล้วท้อแท้ ด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม จงอย่าได้ท้อถอย เพราะโลกธรรม ที่ไม่มีแก่ท่าน จงกระทำความเพียร มุ่งตรง ต่อ มรรค ผล นิพพาน ท่านใดทำตามนี้ ก็ขอให้ท่านประสบความสำเร็จใน มรรค ผล นิพพาน ส่วนท่านใดยังท้อถอยไม่สามารถตามมาได้ ก็ขอให้มีความสุข มีกำลังต่อสู้ กับโลกธรรม อย่าได้เพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตาม อยู่กับโลกธรรม ต้อง อดทน อดกลั้น ไปด้วยอย่าได้ลืม....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


(http://f2lady.com/storage/3/13906/uploads/images/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg)


หัวข้อ: ทำแค่นี้ ก็ไปนิพพาน ได้ ไม่ต้องซับซ้อนมากมาย
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มีนาคม 16, 2016, 07:55:50 am
"พระพุทธเจ้า เวลาพระองค์ทรงตรัสสอนคนทั่วไป พระองค์จะยกอุปมาทางอาชีพเพื่อให้เข้าใจหลักธรรม เช่นสอนชาวนา พระองค์ก็ทรงตรัสเทียบธรรมลงไปที่ อาชีพเขาว่า
( ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ (กสิภารทวาชสูตรที่ ๔) )
ถ้าเทียบลงในกรรมฐาน แล้ว
ศรัทธา ก็คือ ผล และ นิพพาน
( ตามลำดับที่งอกงาม เจริญเติบโต ) ดังนั้นการพอกพูน และรักษาศรัทธาไว้นั่นแหละ คือการภาวนา
ความเพียร เปรียบเหมือนฝน เพราะมีช่วง มีฤดู มีครั้งครา ไม่ใช่ทุกวัน ดังนั้นความเพียรที่มีมากไปก็ไม่ดี หย่อนไปก็ไม่ดี
ปัญญา เปรียบเหมือนแอกและไถ สิ่งใดที่ถูกปกปิด ไปไม่ได้ไม่เข้าใจก็ต้องใช้ปัญญา การคือการตามพิจารณา ทำไว้ในใจอย่างแยบคาย
หิริ เป็นงอนไถ ความละอายใจต้องมีไว้เบื้องหน้า นำทางเพื่อละจากอกุศล
ใจ เป็นเชือก หมายถึงการควบคุมศรัทธา ความเพียร ปัญญา หิริ นั้น ต้องมีใจเป็นตัวการสั่งและควบคุม
สติ เป็นผาล และปฏัก บางครั้งจะนอกลู่ นอกทาง ก็ต้องทิ่มแทงกันบ้างให้รู้ตัว การเตือนตนสม่ำเสมอ ก็คือการตามระลึกเพื่อไปสู่ความรู้ตัว
เมื่อดำเนินชีวิตอยู่ ด้วยกาย วาจา โดยอาหาร ย่อมต้องถอนหญ้า หมายถึงเมือ่บริโภคปัจจัย 4 ก็ต้องถอนตัณหาในปัจจัย 4 เพราะถ้าปล่อยไว้ ต้นหญ้าจะใหญ่ขึ้นรกรุงรัง นำมาซึ่งภัยมากมาย วิธีที่ดีก็คือการรู้ความจริงของโทษทางวาจา และ ความไปสู่ สันโดษ
ความเพียรที่ กระทำสม่ำเสมอ อย่างนี้ย่อมได้ผลงอกงามไพบูลย์ถึงความเกษมอันไม่มีโยคะ ไม่เศร้าโศรก ย่อมมีผล เป็น อมตะ ( นิพพาน )
ถ้าไถนาอย่างนี้ ย่อมพ้ันจากทุกข์ทั้งปวง

ดังนั้นการแสดงธรรม แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงอย่างพื้น ๆ แก่ชาวนา ก็มีที่สุดคือ พระนิพพานเช่นกัน ....."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://forum.thaiza.com/forum/post/294344..jpg)


หัวข้อ: เห็น เฉพาะเบื้องหน้า
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 23, 2016, 07:36:33 am
(http://www.thaiwaterlily.com/backoffice/picture/lWVoNwHMon73925.JPG)

"(อย่าสำออย หรือ ออดอ้อนให้เป็นภาระผู้อื่นมาก ถ้ายังมีแรงและทนได้ ก็พึง พึ่งพาตนเองให้มากขึ้น )
อุดมคติมีมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังนั้น เวลาทำอะไรส่วนใหญ่ จึงไม่เคยคิดให้ใครมาทำให้ก่อน แต่จะคิดทำเอง และก็ใช้ตัวเองทำในความคิดนั้นก่อน จนสุดกำลังแล้วจึง จะขอความเห็น และขอความช่วยเหลือ
ดังนั้นถ้าถามว่าเห็นอะไรบ้าง ในการป่วยครั้งนี้ ก็ตอบว่าเห็นหลายอย่าง
1.เห็นกิเลส ว่า มี หรือ ไมีมี ละวาง อัตตานุทิฏฐิได้หรือไม่
2.เห็นดอกบัวบานสีรุ้ง เบื้องหน้าห่างประมาณ หนึ่งศอก โดยที่ไม่ต้องใช้สมาธิญาณใด ๆ ทั้งสิ้น ในวันที่เจ็บแบบสุด ๆ ในขณะที่จิตเข้าสมาธิไม่ได้ แต่เข้า ญาณลำดับ ปฏิจจสมุปบาท ได้ มีการทวนไปกลับ เพื่อไม่ให้จิตหน่วงเวทนา แต่ไปรับ สุขารัมมณังอันเกิดแต่ ญาณ แทน มันมีเหตุจริง ๆ ที่รู้ว่า ถึงกาลอันสมควร ด้วยใจ ว่าจะออกจากโรงหนัง หรือนั่งเล่นชมต่อไป
3.ส่วนเรื่องของโลก มีความ แก่ ความเจ็บ ความตายนั้น ไม่ได้มีความหมายอะไรในการเห็นเนื่องด้วยอารมณ์ส่วนนี้ ถูกดับไปหลายปีแล้ว มันไม่ได้เกี่ยวกับปัจจุบันธรรม

"
ข้อความบางส่วน ล่าสุด จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: อะไรเรียกว่า กรรม อะไรเป็นตัว กรรม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 25, 2016, 09:37:12 am
(http://www.madchima.org/kid/images/img59/pic59-03.jpg)

"อะไร เรียกว่า กรรม ?
อะไร เป็นตัว กรรม ?
จะจัดการอย่างไร กับ กรรม ?
การกระทำที่ประกอบด้วยกาย วาจา และใจ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จัดเรียกว่า กรรม คือ การกระทำ เช่น ไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนา อันนี้เรียกว่า กรรมดี แต่ถ้าเป็น ฆ่าสัตว์ โกหก คิดชั่ว อันนี้เรียกว่า กรรมไม่ดี
ส่วนตัว กรรม คือ ผลสำเร็จของกรรม นั้นพระพุทธเจ้า ตรัสว่า ตัวกรรม ก็คือ ตัวเจตนา มีพุทธภาษิต รับรองไว้ว่า
เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะเทหิ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาเป็นตัวกรรม
ดังนั้น ถ้าจะทำให้กรรมดี มีผลมาก ก็ต้องใส่ตัวเจตนา ลงไปให้มาก
ถ้าจะให้กรรมชั่ว มีผลมาก ก็ต้องใส่ เจตนา ลงไปให้มาก ดังนั้นกรรมบางชนิดดูว่า เบา แต่เจตนา ที่ใส่ไว้ มันมีมาก จึงทำให้ผลกรรมมันขยายออกไป คูณสอง สาม ถึง หมื่น ถึงร้อยก็มี
ดังนั้นตัวกรรม ไม่ได้เป็นเครื่องวัดว่า คุณจะได้ผลน้อย หรือ มาก แต่ เจตนาเป็นตัววัด นั่นเอง
การจัดการ กรรม ในที่นี้หลายคนไปสับสนกับคำว่า วิบากกรรม คือผลของกรรม ดังนั้นกรรม จัดการได้ด้วย กุศลธรรม และ อกุศลธรรม
ส่วนวิบากกรรม นั้น จัดการไม่ได้ ต้องปล่อยให้เกิด แม้พระพุทธเจ้าก็ต้องปล่อยให้เกิดเช่นเดียวกัน ถ้าจะจัดการวิบากกรรม คือ บุพพกรรม ( กรรมที่ทำมาแต่กาลก่อน ) ทำไม่ได้ สิ่งใดผ่านไปแล้ว ก็ต้องรับผลตามนั้น คงจัดการกรรมที่กำลังจะทำ คือ ปัจจุบันกรรม ได้เท่านั้น
ดังนั้นผู้ฉลาดใน กุศลกรรม พึงสร้างแต่กรรมดี เพราะกรรมดี ย่อมมีผลดี อย่างแน่นอน ส่วนผลที่ไม่ดี ที่กำลังรับ เกิดแต่ กรรมก่อน ๆ นั้น ไม่สามารถจัดการได้ แต่บรรเทาได้ด้วย พระธรรมในปัจจุบัน....
"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://madchima.org//kid/images/img59/pic59-04.jpg)


หัวข้อ: อย่าสาระวน แต่เรื่องปล่อยวาง จงพิจารณาความจริงใหมากขึ้นเพื่อเจริญมรรค
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มีนาคม 28, 2016, 12:12:52 pm
(http://diarylove.com/uploads/1209/joyful6.JPG)

"เรื่องให้โกรธ มีหลายเรื่อง เรื่องให้หลง ก็มีมาก เรื่องให้โมโห ก็เป็นพะเรอเกวียน วันหนึ่งคิืนหนึ่ง กิเลสต่าง ๆมันก็พยายามทำหน้าที่ของมันสุด ๆ หลอกให้หลงบ้าง รักบ้าง เกลียดบ้าง ชังบ้าง ชอบบ้าง คลุกเตล้า เหมือนน้ำจิ้ม น้ำยา ปุถุชชนคนโง่เขลา จึงตกอยู่ในวังวนของ สิ่งที่เรียกว่า ยึดมั่น ถือมั่น คิดไปต่าง ๆ นานา สาระพันปัญหา มีไม่จบสิ้น พอกพูน อวิชชาคือ ความไม่รู้ ไปสู่ภพ ชาต ที่เป็นวินาทีในปัจจุบัน และ เป็นภพชาติผูกพันไปในอนาคต เมื่อภาวนาจึงสาระวน อยู่แแต่คำว่าปล่อยวาง ไม่ได้ต้นเหตุที่แท้จริง ว่าถ้าไม่เข้าไปยึดถือ มันก็ไม่มี บัณฑิตผู้ฉลาด ย่อมคลายความยึดถือ แทนคำว่า ปล่อยวาง เพราะปล่อยวาง ไม่ใช่ มรรค เป็นการหนีจากปัญหา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทียังพอกพูนกิเลส เขาทั้งหลายจึงคิดว่า การปล่อยวาง เป็นคุณธรรมขั้นสูง แท้ที่จริงในสายภาวนาของพระอริยะ การปล่อยวางเป็นการสะสมปัญหา และ เป็นการหนีปัญหา จึงไม่สามารถไปสู่ประตูอมตะได้ ผู้มีปัญญาย่อมใคร่ครวญ ด้วยสติ ตามความเป็นจริงว่า เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา เรามีความโสกะปริเทวะ เพราะตัณหา เมื่อรู้ดังนั้น บัณฑิตผู้ฉลาดย่อมดำเนิน มรรคามัคคญาณทัศนวิสุทธิ โดยไม่มี วิจิกิจฉา......."

ข้อความส่วนหนึ่ง จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ฉันเป็นนักฟัง มากกว่า เป็นนักสอน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 30, 2016, 02:24:42 pm
"อากาศมันร้อน น้ำก็แห้ง ฝนก็ไม่ตก พืชผลเริ่มเหี่ยวเฉา มันก็ร้อน ๆ ทั้งข้างนอก พาลให้ร้อนข้างใน นอกจากจะร้อนเพราะดินฟ้าอากาศแล้ว ยังมีเรื่องให้ร้อนใจอีก ไหนจะปากท้องลูกน้อง ไหนจะต้องเลี้ยงพ่อแลี้ยงแม่ ไหนจะต้องหาเงินใช้หนี้ ค่าเช่าผืนนา มองเห็นโยมนั่งพูดแล้วหลั่งน้ำตา พระอย่างไรจะไปช่วยอะไรเขา สงสาร ก็ไปช่วยไถนาดีไหม ? หน้าที่ของเรากับโยม ก็แค่ต้องทำตัวให้สมกับเป็นเนื้อนาบุญ บางคนบ่นว่า ทำไมไม่พูดสอนโยม ฉันก็ตอบว่า โยมไม่พร้อมให้สอน แต่โยมพร้อมที่จะระบาย ก็คงต้องทำตัวเป็นกระโถน คอยฟง แล้วให้กำลังใจ โยมไป สอนโยมพุทโธ ยอมก็เถียงคำ พูดคำ สอนให้วางใจ โยมก็บอกว่า ทานไม่ได้มาทำนา จะรู้ความทุกข์ของคนทำมาหาเช้ากินค่ำได้อย่างไร มันก็จริง สรุปโยมต้องการฉันเพียงเพื่อการฟังเขาพูดความทุกข์ ฉันก็ยินยอมรับฟัง นั่งฟังให้โยมสบายใจ อันที่จริงไม่ใช่ มีเรือ่งแค่นี้ ส่วนใหญ่ 80 เปอร์เซ้นต์ เวลาพบพระอาจารย์กัน ก็จะเล่าความทุกข์ของเขาให้ฟังกัน มีเพียง 20 เปอร์เซ้นต์ ที่มาเรียนกรรมฐาน อย่าคิดว่าการสอนพระธรรมขั้นละเอียดจะเป็นเรื่องง่ายนะ ตราบใดที่ยังมัวสาระวนอยู่กับ เรื่อง กิน กาม เกรียติ ตราบนั้นไม่มีทางที่จะสามารถรับฟัง พระธรรมขั้นละเอียดได้ ดังนั้นธรรมที่ต้องบอกประจำก็คือ การตั้งสติ การรู้ละ และ ปล่อยวาง จนธรรมสามอย่างนี้ มันเริ่มบดบังตัวพระธรรมแท้จริงไปทุกวัน เพราะ ว่าพระก็พยายามจะสอนการภาวนาแบบง่าย ๆ แต่เป็นขั้นสูง ตามภูมิธรรมแต่ละท่าน เคยนั่งมารถโยมท่านหนึ่ง เขามาส่งที่วัด โยมสอนพระมาตลอดทางเลย แต่โยมก็เชื่อมั่นกับคำสอนของครูท่านหนึ่ง ที่สอนให้ตามดูจิต เดี๋ยวก็บรรลุธรรม ถามโยมว่า ตามดูจิตมากี่ปีแล้ว โยมตอบว่า ตั้งแต่ก่อนเกษียณ จน อายุ 74 ปีแล้ว โยมเป็นข้าราชการระดับสูง ระดับจังหวัด นะ ( สงวนนาม ) ดังนั้นหลาย ๆ ท่านเวลาพบฉันจึงไม่ได้เรียนธรรม กรรมฐานใด ๆ เลยนอกจาก ฉันได้รับฟังความทุกข์ ของคนทั้งหลาย ไปคนละแบบ ..... "

ขัอความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส

(http://image.mcot.net/media/images/2014-05-21/14006437142586-948x632.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://image.mcot.net (http://image.mcot.net)


หัวข้อ: ยิ่งภาวนา ยิ่งจองหอง โอหัง กระด้าง ผิดทางแน่นอน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 30, 2016, 03:00:41 pm
(http://www.madchima.net/images2559/ubol-01.jpg)

วันนี้วันพระ ฝากไว้ จากบันทึก เรื่อง ผู้ภาวนายิ่งสูง(ญาณ) ก็ ยิ่งอ่อน( จากมานะ)
"ยิ่งภาวนา ยิ่งกระด้าง ยิ่งหยิ่ง โอหัง ถ้าเป็นอย่างนี้เลิกภาวนา ซะนะเพราะว่า มันไม่ถูกแล้ว ยิ่งภาวนา ยิ่งอ่อน ยิ่งถ่อมตน ยิ่งไม่มีตน ถ้าอย่างนี้ถูกทาง เจริญให้มากขึ้น 
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ขอบคุณ ทุกท่าน ที่ร่วมปิดทองด้วยกัน
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มีนาคม 30, 2016, 04:15:45 pm
"ขอบคุณทุกท่าน หลายปีมานี้ มีอาสาช่วยงานก็หลายท่าน แต่พอเริ่มจะได้ช่วยคือต้องผ่านการพิสูจน์ตน ว่าจะมั่นคงในพระธรรมกรรมฐาน ขนาดไหน ก่อนที่จะมอบงานสำคัญให้ มีทั้งการทดสอบตรง และทดสอบการตอบปัญหา สุดท้าย มีผู้ผ่านไม่กี่ท่าน ที่ยังมั่นคงในพระธรรมกรรมฐาน เดินหน้าในสายธรรมกรรมฐาน แม้ว่าจะต้องรับรู้ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหา ขอบคุณที่หลายท่านก็ยังคงตั้งใจเหนียวแน่นในพระธรรมกรรมฐาน ร่วมกันปิดทองด้วยกันตลอดมา แม้ผู้ที่จากไปด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ฉันก็ขอให้ทุกท่านถึงธรรมแก่นสารของท่าน ตามที่มุ่งมาดไว้ ไม่มีใครถูกหรือผิดในการดำเนินวิธี ตามเป้าหมายของแต่ละท่าน เพราะว่าเป้าหมายการเผยแผ่พระกรรมฐาน คือ สร้างสันติสุขภายในให้แก่ผู้ปรารถนา การไม่กลับมาเกิดเป็นหลัก และสร้างบารมีให้กับผู้ที่ยังต้องโลดแล่นในสังสารวัฏ ด้วยการปิดทองหลังพระด้วย ท่านอยากจะอยู่ต่อก็เป็นเรื่องของท่าน ท่านอยากจะออกก็เป็นเรื่องของท่าน เพราะธรรมะใครภาวนา คนนั้นก็ได้ ฉันภาวนาฉันก็ได้ของฉัน ท่านภาวนา ท่านก็ได้ของท่าน นั่นเอง ดังนั้นแม้ท่านจากฉันไป ไม่ว่าเหตุผลใด ๆ ก็ตามโปรดจำไว้ว่า ฉันคือกัลยาณมิตร ไม่ใช่ ศัตรู ที่มาทำร้ายท่านให้ตกต่ำลง.... "
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
http://www.nanagarden.com (http://www.nanagarden.com)

(https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/hphotos-xlf1/v/t1.0-9/12512747_904809679635477_1151180556674726904_n.jpg?oh=841c78a46345ac2ad11f574fa6bc24cb&oe=5775C64A)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ มีนาคม 31, 2016, 06:07:45 pm
(http://www.bloggang.com/data/ta-pran-boon/picture/1196099123.jpg)

"อายุเป็นเพียงตัวเลข อย่าได้ประมาท ต่ออายุ ผู้มีปัญญาไม่พึงประมาทแม้เพียงวันหนึ่ง ราตรีหนึ่งที่ผ่านไป จงให้ความสำคัญ กับเวลาเฉพาะหน้า ในการสร้างกุศล ก่อนที่จะไม่มีโอกาส บัณฑิต สงฆ์ คนพาล เด็ก ราชา คฤหบดี จัณฑาล คนทราม ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแล้ว ไม่มีอายุที่แน่นอน ที่แน่นอน คือความตาย มีอย่างแน่นอน หากไม่มีชัดรู้ชัดด้วยใจว่า จะละสังขารเมื่อไหร่ ยิ่งไม่ควรประมาท ความประมาทเห็นหนทางแห่งความเกิดตาม ผู้ไม่ประมาทชื่อว่า ไม่ตาย ผู้เจริญธรรม แม้เพียงส่วนหนึ่ง ในอุบายสงบใจในศาสนานี้แล้ว ก็ชื่อว่าไม่ประมาท ไม่ทำราตรีที่มีอยู่ให้เสียไป ยิ่งถ้าเป็นสาวกสงฆ์ด้วยแล้ว ควรตระหนักในธรรม ว่า วันคืนล่วง ๆ ไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่ เราได้คุณวิเศษที่สมควร ตามปฏิญญาแล้วหรือยัง อย่ามัวแต่แสวง ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ กันจนเกินไป อย่ามัวแต่เพลินกิจด้านนอกมากเกินควร ควรใช้เวลา สำรวจใจตนเอง ขจัดความเศร้าหมองที่เกิดขึ้น อย่างที่สุด ให้สมกับเป็นเผ่าพงษ์ แห่ง พระอริยะ เถิด"
ข้อความส่วนหนึ่ง จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส



ขอบใจที่ช่วยนำมาลงให้แต่กระทู้นี้ พระอาจารย์อยากสงวนไว้เป็นส่วนตัว แต่ก็ล็อกไม่ได้ สำหรับบุคคลสีน้ำเงิน  อย่างไรถ้าช่วยแล้ว ก็ควรปรับขนาดอักษรให้ด้วย แล้วอ้างอิงที่มาให้ด้วยก็ดี นะ



หัวข้อ: ดวงตาเห็นธรรม ประจักษ์ มันเป็นธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 03, 2016, 01:14:45 pm
"การเรียนธรรมแบบภาวนา ก็คือการมองสภาวะธรรม ที่อยู่เบื้องหน้าให้ชัดเจนอย่างสองส่วน คือ เมื่อมีสุข ก็ต้องมีสติ รู้ว่า สุขต้องดับ ไม่ตั้งอยู่ถาวร เมื่อสุขดับ ทุกข์ก็ต้องเกิด เมื่อทุกข์เกิด ทุกข์ก็ต้องดับ ไม่ตั้งอยู่อย่างนั้น เมื่อทุกข์ดับ สุขก็เกิด ญาณรู้ชัดที่สลับไปมานี้ ที่เรียกว่าการบรรลุ ได้ดวงตาเห็นธรรม มันไม่ได้อยู่ที่ทุกข์ หรือ สุข แต่มันอยู่ระหว่างที่ ที่ทุกข์ดับไป และสุขเกิดขึ้น และ สุขดับไป ทุกข์เกิดขึ้น ยถาภูตาญาณทัศศนะ อยู่ตรงนั้น หลายท่านมัวสาระวน พิจารณา แต่ทุกข์ หรือ สุขเท่านั้น จึงไม่ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า มันเป็นธรรมดา มันมีความเกิดเป็นธรรมดา มันมีความแก่เป็นธรรมดา มันมีความเจ็บเป็นธรรมดา มันมีความตายเป็นธรรมดา มันมีความพลัดพรากเป็นธรรมดา มันมีความไม่สมหวังเป็นธรรมดา มันมีโสกะปริเทวะ เป็นธรรมดา การเห็นด้วย ภูตญาณทัศศนะ นี้ ชื่อว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม ผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ต้องสอนให้ละ เขาก็รู้จักละ ไม่ต้องสอนให้วาง เขาก็รู้จักวาง ไม่ต้องชี้ชักนำไปสู่ประตูอมตะ เขาจะเดินสู่ประตูอมตะ ด้วยตนเอง ผู้ที่ได้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ทำร้าย หรือ ติเติียน พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า ด้วยประการทั้งปวง...."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://p2.s1sf.com/ho/0/ud/14/74029/02.jpg)


หัวข้อ: อย่ารอเรียนธรรม ตอนที่มีทุกข์ ตอนที่มีสุขคือเวลาแห่งปริยัติจริง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 04, 2016, 11:43:05 am
(http://image.mcot.net/media/images/2014-05-21/14006437142586-948x632.jpg)

"ยามอยู่สบาย กันเรา ก็มักจะเพลิดเพลิน กับอายุ และ สุข ที่อยู่เบื้องหน้า อันนี้ก็สมควรอยู่ เพราะว่า สุขที่อยู่เบื้องหน้านั้น มันเป็นเวลาพักทั้งกาย และ ใจ ของทุกคน บางคนก็มีความสุข กับการทำงาน กับการเที่ยว กับการกิน กับครอบครัวพี่น้อง ลูกหลานญาติมิตร สุขนี้มันเป็นเวลาพัก และเป็นรางวัลชีวิตส่วนหนึ่ง ซึ่งอันใคร ๆ ก็ล้วนทีจะปรารถนา และพยายามยึดไว้ แต่ในทางกลับกัน พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้รู้จัก ทุกข์ แต่การจะรู้จักทุกข์ มันก็ต้องมีสุขก่อนนั่นเอง แต่ถ้าจะเรียนรู้ ทุกข์จริง ๆ นั้นบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะว่า โดยปกติเรามักแสวงหาความสุข อยู่สม่ำเสมอ คือ ทุกเวลา โอกาสที่จะรู้จัก ทุกข์ จึงเป็นโอกาสที่มันหนักหนาสาหัส นั่นเองที่จะรู้จักทุกข์ แต่เพราะความหนักหนาสาหัสนั้น มันก็กดดันจิตใจ ให้ละคลายไม่ได้ เพราะไม่ได้สั่งสมธรรมมาก่อน พอความทุกข์เข้ามา ครอบงำหลายคน ก็หมดอาลัยตายอยาก บ้างก็ตัดสินปัญหา ด้วยการฆ่าตัวตายบ้าง เป็นส่วนใหญ่ หรือตัดสินใจเดินทางผิด ซึ่งก็ผิดเพิ่มขึ้นทุกข์เพิ่มขึ้น แทนที่จะหมดทุกข์ การเป็นทุกข์เท่าขั้น เพิ่มขึ้นไม่จบสิ้น ดังนั้นขณะที่มีความสุข นั่แแหละควรจะศึกษาธรรม ที่ชื่อว่า มรรคไว้กอ่น เพราะถ้าจิตใจมีพื้นฐาน ทางธรรมะแล้ว มันจะพร้อมเผชิญกับความทุกข์ ไม่ใช่ให้ทุกข์ก่อนแล้วจะเรียนมรรค อาจจะสายเกินแก้ และกระทำไม่ได้.... "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 04, 2016, 12:13:29 pm
"โรคประจำตัวฉัน สมัยก่อนที่จะได้ปฏิบัติกรรมฐาน นั้นมีอยู่หนัก ๆ 2 โรค คือ 1.ปวดหัวข้างเดียว (ไมเกรน ) 2. หอบหืด พอเริ่มปฏิบัติกรรมฐานแล้ว วันที่ก่อนจะได้ สมาธิ ( ไม่บอกนะว่าได้ระดับไหน ) ก็ล้มป่วยด้วยอาการไข้สูง ไม่มีเรี่ยวแรง นอนอยู่กับที่ ขยับตัวไม่ได้ แต่มีสติรู้ว่ามีอะไรเกิด ร่างกายร้อนขึ้นทั้งตัวเหมือนถูกย่าง น้ำดื่มก็ไม่มีแรงยกดื่ม ได้แต่นอนตากลม อยู่อย่างนั้น เหงือ่ออกชุ่มกาย ตอนนั้นนึกว่าจะต้องตายแล้ว อาการแย่ยิ่งกว่าโดนไข้หวัดใหญ่ ที่สวนโมกข์ ตอนนั้นก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน นอนอยู่แต่ในมุ้ง 3 วัน 4 คืน ไม่มีคนดูแล ( น่าอนาถ เหมือนกัน ) ครั้งนี้ก็เช่นกัน เป็นคล้ายกันแต่แตกต่างกันตรงที่ว่า รู้สภาพจิต ไม่ได้หลับ ยังสามารถภาวนาที่ หทัยวัตถุได้ ผ่านไป 4 วัน 5 คืน อาการไข้ก็หาย สามารถลุกขึ้นนั่งได้ ตามปกิต เดินดื่มน้ำ ออกกำลังได้เป็นปกติ ตั้งแต่วันนั้นมา ไมเกรนหายไป หอบหืด ก็หายไป ไม่เคยต้องกินยากันอีก นี่แหละคือผลจากการปภาวนากรรมฐาน ก็ช่วยเยียวยากายให้ส่วนหนึ่ง ถึงไม่ทั้งหมด ก็ช่วยได้หลายส่วน ..... "


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/903/5903/images/Bua_Central/2_2Jai.jpg)


หัวข้อ: การเห็นทุกข์ ก็คือการเก็บกวาดขยะ สิ่งปกปิดในเบื้องต้น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 09, 2016, 08:57:01 pm
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ
( ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๑ )
ความเข้าไปรู้ชัดในสภาวะธรรม ที่ชื่อว่าเกิดขึ้น ที่ชื่อว่าตั้งอยู่ และแม้นที่สุดที่ชื่อว่าดับไป การเห็นแจ้งในสภาวะ หมายถึงเห็นรู้ชัดว่า รูป ไม่เที่ยงประการหนึ่ง รูปเป็นทุกขประการหนึ่ง รูปเป็นอนัตตาประการหนึ่ง เมื่อรู้ชัดทั้งสามประการจิตไม่เกาะเกี่ยวด้วยความเบื่อหน่าย ด้วยความจางคลาย ด้วยความเป็นผู้พ้นจากการครอบงำ ของ โสกะปริเทวะทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า การรู้เห็นตามความเป็นจริง ผล จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ละความยินดี และความไม่ยินดี ในโลกนี้เสียได้ นั่นเอง..."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://f.ptcdn.info/548/021/000/1406105287-20140708IM-o.jpg)


หัวข้อ: ุถ้าทำให้ตัณหา รำคาญ เรา บ้าง เราก็จะไม่ทุกข์ นะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 10, 2016, 02:03:52 pm
"วันนี้จะลองพูดวิธีละตัณหา แบบชาวบ้าน นะ เพื่อลดทุกข์ที่เกิดขึ้นภายใน อันอาศัยเหตุปัจจัยทั้งภายนอก และภายในเป็นเครื่องทำให้เกิด โดยมีตัณหาเป็นเครื่องผูกเหนี่ยวนำ ผู้ผูกตัณหาย่อมได้รับผลคือ โสกะปริเทวะทุกขะอุปายาส ( ความโศรกเศรา ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความลำบากอึดอัดใจอันเกิดความไม่ได้ดั่งใจ ไม่สมหวัง ผิดหวัง เป็นต้นทั้งหมดนี้ อาศัยตัณหา ( ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ) เป็นเครื่องผูกเหนี่ยวนำ บัณฑิตผู้ฉลาดจึงอุทิศตนให้กับพระธรรม เพื่อขจัดตัณหา ( ความอยาก ) ลองเริ่มง่าย ๆ ดูสิถ้ามันอยากได้อะไรสักอย่าง ให้ภาวนา พุทโธ ให้มากขึ้น แล้วพิจารณาความเป็นจริงมันมีความจำเป็นหรือไม่ ที่อยากได้ ๆ เพราะอะไร เชือ่เลยว่าถ้าท่านทั้งหลาย หมั่นกระทำอย่างนี้ ตัณหาก็จะเริ่มจากท่านไป ที่ละหน่อย เพราะตัณหา เขาจะรำคาญคนที่มีเหตุมีผล ที่ต้องคอยถามอยู่เรื่อยว่า อยากได้ทำไม อยากได้ไปทำอะไร อยากได้เพราะอะไร ..... ดังนั้นทุกข์ที่เกิดภายใน ต้อง ทำให้ตัณหารำคาญเสียบ้าง นะ...."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://i58.tinypic.com/xohzf7.jpg)


หัวข้อ: นักสู้ต้องหล่อหลอม ตนเอง ภิกษุผู้หวังธรรมเบื้องสูง ย่อมต้องฝึกฝนตนเช่นกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 12, 2016, 09:26:31 am
(http://www.environnet.in.th/wp-content/uploads/2016/02/Image1.jpg)

"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"
สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2528
ฤดูร้อนปีนี้ มาเดินเดียวดาย อยู่ที่ น้ำปาดเป็นส่วนใหญ่ อากาศมันก็ร้อนตอนเดินก็หวลระลึกถึงสมัยไปเป็นพี่เลี้ยงสามเณรภาคฤดูร้อน ปี พ.ศ.2528 ตอนนั้นเดินทางเข้าร่วม ธรรมโฆษณ์สัญจร สายเหนือ เป็น สามเณรวิทยากร สื่อการสอน ครานั้น หน.ทีม คือ พระอาจารย์วิรัตน์ วิรตโน ( ท่านเป็นหลานหลวงพ่อพุทธทาส ผู้เปิด โรงเรียนพุทธบุตร ไชยา ) พระอาจารย์เบิ้ม พระอาจารย์สงวน พระอาจารย์สมพงษ์ และ อีก 10 กว่าพระอาจารย์ ทำหน้าที่เข้าเผยแผ่ พุทธธรรมธรมโฆษณ์ ฉลองอายุหลวงพ่อพุทธทาส 60 ปี ( จำผิดหรือปล่าว ขออภัย ) มุ่งเข้าสอนตาม วิทยาลัยครูทั่วประเทศ อันนี้เป็นสายเหนือ สิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย สมัยนั้นยังไม่เป็นราชภัฏ ตอนนั้นได้นายก คุณชวน หลีกภัย เป็นผู้อุปถัมภ์การเผยแพร่ธรรมครั้งนั้น ส่วนตัวเคยสนทนากันอยู่บ้าง ที่สวนโมกข์ โยมเป็นคนเรียบง่าย ขรึม ๆ แต่ก็
พอคุยสนทนากันได้ ก็ได้รู้จักกันที่นั่น

ตอนนั้นชอบใจ พระอาจารย์สงวน จันทะวังโส ท่านเป็นพระที่พูดธรรมะสนุกสนาน ท่านเป็นคนเชียงใหม่ แต่มาอยู่ภาคใต้ กับพระอาจารย์มหาประทีป ที่ธรรมสถานหาดทรายแก้ว สงขลา ส่วนตัวตอนทอยู่ที่ วค.ลำปาง ก็ฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ถวิล สุญญธาตุ และพระอาจารย์วิรัช รวิวังโส อยู่แล้ว แต่เพราะว่าชอบการเดินทางและอยากรู้ประเพณีภาคใต้บ้าง จึงติดตามอาจารย์สงวนไปที่สงขลา

ปีนี้ พ.ศ.2559 ก็หลายปีที่ผ่านแล้วนี่ วันนี้เดินตากแดด ชมทุ่งนาแห้งแล้ง ต้นไม้ยืนตาย เห็นแล้วเศร้าใจ ผลพวงจาก อุตุ ( อากาศ ฤดู )มันผิดเพี้ยนไปหมดจากเมื่อก่อน เยอะมาก น้ำขาดแคลนคนไหนไกลคลองก็ทำกสิกรรมไม่ได้ ชีวิตก็ยากเพิ่มขึ้นไปอีก เห็นใจ แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ นอกจากให้ธรรมะเยียวยาใจให้มีความอดทนเพิ่มขึ้น
คนเราจะมีความอดทนได้ ก็ต้องมีการสะสมฝัึกฝนตน ตัวฉันวันนี้ที่ยังอดทนอยู่ได้ ก็ต้องขอบคุณในสายธรรมเก่า ที่หล่อหลอม คุณธรรมมาให้ มีความอดทน อดกลั้นรู้จักคิด อย่างมีเหตุ มีผล นับว่าไม่ได้เสียหายอะไร ที่ได้สายธรรมสายนี้เป็นสายแรก ต้องบอกว่า สายธรรมสายนี้ เรียงความคิด อย่างมีเหตุมีผลให้กับฉัน มีกินก็กิน ไม่มีกินก็ทำใจให้เฉย แสวงไปอย่างสงบ ไม่ต้องทุรนทุราย
เดินกลางแดด อดอาหาร อดน้ำ บ้าง นอนหลับไม่สะดวก เดินไปรู้สึกเหม็นตัวเองมากขึ้น น่าขยะแขยง ชุ่มด้วยเหงื่อ เปื้อนด้วยไคล ส่งกลิ่นเปรี้ยวคละคลุ้ง แม้ยามเป็นก็น่ารังเกียจ แม้ยามตายก็น่าหน่ายหนี ร่างกายเป็นที่ประชุม ของธาตุทั้ง 4 ทั้งสด แห้ง หยาบ กลาง ประณีต มองอย่างไร ก็ไม่น่าพิศมัย เป็นแต่เพียงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มาประชุมกัน มีความรู้สึก นึกคิด จำได้ ทีบอกว่าเป็นเจ้าของ แบบไม่ใช่เจ้าของ สั่งการไม่ได้ อย่าเหม็นนะ อย่าหิวนะ อย่าร้อนนะ อย่าเหนื่อยนะ สั่งไม่ได้สักอย่างเลย เออ แล้วเราเป็นเจ้าของมันตรงไหนนี่ นึกไปเมื่อก่อนนั่งส่องกระจก ก็นึกว่าตนเองงาม แท้ที่จริงแล้วมันน่าหัวร่อจริง ๆ หลงไปได้ ยังไง
แดดร้อนก็ต้องนั่งพัก นั่งพักก็เลยได้นั่งพิมพ์ พอให้ได้คุยกัน
เจริญพร



ข้อความบางส่วนจาก .......
บันทึกข้อความใหม่ จากการเดินทางและการภาวนา ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: เคร่งระเบียบ เพื่อความผาสุกของการอยู่ร่วมกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 13, 2016, 09:40:03 am
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"
สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2528


"เคร่งระเบียบ หมายถึง ความถึงความมั่นคงในกิจวัตร 10 อย่าง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก อาทิ
๑. ลงอุโบสถ ( สำหรับสามเณรคือการทำวัตรเช้า เย็น)
๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ ( สำหรับสามเณรเป็นส่วนตัว )
๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕. รักษาผ้าครอง (สำหรับสามเณรนุ่งห่มเป็นปริมณฑล)
๖. อยู่ปริวาสกรรม ( สำหรับสามเณร ต้องทำความดีต่อศีลแล้วแต่พระอาจารย์จะสั่ง )
๗. โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์ ( อุปัฏฐาก อุปถัมภ์ )
๙. เทศนาบัติ ( สำหรับสามเณร ทบทวนศีล ทุกวัน )
๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ใช้สอยปัจจัยอย่างมีสติ)
ดังนั้นคำว่า เคร่งระเบียบ ก็หมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกด้วยระเบียบ เพราะระเบียบย่อมนำมาซึ่งความพร้อมเพรียง ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความกระชับ รวดเร็ว สะดวก ดูแลง่าย นั่นเอง
"

ข้อความบางส่วน ยังไม่ได้ลงไว้หนังสือ
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.innnews.co.th/images/news/2012/6/368374-01.jpg)


หัวข้อ: เฉียบระบบ หมายถึง ความซื่อตรง และมั่นคง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 14, 2016, 07:29:44 am
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"
สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525

 เฉียบระบบ หมายถึง ความซื่อตรง และ ความมั่นคงในธรรม หากระเบียบได้ทราบกันแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ระเบียบมีอยู่ต่อไปได้ ในก็คือ ความศรัทธา ที่นำไปสู่ความซื่อตรง และความมั่นคงในธรรม เพราะความศรัทธา ย่อมเป็นตัวผลักดันให้ บุคคลยังคงตั่งมั่นให้อยู่ระเบียบ 10 ประการนั้นได้


ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.ktc.co.th/ktcworld/data/uploadimage/20080521-0310572.jpg)


หัวข้อ: เคารพพระธรรม หมายถึง การใส่ใจต่อพระธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 14, 2016, 07:37:53 am

"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525

  เคารพพระธรรม หมายถึง ความเอาใจใส่ต่อพระธรรม การเคารพก็คือการทำความรู้ในสภาวะธรรม ทั้งที่เป็น สมมุติ และ บัญญัติ อันเป็นส่วนโลกิยธรรม และ โลกุตตรธรรม ด้วยความใส่ใจ และทำไว้ในใจโดยแยบคาย การเคารพพระธรรม ทำได้ด้วยการ สวนะ ( ฟัง ) และ เทศนา (แสดง ) ตลอดถึง ภาวนา (ปฏิบัติ) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้พระพุทธเจ้า ก็ทรงให้ความเคารพพระธรรม ขนาดพระภิกษุแสดงธรรมอยู่ พระองค์ก็นั่งฟังอยู่ด้านนอกไม่ได้เข้าไปขัดจังหวะการแสดงธรรม

   การเคารพพระธรรม ก็เหมือนการเคารพตัวเอง


  ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.artbangkok.com/wp-content/uploads/2012/08/jamauree.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.artbangkok.com (http://www.artbangkok.com)


หัวข้อ: เร่งรัดปฏิบัติ ปฏิบัติ เป็นผู้กระทำความเพียร มีสติ และไม่ประมาท
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 14, 2016, 09:32:49 am

"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525

เร่งรัดปฏิบัติ ปฏิบัติ เป็นผู้กระทำความเพียร มีสติ และไม่ประมาท การอบรมสามเณรมาถึงตรงนี้ได้ ทีเ่ห็นจากประสบการณ์ ก็มีที่ หาดทรายแก้วนี่แหละ ที่ ได้พระอย่าง พระอาจารย์สงวน จันทะวังโส และ ทีมงานพี่เลี้ยง ซึ่งรวมทั้งฉันด้วย ได้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เด็กเวลามาอยู่ด้วย 7 วันแรกก่อนบวช ก็จะหงอยเหงา แต่ที่นี่มีทะเล อยู่ติดทะเล พาเด็กเดินเล่นชายฝั่งให้เล่นน้ำพอได้คลายเครียดคลายเหงา ไปบ้าง การอบรมเป็นไปอย่างเข้มข้น สามเณรเมื่อบวชแล้ว จะได้ฉันจริง ๆ จัง ก็เวลา 09.00 - 10.30 น. ให้เวลาฉันนาน ตอนเช้าทางแม่ชี จะทำข้าวบดผสมเกลือ เหมือนโจ๊กมาให้ดื่มรองท้องไปก่อน เวลาสาย ๆ ก็จะมีญาติโยมมาทำบุญกัน อาหารถูกนำรวมกัน และ เมื่อถึงเวลา 08.30 น. ก็จะพาสามเณรมารอรับทาน ให้นังอย่างสงบบนผืนทราย ที่ลานหินโค้ง ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์มหาประทีป ท่านก็จะแสดงธรรม ไปจนได้เวลาพระอาจารย์ตักอาหาร และลูกเณร ตักอาหาร กว่าจะได้แยกไปฉันตามกลุ่มของตนเอง ก็แล้วแต่พระพี่เลี้ยงจะพาฉันตรงไหน ส่วนมากฉันพาไปฉันริมหาด คือ นั่งฉันใต้้นสนร่มรื่่น ใบสนนั่งได้โดยไม่ต้องปูผ้าลื่นสะอาด ทรายไม่ติดตัว ที่เล่าตรงหนึ่งส่วนหนึ่ง เพราะว่า เมื่อมาถึงคำว่า เร่งรัดปฏิบัติ นั้นหมายความว่า ทีมอาจารย์ พระพี่เลี้ยง ต้องให้ความรู้แก่ลูกเณรของกลุ่มตน ตามความสามารถเพื่อที่จะให้ลูกเณร เมื่อลาสิกขาบถไปแล้ว ใช้ชีวิตได้เยี่ยงชาวพุทธ มีคุณธรรมเป็นคนดีของบ้านเมือง ของครอบครัว ไม่หลงเดินทางผิด นี่คือความหมายของคำว่า เร่งรัดปฏิบัติ

    เร่งรัดปฏิบัติ ด้วยการมอบเวลาในการภาวนาแบบง่าย จนถึงระดับยาก ในวิถีชีวิตของสงฆ์ เช่นการเดินจงกรม การยืนภาวนา การนั่งภาวนา การนอนภาวนา การใช้อิริยาบถย่อยในการภาวนา ทั้งหมดนี้ ถูกกระบวนการใจ ต่อ ใจ พี่เลี้ยงต้องทำหน้าที่ นอนที่หลัง ระวังภัย ตื่นก่อน ดูความเรียบร้อย มีหลายครั้งที่อัตภาพไปไม่ไหว เพราะเวลานอนของที่นี่ คือ 21.30  น. ตื่น 03.45 น. ทำวัตรเช้า 04.00 น. จนกระทั่ง ลูกเณรได้ดื่ม โจ๊ก แล้วนั่นแหละ ถึงจะได้คลายอิริยาบถ กันก่อนที่จะรับอาหาร 10.30 - 13.30 น.เป็นเวลาที่พี่เลี้ยง จะดูแลลูกเณรตามอัตภาพ 13.30 น - 16.00 ลูกเณรจะต้องฟังธรรม พร้อมเพรียงกัน 16.00 - 17.00 สรงน้ำ ล้างตัว ตามอัธยาศัย  17.30 - 21.00 น.ทำวัตรเย็น ฟังธรรม ภาวนา 21.00 - 21.30 กลับฐานกลุ่มเตรียมจำวัตร การนอนจำวัตร ที่นี่นอนตามผืนทรายไม่มีกุฏิให้พัก ถ้าฝนตก จึงจะอนุญาตใช้โรงมหาสพชั่วคราว แต่ฝนฤดูร้อน ไม่ค่อยตก เจอฝนตกแค่วันเดียวเท่านั้นเอง   

     ดังนั้น เร่งรัดปฏิบัติ จึงเป็นเหมือนหัวใจในการถ่ายทอดธรรม

   ตั้งแต่ไปเป็นพี่เลี้ยงสามเณร หลายที่ในประเทศไทย มี 2 ปี นี่แหละที่เห็นว่าการอบรมสามเณร ระบบนักรบธรรม จริง ๆ ระเบียบปฏิบัติแบบไม่กระดิก อย่างกับทหารเลย แต่ทุกรูป ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรค จนเป็นเสามเณรเสร็จสิ้นโครงการกันทุกรูป การอบรมสามเณรเยี่ยงนี้ ยังไม่เคยเห็นที่ไหนทำได้แบบนี้เลย เพราะหัวใจหลัก อยู่ที่ทีมพระพี่เลี้ยง ที่ต้องรับนโยบาย และทำเหมือนกัน นั่นเอง


   
  ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.trueplookpanya.com/truelittlemonk/images/boy_img/monk_all.png)



หัวข้อ: เคร่งครัดวินัย คือ การสร้างหิริ โอตตัปปะ ให้สูง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 14, 2016, 09:34:16 am
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525

เคร่งครัดวินัย หมายถึง การสร้างหิริ โอตตัปปะ ให้สูงขึ้น ในสามเณรที่อยู่ในโครงกาย การมีศีล รับศีล เป็นเรื่องง่าย แต่การที่จะรักษาศีล สำหรับบุคคลผู้เริ่มต้นนั้น กลับเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ก็ย่อมต้องมีบุคคลที่จะย่อหย่อนต่อศีล ดังนั้นการสร้างอุปนิสัยให้รักษ์ ศีล ของสามเณรจึงอยู่ในคำว่า เคร่งครัดวินัย คำว่า เคร่งครัดหมายถึง ความรักศีล เว้นจากการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน โดยชี้ความหมายของศีล และ ประโยชน์ของศีล เฉพาะหน้า ในหลักการของสวนโมกข์ เมื่อจะสอนธรรม ไม่พูดถึงผลในอนาคต แต่จะพูดและแสดง ถึงผลที่จะได้รับในปัจจุบัน ในก็คือ ความสุขในเบื้องต้น เราจะไม่สอนว่า ถ้ารักษาศีล แล้วเธอจะรวย ไปเป็นเทวดา บนสวรรค์ แบบนี้ไม่ใช่วิธีการสอน ในแนวทางสวนโมกข์ แต่เราจะสอนว่า การเที่เว้นจากการเบียดเบียน ซึ่งกันและกัน นั่นยอ่มทำให้ ใจเรามีความสุข บ้านมีความสุข พ่อแม่ พี่น้องมีความสุข ประเทศชาติมีความสุข อย่างนี้เป็นต้น คนมีศีลเป็นคนที่สูงด้วยใจ คนที่สูงด้วยใจย่อมมีจิต เหนือกว่าเดรัจฉาน เพราะเดรัจฉาน มันชอบการเบียดเบียน เป็นต้น

    เคร่งครัดวินัย คือการสอนให้สามเณร รักษ์ศีล โดยเฉพาะ ศีล 10 ประการ มารยาท 75 ข้อ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันงามเป็นพุทธบุตร เป็นเทือกเถาเหล่ากอของสมณะ การรักษ์ศีล ไม่ใช่เป็นการทำเพื่อผู้อื่น แต่เป็นการทำเพื่อตนเองให้มีความสุข คนมีศีล อาจจะถูกเบียดเบียนได้ ดังนั้นคนมีศีล ก็ต้องรู้จกคบหาคนมีศีล และปกป้องคนมีศีล เพื่อใหัสังคมคนมีศีล มีความสงบ นั่นเอง


     ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.watpa.net/newweb/images/stories/37-_3234042.jpg)



หัวข้อ: มีใจอดทน หมายถึง การรู้จักข่มกลั้น ด้วยกาย วาจา และ ใจ เวลาถูกเสียดแทง กายใจ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 14, 2016, 09:54:38 am
"เคร่งระเบียบ เฉียบระบบ เคารพพระธรรม   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐานไปสู่ ศีล ทรงศีล )
 เร่งรัดปฏิบัติ เคร่งครัดวินัย มีใจอดทน   ( ตรงนี้เป็นพื้นฐาน ไปสู่ สมาธิ และการภาวนา )
ดำรงตนให้หน้าไหว้ ยอมตายเพื่อพุทธะ ละความเห็นแก่ตัว"( ตรงนี้ไปสู่เป้าหมายสูงสุด ของ พระพุทธศาสนา )

สโลแกน สามเณรใจสิงห์ เกาะหาดทรายแก้ว ปี พ.ศ.2525


มีใจอดทน หมายถึง การรู้จักข่มกลั้น ด้วยกาย วาจา และ ใจ เวลาถูกเสียดแทง กายใจ มันเป็นเรื่องที่ต้องเติมต่อให้กับคนที่ทำความดี เช่นการมีศีล การบำเพ็ญทาน การสร้างศรัทธา นั้น ต้องรู้จักอดทน อดกลั้น เมื่อผลแห่งความดียังไม่มาตอบสนอง หลายคนเวลาทำความดี ก็นึกถึงผลของความดี แบบติดจรวด คือ ได้ผลทันที ในแนวทางสวนโมกข์นั้น จะพูดถึงผลปัจจุบัน นั่นหมายถึง ว่าเมื่อเรากระทำความดี ผลก็คือความสุข ความสุขใจที่เกิดตรงนั้นนั่นแหละเรียกว่า สวรรค์ แต่ทำทำความชั่ว ขึ้นมา ผลก็คือความทุกข์ใจ หวาดกลัว หวาดระแวง ขณะที่จิตเป็นอย่างนั้น เรียกว่า ลงนรก ดังนั้นคำว่า สวรรค์ในอก นรกในใจ จึงแสดงกันง่าย ๆ ให้เห็นอย่างนี้

   เมื่อสามเณร ต้องรักษ์ศีล ก็ต้องดำรงตนด้วยศีล การถูกเบียดเบียน จากคนไร้ศีล มันย่อมต้องมี เพื่อส่งเสริมกำลังใจ สิ่งที่ต้องสอนให้ สามเณรมีความรู้ก็คือ ความอดกลั้น อดทน ไม่ต้องถามว่า เรารักษ์ ทำไมถูกเขาเบียดเบียน แต่จะให้ถามกลับไปว่า ถ้าเราถูกเขาเบียดเบียน เพราะเขาไม่มีศีล แล้วเราจะทำตัวไร้ศีลเบียดเบียนให้เป็นทุกข์ เหมือนเขาทำไม ในเมื่อตัวเราก็ยังความสุข ไม่อยากให้ใครเบียดเบียน เราก็ต้องรักษ์ศีล แม้จะถูกเขาเบียดเบียน ก็อย่าทำลายศีลของตนเอง ด้วยความอดกลั้น อดทน

      ไม่ยอมเสียศีล เพือแลกกับทรัพย์
      ไม่ยอมเสียศีล เพื่อแลกกับคำชมชื่อเสียงหรือยศ
      ไม่ยอมเสียศีล เพราะสุขอันอิงอามิส
      ไม่ยอมเสียศีล เพราะทุรยศ ต่อเผ่าพันธ์ แห่งพุทธะ

     นี่คือความอดกลั้น อดทน ที่เราทีมงานพระอาจารย์พี่เลี้ยงมอบให้ แก่ ลูกเณร ด้วยความรัก ไม่ได้เกิดจากท้องพ่อ ท้องแม่เดียวกัน ไม่ได้มีสายใยด้วยตระกูล แต่เราผูกพันกันด้วย สายธรรม แห่งความเป็น พุทธะ นั่นเอง


     ข้อความบางส่วน จากบันทึกการเดินทางและภาวนา ของ ธัมมะวังโส

 (http://www.dhammajak.net/board/files/11_415.jpg)


หัวข้อ: สังขารทั้งหลาย มีความเสื่ีอมไปเป็นธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 15, 2016, 07:30:00 am
"ชีวิตคนที่ตายไปแล้ว มันต่อกลับมาไม่ได้ แต่ถ้าใครมีโอกาสฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ควรรักษาเวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่า ตายแล้วฟื้นไม่ได้เกิดได้กับทุกคน เมื่อมีโอกาสฟื้นขึ้นมาแล้ว ก็จงใช้เวลาในทางกุศลให้มากขึ้น วันนี้เห็นคนตาย หลายท่าน เห็นพ่อแม่ญาติพี่น้องโศรกเศร้า ความประมาทในขณะที่มีชีิวิตอยู่หากไม่ได้ประกอบบุญกุศล ไว้ก่อน จิตย่อมตกไปอบาย อย่างแน่นอน ยิงตายตอนดื่มสุรายาเมา ด้วยแล้ว แก่นสารหลังจากตายแล้วจะอยู่ตรงไหน ที่เห็นคือโลงและเชิงตะกอนเป็นเบื้องหน้า ...... "
บันทึกล่าสุด.....
บันทึกการเดินทาง และ ภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://p3.isanook.com/ho/0/ud/7/39965/b3.jpg)


