ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป  (อ่าน 7681 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันก่อนได้อบรมจริยธรรม แล้วฟังพระพูดถึงเรื่อง อุบาสิกา ที่สำเร็จเป็น พระอริยะบุคคล ก่อน พระภิกษุผู้ปฏิบัติ

30 รูปในป่า ตอนนั้นง่วงด้วย เลยฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง อยากอ่านเรื่องของอุบาสิกาผู้นี้ เสริชเน็ต ก็ไม่เจอ ใครพอจะ

หาให้ หนูอ่าน ได้บ้างคะ


 :13: :c017: :c017: :25: :25: :88:
บันทึกการเข้า

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 03:51:13 pm »
0
ขออ่านด้วยอีกคน วันนั้นฟังก็ยังจำไม่ค่อยได้ แต่เนื้อเรื่อง สนุกมาก ไม่น่าหลับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 07:36:32 pm »
0
หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ...สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ทรงถาม

ในหลวงสนทนาธรรมกับหลวงพ่อพุธฐานิโย

เหตุที่สำเร็จช้า

ถาม : พระอานนท์มีความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธองค์ถึงเพียงนั้น ทำไมท่านจึงสำเร็จช้ากว่าองค์อื่น

หลวงพ่อ : ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะพระอานนท์มีความรักความเคารพ มีความห่วงใยในพระพุทธเจ้ามาก เพราะความกตัญญูอย่างมาก ความรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าอย่างมาก ในเมื่อมีความระลึกถึงพระคุณพระพุทธเจ้า มีความเป็นห่วงเป็นใยในความเป็นอยู่ของพระพุทธเจ้าก็มีมาก เพราะความกังวลอันนี้เองเป็นอุปสรรคทำให้พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ช้า

    ความห่วงความกังวลก็เป็นสังโยชน์ ซึ่งจะต้องพิจารณาสักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ท่านก็ละได้แล้ว โดยวิสัยของพระโสดาบัน เป็นผู้กตัญญูรู้คุณ เป็นผู้มีความห่วง โดยเฉพาะการเอาใจใส่พระพุทธศาสนา เพราะเหตุนี้เองเป็นเหตุให้พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ช้า

    แต่ถ้าโดยวิสัยของพระอานนท์แล้ว พระอานนท์นั้นพระพุทธเจ้าท่านทรงทำนายไว้ก่อนหน้าแล้ว คือ พระอานนท์จะสำเร็จพระอรหันต์ในวันปฐมสังคายนา เพราะพระอานนท์นี้ได้สร้างบารมีมาว่า จะให้ตนสำเร็จพระอรหันต์ในวันสำคัญเพื่อจะได้เป็นประวัติศาสนาให้คนอื่นได้ ศึกษาด้วยเรื่องนี้ได้เล่าติดต่อกันมาเป็นตัวอย่าง

    และอีกตัวอย่าง เกี่ยวกับความเป็นห่วง เป็นกังวล

    มีพระภิกษุ ๓๐ รูปไปบำเพ็ญอยู่ในป่า มีมหาอุบาสิกาเป็นโยมอุปัฏฐากคอยถวายจังหัน คอยปฏิบัติพระคุณเจ้า ๓๐ รูปเป็นอย่างดี และมหาอุบาสิกาก็ตั้งใจปฏิบัติต่อพระเถระทั้ง ๓๐ รูปเป็นอย่างดี ครั้นเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว อุบาสิกาได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เมื่อสำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็นึกสงสัยว่าพระคุณเจ้าของเรานี้จะสำเร็จพระคุณธรรมขั้นใดหรือไม่หนอ ?

    ท่านพระโสดาบันอุบาสิกาได้พิจารณาแล้วทราบว่าพระคุณเจ้าแต่ละองค์ยังไม่สำเร็จมรรคผลใด ๆ แล้วก็พิจารณาต่อไปว่า เหตุใดจึงไม่สำเร็จ ขัดข้องอะไร

    พระโสดาบันอุบาสิกาก็ทราบว่าขัดข้องเรื่องอาหารพระบางองค์ชอบของเผ็ด พระบางองค์ชอบหวาน พระบางองค์ชอบเปรี้ยว เมื่อไม่ได้อาหารที่ถูกใจ จิตก็ไปกังวลอยู่ที่นั่น จึงเป็นอุปสรรคแก่การที่จะบรรลุคุณธรรม

    ในเมื่ออุบาสิกาทราบอย่างนั้น รุ่งขึ้นวันใหม่ท่านก็จัดอาหารให้ถูกกับจริตของพระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๓๐ รูป องค์ไหนชอบอย่างไรก็จัดถวายอย่างนั้นและแล้วเมื่อพระต้องการอะไรขึ้นมาก็จัด ให้ถูกต้องตามอัธยาศัยของพระ จนกระทั่งพระทั้ง ๓๐ รูปเกิดความละอายแก่ใจ คิดอะไรท่านอุบาสิกาก็รู้หมดจัดให้ถูกต้องตามที่ต้องการ พระเหล่านั้นก็พากันลาอุบาสิกาไปกราบพระพุทธองค์ ทิ้งอุบาสิกาไว้ในป่าเช่นนั้นแต่เพียงผู้เดียว


    เมื่อไปถึงพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็รับสั่งความว่า พวกเธอยังมีความสุขสบายดีหรือ? โยมแม่ของพวกเธอสบายดีหรือเป็นอย่างไร ทำไมถึงหนีโยมแม่มาเสียเล่า?

    พระภิกษุผู้เป็น หัวหน้าได้ทูลพระพุทธเจ้าว่าไม่สามารถจะอยู่กับมหาอุบาสิกานั้นได้ เพราะเมื่อคิดอะไรท่านก็รู้หมดเลยเกิดอายก็หนีทิ้งท่านมา

    พระพุทธเจ้าก็รับสั่งว่า นั่นแหละพวกเธอควรจะอยู่กับมหาอุบาสิกานั้นได้ เพราะมหาอุบาสิกาเป็นแม่ของพวกเธอมาหลายภพหลายชาติแล้ว เลี้ยงพวกเธอมาหลายภพหลายชาติแล้ว ชาตินี้ก็มาทำหน้าที่เลี้ยงพวกเธอให้ได้รับความดิบความดี เพราะฉะนั้นจงพากันไปอยู่กับโยมแม่ของพวกเธอเสีย

    พระภิกษุทั้งหลายก็นมัสการลาพระผู้มีพระภาคเจ้ากลับไปอยู่ร่วมกับมหาอุบาสิกาในป่าซึ่งเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมต่อไป

    ดังนั้น พระแต่ละองค์ก็พิจารณาตามความเหมาะสมโดยพิจารณาว่า อาหารทั้งหลายทั้งปวงที่เราได้มาด้วยการบิณฑบาตจากลำแข้ง อาหารทั้งหลายทั้งปวงที่เราได้มาด้วยการบิณฑบาตจากลำแข้ง เป็นอาหารที่เหมาะสม เป็นอาหารที่คู่ควรแก่การเลี้ยงชีวิต เราจะบริโภคอาหารเหล่านี้โดยไม่สำคัญมั่นหมายในรสชาติ เพียงแต่ว่าจะบริโภคอาหารเหล่านี้เพื่อให้มีชีวิตยังอยู่ เมื่อมีชีวิตยังอยู่ก็จะแสวงหาความดี ความงาม ความรู้ เพื่อบรรลุธรรม มรรค ผล นิพพาน

    เมื่อจิตวางลงเป็นกลางแล้ว ก็สำเร็จพระโสดาบัน สกทา อนาคา และพระอรหันต์ ตามลำดับ เว้นไว้แต่พระภิกษุผู้เป็นหัวหน้า สำเร็จแค่พระโสดาบันเท่านั้น

    ทีนี้ท่านมหาอุบาสิกาก็ได้พิจารณาดู พระทั้งหลายเหล่านั้นได้สำเร็จเท่านั้นยังไม่สำเร็จพระอรหันต์ เพราะท่านเป็นกังวลที่จะควบคุมดูแลตักเตือน ความกังวลอันนี้จึงเป็นอุปสรรค ทำให้ท่านสำเร็จพระอรหันต์ช้ากว่าภิกษุผู้เป็นลูกศิษย์ท่านทั้งหลาย

    เมื่อท่านมหาอุบาสิกาพิจารณารู้ว่าพระเถระผู้เป็นหัวหน้าไม่สำเร็จพระอรหันต์ ได้แต่เพียงพระโสดาบันเท่านั้นก็พิจารณาว่าขัดข้องอะไร

    ท่านก็ส่งภูมิจิตไปบอก กระแสจิตของพระเถระผู้นั้นก็ก้าวหน้าไปสู่ภูมิจิต ภูมิธรรม จนสามารถบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ สามารถระลึกชาติหนหลังได้ และได้รู้ว่ามหาอุบาสิกาที่เป็นโยมอุปัฏฐาก ชาติก่อนเคยเป็นภรรยาตนแล้วก็เอาอาวุธยื่นให้โจรฆ่าตัวเองตาย พอรู้ขึ้นมาอย่างนั้น ความโกรธมันก็เกิดขึ้น

    มหาอุบาสิกาท่านก็ส่งจิตไปคอยควบคุม ให้คำเตือนอยู่เสมอว่า ท่านพระคุณเจ้า อย่าไปโกรธ ให้ระลึกถอยหลังไปอีกชาติหนึ่ง พอระลึกถอยหลังไปแล้ว ก็รู้ว่าในชาตินี้มหาอุบาสิกาเป็นภรรยาโจร พระภิกษุรูปนี้ถูกโจรจับไปฆ่า มหาอุบาสิกาคนนี้ขอชีวิตไว้ เลยสำนึกถึงความดีของมหาอุบาสิกา ความโกรธก็ระงับไป จิตก็แจ่มใสได้สำเร็จพระอรหันต์

ที่มา  http://board.palungjit.com/f63/หลวงพ่อพุธตอบปัญหาธรรม-สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์-ทรงถาม-82646.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2010, 07:39:02 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 10:02:08 pm »
0
อ้างถึง
อุบาสิกาได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เมื่อสำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็นึกสงสัยว่าพระคุณเจ้าของเรานี้จะสำเร็จพระคุณธรรมขั้นใดหรือไม่หนอ ?

มหาอุบาสิกา มาอุปัฏฐากพระ ที่ปฏิบัีติ แต่สำเร็จธรรมก่อน

แล้วยังสามารถมี เจโตปริยญาณ คือกำหนดใจของผู้อื่นได้อีก

แสดงว่าการภาวนาของพระ กับ ฆราวาส นี้ต่างกันมาก ๆ

การสำเร็จเป็นพระอริยะ ไม่จำเป็นต้องเป็นพระก็ได้ สามารถบรรลุคุณธรรมได้ไวกว่า พระอีก

อ่านเรื่องนี้ แล้วผมตาสว่าง เลยครับ

 :91:

ถ้ามาพิจารณาให้ดีแล้ว การเป็นพระ มีวินัย ข้อปลีกย่อย มีสังฆกรรม พิธี อะไรหลายอย่าง

ดูแล้วก็น่าเวียนหัว เหมือนกัน

เพราะเหตุ ที่มีปลิโพธิ นี้เอง

   ปลิโพธิ 10 ประการ รู้สึกว่าเคยอ่านเจอในห้องส่งจิตออกนอกนะครับ


    แต่ปลิโพธิ เป็นเครื่องกังวลในการ ภาวนา ทำให้การภาวนาเป็นไปได้ิเินิ่นช้า

    เมื่อสักครู่ ไปอ่านก็เจอเรื่อง สัปปายะ

  ผมอ่านแล้ว รับอารมณ์ และ คิดตามว่าถ้าผมเป็นพระในจำนวน 30 รูป แล้วผมรู้ว่า ผู้อุปัฏฐาก เราสำเร็จก่อน

และยังอ่านใจเราได้ด้วยนั้น ผมก็อายมาก ๆ ครับ จึงเข้าใจความรู้สึกของพระ 30 รูปนั้นอยู่

   แต่เรื่องนี้แสดงให้เห็น การให้กำลังใจ ของพระพุทธเจ้า การชี้นำของพระสัพพัญญู จึงทำให้พระมีกำลังใจ

หันกลับมาเอาดี ในคุณธรรม นั่นก็คือ พิจารณาปัจจัย 4 ว่ามีเพียงเพื่อยังอัตภาพ ไม่ได้มีเพื่ออย่างอื่น

   ทำให้พระทั้ง 30 รูปนั้น วางอารมณ์เป็นกลางได้

ชื่นชมกับเรื่องนี้จัง

   มหาอุบาสิกานี้ มีชื่อว่าอะไรครับ

   ที่นี้ ผมก็สงสัยเพิ่มอีกนิดหนึ่งครับ ขอท่านผู้รู้ช่วย ขยายความให้ผมเข้าใจหน่อย ได้ไหมครับ

  กับการใช้คำเรียก มหาอุบาสิกา กับ อุบาสิกา นี้ แตกต่างกันอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร

ที่เราควรจะเรียกว่า มหาอุบาสิกา หรือจะเรียก อุบาสิกา คือยึดหลักอุดมมงคลว่า ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

บูชา บุคคลที่ควรบูชา ครับ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 10:04:42 pm »
0
ผมว่า สมัยนี้ กฏบางอย่างของคณะสงฆ์ อาจทำให้พระสงฆ์ ที่ตั้งใจภาวนา นั้นลำบาก

พระที่รักการภาวนาจึง รักสันโดษ สันติ ไม่ค่อยอยู่ในเมืองกัน มุ่งแสวงการภาวนาส่วนตัว

กัน นี่คงเป็นสาเหตุ หนึ่งที่พระอาจารย์ ไม่อยู่วัดแน่เลย

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 04:05:29 pm »
0
อ้างถึง
ที่นี้ ผมก็สงสัยเพิ่มอีกนิดหนึ่งครับ ขอท่านผู้รู้ช่วย ขยายความให้ผมเข้าใจหน่อย ได้ไหมครับ

  กับการใช้คำเรียก มหาอุบาสิกา กับ อุบาสิกา นี้ แตกต่างกันอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร

ที่เราควรจะเรียกว่า มหาอุบาสิกา หรือจะเรียก อุบาสิกา คือยึดหลักอุดมมงคลว่า ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

บูชา บุคคลที่ควรบูชา ครับ


ประเด็นนี้ รักหนอ ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่า

  เมื่อใดควรจะเรียกว่า มหาอุบาสิกา

  ตามความเข้าใจส่วนตัว นะคะ มหาอุบาสิกา นี้ หมายถึงหัวหน้าอุบาสิกา กระมังคะ

  เช่น หัวหน้าแม่ชี เรียกว่า มหาอุบาสิกาแม่ชี อย่างนี้หรือป่าว คะ

  แต่ไปทุกที ส่วนตัวรักหนอเอง ถ้่าเป็นผู้สูงอายุ ก็เรียกตามฐานะ เช่น คุณป้า คุณย่า คุณยาย

  มีแต่โดนเรียก สีกา เวลาไปสนทนากับพวกหลวงพี่ ที่วัดตอนปฏิบัติธรรม

  ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า จะเรียก มหาอุบาสิกา นี้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
 :41: :25:
บันทึกการเข้า

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
มหาอุบาสิกา เจริญธรรมอะไร คร้า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 04:09:14 pm »
0
อ้างถึง
อุบาสิกาได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เมื่อสำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็นึกสงสัยว่าพระคุณเจ้าของเรานี้จะสำเร็จพระคุณธรรมขั้นใดหรือไม่หนอ ?

ไม่อยากจะเชื่อเลย คนที่ไม่ได้ภาวนา แต่อุปัฏฐาก สำเร็จ คุณธรรมก่อน

ดังนั้น ก็แสดงว่า มหาอุบาสิกา ต้องเจริญธรรม อะไรบ้างอย่างแน่ ๆ คร้า

อยากทราบ มหาอุบาสิกา เจริญธรรม หรือ กรรมฐาน อะไรกันคร้า ถึงได้สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล ก่อน พระ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 25, 2010, 11:03:35 pm »
0
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๕] 
             
ข้อความเบื้องต้น
         
               พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน” เป็นต้น.

              อุบาสิกาจัดที่อยู่ถวายภิกษุ ๖๐ รูป              
               ได้ยินว่า ได้มีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ในแว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ไปสู่บ้านนั้น เข้าไปเพื่อบิณฑบาต.
 
               ลำดับนั้น เจ้าของบ้านนั้นชื่อมาติกะใด มารดาของเจ้าของบ้านนั้น เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือน จึงอังคาสด้วยข้าวยาคูและภัตอันมีรสเลิศต่างๆ ถามว่า “พวกท่านประสงค์จะไป ณ ที่ไหน? เจ้าข้า.”

               ภิกษุเหล่านั้นบอกว่า “พวกฉันมีความประสงค์จะไปสู่ที่ตามความผาสุก มหาอุบาสิกา.”
               นางทราบว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ชะรอยจะแสวงหาสถานที่สำหรับจำพรรษา จึงหมอบลงที่ใกล้เท้าแล้วกล่าวว่า “ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักอยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนนี้ไซร้, ดิฉันจักรับสรณะ ๓ ศีล ๕ (และ) ทำอุโบสถกรรม.”

               ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันว่า “เราทั้งหลาย เมื่ออาศัยอุบาสิกานี้ ไม่มีความลำบากด้วยภิกษา จักสามารถทำการสลัดออกจากภพได้” ดังนี้ แล้วจึงรับคำ.
               นางได้ชำระวิหารอันเป็นที่อยู่ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น.

               ภิกษุ ๖๐ รูปทำกติกากัน               
               ภิกษุเหล่านั้นเมื่ออยู่ในที่นั้น วันหนึ่งได้ประชุมกันแล้วตักเตือนกันและกันว่า
               “ผู้มีอายุ พวกเราไม่ควรประพฤติโดยความประมาท เพราะว่ามหานรก ๘ ขุม๑- มีประตูเปิด (คอยท่า) พวกเราเหมือนอย่างเรือนของตนทีเดียว. ก็แลพวกเราได้เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แล้วจึงมา

               ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ผู้โอ้อวด แม้เที่ยวไปตามรอยพระบาท ก็ไม่สามารถให้ทรงโปรดปรานได้. (แต่) บุคคลผู้มีอัธยาศัยเป็นปกติเท่านั้น สามารถให้ทรงโปรดปรานได้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.
 
               พวกเราไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้น พวกเราจักรวมกัน, (แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป.

               ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุก มาตีระฆังในท่ามกลางวิหารขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น”

____________________________
๑- มหานรก ๘ ขุม คือ ๑. สัญชีวะ. ๒. กาลสุตะ. ๓. สังฆาฏะ. ๔. โรรุวะ ๕. มหาโรรุวะ. ๖. ตาปะ. ๗. มหาตาปะ. ๘. อเวจี.

