ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภารกิจลูกผู้ชาย "ต้องบวช" ให้ได้สักครั้งในชีวิต  (อ่าน 577 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ภารกิจลูกผู้ชาย "ต้องบวช" ให้ได้สักครั้งในชีวิต

เรื่องการ บวช ซึ่งเชื่อว่ามีหลายท่านถือโอกาสทำ “ภารกิจลูกผู้ชาย”

        ผู้มีลักษณะต่อไปนี้ ห้ามบวช
        - อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ (กรณีบวชพระ)
        - บิดา มารดา หรือภรรยาไม่อนุญาตให้บวช
        - คนมีหนี้สิน
        - เป็นบัณเฑาะก์ (กะเทย) หรือคนสองเพศ
        - ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา เช่น เคยปลอมบวชมาก่อน ฯลฯ หรือทำผิดต่อผู้ให้กำเนิด คือ ฆ่าบิดาหรือมารดาของตน
        - เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง รักษาไม่หาย
        - มีอวัยวะไม่สมบูรณ์ พิการ ทุพพลภาพ ไม่ว่าจะโดยกำเนิดหรือจากอุบัติเหตุ อาทิ มือขาด เท้าขาด ตาบอด หูหนวก มีมือเป็นแผ่น นิ้วมือติดกันไม่เป็นง่าม คนค่อม คนเตี้ย แก่ง่อนแง่น ฯลฯ

หากเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง เราต้องขอแสดงความเสียใจด้วยที่ท่านไม่ได้ไปต่อ ด้วยขาดคุณสมบัติที่เอื้อต่อการปฏิบัติกิจของสงฆ์ แต่ถึงอย่างนั้น คุณผู้ชายก็ยังสามารถทำความดีในรูปแบบอื่น ๆ ได้อีกมากมาย อาทิ ทำทาน รักษาศีล ภาวนา ฯลฯ

@@@@@@

อานิสงส์ของการบวช พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงอานิสงส์ของการบวชไว้ สรุปได้ดังนี้

1. ได้ทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน เมื่อเราเข้ามาบวช เราก็ได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยตัวเอง โดยการเล่าเรียน จดจำ รู้ เข้าใจ และประพฤติปฏิบัติ เมื่อไรที่พระพุทธศาสนาเข้ามาในชีวิตของเราโดยการประพฤติปฏิบัติ ก็เท่ากับว่าเราเอาตัวของเรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ ตราบใดที่ชีวิตของเราอยู่ พุทธศาสนาก็จะอยู่ด้วย ถือเป็นการทำหน้าที่ของพุทธบริษัทที่สืบทอดพุทธศาสนา เป็นการทำบุญกุศลไปด้วย

2. ได้ทำหน้าที่ของกุลบุตรชาวไทย เราถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นสมบัติของชาติไทย พระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมไทยของเรา ทั้งภาษาที่ใช้สื่อสาร ภาษาพระ ภาษาบาลี แล้วออกมาทางวัฒนธรรมทางวัตถุ เช่นศิลปกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย ประเทศของเรามีอารยธรรมของชาติที่เราต้องรักษาไว้ การบวชเป็นการทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่งด้วย คือเป็นการรักษาสมบัติของชาติไว้

3. ถือเป็นการตอบแทนบิดามารดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถึงลูกจะเอาพ่อแม่ขึ้นบ่าประคบประหงมเลี้ยงดูตลอดชีวิตอย่างดีที่สุด ก็ยังไม่ถือว่าตอบแทนพระคุณของท่าน แต่ลูกคนใดทำให้พ่อแม่ซึ่งไม่มีศรัทธาหันมาศรัทธา มีศีล มีจาคะ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ได้ เกื้อหนุนให้พ่อแม่มีปัญญาได้ ถือว่าเป็นวิธีตอบแทนพระคุณอย่างสูง

    นอกจากนี้ การที่ลูกบวชเท่ากับโน้มนำใจของพ่อแม่ให้เข้ามาใกล้ชิดพระศาสนา แต่ก่อนนี้พ่อแม่เคยมีภารกิจวุ่นวายมากมาย ไม่มีเวลาไปวัด แต่พอลูกบวช ใจก็ตามลูกไปอยู่ที่วัด อยู่กับพระด้วย พอใจมาอยู่ที่วัด ก็น้อมมาอยู่กับธรรมะ ตัวเองก็ได้ใส่บาตร ถวายภัตตาหาร ได้ฟังธรรม เกิดการความสนใจใฝ่ธรรมะ ลูกเลยเป็นสื่อกลางที่ช่วยโน้มนำพ่อแม่เข้ามาหาธรรมะ ดังนั้น เวลาที่บวชต้องคิดว่าจะทำให้ดีที่สุดให้โยมพ่อ แม่ ญาติพี่น้องได้บุญมากที่สุด ถ้าตั้งใจอย่างนี้ก็จะเป็นบุญเป็นกุศล

4. ได้ศึกษาเล่าเรียน ฝึกตนในพระธรรมวินัย การบวชถือเป็นการให้เวลากับตัวเองได้ฝึกศีล สมาธิ ปัญญา ได้เรียนรู้คำสอนของพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาและปฏิบัติ ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะฝึกตนให้เป็นคนดีต่อไป



ส่วนหนึงจากคอลัมน์ Feature ::: “บวช”…ครั้งหนึ่งในชีวิต ภารกิจลูกผู้ชาย
นิตยสาร Secret ฉบับวันที่ 26 มิถุยายน 2556 ,เรื่อง ผั่นพั้น
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/43.html
By i_itti1983 ,9 April 2018
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2019, 06:13:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