หัวข้อ: สงกรานต์ ระลึกความตายกันบ้าง ทำบุญให้คนตาย แล้วตัวเราจะไม่ตายหรือ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 15, 2016, 10:02:33 am
(http://www.madchima.net/images2559/ut59/food-01.jpg)

ข้าวเหนียว 10 หมูทอด 15 บาท สำหับฉันวันนี้ ที่อยู่ต่างถิ่น เดินทางไม่มีบาตร จะเทศกาล หรือ ไม่เทศกาล ก็ต้องใช้ปัจจัย ซื้ออาหาร อันนี้ถือว่า ดี นะ เพราะบางบ้านเขาไม่ขายให้ บอกว่าไม่รับเงินจากพระ แต่ ไม่ขายก็ไม่ได้ ถวาย นะ พระแปลกหน้าเดินสะพายย่าม ไม่ม่บาตร ไม่มีกลด ดังนั้นที่ขายให้ฉัน ๆ ก็ดีใจ แล้ว อย่างน้อยได้อิ่มสักมื้อ อันที่จริงถ้าไม่ขายก็ 711 นะ ซ์้อนมเปรี้ยวสักขวด ก็ 25 บาทเหมือนกัน ก็อยู่ได้ ชีวิตพระเอาอะไรมาก มีก็ฉัน ไม่มีก็อย่าให้จิตทุกข์ แต่แปลกอยู่อย่าง เดินทางเขตนี้ ไม่มีใครทำบุญกับฉัน เขาว่าคนลาว เป็นคนบุญ แต่ ลาวที่นี่ไม่เหมือนอิสาณ ดูมันแข็ง ลาว อุตรดิตถ์ มันแข็ง เดินมา 7 วัน แล้ว ยังไม่เห็นโยมคนไหนไหว้ฉันสักคน มีแต่มองด้วยสายตา แปลก ๆ กัน ก็เล่าไว้ให้ท่านทั้งหลาย ที่เป็นศิษย์อย่าคิด ว่าอาจารย์จะสบาย นะ เวลาเดินทาง ไม่ได้สบาย สู้ อยู่ สนง.ไม่ได้ ถึงอดบ้าง แต่ก็ยังได้ฉัน อันนี้มันอดมากกว่า เหนื่อยมากกว่า คำถามแล้วทำไม อาจารย์ทำไมไม่กลับ ก็เพราะว่ามันมี ภาระกิจเหลืออยู่อีกอย่าง ( แต่บอกท่านกันไม่ได้ ) ก็ต้องอดทน สิ่งสำคัญการภาวนาลงเพียงเพราะว่า ความลำบากที่เกิดึ้น อย่าขาดการตั้งมั่นในธรรม ต้อง รักษ์ศีล หมั่น พิจารณาธรรม หมั่นระลึกนึกถึง พุทโธ มีการดูลมหายใจเข้าออกสม่ำเสมอ ระลึกถึงพระนิพพาน ระลึกถึงความตาย ปลงสังเวศ พิจาณาธรรม เนื่อง ๆ อย่าได้ประมาท อายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น แต่การเข้าไปรู้ชัดสภาวะธรรม เป็นสิ่งที่ พุทธสาวก ควรจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
ท่านที่ดื่มกิน อิ่มหนำสำราญ ถ้ามุ่งตรงต่อพระนิพพาน ก็อย่าประมาท วันนี้ระลึกถึง พุทโธ หรือยัง ดูลมหายใจเข้าออกหรือยัง หรือยังนังนอนยืนเดิน รื่นเริงอยู่ไม่ขาดสาย ที่จริงสงกรานต์ นี่ เมื่อระลึกถึงผู้ตายทำบุญให้ผู้ตาย ก็อย่าลืมนึกถึงตัวเองกันบ้าง ว่าเราก็ต้องตายเหมือนกัน อย่าประมาท
เมื่อวานเห็นคนตายเป็นคัน ๆ เห็นญาตร้องห่ม ร้องไห้ มันมีเท่านั้นแหละชีวิตคนอยู่ก็อาลัย เศร้าโศรกเสียใจร่ำไรรำพัน คนจากไป ถ้าสร้างบุญกุศลไว้ ก็มีสุคติเป็นที่หวังได้ แต่ถ้าไม่ได้สร้างไว้ ก็ ทุคติ เป็นที่หวัง แน่นอน
ดังนั้นท่านกินอยู่อิ่มหนำสำราญ กันแล้ว ก็อย่าลืมการภาวนา อย่างน้อยทำอะไร ไม่ได้ ก็หายใจเข้าเป็น พุท เป็น โธ หรือ เป็น พุทโธ ไปเลยก็ดี


เจริญพร วันสงกรานต์ 15/4/59
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ที่สุดแห่งทุกข์ คือการละจากทุกข์ การละจากทุกข์ ก็คือการไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 16, 2016, 10:09:55 am
"ใจที่เห็นความทุกข์ และสามารถกำหนดทุกข์อันมีกับเราได้แล้ว ย่อมมองเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปสลับกับความสุข เมื่อจิตดำเนินอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าบรรลุธรรมของพระโยคาวจรขั้นที่ 1 ต่อไปก็กำหนด ทุกข์ และ สุข ที่มันเกิดสลับกันไปนั้นด้วยการพิจารณาว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี สุขเป็นสิ่งที่น่ายินดี ที่ยินดี ก็เพราะว่า อยากให้มีสุข และไม่อยากมีทุกข์ เพราะสุข และ ทุกข์ เกิดสลับกันไปมากำหนดไม่ทัน จึงทำให้จิตเหมือนมีสภาวะเป็นกลาง มันรับมันว่าทุกข์ มันรับว่ามันสุข จึงกำหนดรู้แต่ว่า กลาง ๆ อย่างนั้น จิตก็เลยเกาะเกี่ยวความเป็นกลางนั้น ๆ ว่า สบาย คือ สุขแทน เมือจิตกำหนดได้แล้วว่า ทุกข์ สุข ความเป็นกลางเป็นอย่างนี้ มีสาเหตุมาจากความอยากต้องการที่จะให้กายสบายบ้าง ความรูัสึกสบายบ้าง ความสำคัญว่าสบายบ้าง ความรับรู้ว่ามันสบาย จิตก็จะเบื่อหน่าย คลายความพอใจ และไม่ความพอใจ วางจิตเป็นอุเบกขาดำรงสติความรู้ตัวอยู่อย่างนั้น การพิจารณานั้นย่อมเกิดความตั้งพร้อมโดยรวมว่า เรามีกำเนิดอย่างนี้ เรามีความดับจากกำเนิดอย่างนี้ จึงมีสุข มีทุกข์ มีความเป็นกลางอย่างนี้ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในกำเนิดนั้น ย่อมนำมาซึ่งความสุข ทุกข์ กลาง ๆสลับกันไปมา แม้ที่สุดจิตก็เบื่อหน่ายในกำเนิดนั้นไปตามลำดับทั้งหมด เจ็ดครั้ง ความเบื่อหน่ายย่อมนำมาซึ่งความคลายจากการยึดถือว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัวเป็นตนของเรา จิตย่อมถึงซึ่งความสังเวชสลดใจอย่างที่สุดว่า เรามีความเกิดเป้นธรรมดา เรามีความแก่เป็นธรรมดา เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา เรามีความตายเป็นธรรมดา ความรู้ชัดอย่างยิ่งได้เกิดขึ้นเต็มในขณะนัั้นว่า มันเป็นธรรมดาอย่างนี้ มันเป็นอย่างนั้นเอง มันไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นอย่างนั้น มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมชาติอย่างนั้น มันเป้นของมันอย่างนั้นนั่นเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ จิตย่อมน้อมไปสู่ ความสงบระงับ 3 ครั้งอย่างที่สุด จิตก็พ้นจากความเกิด จากความแก่ จากความเจ็บ จากความตาย ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ไม่มีการตายอีกต่อไป มันถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งมวลว่า สภาวะธรรมทั้งปวงล้วนแล้วเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารแก่การเป็น การมี การอยู่ การดับ มีแต่เพียง ธาตุที่เกิด ธาตุที่ดับ ธาตุที่ตั้งอยู่ ไม่มีความเป็นเจ้าของในธาตุนั้น จิตละจากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาุตไป ไม่เป็นเจ้าของอีกต่อไป ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะ ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนาไม่มีตัณหา ไม่มีอุปาทาน ไม่มีภพ ไม่มีชาติจิตคงอยู่ในสภาวะอิ่ม ด้วย ความว่าง ความว่างเป็นดั่งกายแห่งจิต ที่สุดนั่นเอง......"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://dhammapiwat.com/wp-content/uploads/2015/05/lotus-2a.jpg)


หัวข้อ: เรื่องบังเอิญในโลกนี้ไม่มี ที่มีคือวิบากกรรม ของผลดี และ ผลชั่ว
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 17, 2016, 08:18:58 am
เรื่องบังเอิญในโลกนี้ไม่มี ที่มีคือวิบากกรรม ของผลดี และ ผลชั่ว อันไหน นั่นแหละที่จะมาส่งผลก่อน ผู้ประมาทย่อมทำแต่กรรมชั่ว ด้วยการคิดชั่ว พูดชั่ว และ ทำชั่ว ส่วนคนดีมีศีลธรรม มีธรรม ก็จะคิดดี พูดดี และทำดี ผลของกรรมดี และ กรรมชั่ว อะไรจะให้ผลก่อนนั้นเป็นเรื่องกำหนดยาก แต่ถ้าคราใดที่เรา คิดดี พูดดี ทำดี ผลขณะนั้นย่อมมีความสุข สุขที่ไหน ? สุขที่ใจ ไงละ เป็นผลที่ได้ก่อน การทำความดีเพื่อผลที่สุขใจ อิ่มใจ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในทานูปฏินิสสัคคา 8 ประการ ว่า เป็นกุศลอันเลิศ เป็นทานอันยิ่งยวด เป็นบุญมหาศาล ดังนั้นท่านทั้งหลายเวลาสร้างกุศลผลบุญ แล้ว ให้ทำด้วยความสุขใจ เพื่อความสุขใจ อิ่มใจ และพอใจ นั่นคือรับวิบากแห่งกุศลเบื้องต้น
เรื่องนี้ส่วนตัว ทราบดีอยู่ เวลาเดินทาง ก็ได้บารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูอาจารย์ ท่านช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลงไปบ้าง แต่อย่างไร เราก็ต้องอดทนไม่ใช่ รอแต่คนอื่นมาช่วย มันจะเสียนิสัย เพราะตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าหากเรื่องบังเอิญ ทั้งหมดนั้นไม่มี พระอาจารย์ก็คงจะต้องเดินไปอีก 40 กม. และคงยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ท่านทั้งหลายที่บำเพ็ญบารมี ภาวนา ก็ต้องรู้จักอดทน และเราจะต้องทำลงไปโดยที่ไม่ต้องหวังว่าใคร จะช่วยหรือไม่ช่วย ถ้าเทวดาเห็นใจ มนุษย์เห็นใจ พระอริยะเห็นใจ ท่านเมตตาช่วยเรา ก็ถือว่าน่ายินดี แต่อย่างไร เราก็ต้องช่วยตัวเองด้วยเช่นกัน
การฝึกฝน การภาวนา การดำเนินวิถีธรรม ก็เป็นการพึ่งพาตนเอง สิ่งที่เทวดา มนุษย์ พระอริยะ ช่วยเราไม่ได้ก็คือการ ช่วยจิตให้รอดพ้นจากวัฏฏะนั้นทำไม่ได้ คนที่จะทำก็คือตัวเรา ดังนั้น มรรค ผล นิพพาน เทวดา มนุษย์ พระอริยะ ช่วยไม่ได้ช่วยได้แค่ชี้แนะ เท่านั้น
เจริญพร ยามเช้า


บันทึกล่าสุด
การเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


(http://2.bp.blogspot.com/-7RCKziSHJH0/UXAO79-S0VI/AAAAAAAAcAI/OIm_IMmx-1s/s1600/488055_536104626433001_1317606302_n.jpg)


หัวข้อ: คิดให้เป็น ก่อนที่สร้างกรรมหนัก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 17, 2016, 08:27:20 pm
"การปลิดปลงทำร้ายและทำลายชีวิตสัตว์ ก็เป็นบาป แต่การปลิดปลงทำร้ายและทำลายชีวิตคนชั่ว เป็นบาปมากกว่า และการปลิดปลงทำร้ายและทำลายชีวิตคนดี ยิงเป็นบาปยิ่งขึ้น แม้นการปลิดปลง ทำร้ายและทำลายชีวิตของสมณะยิ่งเป้นมหันต์ และยิ่งกว่านั้นการปลิดปลงทำร้ายและทำลาย ชีวิตของพระอริยะเป็นกรรมอันหนาสาหัสยิ่งกว่า แม้นการปลิดปลงทำร้ายและทำลาย ชีวิตพระอรหันต์ เป็นอนันตริยะกรรม เป็นกรรมที่หนักที่สุดแล้ว
ท่านทั้งหลายหากท่านใช้วาจา ก็ดี ร่างกาย ตลอดถึงอาวุธ ปลิดปลงทำร้ายและทำลาย จงอย่าลืมกรรมที่ท่านกระทำนั้นก็จะได้รับผลตามนั้นเช่นกัน ไม่ว่าท่านจะมีเหตุผลแบบไหนก็ตามบัญญัติของกรรมอย่างนี้ไม่มีเปลี่ยนแปลง ......"


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/fontip/etc3/iStock_000006501844XSmall-425.jpg)

 สังคมเสื่อมลงตอนนี้ เพราะทิ้งพระธรรม เด็กถูกทำร้ายจนเสียชีวิต นักเรียนหญิงตบตีกัน เพราะแย่งผู้ชายกันถึงตาย เรื่องนี้เริ่มเกิดขึ้นมากขึ้น แฟชั่นแขวนคอตาย เพราะพิษรักไม่สมหวัง คนทำรายสัตว์ คนรักสัตว์ก็ทำร้ายคน สื่อสังคมทุกวันนี้ ทางเลวไวมาก ทางธรรมฉันพยายามอยู่ทั้งวันทั้งคืนก็ยังไม่ทัน หากท่านทั้งหลายไม่ใส่ใจในพระธรรมเมินเฉย กัน สังคมต่อไปภายหน้าก็จะแย่กว่านี้


หัวข้อ: กำหนดธรรมสองส่วนไม่ได้ ก็ไม่มีทาง เห็นความเกิด ดับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 19, 2016, 12:49:05 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pic59-05.jpg)

"ทิวา เกิดขึ้น ราตรี ก็ดับไป ราตรีเกิดขึ้น ทิวา ก็ดับไป ความสว่าง เกิดขึ้น ความมืดก้ดับไป ความมืดเกิดขึ้น ความสว่างก็ดับไป กุศลเกิดขึ้น อกุศลก็ดับไป อกุศลเกิดขึ้น กุศลก็ดับไป ผู้มีสติย่อมกำหนดรู้ในความเกิดขึ้น และ ความดับไปได้ ส่วนผุ้ไม่มีสติ ไม่สามารถกำหนดรู้ สิ่งที่เป็นคู่ จิตของเขาก็เลยตกอยู่ในความเป็นกลาง ชื่อว่า อัพยากตา เมืออัพยากตาเกิดขึ้น ก็มีแต่อวิชชาเกิดขึ้น พอกพูนอวิชชามากขึ้น เพราะความเป้นกลาง ไม่ได้เป็น อุเบกขา แต่ความเป็นกลางเป็นความเพลิดเพลิน เรียกว่ายินดีใน อัพยากตา ดังนั้น อัพยากตา ครอบงำจึงเรียกว่า ปุถุชน คนที่หยาบ คนไม่มีสติ คนที่หลับ คนที่ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อยเป้นไปตามบุญตามกรรม คนเช่นนี้มีมาก เป็นคนโลเล สงสัย และพอกพูดกุศลธรรม เพราะไม่มีสติ ความเป็น อัพยากตา นั้นจึงเบี่ยงเบนเป็นได้ กุศล และ อกุศล ขึ้นอยู่กับสภาวะ ของการเจริญ สติ คนเหล่านี้ พอเริ่มปฏิบัติ จะเห็นความสำคัญของสติ และ การตั้งสติ ก็ดีอยู่ถ้าเจริญได้ ก็สามารถพอกพูน กุศลธรรม ให้มากขึ้นได้ ดังนั้นถ้าผู้เป็น อัพยากตา พึงต้องหากัลยณมิตร ( มิตรที่งามด้วยกุศลธรรม ) มาเป็นเพื่อน ที่ปรึกษา ครูอาจารย์ ก็คือ กัลยาณมิตร ที่จะคอยชักนำท่านไม่ให้ขาดสติ เพราะ สติ เป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก ผู้มี สติ ย่อมไม่ประมาท ผู้ขาดสติ ย่อมถึงความวิบัติ นั่นเอง ......"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ตามหาตัวตนให้พบ ถ้าจะละตัวตน ( Find all identity )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 20, 2016, 11:45:39 am
Find all identity

"ตามหาตัวตน ให้พบถ้าคุณจะละตัวละตน เพราะนั่นมันคือการหาต้นตอ ของปัญหาที่แท้จริงว่าเราทำไมต้องทุกข์ หรือต้องมายึดมี่นถือมีั่น การพบสัจจะคือความจริง   ความจริงก็ คือการตามรู้เห็นความจริง  และการเห็นชัดแจ้งด้วยการตามหาตัวตน  การค้นพบตัวตน ก็คือ การค้นพบ สมุทัยสัจจะ จัดเป็นการดำเนินตามมรรค 2 อย่าง และเป็นการ เรียกว่า เริ่มต้นภาวนา อย่างวิถีพุทธ เป็นการภาวนา

แม้ที่สุด การภาวนาแบบชั้นเชิงนี้ ในปัจจุบันนั้น มีอยู่มากแบบ แต่ก็ไม่พ้น  3  แนวทาง อย่างนี้

    1. ภาวนา แบบไม่รู้จุดหมาย ปลายทาง เห็นเขาภาวนา ก็ภาวนา รู้อย่างเดียว มันจะดี ทั้ง ๆ ที่ผลลัพธ์ อาจจะไม่ดีตอนภาวนา เช่น ตกงาน เจ็บป่วย เป็นต้น อันนี้เรียกว่า ตาบอดคลำทาง ดีนะ ที่ยังหาทาง ดีกว่านั่งหมดอาลัยตายอยาก สำหรับบุคคลประเภทนี้ เรียกว่า ปถุชน

    2.ภาวนา แบบค้นหาเป้าหมายไปในตัว นั่นก็คือ การภาวนา แบบหาตัวตน คือ ต้องสะสม สุตามยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา ไปคู่กัน เรียกว่า ยังไม่เข้าใจทั้งหมด  แต่ก็ยังพอมีความเข้าใจอยู่ ว่า อะไรจะเป็น สาระ อะไร ไม่ใช่ สาระ คนระดับนี้เรียกว่า คนใฝ่ในกุศล อยู่บ้าง จะถึงหรือไม่ถึง จะพบหรือไม่พบ ก็อยู่กับเรียวแรงที่ภาวนาไป มีการสั่งสมมากน้อยขนาดไหน สำหรับบุคคลประเภทนี้ เรียกว่า กัลายณชน

   3. ภาวนา แบบกำหนดเป้าหมายปลายทาง สำหรับระดับนี้ เป็นระดับ ของบุคคลที่ผ่าน มรสุมมาแล้ว ถ้าไม่มีมรสุมมาก่อนก็ไม่มีทางที่จะทำให้เหนือกว่า กัลยาณชน ดังนั้นกัลยาณชนผู้พบและเผชิญกับ มรสุมต่าง ๆ นั้น ย่อมทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จนไปสู่ความคิดความปรารถนาว่า ไม่อยากที่จะเกิดอีกต่อไป จึงยินยอมดำเนินวิถีธรรมตามพระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ แม้จะต้องลำบากลำบน สิ้นชีพตักษัยก็ยินดี ยอมพลีเพื่อพระธรรม  สำหรับบุคคลนี้เรียกว่า พระโยคาวจร
   
    ดังนั้นการเข้ามาหาธรรม จึงนับที่ระดับ ของ กัลยาณชน เพราะกัลยาณชน ยังชื่อว่า ผู้รักดี ๆ ย่อมสอนง่าย ไม่ใช่สอนยาก เปรียบเหมือนบัวกำลังพ้นน้ำ จัดอยู่ในประเภท เวไนยยะ คือ ยังพอโปรดได้ มีเหตุ มีผล มีโอกาสในการเข้าถึงธรรม ได้เช่นกัน

   ส่วนปุุถุชน นั้นต้องมีการเข็นกันอีกมาก เสมือนหนึ่งบุคคลผู้เสพยา เมากัญชา แล้วเราไปสอนเรือ่ง โลกุตตระ ก็ยิ่งไปกันใหญ่ กลายเป็นว่าจะพ้น ก็กลับกลายเป็นว่ามัวเมา มากขึ้น เคยเจอมาแล้ว คนเมากัญชานำพระธรรม ที่เรียกว่า โลกุตตระ ไปใช้ในทางที่ผิด

 ดังนั้นการหาตัวตน และ การเข้าใจตัวตน ก่อนที่จะละตัวตน มีความสำคัญ จัดเป็น สมุทัยยสัจจะ และ มรรคะสัจจะ ทั้งสองประการ

 ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://readynutrition.com/wp-content/uploads/2011/08/boy_woods11.jpg)


หัวข้อ: ผู้หลงทางในโลก ( สังสารวัฏฏ์ ) lost in the world
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 20, 2016, 02:57:00 pm
ผู้หลงทางในโลก ( สังสารวัฏฏ์ ) lost in the world

"อยากได้เป็นใหญ่ อยากมีเงินทอง อยากสร้างชื่อเสียง อยากมีความสุข อย่างยิ่งยวด และอีกสาระพัดอยาก ที่หลายคนตั้งแท่น เป้าหมายไว้ในใจ เราเสียเวลา ทั้งชีวิต กับการสร้าง ความสุข ชื่อเสียง เกรียติยส เงินทอง หลายท่านทั้งชีวิตก็วนเวียนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า อยู่อย่างนั้น มีทั้งสมหวัง ที่ทำได้ มีทั้งผิด ที่ทำไม่ได้ มีทั้งบุคคลผู้กำลังกระทำอยู่ แต่อุปสรรคที่เกิดกับคนทั้งหลายเหล่านั้น ในขณะที่เคลื่อนตัวไป พลิกผันไปตามกระแสของโลก ก็คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความไม่พร้อมในฐานะ

สิ่งที่คนทั้งหลายเหล่านั้น ได้รับผลตอบแทน ขณะที่แสวงหาเงินทอง ชื่อเสียง เกรียติยศ และสุข สิ่งที่เขาได้รับในขณะนั้น มันมีทั้งความพลัดพราก ความร่ำไรรำพัน ความโศรก ความเศร้า ความผิดหวังไม่สมหวัง ความอาดูร ที่แฝงอยู่ ในคำว่า ได้ และ เสีย

บางท่านได้อย่างหนึ่ง เสียหลายอย่าง บางท่าน ได้หลายอย่าง ก็เสียอย่างหนึ่ง บางท่านก็สูญเสียทั้งหมด ไม่มีใครไม่สูญเสีย เพราะโลก ( สังสารวัฏฏ์ )นี้ มีการลงทุน และ ให้ผลตอบแทน ที่แตกต่างไปตามการกระทำ แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ผู้มีปัญญาชำแรกโอฆะ ได้กล่าวว่า สิ่งที่ได้ จากสังสารวัฏฏ์ นั้น คือ ความทุกข์ นั่นเอง

ผู้สูญเสีย ย่อมเศร้าโศรก ในคราพุทธกาลนั้น ผู้สูญเสีย ที่เสียอย่างที่สุด เห็นจะไม่มีใครเกิน พระอริยะสาวิกาปฏาจารา แล้ว เพราะท่านเป็นผู้สูญเสีย อย่างที่สุด

     1. สูญเสีย ความสบาย เมื่อต้องรัก เมื่อนาง รักผู้ชายคนหนึ่ง นางยอมสูญเสีย ตระกูลสมบัติ ความสบายทั้งปวงไปอยู่กับคนรัก ในบ้านป่า ชนบทใช้ชีวิต เยี่ยงสาวจัณฑาล จากคุณหนู แสนสุขสบาย กลายเป็น คุณภรรยา เยี่ยงทาส แต่ นั่นแหละ คือ สังสารวัฏฏ์ ให้การแลกเปลี่ยน อย่างนั้น

     2. สูญเสียความเป็นผู้มีความสุข เพราะ มีลูก เพราะกลัวลำบาก คราคลอดลูกคนแรก นางคิดถึง ตระกูลครอบครัวเพราะว่า เห็นลำบาก ขณะตั้งครรภ์ เห็นความเหน็ดเหนื่อยเจ็บป่วย จากการตั้งครรภ์ นางได้อ้อนวอน สามีคือคนรักบอกว่า อยากกลับไปคลอดที่บ้านเรือน ของตนเอง สามีก็กลัวตาย เพราะชิงลูกสาวเขามา ด้วยตระกูลวรรณะต่างกัน เกิดปากเสียง แต่ด้วยรัก ก็พานางเดินทางฟันฝ่า ทั้งป่า ทั้งเขา ที่อยู่ไกลไปได้ครึ่งทาง นางก็คลอด กลางทางนั่นเอง สิ่งที่เรียกว่า สุข สร้างทุกข์ สิ่งที่เรียกว่า ทุกข์ กับทำให้เกิดมานะ ทั้งสามคนแม่ลูก จึงเดินทางกลับที่อยู่เดิม และใช้ชีวิตเยี่ยงเดิม

    3. ผ่านไปอีกปีกว่า นางก็ตั้งครรภ์ อีก สูญเสียความรัก เพราะความหน่าย จากทุกข์ที่มีอยู่นางยืนยันว่าจะเดินทางไปให้ถึงตระกูล ของตนเองให้ได้ สามีจึงพาไปเช่นเดิม ท่ามกลางความคิดสาระตะ และความเกรงกลัว ต่อภัยจากตระกูลของนาง แต่ด้วยความรัก จึงไปด้วยไม่ปล่อยให้นางไปเอง เนื่องจากการไม่คิดจะไปอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้ความเตรียมพร้อมต่าง ๆ ไม่มี ขณะที่เดินถึงกลางป่า นางก็คลอดบุตรเป็นคนที่สอง นั่นเอง ท่ามกลางสายฝน สตรีนางเดียว ที่ต้องคลอดบุตรสองคนด้วยตนเอง สองครา ความทุกข์ที่บีบคั้นทางกายและจิต อยู่แล้วทำให้นางทุกข์ ซ้ำซ้อนเพิ่มเติม

      4. สูญเสียสามี เพราะการคลอดบุตร การแลกเปลี่ยนยังไม่สิ้นสุด เนื่องด้วยนางคลอดบุตรกลางทาง สามีจึงต้องออกหาฟืน และยาสมุนไพรในป่า สามีของนางถูกงูฉกตายในป่า นางรอแล้ว รอเล่า สามีก็ไม่กลับมา รุ่งเช้าจึงหอบอุ้มลูกน้อย ด้วยกายที่อ่อนเพลีย บอบช้ำ มือหนึ่งจูงลูกคนโต ปากร้องตะโกนเรียกคนรักของนาง จนกระทั่วเจอ ศพสามี ที่ถูกงูกัดตาย นางสญเสีย คนที่นางรัก คนที่นางยอมทิ้งความเป็นคุณหนูสุขสบาย เพื่อมาอยู่กับคนที่รัก คนที่เป็นพ่อของลูกทืั้งสอง คนที่เคยร่วมเรียงเคียงหมอน เพียงข้ามคืน เท่านั้น ทุกข์ใดจะเศร้าโศรก กว่านี้ไม่มีอีกแล้ว นางจัดการศพตามสมควร แล้ว ก็ครุ่นคิด นางจะพึ่งใคร ตอนนี้ คิดแล้ว ก็มีแต่ พ่อแม่ พี่น้อง ตระกูลของนาง เท่านั้น นางจึงมุ่งเดินทางไปหา พ่อแม่ พี่น้อง ตระกูลตามที่นางคิด

     5. สูญเสียลูกชายคนเล็ก เพราะห่วงลูกชายคนโต ครั้นนางเดินทางมาถึง แม่น้ำ เดิมทีแม่น้ำพอจะเดินข้ามไปได้ แต่เนื่องจากฝนตกเมื่อคืนจึงทำให้กระแสน้ำสูงพอเดินไปได้ด้วยคนเดียว ไม่สามารถที่จะประคองลูกสองคนไปได้ นางจึงสั่งให้ลูกชายคนโตรออยู่ที่ฝั่งด้านนี้ และ นางก็นำลูกคนเล็กที่เกิดใหม่ไปวางอีกฝั่ง ขณะที่นางเดินย้อนกลับมาจะรับลูกชายคนโต นกเหยี่ยวตัวใหญ่ มองเห็นทารกน้อย ที่ฝั่งแม่น้ำจึงบินโฉบเอาลูกชายคนเล็กไป ด้วยสำคัญว่าก้อนเนื้อ ผู้เป็นแม่เห็นแล้วใจหาย ส่งเสียงด้วยความรัก ทั้งตะโกน ทั้งส่งเสียงโบกมือ แต่นกเหยี่ยวก็คาบลูกบินไปไม่หวลกลับมา ใจแม่แหลกสลาย ทันที เพราะความรัก

     6.สูญเสียลูกชาย คนโต เพราะ ต้องการช่วยลูกคนเล็ก ไม่มีอะไร พรั่งพร้อมด้วยความสำเร็จ คิดว่าเสียหนึ่ง แต่กลับเสียยิ่งขึ้น ขณะที่นาง ทั้งวิ่งลุยน้ำ ตะโกน ไล่นกเยี่ยว นั้งลูกชายคนโตเห็นแม่โบกมือ ตะโกนอยู่ไกลในแม่น้ำเข้าใจว่า แม่เรียกให้ไปหา ก็เลยวิ่งลงน้ำไปหาแม่ หัวใจที่แตกสลาย ที่เห็นลูกน้อย ถูกเหยี่ยวคาบไปต่อหน้า หมดแรง แต่ครั้นพอเห็นลูกชายคนโต วิ่งลงน้ำมา และน้ำกำลังจะพรัดพาลูกชายคนโตจากไป ความรักของแม่ ทั้งกระโดดท้งแหวกว่าย เพื่อจะเช่วยลูกน้อย ให้พ้นภัย แต่กระแสน้ำก็แรงเหลือหลาย ไม่อาจจะทัดทาน ด้วยแรงหญิงที่เพิ่งคลอด และ ใจสลายไปหลายเรื่อง ถูกแล้ว น้ำได้พรัดพาทั้งลูกชายคนโต และเธอลอยไปกลับน้ำ สติเธอก็ขาดจนแน่นิ่งลอยไปติดอีกฝั่งของแม่น้ำ เธอเที่ยวตามหาร่องรอยของลูกชายคนโตแต่ก็ไม่พบ ใจตอนนั้น มันแหลกไปหลายห้องแล้ว ความรันทด และความหวัง เหลืออยู่แต่ พ่อแม่ พี่น้อง ตระกูล เท่านั้น  นางคิดว่า สิ่งที่นางลงทุนมาลำบากกับสามี ตอนนี้หลายปี มานี้ กลายเป็นความสูญเปล่า มีแต่ความเจ็บปวด ปวดร้าว สุขมันหายไปจากนาง เสียแล้ว

     7.สูญเส่ียพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ตระกูล ความรู้สึกของนางตอนนั้น มีแต่ พ่อแม่ พี่น้อง และตระกูล จะปลอบประโลมจิตใจของนาง ยามที่เราสิ้นหวัง หมดหนทาง ทุกข์เจียนตา ส่ิงที่ทุกคนมักจะนึกถึง นั้นก็คือบ้านที่กำเนิด พ่อแม่ ที่เคยเลี้ยงดูให้ความรัก แก่ตนเอง นางเดินทางมุ่งตรง ไปสู่บ้าน ของตนเอง ที่หวังจะได้ความรักคืน จากพ่อและแม่ แต่ตอนที่นางไปถึง กลับไม่ใช่อย่างที่นางคิดไว้ สิ่งที่นางเห็นคือการประชุมเพลิง ให้กับผู้เสียชีวิตมากมาย เนื่องด้วยมีโจร บุกเข้าปล้นทำร้าย คนในบ้านของนาง เสียชีวิตทั้งหมด ทรัพย์สินเงินทอง บ้านปราสาท กลายเป็นซาก ไหม้เกรียมด้วยเพลิง เผาไหม้ นางมาถึงทราบเรื่องดังนั้น  ความหวังท้งหมดที่มีอยู่ พลันสูญสิ้นกำลังใจ ที่มีมันไม่มีอะไรสะกัดตอกตึงไว้ได้อีกต่อไป

     8. ถึงความเป็นวิกลจริต นางล้มลงกลิ้งเกลือกอยู่กับพื้น จนผ้านุ่งห่ม หลุดหมดสิ้น นางไม่สนใจใยดี ต่อสภาพรอบนอกอีกต่อไป ความทุกข์ ความโศรก ความผิดหวัง สาระพัดเรื่อง พรึ่งพรูทำลายสติของนาง จน สติตั้งไม่ได้ กลายเป็นหญิงวกลจริต เที่ยวเดินแก้ผ้าไปในเมือง เป็นที่ น่าสมเพทแก่ชาวเมือง ในนามว่า หญิงบ้าแก้ผ้า เดินไปที่ไหน ก็ถูกเด็กบ้าง ขว้างก้อนหนิหยอกเย้าว่าหญิงบ้า บางทีก็ไล่ยิ่งกว่าหมูกับ หมา เพราะคนบ้าแก้ผ้าไม่น่าไว้ใจ นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงประวัติตอนที่นางเริ่มบ้า ที่มหน้าตาสะสวย ว่าถูกกระทำชำเรา ระหว่างที่บ้าหรือไม่ ก็คิดดูเอาโชคชะตา มากจากคำว่า กรรม ซึ่งเป็นรางวัลให้แก่ คนที่ ยังอยากแล่นอยู่ใน โลก ( สังสารวัฏฏ์ )

      ใครจะทุกข์ เท่ากับนาง ปฏาจารา นี้อีกแล้วไม่มี

     ผู้หลงทางในโลก ( สังสารวัฏฏ์ ) lost in the world เป็นเช่นนี้ ความสูญเสีย ทุกอย่างย่อมมีแก่ทุกคน นี่คือรางวัลของผู้ที่ยังแล่นไปในสังสารวัฏฏ์ นั่นเอง
   
     โชคดี ของนาง ที่นางได้เกิดในสมัยที่พระพุทธเจ้า มีพระชนม์อยู่ การเดินบ้าบอของนางเข้าไปถึงที่แสดงธรรม ชาวบ้านพากกันไล่นาง ออกไป แน่ะ หญิงบ้า จงอย่าเข้ามา จงหลีกไป คนทั้งหลาย ก็พยายามกันไล่นางออกไปจนเป็นเสียงอึกทึก พระพุทธเจ้า พระองค์ได้สดับเสียงนั้น ตรัสถามชาวเมือง ว่าเกิดเรื่องใด ชาวเมือง ก็ทูลว่า มีหญิงบ้าเปลือยกาย เดินเข้ามาในอาราม ตอนนี้กำลังไล่ออกไป พระพุทธเจ้าทรงหยั่งญาณรู้ว่า นางปฏาจารา จะได้บรรลุอรหัตผล ในไม่ช้า จึงตรัสห้ามว่า ขอท่านทั้งหลายเปิดทางให้แก่นาง นางจึงเดินเข้าไปในที่แสดงธรรมด้วยสภาพเปลือยเปล่า ขมุกขมอม มอมแมม พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับนาง ด้วย เทศนาปาฏิหาริย์ ( ฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า )

      ดูกร น้องหญิง เธอจงเป็นผู้มีสติ มาเถิด  ด้วยพระสุรเสียงอันประกอบด้วยฤทธิ์ นั่นเองจึงทำให้หญิงผู้ขาดสติ ได้ยินถึง หทัยวัตถุ ชำแรกผ่านเข้าไปยัง มโนธาตุ และ มนายตนะธาตุ นางจึงมีสติ เกิดความขวนอาย ชาวบ้านผู้หนึ่งเห็นอาการดังนั้น จึงโยนผ้าสไบ ให้นางปิดกายอันล่อนจ้อน เมื่อนางได้สติ จึงก้มกราบ พระพุทธเจ้า

     พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงธรรมแก่นาง แล้วมอบให้ เหล่าภิกษุณี ดูแลนางต่อไป

     ครั้นต่อมาไม่นาน นางก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สาวิกา และ ได้รับการแต่งเป็น อัครสาวิกา อีกด้วย


    Lost in ther world แด่ท่านผู้ที่กำลังหลงทางในโลก

   บันทึกตอนนี้อาจจะยาวสักหน่อย แต่ขณะที่บันทึกนั้น น้ำตา และ ความสงสาร ปีติธรรมอันเข้าไปหยั่งถึงความรู้สึกของผู้สูญเสีย มันเป็นทุกข์ ขนาดไหน ใช้ปีติธรรมเป็นเครื่องสะกัดกั้น พวกเรายังถือว่า โขคดี ยังอยู่ในช่วง ปรากฏของ คำสอนของพระพุทธเจ้า ยังสามารถหาหนทางออกจากโลกนี้ ได้ อย่าได้หลงทาง วนเวียน ซ้ำไปซ้ำมา ในกองทุกข์ ซึ่งวัฏฏะสงสารนี้ มอบให้เลย 
 

"
ข้อความเต็ม จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(https://i.ytimg.com/vi/K_135XpnsaU/hqdefault.jpg)


หัวข้อ: การภาวนา ไปสู่ผล หญิง ชาย ทัดเทียมกัน แต่โอกาสไม่เหมือนกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 20, 2016, 03:07:28 pm
(http://www.madchima.net/images2559/lady-01.jpg)

การเรียนกรรมฐาน ขึ้นกรรมฐาน ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน หญิงชาย ตอนนี้ ทัดเทียมกัน ด้วยคุณธรรม ในปัจจุบัน หญิงและชาย สามารถขึ้น
กรรมฐาน เรียนกรรมฐาน ภาวนากรรมฐาน และสำเร็จมรรคผล ได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังนั้นความเป็นหญิง อิตถีวิญญัติ ปุริสวิญญัติ ไม่ได้เป็นอุปสรรค รวมถึง ความแก่ ความเจ็บ และ ความชราด้วยก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค ในการขึ้นเรียนกรรมฐาน เพราะการเรียนกรรมฐาน เป็นประโยชน์ตน หาใช่ประโยชน์ท่าน แต่ประโยชน์ท่านได้ทางอ้อมเท่านั้น

มัชฌิมา ปลายทางสู่ อมตะ
แบบลำดับ เป็นลำดับ สร้างนิสัย
จิตรวมมรรค แจ้งในผล ชอบอย่างชัย
จิตห่างไกล สมชื่อท่าน อริยะ เอย
ธัมมะวังโส
20 เม.ย.59


หัวข้อ: พร้อมแล้ว หรือ ยัง Are you Ready ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 23, 2016, 09:52:43 am
"ความห่วง ทางโลก เป็นเครื่องสกัดกั้น การไปสู่ประตูอมตะ หลายคนพอได้เรียนกรรมฐาน มาถึงจุดที่จะได้ละแล้ว ก็ต้องหยุดสอน เพราะว่าถ้าไม่พร้อมที่จะไป เพราะห่วงที่มีอยู่นั้น มันจะทำให้ชีวิตของเขา ทุลักทุเล และแย่ลง คนที่ไปในเส้นทางของ มรรค ผล นิพพาน จะสวนกระแสโลก อันที่จริง ก็ไม่ต่างกับชีวิตของฉันเท่าไหร่ คือ จิตจะต้องพ้นจาก คำว่า ได้ และ เสีย ผู้ที่ไปสู่ประตูนิพพาน ต้องละคำว่า ได้ และ เสีย การจะละ ก็คือต้องหยุด ห่วง หลายท่าน ห่วง พ่อ ห่วง แม่ ห่วง ลูก ห่วง เมีย ห่วง ผัว ห่วง ทรัพย์สมบัติ ห่วง ชื่อเสียง เกรียติยศ ห่วง เพื่อน ห่วง ญาต ห่วง สอน ห่วง สัตว์ร่วมโลก และอีกหลาย ๆ ห่วง นั่นคือสิ่งที่ฉัน พิจารณา กับลูกศิษย์ จึงมีหลายคน ที่ยังไม่ได้รับ ธรรม ขั้นที่สมควร เพราะว่าห่วงเหล่านั้น มันสามารถไปได้ กับ มรรค ผล นิพพาน คนที่ไปสู่ มรรค ผล นิพพาน โดยเฉพาะ พระอนาคามี แล้ว มันอยู่ร่วมกับโลกได้ยาก คนที่ละความพอใจ แล้ว ละความไม่พอใจ แล้ว มันเหมือนมีอารมณ์ เป็น ศูนย์ ดี ก็ไม่พอใจ ชั่ว ก็ไม่พอใจ มันเป็นอย่างนี้ นี่แหละจึงต้องถามว่า เธอพร้อมหรือยัง ที่จะสละ ต้องถามย้ำๆ เธอพร้อมที่จะไม่มีอะไร แล้วหรือยัง ....."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

 (http://www.yerkoytb.com/files/uploads/2015/11/102fd54.jpg)


หัวข้อ: เรียนรู้ ในการบำเพ็ญ ตบะ มันมีผล ที่ตัวเรา ที่การเห็น ( ด้วยความเคารพ )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 25, 2016, 10:10:41 am
"โดย อุปนิสัย เป็นคนรักษ์ความสะอาด ถูกฝึกมาตั้งแต่เล็ก โดนทั้งหลวงตา หลวงพี่ หลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงอา หลวงลุง หลวงน้า พ่อหลวง พี่หลวง ตู้พ่อ ตู้ปู่ ครูบา เวลาเดินทางไป เหนือ ใต้ ออก ตก นั้น ท่านก็จะสอนให้เรา รักษ์สะอาด มีระเบียบ ทั้งพูดดี ขู่บังคับ เคื่ยวเข็น ทั้งเบา และหนัก นิสัยส่วนตัว เลยรักษ์ความสะอาด คือ รักษาความสะอาด ความมีระเบียบ ซึ่งจริตนิสัย ส่วนตัวเป็น บุคคลราคะจริตสูงอยู่แล้ว

แต่พอเมื่อมาปฏิบัติ เนสัชชิกธุดงค์ ครูท่านสั่งว่า ให้บำเพ็ญตบะ คำว่า ตบะ ไม่ค่อยคุ้น แต่ก็ไม่ต่างอะไร กับคำว่า สันโดษเท่าไหร่เพียงแต่ว่า ทำหนักขึ้นกว่าเดิม โดยเน้นเรื่อง การดูแลรักษาตัว ท่านสั่งว่า ไม่ให้อาบน้ำ 7 วัน ไม่ให้ปลงหนวด ทุกวัน ไม่ให้ตัดเล็บสองเดิอน โดยไม่เกินจากหลักวินัยพระ

คราแรก ๆ ก็รู้สึกว่ามันง่าย แต่พอทำจริง ๆ แล้วมันยากมาก ไม่อาบน้ำ คนอ้วน ขี้ร้อน เหงื่อก็ออกมาก

 วันแรกเนื้อตัวเหนียวเหนอะหนะ รู้สึกไม่สบายตัว พาลให้ไม่สบายอารมณ์ ก็คือไม่สบายใจ ไปด้วยแต่พอทำไป
    สิ่งที่ได้เรียนวันนี้ ก็คือ ความอึดอัด ขัดใจ แคลงใจ สิ่งที่ต้องทำ การคือการวางอารมณ์ ให้เป็นกลาง

 ในวันที่สองรู้สึก ขยะแขยงกลิ่นตัว กลิ่นไคล กลิ่นเหงื่อ รู้สึกหงุดหงิด
    สิ่งที่ได้เรียนวันนี้ ก็คือ ความจริงแห่งกาย ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม  เป็นทั้งปฏิกูล และ ไม่ปฏกูล เป็นธาตุที่บริสุทธิ์ กับธาตุที่ถูกปรุงแต่ง สิ่งที่ต้องทำ ก็คือการรู้เห็นตามเป็นจริงในภายนอก

  พอวันที่สาม รู้สึกว่า ตัวเองสกปรก กายสกปรก มือ หัว เท้าสกปรก ไปหมด
     สิ่งที่ได้เรียน คือการตามเป็นปฏิกูลในภายใน ทั้งที่ชอบ และ ไม่ชอบ ล้วนแล้วเกิดในกาย อันเป็นภายใน ชอบก็ควบคุมไม่ได้ ไม่ชอบก็ควบคุมอะไรไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำคือ การมองเห็นปฏิกูลในภายในตน

  วันที่สี่ รู้สึกร่างกาย ที่มีอยู่นี้ มีแต่ปฏฺกูลเต็มตัว ไม่มีส่วนไหน เป็นที่สะอาดจริง ๆ
      สิ่งที่ได้คือ ธาตุนิมิต และ ปฏิกูลนิมิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ธรรมสองอย่างทั้งที่เป็นภายนอก ทั้งที่เป็นภายใน เป็น ธาตุปฏิกูล เกิดจากชีวะ ( มีชีวิต ) ดับไปเพราะ ไม่มีชีวะ การคืนสู่ธาตุที่บริสุทธิ์ ที่ไม่มีเข้าของ

  วันที่ห้า เริ่มพิจารณา กลิ่น จาก เหงื่อ จาก มัน มันกระทบจิตกลับมาว่า ตรงไหนที่ว่าหล่อ ตรงไหน ที่ว่า งาม มันมองเห็นว่าไม่งาม ไม่หล่อ แถมเป็นปฏิกูล เต็มไปด้วยกลิ่นที่ไม่สะอาด เป็นที่รังเกียวจแม้แต่ตัวเราเอง ใจเราเองก็ยังรังเกียจ คนอื่นใครเล่า จะมาหลงรัก หลงชอบกายอันเน่าเปื่อยที่ส่งกลิ่นคละคลุ้ง ด้วยความเป็นปฏิกูล ในรูปแบใด แบบหนึ่ง
       สิ่งที่ได้คือการทบทวน ธาตุกรรมฐาน ทั้งอนุโลม และ ปฏิโลม จนเข้า สัจจานุโลมิกญาณ เห็นชัดตามสภาวะ อันมีตํณหา และ อุปาทาน เป็นที่ยึดถือ และ การไปสู่ วิราคะ ด้วยการรู้เห็นตามความเป็นจริง
       
    วันที่ หก จับอารมณ์บริกรรม  เสโท เมโท  เหงื่อไคล มันข้น ภาวนาหลังจาก ได้พุทโธ แล้ว ยกขึ้นตั้งในฐาน ธาตุดิน จนกระทั่ง เสโท เมโท มันยุบยิบทั้งกาย จากนั้น จิตก็รู้แต่เพียงว่า ตะโจ หนังหุ้มกาย
      ไม่มีกาย มีเพียงส่วนประกอบของกาย มี ธาตุน้ำ เป็นต้น กำหนด ส่วนธาตุ เป็นห้อง ทั้งอนุโลม และปฏิโลม
 
  วันที่ 7 จิตมองเห็นตามความเป็นจริงว่า ที่รักเพราะหนังหุ้มกาย ที่ชังเพราะหนังหุ้มกาย ที่หลงก็เพราะหนังหุ้มกาย ที่อยากเพราะหนังหุ้มกาย พอแกะหนังหุ้มกายออก ก็เหลือ แต่ เนื้อแดง ๆ ปนเลือด ปนหนอง มีทั้งมันข้น เหงื่อไคลไหลเวียน ไปทั่ว
      เข้ารอบปฏิจจสมุปบาท ธรรม เองโดยธรรมชาติ การเห็นตามสภาวะ เริ่มต้นจากตรงนี้ ผลที่ ได้ ก็คือ อ้อ อย่างนี้เองหรือ ?

  อะยัง ตะโจ แม้หนังที่หุ้มกาย นี้ อะจิรัง มิได้หยั่งยืน (มีความชรา เป็นเครื่องหมาย มีความควบคุมไม่ได้เป็นที่สุด )
  อนิจจตา ไม่เที่ยงเลย
  ทุกขตา ประกอบด้วยความทุกข์แล้ว
  มรณตา มีความตายเป็นที่สุด 
  เนตัง มะมะ เนโสหะมัสสมิ นะเมโส อัตตาติ อันบุคคลไม่พึงเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
   สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
   สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
   สัพเพ ธัมมา อะนัตตา สภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
   สัพเพ ธัมมา อะภินิเวสายะ สภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง ( ทั้งดีและชั่ว ทั้งหยาบ กลาง และ ประณึต ) ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ( ด้วยความเป็นเจ้าของ )
   วะ สา ธาตุ เป็นเพียงดั่ง ธาตุ
  ( ยังมีอีก )
   แต่พอสรุปให้เห็นว่า การบำเพ็ญ ตบะ ต้องทำให้ถูกส่วน ถูกสภาวะ ด้วยถึงจะได้ผล และเป็นการส่งเสริม ธาตุกรรมฐาน แต่ถ้าทำไม่ถูก ไม่ควร มันก็จะเป็น การทรมานตน อย่างไร้สาระ.....
 
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://f.ptcdn.info/230/006/000/1371295993-003JPG-o.jpg)


หัวข้อ: โลก อันคนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ( โลกนี้คืออะไร )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 25, 2016, 10:30:24 am
   เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ       จิตฺตํ ราชรถูปมํ
      ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ       นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ.
ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.

                       อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

"
๑ อบายโลก  คือโลกที่ปราศจากความเจริญ  ได้แก่  (๑)  นิรย  นรก  (๒)  ติรัจฉานโยนิ  กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน (๓)  ปิตติวิสัย  แดนเปรต  (๔)  อสุรกาย  พวกหวาดหวั่นไร้ความเจริญ  (ขุ.อิติ.  ๒๕/๙๓/๓๑๒)

๒ เทวโลก  คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง  ๖  เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ  โลกที่มีแต่ความสุข  แต่ยัง เกี่ยวข้องกับกามอยู่  ได้แก่  (๑)  จาตุมหาราชิกา  สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง  ๔  ปกครองอยู่  (ท้าวธตรฐ  จอม- คนธรรพ์ครองทิศตะวันออก,  ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้,  ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศตะวันตก, ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ)  (๒)  ดาวดึงส์  แดนที่อยู่แห่งเทพ  ๓๓  มีท้าวสักกะ  เป็นจอมเทพ  (๓)  ยามา  แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์  มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ  (๔)  ดุสิต  แดนที่อยู่ แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน  มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ  (๕)  นิมมานรดี  แดนแห่งเทพผู้มีความยินดีในการเนรมิต  มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ  (๖)  ปรนิมมิตวสวัตดี  แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยังอำนาจ ให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต  คือเสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นนิรมิตให้  มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ  (สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๙)

๓ ธาตุโลก  หมายถึงธาตุ  ๑๘  คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่  ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไปตาม ธรรมนิยาม  คือ  กำหนดแห่งธรรมดา  ไม่มีผู้สร้าง  ผู้บันดาล  และมีรูปลักษณะ  กิจ  อาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ๆ  ได้แก่  (๑)  จักขุธาตุ  ธาตุคือจักขุปสาท  (๒)  รูปธาตุ  ธาตุคือ รูปารมณ์  (๓)  จักขุวิญญาณธาตุ  ธาตุคือจักขุวิญญาณ  (๔)  โสตธาตุ  ธาตุคือโสตปสาท  (๕)  สัททธาตุ  ธาตุคือสัททารมณ์  (๖)  โสตวิญญาณธาตุ  ธาตุคือโสตวิญญาณ  (๗)  ฆานธาตุ  ธาตุคือฆานปสาท  (๘)  คันธธาตุ  ธาตุคือคันธารมณ์  (๙)  ฆานวิญญาณธาตุ  ธาตุคือฆานวิญญาณ  (๑๐)  ชิวหาธาตุ  ธาตุคือชิวหาปสาท (๑๑)  รสธาตุ  ธาตุคือรสารมณ์  (๑๒)  ชิวหาวิญญาณธาตุ  ธาตุคือชิวหาวิญญาณ  (๑๓)  กายธาตุ  ธาตุคือ  กายปสาท  (๑๔)  โผฏฐัพพธาตุ  ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์  (๑๕)  กายวิญญาณธาตุ  ธาตุคือกายวิญญาณ   (๑๖)  มโนธาตุ  ธาตุคือมโน  (๑๗)  ธรรมธาตุ  ธาตุคือธรรมารมณ์  (๑๘)  มโนวิญญาณธาตุ  ธาตุคือ   มโนวิญญาณ  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๑๘๓-๑๘๔/๑๔๒-๑๔๖)

๔ อายตนโลก  หมายถึงอายตนะ  ๑๒  คือ  (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้  แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้)   อายตนะภายใน  ๖  ได้แก่  (๑)  ตา  (๒)  หู  (๓)  จมูก  (๔)  ลิ้น  (๕)  กาย  (๖)  ใจ  อายตนะภายนอก  ๖  ได้แก่   (๑)  รูป  (๒)  เสียง  (๓)  กลิ่น  (๔)  รส  (๕)  โผฏฐัพพะ  (๖)  ธรรมารมณ์  ทั้ง  ๖  นี้  เรียกทั่วไปว่า  อารมณ์  ๖  คือ  เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘)


โลกสี่ประการนี้ เป็นโลกแห่งสังสารวัฏฏ์ อันคนเขลา ย่อมหาเหตุผลเพื่อจะวนเวียนไปมา แม้โลกสี่ประการนี้มีความทุกข์ เป็นรางวัลใหญ่ แต่คนทั้งหลายก็ยังเลือกโลกเหล่านี้ เป็นที่หมาย เพื่อผู้มีปัญญา ย่อมแทงตลอดรู้ชัดในสภาวะ ว่า ควรสลัดคืน เสีย ไม่ควรเกาะเกี่ยว นั่นเอง

"
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images/629_card_102.jpg)




หัวข้อ: อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 27, 2016, 02:33:12 pm
"สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ สิ่งนี้มีเหตุอย่างนี้ มีปัจจัยอย่างนี้ สิ่งนี้จึงเกิดอย่างนี้ จึงดับไปอย่างนี้ อะไรเป็นเหตุ ตัณหาเป็นเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ปัจจัย 24 อย่างนี้เป็น ปัจจัยให้เหตุเกิด และ ปัจจัย 24 นี้เป็นปัจจัยให้ดับ
ปัจจัย 24 อย่างมีอะไร บ้าง
เมื่อผู้เจริญตั้ง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อการสละคืน ในอานาปานสติ พึงตั้งนิมิต ที่ได้สัมฤทธิ์ จากลมหายใจเข้า จากลมหายใจออก มาตั้งที่ หทัยวัตถุ แลกระทำ อากาศให้รวม ในนิมิต นั้นว่า เราจักทำการสลัดคืน ขณะที่ นิมิตตั้งอยู่ นิมิต คือ องค์แห่งสมาธิ ของลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
( อนิจจานุปสฺสี อสฮสสิสฺสามีติ สิกขติ
อนิจจานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกขติ )
เมื่อผู้เจริญอานาปานสติ เข้าถึงรอบแห่งปฏิจจสมุปบาท รอบที่ 1 พึ่งตั้งจิตระลึกถึงความไม่เที่ยง ที่ประกอบด้วยนิมิตนั้น จิตย่อมรู้เห็นความเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง 50 ประการ และเห็นทุกข์ 50 ประการ เพราะความเห็นแล้วซึ่งความไม่เที่ยง 50 ประการและ ทุกข์ 50 ประการ จิตย่อมถึงทัสนะว่า นิมิต (ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ) ไม่เที่ยงด้วยประการทั้งปวง เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยงนั้น จิตก็จะพิจารณา ปัจจัย อันเกิดขึ้นในระหว่าง การดับ รูป ที่ยึดมั่น เวทนา ที่ยึดมั่น สัญญา ที่ยึดมั่น สังขาร ที่ยึดมั่น วิญญาณ ที่ยึดมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
(วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสามีติ สิกูขติ
วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกูขติ )
ปัจจัย 24 มี ดังนี้
1 เหตุปัจจัย 2 อารัมมณปัจจัย 3 อธิปติปัจจัย 4.อนันตรปัจจัย 5 สมันตรปัจจัย 6 สหชาตปัจจัย 7.อัญญมัญญปัจจัย 8. นิสสยปัจจัย 9.อุปนิสสยปัจจัย 10. ปุเรชาตปัจจัย 11.ปัจฉาชาตปัจจัย 12. อาเสวนปัจจัย 13.กัมมปัจจัย 14 วิปากปัจจัย 16.อาหารปัจจัย 16. อินทริยปัจจัย 17.ฌานปัจจัย 18.มัคคปัจจัย 19.สัปยุตตปัจจัย 20. วิปปยุตตปัจจัย 21. อัตถิปัจจัย 22. นัตถิปัจจัย 23.วิคตปัจัจัย 24 อวิคตปัจจัย
เมื่อ ปัจจัยทั้ง 24 รู้เห็นชัดอย่างนั้น ในองค์แห่งสมาธิมีอานาปานสติ ที่ตามเห็นความไม่เที่ยง 1,200 ครั้ง ความเป็นทุกข์ 1,200 ครั้ง และมองเห็นเหตุ 14,400 ครั้ง และมองเห็นปัจจัย 14.400 ครั้ง จิตของผู้ภาวนาย่อมถึง ซึ่งความจางคลายจากกิเลส ทีนิมิต เปลี่ยนเป็น อรหัตมรรคนิมิต ย่อมทรงการจางคลาย และ ดับกิเลส 14 ทิวา 15 ราตรี
( นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสามีติ สิกูขติ
นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกูขติ )
เมื่อครบ 14 ทิวา และ 15 ราตรี ผู้ภาวนาย่อมอาศัย อรหัตตมรรค ( นิมิต ) นั้นเข้า ผลสมาบัติ 1 ทิวา 1 ราตรี และ ทำอนุโลมญาณ ตรวจกิเลสที่ดับได้ กิเลสที่เหลืออยู่ กิเลสทีประหารได้สิ้นเชิง ด้วยการตั้ง อรหัตตมรรค (นิมิต) นั้น หายใจเข้า และหายใจออก และตั้งอัปปนาจิต ที่จตุตถฌาน เข้า นิโรธสมาบัติ 7 ทิวา 7 ราตรี ( ตรงนี้เป็น นิโรธสมาบัติ ของ พระอนาคามี )
( ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสามีติ สิกูขติ
ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกูขติ )

ยังมีต่อ .... ขั้นสุดท้าย ขั้นที่ 16 อรหัตตผล
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

(http://sv6.postjung.com/picpost/data/212/212530-50d805e5686c3.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://sv6.postjung.com (http://sv6.postjung.com)

มีผู้แชทถามมาว่า ขั้นที่ 15 เป็นนิโรธสมาบัติ หรือ ก็ขอตอบว่าใช่ เป็นนิโรธสมาบัติ ของระดับพระอนาคามี ไม่ใช่ ของพระอรหันต์ เพราะว่า พระอนาคามี ได้คุณธรรม อรหัตตมรรค และ พระอนาคามี ก็สามารถเข้า นิโรธสมาบัติได้ แต่ไม่เกิน 7 ทิวา 7 ราตรี ส่วนพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน ถึง พระอรหันต์ สามารถเข้าผลสมาบัติได้ 1 ทิวา 1 ราตรี

ทำไมขัั้น ที่ 15 ไม่เป็น อรหัตตผล ก็ต้องขอตอบว่า เพราะว่ายังไม่สลัดคืน อวิชชา 8 ประการ การสละคืน อวิชชา 8 ประการ เกิดขึ้นใน ขั้นที่ 16 เรียกว่าการสลัดคืน มีการเข้าอนุโลม และ ปฏิโลม ที่เป็น นิมิต และ ไม่มี นิมิต และ ที่เป็น อาเนญชา ด้วยตามบุญบารมี ของผู้ภาวนา การสลัดคืน คือ การเข้า ปฏิจจสมุปบาท แบบสัจจานุโลมิกญาณ ไม่ต้องทวนเหตุ และ ปัจจัย มีแต่ทวน รู้แจ้งชัดสลัดคืน ในนิมิต หายใจเข้า และ หายใจออก

เป็นเรื่องที่น่าขบขัน เป็นอย่างมาก ที่มีคนเรียนจบ อานาปานสติ แต่ไม่สิ้นกิเลส เมื่อทบทวนคำตอบ และ พุทธดำรัส ตลอดวิชากรรมฐานแล้ว นับว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะต้องพิจารณา ว่า คนที่บอกว่าเรียนจบ และไม่ละกิเลส เป็นไปได้หรือ ตั้งแต่ ขั้นที่ 13 - 16 นั้นเป็นเรื่องการจัดการกิเลส โดยตรงเลย


หัวข้อ: การเห็นความไ่เที่ยง ในอานาปานสติ ได้อานิสงค์ 8
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 27, 2016, 02:34:48 pm
"การเห็นความไม่เที่ยง ในองค์แห่ง สมาธิ มีการเห็น 50 ครั้ง ตามสภาวะธรรม แตการเห็น ก็เห็นประกอบด้วย สภาวะการกำหนดเห็นในนิมิต 4 อย่าง คือ
1.โดยลำดับ ความเป็นกลุ่ม ( กลาปโต )
2.โดยลำดับ ความเป็นคู่ ( ยมกโต )
3.โดยลำดับ ความเป็นไปโดยขณะ ( ขณิกโต )
4.โดยลำดับ ความเป็นลำดับแห่งสภาวะธรรม ( ปฏิปาฏิโต )
เมื่อผู้ภาวนาสามารถกำหนด ความไม่เที่ยงได้ จักได้ อารมณ์ 8 ประการก่อนเข้าอานาปานสติ ขั้นที่ 14 อารมณ์ 8 หรือเรียกอีกอย่างว่า อานิสงค์ การตามเห็นความไม่เที่ยง 8 ประการ
1. ละภวทิฏฐิ ( ภวทิฏฐิปฺปหานํ )
2.สละความอาลัยรักใคร่ในชีวิต ( ชีวิตนิกนฺติปริคฺจาโค )
3. ประกอบความเพียรมั่นคงในความเพียรที่ควรประกอบอยู่ทุกเมื่อ ( สทายุตฺตปยุตฺตา )
4.มีความเป็นอยู่บริสุทธิ์ ( วิสุทฺธาชีวิตา )
5.ละความทะเยอทะยานได้ (อุสฺสุกฺกปปหานํ )
6.ปราคจากความกลว ( วิสุทฺธาชีวิตา )
7.กลับได้ขันติและโสรัจจะ ( ขนฺติโสรจฺฺจปฏิลาโภ )
8.อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจและความกำหนัดยินดี (อรติริตสหนตา )
ดังนั้นผู้ภาวนา อานาปานสติ มาถึงขั้นที่ 14 เรียกได้ว่า แทบจะเป็นพระอนาคามีโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่แต่เป็นเพียงพระโสดาบัน
( ยังมีต่อ )
."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

(http://2.bp.blogspot.com/-6amfzUB0kiU/Vqm-spgz9KI/AAAAAAAAA08/_gURRVxSY1c/s1600/%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%259B.jpg)
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com (http://2.bp.blogspot.com)


หัวข้อ: ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 28, 2016, 01:32:48 pm
(http://www.madchima.org/img2559/pasit/anapanasati-01.jpg)

( อนิจจานุปสฺสี อสฮสสิสฺสามีติ สิกขติ
อนิจจานุปสฺสี ปสฺสสิสามีติ สิกขติ )
เมื่อผู้เจริญอานาปานสติ เข้าถึงรอบแห่งปฏิจจสมุปบาท รอบที่ 1 พึ่งตั้งจิตระลึกถึงความไม่เที่ยง ที่ประกอบด้วยนิมิตนั้น จิตย่อมรู้เห็นความเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง 50 ประการ และเห็นทุกข์ 50 ประการ เพราะความเห็นแล้วซึ่งความไม่เที่ยง 50 ประการและ ทุกข์ 50 ประการ จิตย่อมถึงทัสนะว่า นิมิต (ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ) ไม่เที่ยงด้วยประการทั้งปวง เพราะการตามเห็นความไม่เที่ยงนั้น จิตก็จะพิจารณา ปัจจัย อันเกิดขึ้นในระหว่าง การดับ รูป ที่ยึดมั่น เวทนา ที่ยึดมั่น สัญญา ที่ยึดมั่น สังขาร ที่ยึดมั่น วิญญาณ ที่ยึดมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
บทขยาย ขณิกโต
ความไม่เที่ยง 1 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 1 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 2 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 1 ดับไป ความเป็นทุกข์ 1 ก็ดับไป
ความไม่เที่ยง 2 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 2 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 3 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 2 ดับไป ความเป็นทุกข์ 2 ก็ดับไป
ความไม่เที่ยง 3 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 3 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 4 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 3 ดับไป ความเป็นทุกข์ 3 ก็ดับไป
ฯ ล ฯ
ความไม่เที่ยง 49 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ 49 ตั้งอยู่ ความไม่เที่ยง 50 เกิดขึ้น ความไม่เที่ยง 49 ดับไป ความเป็นทุกข์ 49 ก็ดับไป
ความไม่เที่ยง 50 เกิดขึ้น ความเป็นทุกข์ประมวลใหญ่ พร้อมความสังเวช ที่ทรมานอย่างสุดแสนสาหัส ความทุกข์ ทีทุกข์ที่สุด ก็ ตั้งอยู่ อย่างนั้น จนกว่า กำหนด ทุกข์ จะเกิดขึ้น ทุกขอริยสัจจ์ เมื่อถูกกำหนดแล้ว จึงจะเข้ารอบ ของ สมุทัยสัจจ์ แบบ อนุโลม การกำหนดทุกข์นี้ได้ ด้วย อนิจจลักษณะ ชื่อว่า การบรรลุทุกขอริยสัจจะ เห็นความทุกข์ตามความเป็นจริง เมื่อจิตพร้อมแล้ว จะตั้ง สมุทัยอรยสัจจะ ตามความเป็นจริง เข้ารอบปฏิจจสมุปบาท โดยตั้ง ทุกข์ เป็นตัวใหญ่ หลายท่าน เข้าใจผิดว่า ไปตั้งตรงนั้น ตรงนี้ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตั้งไว้ให้แล้ว นั้น คือ ทุกข์ นั่นเอง และโดยธรรมชาต ของผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง ก็จะอาศัยทุกข์ นั่นเแหละ เป็นต้นทางการประหารกิเลส

เมื่อจิตผู้ฝึก กำหนดทุกข์ ตรงนี้ อันประกอบด้วยนิมิต ลมหายใจเข้า และ ออก ได้ พึงอธิษฐาน กำหนด ความจางคลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว เข้าสู่ ปฏิจจสมุปบาท ธรรม แบบอนุโลม

( วินิจฉัน ขณะที่ การพิจารณาศึกษา ใน อนิจจานุปัสสนี นั้น นิพพิทา กับ วิราคะ ย่อมพอกพูนตาม ความเหนื่อยหน่าย ความต้องการออกพ้น จะเริ่มได้ตั้งแต่ ลำดับที่ 1 แรงขึ้นไปเรื่อย จนถึงลำดับสุดท้าย นั้นก็คือ ผ่านเส้นทาง ที่ทรมาน ของ อนิจจานุปัสสี อย่างขาวสะอาด มีจิตที่ขาว บริสุทธิ์ เพราะความเห็นจริงด้วย ญาณ นั้น สังขารุเปกขาญาณ เป็นญาณที่หยุดการปรุงแต่ง แล้ววางเฉย ย่อมพอกพูนวิราคะ นั่นเอง )


ยังมีต่อ


หัวข้อ: สังขารวิเสสสมาบัติ ( สมาบัติ 8 )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 30, 2016, 01:22:14 pm
( แสดงสมาบัติ 8 ให้ถูกต้อง ก็จะสามารถเข้าสมาบัติ 8 ได้ )

สมาบัติ 8 ที่หลายท่านเข้าใจผิด หลายท่านพอเริ่มภาวนา ก็พูดถึงสมาบัติ 4 บ้าง 5 บ้าง 8 บ้าง กันไปเรื่อยเปื่อย ปัจจุบัน พอพูดถึง สมาบัติ 8 ทุกคนก็เข้าใจว่า ก็ รูปฌาน 4 ( ถึงจตุตถฌาน ) อรูปฌาน 4 ( คือปฏิบัติต่อจาก ฌาน 4 ถึง เนวนาสัญญายตนะ ) ว่าคือ สมาบัติ 8 ถ้าพูดอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ เขาจึงไม่ถึงวมุตติ ในอานาปานสติ ได้เพราะ อานาปานสติ เป็น รูปฌาน 4 ตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง จตุตตถฌาน และก็เป็น สมาบัติ 8 ด้วย ส่วนการใช้ ญาณทั้ง 9 เข้าสมาบัติ 5
ข้อความในมูลกรรมฐาน ระบุว่า

แม่บท
ยา จายํ ภิกฺขุ อาภาธาตุ ยา จ สุภาธาตุ ยา จ อากาสานญฺจายตนธาตุ ยา จ วิญญาณญฺจายตนธาตุ ยา จ อากิญฺจญฺายตนธาตุ อิมา ธาตุโย สญฺญาสมาปตฺติ ปตฺตพฺพา ฯ ยายํ ภิกฺขุ เนวสญฺญานาสญฺญายตนธาตุ อยํ ธาตุ สงฺขาราวเสสสมาปตฺติปตฺตพฺพา
( บทตั้ง สญญาสมาบัติ แล สังขารวิเสสาสมาบัติ )


สังขาราวิเสสสมาบัติ ( หรือ สมาบัติ 8 ) มีดังนี้ เริ่มเข้าดังนี้
1. อาภาธาตุ
2. สุภาธาตุ
3. อากาสานัญจายตนะธาตุ
4. วิญญานัญจายตนะธาตุ
5. อากิญจัญญายตนะธาตุ
6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ
( 7. นิโรธอายตนะธาตุ ) ในพระสูตร ตัดส่วนนี้ออก ใน มูลกรรมฐาน ทรงไว้
8. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ
ลำดับการเข้า อรูปสมาบัติ 8 ต้องเริ่มจาก อาภาธาตุ ไม่ใช่เริ่มจาก จตุตถฌาน ซึ่งเป็นรูป กรรมฐาน เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ อรูป

อุทกดาบส สอนรูปฌาน 4 เป็น โลกียะสมาบัติ
อาฬารดาบสสอน อรูปฌาน 4 เป็น โลกิียะสมาบัติ
พระพุทธเจ้า สอน สมาบัติ 8 เป็น โลกุตตระสมาบัติ
ในพระไตรปิฏก เรียกว่า สัตตธาตุ คือ เอา นิโรธอายตนะธาตุ ออก เพราะ นิโรธะอายตนะ สัญญาเวทยิตนิโรธ เริ่มต้น
เหมือน พระยุคลธรรม ถูกนำออก จาก องค์แห่ง ฌาน เพราะว่า เป็นอารมณ์ เริ่มต้น ของสุข


ดังนั้นเวลาเจริญ อานาปานสติ เป็น รูปฌาน 4 เป็น สมาบัต 6 และ เป็น สมาบัติ 8 จึงมีวิธีการเข้าสมาธิ ต่างกัน

เทียบ ใน ปฐมฌาน มี
วิตก วิจาร ปีติ ( ยุคลธรรม ) สุข เอกคัคตา จะเห็นว่าในมุูลกรรมฐาน ไม่ได้ตัดออก ให้ความสำคัญ กับ ยุคลธรรม ไว้

ส่วน นิโรธอายตนะธาตุ นั้น ในมูลกรรมฐาน ก็ทรงไว้ อธิบายเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับพระสูตร ที่ปรากฏอยู่
ดังนั้นการเข้า สมาบัติ 8 จึงมีวิธีการปรากฏ ในมุลกรรมฐาน กัจจายนะ อย่างนี้

ไว้ค่อยอธิบาย ส่วนท่านใดยังไม่แน่ใจ ให้ไปอ่านพระสูตรนี้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร
ซึ่งจะเห็นว่า การอธิบาย ชื่อ สมาบัติเหมือนกัน และ จำนวนธาตุ เหมือนกัน นั่นเอง ตอนทีฉันได้เรียน มูลกรรมฐาน จากครูไม่รู้สึกถึงความขัดแย้ง ในกองกรรมฐาน เพราะดำเนินตามลำดับ ไปตามลำดับ อธิบายตรงไป ตรงมา นั่นเอง
เจริญพร


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/109702.jpg)


     ธาตุ 8 ประการ
     
      1. อาภาธาตุ คู่กับ  อนฺธการธาตุ หรือ กาฬธาตู   ( ธาตุที่บัง รัศมี )
      2. สุภะธาตุ  คู่กับ  อสุภะธาตุ จึงปรากฏ
      3. อรูปธาตุ อาศัย รูปธาตุ ( สุภาธาตุ )
   
อธิบายลำดับ การเข้าสมาบัติ 8 ไม่ได้อาศัย จตุตฌาน เพราะ จตุตถาน มี เอกัคคตา และ อเบกขา เป็น ฌานุเบกขาแล้ว ไม่สามารถ ทำกิจ ในการพิจาณา ไตรลักษณาการได้

วิธีการเข้า สมาบัติ 8 อรูปกรรมฐาน แบบพุทธะ
  1. ตั้งบริกรรม ในอานาปานสติ อาศัยรูปนิมิติ ที่เป็น อุคคหนมิต ๆ อาศัยแสงสว่าง จึงจะเห็น นิมิต ได้
  2.เมื่อแสว่างปรากฏ พร้อม อุคคหนิมิต ใอ้ทการอฺธิษฐาน อุคคหนิมิต เป็น ปฏิภาคนิมิต การเข้า ปฏิภาคนิมิต นั้น เป็นการ สุภาธาตุ เมื่อ สุภาธาตุ สงบแล้ว ( ความพอใจ ในสุกาธาตุ อิ่มตัว )
  3.อธิษฐาน เข้าอากาสนัญญาจัญญายตนะธาตุ มีรูปธาตุ คือ สุภาธาตุ ( คือ มนธาตู วิญญาณธาตุ ) ในธาตุที่ เป้นอากาศต้องไม่ปราศจาก มนธาตุ เพราะถ้าปราศจาก มนธาตุ ก็ไม่มีการเห็น รับทราบ ไม่มีอะไรเลย
  ( ยังมีต่อ )

อุทกดาบส สอน รูปฌาน คือ ฌาน 1 - 5 แก่ เจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์เห็นว่า ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

จึงไปเรียนกับ อาฬารดาบส ผู้สอน อรูปธาตุ อาฬารดาบส ไมได้เป็นศิษย์ อุทกดาบส ไม่มีฌาน 1 - 5 แต่ สำเร็จ อรูปฌาน 6

  อรูปฌาน 6 มีอะไร บ้าง
  1. อาภาธาตุ 2.สุภาธาตุ 3.อากาสานัญจาตนะธาตุ 4. อากิญจัญญายตนะธาตุ 5. วิญญานัญจายตนะธาตุ 6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ 

  ที่เจ้าชายสิทธัตถะต้องไปปฏิบัติต่อสองอย่าง คือ การรวม รูปฌาน และ อรูปธาตุ
   
  สิ่งที่ปรากฏในพระไตรปิฏก นั้น อรูปธาตุ ไม่เรียกว่า ฌาน มีแต่คำว่า ธาตุ เท่านั้น กับ อรูปธาตุ

  ดังนั้น ถ้าใครปฏิบัติ ในห้องพระพุทธคุณ มาด้วยการเดินธาตุ ก็จะสามารถไปสู่ อรูปธาตุได้

 1. อาภาธาตุ คือ อะไร ?
     อาภาธาตุ คือ แสงสว่าง ที่ปรากฏในสมาธิ
 2. สุภาธาตุ คือ อะไร ?
     สุภาธาตุ คือ นิมิตอันงาม อันเกิดจากรูปกรรมฐาน ตั้งแต่ พระลักษณะ และ พระรัศมี จนปรากฏนิมิต อันงามผ่องใส
3. อากาสานัญจายนตะ คือ อะไร ?
    คือ การกำหนด อายตนะทั้งปวง เป็นดั่งเช่นอากาศ การทำอย่างนี้ต้องอาศัย หทัยวัตถุ และ อากาสธาตุ  คือต้องเข้าถึง รูปนิมิต อันเกิดจาก มหาภูตรูป 4 และ อุปาทายรูป 23 โดยตั้ง มโนธาตุ และ มนายตนะธาตุ ไว้ใน อากาสไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ถ้าไม่ปรากฏ ตัวรูปธาตุนิมิต ก็ไม่สามารถกำหนด อรูปธาตุ ไม่ได้ เพราะไม่มีผัสสะ มองไม่เห็น
   ( ยังมีต่อ )


 


 


หัวข้อ: ข้อแตกต่างของผู้เจริญ อานาปาสติ สองแบบ คือ ปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 30, 2016, 01:45:47 pm
ข้อแตกต่าง ของ ผู้เจริญ อานาปานสติ สองแบบ จากอุปกรณ์ อานาปานสติ 3 อย่าง คือ ลมหายใจ ลมหายออก และ ก็ นิมิต
1. แบบปัญญาวิมุตติ เจริญด้วยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แบบอัตภาพ คือ มีลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก เมื่อเจริญ ก็เจริญไปตามแบบ มหาสติปัฏฐาน เจริญเป็น สติ และเกิดเป็น มหาสติ การเจริญอาาปานสติ มีลมหายใจเข้า และ ออก ตลอดทั้ง 16 ขั้นตอน จะได้ผลสมาบัติ ในขั้นที่ 16
2. แบบเจโตวิมูตติ เจริญด้วยลมหายใจเข้า และออก ถึงขั้น ที่ 11 จากขั้นที่ 11 ไม่ใช้ลมหายใจเข้าออก แต่ใช้ นิมิตอันเกิดจาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แทน นิมิตมีอยู่ เพราะลมหายใจเข้า และ ออก ดังนั้น จากขั้นที่ 11 ใช้ นิมิต เพราะว่า พอเข้า จตุตถฌาน ลมหายใจละเอียด และไม่มีลมหายใจเข้าออก ด้วยอำนาจสมาธิ แม้การเข้า นิโรธสมาบัติอายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธฌาตุ นั้น ก็ไม่มีลมหายใจเข้าและออก เช่นกัน ดังนั้น ให้ใช้นิมิต แทนลมหายใจเข้า และออก เพราะถ้านิมิตยังปรากฏ นิมิต ก็คือ ลมหายใจเข้า และ ออก นั่นเอง
ดังนั้นการเข้าสมาบัติ 4 สมาบัติ 5 สมาบัติ 8 มีปรากฏในขั้นที่ 11 ของอานาปานสติ เป็นไปโดยธรรมชาติของผู้ฝึกได้ สมาธินิมิต การเข้าไปดับกิเลส อาศัย สมาบัติ 4 และ สมาบัติ 8 คุณธรรมผลที่ได้เหมือนกัน แตกต่างกันที่ ความสามารถ ทาง ญาณ
บางท่าน ได้สำเร็จ วิชชา3 บางท่านก็สำเร็จ อภิญญ 6 บางท่าน ก็สำเร็จ มหาอภิญญา และ ปฏิสัมภิทา 4 เป็นไปตามวาสนา และ บารมี ที่สั่งสมมาจากอดีต ถึง ปัจจุบันนั่นเอง
แต่จะแบบไหน ก็ควรแก่การอนุโมทนา ที่ อรหัตผล ทั้งหมด
เจริญพร



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

(http://4.bp.blogspot.com/-gsAWtlX3uZM/VguM_T8TeFI/AAAAAAAAAA4/khgiF5csfyQ/s1600/1441773859179.jpg)


หัวข้อ: เป้าหมายการฝึกภาวนา สมาธิ ( แบบพุทธ )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 02, 2016, 12:45:25 pm
แม่บท
จตสฺโส อิมา ภิกฺขเว สมาธิภาวนา กตมา จตสฺโส อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ทิฏฐธมฺมสุขวิหาราย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา ญาณทสฺสนปฏิลาภาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตา สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตติ อตฺถิ ภิกฺขเว สมาธิภาวนา ภาวิตา พหุลีกตาอาสวานํ ขยาย สํวตฺตติ


เหตุผลสำหรับการฝึกสมาธิภาวนา นั้นมี ๔ ประการนี้
๔ ประการ ดังนี้
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑ ( ทิฏฐิธรรมสุขวิหาร )
( ผู้ใดปรารถนาความสุข ที่เป็นโลกียะ อย่างสุด ๆ ก็ควรฝึก สมาธิภาวนา )

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ ( ญาณทัศนะปฏิลาภา )
( ผู้ใดปรารถนา ญาณทัศนะเพื่อสั่งสมบารมี ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ ( สติสัมปชัญญะ )
( ผู้ใดต้องประคองสติสัมปชัญญะให้มั่นคง ไม่สับสน ก็สมควร ฝึกสมาธิภาวนา )

สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑ ( อาสวะขยะญาณ )
( ผู้ใดต้องการพ้นจากสังสารวัฏ ก็สมควรฝึกสมาธิภาวนา )
ดังนั้นการฝึกสมาธิภาวนา ตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ตามมูลกรรมฐาน มีเหตุสี่อย่างนี้ เท่านั้น
เจริญพร
"


(http://image.mcot.net/media/images/2014-05-21/14006437142586-948x632.jpg)
ข้อความบางส่วน จาก บทตั้ง ของมูลกรรมฐาน กัจจายนะ
รวบรวมเรียบเรียง โดย ธัมมะวังโส


หัวข้อ: พึงรักษามิตรแท้ไว้ และ อยู่กับมิตรเทียมให้เป็น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 02, 2016, 02:28:35 pm
ผ่อนคลาย พูดแบบโลก ๆ หน่อย ( สลับกับพระธรรมกรรมฐาน )
วันนี้อยู่ รพ. ก็คุยกับคนไข้ ( คนป่วยด้วยกัน )
คป ( คนป่วย -) ท่าน ผมเสียใจมาก ครับ

อจ ( อาจารย์ -) เสียใจ เรื่องอะไร โยม

คป ผมทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนลูกพี่ ได้เป็นใหญ่ เป็นตัว ลูกพี่ผมสั่งให้ให้ผมไปทำงาน เล็ก ใหญ่ ผมไม่เคยเกี่ยง เพราะนับถือกัน วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ถ้าเรียกใช้งาน ก็ทำให้อย่างไม่บ่น จนลูกเมียผม บอกว่า ให้ย้ายบ้านไปอยู่กับลูกพี่ ได้แล้ว ตอนนั้นผมก็คิดว่าจะทำอย่างนั้น แต่วันนี้ผมเสียใจ มาก

อจ ไม่เข้าใจ เล่าเพิ่มอีก ว่าเสียใจอย่างไร

คป ผมเคยคิดว่า ลูกเมีย จะมีดีเท่าลูกพี่ได้อย่างไร เขาเป็นคนให้ยศ ให้เงินเดือน เสนอชื่อ ผมคิดอย่างนั้น แต่ลูกเมีย คอยแต่เอา

อจ. ??????

คป วันนี้ผมป่วย ด้วยโรค มะ...... เรี่ยวแรงไม่มีแบบเก่า ผมมาอยู่ รพ. เป็นเวลา 15 วันแล้ว ยังไม่เห็นลูกพี่โผล่หน้ามาเยี่ยม ผมเลย ที่ผมเห็นตั้งแต่ ก่อนมา รพ. ก็คือ หน้า ลูก หน้า เมีย ที่ร้องห่ม ร้อมไห้ นั่งเผ้าผม กันตลอด 2 อาทิตย์ นี้ ที่ผมเสียใจ ก็เพราะว่า ผมเคยคิดผิด

อจ อืมได้เห็น ได้รู้กับตน

คป ใช่ครับ คนเราถ้าใช้กัน แล้วไม่เคยช่วย ไม่ดูแล มีแต่ใช้อย่างเดียว เอาอย่างเดียว ไม่รู้จักดูล กันและ กัน ผมว่า มันเป็นคนที่คบไม่ได้ครับ แย่ยิ่งกว่าเพื่อนนั่งกินเหล้า ด้วยกันอีก มันยังโผล่มาถาม และ เยี่ยมกัน ช่วยเหลือบ้าง

อจ เราก็อย่าไปคิดมาก ตอนนีี้เฉพาะหน้า ก็ดูแลครอบครัวเราก่อน นะรักษาตัวให้หาย เรื่องงาน ปลงลงเสียบ้าง เราสวมหัวโขนไปไม่ได้ตลอด เห็นมาเยอะแล้ว พวกเจ้า พวกนาย พวกใหญ่ พวกโต พอเกษียณแล้ว ก็เหมือน คนหัวเน่า ( คนเดินหนี )

คป สาธุ ขอรับ อาจารย์ ผมคิดผิดมานาน แล้ว

อจ ยังไม่สาย ยังรู้สึกตัว ก็ยังมีสติ อย่าประมาท รักษาตัว อย่าคิดมาก

คป ขอบคุณครับ..

บทสนทนา มันยังมีอยู่ยาว แต่เอาใจความง่าย ๆ นะ คนเราเนี่ย จะรู้ว่าใครดี ใครรัก ใครช่วยเราก็ตอน เราป่วย ไม่มีแรง นี่แหละเราถึงจะรู้ว่า คนที่รักเรา มีมากหรือน้อย บางทีชีวิตของเรา ไปทุ่มเทให้กับคนที่ไม่ควรก็มี คนพวกนี้ ไม่เรียกว่า กัลยาณมิตร แต่ เรียกว่า มิตรเทียม
ถ้าเขาใช้เราทำงาน ให้เขา ไม่ว่าจะเล็ก หรือ ใหญ่ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แม้แต่ถามข่าวคราว หรือเยี่ยมแยียน อันนี้พึงสังวรไว้ ว่าเป็นมิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ คบได้แต่ อย่าหวังว่า เขาจะช่วยอะไรเรา
สำหรับอาจารย์ผ่านคนเช่นนี้เยอะมาก เพราะเราเป็นฝ่ายช่วยเหลือเป็นส่วนใหญ่ จึงพบคนพวกนี้มาก และก็รู้ว่า ใครเป็นมิตร หรือ ไม่เป็นมิตร แต่บางครั้งเราก็ต้องอธิษฐานว่า ไม่ได้ทำงานเพื่อเขา แต่ทำงานเพื่อปณิธาน รักษากุศล สร้างกุศล มันก็เลยอยู่ให้เขาใช้ได้ ถึงแม้เขาจะไม่ใส่ใจ ว่าเราจะเดือดร้อน หรือ ค่นแค้นลำบาก ลำบน เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ดูแล เราก็ไม่ต้องทุกข์ใจ ถ้าเราวางใจเป็น ชีวิตก็มีความสุข แท้ที่จริง คนเรามีอะไร ติดตัวตอนมา และตอนไป ติดตัวมาก็คือวาสนาบารมีเก่า ติดตัวไปก็คือ บุญกุศลใหม่ ในขณะเดียวกัน ถ้าทำไม่ดี ทำเลว ติดตัวมาก็คือวิบากอกุศลกรรม ติดตัวไปก็คือ อบายภูมิ 4 ดังนั้น เกิดเป็นคนต้องใช้ชีวิตเป็น ต้องเลือกกัลยาณมิตร มีมิตรแท้ให้มาก ดังนั้น ถ้าท่านเจอมิตรแท้ พึงรักษา มิตรแท้ เช่นนั้นไว้อย่าให้หายไป ส่วนมิตรเทียม ก็ให้อยู่กับเขาให้เป็น
เจริญพ


(http://www.guitarthai.com/picpost/gtpicpost/A2652668.jpg)


หัวข้อ: ถ้าภาวนา กิเลสไม่ลดลง แสดงว่า กรรมฐาน นั้นใช้ไม่ได้ หรือ คนใช้ไม่ได้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 04, 2016, 06:52:02 pm
(http://108like.com/picture/image/water_lily_1366987031.jpg)

"ถ้าภาวนาแล้ว กิเลสไม่ลดลง มีอยู่สองประการ หนึ่งกรรมฐานนั้นใช้ไม่ได้ ไม่เหมาะกับบุคคลนั้น หรือ บุคคลนั้นใช้ไม่ได้ ไม่เอาจริงเอาจัง ในกรรมฐาน นั้น

ท่านใด สั่งสมอบรมตน ด้วยพระกรรมฐาน จะนานวัน หรือน้อยวัน ก็ตามหาก ท่านรู้สึกด้วยตนเองได้ว่า ความโกรธก็น้อยลง ความโลภก็น้อยลง ความหลงก็น้อยลง ไม่ใช่แต่น้อยลงเท่านั้น มันถึงขั้นจะไม่มีเลย จะให้โกรธใครก็ไม่โกรธง่าย ๆ จะให้โลภอย่างไร มันก็ไม่โลภง่าย ๆ จะให้หลงอย่างไร มันก็ไม่ง่าย ๆ เลย ท่านจงรู้สึกเสียเถิดการภาวนาของท่านไม่ได้สูญเปล่า เพราะการเจริญกรรมฐาน ย่อนนำออกซึ่งกิเลส ทั้งหยาบ กลาง และ ละเอียด ผู้ที่ข่มนิวรณ์ ได้บ่อย ๆ ก็ย่อมให้ทำให้กิเลสสงบลง เวลาที่กิเลสสงบลง นั้น ใจที่ผอ่งใสย่อมเห็นธรรมอย่างเนืองจนกระทั่ง ใจมันก็ละของมันเอง ไม่ต้องบอกให้ละ มันก็ละของมันเอง คนที่ยิ่งภาวนา ก็ยิ่งเจริญธรรม จะให้ดูหนัง ดูละคร ดูข่าว ดูการบ้าน การเมือง คนเหล่านี้ เขาไม่สนใจ เพราะว่า ใจเริ่มวางจากกิเลส แล้ว นั่นเอง ดังนั้นท่านทั้งหลาย วันหนึ่งคืนหนึ่ง พยายาม สงบ นิวรณ์ธรรม กิเลสเล็ก ๆ ให้ได้บ่อย ๆ เดี๋ยวธรรมของท่านก็จะงอกงามไพบูลย์ ขึ้นเอง ส่วนท่านใดที่ ยิ่งภาวนา ยิ่งพอกพูนกิเลส แสดงกรรมฐาน นั้นใช้ไม่ได้ ให้เปลี่ยนเสีย เพราะกรรมฐานมีไว้เพื่อข่ม เพื่อระงับ เพื่อตัดทำลาย กิเลสนั่นเอง....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: การเตรียมพร้อม เพื่อภาระกิจก็คือ การเสียสละชีวิตที่สิ้นได้ทุกวินาที
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 05, 2016, 03:43:59 pm
"สภาวะ ที่ขาดอากาศ หรือ มีอากาศเบาบางนั้น มีสิ่งที่เกิดขึ้นได้หลายอย่าง ประสบการณ์ตอนลงถ้ำ บางถ้ำมีอากาศไม่พอหายใจและสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างท่เราขาดอากาศหายใจ โดยที่เราไม่ค่อยรู้สึกนั้น มันก็มีเหตุปรากฏการณ์หลายอย่าง เช่น
1. เห็นภาพลวงตา 2. คิดอะไรไม่ออกตื้อไปหมด 3.เห็นภาพสีเป็นภาพขาวดำ ( แต่โดยปกติลงถ้ำก็จะเห็นแต่ขาวดำอยู่แล้ว ) 4.มีความรู้สึกว่าร่างกายควบคุมไม่ได้ และอีกหลาย ๆ ประการ
คนที่ไม่เคยลงถ้ำ มักจะไม่รู้ และจะไม่ค่อยเห็นอันตรายเหล่านี้ แต่ตัวฉันผ่านประสบการณ์ เหล่านี้มา จึงพยายามฝึกฝน ความเตรียมพร้อม นั่งสมาธิในสภาวะห้องที่ไม่ค่อยมีอากาศ เป็นเวลานาน ๆ จนกระทั่งรู้สึกว่าหายใจได้ ในที่มีอากาศน้อย แต่ใช่วาการฝึกแบบนี้ จะมีผลดีกับร่างกาย มันมีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพปอดด้วย เมื่อปอดเราเล็กลง ก็สามารถหายใจได้ในที่มีอากาศน้อย แต่กลั้นหายใจได้ต่ำปกติเคยกลั้นหายใจได้ ถึง 5 นาที ปัจจุบันพยายามทำก็ได้เพียง 25 วินาที เท่านั้น แต่ว่าสามารถหายใจได้ในที่มีอากาศน้อยได้นาน
ได้อย่างก็เสียอย่าง ดังนั้นการลงถ้ำ ช่วง ที่ผ่านมานั้น แม้ถ้ำจะมีอากาศนิดหน่อย แต่เราก็สามารถอยู่ได้ในที่มีอากาศนิดหน่อย โดยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน แบบที่เคยเป็นในช่วงลงไป โดยไม่มีประสบการณ์ ที่เล่าให้ฟังนี่ เผื่อท่านใดอยากติดตามลงถ้ำด้วย สิ่งที่ท่านต้องมีต้องมีความเตรียมพร้อม เพราะการลงถ้ำที่ลึกลงไปเป็น กิโล นั้นมีความเสี่ยงต่อชีวิต ไม่ใช่เป็นเรื่องสนุก มันหมายถึงการที่เราลงไปแล้ว อาจจะไม่ได้กลับขึ้นมาอีก
นั่นคือสิ่งที่ตัวฉันทำใจไว้เสมอ ๆ ว่าเวลาทำภารกิจในถ้ำ ที่มึความลึกอยจ่างมากนั้น และลี้ลับด้วย หมายถึงการสละชีวิตทุกครั้งที่ลงไปหากท่านมี ปณิธานได้อย่างฉัน การติดตามฉันลงไปก็จะเป็นสิ่งที่ดี เพราะรู้ความเสี่ยง นั่นเอง
"

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.chiangmai2day.com/fileupload/content_tem_pic/336_%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD.jpg)


หัวข้อ: ก่อนตะเกียง จะดับ ก็รีบมาจุดตะเกียงใหม่ซะ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤษภาคม 05, 2016, 09:29:13 pm
"มีคนถามฉันว่า ทำไมต้องทำเรื่องการเผยแผ่ธรรมะ มีคนถามเยอะนะคำถามนี้ แต่หลายครั้งก็เฉยๆ ไม่ได้ยากตอบ ก็หลายปีมานี้ก็ไม่ได้ตอบแม้กระทั่งเว็บเข้าปีที่ 9 แล้ว ก็ยังไม่ได้ตอบใคร ?
แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ ไม่มีวันไหนที่ฉันไม่ได้ตอบคำถาม ให้กับท่านที่ยังมีความทุกข์ทางใจ นอกจากฉันป่วย และอยู่ในภารกิจ แม้การตอบคำถามของฉัน จะไม่เคลียร์ใจให้กับหลายท่าน แต่ก็ไม่เคยไม่ให้กำลังใจกับท่านที่เป็นทุกข์ แม้คนที่ด่าฉัน ฉันก็ยังไม่เคยส่งจดหมายโต้ตอบจากฉันในทางลบเลย
15 ปีมานี้ ฉันก็ยังทำหน้าที่ ๆ ไม่มีใครอยากทำเพราะทำแบบฉัน ไม่ได้อะไร เลย นอกจากกุศลบารมี ที่ได้ทำเพราะเราทำงานปิดทองหลังพระ ไม่เคยเรียกร้อง วัตถุสิ่งใดจากผู้ที่เราช่วยเหลือ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทุกวันนี้ที่อยู่ได้ก็เพราะลูกศิษย์ที่ปวารณา จริง ๆ มีคนที่ฉันตอบคำถาม ทุกวันบางคนตอบกันเป็น 3 - 5 กระดาษ ต้องแชทสนทนา จนกว่าเขาจะพอใจ และ เริ่มมีความสุขใจ และมีกำลังใจที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้แม้ด้วยศีลธรรม หรือ ปรมัตถธรรม ฉันไม่เคยผูกมัดคำตอบของฉันเป็นบุญเป็นคุณกับ ใคร ๆ ที่ฉันตอบ จะเคารพหรือไม่เคารพ ฉันก็ไม่ได้สนใจตรงนั้น มันเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะส่งข้อความที่สำคัญแก่คนที่ร่วมบารมีกับฉันมาก่อน ๆ ที่เราจะไม่ได้พบกัน ตลอดไป
แต่ ส่วนธรรมขั้นสูงๆ นั้น ไม่ใคร่มีใครสนทนากับฉัน ที่นี่แจกธรรม เสมอเป็นเสี้ยวส่วนละอองของพระธรรมที่ฉันพอจะหยิบมาแจกท่านได้บ้างถึงแม้ไม่มากแต่ ก็เพียงพอที่จะประเล้าประโลมใจ ให้ท่านทั้งหลาย มีกำลังใจดำรงชีวิต อยู่ได้ในท่ามกลางกระแสพายุ อันเกิดจาการล่องเรือในโอฆะที่เชี่ยวกราก ที่เต็มไปด้วยกระแสโลกธรรม ดังนั้น ฉันก็ยังคงทำหน้าที่ ๆ ที่ไม่ได้มีความหมายอะไร ๆ ทั้งนั้น เพียงแต่ทำหน้าที่ จุดตะเกียง น้อย ๆ เท่านั้นซึ่งอาจจะมีประโยชน์ แก่ใครบางคนบางท่าน และ อาจจะไม่มีประโยชน์เลย ก็เป็นได้ แต่อย่างไร ตะเกียงนี้ก็จะจุดุไว้ไป จนกว่าวันนั้นจะไม่มีฉัน.หรือฉันหมดความสามารถที่จะกระทำได้ ซึ่งก็คงต้องต่อตะเกียงนี้ให้แก่ทายาท ซึ่งวันนี้พูดตรง ๆ ว่า รอ ทายาทผู้นั้นจะมา.."


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/pasit-22.jpg)


หัวข้อ: เพราะยิ่งละเอียด ก็ยิ่งช้า แต่ ช้าเป็นเรื่องดี แต่อาจจะไม่ทันการ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 06, 2016, 03:20:15 pm
"'16 ชม. ในงานพิมพ์เอกสาร ตรวจทานการท่อง พิสูจน์อักษร ในโพสต์เดียวนั้น ได้แค่นี้ ทั้ง ที่จริง ยังมีข้อมูลและข้อความอีกจำนวนมากเลย ยังไม่ได้อธิบาย เพียงนำบทตั้งที่ท่องจำไว้ ออกมาเขียนเฉพาะเรื่องของปีติ ก่อน เป็นไปตามลำดับ แต่ 16 ชม. ทำได้เท่านี้ "
ปีติธรรม ใน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21216 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21216)

งานที่สำคัญคือการ ถอดสิ่งที่ท่องออกมาเป็นประโยค แต่สิ่งสำคัญบางครั้งก็ท่องผิด ตกหล่นไปบ้าง ตรวจสำนวนการท่องกับการแปล จากประสบการณ์ทีเรียนมา แล้ว ก็เสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ ในประโยคที่ขาดไป แต่เพื่อความแน่ใจ จึงต้องเสียเวลาเทียบเคียงกับพระไตรปิฏก เพื่อไม่ให้ข้อความผิดพลาด เพราะความสะเพร่าของเรา สิ่งสำคัญที่สุด ในการเป็นพุทธสาวก ต้องไม่ให้อักขระวิบัติ ดังนั้นถ้าศัพท์ใด ท่านผู้รู้เห็นว่าผิดก็แจ้งกลับมาด้วย เพราะว่าตัวข้าพเจ้าก็ไม่ได้ชำนาญใน ภาษามคธมากนัก มีความรู้แค่หางอึ่ง

นี่จึงเป็นเหตุให้ พิมพ์ได้ล่าช้ามาก ถึงแม้จะมีความตั้งใจพิมพ์ออกมาให้สมบูรณ์ ในเรื่องเดียวเลย ทั้งอรรถ ทั้งวิธีปฏิบัติ ทั้งข้อจำกัด ที่สำคัญในเนื้อหาตามบท ที่ปรากฏท่องจำที่ได้จดจำไว้จากครูอาจารย์ เรื่อง ของปีติ เรื่องเดียว ก็เป็นวิมุตติได้เลย ดังนั้นผู้ปฏิบัติถ้าปฏิบัติถูกต้อง และรู้จริงแค่ห้องแรก ก็มีมรรค ผล นิพพาน พร้อมแล้ว แต่อย่างไร ด้วยหลักกรรมฐาน ก็อธิบายไปตามลำดับ ตามวาสนาของผู้ฝึกภาวนาด้วย บอกว่าไม่เกี่ยวกับบารมี ก็เป็นคำพูดไม่ถูกต้อง เพราะผู้ที่จะสำเร็จมรรค ผล นั้นล้วนแต่สร้างบารมีมาก่อนทั้งนั้น เหมือนพระพุทธเจ้าพระองค์ก็บำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ ถึง ห้าแสนอสงไขยชาติ เป็นผู้ตายเกิดตายเกิด เก้าแสนอสงไขยชาติ บำเพ็ญบารมีมาตั้งแต่ พระพุทธเจ้าองค์ที่ สี่ คือ พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ดังนั้นการภาวนากรรมฐาน ส่วนหนึ่งก็ต้องเกิดจากบารมีด้วย คนที่สร้างบารมีมาทางนี้ก็ไม่ได้มีมาก แต่คนใดที่ยังไม่เข้าใจ ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีบารมี แต่อาจจะถูกปิดผนึกไว้อยู่ เหมือน พระอริยะพระจูฬปันถก ท่านก็ถูกปิดให้สมองทึบจดจำได้สั้นได้หน้าลืมหลัง แต่ได้ผู้เปิดผนึก อย่างพระพุทธเจ้า ท่านจึงได้บรรลุคุณธรรมอันวิเศษ เป็น เอตทัคคะ ดังนั้นท่านทั้งหลายที่มีความคิดตรงต่อพระกรรมฐาน ว่า พระกรรมฐานนี้ จะสามารถทำให้เราสิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิดได้ อันนี้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นทีมากด้วยบารมียิ่งแล้ว เพราะในโลกนี้คนที่ยังไม่เบื่อ และยังไม่คิดออก มีกลาดเกลื่อนทั่วโลกา แต่คนที่คิดลาจากสังสารวัฏ นั้นมีจำนวนน้อย เทียบเท่าเม็ดทรายในฝ่ามือ เท่านั้นเอง "


ข้อความบางส่วน จาก บันทึกล่าสุด
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/peeti.jpg)


หัวข้อ: ทุกสิ่งเป็นดั่งหมอกควัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 13, 2016, 01:07:22 pm
(http://www.madchima.net/images2559/soonyata.jpg)

"สิ่งที่ฉันกระทำ ในเรื่องการเผยแผ่พระธรรมกรรมฐาน นั้น สำหรับหลายคนอาจจะคิดว่า มันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฉัน ๆ จึงต้องทำ แต่ความเป็นจริง ตอนนี้ไม่มีอะไรสำคัญเลย คนอื่นเสียดายวัน และ เวลา แต่สำหรับฉัน วัน และ เวลา ที่วิ่งไป ก็แค่ไปสุ่ความเสื่อม และ สิ้นสุดการอยู่ร่วมกันในโลกต่อไป เท่านั้น จะวิ่งถึงเย็นนี้ บ่ายนี้ เช้านี้ พรุ่งนี้ ต่อไป มันก็เหมือนกัน วันไหนก็เหมือนกัน เพราะปลายทาง ก็คือ คำตอบเดียวกัน ความจริงเดียวกัน ไม่เปลี่ยนแปลง

    ในโลกนี้มีหลากหลายเรื่องราว ที่มีความสำคัญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ใจคนแต่ละคน ให้มีความหวัง และอยู่ได้ ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นวัตถุ อุดมการณ์ อุดมคติ ปรัชญา ชีวิต จะดราม่า หรือ ไซน์ ล้วนแล้ว สำหรับฉันเป็นเพียง แค่ควันที่ฟุ้ง ที่กระจายอยู่ในอากาศ คนอื่นอาจจะมองเห็นเป็นแก่นสาร แต่สำหรับฉัน มองสิ่งเหล่านั้น เป็นเพียงแค่ควัน ลอยบนอากาศ ทีไม่สามารถจับต้องได้ นี่คือการดำรงค์รู้ประจักษ์เห็นในปัจจุบัน

     หลายคนจะไปรู้ ก็เมื่อการสิ้นสุดแห่งอัตภาพมาถึง สิ่งที่ปรากฏก็คือ ความที่หาสาระแก่นสารไม่ได้ กับสิ่งที่เราคิดฝัน และพยายาม กระทำ อย่างทุ่มเท สุดท้าย มันก็เป็นเพียงหมอกควัน ที่จางหายไปในอากาศ อากาศคือช่องว่าง ที่ ธาตุทั้งหลายอาศัยอยู่เท่านั้น

   โลกนี้ จะมีฉันก็ได้ ไมมีฉันก็ได้ มันก็หมายถึง ทุกสถานที่ ทุกสถานะ มีฉันก็ได้ ไม่มีฉันก็ได้ เพราะสภาวะของฉันเป็นสูญ ไม่มีอันตรายกับโลก เป็นผู้ที่ถูกถอดเขี้ยวเล็บออกแล้ว ไม่มีพิษ ไม่มีภัย ไม่มีอันตรายใด ๆ กับโลกอีกต่อไป นั่นเอง.....   "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: เชื่อมั่นในมงคล 2 ประการ จึงยอมเหน็ดเหนื่อยลำบากในการเดินทาง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 13, 2016, 11:32:04 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-23-1.jpg)


"เวลาเราไปหาครูอาจารย์ที่อยู่ไกลๆ เดินทางเป็นร้อยกิโล ไปถึงแล้วก็ไม่ได้พูด ได้เพียงแค่กราบ แล้วก็กลับ การเดินทางของเรานั้นแม้นจะยากลำบาก แต่ด้วยศรัทธาและความเคารพ นั้นจึงยอมเดินทางไป ถึงแม้ท่านที่เราเคารพศรัทธา จะไม่ได้กล่าวคำทักทายใด ๆ กับเราเลย เราก็ยินยอมพร้อมใจ เพราะเชื่อมั่นในมงคลที่ว่า

สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง)
คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ)
คุณสมบัติของ สมณะ เป็นผู้งดงามเบื้องต้น ด้วยมรรค เป็นผู้งดงามท่ามกลาง ด้วย ผล เป็นผู้งดงามที่สุด ด้วย นิพพาน

ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง)
บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยำเกรง กราบไหว้ ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทำให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้ ป้องกันความเห็นผิด และทำให้เราได้แบบอย่างที่ดีจากคนที่เราเคารพ
สำหรับข้าพเจ้า การเข้าไปบูชาสักการะ นั้นมีคุณสมบัติดังนี้
เป็นแบบอย่าง ในความเป็น สมณะ และ บรรพชิต เบื้องต้น
เป็นแบบอย่าง ในการสืบทอด และ ถ่ายทอด วิถีธรรม ท่ามกลาง
เป็นแบบอย่าง ใน อริยะมรรค และ อริยะผล ในที่สุด

สองมงคลนี้ นั่นแหละจึงจะทำให้ข้าพเจ้าเดินทางไปกราบไหว้ ทำสักการะ แก่ ครูอาจารย์นั้น ตามสมควรแก่ฐานะ แม้บางครั้งไปถึง ไม่ได้รับการต้อนรับ หรือ ทักทายปราศัย กับครูอาจารย์เหล่านั้น ก็ไม่เคยคิดว่าการไป เป็นการเสียเวลาเลยสักครั้ง


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: หลงเพลินในมายา ธรรมดาของผู้ แหวกว่าย ในสังสารวัฏ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 14, 2016, 08:24:05 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-24.jpg)

อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
เมื่อเรายังไม่พบญาณ, ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารอันเป็นอเนกชาติ

คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน,
คือตัณหาผู้สร้างภพ, การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน, เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป

สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว

วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือ ถึงนิพพาน)

   "การแล่นท่องเที่ยวในภพชาตินั้น อาศัยอะไร เป็นปัจจัย อะไรเป็นเหตุ อาศัย ตัณหาเป็นปัจจัย อาศัย ความปรารถนาในสุข แห่งตัณหาเป็นเหตุ สรรพสัตว์ล้วนถูกแผดเผา ด้วย รัก โลภ โกรธ หลง ความไม่รู้ ความเพลิดเพลิน ความชอบ ความชัง ความแค้น และอีกหลากหลายอารมณื ที่เป็นอารณ์ที่ปรุงแต่ง ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้่ง 5 ที่เรียกว่า ทุกข์นั่นแหละเป็นเครื่องหลอกให้ สรรพสัตว์เวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รู้เป้าหมาย มีเพียง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พุทธสาวก ที่มีจำนวนไม่มาก ที่จะหลุดรอดจากวังวน ที่เรียกว่า มายา โอฆะ สังสารวัฏ นี้ได้ เมื่อสัตว์มัวเมา และหลงอยู่ ย่อมเพียรสร้างเรือนปลูกเรือน เริ่มต้นอย่างนี้ทุกครั้้ง ตามวัย ...

