ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สามุกกังสิกา คืออะไร คะ  (อ่าน 3826 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะยม

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 74
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สามุกกังสิกา คืออะไร คะ
« เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 11:13:38 am »
0
ได้อ่านเรื่อง อนุปพพิกถา แล้ว มาถึงคำว่า สามุกกังสิกา คือธรรมะสุดยอด

และก็ไม่มีคำอธิบายต่อ จึงอยากรู้ว่า สามุกกังสิกา คืออะไร มีความหมายอย่างไร

ทำไมจึงกล่าวว่าเป็นธรรมะ สุดยอด ใช่ นวโลกุตตรธรรม หรือป่าว
 
:25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สามุกกังสิกา คืออะไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 12:15:34 pm »
0

สามุกกังสิกา แปลตามอรรถกถาว่า

“พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง”

 
คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่ อริยสัจจเทศนา,

       ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง

คือ ไม่ต้องปรารภคำถาม เป็นต้น ของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจจ์

อ้างอิง  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



นว- ๑ [นะวะ-] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
นว- ๒ [นะวะ-] ว. เก้า, จํานวน ๙, (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ)

อ้างอิง  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒




โลกุตตรธรรม ๙ (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก )   
        - มรรค ๔
      - ผล ๔
      - นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ ๑




มรรค ๔ (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด)

๑. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส )

๒. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง )

๓. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕)

๔. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐).



ผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ)
 
๑. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย )

๒. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย)

๓. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย )

๔. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย )

 
ผล ๔ นี้ บางทีเรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม )



นิพพาน ๒ (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ )

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ)
 
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ)

 
หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
๑. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน )
๒. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน )     หรือ
๑. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่
๒. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว


อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
๑. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
๒. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ


อ้างอิง  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



อนุปุพพิกถา ๕ (เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์)
 
๑. ทานกถา (เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน)
 
๒. สีลกถา (เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม)
 
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุขความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกาม ที่จะพึงเข้าถึง เมื่อได้ประพฤติดีงามตามหลักธรรมสองข้อต้น)
 
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จักที่จะหน่ายถอนตนออกได้)
 
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น)

 
ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจ ๔ เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี

อ้างอิง  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



สามุกกังสิกา กับ นวโลกุตตรธรรม ต่างกันครับ ตามที่แสดงไว้ข้างต้น

กับคำถามที่ว่า มีคนกล่าวว่าเป็นธรรมะสุดยอดนั้น ผมไม่ทราบเหตุผลคนกล่าว

ถ้าจะพูดต่อไปก็ต้องพูดว่า ธรรมะของพระพุทธองค์สุดยอดทั้งหมด

พระพุทธเจ้า เทศน์ อนุปุพพิกถา ให้ ยสกุลบุตร ฟังเป็นคนแรก

การเทศน์ของพระพุทธเจ้านั้น ทรงมีญาณหยั่งรู้ว่า แต่ละคนมีอุปนิสัย วาสนา

บารมี มาอย่างไร จึงทรงเลือกข้อธรรมให้เหมาะสมแก่คนนั้น

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สามุกกังสิกา คืออะไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 22, 2010, 12:28:42 pm »
0
อ้างถึง
โลกุตตรธรรม ๙ (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก )   
        - มรรค ๔
      - ผล ๔
      - นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ ๑

  อันนี้ก็น่าจะเป็นธรรมสุดยอดแล้ว ความประเสริฐ แห่งธรรมะ คือผลของการภาวนา คะ

  ธรรมะถึงจะหรูเลิศ ขนาดไหน พิศดาร ระดับใด หาก ทั้งฟัง ทั้งภาวนาตามแล้ว ก็ยังไม่บรรลุคุณธรรม

  ธรรมะนั้น ชื่อว่า ยังไม่ประเสริฐ

  แต่หากฟัง ภาวนา ธรรมะ แม้ข้อความสั้น ๆ ไม่พิศดาร เข้าถึงความเป็นพระอริยะบุคคลได้

  ธรรมะนั้น ชื่อว่า ธรรมอันประเสริฐ อันเป็นสิ่ง ที่กล่าวกะบุคคลอื่นได้ ท่านจงมาดูเถิด
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน