ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)  (อ่าน 8287 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
    • ดูรายละเอียด


วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)

คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

พระครูสิทธิสังวร ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนมีนาคม ๒๕๓๙ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๒ เดือนมกราคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๓ เดือนมีนาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม

หน้าปก พระรูปหล่อ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า
(สุก ไก่เถื่อน) ประดิษฐาน ณ กุฏิวิปัสสนา หน้าพระอุโบสถ
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
พิมพ์ที่โรงพิมพ์...................................

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำนำ

พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒) ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่ง ลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา
แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึงยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง
ต่อมาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ จึง ได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อ จากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


พระครูสิทธิสังวร ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-โทรสาร ๐-๔๖๕-–๒๕๕๒, ๐๘๙- ๓๑๖-๒๕๕๒

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ตอนสมถะภาวนา

รูปกรรมฐาน ตอน ๑
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

รูปกรรมฐาน ตอน ๒
๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
๘.ห้องปัญจมฌาน

ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
๙. ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
๑๓.ห้อง อรูปฌาน

ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

(จบสมถะ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

(จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน


เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

บททำวัตรพระ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
(ให้ว่า ๓ หน)

พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
พุทโธ ภควาติ ฯ
เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
(กราบ)

ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญู***ติฯ
เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
(กราบ)

สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ

(หมอบกราบ แล้วว่า)
ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
(กราบ)

อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน

บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔



ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
http://www.somdechsuk.com/index.php?option=com_content&task=view&id=15&Itemid=38
และ
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 11:39:09 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 09:43:44 am »

:25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

มะยม

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 74
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 10:38:36 am »
ู^_^  รู้่สึกว่า อ่านง่ายขึ้นกว่า เดิมมากคะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 
บันทึกการเข้า

เปลวฟ้า

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 12
    • ดูรายละเอียด
Re: วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2012, 12:24:08 pm »
ขอบคุณมากครับ พึ่งทราบว่า กรรมฐานนี้ มีหลวงปู่ สุก เป็นอาจารย์
น่าจะมีบอร์ดแนะนำคนมาใหม่ นะครับ ว่าควรอ่านเรื่องอะไรก่อน

 :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
    • ดูรายละเอียด










่ติดตามภาพทั้งหมดได้ จาก Facebook หลวงพ่อวีระ นะคะ

 http://www.facebook.com/photo.php?fbid=499143690129846&set=a.248254268552124.66759.100001026573295&type=1&theater
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
    • ดูรายละเอียด


ภาพขาสะกด ที่ตั้งบนบาตร จะเป็นอย่างนี้ ครับ

 thk56 ภาพจาก เฟคบุ๊ํค วัดหนองบัวหิ่ง

http://www.facebook.com/profile.php?id=100002147953120

 st11 st12 st11 st12
 
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
วิชชาครูอาจารย์
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา