ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง  (อ่าน 3538 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2016, 08:12:10 pm »
0


  พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ธรรมบท  ๒๔.  ตัณหาวรรค  ๑๑.  อปุตตกเสฏฐิปุตตวัตถุ
 
 ๑๐. สักกเทวราชวัตถุ
  เรื่องท้าวสักกะจอมเทพ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ท้าวสักกะจอมเทพและเหล่าเทวดา    ดังนี้)
  [๓๕๔]    การให้ธรรม    ชนะการให้ทั้งปวง
     รสแห่งธรรม    ชนะรสทั้งปวง
      ความยินดีในธรรม    ชนะความยินดีทั้งปวง
      ความสิ้นตัณหา    ชนะทุกข์ทั้งปวง๑


    การให้ธรรม  ชนะการให้ทั้งปวง  หมายถึงบุคคลจะให้หรือเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุข ส่วนรวมได้ก็ต่อเมื่อได้ฟังธรรม  จนรู้ว่าคุณประโยชน์ของการให้หรือการเสียสละว่าดีอย่างไรเสียก่อน  จึงจะให้หรือเสียสละได้  หากไม่ได้ฟังธรรม  การให้สิ่งอื่นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

   รสแห่งธรรม  ชนะรสทั้งปวง  หมายถึงรสอื่น ๆ  เช่น  รสสุธาโภชน์ของเทวดา  ยังเป็นปัจจัยให้สัตว์ต้อง เสวยทุกข์ในสังสารวัฏ  แต่รสแห่งพระธรรม  คือ  โพธิปักขิยธรรม  ๓๗  ประการ  และโลกุตตรธรรม  ๙  ประการ เป็นรสแห่งความสุขที่ประเสริฐสุด

   ความยินดีในธรรม  ชนะความยินดีทั้งปวง  หมายถึงความยินดีอื่น ๆ  เช่น  ความยินดีบุตร  ธิดา  ทรัพย์สิน   การได้ฟังธรรม  หรือการแนะนำธรรม  ย่อมก่อให้เกิดปีติสุข  และเป็นปัจจัยให้บรรลุอรหัตตผล  สิ้นทุกข์ในสังสารวัฏได้

  พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  อปทาน  [๒.  เอกูโปสถิกวรรค]
 ๗.  มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน

 [๑๔๙]   “จักษุของหม่อมฉัน
            ไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์
        โสตของหม่อมฉันก็ไม่เคยอิ่มด้วยภาษิตของพระองค์
          จิตของหม่อมฉันดวงเดียวเท่านั้น
           บรรลุธรรมจึงอิ่มด้วยรสแห่งธรรม

บทว่า ทานํ ได้แก่ สิ่งที่พึงให้. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่าทาน. บทว่า ทาน นี้ เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทานํ ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทานด้วยสามารถแห่งความเป็นของที่จะต้องให้.
               อธิบายว่า ปัจจัย ๔ เหล่านั้น ท่านเรียกว่าอามิส เพราะเป็นเครื่องจับต้องด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องบริจาคปัจจัย ๔ เหล่านั้น ชื่อว่าอามิสทาน.
               บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เมื่อ (แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า
               ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
               ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
               ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
               ธรรมเหล่านี้สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้
               กระทำกรรมและผลของกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมทาน
               ส่วนบุคคลบางพวกชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า
                         ธรรมเหล่านี้เป็นอภิญไญยธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม
                         ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม ดังนี้
               แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่าธรรมทานขั้นสุดยอด.
               บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ แปลว่า (ธรรมทานนี้เป็นเลิศ).
               บทว่า ยทิทํ ความว่า บรรดาทานสองอย่างเหล่านี้ ธรรมทานที่กล่าวแล้วนี้นั้น เป็นเลิศคือประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด.
               อธิบายว่า บุคคลจะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ ก็เพราะอาศัยธรรมทานอันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือเป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
                                   การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
                         รสแห่งพระธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
                         ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
                         ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้




เสียงธรรมบรรยาย ดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้
http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYwMzR8MDA2NGY1OTllZDBhZGI1ODcwYTViM2ZmZTQzOGU0ODV8MzAyNTU=
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2016, 08:18:56 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 04:15:15 am »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 07:53:34 am »
0
กราบ ขอบพระคุณ พระอาจารย์ ยามเช้าคะ
ฟังเพลินดีคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 05:03:14 pm »
0
 gd1 st12 st11ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

feel-sad

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2016, 07:01:32 pm »
0
เสียงธรรม ชัดเจน ฟังเข้าใจง่าย

  st11 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รส แห่ง ธรรม ย่อมชนะ รส ทั้งปวง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 03:17:38 am »
0
หลักธรรม ที่นี่ ควรแก่การศึกษาครับ

 st11 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้