สังสารวัฏ ไม่เคยขาด ผู้ประสบภัย เพราะความเชี่ยวกราก และ พระเอก นางเอก ในสังสารวัฏ ไม่มีเลย มีแต่ผู้ถึงฝั่ง กับผู้อยู่ในน้ำ และผู้ยืนอยู่อีกฝั่ง อันเต็มไปด้วยอันตราย ความปลอดภัยก็คือ ต้องข้ามฝั่งมาให้ได้ นั่นเอง

 ฝั่งจะข้ามได้ ก็ต้องอาศัย มรรค และ ความเพียร ของแต่ละบุคคล ที่จะมาถึงฝั่ง อันเว้นจากการเวียนว่ายตายเกิด นี้อีกต่อไป
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

 


หัวข้อ: ถึงทุกข์ เจียนตาย ก็ อย่าละสติ และ ทิ้งธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤษภาคม 17, 2016, 02:49:02 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-25.jpg)

ข้อความใบลาน ลงท้าย
จารนี้กู ใคร่บอกผู้อ่านที่มีบุญ หากสูได้อ่าน ธรรมวาทีนี้ โปรดจำคำกูไว้ เมื่อขณะภาวนา พูนศีลสมาธิ จงรั้งจิตไว้ว่า
"ถึงทุกข์ เจียนตาย ก็ อย่าละสติ และ ทิ้งธรรม" พึงท่องบ่นไป วันละหลายหน จนกว่า ทุกข์จะเบาเบา


   "ใช้ทุกข์ให้เป็น ในเบื้องต้น ทำ สมังคี คือ การล่วงพ้น ด้วยการเห็นตาม ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ ทุกข์เกิดขึ้นอย่างนี้ ทุกข์ดับไปได้อย่างนี้ การกำหนดทุกข์เป็นอย่างนี้ เลือก ธรรมวิจยะ ให้เหมาะสม แก่ฐานะ ในภาวนา ถึงแม้จะทุกข์เจียนตาย แม้ลมหายใจกำลังจะดับ ก็ต้องตั้งสติให้ได้ว่า ทุกข์ เป็น วิบาก ในวัฏฏ์สงสาร เมื่อเกิดอีก ก็ต้อง ทุกข์อีก ไม่มีทางที่เราจะหนี และ ละจากทุกข์ ถ้าหากต้องเกิดอีกต่อไป อริยะสาวก ย่อมกำหนดความจริงเยี่ยงนี้ และ กระทำทุกข์นั้นให้สิ้นไป จาก มโนธาตุ ในใจ  ทุกข์ ที่เป็น ทุกขธาตุ ย่อมดับไป ตามความรู้จริง อย่างนั้น ด้วยมรรค สมังคี นั่นเอง "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะงวังโส

 


หัวข้อ: พระพุทธเจ้า แสดง ธรรมโดยปาฏิหาริย์ แม่ วันวิสาขบูขา ก็เป็นเช่นนั้น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 20, 2016, 12:22:00 pm
(http://www.madchima.net/images2559/wisaka59.jpg)

วิสาขบูชา มีความสำคัญ สำหรับชาวพุทธที่นับถือพระพุทธเจ้า เพราะวันนี้จัดว่าเป็นวัน ของพระพุทธเจ้า ที่ประจวบเหมาะ สามประการ นั่นก็คือเป็นวันคล้ายประสูติ วันที่ตรงกับวันตรัสรู้ และ วันเสด็จดับขันธปรินิิพพาน ซึ่งทั้ง สามวันเป็น วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ) แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว วันนี้เป็นวันที่ได้มองเห็น อริยสัจจะความจริง ในญาณทัศนะอีกวันที่ พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเปิดโลก ด้วยญาณ สามคือ ญาณที่เห็นความเกิดขึ้น ( ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ) ความตั้งอยู่ ( ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ) ความดับไป ( ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเราเป็นตัวเป็นตนของเรา ) นี่พระพุทธเจ้าพระองค์แสดงธรรม ได้อย่าง อภินิหาร เป็นปาฏิหาริย์ ในการแสดงธรรม บารมีแห่งพระพุทธคุณที่มีต่อสัตว์โลก ที่มีความตั้งใจ ในการไปสู่ ประตูอมตะ คือ พระนฤพาน นั่นเอง
เมื่อระลึกได้อย่างนี้ ควรแล้วที่เรา จะกล่าวสรรเสริญ คุณของพระองค์ พระทรงพระมหากรุณาธิคุณ อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยคำยกย่อง และ สรรเสริญ คุณแห่งพระองค์ ว่า

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺสมฺพุทฺธสฺส
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์ พระองค์นั้น

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้า ถือเอา พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ( ที่ระลึก )
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธมฺมวํโส
( วันนี้วันสำคัญ ขอประกาศคุณของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เทอญ )


หัวข้อ: อย่าประมาท สังขาร มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 31, 2016, 04:20:51 pm
"โดยนิสัยปกติฉันไปไหน ก็ไม่ได้ไปเที่ยวไปสอนใครต่อใคร ส่วนใหญ่ที่ไปก็จะไปนั่งฟังเสียมากกว่า ที่ไปไหนต่อไหน นั้น ก็เพียงแต่สอนตนเอง อยู่เสมอว่า จงอย่าประมาท สังขารมีเสื่อมไปเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้า ท่านได้ทรงตรัสเตือนไว้ แม่ก่อนจะดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ยังอุตส่าห์เตื่อนเราไว้ว่า อย่าประมาท ฉันคิดถึงคำนี้อยู่เสมอว่า หากไม่มีคุณวิเศษเกิดขึ้น การอุปสมบถของฉัน นี้ก็จักเป็นหมัน เป็นเนื้อนาบุญที่แห้งแล้ง ไม่คู่ควรแก่สักการะอันชนทั้งหลายได้กระทำแล้วด้วยความศรัทธา ที่มาจากหยดเหงื่อแรงงาน ดังนั้นเมื่อคุณธรรม ที่เรียกว่า มรรค ผล และ นิพพาน ยังไม่เกิดแก่ฉัน ๆ จึงไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาทเลย อย่างน้อยก็ควรตั้งมั่นในศีลสิกขาบถ และภูมิแห่งสัมมาทิฏฐิ ที่มุ่งตรงต่อพระนิพพาน เพราะว่า เวลาแห่งอัตภาพที่มีอยู่ตอนนี้จักไม่มีแล้ว เพราะการเกิดอีกเป็นทุกข์ร่ำไป การไม่กลับไม่เกิดเป็นความปรารถนาของฉัน ก่อนที่ทุนคือกายนี้กำลังจะหมดไป และทิ้งไว้แต่เพียงเสบียงคือ พระธรรมอันเป็นสิ่งที่ได้รับมอบมาจากครูอาจารย์ อันเป็นสิ่งที่มีอยู่พอเพียง และเหลือไว้ให้กับคนที่สมควรแก่เสบียงนั้น นั่นก็คือผู้ร่วมเดินทาง ในทางเดียวกัน กับฉัน ดังนั้นแม้คุณธรรมจะยังไม่เกิด กับฉัน เมื่อสิ้นฉันไปแล้ว ท่านที่ร่วมทางกับฉันก็จงใช้ เสบียงของฉันให้ไปสู่เป้าหมายปลายทาง คือ ประตูอมตะ นั้นเถิด......"

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/padchima.jpg)


หัวข้อ: จะดีได้อย่างไร เอาแต่คนไร้คุณภาพ มาไว้วัด
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 05, 2016, 09:02:42 pm
"วันหนึ่งในศาลา โยมมาสนทนาเรื่อง วัด เรื่อง พระ กับฉัน
โยม- เดี๋ยวนี้หาพระปฏิบัติไม่ค่อยจะมี หาพระดี ๆ ก็ยาก เดี๋ยวนี้ วัดก็ไม่ค่อยพัฒนาทางจิตใจ จะหาพระเทศน์ พระสอน พระดี ๆ หายากจังเลย นะท่าน
พระ - อย่างนั้นหรือโยม !
ขณะนั้น เจ้าอาวาสกลับมาพอดี โยมเลยพูดตัดบทสนทนา
โยม - ขอตัวก่อนนะท่าน เดี่ยวไปพบเจ้าอาวาส ก่อนนะ
พระ - ไปพบเรื่องอะไร ?
โยม = ผมจะมาฝากลูกชายให้บวช อยุ่ที่วัดนี้ครับ
เนื่องด้วยรู้จักโยมท่านนี้ มานาน คุ้นเคยกับครอบครัวนี้อยู่ ก็เลยถามโยมไปว่า
พระ - ใช่ลูกชายคนที่ จบ ป.ตรี เป็นหมอใช่ไหม ?
โยม - อ๋อ ไม่ใช่ครับ คนนี้เป็นคนกลาง เรียนไม่จบ ม6 มันเกเร ไม่ได้ทำงาน ทำการอะไร เอาแต่อยู่บ้าน เที่ยวกินเหล้า มั่วสุม ก็เลยอยากให้มาอยู่วัด เพื่อให้ท่านเจ้าอาวาสอบรม ให้มันดีขึ้น หรือ เป็นไปได้ก็ให้พระชี้นำทางธรรมให้ จะได้ บวชไปยาว ๆ เลย ไม่ต้องให้สึกเลยก็ดี นะครับ
พระ - อือ อย่างนั้นเลยหรือโยม ?
การสนทนา จบเพียงเท่านี้
แต่ข้อคิด อยู่ที่ท่านทั้งหลาย จะคิดเห็นกันได้หรือไม่ ?
"


(https://pbs.twimg.com/profile_images/629648322626621441/euBpgJ28.jpg)
-ขอบคุณภาพประกอบจาก https://pbs.twimg.com

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: มุนี ผู้สงบ ผู้ทวนกระแส ผู้ไม่ตามโลก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 06, 2016, 12:12:42 pm
"โลก วุ่นวาย ไม่มีจุดจบ เมื่ออยู่ในโลก ก็ต้องแปดเปื้อน ด้วยโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา จุดจบของผู้อยู่ในโลก ก็คือ ความตาย ความเกิด และ ความทุกข์ ดังนั้นเมื่ออยู่ในโลก จึง ต้องพยายามระวังดูใจ และควบคุมไม่ให้ ตัณหา มีมากเกินควร เพราะเมื่ออยู่ในโลก มันจะผูกพัน ด้วยคำว่า รัก ชอบ ชัง พวกพ้อง บริวาร อยู่รอด เอาตัวรอด และอีกสาระพันปัญหา ตามชีวิตสังคม ที่เรียกว่า โลก เมื่ออยู่ในโลก ไม่มีคำว่า ถูก หรือ ผิด เพราะ ถูกก็เป็นผิดได้ ผิดก็เป็นถูกได้ นั่นเอง สัตว์ กับ มนุษย์ เสมอกันอยู่ 3 อย่าง คือ กิน นอน สืบพันธ์ ( ขยายอำนาจ) ดังนั้น วิถีชีวิตของผู้อยู่ในโลก จึงต้องแสวงหา ไปใน 3 เรื่องนี้

โลกลุกเป็นไฟ ด้วยการกระทำ 3 อย่าง มาตั้งแต่เริ่มมี สัตว์มนุษย์ นั่นแหละ ไม่จบสิ้นด้วยการรบราฆ่าฟัน แสวงหา

 มีเพียง นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้รักสงบ ที่ล่วงรู้และพยายามออกจากวัฏจักร กิน กาม สืบพันธ์นี้ ในยุคนี้ มีเพียง พระมหาบุรุษ ดั่งเช่นเจ้าชายสิทธัตถุะ ผู้สละจาก วัฏจักรนั้น แล้วแสวงหา การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์ก็ทรงประกาศ หลักธรรมคำสอน ที่เรียกว่า มรรค ( หนทาง ) ออกจากวัฏจักร นั้น

มุนี ผู้สงบจึงอาศัย วิเวกด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยอุปธิ อันเป็นทางออก ตามที่พระสุคตเจ้า ได้ประกาศไว้ ดังนั้น ทางธรรมจึงไม่อยู่กับโลก ผู้เจริญทางธรรม ชื่อว่า ผู้ทวนกระแส และมีเป้าหมายไปสู่ ความไม่ตาย เพราะไม่ต้องเกิดอีกต่อไป มีเพียง ธาตุขันธ์ ชาติสุดท้ายเท่านั้น ที่ดำรงอยู่ ด้วยการไม่เบียดเบียน ...

พระคาถาที่พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงไว้ ใน อนุโสตสูตร ที่ 5 ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยังไม่
ปราศจากราคะ มีปรกติบริโภคกาม ชนเหล่านั้นแล ถูกตัณหา
ครอบงำแล้ว เข้าถึงชาติและชราบ่อยๆ ชื่อว่าไปตามกระแส
เพราะฉะนั้น ธีรชนในโลกนี้ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้วไม่เสพ
 กาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็
ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าไปทวน
กระแส นรชนใดแล ละกิเลส ๕ ประการเสียได้ เป็น
 ผู้มีการศึกษาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา ถึงความ
เป็นผู้ชำนาญในจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นแล
 นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่าผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลาย
 ที่เป็นกุศลและอกุศล อันบุคคลใดกำจัดหมดแล้ว ถึงซึ่ง
อันตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้จบเวท อยู่จบ
 พรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลก นักปราชญ์ทั้งหลาย
เรียกว่าผู้ถึงฝั่ง ฯ


"


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส
(https://chaturapoom.files.wordpress.com/2011/05/dsc07309ab.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บ https://chaturapoom.files.wordpress.com


หัวข้อ: ต่อยอด การเดินจงกรมธาตุ สู่การละกิเลส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 13, 2016, 05:05:28 pm
"การกำหนด ธาตุกรรมฐาน มี ต้องเข้าใจด้วยว่า ต้องทำอย่างไร ?
ธาตุ มีอยู่ 4 ลักษณะ
1. ลักขณธาตุ เป็นรูปร่าง สันฐาน รูปแบบ
2.สสัมภาระธาตุ เป็นส่วนประกอบ ของธาตุ เช่น สี ลักษณะน้อยใหญ่ อันเนื่องด้วย ลักขณะธาตุ
3.อารัมมณะธาตุ คุณธาตุที่ถูกนำมากำหนด เป็นอารมณ์อันให้รู้จักธาตุ เมื่อกำหนดได้แล้ว เรียกว่า ธาตุนิมิต หรือ นิมิตรธาตุ
4.สัมมติธาตุ เป็นธาตุที่เป็นสภาวะแห่งกายทิพย์ มี ธาตุเทวดา ธาตุพรหม อันเกิดด้วยอำนาจ แห่งสมาธิ ตั้งแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา ขึ้นไป

ดังนั้นในธาตุกรรมฐาน จึงเป็นการกำหนดลักษณะที่ 3 และ ที่ 4 การกำหนด อารัมณะธาตุ อาศัยการคุณแห่งธาตุ ปรากฏในการเดินจงกรมธาตุ ส่วนสัมมติธาตุ ปรากฏเป็นลักษณะ และ นิมิต เพื่อรองรับ การกำหนดธาตุ เพื่อการดับกิลเลส

การกำหนดธาตุ เพื่อการ จบพรมหจรรย์ อาศัย ปริญญา 3
1. ญาตปริญญา กำหนดรู้ว่า นี้เป็นธาตุภายนอก นี้เป็นธาตุภายใน นี้เป็น ลักษณะ กิจ เหตุเกิด  และที่เกิดแห่งธาตุ หมายเฉพาะลงไปตรง ๆ ที่ ขันธ์ ทั้ง 5 หรือ รวมลงเรียกว่า กำหนด นามรูป

2.ตีรณปริญญา กำหนดพิจารณา ธาตุ ด้วยอาการ 42 โดยพิจารณา เป็น อนุโลม ปฏิโลม

3.ปหานปริญญา เมื่อกำหนด ธาตุอาการ 42 แล้ว ญาณความรู้เกิดขึ้นระหว่างการตั้งองค์พิจารณา เมื่อเข้าสู่กระแสญาณ ก็เข้าสู่ความดับกิเลส

 เนื่องด้วยปริญญา 3 เป็น ธรรมที่มีแก่ พระอริยะบุคคล ระดับพระโสดาบันขึ้นไป
     ( เพราะปริญญา 3  ประการนี้ไม่มีแก่ปุถุชน  เขาจึงกำหนดหมายและยินดีปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ และวาโยธาตุ 
(ม.มู.อ.  ๑/๒/๓๑-๓๔) )"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส

(http://pre00.deviantart.net/6a82/th/pre/f/2007/048/1/5/blue_orb_by_pwnet.png)


หัวข้อ: ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 16, 2016, 06:37:39 am
(http://my.haijai.com/article/faith/20151002_faith_1.jpg)

"คนฟุ้งซ่าน ย่อมชักนำแต่เรื่อง ฟุ้งซ่าน และจมปลักอยู่ในกาล มีอดีต และพะวง แต่เรื่องที่ยังไม่มาถึง ผู้ภาวนา ควรละเว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่าน เพราะถ้าเสพอยู่กับผู้ฟุ้งซ่าน ท่านย่อมฟุ้งซ่านตาม สิ่งทีเห็นได้เลยก็คือ ท่านหยุดการภาวนา ตามบุคคลผู้ฟุ้งซ่าน ดังนั้น ความฉลาดในการภาวนา เป็นสิ่งจำเป็นที่่ท่านทั้งหลายพึงต้องศึกษา และหมั่นแก้ไข ปรับปรุงให้การภาวนาไปสู่ความสำเร็จ ในฐานะที่ควร

อัชเชวะ กิจจะ มาตัปปัง โกชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้

ดังนั้นผู้ภาวนา หวังมรรค ผล นิพพาน เบื้องสูงไม่พึงประมาท หากท่านทั้งหลาย ตั้งมั่นเพื่อที่จะข้ามจากโอฆะไม่ควรปล่อยลมหายใจที่เข้าหรือออกอยู่นั้น ให้เป็นลมหายใจที่ไม่มีสาระเลย"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: อด อยาก ปาก แห้ง แจ้ง แล้ว ซึ้ง ธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 17, 2016, 06:13:49 pm
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-26.jpg)

"ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นสิ่งที่ชาวโลก ( ปุถุชน ) ต้องการ แต่สำหรับ มุนี ( ผู้สงบ ) ย่อมมองเห็นสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะสาระแก่นสารของชีวิต ไมไ่ด้อยู่ที่ โลกธรรม 8 แต่หากอยู่ที่การดำรงตน ให้พ้นจากสังสารวัฏ มุนี จึงเดินทาง ด้วยมรรค และอยู่ อย่างวิเวก ชีวิตของมุนี ไม่ได้โรยด้วยกุหลาบ หรือจะสบาย แต่ มุนี ย่อมดำรงตนด้วยวเิวก ที่เหมาะสมแก่อัตภาพ เมื่อมีปัจจัย 4 เกิดขึ้น ก็รับไว้แค่พอเพียง เมื่อไม่มี ก็ประคองใจให้ตั้งมั่น ในธรรม อันเป็นเครื่องชำแหรก ออกจากตัณหา

ฉันเดินทาง ตามเส้นทางของ มุนี แม้การใช้ชีวิต จะอดอยากปากแห้ง แต่ ก็แจ้งแล้วซึ้งธรรม
ดังนั้น ถ้าจะให้เกลือกกลั้ว กับ โลกธรรม 8 เพื่อความอยู่รอด
เราขออดตาย อย่างมุนี ดีกว่า
"


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มิถุนายน 21, 2016, 06:21:37 pm
"งานอะไร หรือ กิจกรรมอะไรก็ตาม ถ้ามีคำว่า ได้ หรือ เสีย งาน หรือ กิจกรรม นั้น ก็เป็นเพียงแต่ งาน หรือ กิจกรรม ประจำวัน ที่ต้องทำเท่านั้น เหมือนการกินข้าว เข้าห้องน้ำ มันเป็นกิจ ที่ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำมีผลเสีย เจ็บป่วย สุขสบาย อยู่ที่กิจ หรือ งาน ที่ทำ

งาน หรือ กิจกรรม ที่เป็นไปเพื่อ มรรค ผล และ นิพพาน ไม่มีคำว่า ได้หรือเสีย เพราะ อริยะผล วัดผลด้วย โลกธรรมไม่ได้ จึงกล่าวไม่ได้ ว่า การไม่เกิด ก็ดี หรือ การเกิด ก็ดี จะดี หรือ ไม่ดี ก็ไม่ได้ เพราะผู้ไม่เลือกการภาวนา ก็ไม่ใช่ จะดี หรือ ไม่ดี หรือ ผู้ภาวนาจะดีกว่า ผู้ไม่ภาวนา เลยก็ไม่ได้ เพราะอริยะผล นั้นพ้นจากโลก เป็นส่วนเหนือโลก ไม่ประกอบด้วย ดี หรือ ไม่ดี พ้นจากโลกธรรม ที่มีการเปรียบเทียบ

ถ้าอธิบาย สองอย่างรวมกันอย่างเป็นวัตถุ ก็เหมือน ศิลปิน ช่างแกะสลัก หากทำการแกะสลัก เพราะต้องการแลกค่าของ วัตถุคือ เงิน ทอง งานนั้น ให้มีความงามที่สุดเป็นไปไม่ได้ แต่หากศิลปินนั้น แกะสลักด้วย จิตวิญญาณ ที่ต้องการสื่อความงามและฝีมือ ไม่ใช่เพียงหวังแค่คำชม ยกย่อง หรือ ตีค่าเป็นเงินทอง งานนั้นย่อมกระทำได้อย่างดี เพราะเป็นอิสสระ จากเครื่องผูกมัด คือ โลกธรรม นี่เรียกว่า สร้างงานทางด้านจิตวิญญาณ ฉันใด
ฉันนั้น ผู้ภาวนา เมื่อภาวนาก็ต้องพ้นจากโลกธรรม ไม่เป็นผู้ภาวนา เพื่อแสวงหาลาภ สักการะ สรรเสริญ หรือ ยศ เพราะถ้าแสวงหา ก็จะพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา ดังนั้นผู้ภาวนาจึงต้องถึง จิตวิญญาณ ในความหมายของการภาวนา เพื่อ อริยะผล จริง ๆ นั่นแหละ จึงจะเรียกว่า ภาวนาเหนือโลก"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


(https://scontent.fbkk5-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-0/s526x296/13495298_955963654520079_1660961326098433846_n.jpg?oh=6868d3912e9a6f2f33cfca50d000c57c&oe=57D7B6F5)


หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 23, 2016, 09:16:49 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-28.jpg)

   การภาวนา ของพระอริยะ ระดับพระอนาคามี นั้น ต่างจาก คนทั่วไป คือ ท่านไม่ได้ตัดวงจร กิเลส ตรงตัว ทุกข์  คือเริ่มจากอวิชชา หรือ ไปตัดวงจร ที่ ผัสสะ ของอายตนะ แต่ท่านตัดวงจร ของ อัตตา ที่ สังขาร คือ หยุดปรุงแต่ง นั่นเป็นสาเหตุให้ กามราคะ ดับ และ ปฏิฆะ ดับ  คงเหลือ แต่ อวิชชา ที่ต้องเป็น ภาระของ อรหัตตมรรค

   ส่วนใหญ่ ปุถุชน จะสอนให้ควบคุม สติ ที่ อายตนะ ผัสสะ ก่อน เพราะกำลังจิต ไม่เพียงพอ ที่หาญหัก กับ กิเลสดังนั้้น จึงต้องปฏิบัติภาวนาแบบเฝ้า ระวัง 

    เฝ้า ก็คือ สติ  สัมปปชัญญะ ก็คือ ระวัง จนกระทั่ง การเฝ้า ระวัง พัฒนาเป็นคุณธรรม ที่สูงขึ้น

    สำหรับพระโสดาบัน นั้น ให้เริ่มเรียนรู้จาก ทุกข์ แล้ว มาหา สมุทัย อวิชชา
     
    สำหรับ พระอรหันต์ นั้น เริ่มที่เดียวกับพระโสดาบัน แต่ แตกต่างกันตรงที่ว่า การหา สมุทัย นั้น มีกำลัง สุงกว่า

   เจริญธรรม / เจริญพร




หัวข้อ: จงจดจำความสุข ขณะภาวนา ให้แม่น ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 23, 2016, 10:42:57 am
(http://www.madchima.net/images2559/AT-01.jpg)

"จงจดจำ ความสุขที่ เมื่อได้ภาวนา ยามเมื่ออยู่ต่อหน้าครูอาจารย์ อารมณ์ที่ได้ในขณะนั้น นั่นแหละ คือ ครูอาจารย์ ที่ติดตัวท่าน เพราะว่า ถ้าท่านจำอารมณ์ ที่มีความสุข ขณะนั้น ได้ ท่านจะหาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสุขนั้นได้ หลายคนเป็นทุกข์มา เมื่อมาภาวนาเรียนกรรมฐาน แล้ว ขณะนั้นก็มีความสุข แต่ เมื่อห่างครูอาจารย์ไป แล้ว ท่านก็ละจากการภาวนาไป ความทุกข์ก็กลับมา นั่นเพราะว่า ท่านทั้งหลาย ไม่ทรง สุข แห่งการภาวนา ไว้ นั่นเอง ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้จิตใจเป็นทุกข์ ก็จงจดจำ ความสุข ที่ได้ในขณะภาวนา นั้นให้ได้ ไม่จำเป็นต้องจำขั้นตอน เพราะว่า ท่านจะจำกันได้เอง เมื่อระลึกถึงสุขอันประณีต นี้ได้ สุขแรกที่ควรนึกถึง คือ พระพุทธเจ้า เป็นผู้แสดงความสุข และ มอบความสุข พระธรรมเจ้า เป็นหนทาง ถึงความสุข พระสงฆ์ เป็นผู้ช่วยบอกหนทาง แห่งความสุข การระลึกถึง สุข นั้นได้ย่อมเป็นส่วนหนึ่ง ในการทรง ภาวนา ที่งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: บัณฑิตจึงควรต้องฝึกฝนจิตใจให้ผ่องใส ด้วยสติ และ สัมปชัญญญะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 04, 2016, 05:09:16 pm
"ปลาจะตายหรือไม่ตาย เมื่ออยู่ในข้องเดียวกัน ก็มีค่าเท่ากับปลาที่ตายแล้ว ฉันใด บัณฑิต แม้จะดีงามฉลาดมากเพียงใดก็ตาม เมื่ออยู่ในหมู่ของคนพาล ที่มีความโลภ โกรธ หลง ก็ไม่ต่างอะไรกัน ฉันนั้น ย่อมมัวหมอง ถูกเหมา ว่าเป็นเช่นนั้นเช่นกัน มีแต่เพียงตนเองเท่านั้นที่สามารถระงับจิตใจไม่ให้มัวหมอง ไปตามเสียงและการกระทำที่เกิดเป็นผลกระทบ ที่ตามมา ดังนั้นบัณฑิตจึงควรต้องฝึกฝนจิตใจให้ผ่องใส ด้วยสติ และ สัมปชัญญญะ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้หลงทิศ หลงทาง จมปลักในความชอบ และ ชัง "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


(http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13422392611342239463l.jpg)

หลายครั้ง หลายหน ที่ฉันต้องเป็นปลาเน่าไปกับข้อง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ กลุ่มที่เรียกว่า สงฆ์ รวม ๆ เลยอยู่ในป่า อยู่ในเขา อยู่ในที่วิเวก ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ก็เพราะว่า เราเป็นปลาที่อยู่ในข้อง นั่นแหละด้วยกัน ดังนั้นถามว่า เวลามีข่าวว่า พระสงฆ์ไม่ดี ออกมาได้รับผลกระทบด้วยไหม ตอบว่าได้รับ เพราะชีวิตพระสงฆ์อาศัย การเป็นอยู่ด้วยชาวบ้านที่มีจิตศรัทธา มอบปัจจัย 4 ให้ หากชาวบ้านไร้ซึ่งศรัทธา ย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นทั้งทางตรง และทางอ้อม อย่างแน่นอน

 ;)


หัวข้อ: สมาธิ ไม่ได้ทำให้จิตบริสุทธิ์ แต่ทำให้จิตตั้งมั่น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 05, 2016, 12:52:41 pm
"คำถาม จากศิษย์ ถามมาว่า จิตบริสุทธิ์ เพราะสมาธิ หรือ จิตบริสุทธิ์ มีก่อนสมาธิ
ตอบ จิตบริสุทธิ์ มีก่อนสมาธิ ความบริสุทธิ์ไม่ได้เกิดจากสมาธิ และในขณะเดียวกัน ถ้าจิตไม่บริสุทธิ์มาก่อน มาทำสมาธิ ย่อมไม่ได้สมาธิ นั่นหมายความ หากท่านมีจิตฟุ้งซ่าน ด้วยความไม่บริสุทธิ์มาก่อน แล้วพยายามทำ สมาธิ นั้นหมายความไม่มีทางได้สมาธิ จนกว่า จิตของผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ จะทำการปรับภูมิ และ ทิฏฐิ ก่อนทำสมาธิ เพราะสมาธิไม่ได้ให้ความบริสุทธิ์ แต่ให้ให้ความตั้งมั่นในอารมณ์ เดียว ต่างหาก
ดังนั้นหากจิตไม่บริสุทธิ์ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิตมาก่อน ก็ต้องปรับภูมิด้วยปัญญา การใช้ปัญญา ก็คือการทำสติ และ สัมปชัญญะ ให้แน่วแน่ในปัจจุบันให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ อดีต หรือ อนาคต มาเป็นเครื่องขวางทาง การไปสู่สมาธิ นั่นเอง ในบรรดาธรรมทั้งหมดที่เรียกว่า มรรค เริ่มต้น ด้วยการปรับทิฏฐิ ตามด้วยอธิษฐาน และกระทำความบริสุทธิ์ให้เกิดทางกาย ทางวาจา ทางจิต และจบด้วยการทำให้จิต ให้มีความตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เพื่อการมองเห็นธรรมตามความเป็นจริง จากธรรมตา ไปสู่ตถตา จากตถตา ไปสู่ สุญญตา จากสุญญตา ไปสู่ การรู้แจ้งประจักษ์ธรรมจริง นั่นเอง
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.khaokho.com/images/column_1364891642/Destination01.jpg)

นี่คือ คำตอบที่ว่า ยิ่งฟุ้งสร้าน ยิ่งทำสมาธิ ยิ่งไม่ได้สมาธิ ดังนั้น ต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้องก่อน ว่า ความฟุ้งสร้านนั้น เกิดจากอะไร และปรับอย่างไร เพื่อให้ความฟุ้งสร้าน ที่มีอยู่ก่อนสงบลง ดังนั้น ศีล เป็นสิ่งจำเป็น แก่ สมาธิ ปัญญา ก็เป็นสิ่งที่ควรจะมีก่อนสมาธิ นั่นเอง


หัวข้อ: จิต แยก ทุกข์ และ สุข ได้อยู่แล้ว แต่จิตที่ไม่ได้ฝึกย่อม ยึดมั่นถือมั่น ไว้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 07, 2016, 11:57:29 am
(https://image.freepik.com/free-vector/dotted-concentric-circles-background_91-8179.jpg)

"ความสืบต่อ ( สันตติ ) เป็นสิ่งที่เกิดไว มาก สุขเกิด ทุกข์ดับ ทุกข์ดับ สุขเกิด สลับกันไปมา มันไวแต่ จิตก็ไว คัดกรองแยกไว้ ถ้าสุขก็แยกไว้เพื่อ เสพ ถ้าทุกข์ ก็แยกไว้ เพื่อป้องกัน แต่ ถ้าสภาวะจิตที่ฝึกอบรมไว้ แยกไว้ได้ จิต ก็จะไม่ตกข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง เพราะรู้เท่าทัน แต่เพราะว่า จิตไม่ได้ฝึกฝนไว้ พอจิตแยก ทุกข์ ก็ ทุกข์มาก พอ จิต แยกสุข ก็สุขมาก ทุกข์ มาก ก็คร่ำครวญมาก สุข มาก ก็หลงเพ้อฝันมาก จน ทั้ง สุข และ ทุกข์ บดบังความจริงในขณะนั้นว่า ทุกข์ และ สุข ก็ล้วนแล้วแต่ แต่เป็น อนิจจัง และ อนัตตตา

ผูู้ฝึกจิตดีแล้ว ย่อมนำทุกข์ และ สุข ที่แยกมานั้น พิจารณา ตามความเป็นจริง จนเห็นได้ว่า ธรรมดา เช่นนั้นเอง ว่างเปล่า ไม่ผิดไปจากนั้น สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้มีเหตุปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้จึงดับ เพราะความที่รู้แจ้งนั้่นเอง สังสารวัฏ จึงไม่มีต่อไป "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: ผู้ภาวนา สู่มรรค และ ผล ต้องพ้นจากกาลเวลา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 08, 2016, 08:22:38 am
"สิ่งที่ คนทนไม่ได้ ก็คือ เรื่องของเวลา เพราะเวลา เป็นสิ่งที่ยาวนานและสั้น ตามสภาวะจิตใจของคน มนุษย์เมื่อเกิดมา ก็มีเวลาที่ถูกกำหนด ให้สั้น ยาว แตกต่างกันไป ตามวิถีบุญบาปกรรมที่ตนสร้างกันไว้ ดังนั้น สิ่งที่มนุษย์ มักทำกันเสมอ ๆ ก็คือการยืดเวลา ให้นาน และ ลดเวลาให้ทันกับตามต้องการของตน จะเห็นได้ว่า มนุษย์ถูกเวลาจัดการกันมา เนิ่นนาน และนานมาก จนต้องกำหนดเวลา เป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี เป็นต้น ดังนั้นเวลาผู้กำหนดเวลา มาภาวนา จึงเอาเวลาเป็นเครื่องกำหนดในการภาวนา ต้องมีให้เวลา ภาวนา ต้องหาเวลา ภาวนา เมื่อก่อนฉันก็อย่างนั้น พยายามสรรหาจัดสรร เวลา เพื่อให้อยู่การภาวนา

   แต่เมื่อภาวนามาลึก ๆ ปลาย ๆ กับทิ้งเรือ่งของเวลา ทำให้ไม่รู้วันเวลา วันที่ นาฬิกาก็ไม่ต้้ง ปฏิทินก็ไม่เอา เพราะไม่ได้ใช้เวลา เลยจริง ๆ พูดอย่างนี้ คงจะเป็นที่เข้าใจกับท่านทั้งหลายได้ยาก เพราะผู้ภาวนา เมื่อถึงขั้นสูงสุด ย่อมละอดีต ละปัจจุบัน ละอนาคต เพราะมันเป็นข้อบังคับ ในอวิชชาทั้ง 8  ใน 3 ลำดับข้อต้น ดังนั้น เรื่องของเวลา สำหรับผู้ภาวนา แท้ ๆ ไม่มีหรอก เพราะสังสารวัฏ ก็คือ เวลา เมื่อพ้นจากสังสารวัฏ ก็คือ ไม่มีกาลเวลา ทุกอย่างไปสู่ อินฟินิตี้ คือ ไม่รู้จบสิ้น นั่นเอง ......."


(https://67.media.tumblr.com/9198ef392c8e3a588ed8a51d0f0b1b47/tumblr_mz42g4K9vF1t2bkq5o1_500.gif)

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

 




หัวข้อ: ความจริง มีเพียงหนึ่งเดียว ถ้า รู้ความจริง ก็ละวาง เอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 09, 2016, 07:26:41 am
(http://www.madchima.net/images2559/pasit-30.jpg)

"เรามักเชื่อสายตา เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ได้ รสที่ปรากฏ กายที่สัมผัส แต่ไม่ค่อยเชื่อใจ ที่ปรากฏ การทำสมาธิ นั้นต้องอาศัยใจล้วน ๆ ไม่ได้อาศัย อายตนะใดอื่น ๆ เลย สิ่งที่สมาธิ ต้องการคือการดับผัสสะ ทั้ง 5 อายตนะ ให้คงเหลืออายตนะเดียว คือ ธรรมารมณ์ กับ ใจ สมาธิ ให้ผลคือ ใจเดียว มั่นคงในอารมณ์ เป็นหนึ่งเดียว เมื่อใจเป็นหนึ่งเดียว ก็จะเห็น ธรรมารมณ์ ทั้งปวง เป็นอันเดียวกัน ใจรู้ มีเพียงอันเดียว คือรู้จริง แล้วก็ ละวาง  ภาษาในกรรมฐานเรียกว่า ยถาภูตญาณทัศศนะ คือ รู้เห็นตามนั้น ใจเห็นตามนั้น เห็นว่าอย่างไร ?
   
    คงบอกไม่ได้ ว่า เห็นอย่างไร แต่บอกได้ว่า เห็นเพียงอย่างเดียว รู้เพียงอย่างเดียว คือ รู้จริง และ ก็ละวาง ความปรากฏของ ธรรมารมณ์ มีเป็นล้านรูปแบบ แต่ ใจเห็นเพียงอันเดียวเท่านั้น นั่นแหละ เรียกว่า ความจริง เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว ถ้ามีมากเกินหนึ่งไม่ใช่ ของ จริง ดังนั้นท่านทั้งหลาย ควรทำเอกัคคตารมณ์ ให้ปรากฏไปเป็น ความจริง เพียงหนึ่งเดียว นั้นเถิด....
 "


  ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
  บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส


  ดูหยดน้ำที่กระทบกับพื้นน้ำให้ดี เวลาหยดน้ำกระทบกับผืนน้ำ สิ่งที่กระเพื่อม พระลักษณะ สิ่งที่สะท้อนก็คือ พระรัศมี สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือ การเคลื่อนไปมาของ พระลักษณะ และ พระรัศมี นั่นก็คือ ปีติ สุข ถ้าใจมองเห็น ปีติ และ สุข อย่างชัดเจน ความเป็นอารมณ์เดียว ก็จะปรากฏ เมื่อปรากฏ ก็จะนำความจริง เพียงหนึ่งเดียวให้ปรากฏด้วย เพราะความจริงไม่อาศัย ใจเข้าไปปรุงแต่ง เพียงแต่เกิดโดยธรรมชาติ และ ว่างจากการรูเห็นที่มีการควบคุม คือ ปราศจากเจ้าของ .......


หัวข้อ: กตัญญู เป็นเครื่องหมาย ของคนดี จะเรีมภาวนา เริ่มที่กตัญญูก่อน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 11, 2016, 08:26:51 pm
(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/12/Y7333684/Y7333684-13.jpg)

"มีคนถามฉันว่า จะเริ่มปฏิบัติธรรมภาวนา ทำอย่างไร ?
ฉันเลยถามกลับไปว่า เริ่มที่ความกตัญญูก่อน ทำได้ไหม ?
ถูกถามกลับว่า ทำอย่างไร ?
ดูแลคนที่รักเรา ก็คือ พ่อแม่ แต่ถึงไม่รักเรา ก็ควรจะต้องดูแล ทุกวันนี้สังคมไทย เริ่มเลียนแบบชาวต่างชาติไปกันมากแล้ว คนไทยเป็นคนอยู่แบบ สกุล ตระกูล ไปมาหาสู่ ดูแลกันจนแก่ จนเฒ่า จนตายจากกันไป แต่คนเมืองกรุง คนทำงานเมืองกรุง กลับทิ้งพ่อแม่ ให้อยู่ตามลำพัง บางคนตายอยู่คนเดียว ทราบข่าวก็อนาถใจ ลูกหลานไม่มาดูแล ส่งเงินให้ใช้ เท่านั้น แต่ก็ไม่เคยถามว่า พอหรือไม่
พ่อแม่บางคน ลูกส่งข้าวของมาให้ แทนที่จะบริโภคเอง กลับมาถวายพระ เออหนอ พระก็ได้ฉันกันไป อันนี้ฟังเพื่อนเล่า แต่ก็สะท้อนให้เห็น ว่าเมืองไทย สิ่งทีชดเชยความรู้สึกของผู้สูงอายุ ก็คือ พระธรรม ดังนั้นคนแก่ คนเฒ่า ก็พยายามมาที่วัด เพราะเงียบเหงา ลูกหลานทอดทิ้งไม่สนใจ บางคนทราบว่า ลูกส่งไปอยู่บ้านพักคนชรา คิดแล้วก็เศร้าใจแทน เศรษฐกิจ บังคับหรืออย่างไร
ดังนั้นใคร ที่ดูแลพ่อแม่ กันอยู่ก็ขออนุโมทนา กุศลด้วยที่ท่านมีพ่อแม่ให้ดูแล ส่วนตัวอาจารย์ไม่ค่อยจะได้รู้จัก พ่อแม่ เท่าไหร่ เพราะตั้งแต่น้อยมา อยู่กับก๋งบ้าง อยู่กับพ่อแม่ ก็ไม่เกินปีสองปี เดี๋ยวก็ต้องไปอยู่กับคนนั้น คนนี้ ดีที่สุดตอนที่พ่อ พาไปทิ้งอยู่วัดดาวเสด็จ บวชเป็นสามเณร อายุ 12 ปี เพราะว่าไม่มีใครรับอุปการะ แล้ว ส่งให้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อุปการะต่อไป จะว่าโชคดี ก็คือ โชคดี ที่ได้ศึกษาหลักธรรม ได้เจริญกรรมฐาน ได้ฝึกฝนวิปัสสนา นึกแล้วก็ขอบคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูอาจารย์ ทุกวันที่ฉันพยายามทำงานเผยแผ่ แบบ ปิดทองหลังพระ ก็เพือ่บูชาคุณของ พระรัตนตรัย และ ครูอาจารย์ ที่ท่านได้อุปการะ ให้จิตวิญญาณ กับฉัน ให้ฉันรู้ และ ให้ฉันเดิน และมอบ หนทางสู่ การไม่กลับมาเกิด
ขอบคุณ พระรัตนตรัย ที่ช่วยดูแลฉัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้นถ้าจะปฏิบัติภาวนา เริ่มต้น ก็คงต้องบอกว่า กตัญญู เป็นคุณธรรมที่ควรจะเริ่มภาวนาก่อน เพราะมันจะทำให้เรา มีความตั้งใจมุ่งมั่น ไปตาม มรรค ผล และ นิพพาน
"
เจริญธรรม/ เจริญพร


หัวข้อ: ฝึกเมตตาอัปปมัญญา ถ้าไม่ฝึก อุบกขาอัปปมัญญา ห้ามออกธุดงค์
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 11, 2016, 08:54:18 pm
ตอบคำถามสักหน่อย เรือ่ง เมตตาอัปปมัญญา ฝึกแค่ เมตตาอย่างเดียวได้หรือไม่ ?