               ภิกษุมาประชุมกันด้วยเสียงระฆัง              
               เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันอย่างนี้อยู่, วันหนึ่ง อุบาสิกานั้นให้บุคคลถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น อันชนทั้งหลายมีทาสและกรรมกรเป็นต้น แวดล้อมเดินไปสู่วิหารนั้นในเวลาเย็น ไม่เห็นภิกษุทั้งหลายในท่ามกลางวิหารแล้ว จึงถามพวกบุรุษว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไปเสีย ณ ที่ไหนหนอแล?”

               เมื่อพวกเขาบอกว่า “แม่คุณ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเป็นผู้นั่งอยู่ในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันของตนๆ (เท่านั้น)” จึงกล่าว (ต่อไป) ว่า “ฉันทำอย่างไรเล่าหนอ จึงจักสามารถพบ (พวกพระผู้เป็นเจ้า) ได้.”

               ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายที่รู้กติกวัตรของภิกษุสงฆ์ จึงบอกกะอุบาสิกานั้นว่า “คุณแม่ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักประชุมกัน ในเมื่อบุคคลมาตีระฆัง.”

               นางจึงให้ตีระฆัง ภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงระฆังแล้ว ออกจากที่ของตนๆ ด้วยสำคัญว่า “ภิกษุบางรูปจักไม่มีความผาสุก.” จึงประชุมกันในท่ามกลางวิหาร. ภิกษุชื่อว่า เดินมาโดยทางเดียวกันแม้ ๒ รูป ย่อมไม่มี.


               อุบาสิกาเจริญสมณธรรมตามที่ภิกษุบอก              
               อุบาสิกาเห็นภิกษุรูปหนึ่งๆ เท่านั้นเดินมาจากที่แห่งหนึ่งๆ จึงคิดว่า “(ชะรอย) พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเรา จักทำความทะเลาะวิวาทแก่กันและกัน” ดังนี้แล้ว ไหว้ภิกษุสงฆ์กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ทำความทะเลาะกันหรือ?”

               ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “พวกฉันหาได้ทำความทะเลาะวิวาทกันไม่ มหาอุบาสิกา.”
               อุบาสิกา. ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านไม่มีความทะเลาะวิวาทกันไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพวกท่านจึงไม่มา เหมือนเมื่อมาสู่เรือนของดิฉันมาโดยรวมกันทั้งหมด, (นี่กลับ) มาทีละองค์ๆ จากที่แห่งหนึ่งๆ.
 
               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันนั่งทำสมณธรรมในที่แห่งหนึ่งๆ.
               อุบาสิกา. พ่อคุณทั้งหลาย ชื่อว่าสมณธรรมนั้นคืออะไร?
               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันทำการสาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพอยู่.

               อุบาสิกา. ท่านเจ้าขา การทำการสาธยายอาการ ๓๒#- และการเริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ ย่อมสมควรแก่พวกท่านเท่านั้น หรือย่อมสมควรแก่พวกดิฉันด้วยเล่า?

____________________________
#- คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ถ้าเติมมัตถลุงคัง มันสมองเข้าด้วย เป็น ๓๒ ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ธรรมนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงห้ามแก่ใครๆ.
               อุบาสิกา. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงให้อาการ ๓๒ และขอจงบอกการเริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ แก่ดิฉันบ้าง.

               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนเอา. แล้วให้เรียนเอาทั้งหมด.

               อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ              
              จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ) เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มาถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล.
 
               นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า “เมื่อไรหนอแล? พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า

“พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ?” เห็นว่า “มี” ดังนี้แล้ว จึงรำพึง (ต่อไป) ว่า

“เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมีหรือไม่มีหนอ?” เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือหนอ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ?” ก็ได้เห็นว่า “อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ.”

               จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู๑- อันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน้ำทักษิโณทก๒- แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า “ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใดๆ ขอจงถือเอาสิ่งนั้นๆ ฉันเถิด.”

               ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภคตามความชอบใจ.

____________________________
๑- แปลตามพยัญชนะว่า …ยังข้าวยาคูมีอย่างต่างๆ ด้วย ยังของเคี้ยวมีประการมิใช่น้อยด้วย ยังโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ด้วย ให้ถึงพร้อมแล้ว.
๒- แปลว่า น้ำเพื่อทักษิณา.


               ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหันต์              
               เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า

               “น่าขอบคุณ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่), บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จักไปสู่สำนักของพระศาสดา”

               พวกเธออำลามหาอุบาสิกาว่า “พวกฉันใคร่จะเฝ้าพระศาสดา.”
               มหาอุบาสิกากล่าวว่า “ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย” แล้วตามไปส่งภิกษุเหล่านั้น, กล่าวคำอันเป็นที่รักเป็นอันมากว่า “ขอท่านทั้งหลาย พึง (มา) เยี่ยมดิฉันแม้อีก” ดังนี้เป็นต้น แล้วจึงกลับ.


              พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น               
               ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นแล ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง อันพระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย (สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙) พวกเธอพออดทนได้ดอกหรือ? พวกเธอพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ดอกหรือ? อนึ่ง พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?”

               จึงกราบทูลว่า “พออดทนได้ พระเจ้าข้า พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ พระเจ้าข้า, อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้ลำบากด้วยบิณฑบาตเลย, เพราะว่า อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อมาติกมาตา ทราบวาระจิตของพวกข้าพระองค์.

เมื่อพวกข้าพระองค์คิดว่า ‘ไฉนหนอ มหาอุบาสิกาจะพึงจัดแจงอาหารชื่อเห็นปานนี้เพื่อพวกเรา.’ (นาง) ก็ได้จัดแจงอาหารถวายตามที่พวกข้าพระองค์คิดแล้ว” ดังนี้แล้ว ก็กล่าวสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้น.


               อุบาสิกาจัดของถวายตามที่ภิกษุต้องการ              
               ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งสดับถ้อยคำสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้นแล้ว เป็นผู้ใคร่จะไปในที่นั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว ทูลลาพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปยังบ้านนั้น” แล้วออกจากพระเชตวัน ถึงบ้านนั้นโดยลำดับ

ในวันที่ตนเข้าไปสู่วิหาร คิดว่า “เขาเล่าลือว่า อุบาสิกานี้ย่อมรู้ถึงเหตุอันบุคคลอื่นคิดแล้วๆ. ก็เราเหน็ดเหนื่อยแล้วในหนทาง จักไม่สามารถกวาดวิหารได้, ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงส่งคนผู้ชำระวิหารมาเพื่อเรา.”

               อุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเองรำพึงอยู่ ทราบความนั้นแล้ว จึงส่งคนไปด้วยคำว่า “เจ้าจงไป, ชำระวิหารแล้วจึงมา.”

               ฝ่ายภิกษุนอกนี้อยากดื่มน้ำ จึงคิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงทำน้ำดื่มละลายน้ำตาลกรวดส่งมาให้แก่เรา.” อุบาสิกาก็ได้ส่งน้ำนั้นไปให้. เธอคิด (อีก) ว่า “ขออุบาสิกา จงส่งข้าวยาคูมีรสสนิทและแกงอ่อมมาเพื่อเรา ในวันพรุ่งนี้แต่เช้าตรู่เถิด.” อุบาสิกาก็ได้ทำอย่างนั้น.

ภิกษุนั้นดื่มข้าวยาคูแล้ว คิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกาพึงส่งของขบเคี้ยวเห็นปานนี้มาเพื่อเรา.” อุบาสิกาก็ได้ส่งของเคี้ยวแม้นั้นไปแล้ว เธอคิดว่า “อุบาสิกานี้ส่งวัตถุที่เราคิดแล้วๆ ทุกๆ สิ่งมา, เราอยากจะพบอุบาสิกานั่น, ไฉนหนอ นางพึงให้คนถือโภชนะมีรสเลิศต่างๆ เพื่อเรา มาด้วยตนเองทีเดียว.”
               
อุบาสิกาคิดว่า “ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเราหวังการไปของเราอยู่”, ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้ ถวายแก่ภิกษุนั้น.
               
ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า “มหาอุบาสิกา ท่านหรือ? ชื่อว่ามาติกมาตา.”
               
อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.

               ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ?
               อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม? พ่อ.
               ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุกๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉันจึงถามท่าน.
               อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
               ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.
               
แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรงๆ) ว่า “ดิฉันรู้จิตของคนอื่น” (กลับ) กล่าวว่า “ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิตของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้.”


               ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา               
              ภิกษุนั้นคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมด้วยของกลางฉะนั้น, เราควรหนีไปเสียจากที่นี้” แล้วกล่าวว่า “อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ.”
 
               อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน? พระผู้เป็นเจ้า.
               ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.
               อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.
 
               ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน” แล้วได้เดินออก (จากที่นั้น) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.


               พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว              
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า “ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ?”
               ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ในที่นั้นได้.
               พระศาสดา. เพราะเหตุไร? ภิกษุ.

               ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะว่า) อุบาสิกานั้นย่อมรู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้วๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า “ก็ธรรมดา ปุถุชนย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่างอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้นก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น” ดังนี้แล้ว จึงได้มา.
 
               พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
               ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ในที่นั้นไม่ได้.
               พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้นได้ไหม ?
               ภิกษุ. รักษาอะไร? พระเจ้าข้า.

