ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทรงสอนวิธี "พยากรณ์โสดาบัน"  (อ่าน 6085 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ทรงสอนวิธี "พยากรณ์โสดาบัน"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 02:23:50 pm »
0



ทรงสอนวิธี "พยากรณ์โสดาบัน"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
คหบดีวรรคที่ ๕

๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑

             [๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
นั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี

เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว
เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง
และญายธรรมอย่างประเสริฐ อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา


อริยสาวกนั้นหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว
 เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ


             [๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี

บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อม
เสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้


บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง
ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง
ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้


บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใดอันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง
ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้างเพราะมุสาวาทเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยย่อมประสพภัยเวรใด
อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง
เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ
ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว ฯ


             [๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง
เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้


ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้

ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของ
คำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี
 เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้


ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ

อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ



             [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน
ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ


เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ

             [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบ
แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง
และญายธรรมอย่างประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา

อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ


จบสูตรที่ ๑


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  บรรทัดที่ ๑๘๑๒ - ๑๘๘๓.  หน้าที่  ๗๕ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1812&Z=1883&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=151



โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, องค์ประกอบของการบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน )

       1. สัปปุริสสังเสวะ (เสวนาสัตบุรุษ, คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร)
       2. สัทธัมมัสสวนะ (สดับสัทธรรม, ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้)
       3. โยนิโสมนสิการ (ทำในใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี )
       4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฏิบัติธรรมถูกหลัก ให้ธรรมย่อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน, ปฏิบัติธรรมนั้นๆ ให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมายและวัตถุประสงค์กับธรรมข้ออื่นๆ กลมกลืนกันในหลักใหญ่ที่เป็นระบบทั้งหมด, ดำเนินชีวิตถูกต้องตามธรรม )


       โสตาปัตติยังคะ 4 หมวดนี้ ตรงกับหลักที่เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม 4 หรือวุฒิธรรม 4

       ธรรม 4 ประการนี้ มิใช่เพียงเป็นโสตาปัตติยังคะ ที่จะให้บรรลุโสดาปัตติผล คือเป็นพระโสดาบันเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรม 4 ประการนี้ เมื่อเจริญ ปฏิบัติ ทำให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่อการบรรลุอริยผลได้ทุกขั้นจนถึงอรหัตตผล


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=193


โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน, คุณสมบัติของพระโสดาบัน)

       1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระพุทธเจ้า
       2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรม
       3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์
       4. ประกอบด้วยอริยกันตศีล คือ ศีลอันเป็นที่ชื่นชมพอใจของพระอริยะ บริสุทธิ์ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิแปดเปื้อนหรือครอบงำ และเป็นไปเพื่อสมาธิ

 
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=194


โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน, คุณสมบัติของพระโสดาบัน )

       1. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระพุทธเจ้า
       2. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระธรรม
       3. ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นในพระสงฆ์
       4. ครองเรือนด้วยใจปราศจากมัจฉริยะ ยินดีในการแจกจ่ายแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=195


ญายะ, ญายธรรม ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 11:15:54 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทรงสอนวิธี "พยากรณ์โสดาบัน"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 05, 2011, 07:50:02 am »
0
สรุปสั้น ก็คือ

  1. มีศีล 5 ขั้น บริบูรณ์ ( มากกว่า สมบูรณ์ )

  2. มีความเคารพ พระรัตนตรัย อย่างไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ

  3. เข้าใจหลักธรรม ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ขจัด รูปแบบที่ผิด จากทำนองคลองธรรม

บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทรงสอนวิธี "พยากรณ์โสดาบัน"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2012, 11:17:53 am »
0

   ขอแนะนำกระทู้ของคุณหมวยจ้า
   ชวนเป็น พระโสดาบัน กันก่อนเถอะคะ ไปตามลำดับ
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2199.0

    :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