คำตอบ อ่านกันซะนะ  จะได้เข้าใจให้ถูกต้อง

"เมื่อเจริญ เมตตาอัปปมัญญา เรื่องจะให้โกรธไม่มี เพราะแม้แต่ศรัตรูที่ฆ่าเราอยู่ขณะนี้ ก็ต้องแผ่เมตตตาให้ ถ้าเว้นไว้ ไม่แผ่ให้ก็ออกทิศไม่ได้ เป็น ทิศาผรณา ไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่แผ่เมตตาอัปปมัญญ ออกทิศเป็น ทิศาผรณา จึงต้องไม่มีขึดจำกัด เมื่อแผ่ ไม่มีเชือ้ชาติ ศาสนา คนจน คนรวย คนดี คนไม่ดี ดังนั้นผู้ที่ฝึกเมตตาอัปปมัญญา จึงมีจิตเหมือนพรหม พระอนาคามี ก็เรียกว่า พรหม เช่นกัน

ผู้ฝึกทิศผรณา ครูอาจารย์ท่านแนะนำไม่ควรยุ่งกับโลก เพราะคนฝึกเมตตา ไม่สามารถทำร้ายใครได้ นับว่ามีจุดอ่อน ถึงจะมีจุดแข็ง ดังนั้นถ้าฝึก เมตตาอัปปมัญญา อยู่ ครูอาจารย์ จะไม่ให้ออกจากสำนักดจนกว่า จะฝึก อุเบกขาอัปปมัญญา ได้ ดังนั้น เมตตา คือ ความสงสาร  ทำจิตหยาบให้ละเอียด กรุณา คือความปรารถนาช่วย ทำให้จิตขวนขวายช่วยเหลือ มุทิตา คือ ความยินดีในการทำความดี ในกุศลทั้งของตนและผู้อื่น จะเห็นว่า เมตตา กรุณา มุทิตา ใครมีมากไปก็ไม่ดี ทำให้ทุกข์ได้ เพราะถ้าแผ่เมตตา ให้เขาแล้วไม่พ้นทุกข์ จิตก็จะเป็นทุกข์แทน กรุณา ช่วยเชาขวนขวาย ช่วยสำเร็จก้มีสุข ช่วยไม่สำเร็จ มันก็มีทุกข์ มุทิตา ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น มาก ๆ บางครั้งมันย้อนเข้าต้น ความอิจฉา ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเขาได้ดีมากกว่า จะเห็นได้ว่า การฝึก เมตตา กรุณา มุทิตา นั้นทำให้เป็นจิตอ่อน ดังนั้นครูอาจารย์ จะไม่ให้ออกจากสำนักจนกว่า จะเรียน อันสุดท้าย คือ อุเบกขาอัปปมัญญา เพราะอุเบกขาอัปปมัญญา เป็นธรรมหักล้าง จิตเมื่อมีเมตตา กรุณา มุทิตา ด้วยปัญญา ถึงที่สุด

อุเบกขา จึงเป็นธรรมส่วนหนึ่ง ในธรรมเครื่องครัสรู้ และ เป็นที่สุดที่ทำให้จิตผ่องใส ขึ้นได้

  ข้อความใน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ชัดเจนมากเรื่องนี้ ผู้ฝึกต้องให้ถึงอุเบกขา ครูอาจารย์ จึงจะให้ออกจากสำนัก ธุดงค์ได้ "


(http://upic.me/i/ue/11412337_886664791381867_7696978583400133606_n.jpg)


หัวข้อ: หลักการแสดงธรรม ตามแบบพระพุทธเจ้า ( Tech follow buddha )
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 15, 2016, 12:27:43 pm
"หลักการแสดงธรรม ที่ พระธรรมกถึกควรกระทำตามลำดับ และแสดงธรรมให้เหมาะแก่บุคคล ควรจะต้องพิจารณากลุ่มให้เข้าใจก่อนเพราะเรื่องเดียวกัน พูดกับกลุ่มนี้แบบนี้ได้ แต่พูดกับกลุ่มนี้ไม่ได้
กลุ่มที่ไม่มีศรัทธามาก่อนและยังมีอคติ
กลุ่มชนทั่วไป
กลุ่มโลกสวย
กลุ่มบัณฑิต
กลุ่มพระโยคาวจร
กลุ่มพระอริยะ
การพูดจึงต้องมีศิลปะในการพูด แต่การนำเสนอให้ใช้ ลักษณะถ้อยคำที่สละสลวยแตกต่างกันไป ปัจจุบันเขาเรียกว่า การพูดบวก กับการพูดลบ สมัยก่อนเรียกว่า พูดเป็น เจรจาเป็น
ที่นี้เรื่องการพูดเป็น มันอยู่ที่ทักษะ และการศึกษา มันเป็นการยากเช่นกัน แต่เอาหลักการของพระพุทธเจ้าลงไปดีกว่า ด้วยการแสดงธรรม ตามลำดับ ( กรรมฐาน ตามลำดับ )
1. ทานกถา แสดงธรรมเรื่องของทาน ประโยชน์ของการให้ทาน การเจริญทานเป็นกุศล การทำทานตั้งแต่เบาไปหา ทานขั้นสูงสุด
2. สีลกถา แสดงธรรมเรื่องของศึล ตั้งแต่ศีลที่เลือกเฉพาะ จนเป็นเจาะจง และ เป็นวิรัติ และอานิสงค์การมีศีล
3. สัคคกถา แสดงธรรมเพื่อให้ได้เจริญ เทวตานุสสติ คือ ทรง ธรรม 4 อย่าง คือ หิริ โอตตัปปะ และ สติ สัมปชัญญะ เพื่อระลึกถึง วิบากของกุศล แห่งทาน และ กุศลแห่งศีล อันมีเครื่องล่อ คือ โลกธรรม 8 ประการ ถึงเป็นเครื่องล่อ แต่ก็สร้างสันติสุขได้ ทั้งภพ และ ชาติ ทั้งปรโลก และ ปัจจุบันธรรม
4.กามาทีนวกถา แสดงธรรมให้เห็นโทษ ของการอยู่ในสังสารวัฏ มีความมัวเมาในตน ของ ๆ ตน ความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา มีโสกปริเทวะ มี อุปาทานขันธ์ ทั้ง 5 โดยย่อ เพื่อชี้ประตู เส้นทาง หนทาง วิธีการออกจากสังสารวัฏ
5. เนกขัมมะกถา แสดงธรรมเพื่อให้พระโยคาวจร ตระหนัก ถึง การออกจากกาม คือ สังสารวัฏ อย่างที่สุด ให้เห็นโทษของเกิด ตั้งอยู่ และเสื่อมไป
ดังนั้น ถ้าลองเทียบการแสดธรรมของพระพุทธเจ้า ทั้ง 5 ประการนี้ ให้ดีแล้ว ท่านก็จะเข้าใจเรื่องกลุ่มไปในตัว เพราะบางคนไม่มีสถานะ หรือมีสถานะ ทางปัญญาเพื่อจะรับธรรมให้เหมาะสม ต้องอยู่ที่ดุลย์พินิจของผู้แสดงธรรม เพื่อแสดงธรรมให้เหมาะแก่กาล ไม่ใช่แสดงธรรมแบบน้ำท่วมทุ่ง ปูพรมให้เหนือยยาก
ก็เป็นธรรมบรรณการ แก่ ท่านผู้จะแสดงธรรม ซึ่งในช่วงเข้าพรรษา มักจะมีประเพณี การฟังเทศน์ ทุกวันธรรมสวนะเป็นประเพณี ที่ทำกันมาสืบทอดกันมาของคนไทย
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฉันแสดงธรรม เป็นสัปดาห์ที่ 3 วันนั้นแสดงธรรมเรื่อง อนัตตลักขณสูตร หลังจบการแสดงธรรม มัคนายก ก็เดินเข้ามากราบและพูดขึ้น ท่านแสดงธรรมดี เสียงดังฟังชัด แต่เรื่องที่แสดงค่อนข้างจะลึกซึ้งเกินปัญญาของพวกชาวบ้านอย่างพวกผม ถ้าเป็นไปได้ เทศน์ครั้งหน้า ให้ลดระดับให้เหมาะกับโยมด้วย
เหตนี้ มัน 14 ปีที่แล้ว ตอนนั้นมีความรู้สึกอยากแสดงธรรมเรื่องละกิเลส ระดับ พระโสดาบันขึ้นไปบ่อย ๆ แต่พอแสดงไปสักสองสามครั้งหาผู้เช้าใจไม่ได้ ก็เลยยุติการเทศน์ของตนเองเสีย เพราะจะให้ฉันไปเทศน์ให้คนหัวเราะ อย่างพระรูปอื่น ๆ นั้นฉันทำไม่ได้แล้ว รู้สึกละอายใจเวลา เข้ากรรมฐาน ขั้นละเอียด มันเป็นตัวขวางธรรม และ ญาณในระหว่างเจริญ ญาณ จึงเทศนา แบบ ตลกโปกฮาขำกลิ้งอย่างเมื่อก่อนไม่ได้
เจริญธรรม / เจริญพร
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


(http://2.bp.blogspot.com/-2R-Y5yykJjU/TaNiV-3pVVI/AAAAAAAAAME/VH0jNastpqs/s400/Which%252520way%255B1%255D.jpg)


หัวข้อ: คิดให้เป็น แล้ว มันจะเจริญ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 15, 2016, 12:50:41 pm
"วันหนึ่ง มีโยมท่าน มาหาฉัน บนศาลา
โยม ( ย ) ได้ยินชื่อเสียงมาตั้งนาน แล้วอยากมาหา วันนี้พบเสียที
พระ ( พ ) เจริญพร ขอให้โชคดี ตามที่ตั้งใจ
จากนั้นโยมท่านนั้น ก็ชวนฉันคุยไปสัพเพเหระ แต่จับใจความได้สั้น ๆ ไม่มากก็คือ มาจาก โคราช อยากมาพบเพราะได้อ่านเจอในเว็บ และโยมก็พูด กิจกรรม ที่โยมทำประจำคือ ทำบุญวัดนั้น วัดนี้ ทำบุญครั้งละเป็นหมื่น เป็นเจ้าภาพถวายกฐิน ผ้าป่าก็มี เรียกว่าถ้านับวัด นับพระแล้ว มีไม่ต่ำกว่า 20 วัด พระไม่ต่ำกว่า 30 ฟังแล้วก็ชื่นชม ว่าโยมตั้งมั่นในกุศล เป้นคนชอบทำบุญ ตอนนั้น ก้เป็นเวลาใกล้เพล โยมก็เลยบอกว่า เดี๋ยวจะออกไปซื้ออาหารมาถวายเพล อาจารย์ อยากให้รับทานของเขา ให้รอก่อนอย่าพึ่งฉัน โยมไปก็ไม่นาน กลับมาก็มี ข้าวมันไก่ 1 ห่อ น้ำขวดเล็ก 1 ขวด นมเปรี้ยว 1 ขวดเสร็จแล้วโยมก็มาถวาย หลังจากฉันภัตร์เสร็จ ก็สนทนากันอีกสัก ชม. กว่า ๆ โยมคนนี้ก็กลับ ไม่ได้เรียนกรรมฐาน มาเพื่อจะมาทำบุญเท่านั้น
ผ่านไปสองอาทิตย์ ก็ได้รับข้อความ ทาง Email ดังนี้
เรียน พระอาจารย์ ผมมาพบ ท่านในคราวก่อน ผมก็คิดว่า คงโชคดี วันนั้นผมกลับไป ก็ไปซื้อ หวยรัฐบาง 1 ชุด เป็นจำนวน พันกว่าบาท แต่วันที่หวยออกนั้น ผมกลับโชคไม่ดี เลย หวยไม่ถูกเลยทั้งชุด รู้สึกว่า จิตตกมาก ๆ เพราะผมมาพบ ท่านครั้งนี้เพราะต้องการถูกหวย อย่างก็รางวัล ที่ 2 คิดว่าอย่างนั้นเลยนะครับ
ทำไมผมทำบุญกับ ท่านแล้วไม่โชคดี เลย
( เอาเป็นว่า ข้อความ เบื้องต้น อย่างนี้ )
ส่วนตัวฉันเองนั้นไม่ได้ตอบอะไร กลับไป เพราะรู้สึกไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องที่โยมกำลังบ่น เพราะฉันก็ไม่ได้ให้บอกไปซือ้หวย หรือ ให้ไปทำอะไร เลย ไม่มีข้อความจากฉัน เพียงแต่ให้พร ขอให้โชคดี มัชัย ค้าขายร่ำรวย ตามธรรมเนียม ก่อนกลับแค่นั้นแหละ
ที่เล่าตรงนี้ อยากให้ท่านใช้ความคิดกันบ้าง จะต่อว่า จะบ่นฉันนั้นคิดให้ดีก่อน ว่ากระทำอะไรไว้
อย่างโยมท่านนี้ ทำบุญกับอาจารย์ ข้าวมันไก่หนึ่งห่อ น้ำเปล่วขวดเล็กหนึ่งขวด นมเปรี้ยวหนึ่งกล่อง แต่โยมอธิษฐานเอาบุญระดับใหญ่ เลยนะ ซึ่งมันต้องเป็น 10 ใน 60 ล้านคน หรือ 300 ใน 60 ล้านคน
แต่ที่แปลกอยู่เรื่องโยมไม่ถูกหวย ไม่โทษวัดอื่น ๆ เลยนะ ไม่โทษอาจารย์อื่น ๆ เลย แต่โทษฉันคนเดียว ทั้ง ๆที่เล่าให้ฉันฟังว่า พึ่งไปทำบุญวันนั้นหมื่นหนึ่ง วัดนี้ สองพัน ถวายอาจารยองค์นั้นสองหมื่น ประมาณ นี้ กลายเป็น ถวายข้าวมันไก่หนึ่งห่อ ฉันต้องรับผิดชอบ แทนพระสงฆ์ ทั้งประเทศ
โยมบางท่าน ด่าฉันทางเฟคทุกวัน ทางเมลก็ประจำ อยากให้คิดเสียหน่อยว่า โยมที่ด่าฉัน มีบุญคุณอะไรกับฉันได้ทำบุญกับฉันหรือไม่ ส่งเสียฉันบวช มาสนับสนุนฉันเรียน ฉันทำงานก็เปล่าเลย ด่ากันได้ทุกวัน ไม่กลัวกรรมกันบ้าง ด่าฉันยิ่งกว่าพ่อแม่ฉันด่าฉันอีก จะเข้าพรรษาแล้ว อธิษฐานหยุดด่าฉันสักสามเดือนดีไหม เฟคตุ๊ดเณรแต๋วไปด่าตรงนั้นเถอะ เฟคฉันมีแต่ให้ธรรมะ ปิดทองหลังพระต่างหากอย่ามาตามด่าเลย พอซะ
คิดหน่อย ลูกศิษย์ฉันส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้ทำบุญกับฉันประจำ นานทีทำครั้ง บางคนสามสี่ปี ยังไม่เคยทำเลย แต่ก็ชอบบ่นว่าทำบุญกับอาจารย์แล้วไม่ได้บุญ เพราะเขาเหล่านั้นคิดแบบชาวโลก มองแบบชาวโลก ไม่ได้ใคร่ครวญ การกระทำของตนเองให้ดีก่อน
เล่าไว้พอให้ได้ คิด เพราะตอนนี้มีจดหมายบ่นมาลักษณะเดียวกัน อีกสามท่าน ทั้งที่ ไม่เคยทำบุญกับฉันเลย ในรอบสามปี
"
เจริญธรรม / เจริญพร


(http://themiracleofsecret.weebly.com/uploads/2/3/9/3/23932149/5060020_orig.jpg)



หัวข้อ: ชีวิตใหม่ ลมหายใจใหม่ ควรเป็นของใคร
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 18, 2016, 11:10:52 am
"วันหนึ่งระหว่างที่เจ้าชายเทวฑัตร์ ยิงธนูโดนนกตัวหนึ่ง ร่วงมา นกตัวนั้นตกร่วงลงไปอยู่ใกล้กับ เจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเจ้าชายเทวฑัตร์ มาถึงก็ทวงสิทธิ์ นกนั้นทันที เจ้าชายสิทธัตถะ บอกว่านกนั้นเป็นของพระองค์ ๆ จะให้การเยียวยารักษา เจ้าชายเทวฑัตร์ไม่ยอม จึงต้องนำนกนั้น เข้าสู่ บัณฑิตสภา เพื่อให้ตัดสินสิทธิ์ครอบครองนกนั้น สุดท้ายบัณฑิตสภา ตัดสินว่า ผู้ให้ชีวิตย่อมมีสิทธิ์ครอบครอง เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้ครอบครองนกนั้น และพระองค์ก็เยียวยานกจนรอดกลับไปใช้ชีวิตเช่นเดิม
ชีวิตฉัน ตั้งแต่ 1 - 38 ปีนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อและแม่และครอบครัว สกุลตระกูล โดยแท้ ตราบจนหมดลมหายใจ แต่เมื่อได้ลมหายใจใหม่ ด้วยคุณแห่งครูอาจารย์ทั้งสามท่าน ที่มาช่วยเหลือ ลมหายใจที่ได้ใหม่ ย่อมไม่ใช่สิทธิ์ ของพ่อและแม่ ครอบครัว สกุลและตระกูลต่อไป ย่อมเป็นสิทธิ์ของครูอาจารย์ทั้งสามท่าน แม้ความรู้ทางธรรม 1 - 38 ปี ก็ไม่มีประโยชน์ในการรักษาชีวิตนั้นได้ จึงไม่สามารถเทียบเท่ากับความรู้ ที่ได้ใหม่ โดยลมหายใจใหม่ นี้ ฉันจึงกตัญญู กับสายธรรมนี้
ดังนั้นฉันกลัวบาปกรรมมาก โดยเฉพาะบาปกรรมไม่ดี เพราะได้เห็นสถานที่อยู่ของผู้ทีทำกรรมไม่ดีมาแล้ว....
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.dhammajak.net/board/files/104_202.jpg)


หัวข้อ: ขอขมามีไว้เพื่ออะไร ? รู้แล้วควรทำ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 19, 2016, 11:37:13 am
"การขอขมากรรม มีไว้เพื่ออะไร ?
ในมูลกรรมฐาน ไม่ได้กล่าวถึง หัวข้อที่มองไม่เห็นแต่กล่าวถึงเรื่อง การลดมานะทิฏฐิ โดยตรงอันเป็นเรื่องปัจจุบัน ส่วนเมื่อภาวนาลึกซึ้งขึ้น จึงกล่าวถึงโทษการปรามาส 10 ประการ ซึ่งโทษเหล่านั้นเป็นโทษที่มองไม่เห็น
พระอาจารย์เฒ่าทั้งสาม ท่านกล่าวว่า พระสายปฏิบัติด้วยกัน เวลาเข้าไปพบหา อย่าให้พระผู้ใหญ่ ไหว้ก่อน ถ้าจะชอบหรือไม่ชอบ วินัยต้องมาก่อนธรรม ต้องแสดงความเคารพต่อพระผู้ใหญ่ก่อนตามธรรมเนียม เพราะสงฆ์เป็นได้ อยู่ได้ด้วยวินัย แต่ถ้าไม่กระทำปฏิสันถาร แสดงว่า คุณธรรมการปฏิบัติภาวนานั้น ไม่ได้ความเลย ไม่สามารถลดมานะทิฏฐิได้ด้วยการภาวนา มีโมหะหลงตน พอกพูนมานานุสัย สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่สังเกต ได้ทันที ยิ่งถ้ารู้จักกันด้วยแล้ว ยังทำเฉยเมย หรือแม้แต่พระผู้ใหญ่ไหว้ไปก่อนก็ไม่รับไหว้ นี้แสดงถึงความเสื่อมทางด้านวินัย สงฆ์ ซึ่งยังไม่ต้องพูดถึงหลักธรรมการภาวนา
พระใหม่นวกะ ก็ไม่รู้ธรรมเนียม เพราะขาดการอบม พระเก่าระดับครูอาจารย์ก็เช่นกัน ควรจะต้องอบรมสิ่งเหล่านี้ก่อน ..............
"
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส
ที่ยกหัวข้อนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า พระใหม่ ที่กำลังจะเข้าพรรษาถ้าจะถามว่า ควรศึกษาอะไรก่อน ต้องตอบว่า ควรศึกษาเรื่องวินัยสงฆ์ ธรรมเนียมสงฆ์ ที่มาในพระไตรปิฏก และ นอกพระไตรปิฏก ซึ่งเป็นธรรมเนียม ที่พระสงฆ์ใช้อยู่ร่วมกัน
สาราณียธรรม 6 ประการ
1. กายกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่น
2. วจีกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน พูดมีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่นทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
3. มโนกรรมอัน ประกอบด้วยเมตตา คือ ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกันไม่คิดอิจฉาริษยาหรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกันความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม
4. สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร เพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน
5. สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเหมาะสมตามสถานะของตนมีความประพฤติสุจริตปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
6. ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบ
ธรรม 6 ประการ ที่ผู้ใดได้ประพฤติจะเกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกื้อกูลกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป


(http://www.bloggang.com/data/tilltomorrow/picture/1288195705.jpg)


หัวข้อ: ศีล และ ทาน ย่อมทำให้คนงาม และ มีความอาจหาญ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 06, 2016, 07:58:06 am
มอบธรรมให้ชาวเว็บ และ ศิษย์หลวงปู่สุก ไก่เถือน หลังออกกรรมฐาน ครั้งที่ 3 เข้านี้

"เมื่ออยู่สถานการณ์ ที่เป็น หรือ ตาย หากไม่มีคุณธรรมอะไร เลย เมื่อเข้าสู่สภาวะนั้น สิ่งที่มีและปรากฏก็คือความเคว้งคว้าง เพราะกุศลไม่มี อกุศลจะมีกำลังมากกว่า ดังนั้นหากไม่มีคุณธรรม อะไรให้ยึดถึอขณะนั้น สิ่งที่ต้องยึดไว้เป็นสรณะ ก็คือ ศีล เพราะศีลจะทำให้เราเป็นผู้อาจจหาญ ได้ การรักษาศีล มีศีล จึงเป็นเช่นแพไว้ให้ลอยคอดในท่านกลางโอฆะ นี้ได้
ดังนั้นบัณฑิต ผู้ยังลอยคอ ในโอฆะ ที่มีสัตว์ร้าย คอยกัดกินทำลายไม่พึงเว้นจากศีล หรือ ละจากศีล เพราะศีล เป็นคุณธรรม มนุษย์ และ เทวดา นั่นเอง

ดังคำกลอน ของท่านผู้รู้กล่าวว่า

คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต
"
เจริญธรรม / เจริญพร


(http://www.siamfishing.com/_pictures/content/upload2012/201210/135066154514.jpg)


หัวข้อ: เมื่อต้องตอบจดหมายรัก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 08, 2016, 11:37:08 am
"ไม่ต้องบูชาฉัน จงบูชาและเคารพในพระพุทธเจ้า เถิด

ไม่ต้องสักการะฉัน จงบูชาและสักการะพระธรรมและครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ิวิชาฉันเถิด เพราะลมหายใจของฉันวันนี้เป็นของครูอาจารย์ที่ช่วยเหลือฉัน
อันฐานะที่มีอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นแต่เพียงผู้ขอ

ปัจจัยทั้ง 4 นั้น ก็ได้มาจากหยาดเหงือแรงงานของผู้เคารพศรัทธา ต่อพระรัตนตรัย หากไม่มีผ้ากาสาวพัตร์หุ้มห่อกายนี้อยู่ ฉันก็ไม่ต่างอะไร จาก ยาจก ที่แบมืออยู่ข้างทางฉันไม่เคยคิดว่าฉันทรงเกรียติเลยในฐานะที่เป็นพระ หากฉันไม่มีศีล ฉันจะละอายใจมาก เพราะนรกจะรอฉันอยู่ข้างหน้า หากฉันประมาท ด้วย กิน กาม และ เกรียติ ย่อมบริโภคปัจจัยสี่ ของ ผู้มีศรัทธา ต่อฉัน เหมือนก้อนถ่านไฟทีแดง ถ้าฉันไร้ซึ่งศีลแล้ว ผ้ากาสาวพัตร์ที่นุ่งห่มนี้จะเป็นดั่งเปลวเพลิงทีเผาไหม้ ฉัน ให้เดือดร้อน

โปรดเถิด ไม่ต้องคิดถึงฉันเพราะฉันช่วยอะไรเธอไม่ได้ แต่จงคิดถึงพระธรรมกรรมฐานให้มากขึ้นเถิด เพราะพระธรรมกรรมฐาน จักช่วยเธอได้ ทุกเวลา

ไม่ต้องมารักฉัน เพราะตัวฉันเองยังไม่รักตัวเองเลย ตัวฉันเองนั้น จะไปรักใครได้ อันความพิศมัยของฉันที่มีต่อตัวเอง แม่แต่ฉันก็ยิ่งพิจารณาเห็นว่า อันร่างกายนี้ ของฉันนี้รกรุงรัง ด้วยชัฏ ( กิเลส และ ตัณหา )เวียนวนอยู่ กามารมณ์ ( วัฏฏะสงสาร ) มาช้านาน ซึ่งถึงเวลาต้องหยุดว่ายวนเวียนเสียที และกายอัตภาพนี้ ยังสกปรกเน่าเหม็น อยู่เป็นนิตย์ ไม่น่าพิศมัยเลย กายนี้ก็อ้วนฉุ เต็มไปด้วยเหงื่อไคล ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง เป็นอาหารอันเลิศให้แก่หมู่หนอนน้อย 52 ชนิดในกาย และ เมื่อกายนี้สิ้นชีพไปแล้ว ก็หามีประโยชน์อันใดมิใดกับกาย ที่เน่าเหม็นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมเป็นที่รังเกียจและเดินจากไป ของ คน

หากมองที่ ตา ก็จะเห็น ขี้ตา
หากมองที่ หู ก็จะเห็นขี้หู
หากมองที่ จมูก ก็จะเห็นขี้มูก
หากมองที่ ลิ้น และฟัน ก็จะเห็น ขี้ฟัน และเศษปฏิกูลอาหาร
หากมองที่ กาย ก็จะเห็นแต่ ความทุเรศแห่ง สังขาร อันประกอบด้วย ความแก่ ความเจ็บ และ ความตายในที่สุด
ดังนั้น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ของฉันย่อมเป็นของน่าขยะแขยง ไม่ควรแก่การถูกต้อง ของคนที ยังรกรุงรัง ด้วย ชัฏ ( คือ ตัณหา ) เช่นกัน
เจริญธรรม / เจริญพร
"

เมือต้องเขียนจดหมาย ถึงคนที่ชอบเข้ามาจีบพระอย่างฉัน
ข้อความส่วนหนึ่ง จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(https://scontent.fbkk5-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/13920680_986537678129343_5489389298116640640_n.jpg?oh=7d84c26fb120f84f4a39d3cf8218e5f3&oe=58251335)


หัวข้อ: สิ่งที่ทุกคนกระทำทุกวันนี้ ก็เพื่อความสุข ไม่ใช่เพื่อความสงบ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 09, 2016, 12:06:36 pm
(http://files.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=2261248&stc=1&d=1348334606)

ความเอ๋ย ความสุข ใครใคร ทุกคนชอบเจ้า

 วันนี้เริ่มประโยค ครูอย่างหลวงพ่อพุทธทาส และก็ประโยคนี้เป็นกลอน ซึ่งทำให้ฉันเมื่อก่อน อัดเสียงรายกาย ชือว่า ความสุขนิรันดร์ มีความยาม 180 นาที เทปสามตลับ อัดเสียงประกอบดนตรี  ทำนองพร่ำเพ้อ เนื้อหาพระธรรม และก็อีกชุดหนึ่ง คือ กงล้อแห่งกาละ  180 นาที เช่นกัน ( สมัยนั้น ใช้นามปากกาว่า รุ่งอรุณ ณ สนธยา ) สมัยเป็นสามเณรอายุ 19 ปี นะที่ทำอันนี้ ปัจจุบันตลับเทปก็ยังมีอยู่ แต่ไม่มีเครื่องเปิดเพราะสมัยนี้ไม่มีใครใช้ ตลับเทปแล้ว มาใช้ CD DVD Memory กันหมดแล้ว จะหาเครื่องเปิดก็หายากอยู่นะตอนนี้ เอาคุยเพลินกับมาเข้าเรื่องหัวข้อกันหน่อย

     ความสุข มันก็ตรง ๆ ความหมายก็ตรง ๆ

    แต่ความสุข มันก็แตกต่างตามแต่บุคคลที่จะใช้วิธีการหาความสุข ใส่ตน หรือ อาจจะอ้างว่า ความสุข เพื่อส่วนรวม แต่ทีจริงมันก็กลับมาที่ตนอยู่ดี

     นักเขียน มีความสุข ที่ได้เขียน วรรณกรรม อันมีคนยอมรับ
     นักสร้าง มีความสุข ที่ได้สร้างสิ่งล้ำค่
     นักขาย มีความสุข ที่ได้ขายได้มาก
     นักพูด มีความสุข ที่มีคนฟัง ต่อให้มีคนฟัง คนเดียวก ก็ยังมีความสุข
     ดังนั้น จะเป็นอะไรก็ตาม จะอาชีพอะไร ก็ช่าง สุดท้าย ความสุข ก็คือสิ่งที่ทุกคนคาดหวังไว้ แล้วประสบความสำเร็จ ด้วย แต่หากไม่ประสบความสำเร็จ มันจะไม่มีความสุข หรือ ความภาคภมิใจอันใดเลย

     ผัวเมียคู่หนึ่ง เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ เขาทั้งสองมีความสุข และปรารถนาจะเที่ยว
     อีกคู่หนึ่งก็ไปเที่ยวเหมือนกัน แต่ปั่นจักรยานไปเที่ยว ไปให้ทั่ว ก็มีความสุข
     อีกคู่หนึ่งก็ไปด้วยมอร์เตอร์ไซค์ ท่องเที่ยวขับไป เป็นหมู่ เป็นกลุ่ม
     อีกคู่หนึ่งก็ไปด้วยรถไฟ เรือบิน ก็ท่องเที่ยวไป หาความสุข

     จะเห็นว่่า สำหรับคนท่องเที่ยว ก็เห็นการเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เป็นเหตุสร้างความสุข แต่วิธีการหาความสุขก็มีแตกต่างกันไป นี่เป็นเรือ่งของคนที่มีความสามารถจะกระทำได้

    ที่นี้กลับมาที่คนที่ไม่มีความสามารถ ย้อนหลังไปเมือ่ สิบกว่าปีมานี้ มีข่าวเรื่องหญิงอายุคคนหนึ่ง ประสบกับโรคร้ายคือโรคเรื้อน เธอต้องทนความเจ็บปวดทรมาน คนเดียวตั้งแต่สาววัยรุ่นเด็กนักเรียน จนชราซ่อนตัวอยู่ในบ้านไม่ให้ใครพบเห็น มีแต่เพียงญาติไม่กี่คนคอยส่งอาหารให้เธอ ได้อยู่ สภาพข่าว ที่ออกมาเห็นขาเธอถูกโรคเรื่อนกิน มือและนิ้วไม่มี หน้าตาก็ถูกกิน เห็นแล้วน่าเวทนา แต่เมื่อทีมข่าวสัมภาษณ์ คุณยายอยู่ในสภาพนี้ได้อย่างไร คุณยายท่านนี้ชี้ไปที่พระพุทธรูปบนหิ้งว่า อยู่กับหลวงพ่อ คุยกับหลววพ่อ จะเห็นได้ว่า ความสุขเล็ก ๆ มันมีอยู่แค่ตรงนี้

    ดังนั้นความสุขที่แท้ คือ อะไร ?

    ถ้าเรียนธรรม มา ศึกษา ธรรม มา ภาวนา ธรรม ด้วย จะเห็นความสุขแท้ ๆ ได้ ก็คือ การเยียวยาจิตใจให้มีความสุข นั่นแหละ แม้ชีวิต จะอับเฉา อับโชค อาภัพ ทุกข์ทรมาน เช่นใดก็ตาม สำหรับ พุทธศาสนิกชนแล้ว ต้องมองเห็นความจริงว่า ที่ทุกข์ มันเป็นทุกข์เพียงภายนอก สิ่งที่ทุกคนสามารถจัดการได้ ก็คือ ทุกข์ภายใน อย่าให้เป็นทุกข์ นี่แหละ คือ เนื้อหาของความสุข จริง ๆ  คือ ความสุข ที่ไม่อิงอามิสใด ๆ ทั้งสิ้น แต่อยู่ที่สภาวะจิต มองเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับความจริงทางกาย และพัฒนาใจให้ไปสู่ สุข ที่ไม่ต้องทุกข์ต่อไป อันเรียกว่า สุขนิรันตร์ นั่นเอง

     ข้อความส่วนหนึ่ง กล่าวแสดงเรื่อง ของ กงล้อแห่งกาละ และ ความสุขนิรันด์

     


หัวข้อ: คำใบ้ ในวิชา ย่นฟ้า ย่อพสุธา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 09, 2016, 06:02:31 pm
(http://f.ptcdn.info/236/015/000/1391433553-inpiration-o.jpg)

พูดข้อธรรม ลึกซึ้ง จะรู้กันไหม ? ไม่เตรียมตัวพื้นฐานให้ดี แล้ว จะไปรู้อะไร ? มันมีแต่ความโง่ เพราะไม่รู้และไม่เข้าใจ

คำสอนบทหนึ่ง ในวิชาย่นฟ้า ย่อพสุธา จากพระอาจารย์เฒ่า

"เมื่อจะเดินจงกรม ก็จงเข้าใจธาตุ เพราะธาตุ จะทำให้เข้าใจในสมมุติบัญญัต และ ปรมัตถ์ที่เกิดจากใจ ทั้งสองอย่าง หนทาง เป็น สมมุติบัญญัติ ใจถึงทาง เป็นปรมัตถ์ จะเดินไปไหน ก็ให้คิดถึงระลึกถึง สมมุติตรงนั้น ส่วนใจที่เป็นปรมัตถ์ จะย่น หรือ จะย่อ ก็อยู่ที่ ลหุสัญญา และ สุขสัญญา ด้วยอำนาจใจนั่นเอง มนต์เป็นเพียงสมมุติ แต่ใจนั้นเป็นใหญ่ในปรมัตถ์"


ที่เหลืออยู่ที่ ปัญญา มองเห็นความจริง ของสมมุติ และ ปรมัตถ์แบบไหน ส่วนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง ศรัทธา แต่เป็นปัญญา ที่ต้องเข้าใจ วิธีการ เพราะเกินอำนาจขอบเขตน์ของคำว่า ศรัทธา ไปแล้ว ผู้ที่จะเข้าใจต้อง ต้องเข้า ฌานที่ 5 เป็น
ฤทธิ์ที่เกิดทางใจ ที่เยี่ยมยอดที่สุด คือ อาสวักขยญาณ


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส



หัวข้อ: พระสายปฏิบัติ เขาทำอะไร กันในวันหนึ่ง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 11, 2016, 01:52:19 pm
(http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other5/shutterstock_58396819.png)

"สัญญาณระฆัง ที่ถูกรับผิดชอบ เมื่อถึงเวลาแล้ว ก็ไม่มีใครไปตี เราตื่นแต่ 03.30 น.สรงน้ำเตรียมตัว เพื่อไปทำวัตรเช้า สุดท้ายก็ต้องตีระฆังแทน เมื่อนำเรียนแก่ หน. คำตอบที่ได้รับในหมู่สงฆ์ก็คือ ก็ตืนก่อน ก็ไปตีก็ดีแล้วนี่ โดยที่เรื่องสรุปจบลงตรงที่เราต้องไปตีแทน เป็นหน้าที่ หมายความว่า วันไหนไม่มีใครตี ก็ไปต้องไปตี อยู่มาวันหนึ่ง เกิดอาพาธ ไม่สามารถลุกขึ้นไปตีระฆังได้อย่างปกติ เสียงตะโกนด่า มันไม่รูัจักหน้าที่ ได้ยินอย่างชัดเจน ทุกคนไปทำวัตรเช้าได้ช้า จึงสวดมนต์ได้น้อยและ โทษว่า พระตีระฆัง ไม่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุการณ์ ที่มักเจอเสมอ ไม่ว่าไปอยู่ที่ไหน ก็มักจะเป็นแบบนี้ คือ ถ้าเป็นพระฝ่ายปฏิบัติ ต้องไม่มีความผิดพลาด และ ต้องรับผิดชอบ แทนผู้ที่ไม่รับผิดชอบ อย่างนี้เสมอ ๆ นี่เป็นเหตุการณ์ หนึ่งที่ยกมาให้ท่านฟัง ก่อนจะเล่าว่าพระสายปฏิบัติเขาทำอะไรกันในวันหนึ่ง ๆ
 
   03.30 น.  - 04.00 น. สรงน้ำ เตรียมตัวทำวัตรเช้า
   04.00 น. - 05.45 น. ทำวัตรเช้า
   05.45 น. - 07.45 น. ออกบิณฑบาตร
   07.45 น. - 08.45 น. ฉันภัตรเช้า
   08.45 น. - 10.00 น. ทำความสะอาดที่พักภายใน มีศาลา กุฏิ ห้องน้ำ ห้องส้วม ตักน้ำ ดูแลอุปัฏฐาก ครูอาจารย์
   10.00 น. - 11.00 น. ทำกิจตามอัธยาศัย จะเดินจงกรม ซักผ้า ปลงผม โกนหนวด ปลงเล็บ อ่านหนังสือ ท่องตำรา เรียน ก็แค่ช่วงนี้
   11.00 น. - 12.00 น. ฉันภัตรเพล แต่สายปฏิบัติ จะเลือกไม่ฉันช่วงนี้ เปลี่ยนเป็นพักผ่อนอิริยาบถแทน
   12.30 น. - 15.30 น. ถ้ามีหน้าที่สอนก็ต้องไปสอน ถ้ามีหน้าที่เรียน ก็ต้องไปเรียน ถ้าไม่มีหน้าที่สองอย่างนั้น ก็เลือกที่จะภาวนา เช่นเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน อ่านหนังสือ ดูตำรา ทำกิจอื่น ๆ
     ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 10.00 - 15.30 น. เป็นช่วงที่สำคัญมีค่า ของพระสายปฏิบัติ
  15.30 น.- 17.00 น. ทำความสะอาดภายนอกอาคารเก็บกวาด ดูแล วิหาร ลานเจดีย์ ลานธรรม นอกบริเวณอาคาร
  17.00 น.- 17.30 น. สรงน้ำ เตรียมตัวทำวัตรเย็น
  17.30 น. -  20.00 น. ทำวัตรสวดมนต์ เจริญภาวนา ร่วมกันเป็นคณะ บางครั้งก็ เพิ่มเวลา ถึง 21.00 น. ก็มี
  20.00 น.- 03.30 น. เป็นเวลาพักผ่อน แต่สายภาวนา จะพักผ่อนจริง ๆ หลัง 22.00 น. เพราะส่วนใหญ่แล้ว ก็จะไปเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ต่อ
     ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เวลาพักผ่อนจริง ๆ ของพระสายภาวนา ปฏิบัติ นี่ มี 5 ชม. 30 น.แต่ส่วนใหญ่จากประสพการณ์ ตนเองแล้ว ก็มักจะนอนหลังเที่ยงคืน บางครั้งต้องเขียนบันทึก ตำรา อ่านหนังสือเพิ่มเติม หรือบางคราก็ลุกขึ้นมาเดินจงกรม เวลา ตี 1 หรือ ตี 2 เพราะช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่สงัด จริง วิเวกจริง ๆ เป็นส่วนตัวมากที่สุด

     สมัยนี้เวลาเราไปเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ในวัดไม่ใคร่มีใครอนุโมทนา มีแต่บอกว่า บ้า ถ้าจะอนุโมทนาก็ต้องมียศ มีศักดิ์ นั่นแหละ เขาถึงบอกว่าดี หรือจะได้คำชม ก็ต้องสวดมนต์เก่ง เข้ากับญาตโยมได้ดี หรือช่วยวัดด้านต่าง ๆ เช่นเป็นช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างซ่อม ประมาณนั้น

     จากประสบการณ์ที่ผ่านมา นี้ ยังไม่เห็นใครชื่นชม การปฏิบัติธรรมของเรา ที่ได้ยินคือว่า บ้า ได้ยินบ่อย ทั้งทางตรงและทางอ้อม "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส



 




หัวข้อ: สมมุติบัญญัติ เป็นของคู่กันกับ ปรมัตถ์
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 12, 2016, 12:15:41 pm
(http://www.santibunpot.com/site/uploads/photo/05-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.jpg)

พระโพธิธรรม เดินทางมาประเทศจีนเพื่อมาเสนอหลักธรรม สาย ธยานะ ( ฌานะวัชรโพธิ ( (Zen ( เซ็น) ) ) ประเทศจีนขณะนั้นก็รุ่งเรืองด้วย พุทธศาสนา ในแนวทาง มหายาน อยู่แล้ว มีซุ้มสนทนาหลักธรรม ในหมู่บ้าน ตามจุดหัวเมืองมากมาย ในขณะนั้น พระจีนก็มีจำนวนมาก และมีอิทธิพลในระบบของการปกครองของจักรพรรดิด้วย สมัยนั้นคือ พระเจ้าหวู่ตี่ แต่การเดินทางมาของท่านนั้น พระจีนไม่ยอมรับ ในข้อธรรมที่ท่านแสดงในขณะนั้น เพราะข้อความธรรม เรียบง่ายเหมือนเชาว์ปัญญา และตระหนักว่า ขาดความหนักแน่น ไม่ประกอบด้วยเนื้อหาของ สมถะ คือ ฌาน แต่นั่นเป็นเพราะว่าเป็นการแสดงภูมิธรรมที่มี สมถะ มาก่อนแล้ว พระจีนสมัยนั้นจึงไม่เข้าใจ จึงกว่าวว่า ท่านบ้า เพี้ยน ฟั่นเฟือน ท่านเลยยุติการสอนธรรม และไปอาศัยหลังวัดเสียวลิ้มยี่ และนั่งหันหลังให้ปากถ้ำ หันหน้าเข้าผนังถ้ำ แล้วเข้าฌาน เป็นเวลา ถึง 10 ปี ในขณะนั้น ก็มีพระวัดเสียวลิ้มยี่ผลัดกันมาดูแลท่าน จนกระทั่งผู้ดูแลท่านองค์หนึ่งเห็น ความสามารถของท่านในการเข้าสมาบัติ จึงมั่นใจในธรรมของท่าน ประกอบได้รับการสนทนาทางจิต เพราะท่านไม่พูดแต่ใช้ท่วงท่านิ่งและคุยสนทนาด้วยจิต พระรูปนั้นจึงมีความเคารพปรารถนาเป็นศิษย์ท่านมาหมอบกราบขอเป็นศิษย์ ถึง 3 ปี จนกระทั่งสมัยหิมะตกปีที่สี่ ความสามารถทางจิตก็สูงขึ้นด้วย ( ต้องคิดดูสิว่า พระที่หมอบกราบ อยู่อย่างนั้นทุกวัน ท่ามกลาง ความร้อนสายฝน และหิมะ ถ้าไม่มี ฌาน ด้วยแล้ว จะรอดหรือ ) ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจ ตัดแขนตัวเองแล้วยกชูขึ้นศรีษะกล่าวปฏิญาณตนขอเป็นศิษย์ท่าน โพธิธรรม ท่านโพธฺิธรรม จึงยอมหันหน้าออกมาและรับท่านเป็นศิษย์ สิ่งสำคัญก็คือ พระที่ตัดแขนเขาเห็นความสำคัญอะไร ถึงยอมตัดแขนเพื่อเรียนธรรม ( ไม่ใช่วิทยายุทธ ) เห็นอะไรในท่าน โพธิธรรม

กว่า จะรับศิษย์แท้ ใช้เวลาถึง 10 ปี ถึงจะได้รู้ลูกศิษย์ที่มอบกายถวายชีวิต เพื่อเรียนธรรม ท่านโพธฺิธรรม ท่านสูญเสียเวลาในการเผยแผ่ธรรม ครั้งแรกที่มาถึงประเทศจีน 3 ปี กล่าวสอนธรรมไม่มีใครสนใจเลย และท่านยอมเสียเวลาอีก 10 ปี เพื่อรับศิษย์เพียงคนเดียว คนแรก จากนั้นท่านก็รับศิษย์เพิ่มอีก 3 คน เป็น 4 คนกล่าวได้ว่า ท่านโพธิธรรมมีศิษย์ที่รับเป็นทางการ 4 คนเท่านั้น เป็นชาย 3 หญิง 1 แต่ศิษย์ทั้ง 4 คน มีศิษย์อีกเป็นหมื่น นี่เรียกว่า เอาหัวกระทินะ

ฉันเองก็เช่นกัน ปีนี้วิเวกเป็นปีที่ 9 แต่ตลอด 9 ปีมานี้ ก็ทดสอบศิษย์ซ้ำไปซ้ำมา ยังไม่ได้สอนแก่นของกรรมฐาน ให้แต่ก็ยังสอนรูปแบบกรรมฐาน เดิมไว้อยู่ เพราะว่าแก่นกรรมฐานนั้น มาจาก มูลกรรมฐาน กัจจานะ ซึ่งผู้ที่จะเรียนต้องมีความอดทน อุตสาหะ และ ต้องมีความจริงใจ หากคิดจะเรียนแล้ว ก็ดูชีวิตอาจารย์เป็นตัวอย่าง ว่าต้องเสียสละอะไรบ้าง
ในสายแก่นธรรมกรรมฐาน นั้น ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีเกรียติ ไม่มียศ ไม่มีสักการะ และที่สำคัญคือ ความโดดเดี่ยวในขณะที่ต้องข้ามโอฆะ นั้นมันจะทวีสูงขึ้น ดังนั้นผู้เรียนและรับถ่ายทอดนั้น ต้อง มีปัญญา ความเพียร และอดทน และมีเป้าหมาย เพืออริยผล นิพพาน เท่านั้น

ถึงฉันจะไม่ได้ประเสริฐ เยี่ยมยอด ได้เท่ากับ 1 เปอร์เซ้นต์ ของท่านตั๊กม้อ แต่ฉันก็ยังรอและมองหา คนที่จะรับธรรม และสมควรแก่ธรรมนั้น บางครั้ง วาสนา มันก็มีส่วนสำคัญในหลักธรรมนั้น เช่นกัน หากไม่มี วาสนา แล้ว การรับธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้

บัญญิตสมมุติ และ ปรมัตถ์ เป็นขอบเขตน์ที่พระอริยะท่านไม่ได้ใส่ใจแต่การดำรงอยู่ ยังต้องอาศัยสมมุติบัญญัติ การจะเข้าใจปรมัตถ์ก็ต้องอาศัยสมมุติบัญญัติ จึงจะทำได้ หลายคนทิ้งสมมุติบัญญัติ เพราะคิดว่าจะเข้าใจปรมัตถ์ เพราะตัวปรมัตถ์ นั้นขาดจากสมมุติบัญญัติไม่ได้ เช่นการแสดงธรรม เป็นสมมุติบัญญัติ การเห็นธรรมรู้แจ้งเป็นปรมัตถ์ การฟังธรรม เป็นสมมุติบัญญัติ การเห็นธรรมและประจักษ์ธรรม เป็นปรมัตถ์ การเข้าไปเห็นปฏิจสมุปบาท เป็นสมมุติบัญญัต การละกิเลสเพราะการเห็นชัดแจ้งในปฏฺิจจสมุปบาทเป็น ปรมัตถ์

ดังนั้นในหลักวิชากรรมฐาน นั้น ยิ่งท่านจะเห็นปรมัตถ์ ก็ต้องเข้าใจสมมุติบัญญัติไปด้วยกัน และ ผู้ถึงแก่นแห่งปรมัตถ์ ย่อมไม่ทิ้งสมมุติบัญญัติ จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้า พระองค์จะดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วทรงตรัสว่า ธรรมและวินัย จักเป็นศาสดา ของพวกเธอทั้งหลายต่อไป ธรรม ก็คือ ปรมัตถ์ วินัย ก็คือ สมมุติบัญญัติ ทั้งสองอย่างต้องไปคู่่กัน ในหลักการของครูกรรมฐาน กัจจายนะสูตร นั้นยังรักษากฏนี้อยู่ ดังนั้นจะเห็น กัจจานะสูตร ยังคงมีอยู่ในสายเถรวาท ไม่มีอยู่ในมหายาน เพราะหลักการของ มหายาน ก็ยึดหลักวจนะของพระพุทธเจ้าอีกแบบหนึ่ง คือ ให้ถอดบัญญัติวินัยได้ตามสมควร แม้ธรรม ก็ให้ถอดออกได้ตามสมควร คือยึดความยืดหยุ่น ให้เข้าประเพณีสมัย ของ ชาตินั้น ๆ ด้วย ความเหมือนและความแตกต่าง จึงเป็นต้นตอที่ทำให้ มหายาน และ หินยาน มีความแตกต่างกันในแนวทาง ของธรรมและวินัย""


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของธัมมะวังโส


หัวข้อ: มมังการ ความถือดี อวดดี ถือตัว ถือตน เป็นความเสื่อม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 14, 2016, 12:16:57 pm
มมังการ คือ มานานุสัย ที่ต้องละหากผู้ปฏิบัติภาวนา มีความปรารถนาตรงต่อพระนิพพาน นั้นต้องนำออกเสียซึ่ง มมังการ

มานานุสัย มี 9 อย่าง แต่ย่อ ๆ ก็แค่ 3 ข้อเท่านั้น
 1. สำคัญว่า เราดีกว่า เขา
 2. สำคัญว่า เราแย่กว่า เขา
 3. สำคัญว่า เราเสมอ เขา

สังเกตดูอารมณ์ ของเราเองว่า เวลาชอบใคร เราก็มักสรรเสริญเยินยอและ ก็ชื่นชม แต่ถ้าเราไม่ชอบใคร เราก็จะคอยบอกว่าเขาไม่ดี และก็นินทาให้ร้าย แต่ถ้าเราไม่ได้รู้สึกว่า มีส่วนได้ หรือ ส่วนเสียกับ ใคร เราก็รู้สึกเฉย ๆ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยว

 สำหรับอารมณ์แรก ชื่นชม นั้น ไม่มีปัญหา ใด ๆ เพราะถ้าชื่นชมในกุศล มันก็ผ่องใส ทั้งใน และนอก

ส่วนอันที่สาม เฉย ๆ นั้นก็ยังไม่มีปัญหา เท่าใด ๆ เพราะอาการมันจะออกไปทาง สงบเงียบ ไม่ออกเสียง ไม่หือ ไม่อือ ไม่ยุ่ง ไม่ข้อง ไม่สน ประมาณนั้น ดังนั้นในมานานุสัย นั้น ที่จะต้องจัดการก่อน ก็คือ ความสำคัญว่าเราดีกว่าเขา และ แย่กว่าเขาสองอันนี้ ต้องถูกจัดการก่อนเพราะว่า ถ้าเราคิดว่า แย่กว่า เขา ก็จะออกอารมณ์อาการไว่า รู้สึกไม่ดี ไม่ชอบ แต่ถ้าเรารู้สึกว่า ดีกว่า เขา เราก็จะเกิดความรู้สึกว่า ย่ามใจ ประมาท ฮึกเหิม

ดังนั้นการละ มานานุสัย นั้น พระพุทธเจ้าสอนวิธีดีสุดก็คือ การเจริญ อนิจจสัญญา คือ เจริญจิตพิจารณาว่า รูป ไม่เที่ยง เวทนา ไม่เที่ยง สัญญา ไม่เที่ยง สังขาร ไม่เที่ยง วิญญาณ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้่นก็เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนขอเรา

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงหมั่นเจริญ อนิจจสัญญาเถิด อย่าให้คำว่า Like Love Bad Fuck Laugh Sad มาครอบครองจิตใจของท่านได้ จงพิจารณา ตามความเป็นจริง และเห็นจริงตามนั้นเพื่อละ มมังการ ความถือดี ถือตัว ถือตน ออกเสียเถิด

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/pansa59/mamangkan.jpg)


หัวข้อ: จะทำวิปัสสนา เมื่อไหร่ ควรทำเมื่อมีใจสงบ นะสิ เข้าใจไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 16, 2016, 10:20:00 am
"คนอื่น ๆ อาจจะมัวแต่ คิดแต่ ว่าอยากได้ อยากมี และอยากเป็น แต่วันหนึ่ง ๆ ของฉัน ๆ ก็พยายามสยบความคิดและ พยายามภาวนาให้ลุล่วงต่อการ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น สิ่งสำคัญที่ครูฉันสอนไว้ ก็คือ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว ให้ยกจิตขึ้นสู่ วิปัสสนา ทุกครั้ง ด้วยการยกจิตเข้าสู่ อนุวิปัสสนา บางทีหลายคนก็มักจะสงสัยกันว่า ต้องทำวิปัสสนา เมื่อไหร่ ก็ต้องย้อนถามกลับไปว่า ท่านต้องการอะไรจากสมาธิ เพราะการฝึกฝนสมาธิ แท้ ๆ หลัก ๆ ก็เพื่อการทำวิปัสสนา เท่านั้น แต่หลายคนวันนี้ไปฝึกสมาธิ เพื่อการได้ ญาณ 9 แล้ว หักเหจาก ญาณสำคัญ คือ อาสวักขยญาณ....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ

(http://arpacik.net/www/images/jpg/guncel/yale_1/yirtici.jpg)


หัวข้อ: เมื่อต้องไปงานศพ ของ เพื่อนที่เรียนด้วยกันตั้งแต่ ประถม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 16, 2016, 10:23:06 am
"วันนี้เดินทางไปร่วมงานศพ เพื่อนสนิทคนหนึ่ง เป็นเพื่อนเรียนกันตั้งแต่สมัยประถมนั่งด้วยกันโต๊ะเดียวกัน และ เป็นเพียงคู่เดียวในห้องที่จับผู้หญิงมานั่งกับผู้ชาย ทะเลาะกันทุกวัน จิกข่วนแกล้งกันทุกวันจนเรียนถึง ป6 จนหลายคนในโรงเรียนบอกว่า เป็นคู่สร้างคู่สมกัน ถูกล้อกันเป็นประจำสำหรับ เพื่อนคนนี้มาโดนล้อกันมากที่ ป6 หลังกจากนั้นก็ไม่ได้เจอกันอีกถึง 7 ปี พอทราบข่าวว่า เขานำเพื่อนคนนี้มาตั้งศพที่วัดที่อยู่ ตอนนั้นเป็นฉันเป็นสามเณร ตอนเขาเปิดโลงก็เลยถือโอกาสขึ้นไปดูหน้าเพื่อนหน่อย เมื่อขึ้นไปถึงก็เห็นหลาน พี่น้อง เขาร้องห่ม ร้องไห้ คร่ำครวญ อย่างน่าสงสารมาก ยิ่งตอนเขายกศพเธอ เข้า ช่องเตาเผาด้วย เสียงคร่ำครวญ สะอึกสะอื้น เกิดขึ้นระงม เนื่องด้วยศพคนนี้เป็นศพหญิงสาว ที่มีอายุอยู่ 18 ปี เธอถูกรถชนเสียชีวิตที่ รพ. เพื่อน ๆ ตลอดพ่อแม่ พี่น้อง ต่างยืนคร่ำครวญเพราะทุกคนต่างคิดว่า ยังไม่น่าจะใช่เวลา ที่เธอจะจากไปก่อน ครอบครัวนี้ เราเห็นตอนนั้นก็รู้สึกถึงความทุกข์ใจของทุกคนเป็นอย่างมาก สิ่งที่ทำได้ ก็เพียงวางดอกไม้จันทร์ และยืนไว้อาลัยน่าศพของเธอ เท่านั้น บางครั้งยังรู้สึกว่า ตัวเราเองยังไม่สามารถช่วยเหลือเยียวยา จิตใจ ของคนที่มีชีวิตอยู่ได้ เพราะความคร่ำครวญ เหล่านั้นไม่สามารถ ทะลายลงได้ ด้วยความรู้สึกที่ไม่ได้ศรัทธา หลายต่อหลายครั้งที่ฉันต้องไปเยี่ยมคนที่ใกล้ตาย และเห็นสีหน้า ของคนรอบข้างที่เขาตั้งความหวังไว้ว่า ฉันจะช่วยอะไรเขาได้ ฉันจะสร้างปาฏิหาริย์ อะไรให้แก่เขาได้ ฉันเองก็รู้ตัวดี ว่า ฉันเองไม่มีปาฏิหาริย์เรื่องพวกนี้ เพราะฉันรู้ดีว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ล้วนเป็นส่ิ่งที่มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดา เท่านั้น อันพวกเราทั้งหลาย ที่ยังคิดถึงปาฏิหาริย์ ต่าง ๆ แต่ไม่ได้คิดถึงว่า ถ้าปาฏิหาริย์ไม่มี เราจะรับมือกับ เรื่องเหล่านี้อย่างไร จะเลือกรับมือ ด้วยความคร่ำครวญ หรือว่า จะเลือกรับมือ ด้วยสติปัญญา มองให้เห็นว่า มันเป็นธรรมดา อย่างนั้นนั่นเอง แม้เราก็ต้อง แก่ เจ็บ ตายไป อย่างนั้น นั่นเองเช่นกัน..."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


(http://www.dhammadelivery.com/images/story/story-669-big.jpg)


หัวข้อ: ญาณธาตุ นิมิตรวิปัสสนาตั้งให้ถูก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 20, 2016, 10:15:19 am
"ธาตุรู้ ญาณธาตุ เวลาตั้งจิตต้องตั้งให้ถูกในกองกรรมฐาน ถ้าตั้งผิดในกองกรรมฐาน ( หมายถึงการวางนิมิตร ) เพื่อวิปัสสนา นั้นวางผิดมันก็จะมีแต่ภาพ มืด ๆ ขาว ๆ เท่านั้น และ จิตก็จะสาระวนอยู่กับที่ วนอยู่ กิเลส กรรม วิบาก เหมือนเดิม  สุดท้ายก็หลับสัปหงก ทำอยู่อย่างนั้นทั้งวัน ก็เป็นแค่เช่นนั้นเอง ดังนั้นผู้เรียนกรรมฐาน เมื่อได้นิมิตร ต้องวางนิมิตรในวิปัสสนาให้ถูกต้อง นี่กล่าวเฉพาะ ผู้มี ฌาน ขึ้นไป สำหรับฝ่ายปัญญาวิมุตติ นั้นมีอุปจาระสมาธิแล้ว จะทำไม่ได้แบบฝ่าย อุภโตภาค แต่อุภโตภาค ก็จะทำเหมือนกัน เพียงแต่ของปัญญาวิมุตตให้นึกหน่วงพิจารณาลำดับในปัจจุบัน แต่ ฝ่ายอุภโตภาค นั้น ใช้การหยุดมอง สิ่งที่เหมือนกันคือ การมอง แต่อีกฝ่ายต้องเดินเข้าไปมองอย่างใกล้ ๆ อีกฝ่าย จับมาเข้ามาดูถือเข้ามาตั้ง และมองทุกมุม แล้วแต่การพลิกเพื่อจะมอง ดังนั้นฝ่ายปัญญาวิมุตติ จับอารมณ์ ที่เข้ามา ซึ่งอารมณ์มันเปลี่ยนแปลงไว  แต่ ฝ่ายอุภโตภาค ตั้งนิมิตร แล้วกักอารมณ์นั้นไว้พิจารณา มอง เห็นตามความเป็นจริง

ดังนั้นฝ่าย ปัญญาวิมุตติ จึงเน้นเรื่องการจับให้ทัน ด้วยสติ และ พัฒนา สติ ไปสู่สมาธิ
ส่วนฝ่าย อุภโตภาค ตั้งองค์พิจารณา กันเลย เพราะอารมณ์ระหว่างที่มีสมาธิ ปราศจากนิวรณ์ คือว่างเว้นจากกิเลสปกปิด นั่นเอง ด้วยอำนาจสมาธิ

อันมนุษย์ ทุกคนเกิดมามีสองด้าน ๆ ที่ทำให้วิ่งหาสัจธรรม ก็เป็นได้ทั้งสองด้าน แต่ด้านวิงหามากที่สุด คือ ด้านมืด ด้านทุกข์ ด้านเจ็บ ด้านอกุศล เป็นต้นเพราะวิบาก ฝั่งอกุศล รุนแรง ทำให้ลำบาก เกิดมาอัตคัตขัดสน ผิดหวัง ไม่สมหวัง รูปชั่ว ตัวดำ และเสวยภพชาติ ในอบายภูมิ ก็เพราะอกุศล ส่วนผู้ใดมีด้านสว่างมาก ถ้าจะวิ่งหาธรรมก็คือ ต้องเบื่อหน่ายเห็นว่าไม่มีสาระ ฝั่งนี้ มีแต่ สุข มีแต่ความสำราญ มีแต่ความเพลิดเพลิน และก็มัวเมา ถ้าจะตาสว่าง ก็คือต้องเบื่อ
ดังนั้น ธาตุทั้งสองประการนี้ บ้างก็มีอยู่ในคน มากบ้าง น้อยบ้างตามอุปนิสัยที่สั่งสมมาจากชาติก่อน ๆ เรื่อยมา

บางคนเกิดมาดี แสนดี พ่อแม่ชั่วเลวร้าย ก็ไม่เลวร้ายตาม บางคนเกิดมาชั่วแสนชั่ว พ่อแม่ ก็ดีแสนดี แต่ลูกกลับทำระยำตำบอน ทั้งหมดนั้นเกิดจากอุปนิสัยจากชาติที่สั่งสม ความดี หรือ ความชั่ว มาก่อนนั่นเอง ดี หรือ ชั่ว ที่เป็นนิสัยไม่ได้สั่งสมกันเพียงชาติเดียว ใช้เวลายาวนานเป็นเหตุสั่งสมดังนั้นถ้าผู้ภาวนามองเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะรู้ว่า ดี ชั่ว อยู่ที่ตัวทำ ไม่มีใครเปลี่ยนให้ใครดี หรือ ชั่วได้ ดี หรือ ชั่ว ต้องเกิดจากความตั้งใจของวิญญาณฐิติขณะนั้น ต้องการเอง ดังนั้นอย่ามัวแต่โลกสวย มองว่าคนทั้งโลกเป็นคนดี  ถ้ามองเห็นตามความเป็นจริงแล้ว จะไม่เสียเวลามาโลกสวย

ดังนั้นเวลาตั้ง องค์นิมิตร เพื่อวิปัสสนา มีข้อระบุให้ตั้งธรรมที่เป็น ท่ามกลาง ( มัชฌิมา ) ดังนั้นเวลาเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ตั้งที่ศูนย์ นาภี หรือ หทัยวัตถุ เพราะมีเพียงธาตุเดียว ที่จะทำให้ปรากฏ อริยสัจสองอย่างที่เป็นคู่กันได้ นั่นก็คือ ทุกข์ คู่ นิโรธ สมุทัย คู่กับ มรรค ท่านที่เป็นศิษย์ทั้งหลายลองใช้ ปัญญา พิจารณาไตร่ตรองดูว่าจะตั้งฐาน ท่ามกลางตรงไหนลองพิจารณาดูสิว่า เป็นฐานนั้น รูป เป็นภาชนะ แต่ภาชนะต้องมีที่จับ ถ้าภาชนะนั้นร้อนก็ต้องมีเครื่องป้องกัน ถ้าภาชนะนั้นเย็นก็ต้องมีเครื่องป้องกัน ถ้าภาชนะมีความสงบพอดี ก็จะไม่ต้องมีที่จับมาก
    ความร้อน คือ อกุศล เมื่อจับต้องครอบจักรวาล ขณะนั้น
    ความเย็น คือ กุศล เมื่อจับก็ต้อง รู้จักวาง
    ความสงบ คือ มัชฌิมา เมื่อจับก็มีมุมจับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ข้อความในมูลกรรมฐาน กล่าวว่า ปัญญาญาณที่ชื่อ ญาณ 3 ( สัจจญาณ กตญาณ กิจจญาณ ) ชื่อว่า สัมมาวิริยะ และ สัมมาวิริยะ เป็นวิริยะโพชฌงค์ ผู้ใดกระทำความเพียร เมื่อตั้งนิมิตรที่ฐานแรกแล้ว ตั้งธรรมนิมิตร ที่ ธรรมวิจิตราด้วยความปรารถนา มุ่งตรงต่อ อุปสมะ ( นิพพาน ) กระทำธรรมสองให้ปรากฏแจ้ง ในฐานท่ามกลาง ย่อมถึงซึ่งปีติ ( ความยินดี ) ที่ปหานกิเลสลงได้ วิราคะ (ความจางคลาย ) ย่อมพอกพูน เป็น ปัสสัทธิธรรม ..........