               พระศาสดา ตรัสว่า “เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์ อะไร ๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก” ดังนี้แล้ว


               จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
                         ๒.    ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน    ยตฺถ กามนิปาติโน
                            จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ                   จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
                            การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตก
                            ไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า)
                            จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

               แก้อรรถ               
               บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้).
               ธรรมดาจิตนี้อันบุคคลย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคหํ.
               จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ ซึ่งจิตอันข่มได้ยาก อันเกิดและดับเร็วนั้น.
 
               บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั่นแล. จริงอยู่ จิตนี้ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตนควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่พิจารณาดูวัย, ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว.
 
               เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่.”
               การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือความที่จิตอันบุคคลฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔#- ได้แก่ ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้นพยศได้ เป็นการดี.

____________________________
#- อริยมรรค ๔ คือ
               โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑
               อนาคามิมรรค ๑ อรหัตมรรค ๑


               ถามว่า “เพราะเหตุไร?”
               แก้ว่า “เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ คือว่า จิตที่บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่มรรคผล และสุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์.”

               ในกาลจบเทศนา บริษัทที่มาประชุมกันเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น, เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

               ภิกษุนั้นกลับไปสู่มาติกคามอีก               
               พระศาสดา ครั้นประทานโอวาทนี้แก่ภิกษุนั้นแล้ว จึงทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “ไปเถิด ภิกษุ เธออย่าคิดอะไรๆ อย่างอื่น จงอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ.” ภิกษุนั้นได้พระโอวาทจากสำนักของพระศาสดาแล้ว จึงได้ไป (อยู่) ในที่นั้น, ไม่ได้คิดอะไรๆ ที่ชวนให้คิดภายนอกเลย.
 
               ฝ่ายมหาอุบาสิกา เมื่อตรวจดูด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นพระเถระแล้ว กำหนด (รู้) ด้วยญาณของตนนั่นแลว่า “บัดนี้ ภิกษุผู้บุตรของเราได้อาจารย์ให้โอวาทแล้ว จึงกลับมาอีก” แล้วได้จัดแจงอาหารอันเป็นที่สบายถวายแก่พระเถระนั้น.


               พระเถระบรรลุพระอรหัตและระลึกชาติได้              
               พระเถระนั้นได้โภชนะอันเป็นที่สบายแล้ว โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่มรรคและผลคิดว่า

               “น่าขอบใจ มหาอุบาสิกาได้เป็นที่พึ่งของเราแล้ว เราอาศัยมหาอุบาสิกานี้ จึงถึงซึ่งการแล่นออกจากภพได้”, แล้วใคร่ครวญอยู่ว่า มหาอุบาสิกานี้ได้เป็นที่พึ่งของเราในอัตภาพนี้ก่อน, ก็เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร มหาอุบาสิกานี้เคยเป็นที่พึ่งในอัตภาพแม้อื่นๆ หรือไม่? แล้วจึงตามระลึกไปตลอด ๙๙ อัตภาพ.
 
               แม้มหาอุบาสิกานั้น ก็เป็นนางบาทบริจาริกา (ภริยา) ของพระเถระนั้นใน ๙๙ อัตภาพ เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายเหล่าอื่น จึงให้ปลงพระเถระนั้นเสียจากชีวิต.
 
               พระเถระ ครั้นเห็นโทษของมหาอุบาสิกานั้นเพียงเท่านี้แล้ว จึงคิดว่า “น่าสังเวช มหาอุบาสิกานี้ได้ทำกรรมหนักมาแล้ว.”


               อุบาสิกาใคร่ครวญดูบรรพชิตกิจของพระเถระ              
              ฝ่ายมหาอุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเอง พลางใคร่ครวญว่า “กิจแห่งบรรพชิตของภิกษุผู้บุตรของเรา ถึงที่สุดแล้ว หรือยังหนอ?” ทราบว่า พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงใคร่ครวญยิ่งขึ้นไป ก็ทราบว่า “ภิกษุผู้บุตรของเราบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า ‘น่าปลื้มใจจริง อุบาสิกานี้ได้เป็นที่พึ่งของเราอย่างสำคัญ’ ดังนี้แล้วใคร่ครวญ (ต่อไปอีก) ว่า

“แม้ในกาลล่วงแล้ว อุบาสิกานี้ได้เคยเป็นที่พึ่งของเราหรือเปล่าหนอ?” ตามระลึกไปตลอด ๙๙ อัตภาพ; แต่เราแลได้คบคิด๑- กับชายเหล่าอื่น ปลงพระเถระนั้นเสียจากชีวิตใน ๙๙ อัตภาพ, พระเถระนี้แลเห็นโทษมีประมาณเท่านี้ของเราแล้ว คิดว่า ‘น่าสังเวช อุบาสิกาได้ทำกรรมหนักแล้ว’”