   ดังนั้นเวลาตั้ง ผลสมาบัติ ให้ใช้ วิริยะที่หทัยวัตถุ เพราะกิเลสดับแล้ว ดับตามขั้นของพระอริยะ
   แต่ถ้ายังมีกิเลส ตั้งองค์วิปัสสนา วิริยะสมังคี ใช้ที่หทัยวัตถุ ไม่ได้ โปรดจำไว้ ต้องตั้งตรงที่เกิด สุขสมาธิ

  คำถามแล้ว สุขสมาธิ อยู่ตรงไหน ละ
  เข้าใจหรือยัง ว่าเริ่มวิปัสสนา เต็มไม่ใช่ ตามธาตุฐาน ( เพราะทุกฐาน มีวิปัสสนาแบบ วิปัสสก อย่างอ่อน อยู่ ) ที่สอนให้ทำวิปัสสนาตรงนั้นก็เพื่อฟอกคุณธรรม ฝ่ายวิปัสสกไปด้วย
  แต่ตรงนี้เป็นการกล่าว การตั้งวิปัสสนา ตรง ของ ผู้มี ฌาน

 

สรุป ผู้จะเจริญวิปัสสนา ต้องตั้ง ธรรมเพื่อปหาน ณ ฐานท่ามกลาง ลองพิจาณาดูสิ อยู่ตรงไหน ตั้งถูกหรือไม่ หรือยัง"


(http://www.bloggang.com/data/t/travelaround/picture/1312384265.jpg)

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดืนทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: วิปัสสนา ใน ฌานวิสุทธิ ไม่มีคำบริกรรม ถ้าไม่มีคือไม่ใช่ ฌานวิปัสสนา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 20, 2016, 11:42:36 am
"การทำวิปัสสนา ในพระกรรมฐานจริง ๆ ไม่มีการตั้งวิตก ถ้าผู้ได้ ฌาน แล้วไปตั้งวิตก นึกหน่วง นั่งท่อง ว่า อนิจจัง อนิจจัง อย่างนี้เป็นต้น หรือ คำในญาณ 16 ผลที่จะได้กก็คือ การนั่งหลับ สัปหงก มืด วนไป วนมาอยู่นั่นแหละ เพราะวิธีการทำนั้น ท่านสอนให้กับผู้เจริญ วิปัสสนา โดยตรง ๆ โดยที่ไม่มี สมาธิมาก่อน ดังนั้นเวลาเริ่มภาวนา จึงให้ใช้คำวิตก ตามชื่อธรรม

ส่วนการทำวิปัสสนา ของผู้มี ฌาน ตั้งองค์นิมิตร คือ ปฏิภาคนิมิตร แล้วอธิษฐานธรรม ไม่มีการบริกรรม เพราะเมื่ออธิษฐาน ธรรมใด ๆ ธรรมนั้นจะถูกยกเข้าในอารมณ์ไม่เลื่อนไป จนกว่าความปรารถนา คือความเห็น ใน ญาณ จะเกิด นั่นเอง

อานาปานสติ ขั้นที่ 13 คือ พระโสดาบัน ขั้นที่ 14 คือ พระสกทาคามี ขั้นที่ 15 คือ พระอนาคามี ขั้นที่ 16 คือพระอรหันต์ ใครบอกว่าเรียนจบแล้ว ก็สำเร็จตามนั้น แต่ถ้ายังไม่ได้คุณธรรม ตามนั้นก็คือยังไม่ผ่าน ถ้าผ่านแล้ว เรียกว่า เรียนจบ ถ้าไม่ได้ไปเที่ยวพูดว่าเรียนจบผ่านแล้ว อาจจะถูกปิดธรรม เพราะมิจฉาทิฏฐิ ในตอนท้ายได้ เพราะมานะสังโยชน์เป็นตัวเล่น งาน

ดังนั้นถ้าจะเรียนกองกรรมฐานอื่น ๆ ให้กระทำก่อนจบอานาปานสติ ขั้นที่ 16 จะไปเรียนกสิณ อสุภะ อนุสสติ อัปปมัญญ จตุธาตุ อาหารเร หรือ กรรมฐานแบบอื่น ก็ให้เรียนและภาวนาคู่กันก่อน จบอานาสติ ขั้นที่ 16

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสำเร็จธรรม ในอานาปานสติ ขั้นที่ 16 แล้ว จะไปเรียนกรรมฐาน สมมุติ อื่นอีก มันทำไม่ได้เพราะจบแล้ว ก็จบดังนั้นจะเห็นพระอรหันต์วิปัสสก จะมาเรียนกรรมฐาน เปลี่ยนแปลงตนเองเป็นฝ่าย เจโตไม่ได้ นี้คือคำพูดที่ถูกต้องที่ครูฉันสอน
"


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

พ้นจากพันธนาการ ของ จิต ด้วย ญาณ
(http://1.bp.blogspot.com/-CxVM90KhbZ0/VZKsQQ8fzFI/AAAAAAAAGys/bOEc7OyjZX8/s1600/Freedom.jpg)


หมายเหตุ

    ข้อสังเกต ของฝ่ายสมาธิ เจโตสมาธิ ไม่จำเป็นต้องรู้ขั้นตอนอันยิบย่อย ของวิปัสสนา ไม่จำเป็นต้องสอน ถ้าอธิษฐานจิตด้วยนิมิตรเป็นปฏิภาคจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้จักบัญญัติ เพราะการรู้จะเกิดขึ้นโดยลำดับ ของ ญาณที่อธิษฐานเอง ดังนั้นจะเห็นว่า พระอริยะตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เขาไม่ต้องมานั่งเรียน อนุวิปัสสนา วิสุทธิ 7 ญาณ 9 ญาณ 10 ญาณ 16 เพราะว่าเมื่อตั้งอธิษฐาน ด้วยวิปัสสนา 3 แล้ว จะไม่ต้องไปเข้าใจศัพท์อะไรทั้งนั้น

     ส่วนพวกปัญญาวิมุตตินั้น เพราะไม่สามารถเข้าอารมณ์ แบบพระฝ่ายเจโต จึงต้องมีการสอนให้นึกหน่วงปรุงแต่งธรรม ตามลำดับเพื่อให้เข้าใจในขั้นตอนในธรรมารมณ์ เพื่อไปสู่การละอนุสัย กิเลส ดังนั้นสายที่จะต้องเรียนจำมากคือ สายปัญญาวิมุตติ




หัวข้อ: ใครฆ่าเวลาได้ ตอบมาสิ หรือ ตอนนี้ยังไม่รู้ตัวว่า ถูกเวลามันฆ่าอยู่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 20, 2016, 12:55:40 pm
"ไม่มีใครฆ่าเวลา ได้ มีแต่ถูกเวลา กัดกิน กันทุกคน วนแล้ว วนเล่า เป็นเอนกชาติ ยิ่งซื้อเวลายิ่งไม่มีทาง ดังนั้นเวลาเป็นของมีค่า ใครจะใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือ ไร้ประโยชน์ ก็อยู่ที่ตัวเอง เป็นผู้จัดการ เวลาของทุกคนในวันหนึ่ง มีเท่ากัน แต่ ความรู้ด้วยญาณ มีโอกาส ไม่เหมือนกัน บางคนได้รู้จักช้า บางคนได้รู้จักเร็ว เด็กเจ็ดขวบเป็นพระอรหันต์ก็มี แต่ก็มีน้อยมาก คนแก่ร้อยกว่าปี ไม่ได้ธรรมอะไร ก็มากมาย ดังนั้น จงใช้เวลา ให้มีค่า อย่าปล่อยให้ วิญญาณ จมอยู่ในความทุกข์ จงเข้าสู่หนทาง ที่มีความสงบระงับ และตั้งใจน้อมใจ ความสงบนั้นเถิด จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ถูกกัดกิน เป็น บุคคลชื่อว่า ภัทเทกรัตโต (ผู้เจริญเพียงราตรีเดียวก็ประเสริฐ)บุคคล "

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

(http://www.jobhuntersbible.com/assets/images/uploads/Screen%20Shot%202014-12-14%20at%2011.40.48%20PM.png)


หัวข้อ: รสแห่งธรรม ย่อมชนะ รสทั้งปวง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 25, 2016, 11:30:31 am
"หากวันหนึ่ง ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องเข้าไปยุ่งกับเรื่องของชาวโลก แล้วละก็ ต้องระวังใจเป็นอย่างมาก เพราะชาวโลก ยึดถือความชอบความชัง เป็นหลักใหญ่ เหมือนของในตลาดนั่นแหละ ชอบก็เอา ไม่ชอบก็ทิ้ง ชอบแพงก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ชอบถูกอย่างไรก็ไม่เอา นี่เป็นความคิดของชาวโลก และชาวโลกก็มีความคิดเป็นเช่นนี้ ดังนั้น หากจะอยู่กับชาวโลก ก็ต้องระวังใจ นึกถึงคำสอนหลวงปู่ ที่เป็น สโลแกน เรื่องการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ที่ปรากฏข้อความในหนังสือประวัติหลวงปู่ โดยหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านเรียบเรียงไว้ ทำให้เห็นธรรม แบบง่าย ๆ ทันที เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก เวลาที่เราต้องยุ่งกับชาวโลก และสิ่งที่ต้องระวัง ก็คือ ใจของเราเอง เพราะชาวโลก ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะชาวโลก ยึดความชอบและชัง ดังนั้นอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้องยึดหลักธรรม คือ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไว้เป็นหลักแรก กล่าวคือการมีศีล เพราะอยู่กับชาวโลก สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกัน ก็คือ ศีล ดังนั้น ศีลธรรม จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลก ใช้อยู่คู่กัน ส่วนธรรมขั้นสูง เป็นธรรมภายใน อันนั้น ส่วนใจของเรา ดังนั้น ถ้าอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้อง อาศัยศีลเป็นเครื่องกั้น กาย วาจา ไว้ นั่นเอง"
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส


(http://www.madchima.net/images2559/pasit-27.jpg)


หัวข้อ: ความเคารพครูอาจารย์ ต้องมีเสมอในเวลาเรียนธรรมภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 03, 2016, 01:08:09 pm
"ถ้าจะถามว่า ฉันเคารพครูอาจารย์มากน้อยอย่างไร ก็ควรจะต้องย้อนดูว่า เวลาครูอาจารย์ท่านสั่งให้ฉันไปปฏิบัติหน้าที่ หรือ ถูกทดสอบ ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ นั้น ฉันไม่เคยต่อรองกับครูอาจารย์สักครั้ง เพราะฉันเชื่อในดุลย์พินิจ ของครูอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาให้ฉันเสมอว่า ที่ท่านพยายามทดสอบก็เพื่อขจัดกิเลส ของตัวเรา ท่านเอ็นดูเรา ต้องการให้มีความสามารถ ท่านจึงได้มาสอนและ ย้ำให้เราท่านการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การพูด การเขียน การอ่าน การศึกษา การวางจิต การลงธรรม ทั้งหมดนั้นมีเพียงจุดประสงค์เดียว คือ การขัดเกลา กิเลส ที่มันยังนอนเนื่องในสันดานของเราให้เบาบางลง และหมดลง ไป อย่างสิ้นเชิง นั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุให้ฉันเคารพครูอาจารย์ ที่ประสิทธิ์วิชา มัชฌิมา เป็นอย่างมาก เพราะชีวิตที่เหลือนี้ อยู่เพียงเพื่อ สิ่งนี้ เบื่อแล้ว ไม่อยากเกิดอีก และไม่อยากทุกข์อีก ฉันจึงเชื่อมั่นเจริญภาวนา ตามคำสอนของครูอาจารย์ ด้วยสามารถทุกด้าน ...."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
( จากภาพเป็นภาพดอกบัวสวรรค์ เป็นดอกบัวชนิดหนึ่ง ที่เกิดบนต้นไม้ยืนต้นมีมากที่เขต ทุ่งยั้ง และบรรดาผึ้งก็ชอบดอกพวกนี้ เพราะมีน้ำหวาน จากเกสรที่มีกลิ่นพิเศษ กล่าวได้ว่า ผึ้งใดมาเก็บน้ำหวานจากดอกนี้เป็นจำนวนมาก เชื่อว่า น้ำผึ้ง มีประสิทธิภาพ ทางด้านอายุวัฒนะ มาเล่าต่อเท่านั้น จริงหรือไม่จริง ท่านใดมีน้ำผึ้งแบบนี้ก็ส่งมาให้กันหน่อย ก็ดีนะ)


(http://www.bloggang.com/data/n/nulaw-08/picture/1433428940.jpg)

ดอกบัวสีทองอ่านตรงนี้เลย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22101.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22101.0)

สันนิษฐานว่า ตอนที่พระพุทธเจ้า หยิบดอกบัวสีทองให้กับ สัทธิวิหาริกของ พระสารีบุตรไปพิจารณา แล้วดอกบัวก็เปลี่ยนเป็นสีแดง น่าจะเป็นดอกบัวสวรรค์ ดอกนี้แหละนะจ๊ะ


หัวข้อ: วิปัสสนา ข้ามพ้น บัญญํติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 10, 2016, 11:13:55 am
"ข้อผิดพลาดของผู้กระทำวิปัสสนา นั้นจริง ๆไม่ได้มีมาก เพียงแต่ไม่เข้าใจเมื่อจิตของผู้ภาวนา ได้สมาธิ ขั้นอัปปนาแล้ว เมื่อยกจิตเข้า วิปัสสนา ลำดับนั้น พึ่งเป็นแแต่ผู้ดูรับทราบ ไม่มีนัยยะ ไม่มีบัญญัติ ไม่ต้องเทียบ ไม่ต้องจำ เพียงแต่เป็นผู้ดูรู้สึก ขณะนั้นว่า เกิด ตั้งอยู่ ดับไปอย่างไร เท่านั้น หลายท่านพอยกจิตก็ไใช้บัญญัติกำกับ ในวิปัสสนาญาณมีแต่เพียงสภาวะ เหมือน รส เราจะอธิบายว่า เปรี้ยว เค็ม หวาน เป็นอย่างไรนัน มันได้เพียงเท่านั้น เพราะวิปัสสนา นั้นเป็นปรมัตถ์ พ้นจากบัญญัติ ยิ่งเราเอาบัญญัติไปใส่ สภาวะก็จะตันและไม่ก้าวหน้า พาลให้หลับ สัปปหงกไปตามนั้น เพราะไม่ได้ อาโลก อุทปาทิ เมื่อยกจิตเข้า วิปัสสนา จึงไม่แจ่มแจ้ง ...."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึงแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส


(http://www.benzio.net/v2/wp-content/uploads/2015/03/DSC_5524_3.jpg)


หัวข้อ: อรุณสวัสดิ์ หลังออกกรรมฐาน ครั้งที่ 7
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 20, 2016, 10:56:56 am
"ชีวิตคนเรานั้น มันไม่แน่นอน ที่มันแน่นอน คือความตายมันแน่นอน แต่ก็ไม่แน่นอนตรงที่ว่า จะตายเวลาไหน ตอนไหน ตรงไหน ดังนั้น ผู้ภาวนาจึงควรรักษา กุศล ไว้สม่ำเสมอไม่ควรประมาท ย้อนหลังไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วทุกครั้งที่ตื่น ที่หลับ ฉันจะระลึกถึงความตาย กินข้าวก็ระลึกถึงความตาย จะเดินไปไหน มาไหนทำอะไร ก็จะนึกระลึกถึงความตาย แม้ตอนจะนอนหลับก็ระลึกถึงความตายว่า ความคิดมันบอกเสมอว่าถ้านอนไปแล้วไม่ตื่นอีก มีกุศลอะไรที่จะไม่ได้ทำ ก็จะพยายามทำ กุศลนั้นให้คงอยู่  สติที่พอจะระลึกถึงกุศลขึ้นได้หลังจากนึกถึงความตายนั้น ก็คือ อานาปานสติ คือการตั้งสติตามดูศึกษา ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดังนั้นตอนที่ทำกิจต่าง ๆ เลยกลายเป็นว่า ดูลมหายใจเข้าออกไปด้วย เช่นเวลากิน ก็พิจารณาอาหาร ไปแต่เติมไปว่า พิจารณาไปพร้อมกับลมหายใจเข้า พร้อมกับลมหายใจออก ครั้นถึงเวลานิ่ง ๆ ไม่ได้ทำอะไร สติก็ตามระลึกถึง ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ทำติดต่ออย่างนี้ 4 ปี จนกระทั่งเวลาหลับ เวลาตื่น ก็สามารถกำหนดลมหายใจเข้า หรือลมหายใจออกได้ เวลาตื่นก็สามารถรู้ว่า ตื่นด้วยลมหายใจเข้า หรือลมหายใจออก แม้ที่ตอนหลับไป ได้ยินเสียงตนเองกรน ครอก  ๆ ก็ระลึกว่า มันกรน ครอก ๆ เป็นหายใจออกนะ ไม่ใช่เข้า อย่างนี้ ตอนนั้นรู้สึกเรือ่งลมหายใจเข้าออก มากทีเดียว คนอื่นอาจจะเรียกว่า ปาฏิหาริย์ ของลมหายใจเข้าและออก แต่ฉันไม่กล้าใช้คำขนาดนั้นเพียงบอกได้ว่า สติที่ตามดูลมหายใจเข้า และหายใจออก มันทำให้เราเข้าสู่สภาวะตื่น มากกว่า หลับ ถ้าร่างกายไม่อ่อนเปลียเพลียแรงมาก ๆ ก็จะหลับไม่นาน สักประมาณ 4 - 5 ชม. ก็เพียงพอต่อการพักผ่อน แต่ถ้ามันไม่สบาย อ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาก ก็พักดูลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ไปอย่างนั้น แท้ที่จริงจะกล่าวว่า ดูลมหายใจเข้าหรือออกก็ไม่เชิง เพราะเมื่อหลับตาลงไปทีไร มันมีแต่แสงระยิบระยับ ในขณะทีลมหายใจเข้า และ ออกมีอยู่อย่างนั้น ....."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส

( มอบธรรมวันนี้ ออกกรรมฐานมาตอนเช้า 3 วัน 3 คืน ครั้งที่ 7 ยังเหลืออีกสองครั้ง รู้สึกหิวตอนนี้แต่ไม่มีอะไรฉันเลย คงต้องเป็น โจ๊กซอง กับ นมเปรียว เสียแล้ว )


   หลงตัว ลืมตาย  หลงกาย ลืมแก่
   หลงผัว หลงเมีย ลืมพ่อ ลืมแม่
   หลงยศ ลืมพวก หลงลาภ ลืมจน
   หลงสุข ลืมคิด   หลงชีวิต ลืมธรรม




(http://www.siamfishing.com/_pictures/board/upload2012/201211/135235295023.jpg)


หัวข้อ: สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 21, 2016, 09:50:12 am
(http://madchima.net/images2559/pansa59/pt-01.jpg)

"ความเห็นของข้าพเจ้าได้ถูกอบมรมสั่งสอนมาตั้งแต่เยาว์วัย ด้วยการพิจารณาธรรมชื่อว่า อริยสัจ ู๔ ข้าพเจ้าได้ทบทวน และ ได้พิจารณา อริยสัจ ๔ ตามปริวัตร ๓ มีอาการ ๑๒ โดยครบถ้วน แล้ว มีความเห็นมุ่งตรงต่อ มรรค ผล และ นิพพาน ความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม ได้ถูกชำระแล้ว ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ โดยเฉพาะในพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  และเลื่อมใสในพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้โดยชอบแล้ว คือ อริยสัจ ๔ และ อริยะมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าได้พบพระสงฆ์ผู้เป็นกัลยาณมิตร ที่สืบทอดธรรมอันมี วจนัตถะที่ครบถ้วน ทำให้ข้าพเจ้าปฏิบัติภาวนาลุล่วงได้เป็นลำดับ ตามปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ  ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้กล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัย ทั้งกลางวัน และกลางคืน ทั้งต่อหน้า และลับหลังและไม่มีความสงสัย ต่อการตรัสรู้ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเชื่อมั่น ต่อ มรรค ผล นิพพาน ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ความตั้งใจตรงของข้าพเจ้ามุ่งตรงต่อพระนิพพาน และมีใจ มั่นคงในเนกขัมมะ ไม่เห็นเพศใดเหมาะสม แก่การตั้งมั่นในกุศลมากกว่า เนกขัมมะเพศ ข้าพเจ้ามีความตั้งใจเว้นจากการเบียดเบียน ไม่ปองร้ายผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นผู้แสวงหาความสงบอันเกิดขึ้นเฉพาะทั้งภายนอก และภายใน มีใจมุ่งตรงต่อพระนิพพาน มีความปรารถนาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย และละจากความปรารถนา เป็นเอตทัคคะในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์แล้ว นั่นเอง
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้าเว้นขาด จาการพูดเพ้อเจ้อ คำหยาบคาย คำส่อเสียด คำโกหก เป็นผู้ตั้งมั่น ในวาจาอันเป็นธรรม ไม่ทำ สัมปชานมุสาวาท ตามครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์สอน ธรรมแก่ ข้าพเจ้า วาจาใดที่กล่าว ไม่มีคำเคลือบแฝงด้วยจิต อันมีปรารถนาลามก หรือ มีความต้องการได้มาซึ่ง สักการะ มี ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นต้น
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้า เว้นขาดจากเบียดเบียนจากการทำชนที่เกี่ยวข้อง ให้เดือดร้อน มีทุกข์ และไม่ปรารถนา ให้ผู้ใดตกต่ำไปสู่อบายภูมิ ๔
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้า เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยการเป็นผู้รับมอบ ทาน เป็นเครื่องบำรุง ไม่เข้าไปแสวงหาด้วยการคลุกคลี เรียกร้อง ด้วยความจงใจ แต่ตั้งมั่นอธิษฐานเลี้ยงชีวิต โดยทาน อันเกิดโดยสมควรแก่เพศสมณะ และข้าพเจ้าสำนึกในทานทั้งหลาย อันชนทั้งหลาย กระทำสงเคราะห์แล้วแก่ข้าพเจ้า
เมื่อข้าพเจ้า ระลึก ถึงข้าวปลาอาหาร ตลอดถึงปัจจัย ๔ ที่บรรดาท่านทั้งหลายผู้มีจิตศรัทธา มีจิตมุ่งตรงเคารพเลื่อมใส ใน พระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรมเจ้า มีพระอริยะสงฆ์ ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสรณะ ทานและปัจจัย ๔ ที่ท่านทั้งหลายอุทิศสละมอบให้แล้ว แก่ข้าพเจ้า นั้นย่อมเป็นเหมือนสัญญา ที่คอยย้ำเตือนให้ ข้าพเจ้า นั้นไม่ตั้งอยู่ในความประมาท
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้า ตั้งจิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทประกอบการภาวนา ในวันและราตรี ที่ผ่านไป ด้วยธรรมของบรรพชิตหนึ่งว่า  วันคืนล่วงไป ผ่านไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่  ข้าพเจ้าจึงได้ตั้งความเพียรอยู่ในการภาวนา เพื่อยังปริยัติให้คงอยู่ และภาวนาปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างสมังคี ตลอดถึงสมาทานปฏิเวธที่เกิดขึ้นแล้วโดยสมควรแก่ฐานะ ไม่เกียจคร้าน
    ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้าได้ตั้งองค์ ระลึก นึกถึง พระรัตนตรัย อย่างสม่ำเสมอ มีการระลึกถึง พระพุทโธ มิได้ขาด มีการกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง พุทโธ เป็นบาทคาถา ว่า เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ  ข้าพเจ้าเข้าใจถึงอุบาย ความหมายของ พระคาถา มหาพุทธรัตนะนี้เป็นอย่างดี จากครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชา ทั้งบาทคาถา เป็นสัพพโตภัทระบท และ บทแห่งคุณ แห่งธรรม ข้าพเจ้าเป็นผู้สวด สรรเสริญคุณแห่งพระรัตนตรัย สม่ำเสมอ และใช้เป็นอุบายตั้งมั่นแห่ง สติ สัมปชัญญะ ข้าพเจ้ามีการสมาทาน  การก้าวไป  ถอยกลับ การแลดู  เหลียวดู(หัน)   คู้เข้า ( ตึง)   เหยียดออก ( ผ่อน ) นุ่งห่ม  กิน ดื่ม  เคี้ยว  ลิ้ม  ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ  เดิน  ยืน นั่ง  นอน  ตื่น พูด  นิ่ง ด้วยธรรมสมาทานชื่อว่า ปัจจเวกขณบ้าง สัมปชัญญะบ้าง ภาวนากุศลบ้าง ในอิริยาบถ ทั้ง ๑๙
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้าได้สมาทาน พระกรรมฐาน และ อธิษฐานกรรมฐาน ในวัน และ ราตรี มิได้ขาด มีการเข้ากรรมฐาน ทั้งปกติ และ ลำบาก อย่างสม่ำเสมอ ด้วยสมาทาน ที่เป็นสมังคี ตามพระอริยะมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการตลอดวัน ตลอดราตรี
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส








หัวข้อ: งดส่วจิตออกนอกกันบ้าง ถ้าหวังคุณธรรม เบื้องสูง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 23, 2016, 01:15:59 pm
"อย่าส่งจิตออกนอกเกินไป ถ้าหวังคุณธรรมเบื้องสูง การที่ภาวนาคุณธรรมเบื้องสูงแล้ว ยังข้องแวะเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคม มาก ๆ นั้น เป็นไปไม่ได้ การเมือง การศาสนา การศึกษา การปกครอง การเรือน ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคต่อการภาวนา ขั้นสูง ในโลกนี้ไม่มีใครหยุดปัญหา ได้จริง มีแต่ทำให้ปัญหาชะลอตัวเท่านั้น เพราะในสังคม เราทำให้คนกลุ่มหนึ่งพอใจ อีกกลุ่มหนึ่งก็จะไม่พอใจ อีกกลุ่มก็เป็นกลาง เรื่องอย่างนี้มีทุกสังคม ถ้าผู้ภาวนามัวแต่ส่งจิตใจออกไปข้องแวะ ย่อมทำให้เกิดปลิโพธ กังวล จนไม่สามารถภาวนาได้ ดังนั้นการ ออกวิเวกสำหรับผู้ภาวนาขั้นสูง จึงมีความจำเป็น ถ้าท่านทั้งหลายมีใจตรงต่อพระนิพพาน ต้องการเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ก็ขอให้ยุติ บทบาททางสังคม ลงบ้างมันจะถึงภาวนาได้ ถ้ามัวแต่ยุ่งกับสังคม รอบด้าน การภาวนาขั้นสูงนั้นย่อมทำไม่ได้ ฉันเคยหลงเชื่อครูอาจารย์ ยุคแรกมาแล้ว เรื่องการทำงาน คือการปฏิบัติธรรม เวลาฉันไปเดินจงกรมนั่งกรรมฐาน สมัยนั้นครูอาจารย์บอกว่าเสียเวลา มัวแต่นั่งหลับหูหลับตา ไม่ช่วยหมู่คณะ ไม่ช่วยสร้างวัด ไม่ช่วยสอนหนังสือ ไม่ช่วยอะไร ๆ อีกสาระพัด มันเลยทำให้ฉันต้องมัวไปช่วยเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ โดยครูอาจารย์บอกฉันว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ฉันเชื่ออย่างนี้ พร้อมพัฒนาการจิตใจไม่ให้เห็นแก่ตัว เห็นแก่หมู่ คณะ โลกสวยว่า โลกนี้จะมีคนดี ถ้าเราดี แต่ผ่านไป 46 ปีฉันจึงรู้ว่า ที่เราทำมานั้นเดินตามมานั้นไม่ได้ถูกทาง เมื่อความตายมาถึงจึงเห็นความจริงว่า เรายังไม่พ้นนรก ยังสามารถเกิดเป็น เปตร อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน และสัตว์นรกได้ เพราะหลงเชื่อ ว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม บอกตรง ๆ เลยตอนนี้ว่า ถ้าท่านทั้งหลายหวังคุณธรรมเบื้องสูงแล้ว ไม่ยอมมาเสียเวลาในการเจริญภาวนาแบบหลับหูหลับตาบ้าง เท่ากับเสียชาติเกิด ๆ มาพบพระพุทธศาสนา เพราะถ้าท่านเก่งขนาดนั้น ก็เก่งกว่าพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านสำเร็จธรรม ก็ด้วยการนั่งหลับหูหลับตานี่แหละ ในคืนตรัสรูพระองค์ นั่งหลับหูหลับตา ตัดสินใจสละชีวิตถ้าการนั่งครั้งนี้ไม่สำเร็จก็สละชีวิตแล้ว ดังนั้นขอเตือนท่านทั้งหลาย ถ้าจะเดินตามฉันก็ต้อง ทิ้งเรื่องทางโลกไปกันบ้าง มาภาวนา อย่านำการเมือง การปกครอง การวัด การศึกษา การอะไรต่อะไร เข้ามาเกี่ยวข้องกันเลยในการภาวนา ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามกฏแห่งกรรม เพราะเรื่องรีบด่วน คือ ถ้าท่านเสียชีวิตในขณะที่ยังไม่ได้คุณธรรม พระโสดาบัน นั่นเท่ากับท่านทั้งหลาย ยังไม่พ้นจากอบายภูมิ 4 ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องการสิ้นภพสิ้นชาติกันเลย....... "
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


(http://witthayabeachart.igetweb.com/catalog/p_610693.jpg)


หัวข้อ: ขอให้เชื่อ กฏแห่งกรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 23, 2016, 01:35:15 pm
ขอให้เชื่อ กฏแห่งกรรม
"บางคนเกิดมาแล้วร่ำรวยเพราะตระกูล บางคนเกิดมายากจนก็เพราะตระกูล บางคนเกิดมาอนาถาพิกลพิการ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลแห่งกรรมจากอดีต ด้วย ดังนั้นเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว จะยากดี มีจน พิกลพิการ อย่างไรก็ตาม ถ้าได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ขอให้นำหลักธรรมมาค้ำจุนชีวิต อย่าให้ชีวิตอาภัพสองชั้นสามชั้น ให้มันอาภัพอับโชคก็ให้เป็นเพียงชั้นเดียว คือ ทางกายเท่านั้นอย่าให้จิตใจ มันอาภัพอับโชคอับเฉาตามไปด้วย ถ้ามีเวลาหายใจได้อยู่ ก็เอาลมหายใจเข้า ลมหายใจออกมาเป็นที่พึ่ง ตั้งสติดูลมหายใจเข้าบ้าง ดูลมหายใจออกบ้าง ดูเถอะ เดี๋ยวก็เกิดปัญญาเอง ดังนั้นถ้าจะซวย จะโชคร้าย ก็ขอให้เป็นเรื่องภายนอก คือเรื่องของกาย แต่จิตใจและวิญญาณ ให้พยุงให้สูงขึ้นด้วยหลักธรรม อยาให้มันโชคร้าย หรือซวยไปสองชั้นสามชั้น อย่าได้มานั่งทุกข์นอนทุกข์ เพราะความแก่ ความเจ็บ และตายเลย เพราะเรื่องเหล่านี้มันหนีไม่ได้ ถ้าไม่อยากตกต่ำกว่าเดิม ก็จงอย่าทิ้งธรรม เพราะยิ่งทิ้งธรรม ละ จากพระธรรม ชีวิตก็จะแย่ลงกว่าเดิม ทุก ๆ ชาติ ชีวิตไม่ใช่เกมส์ ทีตายแล้วกลับไปเริ่มต้น แต่ชีวิตนั้นถ้าขาดหลักธรรม มันไม่ได้กลับไปเริ่มต้นแต่ไม่ถอยจากจุดเริ่มต้นไปอีกมาก กว่าจะได้กลับมาเป็นมนุษย์ ในสภาพที่ เต็ม .... พวกที่พิกล พิการ นั้นเป็นตัวอย่างในการถอยยาว เพราะถึงแม้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แต่สภาพกายไม่พร้อม สภาพจิตก็จะแย่ลงไปกว่าเดิม เรามองคนพวกนี้ ถามว่าสงสารไหม ถ้าเป็นเมื่อก่อนใช่ แต่ปัจจุบันฉันมองแล้วเฉย ๆ ( มันเป็นมาสามปีแล้ว ) เพราะเราเห็นตามความเป็นจริงว่า กรรมที่ส่งผลนั้น ย่อมทำให้กำเนิดลำบากมากขึ้น นั่นเอง ดังนั้นยิ่งมองเห็น ก็ยิ่งไม่ยากเกิด เพราะความไม่ยากเกิดจึงมุ่งภาวนา การที่ฉันเลือกวิเวกนั้น สังคมไม่ได้มองว่าฉันเป็นคนดีอะไรทั้งนั้น ส่วนใหญ่ จะว่า บ้า แต่ฉันก็ขอ บ้า ตรงนี้ให้เป็นครั้งสุดท้ายก็แล้วกัน ดังนั้นท่านทั้งหลายถ้ามองเห็นทุกข์ แล้วไม่อยากเกิด ก็ไม่ควรสร้างกรรมไม่ดีไว้นะ ถ้ารู้ตัวว่าสร้างกรรมไม่ดีไม่ถึง อนันตริยกรรม ก็พึงรีบขวนขวายการภาวนา อย่างน้อยก็ให้เป็นพระโสดาบัน จะได้หนีกรรมอบายภูมิ 4 ได้ ....."
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
( สำหรับบุคคลในภาพนี้ นับว่าน่ายกย่องถึงแม้ไม่ได้ใช้หลักธรรม ในศาสนาพุทธ แต่เขาก็สามารถใช้หลักธรรมพื้นฐาน ในการประคองชีวิตเขาได้



หัวข้อ: มองเห็นตามความเป็นจริง จะทำให้คิดบวก แต่ไม่ใช่การมองโลกสวย
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 25, 2016, 02:57:55 pm
"ผู้ที่ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมหวังให้คนอื่นมาเข้าใจตน เห็นใจตน และคิดลบอยู่เสมอ จึงบ่นนั้นบ่นนี่ไปทุกเรื่องยามที่ตกอับยากจน หรือรับความลำบาก นี่เรียกว่า ตายังบอด มองไม่เห็นตามความเป็นจริง ของโลก ของชีวิต ของสังคม ของกายใจตน
แต่ผู้มีปัญญาย่อมมองเห็นตามความเป็นจริงว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนก่อนเสมอ การจะภาวนาก็ต้องนำตนมาภาวนา การจะไปสู่มรรคผล นิพพาน ก็ต้องรักษาตนให้มั่นคงในการภาวนา ถึงแม้กัลยาณมิตรที่ดีงามเพรียบพร้อมเป็นอริยะแล้วก็ตาม การภาวนาก็ต้องเกิดจากตนเป็นผู้ภาวนา เมื่อมองเห็นความเป็นจริงตามความจริงอย่างนี้ เขาไม่จะเสียเวลามาร่ำไร รำพัน ปริวิตกต่อทุกข์ ที่เกิดขึ้นแต่ จะรีบขยันเพื่อละจากทุกข์ที่ปรากฏแล้วนั่นเอง คนมองเห็นตามความเป็นจริงจึงมองโลกอย่างบวกเสมอๆ
ดังนั้นการมองเห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ที่ รักตน หวังคุณธรรมเบื้องสูงมีปลายทาง คือ พระนฤพาน แล้ว ไซร้ กพึ่งเจริญ สติ ดูลมหายใจเข้า ดูลมหายใจออก ระลึกถึง พุทโธ ๆๆๆ อย่างนี้ อย่าได้ขาด ถ้านึกอะไรไม่ได้ ก็นึกถึงครูอาจารย์ ที่เป็นกัลยาณมิตร เมื่อนึกถึงแล้วก็ให้นึกถึงคำสอนที่กัลยาณมิตรท่านถ่ายทอดไว้เสมอ ๆ ๆ นำมาปรับปรุงจิตใจให้เห็นตามความเป็นจริง
สำหรับ ศิษย์ไก่เถื่อน แล้วถ้านึกถึงหลวงปู่ ยังคิดอะไรไม่ออก ก็ให้ว่า คาถา พญาไก่แก้ว หลาย ๆ จบ เดี๋ยวก็จะเห็นความจริงเองว่า ควรจะทำอะไร ...."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
(http://f.ptcdn.info/781/008/000/1377264004-C930511112-o.jpg)



หัวข้อ: ดับกิเลสเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญญา หรือ เจโต เหมือนกันที่ วิมุตติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 30, 2016, 07:47:24 am
มอบธรรมเป็น สมณาคุณ( สมณะ+คุณ) แก่ผู้มีบุญ หลังออกกรรมฐานครั้งที่ 8 เช้านี้

"อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่สำคัญ ต่อการปหานกิเลส คำตอบก็คือ สัมปชัญญะ ที่เรียกว่า ตัว รู้ นั่นแหละ เป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญ ในการดักกิเลสแบบ ปัญญาวิมุตติ ถ้าตัวรู้ มันมีกำลังมาก มันจะคอยดัก สิ่งที่เข้ามากระทบ ตลอดเวลา มันจะดักว่า
     ตา กระทบกับ รูป สักว่า นั่นคือ รูป ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า รูป ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     หู กระทบกับ เสียง สักว่า นั่นคือ เสียง ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า เสียง ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     จมูก กระทบกับ กลิ่น สักว่านั่น คือ กลิ่น ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า กลิ่น ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     ลิ้น กระทบกับ รส สักว่านั่น คือ รส ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า รส ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     กาย กระทบกับ สิ่งที่สัมผัส สักว่านั่นคือ สิ่งที่สัมผัส ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า สิ่งที่สัมผัส ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     ใจ กระทบกับ ธรรมารมณ์ สักว่านั่นคือ ธรรมารมณ์ ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า ธรรมารมณ์ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
      ตัวรู้ ของ ผู้มีปัญญาวิมุตติ ก็จักเป็นอยู่อย่างนี้ จน สัญญาที่มีอยู่ รู้ละ และ ปล่อยว่าง เรียกว่า การค่อยคลายจากความยึดมั่นถือมั่น ( อุปาทาน ) ก็จะค่อยเป็นไปด้วยการ ปหานกิเลส ไปครั้งละนิดละหน่อย เมื่อมีภูมิธรรมมาก ๆ มันก็จะเกิดสภาวะ ปัญญาวิมุตติ อย่างมีกำลัง 2 - 3 ครั้งแล้วก็เข้าผลสมาบัติ สำหรับส่วนนี้อาศัย นิพพิทา เป็นหลัก

     สำหรับ ผู้ที่ได้ ฌานโลกียะ ย่อมไม่มีเวลาเข้าไปใช้ตัว รู้ เหตุเพราะว่า สภาวะ ว่างจากนิวรณ์นั้น เป็นสภาวะไม่มีกิเลส ทำให้ตัวรู้ นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องในการดักอารมณ์อย่างปัญญาวิมุตติ ด้วย สมาธิ เกิดจากองค์แห่งความรู้ในเบื้องต้นแล้ว เมื่อจิตเข้า ฌานวิถีตามลำดับ สภาวะดับกิเลสจะเกิด ต้องอาศัยความปรารถนา ในการละกิเลสก่อนเข้าสมาธิ  คือ ต้องทำการอธิษฐานไว้ก่อน เข้า ฌานวิถี ดังนั้นผู้ที่เข้า ฌานวิถี ด้วยอารมณ์ หน่วงสมาบัติ จึงอยู่แค่สมาบัติ 4 หรือ 8 จึงไม่สามารถไปต่ออารมณ์ในการดับกิเลส นั้นได้ ดังที่หลายท่านมักพูดให้ได้ยินว่า ติดสมาบัติ แท้ที่จริงไม่ใช่ติดสมาบัติ แต่ไม่ได้อธิษฐาน นิพพานเป็นองค์ธรรมสภาวะก่อนเข้า ฌาน พระพุทธเจ้าท่านเรียนกับ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ท่านรู้เพราะว่าหลังออกจากฌาน กิเลสยังมีอยู่ แต่ในฌาน ไม่มีกิเลส ท่านจึงรู้ว่าการเข้าฌาน 4 และ 8 นั้นยังไม่สามารถดับกิเลส จึงอำลาทั้งสองสำนัก มาแสวงหา วิมุตติต่อจาก ฌาน 4 และ 8  ดังนั้นผู้ที่หวัง นิพพาน ต้องตั้งความปรารถนาใน นิพพาน นั้น ก่อนเข้า สมาบัติ ดังนั้นพระสาวกผู้ปรารถนา นิพพาน ย่อมอธิษฐานการเข้านิพพาน เป็นอารมณ์ เมื่อกระทำ ฌานวิถี แม่เข้าลำดับองค์แห่งฌาน ไปตามลำดับ เมื่อจิตเข้า เอกัคคตา ความปรารถนาในพระนิพพาน จะเป็นเอกัคคตา เป็นสภาวะ อสังขารวิเสส ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยที่ไม่ต้องดักสภาวะอย่าง ปัญญาวิมุตติ แต่ความรู้ชัดนั้น เป็น วิราคะ โดยไม่ต้องนึกหน่วง สภาวะใด ๆ

    สำหรับพระอริยะสาวกตั้งแต่พระโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหัตตมรรคนั้น เมื่อเข้าฌานวิถี จัดเป็น วิเสสสมาบัติ ตั้งแต่เริ่มต้น องค์แห่ง วิเสสสมาบัติ มี ผลสมาบัติเป็นอารมณ์ นั่นคือ อุปสมานุสสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานคุณธรรม ของ พระอริยะบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็นต้นไป
ความแตกต่างของการเข้าสู่ วิถีการดับกิเลส ทั้งสามแบบนี้ถึงแม้ว่าจะพูดต่างกันแต่ ก็เป็นเรอบเดียวกัน ในปฏิจสมุบาท เพียงแต่ดับกิเลสตรงจุดที่ต่างกัน สำหรับพระวิปัสสกนั้น เข้าปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ แต่เกิดจากปัญญา มองเห็นตามลำดับ ของปฏิจสมุปบาท
ส่วนเจโตวิมุตติ จะสามารถเข้า ปฏิจจสมุปบาทได้สามรอบ ก่อนการประหานกิเลสในรอบที่สาม เป็นเช่นนี้ทุกองค์....

อ่านเรื่องการเข้า สมาบัติ 8 ของพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าสอนตรงนี้ จะได้ไม่เข้าใจผิด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15517.msg67774#msg67774 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15517.msg67774#msg67774)

"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

(http://www.madchima.net/images2559/pansa59/O3766303-0.jpg)


หัวข้อ: วิเวกธรรมก็มีลำดับ ไม่ใช่คิดว่า จะทำอุปธิวิเวกเลยจะทำได้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 30, 2016, 11:51:46 am
วิเวกธรรมก็มีลำดับ ไม่ใช่คิดว่า จะทำอุปธิวิเวกเลยจะทำได้

"วิเวกมีสามอย่าง แต่ละอย่าง สนับสนุนซึ่งกันและกัน
1.กายวิเวก  หมายถึง ความสงัดกาย ภายนอก เช่นความสำรวมระวังอินทรีย์เป็นต้น
2.จิตตวิเวก หมายถึง ความสงัดจิต ภายใน เช่นการฝึกอบรมสติ สมาธิ บ่มพละให้แก่กล้า
3.อุปธิวเวก หมายถึง ความสงัดจากกิเลส ด้วยการรวม กายวิเวก และ จิตตวิเวก เพื่อประหารกิเลส มีการปัจจเวกปัจจัย การแผ่เมตตา การถือสันโดษ และ ธุดงค์

สิ่งที่ฉันมาทำตอนนี้ก็คือ อุปธิวิเวก ไม่ใช่กายวิเวก หรือ จิตตวิเวก แต่เป็นการมาดัดตนเอง บ่มอินทริย์และพละให้ตั้งมั่นเป้าหมาย เพื่อการภาวนา มีจุดหมายคือการไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป ใครที่คิดแบบฉัน ๆ อนุโมทนาสาธุ เพราะความคิดอย่างนี้ถึงแม้ยังไม่ได้ลงมือทำแสดงว่ามีนิพพิทา เห็นโลกตามความเป็นจริงบ้างแล้ว แต่ความคิดมันก็เป็นเพียงความคิด พระที่คิดแบบนี้ก็มีเยอะนะ แม้ฉันเองเคยคิดอย่างนี้หลายครั้งหลายหน แต่ไม่เคยได้ลงมือทำ

วันนี้ได้ลงมือทำและยอมรับความลำบาก ทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามมาแต่ตอนนี้ สบายใจ เพราะเส้นทางที่เดินนั้นได้ให้สิ่งที่พอใจแล้ว

ดังนั้นใครที่คิดจะทำอุปธิวิเวกนั้น ต้องสร้างกายวิเวก และ จิตตวิเวกก่อนไม่ใช่โดดมา อุปธิวิเวกเลย สมัยก่อนฉันก่อนก็สงสัย ทำไมจิตถึงฟุ้งซ่านมาก เวลาอย่ป่า อยู่เขา นั่นเพราะว่า กายวิเวก และ จิตวิเวก ยังฝึกมาไม่ดีพอ เวลาไปอยู่คนเดียว เงียบ ๆ ในป่า ในเขา สักวันสองวันสักอาทิตย์ จึงได้ฟุ้งซ้าน เดินเพล่นพล่านสุดท้ายก็เอาดีไม่ได้ ต้องออกมา ศิษย์คนไหนถ้าคิดจะทำอุปธิวิเวกแล้ว พึงทำกายวิเวก และจิตตวิเวก ให้ดีก่อนให้ได้ก่อน เวลาไปอยู่ตามลำพัง จะได้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เสียเวลา"


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

(http://madchima.net/images2559/wiwad-01.JPG)


หัวข้อ: ธดงค์ มี ความสำคัญที่สัจจะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 30, 2016, 01:18:30 pm
"การทำอุปธิวิเวก อาศัยสัจจะ ฉันกำหนดเขตการเป็นอยู่ในชีวิต เพียง 21 ตรว.จะไม่ก้าวเท้าออกไปนอกเขต นั่นหมายความว่า ฉันไม่ได้มีกำแพงมากั้นเขต แต่มีกำแพงใจ ไว้กั้นเขต หมายความว่าฉันจะเดินออกนอกเขตวันไหนก็ได้ ถ้าต้องการ แต่กำแพงใจที่สะกัดไว้ นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะ กายวิเวกและ จิตตวิเวกมาก่อน มันถึงจะทำได้ ดังนั้น อุปธิวิเวก ต้องอาศัยกำลังใจ ความอดทน ความมุ่งมั่น ความฉลาด เป็นตัวผลักดัน นั่นก็คือ การบ่มอินทรีย์ 5 และ พละ 5 มาก่อนมันถึงจะทำได้ อุปสรรคสำคัญสำหรับ พระอย่างฉัน ก็คือ การละลาภสักการะ และ ยศ ชื่อเสียง และ สุข ดังนั้นการขัดเกลา ก็คือ การปัจจเวกขณปัจจัย 4 การถือสันโดษ และ การเข้าธุดงค์ ใน ธุดงค์ 13 ข้อนั้นฉันเลือก
1. การถือครองผ้า 3 ผืน ไม่รับผ้า 3 ผืน เพิ่มเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้นไม่เปิดโอกาสให้ใครถวายผ้า และ ไม่รับผ้าไตรใหม่ เป็นเวลา 2 ปี (ข้อที่ 2 )
2.การถือบริโภคในบาตรเป็นวัตร และ ฉันภัตร วันละครั้ง หรือสองสามวันต่อหนึ่งครั้ง ( ข้อที่ 6 และ 7 )
3.การอยู่เสนาสนะแห่งเดียว ด้วยขอบเขตน์จำกัด ( ข้อที่ 12 )
4.การอยู่ เนสัชชิกธุคงค์ ( ข้อที่ 13 )
ดังนั้นการเข้าอยู่ อุปธิวิเวกของฉันอาศัย ธุดงค์สมาทาน 5 ข้อนี้เป็นประจำเป็นหลัก ในพรรษา ทำอย่างเข้มข้น นอกพรรษาเว้น ข้อที่ 4
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของธัมมะวังโส
จากภาพเห็นกุฏิวัดเขาช่องลม เขาทำให้พระอยู่ หรูนะ มีห้องน้ำภายนอกไม่ไกล และทางเดินจงกรม อย่างในภาพ ท่านใดได้เสนาสนะอย่างนี้ ก็ขอให้ตั้งมั่นในการภาวนา ให้เยี่ยมนะ อนุโมทนา สาธุ


(http://madchima.net/images2559/wiwad-02.JPG)


หัวข้อ: มรณานุสสติ เป็นกรรมฐานที่ทำให้เกิดความสันโดษ ได้ควรมีตั้งแต่พระโสดาบัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 01, 2016, 08:36:31 am
(http://madchima.net/images2559/pansa59/marananussati.jpg)

มอบธรรม วันธรรมสวนะ เป็นกำนัลแด่ผู้ร่วมทาง
"มรณา นุสสติ เป็นกรรมฐาน ที่ทำให้รู้จักพอ ละตัณหาได้ระดับหนึ่ง
สำหรับกรรมฐานนี้ จะมั่นคงมีได้ตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน คนธรรมดาใช้กรรมฐานก็เพียงเตือนสติ แต่ไม่สามารถสละกิเลสได้ และใช้เป็นบาทวิปัสสนา แค่ทำให้รู้สึกสลด รู้จักคิดบ้างเป็นบางครั้ง ถ้าเจริญในปุุถุชนมากไป จะทำให้รู้สึกท้อแท้ ก็มีโทษของกรรมฐานอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ของการเจริญ มรณานุสสติ ดังนั้นผู้เจริญ มรณานุสสติ นั้นควรเป็นผู้มุ่งมั่นกับพระนิพพาน เป็นหลักเป็นกรรมฐานที่ใช้คู่กับ อุปสมานุสสติ สรุปง่าย ๆ ก็คือ เป็นกรรมฐานที่เฉพาะพระอริยะเท่านั้นที่จะตั้งมั่นได้ สำหรับพระโสดาบัน มรณานุสสติตั้งมั่นอย่างน้อยวันละครั้ง ถ้าเป็นพระอริยะบุคคลระดับพระอรหันต์ก็คือทุกวินาที คือเตรียมพร้อมที่จะตาย นั่นเอง ทำนองนั้นแหละ

"อยู่ก็สร้างกุศลต่อไป ตายแล้วก็เอาไปเผา"

โอ้ เอ๋ย อนิจจา เป็นนักปราชญ์ ฉลาดล้ำ บุญทาน ไม่รู้จักทำ ฉลาดล้ำ แต่เรื่องวน ภาวนา ไม่เคยสน ไม่เคยยล พิศมัย มองหา แต่ศิวิไลซ์ พิศมัย แต่เงินตรา ชีวิต ที่โลดแล่น ตั้งกำแพง ถือยศถา แสวงหา ศักดินา เพลินมายา หลงลืมตน ทุกวัน หาคำหวาน มัวสำราญ สรรเสริญ หลงผิด เป็นทุนเติม ให้ห่างเหิน จากวัดวา
สุดท้าย วันมาถึง มารำพึง และโหยหา ว่าคำ พระสัมมา พุทโธจ๋า ไม่อยากตาย สี่เท้า มันรู้ทัน ไฉนปราชญ์ ไม่รู้แก้ หลงแก่ พัลวัน จะจากกัน พร่ำอาวรณ์ บ้านจ๋า ยศของฉัน มารำพัน อย่างโหยหา มรณา ที่เข้ามา บ่ได้มี สิ่งใดไป ยามเป็น ไม่ฉลาด ยามจำจาก จึงต้องเหงา ทิ้งร่าง เหมือนดั่งเงา ตั้งให้เขา ดำเนินการ เหลือกาย ซ่อนในโลง เพียงนอนเฉย อย่างอับเฉา โอ้หนอ นะคนเรา มีสิ่งใด ติดตามตัว
มีเหรียญบาท ยัดใส่ปาก สัปเหร่อ ยังควัก ไม่ให้เจ้ากลืน คิดแล้ว มันน่าขมขื่น เหลือผ้าสองผืน พอปิดกาย บางครั้ง คนเผลอ สัปเหร่อ ยังแก้ เอาผ้าม่วง ผ้าแพร ไปเที่ยว เร่ขาย ต้องนอน แต่งชุดเดียว ทั้งวันเกิด วันตาย ต้องไป นอนเปลือยกาย อยู่บนเชิงตะกอน"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส


หัวข้อ: ถ้าไม่นั่งหลับหู หลับตา ไม่มีทางบรรลุ คุณธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 22, 2016, 06:21:11 am
(http://www.phitsanulokhotnews.com/wp-content/media/2014/07/Image32.jpg)

"สมัยก่อน ฉันมีความคิดว่า การภาวนานั้นไม่มีความจำเป็นต้องไปนั่งหลับตาปิดหู นั่งนิ่ง เพราะผู้ภาวนา ควรจะทำภาวนาได้ทุกอิริยบถในการภาวนา ดังนั้น เวลาใครชวนทำสมาธิ ก็มักจะคิดว่า พวกหินทับหญ้า พวกเสียเวลา ปล่อยเวลาไร้ประโยชน์ พวกขี้เกียจงาน เอาแต่เดินกลับไปกลับมา แล้วก็มานั่งนิ่ง สู้ทำงานศาสนา เผยแผ่สอนธรรม ไม่ได้ สู้มานั่งเขียนตำรา พัฒนาวัด หมู่บ้าน ชาติบ้านเมือง จะดีกว่า ตอนนั้นฉันก็ตามครูอาจารย์เข้าร่วมเป็นกลุ่มนักพัฒนา ในสายเหนือ โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง โดยในขณะนั้น ก็มีเหล่าครูอาจารย์ สอนธรรมแนะนำธรรมที่มีชื่อเสียงไม่ต่ำกว่า 50 รูปที่รู้จักมักคุ้นกัน เลยทำให้ส่วนตัวตอนนั้นพัฒนาชีวิตการภาวนาออกไปทาง สติมากกว่า และเห็นว่า การภาวนาแบบสมาธิ เป็นเรื่องขัดใจ ผ่านมาหลายสิบปี ชีวิตทีเดินตามกระแสสายสติ มั่นคงในศีล ก็ไม่ได้พัฒนาอะไรได้นอกจากคำว่ายอมรับ และพยายามไม่เห็นแก่ตัว แต่ มักจะถูกเบียดเบียนเป็นประจำจากคนเห็นแก่ตัว แต่ตอนนั้นก็มองโลกสวยและมีความเชื่อว่า คนทุกคนล้วนเป็นคนดีมาก่อน แต่ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา กลับให้คำตอบว่า สิ่งที่เราคิดและเดินตามแนวทาง สายสตินั้น ไม่สามารถทำให้ไปถึงแก่น ของ พุทธศาสนาได้เลย เหมือนคนประมาท หลอกตัวเองอยู่ด้วย ความเข้าใจที่ชื่อว่า ปัญญา ประมาณนั้น สิ่งที่ทำมาตลอด 35 ปีกลายเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะว่า เราดีขนาดไหน สังคมก็ยิ่งเบียดเบียนเรามากขึ้น สังคมทุกวันนี้ เป็นไปด้วยการเอื้อหมู่ พวกพ้อง ไม่ได้รักในคุณธรรมตามหลักศาสนาจริง ฉันมีประสบการณ์ ทุกหักหลัง บ่อยมาก เมื่อถึงกรณีที่ต้องตัดสินความถูกต้อง ผู้ใหญ่ก็เลือกข้าง ญาติมิตรสหาย คนให้ผลประโยชน์ เพื่อนก็วิ่งเข้าข้างคนหายศ มียศ มีเกรียติอย่างที่เขาคิด ถูกหลอกใช้เป็นประจำ ด้วยคำสวยหรู คำหวาน คำชม คำสุภาพ จนถึงจุดหนึ่งบรรดาผู้ใหญ่ เคยเรียกพูดเป็นการส่วนตัวว่า ผมไม่สามารถเข้าข้างคุณได้ ด้วยส่วนคุณธรรม นั้นผมก็นับถือคุณ แต่คุณน่าจะเอาตัวรอดได้ แต่คนที่ยังไมมีคุณธรรมยังต้องอยู่ กับหมู่คนที่ต้องให้กำลังใจ ข้อความมันหนักอยู่เหมือนกัน จะเขียนให้เป๊ะแบบเขา เดี๋ยวเจ้าตัวมาอ่านแล้วจะสะดุ้งกัน ฉันถูกปลูกฝังให้เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ทีเห็นคือคนที่ ทำดี เดือดร้อน เพราะคนไม่ดี ประจำ แต่ คนที่ทำชั่ว จะมีความสุขสบาย ตอนนั้นครูอาจารย์ สายสติก็จะสอนให้เรามองเห็นธรรมว่า ทำดีก็ดีคือสุขใจ ทำชั่วก็ชั่วเพราะทุกข์ใจ ซึ่งมันไม่ต่างอะไรกับคำพูดที่ปลอบใจ ตัวเองเท่านั้น เพราะสุดท้ายมันก็เหมือนเป็นคำหลอกให้เรา ยึดมั่นในความดี และมองปล่อยให้คนชั่ว มันทำชั่วได้ตามใจมัน นี่เรียกว่า คิดแบบคนโลกสวยและ โลกให้ผลตอบแทนคนดีแบบ นี้เสมอมา จนคนดีก็ไม่มีที่ยืน ใช่ไหม ?
ที่เล่าตรงนี้เพื่อชี้แจงข้อผิดพลาดของฉัน ในการมองโลกสวย และไม่ได้เดินตามอริยะมรรค จนกระทั่งวันหนึ่ง ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของฉันได้ดับลง ในตอนนั้นไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งเลย ไม่มีอะไรช่วยฉันได้เลยขณะนั้น สิ่งที่นึกได้ตอนนั้น ก็คือคุณงามความดี ที่ได้สร้างสั่งสมไว้ นำมาเป็นแสงสว่างพร้อมการอธิษฐานระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า คือคำว่า " อรหัง " ตอนนั้นไม่มีบทใดที่สติ ฉันจะนึกได้ นึกได้แต่ เพียงคำว่า อรหัง อรหัง อรหัง มันเหมือนคำกระซิบข้างหูของคนที่กำลังจะตายจะได้ยินคำพูดนี้เหมือนเป็นการชี้ช่องทาง เตือนใจ ( เหตุการณ์ทีเกิดระหว่างนั้นจะไม่ขอเล่า แต่จะขอเล่าหลังจากการได้ลมหายใจเข้า และออก กลับมาอีกครั้ง )
ในโอกาสที่มีลมหายใจเข้า และหายใจออกกลับมาอีกครั้งนั้น ฉันได้ทบทวน คำว่า "อรหัง" เหมือนเป็นจุดหมายปลายทาง ให้ฉันยุติเรืองราวทั้งหมด ในชีวิตฉัน ยุติการเดินทาง ไหลไปตามโลก ความคิดจากการมองโลกสวย กลับกลายมามองตามความเป็นจริง และยอมเข้ารับการทดสอบ เป็นเวลา 7 เดือน จึงเข้าใจใน มรรคสมังคี ที่สำคัญที่เราทิ้งและละเลย ไปในคือเรื่อง สมาธิ คือองค์มรรคสุดท้าย
การภาวนา หลังจากผ่านการทดสอบ 7 เดือนนั้น ครูอาจารย์ท่านก็ถ่ายทอดเรื่องการฝึกกรรมฐาน เน้นเรื่องสมาธิ เพียงเรื่องเดียวที่บอกว่าฉันขาดไป ฉันจึงกลายกลับมาเป็นผู้มาเดินกลับไปกลับมา และมานั่งหลับหูหลับตา มากขึ้น จนถึงที่สุดแน่ใจใน ธรรมสภาวะที่ปรากฏขึ้นในมรรคสมังคี หลายต่อ หลายครั้ง เป็นไปตามลำดับ เกิดขึ้นในธรรมสภาวะ ที่ปรากฏในคำว่า ในภายใน ในภายนอก
ดังนั้นฉันไม่ตำหนิคนที่มีความคิดลักษณะเดียวกับฉันที่มีในเริ่มต้น หมิ่นเรื่องการ นั่งหลับหู หลับตามองเห็นว่า การทำมรรคสมังคีเป็นเรือ่งของคนขี้เกียจ มันไม่ต่างอะไรจากความคิดของฉันในครั้งแรก
เมื่อทบทวนการตรัสูรู้ของพระพุทธเจ้า แล้ว ฉันก็เห็นว่า ตนเองนั้นมีความอวดดีเกินไป จึงทำให้เสียเวลาไปถึง 35 ปี เพราะความอวดดีที่อวดเก่งเกินกว่าพระพุทธเจ้าไปหลงเข้าใจว่า การบรรลุธรรมถึงที่สุดแห่งพรมหจรรย์ จะสามารถทำได้ด้วยการไม่หลับหูหลับตา นั้น เป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธเจ้า ทานเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็เพราะว่า ท่านหลับหูหลับตาในคืนตรัสรู้ และเข้าธรรม สภาวะ ที่ชื่อว่า อรหัง ไปตามลำดับ นั่นเอง
เตือนศิษย์ทั้งหลาย อย่าอวดเก่งกันนักเลย ฉันพลาดมาแล้ว และไม่อยากให้ใครได้พลาดอีก ถ้ายังไม่มาหลับหู หลับตา ปิดห้าทาง ดักหนึ่งทาง ไม่มีทางที่จะบรรลุ คำว่า "อรหัง" ได้ เพราะ พระอรหันต์ ทั้งหลายล้วนแล้วแต่ก็ต้องหลับหู หลับตาเช่นเดียว กับพระตถาคตเจ้า เช่นกัน พระโมคคัลลานะ ผู้มีฤทธิ์มาก ก็ต้องนั่งหลับหู หลับตาเป็นเวลา 7 วัน พระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากก็ต้องนั่งหลับหู หลับตาเป็นเวลา 15 วัน ไมมีใครเก่งกว่านี้แล้ว พระจูฬปันถก ที่ว่าโง่ ๆ พระพุทธเจ้าก็ให้นั่งหลับหูหลับตา 4 ชม. ถ้าไม่ยอมหลับหู หลับตา นั่งลูบผ้า จะได้ มโนมิยิทธิ ได้อย่างไร พระองคุลีมาลที่ก่งกาจฆ่าคนเป็นจำนวนมาก ก็ต้องนั่งหลับหู หลับตาเช่นกัน
การหลับหู หลับตา คือปฏิเวธของพระอริยะบุคคล เรียกว่าอริยะผล คือ ผลสมาบัติ จะไปลืมตา เปิดหูนั้นทำไม่ได้ ไม่มีองค์ไหนทำได้ นอกเสียจากจะเดินจงกรมละสังขาร อย่างพระอรหันต์ อย่างนั้นเป็นไปได้อยู่ การเข้านิโรธสมาบัติ สุญญาตาสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ ต้องใช้การหลับหู หลับตากระทำทั้งนั้น โปรดใคร่ครวญให้ดี จะได้ไม่หลงทาง
คำครูสอนเบื้องต้น
ลืมตามองเห็นโลก
หลับตามองเห็นตน
ลืมตามองเห็นปัจจุบัน( ไม่มีอดีต ไมมีอนาคต)
หลับตามองเห็นทั้งสามกาล (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)
ลืมตาก็มีจะมีสติ เฉพาะหน้า
หลับตา ก็จะเห็นธรรมภายใน
ลืมตา จะได้ความสังเวช
หลับตา จะได้ยถาภูตญาณทัศศนะ
ลืมตา ก็ยังอยู่ในโลก
หลับตา ก็จะพ้นจากโลก.......
"
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
( ความหมายภาพ พระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์ อยู่ที่เมืองสองแคว เมืองพิษณุโลก นั่นก็คือ พระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ( ชนะมาร ) ที่มีความงดงาม ทางศิลปะของคนไทยชาวสยาม ที่ได้แสดงความมุทิตา ให้คนที่ยลถึงพระพุทธรูป ( ฉายาพระพุทธเจ้า )ได้เห็นถึงความเมตตา และ ความบริสุทธิ์ ตลอดถึงพระมหากรุณา เป็นที่ปรากฏแก่ผู้ ทัศศนา พระพุทธรูปองค์นี้ )


หัวข้อ: สำนักสอนที่น่ากลัว คือ สอนผิดปนถูก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 25, 2016, 12:46:40 pm
"ถ้าสอนผิด ก็สามารถ ระบุได้ว่าผิด สำนักอย่างนี้ไม่น่ากลัว
ถ้าสอนถูก ก็สามารถ อนุโมทนา ว่าถูก สำนักอย่างนี้น่านับถือ
แต่ที่ลำบากใจก็คือ มีทั้งสอนผิด และสอนถูก ปนกันนี่แหละ ที่ทำให้แก้ไขได้ยาก เพราะถูกก็ไปรับรองส่วนที่ผิด ด้วยภาพพจน์ สวนผิดก็ไปทำลายส่วนถูก เพราะทำให้เกิดรูปแบบที่ผิด สำนักอย่างนี้ นับว่าเป็นอันตรายมากกว่า สำนักที่สอนผิด
เพราะสอนถูกก็ต้องอนุโมทนา สาธุ สนับสนุน
สอนผิดก็ต้องตำหนิ และไม่ทำตาม ไม่สนับสนุน
ดังนั้นบางครั้งเราจึงต้องมีสองสถานะ ในที่เดียวกัน
อย่างไรเรียกว่า สอนผิด
คำสอนใดขัดต่อหลัก พระอริยมรรค มีองค์ 8 ไม่ชักนำไปสู่ อุปสมะ ไม่มีเนื้อหา อริยสัจ 4 มีแนวทางไปทางความงมงาย ไม่มีการละดับกิเลส คำสอนนั้น คือ มิจฉาทิฏฐิ มี 62 ประการ เป็นคำสอนที่ผิด
อย่างไรเรียกว่า สอนถูก
ตำสอนใดเป็นไปเพื่อการละกิลส ประกอบด้วย ธรรม 37 ประการ คือ ปธาน 4 อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน 4 พละ 5 อินทรีย์ โพชฌงค์ 7 อริยมรรค มีองค์ 8 มีแนวทางเป็นเป็นไปเพื่อการละดับกิเลส พ้นจาก ทิฏฐิ 62 เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นคำสอนที่ถูก
"
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


(https://0phe9w-sn3301.files.1drv.com/y2pvetntspMAbX6F0tEf19LMiXvuWGiotFigmUqkRYzC7djr9AjshgFaMgI_YDnVsnHSHa3AVGZRiGMBnwK7JT1HYz-vAB-Y2q1lq0xxMLLe3s/Scales.png?psid=1)


หัวข้อ: ถึงคนที่เป็นเช่นฉัน ที่มีประสบการณ์ตรงนี้มาแล้วเหมือนกัน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 28, 2016, 05:11:41 pm
ถึงคนที่เป็นเช่นฉัน ที่มีประสบการณ์ตรงนี้มาแล้วเหมือนกัน

ถ้าคุณได้ผ่านเหตุการณ์ ที่ลมหายใจเข้าหรือออก หมดไป หรือ สภาวะจิตที่ไม่รู้สึกตัว เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี คุณจะเข้าใจได้เลยว่า เมื่อคุณมีลมหายใจเข้า และออกอยู่นั้น มันมีอะไรสำคัญ และการได้รับลมหายใจเข้า และออกกลับมา และ สติสัมปชัญญะกลับมา คุณก็จะทราบในหน้าที่ ๆ ที่ควรทำหลังจากได้โอกาส มีไม่กี่คนทีจะมีโอกาสพิเศษอย่างนี้

หลายคน มีอุดมการณ์ อุดมคติ ความหวัง ความรัก ความโกรธ ความหลง อีกสาระพัดอารมณ์ทีมันประดังในชีวิต อารมณ์ใด ๆ ล้วนแล้วแต่ไม่มีความหมายใด ๆ เลย เมือไม่มีลมหายใจเข้า และออกไม่มีสติสัปชัญญะต่อไป แม้สังขารร่างกาย ก็จะปรากฏอยู่เพียงดังท่อนไม้แลท่อนฟืน เท่านั้น

ฉันเป็นผู้ผ่านเหตุการณ์ นั้นมาแล้ว ทุกวันนี้จึงไม่มีนิมิตหมายอะไรในอารมณ์ ว่าเป็นเจ้าของอะไรเลย ชื่อเสียง เงินทอง ตลอดถึงคนรัก ล้วนแล้วไม่สามารถนำไปได้ ไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรแม้แต่กาย อันรักแล้วรักยิ่ง ก็เช่นกัน

เมื่อถึงเวลาที่สัตว์ทั้งหลายต้องถึงการแตกดับ แล้วก็จะไม่มีอะไรป้องกันได้ คงจะมีไม่กี่คนที่ได้สัมผัส โลกหลังความตาย แล้วได้กลับมา ดังนั้นเมื่อได้โอกาสตรงนี้แล้วอย่าได้ใช้โอกาสที่มีให้สูญหายไป

จงเรียนรู้ธรรมที่จำเป็น และ ตระหนักถึงผลกรรมที่เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดให้มาก เพื่อจะได้เลิกอาลัยอาวรณ์ ต่อโลกนี้เสียที จริงอยู่ไม่มีใครเข้าใจพวกคุณได้เหมือนคนที่มีเหตุการณ์เช่นเดียวเหมือนกับคุณ เท่านั้นจึงจะเข้าใจอารมณ์นี้ได้ สภาวะที่มันหมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรนำไปได้ ไม่ว่ายศ สุข สมบัติ คนรัก ตอนนี้มัน มีเพียงแต่แสงสว่างที่เรียกว่า กรรมดี ชี้นำทาง เท่านั้น และแสงสีดำที่เรียกว่า กรรมชั่ว นำทาง จะไปด้วยแสงอะไร ก็อยู่ที่ใจคุณตอนนี้ จะเลือก กรรมดี หรือ กรรมชั่ว หรือ เลือกไม่เกิด ต่อไป สำหรับฉันนั้น เลือก การไม่เกิด เพราะไม่อยากวุ่นวายกับ โลกนี้ต่อไปแล้ว ฉันจึงไม่แคร์ใครจะมองฉันว่าบ้า ทำเรื่องบ้า ๆ คือการเดินตามอริยะมรรคอย่างจริงจัง นั่นเอง เป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน....

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดืนทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://madchima.net/images2559/pansa59/wl-01.jpg)

( ความหมายภาพ เป็น สังขารของท่าน เว่ยหล่าง ทีเจดีย์เมืองโซกาย ปัจจุบันสังขารนี้มีอายุมากมากถึงพันปี ที่ยกมาเพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า ฉันไม่มีอคติ กับหลักสอนที่สอนถูกนะ หากหลักธรรมมีการประพฤติถูกต้องตามมรรคสมังคี จะนิกายไหน แบบไหน ชุดไหน ก็สามารถสำเร็จธรรมได้ทั้งนั้น ในส่วนปรมัตถ์เหมือนกันหมด )


หัวข้อ: โมฆะบุรุษ ในสมัยพุทธกาล ถือว่าเป็นคำด่าอย่างสุภาพ ที่แรงมาก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 29, 2016, 12:48:48 am
"โมฆะบุรุษ ในสมัยพุทธกาล ถือว่าเป็นคำด่าอย่างสุภาพ ที่แรงมาก นะ จะเห็นว่าองค์พระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะตรัสเรียกคนที่พอจะโปรดได้ ว่า เป็น โมฆะบุรุษ หรือจะพูดให้แรงก็หมายความว่า เกิดมาเสียชาติเกิด กว่าจะเกิดมาเป็นคนได้ก็แสนยาก แต่ทั้งที่มีสาระรู้สาระ แต่กลับไม่เอาสาระ

โมฆะบุรุษ มีความหมาย ว่า บุรุษว่าง หรือ บุรุษไร้สาระ ไม่มีเป้าหมาย ตามความหมายก็คือ อยู่ไปวันๆ แบบรกโลก ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร แถมทำแต่เรื่องไร้สาระ ก็ประมาณนี้

ถ้าถูกว่าเป็น โมฆะบุรุษ อย่าพึงเสียใจ แต่จงรีบพิจารณาตนและกลับตัวให้ได้ มีพระอรหันต์เก่ง ๆ หลายองค์ เมื่อถูกเรียกอย่างนี้ ก็ได้ขวนขวายปฏิบัติภาวนา อย่างจริงจัง

ในสมัยคร้งพุทธกาล ก็มี ผู้ที่ถูกกล่าวเรียกว่า กลุ่มแรก คือ กลุ่มอุรุเวลกัสสปะ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญเลยในครั้งนั้น ชฏิลไม่ใช้น้อยกลุ่มแรก สุดท้ายก็กวาดทั้งสามพี่น้อง เป็น 500 ชฏิล

ดังนั้นใครรู้ตัวเองเป็น โมฆะบุรุษแล้ว เปลี่ยน ทิฏฐิได้ทัน ก็ยังไม่ชื่อว่าเสียมรรคผล ....."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และภารภาวนา ของ ธัมมะวังโส



(http://madchima.net/images2559/pansa59/z-1.JPG)


หัวข้อ: การได้พบพระอริยะ เป็นบุญอันประเสริฐ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 11, 2016, 12:36:01 pm
(https://flowernutty.files.wordpress.com/2013/09/13578_5665_091015182403_x4.jpg)

สมณานัญจ ทัสสะนัง การได้เห็นสมณะ
ในโลกนี้ไม่มีเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแต่กรรมสั่งสมกันมา จึงได้เป็นพ่อแม่พี่น้อง ครูอาจารย์ เพื่อน ๆ ตลอดถึงเป็นพุทธมามกะนั้น เกิดมาจากกรรมที่ได้สั่งสมกันมา มากบ้างน้อยบ้างเป็นไปตามวาสนา ผู้มีปัญญาไม่ค่อยทำบุญ เกิดมาก็มีปัญญามาก แต่ยากจน ส่วนคนทำบุญ ไม่ค่อยศึกษาธรรม เกิดมาก็มีฐานะพออยู่ พอกิน แต่ไม่มีปัญญาแทงตลอดในธรรม ก็เกิดจากกรรมที่ตนเองสร้างไว้ ส่วนหนึ่ง ดังนั้นใครรู้เหตุ รู้ผลอันนี้แล้ว ก็ต้องทำให้ครบ ชาติต่อไปจะได้ไม่ลำบากไม่ยากจน และ อับปัญญา
ทาน ศีล ภาวนา เป็นสิ่งที่ต้องทำไปด้วยกัน

หากยังคิดจะโลดแล่น ใน วัฏจักรสงสารแล้ว อย่าได้ประมาท ในธรรมสามอย่างนี้

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

( ความหมายภาพ ตอนนั้นฉันได้ช่วย หลวงพ่อท่านปลูกบัวในบ่อ ตามใกล้ต้นไทรน้ำ ตอนที่ปลูกก็ไม่เห็นความสวยงามของต้นบัวเลย แต่พอผ่านมาสามเดือน ฉันจึงได้เห็นดอกบัวแข่งกันบานประมาณนี้ ตอนนั้นที่มองเห็นก็ชื่นชมเป็นวันผ่านไปสามวัน ดอกบัวเหล่านั้นก็เหี่ยวเฉาไปตามกาลเวลา ดังนั้นบัวที่บาน ก็ บานไม่ได้ กว่าจะบาน ก็ต้องอาศัยเวลา จะเห็นบัวบานอย่างนี้ไม่ได้บ่อย เพราะว่ากระถางทีปลูกนั้น มีหอยปูปลาเต่า คอยทำลายอยู่ด้วย ดังนั้น ฉันจึงไม่ค่อยเห็นบัวบานสวยแบบนี้เลย นาน ๆ ครั้งจึงได้เห็น
ฉันใดฉันนั้น ช่วงแห่งกาลที่จะมีพระอริยะปรากฏ ย่อมยาวนานมาก เมื่อปรากฏพระอริยะยอมมีช่วง หนึ่งที่จะต้องดับหายไปตามกาลเวลาเช่นกัน ท่านใดได้พบพระอริยะจงอาศัยเวลาช่วงนั้นเป็นที่ยังใจของท่านให้เบิกบานเถิด )


หัวข้อ: จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 13, 2016, 09:05:26 am
(http://madchima.net/images2559/pansa59/pasitnov-59-01.jpg)

การปล่อยวาง เป็นคุณสมบัติ ทางจิต แต่ไม่ใช่การปล่อยละเลยจนเว้นจากกิจที่ควรทำ กลายเป็นการปล่อยเนื้อ ปล่อยตัว และทอดทิ้งธุระกันไป ดังนั้นการปล่อยวางเป็นสิ่งที่ควรทำกับจิต เมื่อมีความรู้สึกในปัจจุบันว่า ทุกข์ กำลังจะทุกข์ หรือทุกข์แล้ว ดังนั้นการปล่อยวาง ก็คือการละจากปัญหา ที่ทำให้ทุกข์ หมายถึงความยึดมั่น ถือมั่น ว่านั่นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตน ของเรา อันนี้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ภาวนา ถึงแม้จะกล่าวอย่างนี้เรื่องการปล่อยวางขณะที่ต้องเผชิญกับการกระทบอยู่นั้นก็ไม่ใชเป็นเรื่องที่ง่าย หลายคนจึงใช้วิธีการทำลายสติ เพื่อไปทำลายความจำกัน เช่น ดื่มสุรายาเมา เพื่อจะให้ความจำเลอะเลือน ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหา แบบชาวบ้าน ไม่ถูกทาง เพราะคนเราดำรงอยู่ได้ก็ต้องมีสติ และอาศัยความจำ ถ้าไม่มีสติและความจำ ก็จะกลายเป็นหุ่นไม้ เป็นคนอัลไซเมอร์

บัณฑิตคนที่มองเห็นธรรม จึงกล่าวว่า
อกุศล นั้นจำได้ง่ายกว่า กุศล
ส่วน กุศล จำได้ยากกว่า อกุศล

ถ้าตั้งคำถามวันนี้ถามว่า คุณทำกุศลไปกี่ครั้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ?
ส่วนใหญ่จะตอบไม่ได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็ถามว่า
วันนี้คุณสร้างอกุศลไปกี่ครั้ง มันแว่บขึ้นมามากมายใช่ไหม ?
เพราะกุศล นั้นจำได้ยากต้องอาศัย สติ
ส่วนอกุศล มันจำได้ง่าย เพราะมันอาศัย ความสะใจ ( ปมาท)

ดังนั้นบางคนตื่นเช้ามา ก็พิมพ์ข้อความกระทบกระเที่ยบ ส่อเสียดบุคคลอื่น ๆ แต่เช้า ก็เพราะว่า มันมีความสะใจ ใช่หรือป่าว ?

ซึ่งแตกต่างจากบัณฑิต เพราะบัณฑิตจะพยายามหาข้อความที่เป็นธรรม ที่ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความสบายใจ มีปัญญา ดังนั้่นใครเจริญจิตแบบนี้ทุกวัน ย่อมผ่องใส ส่วนคนใดพูดคิดทำ ด้วยความสะใจ มันก็จะเศร้าหมองที่ตนเอง ที่ใจของตนเองนั่นเอง

คนที่มีลักษณะ ชอบใช้ความคิดหนีปัญหาด้วยการลืมความจำก็จะเป็นคนอัลไซเมอร์ ในตอนปลาย ๆ ของชีวิต ส่วนคนที่มีจิตปล่อยวางด้วย สติ และ จำกุศลไว้ คนเหล่านี้จะเป็นผู้มีความจำถึงที่สุดแห่งชีวิต

ดังนั้นท่านใด ใช้วิธีปล่อยวางแบบผิด ไปทำลายความจำก็ต้องมีชะตากรรมที่อนาถในเบื้องปลาย ตอนนี้ใครยังมีความจำที่สามารถประคองสติได้ ก็จงหมั่นฝึกฝนการภาวนา พระกรรมฐานให้มากขึ้น เถิด เพราะการฝึกจิต ย่อมนำมาซึ่งความสุข นั่นเอง

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทืกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: เก่งขนาดไหน ก็ ไม่พ้น พยาธิ และ มรณะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 19, 2016, 12:45:21 pm
(http://2.bp.blogspot.com/-QW_qyZzxlAM/T9PAhSNkcaI/AAAAAAAAAL8/mwnWSaVLJC4/s1600/95.JPG)

เก่งขนาดไหน ก็ ไม่พ้น พยาธิ และ มรณะ
แม้แต่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ยังทรงประชวร ด้วย โรคท้องก่อนดับขันธปรินิพพาน ถ้ามองตามความเป็นจริง ที่ฉันป่วยอยู่นี้ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที คนมีชีวิตกายเนื้อ กายหยาบ จะต้องรับอยู่แล้ว เพียงแต่ความทุกข์ร้อนในจิตไม่มี เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เราก็นั่งนอนยืนเดินดูอาการป่วย มันปวดก็กำหนดรู้ว่า ปวดอย่างนี้เป็นอย่างนี้ และก็ให้จิตตัด
ความรู้สึกทุกข์ ให้เป็นอุเบกขา
ถึงจะพูดอย่างนี้เวลาทำก็ไม่ใช่ จะทำได้ทุกครั้ง เพราะการไปถึงอุเบากขา ต้องเข้า โพชฌงค์ 7 ขนาดพระพุทธเจ้า เวทนาเกิดมาก ๆ พระองค์ก็ยังลืม ต้องให้พระจุนทะมาสาธยาย บทโพชฌงค์ในการเดินจิตถึงจะทำได้
ดังนั้นคนที่ไม่เคยฝึกฝนสมาธิ ภาวนามาก่อน อย่าหวังเลยว่าคุณจะหยุดเวทนาได้ มันเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเจ็บ เวลาปวดก็ได้แต่นอนร้องครวญครางเป็นทุกข์ ซึ่งแตกต่างจากพระอริยะ ท่านก็เจ็บก็ปวดแต่ก็ได้แต่ พิจารณาเวทนาที่เกิดเท่านั้น
ดังนั้นพระปฏิบัตภาวนาได้ เขาจึงเก้บอาการไว้ได้ไม่ทำให้ใครเป็นห่วง ขนาดป่วยเจียนตาย ก็ยังทำงานได้คุยได้ ถึงแม้ว่ากายจะยอบแยบ มีเวทนาสูงก็ยังดำรงค์ขันธ์อยู่ได้ โดยมีความทุกข์น้อยที่สุดหรือไม่มี ไปตามลำดับชั้นอริยะ
เจริญธรรม/ เจริญพร


หัวข้อ: เอหิปัสสิโก พระธรรมเป็นสิ่งที่ตนจักรู้ได้ด้วยตนเอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 02, 2016, 01:36:32 pm
วลาที่เราอยู่ในน้ำ เราไม่ค่อยรู้สึก ว่าน้ำนั้นเย็น หรือร้อน หรอกเป็นเพราะว่า เราแช่อยู่ ฉันใด
สภาวะที่ท่านมีจิตสงบประณีต เพราะใจเป็นกุศล ย่อมทำให้ท่านไม่รู้สึกถึงความแตกต่างในเวลาอยู่ในกุศล ฉันนั้น
ดังนั้นหลายท่านจึงเข้าใจว่าตนเอง ภาวนาไม่ได้ หรืออ่อนในการภาวนา ทั้งๆ ที่หลายท่านที่เป็นศิษย์ตอนี้ สภาวะจิตมีการหักล้างกิเลสได้ไวขึ้นกว่าเมื่อก่อน จนบางท่านมีจิตที่ประณีตถึงขั้นไม่หวั่นไหว แล้วก็มีแต่ ท่านก็พูดให้ฉันฟัง ผมยังไม่ได้อะไรเลย
จึงอยากให้ท่านย้อนกลับไปก่อนมาพบอาจารย์กันดูสิว่า นิสัยใจคอ ความเยือกเย็น ความเข้าใจอรรถธรรม ความระงับโทสะ โมหะ ราคะนั้น มีน้อยลงไปหรือ ว่า มีมากขึ้นกันแน่
ท่านก็จะรู้คำตอบของท่านกันเอง ด้วยตนเองทันทีว่า ท่านได้หรือไม่ได้ อะไรจากการมาภาวนาศึกษา ตามพระอาจารย์
เอหิปัสสิโก พระธรรมเป็นสิ่งที่ตนจักรู้ได้ด้วยตนเอง
เจริญธรรม / เจริญพร


(http://pad3.whstatic.com/images/thumb/9/9d/Do-Concentration-Meditation-Step-1-Version-2.jpg/aid25447-728px-Do-Concentration-Meditation-Step-1-Version-2.jpg)


หัวข้อ: อะไร ที่ช่วยได้ ในการภาวนา การไม่ยอมแพ้ ไงละ ช่วยได้ในการภาวนา
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 04, 2016, 01:35:52 pm
อะไร ที่ช่วยได้ ในการภาวนา
การไม่ยอมแพ้ ไงละ ช่วยได้ในการภาวนา

การภาวนา ที่ให้ได้สมาธิ แท้ ๆ ก็ต้องอาศัย มานะ ด้วย แต่ มานะ จะต้องไปละในเบื้องปลาย เบื้องต้นต้องใช้
ทำไมคนเล่นเกมส์เล่นได้ทั้งวันคืน
ทำไมคนเล่นไพ่ ได้ทั่งวันทั้งคืน

เพราะความไม่ยอมแพ้ เพราะความเพลิดเพลิน เป็นแรงขับให้จิต ไม่ละความพยายาม เบื้องต้นนับว่าดี ถ้ามีในการภาวนา

ทำไม่ได้ในนาทีนี้ ก็ทำในนาทีต่อไป ทำไม่ได้ในนาทีต่อไป ก็พยายามทำต่อไป ถ้ามันเบือ่ก้เปลี่ยนลักษณะ เป็น ยืนบ้าง เดินบ้าง นอนบ้างก็ได้ และกลับมานั่ง เพราะท่านั่งเป็นท่าสากล
ดังนั้นต้องอาศัย มานะ ( ไม่ยอมแพ้ ) ช่วยในการภาวนาบ้าง

( ความหมายภาพ แม่ไก่ ไม่ได้เป็นสัตว์ร้าย หรือ สัตว์ที่สำคัญอะไร เนื้อหนังก็เป็นอาหาร ชีวิตก็ไม่ได้สุขสบายอะไร ต้องคุ้ยเขี่ยหากินเช่นกับสัตว์อื่น เช่นกัน แต่แม่ไก่ ไม่เคยยอมแพ้ เวลาเลี้ยงลูก จะกี่ตัว กี่ตัว มันก็คุ้ยให้กินก่อน เวลามีภัย จะหมู กา ไก่ ก็สู้ไม่ถอย ฉันใด

กรรมฐาน ก็คือ หนทาง (มรรค) ไปสู่เป้าหมาย วิธีการที่ถูกต้อง ยอ่มคุ่มครองบุคคลที่ภาวนาไม่ให้ผิด ไม่ให้หลงทาง ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้ไปคิดค้นเติมแต่งอะไรใหม่เข้าไป กรรมฐานก็ย่อมพาถึงจุดหมายได้ฉันนั้น
)


(http://www.doodiza.com/attach/1450996867.jpg)


หัวข้อ: สุญญัง สู่ สุญญัง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 04, 2016, 01:47:40 pm
การปรากฏ มีอยู่ ของธัมมะวังโส ขณะนี้ไม่ได้มีความสำคัญอะไร ต่อโลก ต่อ ชาติ ต่อ กลุ่มคน ใด ๆ เลย เพราะโลกนี้ มีฉัน หรือ ไม่มีฉันก็ได้
แต่การปรากฏอยู่ของฉัน มีประโยชน์เพียงท่านที่ตาม ในการภาวนาเท่านั้น ซึ่งสักวันฉันก็ต้องจากไป จากโลกนี้ เหมือนดั่งหมอกควัน
ฉันจึงไม่เคยหลงตัวเอง หรือ ความสามารถของตัวเอง ว่า
วิเศษวิโศกว่าใครๆ ใด ๆ เลย เพราะความเป็นจริง
มันเป็น สุญญัง สู่ สุญญัง เท่านั้น
รุปายตนะ สุญญัง
สัททายตนะ สุญญัง
ชิวหายตนะ สุญญัง
คันธายตนะ สุญญัง
โผฏฐัพพายตนะ สุญญัง
ธรรมายนตนะ สุญญัง


(http://static.weloveshopping.com/shop/client/000042/hugagift/PDC0045.jpg)


หัวข้อ: 10 ข้อ สำหรับผู้ภาวนาใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 07, 2016, 09:53:14 am
การภาวนา ใหม่ สำหรับผู้ภาวนาใหม่ พึงสังวรดังนี้
1. อย่าคิดว่าทำไม่ได้ ให้ดำรง ศรัทธาว่าต้องมีสักวันทำได้
2. อย่าได้ขยาด กาารตกภวังค์ การตกภวังค์ ทำให้เรามีประสบการณ์
3. อย่าได้กลัวว่าจะหลับ ในการภาวนา ถ้ามันหลับได้ก็ถือว่าดีไม่ต้องไปกินยานอนหลับ
4. ทุกอย่างมันอยู่ที่ศีล ที่มันพร่องก็เพราะว่า ศีลพร่อง สมาธิ ต้องการศีลอุโบสถ
5. ปิดวาจา เสียบ้าง อย่ามัวแต่ส่งสายตาไปข้างนอก เอียงหูคอยฟังเรื่องชาวบ้าน หรือ พูดมากเป็น คุ้ง เป็น แคว
6. บันทึกอารมณ์ ในกระดาษไว้บ้าง
7. ทุก 15 วันควรแจ้งกรรมฐาน กับครูอาจารย์ นอนที่สุดก็ควร 1 เดือน ต้องแจ้งอารมณ์บ้าง
8.อย่าขาดการแผ่เมตตา
9.อย่าขาดการสวดพระคาถา พญาไก่แก้ว
10.การขอขมา และ ขั้นตอนการเข้า การออก อย่าได้ลืมหลง
เท่านี้ก็จะสามารถพัฒนา สมาธิ ให้สูงขึ้นเป็น อริยสมาธิ ได้


(http://plants.thaika.com/wp-content/uploads/sites/11/2015/02/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7-Sacred-Lotus-Lotus-Root-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7.jpg)


หัวข้อ: อนุโมทนาแก่ทุกท่าน ที่สร้างกุศลด้วยการเจริญกรรมฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 08, 2016, 09:40:56 am
เป้าประสงค์การ เจริญกรรมฐาน ของแต่ละคนต่างกันไป
บางท่าน ก็ทำเพื่อให้จิตมีกุศลบ้าง
บางท่านก็ทำเพื่อให้เกิดความสงบใจบ้าง
บางท่านก็ทำตามเขาไปอย่างนั้นบ้าง
บางท่านก็ทำเพื่อให้มีความสุขในปัจจุบัน
บางท่านก็ทำเพื่อให้มีโชค
บาง่ท่านก็ทำเพื่อไปสู่การสิ้นทุกข์
บางท่านก็ทำเพื่อไปสู่การไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป
ท่านจะเจริญกรรมฐานเพื่ออะไร ในส่วนตัว อนุโมทนาทั้งหมด เพราะการพูดตักเตือนท่านไม่สามารถทำได้กับทุกคน จะบอกท่านละ ตรงนี้ เจริญสติ ระลึกความตาย หรือ กระทำความเพียร ให้ทุกคนก็ไม่ได้คงถ้าจะพูดสอนโดยส่วนรวมก็คงพุดได้เป็นกลาง ๆ เท่านั้น
เพราะความเป็นจริง ครูอาจารย์ได้วิมุตติ ลูกศิษย์จะได้หรือไม่ได้มันก็อยู่ที่ความปรารถนา ของเขาเท่านั้นที่เป็นตัว ทำให้เขาเจริญกรรมฐานในแบบของเขา
ดังนั้นใครใคร่เป็นเทวดา ฉันก็อนุโมทนา
ใครใคร่เป็นพรหม ฉันก็อนุโมทนา
ใครใคร่เป็นโพธิสัตว์ ฉันก็อนุโมทนา
แม้ที่สุดใครใคร่ จะเป็นพระอริยะ ฉันยิ่งอนุโมทนา
เพราะพระธรรมกรรมฐานย่อมให้ความสุขแก่ทุกระดับ ไม่ใช่ให้ความทุกข์กับผู้ภาวนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า อะไรเป็นเหตุยั้งคนให้มีเป้าหมายต่างกัน พระองค์ตรัสแสดงว่าไว้ ตัณหาอุทปาทิ การเกิดแห่งตัณหา เป็นเครืองฉุดรั้งคนให้ติดในบ่วง 3 ประการ นั่นเอง
เจริญธรรม ยามเช้า



()


หัวข้อ: ปรัชญา หรือ ศาสนา ท่านเลือกกันได้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 08, 2016, 09:56:59 am
ปรัชญา เป็นเพียงคำคมบาดใจ
ศาสนา เป็นหลักที่พึ่งให้กับใจ

ลักษณะของคนแสดงธรรมในปัจจุบันในเฟคนั้น มีอยู่สองแบบ แต่แบบที่เห็นมาก ๆ ก็คือ แบบปรัชญา

หลายคน คงจะเจอข้อความ ลักษณะเชือดเฉือนบาดใจ แล้วก็อุทานในใจว่า ใช่ มัน ต้องอย่างนี้ แล้วจากนั้นก็แชร์ พลัส กันไปเรื่อย ๆ ซึ่งลักษณะของปรัชญา เป็นลักษณะคำพูดให้คิด และให้คิดตามเหมือนกันตามอุปนิสัย ของคนออกปรัชญา ดังนั้นลักษณะ จึงเหมือนคำคม กรีดใจ แต่ไม่ได้พัฒนาอะไร เลยเพราะเป้าประสงค์ มีเพียงสัญญลักษณ์ว่าคิดได้ แต่ทำไม่ได้ หรือคิดแนวออกปฏิเสธ

ส่วนการสอนแบบศาสนา มุ่งหมายให้คนอ่านมีความสุขทันที ไม่ใช่อ่านแล้วทุกข์ และมีข้อปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนไปถึงความสุขตามระดับของตน ในลักษณาการของศาสนา ควรจะเป็นอย่างนั้น โดยที่ศาสนามีหลักการเสมอกัน 2 อย่างคือสอนให้คนเป็นคนดี และสอนให้ละความชั่ว

สำหรับพุทธศาสนา นั้นเป็นวิธีการสอนไปสู่ความสุข อันมีกุศลอย่างเดียว เริ่มตั้งแต่ กุศลความเป็นเทวดา มีความละอายใจ เกรงกลัวต่อบาป กุศลความเป็นพรหม มีสมาธิเป็นอารมณ์เป็นสุข กุศลความเป็นโพธิสัตว์ มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ต้องการให้สรรพสัตว์มีความสุข กุศลความเป็นอริยะ มีความพ้นจากสังสารวัฏเป็นรางวัล

ดังนัั้นท่านจะเลือกแบบไหน ?
ไมีมีใครว่าท่านได้ เพราะมันเป็นสิทธิเสรีภาพในการนับถือของแต่ละบุคคล บังคับกายได้ แต่บังคับจิตใจไม่ได้

ขอให้ท่านทั้งหลายยึดมั่นในคุณงามความดี ให้มากหน่อย อย่ามัวแต่สะใจ ทำความสะใจ ที่เห็นคนตกทุกข์ ได้ยากแล้วกระหน่ำซ้ำเติม กันลงไป ซึ่งไม่ใช่วิสัยของมนุษย์

ดังนั้นตื่นมาตอนเช้า รับข่าวสารแล้ว ต้องฝึกใจให้มีเมตตา กันบ้างนะจ๊ะ

เจริญธรรมยามเช้า


(http://clinicherbs.com/wp-content/uploads/2016/01/natural-therapy.jpg)


หัวข้อ: ไม่ภาวนา พุทโธ จะมี พุทโธ ได้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 13, 2016, 10:26:59 am
พุทโธ ไม่ได้อยู่ที่ใจ
และ ไม่เคยอยู่ที่ใจใครมาก่อน
ดังนั้น พุทโธ อยู่ที่การภาวนา
ถ้าไม่ภาวนา พุทโธ ก็มีไมได้
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจ
ผู้ไม่ภาวนา พุทโธ ไม่นึกถึง พุทโธ
ไม่มีทาง ที่จะมี พุทโธ


( ความหมายภาพ ไก่ แม้มีปากเล็กนิดเดียว แต่ก็มีความพยายาม คุ้ยเขี่ย หาอาหารให้เพียงพอ พุทโธ แม้มีครั้ง สอง ครั้ง สามครั้ง เมื่อ ถึงที่สุด ย่อมสมบูรณ์ ด้วย การนึก ท่อง บ่น จำ คิดถึง บริกรรม นั่นเอง )
(http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-126379-2.jpg)


หัวข้อ: เราภาวนา กรรมฐาน ทำไม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 28, 2016, 01:25:44 pm
เราภาวนา กรรมฐาน ทำไม ?
เบื้องต้น ก็ เตรียมจิตรับมือ กับเหตุการณ์ไม่คาดหมาย ที่เรียกว่า ความทุกข์นั่น เล่า จึงต้องฝึกฝนภาวนา
ความทุกข์ มีอะไรบ้าง
ความโศรก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความไม่สมหวัง ความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ความอุปายาสทั้งปวง
ว่าโดยย่อขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
การฝึกกรรมฐาน ก็เพื่อพัฒนาจิต ที่มันติดกับโลก ให้พ้นจากโลก ก็คือพ้นจากทุกข์
ดังนั้นไม่ว่าจะแก่ จะเจ็บ หรือ ตาย ตลอด ปัญหานานาประการ เมื่อเกิดขึ้นก็ไม่สามารถทำจิตใจของ มุนี ( ผู้สงบ ) ให้เป็นทุกข์ ได้เลย เพราะ มุนี ย่อมเห็นเบื้องต้นว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา อย่างนี้นี่เอง
เจริญธรรม / เจริญพร
( ความหมายภาพ พระโสดาบัน เป็นดอกบัวที่ยังบานไม่หมด แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่กี่เพลา ก็พ้นจากโลกได้ )


(http://madchima.net/kjn/pasit-dec-01.jpg)


หัวข้อ: อย่าหมิ่นบุญทาน ว่าเล็ก หรือ น้อย จงมีปีติ เมื่อได้ทำทั้งก่อนและ หลังเป็นกรรมฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 11, 2017, 02:53:19 pm
(http://mypicturegallery.net/pic003/all-other/other000011/imgs/1435798.jpg)

กว่าจะหาเงินมาได้แต่ละบาท บางคนทำงานทั้งวันได้แค่150- 300 บาท ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ บางคนต้องอดมื้อกินมื้อ ถึงจะมีเงินเก็บได้ บางคนค่าแรง 300 มีลูก 4 คน เมีย 1 คน แม่ 1 คนต้องดูแล ทุกคนก็ต้องมีความตั้งใจและรู้จักอดออม เพื่อความอยู่รอด ชีวิตก็ต้องแตกต่างกันไป ตามบุญตามกรรมที่ตนได้สร้างมาจากอดีต วันนี้ที่ฐานะแย่ ก็เพราะว่าไม่เคยใส่ใจในผลบุญ ผลทานมาก่อนนั่นเอง

ฉันเป็นพระที่ซือ้อาหารฉัน ขณะที่ไม่มีรายได้ รู้ดีว่า อย่างไม่ใช้เลยก็วันละ 20 บาท ดังนั้นฉันรู้คุณค่าของปัจจัยที่ ญาตโยม แต่ละท่านเสียสละมาช่วยเหลือธรรมทาน ฉันไม่เคยหมิ่นว่า ทำน้อย หรือ ทำมาก คนมีน้อยก็ทำน้อย คนมีมากก็ทำมาก ก็เป็นกุศลแก่ตนเอง

ดังนั้นท่านทั้งหลายอย่าได้หมิ่นบุญทานของตนเองเลย ว่า น้อย หรือ มาก ขอให้ท่านนึกถึงความปีติที่ท่านได้สละทรัพย์ฝังดิน เป็นเสบียงแก่ชีวิต ที่มีอยู่ข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะนึกไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไรในชาติต่อไป ก็ขออย่าให้ประมาท ต่อการทำบุญ หรือหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าไม่ควรทำ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องรำคาญ จงคิดถึงปิีติที่ได้เกิดมาเป็นคนมีโอกาสได้สร้างทาน ไม่ว่าจะแก่ตนเอง หรือ คนอื่นๆ ก็ขอให้มีปีติก่อนทำและหลังทำ เมื่อนึกได้ นั่นแหละคือกรรมฐาน เรียกว่า เทวตานุสตติ และ จาคานุสสติ เป็นกรรมฐานที่ควรกระทำไว้เสมอ ๆ พอกับการเจริญ เมตตานุสสติ และ มรณานุสสติ

เจริญธรรม / เจริญพร


หัวข้อ: วิเวกสัปปายะ ก็เพื่อ ขัดเกลาตนให้ละอนุสัย กิเลส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2017, 01:00:54 pm
วิเวกสัปปายะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง
อยู่แต่พอให้จิต คลายกิเลส ดัดนิสัย ทำลายอนุสัย
ตาเห็นรูป สักว่านั่นคือรูป
หูฟังเสียง สักว่านั่น คือเสียง
จมูกดมกลิ่น สักว่านั่นคือกลิ่น
ลิ้นลิ้มรส สักว่านั่นคือรส
กายกระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง สักว่านั่นคือการกระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง
ใจกระทบอารมณ์ สักว่า นั่นคือธรรมารมณ์
ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างจากตัวจากตนของเรา
เป็นเพียงแต่สักว่า ธาตุตามธรรมชาติ ที่เกิดดับ เกิดดับ เท่านั้น
ใจรู้อยู่อย่างนี้ ยังไม่เรียกว่าสูง เพราะยังมีมานะ ว่าเรารู้อยู่
จึงต้องวางจิตวิเวกเป็นสุญญตา เป็นปหิตา และ เป็นอัปปณิหิตาสมาบัตินั่นเอง
ใจที่รู้ ก็เป็นสภาพรู้ สิ่งที่เห็นก็เป็นเพียงสภาวะที่เห็น มีแต่ความเกิดความตั้งอยุ่ ความดับไปที่แปรปรวน จิตที่รู้ไม่ได้แปรปรวน เป็นแต่เห็นดั่งสายน้ำที่ไหลพัดออกสู่ทะเล ที่ไม่มีจุดหมายปลายทางเป็นเพียงแต่ว่า ธาตุเกิด ธาตุดับ ที่นับไม่ทันเท่านั้น
การนับไม่ได้มีความจำเป็น เพราะพ้นจากสภาวะด้วยการรู้ สิ่งที่รู้ก็คือ รู้ว่าทุกข์คืออย่างไร รู้ว่าทุกข์เกิดแล้วอย่างไร รู้ว่าทุกข์มีหน้าที่อย่างไร รู้ว่าเหตุแห่งทุกช์คืออะไร รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์ได้เกิดแล้วกับเราอย่างไร รู้ว่าความสงบระงับจากทุกข์เป็นอย่างไร รู้ว่าความสงบระงับจากทุกข์เกิดขึ้นแล้วอย่างไร รู้ว่าความสงบระงับจากทุกข์มีหน้าที่อย่างไร รู้ว่าหนทางไปสู่สภาวะพ้นจากทุกข์คืออย่ารงไร รู้ว่าหนทางไปสู่สภาวะพ้นจากทุกข์ทำได้แล้วอย่างไร รู้ว่ามรรคสมังคีที่สุดในลัญจกร นั้นเกิดขึ้นตั้งอยู่อย่างไร การไหล การหมุน การเวียน การเกิด การดับ การตั้งอยู่แห่งพรหมจรรย์ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นราก เป็นเหง้า กิจแห่งพรหมจรรย์ มีอยู่ หรือ ไม่มีอยู่ สภาวะที่รู้ พ้นจากการปรุงแต่ง เข้าสู่ สภาวะ อนุโลม 3 ครั้ง ปฏิโลม 3 ครั้ง ก็ทำลายกงล้อแห่งเวลา ไม่มีกาลต่อไป .......


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของธัมมะวังโส

(http://www.watpanamjone.org/Image/Cove%20Mo027.jpg)


หัวข้อ: อัศจรรย์ ของ ข้าพเจ้า ก็คือ วิชากรรมฐาน เพราะเป็นทางไปสู่ อริยะผล
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2017, 01:04:48 pm
อัศจรรย์ของข้าพเจ้าในชีวิตนี้ ที่สุดก็คือ วิชากรรมฐาน หรือ อริยมรรค เพราะการได้ วิชากรรมฐานที่ถูกต้อง ย่อมทำให้จิตของผู้ภาวนา ได้ถึง ธรรมแก่นสารที่สุด เรียกว่า อริยผล นั่นเอง โชคดีที่ข้าพเจ้าได้ครูอาจารย์ มากสามารถ มาถ่ายทอดวิชากรรมฐาน และเป็นมหาลาภอย่างยิ่งคือ ข้าพเจ้ายังมีกายที่ยังสามารถทำตามวิชากรรมฐานได้

การปฏิบัติตามวิชากรรมฐาน จึงต้องมีแบบแผนตามที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสสอนไว้ และกรรมฐาน กองแรกคือ พุทธานุสสติกรรมฐาน กองที่สอง คือ อริยสัจ กองที่ 3 คือ มรรคสมังคี กองที่ 4 คือพระอนัตตา ดังนั้นแค่ เดินได้ 4 กองนี้ ก็มีที่สุดแห่งพรหมจรรย์ เช่นกัน

เจริญธรรม / เจริญพร


(https://lh3.googleusercontent.com/-osBq4s_Gync/U7YMJ4N2yaI/AAAAAAABGuU/GO5xUUNlgbc/w506-h737/57%2B-%2B1)


หัวข้อ: คุณเป็นคนสร้างสัมพันธ์ กับฉันเอง ไม่ใช่ฉันเป็นผู้สร้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2017, 01:07:24 pm
คุณกำลังมีความสัมพันธ์ กับ ฉัน ตอนนี้ แบบไหน ?

1.คนศึกษาธรรมทั่วไป / รู้จัก / ไม่รู้จัก
2.ศิษย์ทั่วไป / อุปถัมภ์ / ไวยาวัจกร
3.ศิษย์สายตรงขึ้นกรรมฐานด้วย
4.ศิษย์กัจจายนะ / ศิษย์สืบทอดธรรม

ระยะห่าง ฉันไม่ได้เป็นคนสร้าง คุณเป็นคนสร้างกันเอง เพราะใจของคุณรับเท่าไหน ย่อมกระทำกับมาที่ฉันเท่านั้น ดังนั้นคุณ ก็ศึกษากับฉันได้เท่านั้น ไม่เกินขอบเขตที่ให้ไว้

ดังนั้นจึงมีบางท่านได้รับคำตอบ ชี้แนะมาก บางท่านไม่ได้รับคำตอบชี้แนะ ก็เป็นเพราะเหตุผลอย่างนี้ นั่นเอง เพราะฉันไม่ได้เป็นบุคคลสาธารณะ อันท่านทั้งหลาย อยากจะมาพบก็ได้พบ เพราะหลายสิบปีมานี้ คนที่อยากพบฉันไม่ใช่ว่าจะได้พบ ฉันเป็นพระที่พบได้ยาก ไม่ได้พบได้ง่าย ดังนั้นสมาชิกส่วนใหญ่ ติดตามกันมา 10 ปีแล้วยังไม่ได้พบกัน ก็มีจำนวนมาก

คุณเลือกได้ว่าจะเพิ่มระดับอย่างไร ไม่ใช่ฉันเป็นผู้เลือกระดับให้คุณ


(https://i.ytimg.com/vi/gTpVw4nb5xw/hqdefault.jpg)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2017, 03:44:19 pm
ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 24, 2017, 08:02:10 pm
(http://madchima.net/2017/pa2560-03.jpg)

ไม่เกี่ยวกัน ว่าฉันจะอยู่ที่ไหน เพราะการปฏิบัติภาวนานั้น เป็นเรื่องของตน ฉันจะอยู่ที่ไหน ท่านที่ต้องการภาวนา ก็ต้องภาวนาให้ได้ เพราะสักวันหนึ่ง ฉันก็ต้องจากพวกท่านทั้งหลายไป อย่างเป็นทางการ สิ่งที่ฉันทำวันนี้ ก็มีเพียงข้อความให้ไว้พอเป็นแนวทาง สำหรับท่านที่คิดจะเดินทางตามมา

หลายคนอาจจะลังเล เพราะเกรงว่า หนทางของการภาวนา นั้นจะลำบากลำบน ที่จริงมันก็ใช่ ยิ่งภาวนาสูง ก็ยิ่งลำบาก เพราะว่า จิตยิ่งสูง ก็ยิ่งเย็น คำว่า เย็นก็หมายความ ยิ่งหนาว ยิ่งเปล่าเปลี่ยวอ้างว้าง เหมือนคนปีนเขา เอเว่อร์เรสต์ ที่หาคนไปสู่ยอดด้วยกันได้ยาก

ดังนั้นหลายสภาวะ ที่ฉัน ต้องเข้าสู่ ความอ้างว้าง โดดเดี่ยว หัวเดียว กระเทียมลีบ มองหาที่ปรึกษาไม่ได้ เพราะว่า ธรรมภาวนามาถึงระดับสูง ที่ต้องทิ้งโลก เหลือ เพียงมุ่ง ปรมัตถ์ ครั้นพอเข้าปรมัตถ์ แม้อยู่ในโลก ก็ชื่อว่า ไม่ติดโลก เพราะกลไกของโลก ที่ประกอบด้วยตัณหา นั้นไม่มีสำหรับผู้ภาวนา ขั้นสูง

ดังนั้นเมื่อเข้าสู่สภาวะ ที่สูงยิ่งขึ้นไป ขึ้นไป จึงไม่มีใครเดินตามมาด้วย ดังนั้นอย่าได้มัวมองใครจะตามหรือไม่ ตาม เลย สำหรับผู้ภาวนาขั้นสูง ที่มีความจิตมุ่งหมาย ละภพชาติ ในปัจจุบันนี้ ไม่ต้องการเกิดอีกต่อไป สำหรับฉันก็คือประเภทนี้

ดังนั้น ฉันมามัวเสียเวลา พูดคุยกับคนที่ไม่รู้เรื่อง มาอธิบายเหตุผลกับคนที่ไม่สนใจเรื่อง การดับกิเลสเลย พูดตรง ๆ ก็อย่างนั้น ใครจะแสวงหาลาภยศ ก็เชิญตามสบาย สำหรับฉันขอเป็นคนโง่ ที่ไม่เอา และไม่อยากมีอะไรทั้งนั้น ไม่ได้ต้องการให้ใครมาจดจำฉัน ในรูปลักษณ์ต่าง ไม่มีความหมายอะไรเลย แม้การยกย่องฉัน ก็เท่านั้น เพราะท้ายที่สุด ฉันก็ต้องจากไป อย่างเลขศูนย์ คือ ไม่มีอะไรเลย

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงอย่าท้อแท้ ที่ได้เดินมาสู่หนทางแห่งอริยะมรรค นี้เลย


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนาของ ธัมมะวังโส


หัวข้อ: เรื่องภายนอก เรื่องภายใน ต้องแยกกัน จัดเวลาให้เป็น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2017, 12:55:05 pm
เรื่องภายนอก เรื่องภายใน ต้องแยกกัน จัดเวลาให้เป็น บางคนเอามายุ่งรวมกัน จนเรื่องภายในเป็น เรื่องภายนอก เรื่องภายนอก มาเป็นเรื่องภายใน ( ไม่เข้าใจใช่ ไหม ? )
เรื่องภายใน เป็นเรื่องภายนอก
คือ จิตเป็นทุกข์ ( ภายใน ) ก็แสดงออกทางกาย วาจา ด้วยการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เป็นต้น
เรื่องภายนอก เป็นเรื่องภายใน
คือ ภายนอกเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็ดึงเข้าสู่ใจ ยึดมั่นถือมั่น ให้ใจเป็นทุกข์
สุดท้าย ก็รวมทั้งนอกทั้งในให้เป็นทุกข์ยิ่งขึ้น
เรื่องบางอย่างเราแก้ไม่ได้ บางอย่างก็แก้ได้ สำหรับภายนอก
แต่เรื่องภายในจิต นั้น สามารถแก้ไขได ้เริ่มตั้งแต่ รู้ละ มีสติ สร้างสัมปชัญญะ ปล่อยวาง เห็นตามความเป็นจริง สร้างจิตเมตตา ไม่สร้างเรือน และ ละอวิชชา
ดังนั้นอย่า อีรุงตุงนัง ขังขอบ ให้ตนเอง วนเวียนอยู่ด้วยความคิดที่ไม่ยึดมันเกาะ อยู่ในเรื่องเดิม ๆ วังวนของตัณหา เลย
จะหลุดได้อย่างไร ?
ก็ภาวนา พุทโธ บ้าง เจริญ สติ บ้าง สวดมนต์บ้าง สวดคาถาพญาไก่แก้วบ้าง เจริญกรรมฐานบ้าง เจริญเมตตาบ้าง เท่านี้ทำได้ไหม ?

(http://play.kapook.com/files/play/photo/original/13/61965_2.jpg)


หัวข้อ: การภาวนา ต้องเข้าใจ สถานะ ด้วย
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 28, 2017, 01:10:44 pm
การภาวนา ต้องเข้าใจ สถานะ ด้วย
คุณภาวนา พุทโธ ก็จะได้ พระโสดาบัน และ พระสกทาคามี แต่ไม่ได้เป็น พระอนาคามี และ เป็นพระอรหันต์ ดังนั้นพุทโธเป็นการภาวนา เบื้องต้น ไม่ใช่ท่ามกลาง หรือ ที่สุด
วันนี้แค่ พุทโธ ยังทำกันไม่ได้ดี เลย จะไป นิพพาน กันได้อย่างไร เพราะเวลาเข้าไป ตัดสมุทเฉทปหาน กิเลสตรง ๆ นั้น คุณไม่มีกำลังใจ ในการภาวนา คุณจะไปรอดกันหรือ ดังนั้น จงอย่าท้อแค่ ภาวนาเริ่มต้น ทุกข์ ในสังสารวัฏ ยังมีรอพวกคุณกันอีกมากมาย หลากเรื่องหลายพันร้อยแสนหมื่นล้านแห่งความทุกข์
ตราบใดที่พวกเธอทั้งหลาย ยังไม่ได้มาเรียน อานาปานสติ จากฉัน ๆ ก็ยังวางใจไม่ได้ว่า พวกเธอทั้งหลาย จะไปถึงจุดแห่ง อรหัตมรรคได้
ปัจจุบัน สอนกันให้หลงทาง เป็น พระอริยะบุคคลด้วยการคิดเอาเอง นับว่าเป็นเรื่องแย่มากในปัจจุบัน แต่สายกัจจายนะนั้น ต้องพิสูจน์ตนด้วย ผลสมาบัติ เท่านั้น

(http://madchima.net/2017/walkwon-01.jpg)


หัวข้อ: กรรมฐาน ไม่ได้อยู่ที่ตำรา และ ครูอาจารย์ เท่านั้น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 30, 2017, 07:04:33 am
กรรมฐาน ไม่ได้อยู่ที่ตำรา และ ครูอาจารย์ เท่านั้น แต่อยู่ที่ท่านทั้งหลาย ต้องหมั่นทบทวนภาวนาด้วย
ถ้าไม่หมั่นทบทวน ภาวนา มันจะไปสำเร็จ อะไร
มันสำเร็จอะไรไม่ได้ มันมีแต่ความขี้เกียจที่ลอยอยู่
และที่สำคัญ มันเท่ากับ ท่านทั้งหลายได้แค่คิดว่าจะทำ แต่ไม่เคยทำตามทีคิด
พอทำตามที่คิด เจออุปสรรคเล็กบ้าง ใหญ่บ้างก็รู้สึกท้อ แทนที่จะรู้จักฟันฝ่าอุปสรรค เสียบ้างป่วยนิดหน่อย ก็หยุดภาวนา แล้วมันจะได้ผลภาวนาได้อย่างไร
ในฐานะครูอาจารย์ คงเตือนท่านทั้งหลายได้เท่านี้ อายุฉันไม่ได้มีมากนะ หากฉันยังอยู่แล้วยังทำไม่ได้ ถ้าฉันไม่อยู่แล้ว โอกาสที่จะทำได้นั้น สัก 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
จงรีบขวนขวายภาวนา และแจ้งกรรมฐาน ในขณะที่ครูอาจารย์ ยังมีลมหายใจเข้า และออกอยู่
เจริญพร


(http://madchima.net/kjn/totallpage60-1.jpg)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 16, 2017, 10:31:05 am
วันนี้กาลเวลา ฉันหมดไป ด้วย เรื่องการตอบคำถาม แต่ละท่าน จำนวนมาก ขอให้ทุกท่าน จงตระหนัก ในกุศล แห่งจิต
เมื่อจิต มีกุศล จิตก็จะมีความสุข
ยามใดที่ท่าน มีความสุข ยามนั้นผลแห่งกุศลได้เกิดขึ้น
ยามใดที่ท่าน มีความทุกข์ แสดงว่าท่านขาดกุศล
กุศลทำได้หลายวิธี
1. สวด ท่อง บ่น ในพระคาถา และ พระสูตร
2. ดำริคิด อยู่แต่ใกุศล ฟังธรรมบ้าง พิจารณาธรรมบ้าง
3. ภาวนา พุทโธ ๆๆๆ ให้มากขึ้น
4. เข้าผลสมาบัติ
5. ดำรงในสุขสมาธิ
กาโล ฆสฏิ ภูตานิ สัพพา เนว สหัสตนา
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์ กับทั้งตัวมันเอง
เจริญพร

(https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/20841189_298239597319098_4878570400555851872_n.jpg?oh=df797299786d8282648aba2e43abf028&oe=5A240BF4)


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ สิงหาคม 16, 2017, 08:17:46 pm
ขออนุโมทนาสาธุ

อัศจรรย์ๆๆครับ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 18, 2017, 12:01:02 pm
แต่ละคน ก็มีความทุกข์ ไปคนละแบบ
บ้างก็ทุกข์ เพราะการทำมาหากิน
บ้างก็ทุกข์ เพราะคนรักจากไป
บ้างก็ทุกข์ เพราะคนที่รักหักหลัง
บ้างก็ทุกข์ เพราะความรับผิดชอบ ต่อครอบครัว
บ้างก็ทุกข์ เพราะความเป็นผู้มียศ มีทรัพย์
บ้างก็ทุกข์ เพราะความเจ็บป่วย
บ้างก็ทุกข์ เพราะความตายทีกำลังจะมาถึง
และอีกสารพันปัญหา ที่แต่ละท่าน ทุกข์ และทะยอย เล่าให้ฉันฟัง ให้ฉันตอบ เพื่อท่าน จะได้ไม่มีความทุกข์ หรือ ระบายความทุกข์
วันหนึ่งของฉันช่วงนี้จึงหมดไปกับการ ปลุกปลอบ ให้กำลังใจคนที่ทุกข์ บ้างก็ยังเหนียวแน่น ในธรรม บ้างก็ขอลาจาก กันไป บ้างยังสาระวนทุกข์เหมือนเดิม
จิตตัง ทันตัง สุขา วหัง
จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
หากท่านทั้งหลายไม่ฝึกฝนจิต ไม่ดูลมหายใจเข้าออก ไม่หมั่นภาวนาพุทโธ จิตของท่านเวลาที่เผชิญกับความทุกข์ มันจึงอ่อนแอ ปวกเปียก รันทด หดหู่ มองไม่เห็นทาง อะไร เลย นอกจาก ทุกข์ กลัดอก กลัดใจ ยิ่งขึ้น
ยามจะมี ก็ทุกข์ คนมี ก็ทุกข์ไปอีกแบบ
ยามจะจน ก็ทุกข์ คนไม่มี ก็ทุกข์ไปอีกแบบ
อย่างนี้ไม่จบสิ้น เพราะตัณหา คือ ผู้สร้างภพ ( ทุกข ์ ) นั่นเอง
ดังนั้นควรจะมองตามความเป็นจริง ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา มันเป็นธรรมดา ที่ใคร ๆ ก็ต้องเป็น ต้องมี รักษาจิต ให้แจ่มใส เจ็บ ก็พุทโธ ไปเรื่อย มัวแต่ไปทุกข์มันก็ไม่หายเจ็บ โง่สองชั้น ซวยสองต่อ กายก็เป็นทุกข์ จิตก็เป็นทุกข์ แถมทำให้วิญญาณ เป็นทุกข์ด้วยอีก
เกิดอีก มันก็ทุกข์ อีก แล้วทำไม ไม่เข็ดหลาบจำ มันเป็นซะอย่างนี้ คนเรา หลงตัว กลัวตาย หลงกาย ลืมแก่ หลงผัวหลงเมีย ลืมพ่อลืมแม่ หลงโง่ทำขั่ว ลืมนรกภูมิ
ดังนั้น ถ้าไม่อยากทุกข์ ก็ หาความสุข ด้วยการภาวนาทางจิตกันบ้าง พุทโธ พุทโธ ไป ดูลมหายใจ ดูลมหายใจออก มองเห็นตามความเป็นจริง อย่างน้อยได้สุข ทัศนะ เบื้องต้น หรือ ได้สมาธิ ก็ยังมีสุขสมาธิ เป็นเพื่อน บ้าง ชีวิต มันจะได้ทุเลาลง
บัณฑิต ย่อมกระทำความไม่หวั่นไหว ให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ความไม่หวั่นไหว ( อเนญชา ) มิได้เพราะมองเห็นตามความเป็นจริง ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ในเบื้องต้น
ความไม่หวั่นไหว จักมีได้ก็ต้อง สวด ท่อง บ่น สาธยาย เจริญสติ ตามดูระลึกรู้ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก มีพุทโธ ๆๆๆๆๆ อย่างนี้ ไปด้วย จักทำให้มีความสุขในเบื้องต้นได้
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน ในกาลทุกเมื่อเทอญ
เจริญพร
(http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2317001)
( เกี่ยวกับภาพ ภาพนี้มองเห็น ธรรมสองอย่าง คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ส่วนความตั้งอยู่ ผู้มองเห็น จักรู้กาลทั้งสาม การรู้จักกาลทั้งสาม จะมีประโยชน์ ในขณะ แห่งอนุโลม และ ปฏิโลม )


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 02, 2017, 01:15:50 pm
"เมื่อก่อน ที่ฉันเรียนธรรมะ ไปฟังธรรมะ ไปร่วมปฏิบัติ ธรรมที่สวนโมกขบ้าง วัดชลประทาน สวนอิทัปปัจจยตา และหรืออีกหลายที่ ๆ ไป ฉันมักตื่นเต้น เสมอ ๆ มีความยินดี ว่าเราเป็นนักปฏิบัติธรรม นักภาวนา  หลายครั้งที่ใช้วาทะ ว่าเราเป็นผู้ภาวนา และ พยายามให้คนรู้ว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติภาวนา เป็นชาวธรรม ไปที่ไหน ต้องกล่าววาทะ ทางธรรม เสมอ ๆ บางครั้งจนลืมที่จะฟัง คนอื่นพูดให้ฟัง มันมีความกระหยิ่ม ยิ้มย่องว่า เรานีเลิศ ด้วยคุณธรรม จึงมีวาทะ ทางธรรมเป็นอย่างมาก พูดครั้งหนึ่ง คนนั่งฟัง เป็นร้อย บางครั้งร่วมพัน ทุกคนฟังฉันพูดอย่างเงียบหลาย ชั่วโมง เป็นเช่นนี้หลายครั้งที่ได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรม แสดงธรรม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน หน่วยงานราชการ สถานที่การศึกษา วัด สถานที่จัดกิจกรรม ทางพุทธศาสนา จนฉันติดกับ เหล่ามาร ไม่รู้ตัว และเพลิดเพลิน กับวาทะ ที่เรียกว่า ธรรมะ ในขณะนั้น จนมีความรู้สึกว่า เรารู้มากกว่า คนอื่น พอไปเจอคนที่รู้มาก ก็มีความรู้สึกว่า เรารู้น้อยกว่า คนอื่น พอไปเจอคนที่พอกัน ก็มีความรู้สึกว่า เราเสมอเขา ความรู้สึกเหล่านี้ มันหลอกเราหลายชั้น ด้วยวาทะ บ้าง ด้วยความเข้าใจไปเองบ้าง ยามที่นักรบไม่เคยเข้าสู่สงคราม จริง ๆ ก็คิดว่าตนเองเก่ง เป็นเช่นนี้จริง ๆ พอฉันได้เข้าสถานะ ที่ต้องต่อกรกับกิเลส ตรง ๆ มี ราคะ โทสะ และ โมหะ เหล่านี้ ตอนนั้นฉันจึงรู้ถึงสิ่งที่ฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่า แท้ที่จริง ที่ฉันรู้มาตลอดนั้น มันเป็นความหลง เมื่อ ราคะเข้ามา ก็ต้านทานไม่ได้ เมื่อ โทสะ เข้ามาก็ต้านทานไม่อยู่ เมื่อโมหะ ก็ต้านไม่ไหว เมื่อมันมีมาก ๆ ก็ถึงวิกฤต ความรุ่มร้อน นอนก็เป็นทุกข์ นั่งก็เป็นไฟ ยืนอยู่ ทุรนทุราย เดินพลุ่นพล่าน เพราะไฟราคะ โทสะ โมหะ มันแผดเผา สิ่งที่ฉันรู้มาเป็นเพียงแค่คำปลอบใจ สำหรับฉันเท่านั้น จริง อยู่ถึงฉันไมไ่ด้แสดง ออก ว่ามีราคะเข้าบังตาบังใจ ว่าถูกเพลิงโทสะครอบงำ หลงทางเพราะโมหะ แต่ ใจฉันลึก ๆ นั้น รู้สึกถึงความพ่ายแพ้ ต่อเหล่ามาร จนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เพราะพลังแห่งมาร สรรพวิชา ทั้งหลาย แทบจะใช้ไม่ได้เลย คำสอนครูอาจารย์ ที่ติดตามฟัง มาหลายปี นึกไม่ออก ว่าต้องใช้อย่างไร ทำอย่างไร แต่อาจจะเพราะมีวาสนาอยู่บ้าง ที่ฉัน นึกออก มีเพียงอย่างเดียว ขณะนั้น  คือ พุทโธ พุทโธ พุทโธ เท่านั้น ไม่มีวิชาอื่น ๆ ที่ฉันจะนึกออก เลยในยามที่ฉันต้องเผชิญเหล่ามารทั้งหลาย ที่มันราวี กลุ้มรุมจิตใจ ที่ร้อนรน กระสับกระส่าย ตอนนั้นฉันทำได้แค่ ฉันนั่งนึก นอนนึก ยืนนึก เดินนึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไปอย่างนั้น ทั้่งวัน ทั้งคืนเป็นเวลา อยู่หลายวัน จนถึงจุดหนึ่ง ฉันก็รู้ว่า สิ่งที่ฉันรู้มานั้นทั้งหมด เป็นเพียงเหตุปัจจัย ไปสู่เหตุปัจจัยหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยหนึ่ง เกิด เหตุปัจจัยหนึ่งก็ดับไป เมื่อเหตปัจจัยหนึ่งดับ เหตุปัจจัยสองก็เกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยสองเกิด เหตุปัจจัยสองก็ดับไป และ เหตุปัจจัยอื่น ๆ ก็เกิดต่อมา ผลการระลึกถึงพุทโธ ในวันนั้น ทำให้ฉันไม่ค่อยพูด และพูดน้อยลง และไม่เคยเรียกตัวเองว่า ชาวธรรม หรือ นักธรรม หรือผู้ภาวนา ตั้งแต่นั้นมา สิ่งที่ฉันได้ในขณะนั้น คือการวางจิตเป็นกลาง ไม่ดีเลิศ ไม่ต่ำต้อย ไม่เสมอใคร เพราะไม่มีใครจะเปรียบ และไม่ไปเปรียบเทียบกับใคร เพราะ ตัวฉันเองรู้ความจริงว่า ฉันก็เป็นเพียงเหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถ้าจะให้ฉันสอนจริง ๆ แล้วก็สอน แค่ พุทโธ นั่นแหละ ไม่มีอะไรมาก ไม่ต้องรู้อะไร มาก ที่จะต้องรู้ คือ จะต้อง รู้ พุทโํธ อย่างต่อเนื่อง ฉันไปที่ไหน ในตอนนี้ล้วนแล้วเป็นเพียงแค่ผู้ฟัง เท่านั้น  ....."


(http://madchima.net/2017/pansa60/pansa-23.jpg)

ข้อความส่วนหนึ่งจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: suchin_tum ที่ กันยายน 02, 2017, 09:30:29 pm
 like1ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 25, 2017, 10:14:52 am
อย่ามัวแต่หลงเพลิดเพลิน ในเสียงสรรเสริญ ใด ๆ เลย เพราะ มานะสังโยชน์ นั้นทำร้ายสัตว์ที่เกิดมา ให้เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ผู้มีปัญญา พึ่งละ มานะทิฏฐิ ว่า นี่เรา นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา นี่เป็นตัวเป็นตนของเรา เสียเถิด
ดูลมหายใจเข้า ดูความสงบตอนหายใจเข้า จดจำไว้
ดูลมหายใจออก ดูความสงบตอนหายใจออก จดจำไว้
ถ้าไม่จดจำ ลมหายใจเข้าที่มีความสงบ ลมหายใจออกที่มีความสงบ ก็ต้องทำบ่อย ๆ เพราะการจดจำลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่สงบ นั้นมีความสำคัญ ต่อการเจริญภาวนามากอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสสอนให้เรา รู้ ( ปชานาติ ) ก็คือการจดจำลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่สงบ ไม่ว่า จะยาว หรือ สั้น จะหยาบ หรือ ละเอียด ก็เป็นลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่สงบ เป็นเพียงแต่สักว่า ลมหายใจเข้าที่ต้องจดจำ ลมหายใจออกที่ต้องจดจำ
การจดจำของสติ ขณะนั้น มีผลให้เกิด สุขสัญญา( จำได้ว่าสุข ) และ ลหุสัญญา ( จำได้ว่า เบา )
ถ้าใครจำได้ว่า สุข จำได้ว่า เบา เขาก็ควรศึกษาในลมหายใจเข้า ในลมหายใจออก ที่หยาบ ที่กลาง ที่ละเอียด ที่ประณีต ที่ใกล้ ที่ไกล ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั้งที่เป็นสภาคารมณ์ ( ร่วมกับ การปรุงแต่ง )
ลมหายใจเข้า มีความสงบ ก็เป็นประโยชน์แก่กาย
ลมหายใจออก มีความสงบ ก็เป็นประโยชน์แก่กาย
เมื่อกายได้ประโยชน์ กายก็สงบระงับ ลมหายใจเข้าก็ดับไปกับกายนั้น ลมหายใจออกก็ดับไปกับกายนั้น มีเพียงจิตรู้สุข จิตรู้เบาเฉพาะหน้าในที่นั้น แจ่มแจ้ง
ผู้ภาวนาพึงศึกษา จิตที่แจ่มแจ้ง ในเฉพาะหน้านั้น ๆ ที่มีปราโมทย์ ( ยินดี ) ทีมีปีติ (อิ่มใจพอใจ ) ที่มีสุข ( สุขหนอ) ที่มีอารมณ์เดียว ขณะนั้น อย่างถ่องแท้ พระพุทธเจ้าใช้คำว่า สิกขติ ( ย่อมศึกษา ) สภาวะขณะนั้น เพราะสภาวะ นั้นอาศัยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อย่างนี้ เรียกว่า การเข้าไปศึกษา รู้แจ้ง เห็นจริง ในกองลมทั้งปวง ที่มีเนื่องด้วยกาย ทำแค่นี้ ก็เรียกว่า สติไปในกาย กายมีอยู่สักว่าเป็นเครื่องระลึก จิตมีอยู่สักว่าได้กายเป็นเครื่องระลึก กายนี้ จิตนี้ก็มี กายนี้ไม่มี จิตนี้ก็ไม่มี เมื่อบุคคลตามรู้ ลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่่สงบ ชื่อว่า ปชานาติ เมื่อบุคคลตามดูสภาวะ ที่สงบ อันเกิดที่กายด้วยการเข้าไปประจักษ์ ความจริง ว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็เป็นกองแห่งกาย เพราะมีลมหายใจเข้า เพราะมีลมหายใจออก จึงมีจิตที่สงบ จิตที่สงบมีได้ เพราะความยินดีในกองลม อย่างมีสติ สุขที่เกิด เรียกว่า สุขสัญญา ลำดับที่หนึ่ง ความเบาที่เกิดเรียกว่า ลหุสัญญา ลำดับที่หนึ่ง ........
( ยังมีต่อ )
เจริญธรรม / เจริญพร


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 23, 2017, 02:16:54 pm
(http://madchima.net/2017/2017-4.jpg)
สำหรับ ศิษย์ทุกคนฝากไว้ คำสอน ของครูอาจารย์ ในความทรงจำสำหรับ การภาวนา
1. อย่าทิ้ง การสวดเจริญ คาถา พญาไก่แก้ว (อันนี้สำคัญมาก)
2. อย่าทิ้ง การสวด พุทธคุณ ใครสวดเจริญได้ วันละ 108 ขออนุโมทนา กุศล
3. อย่าทิ้ง การภาวนา พุทโธ ถ้ายังไม่ได้ อัปปนาจิต
4. อย่าทิ้ง การดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ให้กระทำทุกวัน ไม่ต้องรอจบ พุทธานุสสติ ก่อนถึงจะดู มีเวลาว่างเว้น ไม่ฟุ้งซ่านกับ เรื่องโลก เกินไป ก็หมั่นระลึก ติดตาม ดูลมหายใจเข้าออกให้เป็นนิสสัย
5.อย่าละขาดจากการมี ศีล รักษา ศีล
6.อย่าขาดการทำบุญกับเนื้อนาบุญ
7.ทบทวนกรรมฐานบ้าง ตามโอกาส
8.เว้นการคบคนฟุ้งซ่าน
8 ข้อนี้ เป็น คุณธรรมพื้นฐาน ของศิษย์ ไก่เถื่อน เบื้องต้น


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 23, 2017, 02:18:24 pm
ถาม ตอนนี้ชีวิตผม พบกับความลำบาก มากครับ มีภาระมากขึ้น จนรู้สึกว่า ภาระที่กระทำ นั้น น่าเบื่อ ต้องการหนีออกไปให้พ้น แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าหนีออกไป คนเกี่ยวข้องก็จะเดือดร้อน กัน ซึ่งทำให้ผมไม่มีเวลาภาวนาอย่างที่ พอจ สอนเลยครับ
ขอบคุณครับ
ตอบ คำถามแบบนี้ ฉันอ่านมาจนบัดนี้ 15 ปีแล้ว ก็ยังมีให้อ่านเรื่อย ๆ อาจจะเป็นเพราะว่าฉัน เป็นศูนย์ย่อยรับเรื่องที่หลายท่านกลัดกลุ้มแล้ว ก็ต้องเล่าสารทุกข์สุขดิบ ให้ฉันฟังกัน ที่จริงคำถามนี้ จากประสบการณ์ แล้ว รู้ว่า พวกท่านไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่ที่จริงต้องการให้รู้ พอจ รู้ว่า ตอนนี้ลำบาก เพื่อไปสู่ข้ออ้างอื่น ๆ
ขอตอบคำถามนี้เป็นสองระดับ นะ
ระดับที่ 1 เป็นคำตอบของคนที่ยังเป็นปุถุชน ดำเนินชีวิตอย่างปุถุชน
สำหรับเรื่องของชีวิต และความทุกข์ที่ประดังเข้ามานั้น เป็นไปตามวัย ในวัยเด็ก ก็รับผิดชอบน้อย
ในวัยหนุ่มสาว ก็รับผิดชอบ ขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง
ในวัยทำงาน ก็รับผิดชอบ ขึ้นอีกหน่อย
พอมีครอบครัว ก็ต้องรับผิดชอบ เต็มตัวเพราะบ่วง 3 บ่วง มันถูกสวมทันที ต้องมีภาระในการเลี้ยงดู สามี ภรรยา และต้องเพิ่มไปดูแล อีกครอบครัว ของแต่ละฝ่ายด้วย ถ้ามีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง อ่อนมา ภาระก็จะเกิดไปตามที่แบก ถ้าเป็นทั้งสองฝั่ง ก็ต้องแบบหนักมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า ทุกข์กลัดกลุ้มมันมีมากขึ้น หนักขึ้น ตรงคำว่า ครอบครัว อันอาศัย ความรัก เป็นที่ตั้ง ชีวิตขาดความอิสระ เพียงเพื่อแลกมา ซึ่งคำว่า ดูแล กตัญญู
ถ้าหากขาดหลักธรรม ยึดเหนี่ยว กันทั้งหมดมีแต่ผู้แบกภาระมีหลักธรรมคนเดียว อันนี้นับว่า หนักหนาสาหัส
ภาระมีไปตามวัย ยิ่งสูงอายุ ก็ยิ่งมีคนเจ็บ คนแก่ และคนตาย ให้เห็นมากขึ้น ให้กระทบมากขึ้น ดังนั้นจึงได้เห็นเรื่องเหล่านี้เป็นประจำ เพราะอายุเรามากขึ้น
หลายท่าน ต้องดูแลตนเอง พยายามหาเลี้ยงปากท้องตนเอง แต่เมื่อคนรอบข้าง เข้าถึงความชรา และความเจ็บ แน่นอน คนที่อยู่รอบตัว ย่อมนึกถึงคนที่สบายและดีที่สุด ที่สมควรมารับภาระ ตามเชื้อสายก็ต้อง ลูก หลาน ญาต มิตร ไปตามลำดับนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นมากดดัน แต่ละท่านให้ต้องวิธีการที่จะอยู่รอด และ สบายขึ้นไปตามอุปนิสัยของตน
ที่นี้ความลำบาก สบาย หรือ ทุกข์ ที่กลัดกลุ้ม มันก็มีหลายแบบจำแนกไปตามแบบของแต่ละคน
อันดับที่หนึ่ง ไม่มีเงิน ก็ต้องแสวงหาเงิน
อันดับที่สอง ไม่มีคนช่วยแรง ก็ต้องแสวงหาคนช่วยแรง
อันดับที่สาม ไม่มีคนช่วยรักษา ก็ต้องแสวงหาคนช่วยรักษา
อันดับที่สี่ ไม่มีเห็นใจ ก็ต้องหาคนเห็นใจ
จะกี่แบบ กี่ชนิด ก็มีแค่ สี่แบบนี้เท่านั้น
ทุกข์ อันดับที่ 1 - 3 ฉันจะไม่พูดเพราะไม่ใช่ หน้าที่ของฉัน มันเป็นหน้าที่ ของผู้บริหารประเทศชาต ผู้ปกครองประเทศจะทำนุบำรุง ให้ประชาชน มีสุข อยู่ดี กินดี ถ้วนหน้านั้นเป็นเรื่องระดับประเทศ และ เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน
ทุกข์อันดับที่ 4 เป็นทุกข์ที่ พระ ต้องเกี่ยวข้อง เพราะมันเป็นสิ่งที่พระทำได้ บำบัดให้ได้ และชี้ทางสู่การพ้นทุกข์ ด้วย วิถีธรรม
ทุกข์เพราะไม่มีคนเห็นใจ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ มันสำคัญมาก มีปัญหามากมายร้อยแปดที่ไม่ได้แก้อะไร เลย และก็แก้ไม่ได้ แต่ทุกข์ เหล่านั้น ถึงแม้จะแก้ไม่ได้ แต่ที่สำคัญคนที่ทุกข์ไม่ได้ต้องการแก้ แต่ต้องการคนรับฟัง และเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึก ที่เขาทุกข์ กลัดกลุ้ม รุ่มร้อน ภาษาโลก เรียกว่า ได้ระบายอารมณ์ ทีทุกข์ กลัดกลุ้มรุ่มร้อน ดังนั้น ฮอทไลน์ (hotline ) สายด่วน ของแต่ละสาย ของแต่ละเรื่อง จึงมีเกิดขึ้นมาก มีคนใช้บริการมาก จริง ๆ เท่าที่ทราบมา นั้นเป็นเพราะว่า เมื่อคนที่ทุกข์ มีความกลัดกลุ้ม รุ่มร้อน เกิดขึ้นสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ การหาคนที่เขาคิดว่า รับฟังเรื่องของเขา และ อาจจะนำไปสู่ การแก้ปัญหา แต่บางทีก็ไม่ใช่ เพื่อจะแก้ปัญหา เพียงแต่ต้องการขยายความรู้สึก ของตนไปสู่อีกคนหนึ่งให้รับทราบ และรู้สึกว่า ทุกข์ ตาม เห็นอก เห็นใจตามนั่นเอง
วิธีการแก้ปัญหา อย่างนี้ เป็นเรื่องที่ทำโดยธรรมชาต ของปุุถุชน ไม่ต้องสอน ก็ทำกันเป็น ทำเอง จัดการเองได้
แล้วเกี่ยวอะไรกับพระ เล่า ที่มันเกี่ยว ก็เพราะว่า การระบายปัญหา ต่าง ๆ นั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เพราะการทำแบบนี้เป็นการขยายความทุกข์ ให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้ามี 1 คน ขยายความทุกข์กลัดกลุ้มออกไป อย่างนี้ คนรอบข้างก็ต้องรับเรื่องราวที่ทุกข์ และก็ขยายต่อไปด้วย ดังนั้น การขยายความทุกข์ ต้องไม่ต่อเนื่องออกไป จึงจะถูกต้อง แต่เพราะว่า การขยายความทุกข์ที่ไม่ใช่ hotline นั้น มีการถูกขยายไปโดยธรรมชาตตามอุปนิสัยของปุถุชน ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสแสดงเหตุแห่งทุกข์ เพื่อให้คนที่ทุกข์ ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ และวิธีการแก้ไขให้ถูกต้อง
ดังนั้นคำตอบการแก้ปัญหา ระดับที่ 1 ก็คือการเจริญสติ
สติเป็นตั้งแห่งคุณธรรม ทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะทุกข์ เจียนตายอย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญต้องประคองสติ รู้ทุกขณะที่ทุกข์นั้น มีเหตุจากอะไร ดับได้อย่างไร
ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง มาจากความยึดมั่น ถือมั่น ในความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา เพราะความรู้สึกว่า นั่นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ถูกพอกพูนมานานแสนนาน ทั้งอดีต ทั้งปัจจุบันมันก็ยังเป็นแนวนั้นอยู่ ดังนั้นการเจริญ สติ ที่พระพุทธเจ้ามอบให้ 4 กอง ก็คือ สติไปในกาย สติไปในเวทนา สติไปในจิต สติไปในธรรม
สำหรับบุคคลที่ทุกข์ แบบ ปุถุชนนี้ไม่สามารถเจริญ สติ ไปในสามกองหลังไม่ได้เพราะ ยังเหมือนเด็กหัดเดินในสายธรรม จึงต้องพัฒนาการเจริญสติในกาย ให้มากขึ้น พระพุทธเจ้า ได้แบ่งหมวดสายกาย ออกโดยเริ่มที่ อานาบรรพ เป็นบทที่ 1 นั่นก็คือ การตั้งสติไปในลมหายใจเข้า การตั้งสติไปลมหายใจออก เมื่อสติพัฒนามากขึ้น การตั้งสติไปในสัปชัญญะ การรู้ตัวมากขึ้น จนไปสู่ การละความยึดถือ ว่าเป็น อัตตา
สรุปตรงนี้ ก็คือ การตั้งสติ และพัฒนา สติ ให้มากขึ้น เมื่อมีความทุกข์ ความกลัดกลุ้ม รุ่มร้อน ต้องตั้งสติ นับให้ทัน ในลมหายใจเข้า ในลมหายใจออก ในการเดิน ยืน นั่ง นอน ต้องตั้งสติให้มั่นคง และมองให้เห็นความจริง ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา การที่ลำบากหรือไม่ลำบาก อยู่ที่บุญกุศลที่ได้สร้างไว้ ทั้งในอดีต และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้สบาย หรือ ไม่สบาย
ดังนั้นเมื่อตั้งสติได้แล้ว ก็ควรต้องรักษากุศล และ หาโอกาสในกุศล กระทำสิ่งที่ควรทำ คือ การรักษาศีล การให้ทาน และการภาวนาอบรมจิต ให้มีสติมากยิ่งขึ้น
ชีวิตจะมีความสุขได้ ไม่ว่า ภาระที่ท่านแบก จะหนักอย่างไรก็ตาม แม้จะลำบากเจียนตาย แต่ถ้ามีสติ รู้ทันอย่างนี้การสร้างกรรมอกุศลก็จะไม่มี การจะบ่นหรือพร่ำเพ้อคร่ำครวญก็จะไม่มี ทำอย่างนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นไม่ใช่ธรรมสุงสุด เป็นคุณธรรมของพระโสดาบันเท่านั้น
เจริญธรรม / เจริญพร

ถาม พอจ ยังไม่ได้ตอบ ในระดับ ที่ 2 ครับ ขอ พอจ ช่วยตอบในระดับนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
ตอบ การใช้หลักธรรม แก้ปัญหาชีวิต ระดับที่ 1 ใช้ สติ ก็แจงให้รับทราบอ่านไปกันแล้ว แต่วิธีการแก้ปัญหา แบบนี้ ในสายกรรมฐาน จัดว่าอ่อนมาก เป็นเหมือนบุคคลทั่วไป เปรียบเหมือนเด็กหัดเดิน ต้องประคบประหงม แจก คำหอม ยอยก บุคคลระดับนี้ไว้ ด้วย พุทธภาษิต ดังนั้นคนระดับนี้ ประเภทนี้ จึงสนใจแต่เรื่อง การอ่าน การฟัง พระธรรม มาก ๆ ซึ่งก็เห็นทั้งประเทศไทย ไปที่ไหน ก็จะส่งเสริมกันอย่างนี้ ดังนั้นกิจกรรมกับการฝึก สติ จึงมีสำนักการสอน มาก เป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรม ที่ส่งเสริม สติ
รักษาศีล ทำบุญ แจกทาน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ สวดมนต์ ฝึกสติในอิริยาบถ ภาวนาเล็กน้อย เพียงเพื่อทำให้ชีวิตเหมือนอยู่ในหลักธรรม แต่ ความเป็นจริง ชีวิตก็วนเวียน แหวกว่ายอยู่ในกระแสเช่นเดิม เพราะว่า ไม่ได้ละจาก โลก หรือ ตัณหา กันเลย คนที่แก้ปัญหา แบบนี้ จึงมีจำนวนมาก เป็นเหยื่อ อันโอชะ ของวัด ของกิจการ เพราะ ใครจะไป สำนักไหน ก็ต้องเป็น ศิษย์และ บอกบุญเรี่ยไร เป็นงานหลัก ต่อไปก็คือ งานสร้าง มีสำนักปฏิบัติ มากมายที่ถูกสร้าง แม้แต่วัดเองก็เช่นกัน สร้างกันด้วยเงินเป็น ล้าน ๆ แต่ไม่ได้ใช้สอยประโยชน์ ให้กับ โยคาวจร เลย เป็นเพียงแต่เพียง ที่พักจิต ของคนที่มุ่งเจริญสติ แล้วกลับไปวนเวียนกลับโลก
( พูดมากไม่ได้ ตรงนี้ มันจะกระเทือนความรู้สึก ของ คนที่เป็นอยู่ )
ส่วนวิธีการแก้ปัญหา ระดับที่ 2 นั้น เป็นการแก้ปัญหา ของ โยคาวจร ผู้เจริญกรรมฐาน
ดังนั้น ที่ไม่ได้พูดแนะนำเพราะเห็นว่า ทางฉันยังไม่มีศิษย์ประเภท นี้ เพราะศิษย์ประเภทนี้ จะไม่หวั่นไหวกับเรื่องโลก ไม่นำเรื่อง โลก ๆ มาเสนอเป็นรายงาน พอจ ไม่มาพร่ำเพ้อ คร่ำครวญ เศร้าโศรก กับเรื่อง ของสังสารวัฏ เพราะ โยคาวจร จะพูด จะสอบถาม แต่เรือ่งการภาวนา
ดังนั้นศิษย์ประเภท ฉันยังไม่มี เลย มี ก็ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ยังต้องตักเตือน ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ ยิ่งตักเตือนก็ยิ่งหายไป เพราะ ว่า คำพูด ของครูอาจารย์ ที่พูดแต่เรื่อง การภาวนา ไม่สนภาวะปัญหา ทางโลก ของศิษย์ นั้นดูเหมือน คนใจดำมาก ๆ เพราะ ไม่ว่าศิษย์ จะตกทุกข์ อย่างไร ครูก็จะแนะนำแต่เรื่องภาวนา
ยกตัวอย่าง
มีลูกศิษย์ มาถึงก็พูดเลยว่า ผมตื่นมาตอนเช้า ก็เจอศัตรู มองหน้าเขม่นกัน ฮึ่ม ๆ ใส่กัน อย่างนี้
เมื่อ พอจ แนะนำว่า ไม่พึงใส่ใจกับเรื่อง พยาบาท ควรมองตามความเป็นจริงว่า กรรมที่เกิดขึ้้นเป็นวิบาก ที่ส่งผล ดังนั้นไม่ควรข้องเกี่ยวกับอารมณ์เหล่านี้ ถ้ามองเห็นเขาแล้วไม่สบายใจ ก็ไม่ควรมอง ถ้าจำเป็นต้องมอง ก็ให้สวดคาถาพญาไก่แก้ว ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วย ก็ให้ระลึกถึงพุทโธ ถ้ามีการกระทบกันให้เรายอมแพ้เสีย อย่าไปสร้างกรรมเพิ่ม
คำตอบ ของศิษย์ ที่ได้รับคำแนะนำแบบนี้ ก็ได้รับการบ่นกลับมาว่า พอจ ไม่ได้เป็นผมนี่ ไม่เข้าใจความรู้สึกผม สุดท้ายเขาก็หนีจากไป ฝึกสติต่อกับ สำนักอื่น ๆ ตามที่เขาเห็นสมควร
ทาง พอจ ไม่ได้สนใจเรื่องการสอน สติ แต่ สนใจเรื่องการสอน สมาธิ เพื่อสู่ความเห็นจริง ไม่ได้คิดมุ่งเอาปริมาณคน ดังนั้นคนที่คัดกรอง เข้ามาแม้แต่เฟสนี้ไม่ได้มีเยอะเพิ่มขึ้น มีแต่น้อยลง เพราะว่า พอจ ต้องการผู้เข้ากระแสธรรม มากกว่า คนที่ยังต้องการแหวกว่าย ดังนั้นใครที่มีลักษณะ แหวกว่ายใน กระแสต่อ พอจ เป็นเพียงเนื้อนาบุญสำหรับเขาเท่านั้น
เนื่องด้วย พอจ ไม่มีเวลามากมายในการสอนทั่วไปแล้ว ตอนนี้มุ่งเอา คนที่จะเป็นแก่นมากกว่า คนที่ต้องการฝึกแบบสติ ก็เชิญไปตามชอบใจ ตามสำนัก และ วัดทั่วประเทศ เขาทำกันอยู่ แล้ว
สรุปก็คือ ในระดับปรมัตถ์ นั้น คนที่ภาวนาตามนี้ ไม่มาเสียเวลากับการคร่ำครวญ พิไรรำพัน ไม่สบายใจ อะไรเลย แต่เขาจะมีจิตมุ่งตรง ต่อพระรัตนตรัย และ พระนิพพาน เป็นกำลังของจิตเขา ใครที่มีลักษณะ เช่นนี้ แม้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็ขออนุโมทนา


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 23, 2017, 02:19:11 pm
ชีวิตคนเรา มี ขึ้น มี ลง ตามบุญบาปที่กระทำ นี่คือชีวิตที่สามารถ จัดการได้ด้วยหลักธรรม เพราะจัดการที่จิตโดยตรง
ส่วนร่างกายเรานั้น มีลงอย่างเดียว ทำได้เพียงประคับประคอง ไม่สามารถจัดการควบคุมอะไรได้มากนัก
ดังนั้น หลาย ๆ คน อายุมากขึ้น คนรอบข้างเราก็มากขึ้น ภาระที่เกิดขึ้น จากวัยมันจึงมีความลำบากให้เห็น เมื่อก่อนเป้นหนุ่ม เป็นสาว ไม่เห็นกันใช่ไหม
จิตวิญญาณของคนปุถุชน นั้น กว่าจะพร้อมสำหรับ พระธรรม ขั้นสูง ก็ใช้เวลา 50 - 70 จึงจะคิดอ่านมองเห็นธรรม มีคนที่ช้ามากมาย ในวัดตอนนี้ มาตอนสาย จะเดิน จะนั่ง จะยืน จะนอน ก็ร้องโอย ๆ ทำได้ยาก ลำบาก
จิตวิญญาณของผู้สั่งสมบารมี พร้อมจะรู้ตามพระพุทธเจ้า มักจะตื่นพร้อม เมื่อ อายุ 7 ปี จนถึง 29 ปี นี่คือผู้สั่งสมบุญในการเข้าถึงธรรม
กว่าจะสั่งสมประสบการณ์ ชีวิต และเริ่มยอมรับ หลักธรรม ก็มักจะสายเกิน คุณตา คุณยาย ในวัดล้วนแล้ว ก็อย่างนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่เข้าไปอยู่วัดแล้ว จะสงบจิตใจกันได้ แต่มันเป็นที่พึ่งทางจิตของคนมีอายุ ที่เหงาหงอย เพราะลูกหลาน ห่างเหิน คนที่โชคดี ก็อยู่ในกลุ่มลูกหลาน ดูแล แต่ความเป็นจริง ในปัจจุบัน คนชรา คนแก่ มักถูกทอดทิ้ง เพราะหนุ่มสาวปัจจุบัน ไม่ศึกษาหลักธรรม ดั่งเช่นเมื่อก่อน ดังนั้นโอกาสที่แต่ละคนจะกลับมาดูแลพ่อแม่ ที่แก่เฒ่า น้อยมาก


หัวข้อ: Re: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 09, 2019, 10:30:10 am
(http://madchima.net/2019/waterone-01.jpg)

ค่ำคืนที่มีแสงดาว ลมโชยเบาๆ บนยอดเขาที่มองเห็นแต่ความมืดมิด เสียงจิ้งหรีด เรไร ระงมเซ็งแซ่ ร้องเพลงขับขาน เพิ่มความวังเวง ได้ยินเสียงสัตว์เดินไปในป่า มีเสียงหมาหอน จากหมู่บ้านด้านล่าง เป็นระยะ คืนนี้เดือนดับ แรม 3 ค่ำ จึงเห็นดาวบนท้องฟ้า มากสักหน่อย

อากาศเย็นยะเยือก ชวนให้สะพึงกลัว แต่อย่างไร ก็ชินกับบรรยากาศนี้แล้ว ผ่านกันมาหลายปี และหลายครั้ง จึงเดินไปจุดเทียนในโคมผ้า 4 อัน เพื่อกำหนดระยะการเดินจงกรม

เมื่อเริ่มเดิน คราแรกก็ตั้งในอยู่สภาวะบริกรรม อย่างดี แต่ครั้นพอมันเหนื่อย ขึ้นก็รู้สึกน้อยใจในโชคชะตา ว่า ทำไมต้องมายอมลำบากอย่างนี้ ในที่ๆ ห่างกัน แม่ พี่น้อง เพื่อน ครูอาจารย์ พอจิตละมาคิดเรื่องนี้ เดินไป มันก็คิดแต่เรื่องนี้ และก็วุ่นวายจนรู้สึกอยากหยุดเดิน

คิดถึง ทุกคน ไม่ใช่ ไม่คิดถึง
ทั้ง แม่ พี่น้อง เพื่อน ครูอาจารย์ แต่ความคิดถึง มันก็เป็นเพียงความคิดถึง เมื่อคิดถึง สัมปรายภพเบื้องหน้าแล้ว ความคิดถึง ต้องทำให้สงบระงับลง เพราะว่า ถ้าขืน คิดถึงกันมากกว่า นี้ ก็คงจะต้องลอยคอ เคว้งคว้างต่อ อีกในสังสารวัฏ

เมื่อได้สติ ระลึกถึง ความยากลำบาก อันจะต้องเวียนว่ายตายเกิดลอยคอ กับ ความขึ้นลง ของโลกธรรม ที่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จะหนักจะเบาขึ้นอยู่กับกรรม กิเลส และ วิบาก ของคนรอบข้างและตัวเรา

จึงทำการประจุร่าง และกำหนดธาตุ ในการบริกรรมจงกรมต่อไป นั่นเป็นเพราะสติ สัมปชัญญะ รู้ตัวในอุบายของกิเลส ถ้าจะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ก็ต้องรู้จักการประจุร่าง ....................

จากหนังสือ บันทึกการเดินทางไกล เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม โดย ธัมมะวังโส