               นางใคร่ครวญ (ต่อไป) ว่า “เรา เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เรามิได้เคยทำอุปการะแก่ภิกษุผู้เป็นบุตรเลยหรือหนอ?” ได้ระลึกถึงอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ อันยิ่งกว่า ๙๙ อัตภาพนั้น ก็ทราบว่า “ในอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ เราเป็นบาทบริจาริกาแห่งพระเถระนั้น ได้ให้ชีวิตทานในสถานเป็นที่ปลงจากชีวิตแห่งหนึ่ง. น่าดีใจ เรากระทำอุปการะมากแก่ภิกษุผู้บุตรของเรา” นั่งอยู่ในเรือนนั่นเอง กล่าวว่า
               “ขอท่านจงใคร่ครวญดูให้วิเศษยิ่งขึ้น.”

____________________________
๑- อญฺเญหิ สทฺธึ เอกโต หุตฺวา แปลตามพยัญชนะว่า เป็นโดยความเป็นอันเดียวกันกับบุรุษทั้งหลายเหล่าอื่น.

              พระเถระนิพพาน              
               พระเถระนั้นได้สดับเสียง (ของอุบาสิกานั้น) ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์แล้ว ระลึกถึงอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ ให้วิเศษขึ้น แล้วเห็นความที่อุบาสิกานั้นได้ให้ชีวิตแก่ตนในอัตภาพนั้น จึงคิดว่า “น่าดีใจ อุบาสิกานั้นได้เคยทำอุปการะแก่เรา” ดังนี้แล้ว มีใจเบิกบาน กล่าวปัญหาในมรรค ๔ ผล ๔ แก่อุบาสิกาในที่นั้นนั่นเอง ได้ปรินิพพานแล้วด้วยนิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส.

               เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.
             
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 25, 2010, 11:05:38 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 12:15:17 am »
0
เพื่อนๆครับ รู้ไหมครับ ผมใช้เวลาเสริชหาข้อมูลอยู่นานตั้งแต่เมื่อวานแล้ว

เพื่อที่จะหาเนื้อความในพระไตรปิฎกให้ได้ เจอแต่ในเว็บพลังจิตซึ่งเป้นคำเทศน์

ของหลวงพ่อพุธ พอมาถึงวันนี้ ผมต้องขอบารมีของพระพุทธเจ้า

ขอให้หาเนื้อความในพระไตรปิฎกให้ได้ แล้วก็สมหวังครับ เจอจนได้ ปฏิหารย์มีจริง

เมื่อไ้ด้อ่านเนื้อความแล้ว ถึงบางอ้อเลยครับ

ความจริงก็คือ เป็น ๖๐ รูปครับไม่ใช่ ๓๐ รูป

เมื่อวานใช้คีย์เวิร์ด ๓๐ รูปในการเสิร์ชเลยหาไม่เจอ

เข้าใจว่าหลวงพ่อพุธอาจจะจำคลาดเคลื่อน

เรื่องภิกษุ ๓๐ รูป ผมเสิร์ชได้สองเรื่อง แต่ไม่มีอุบาสิกาอยู่เลย




คำถามของคุณน้องใหม่ เรื่องชื่อมหาอุบาสิกานั้น พบคิดไว้ล่วงหน้าไว้แล้ว

ว่าอาจจะมีคนถาม เพราะหลวงพ่อพุธไม่เอ่ยชื่อไว้

ชื่อของมหาอุบาสิกาคนนั้นก็คือ มาติกมาตา




สำหรับอีกคำถามหนึ่งของคุณน้องใหม่และคุณรักหนอ

ที่ถามเรื่อง มหาอุบาสิกา ต่างกับอุบาสิกาอย่างไร มีหลักเกณฑ์เรียกอย่างไร

อันนี้ผมก็จนปัญญา(ณ ตอนนี้) หาคำตอบไม่ได้

แต่จากการเสริช และสังเกตข้อความในพระไตรปิฎก

คำว่ามหาอุบาสิกา จะอยู่กับคำว่า"นางวิสาขา"เป็นส่วนใหญ่

นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่ามีความเป็นเลิศทางทาน

เป็นเอตทัคคะในฝ่ายอุบาสิกาคนหนึ่ง ผมเลยวิเคราะห์เอาเองว่า

คนที่ไม่ได้เป็นเอตทัคคะ แต่ถูกเรียกว่า มหาอุบาสิกา น่าจะเพียงคำสุภาพ

เป็นคำยกย่องที่ไม่เ็ป็นทางการ คนเรียกเห็นความดีของอุบาสิกาคนนั้นๆ

แล้วเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า เลยเรียกว่า"มหาอุบาสิกา"

ลองอ่านอรรถกถาที่ผมโพสต์ดูนะครับ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้

ตรัสคำว่า "มหาอุบาสิกา" เลย

ผมขอสรุปเอาเองว่า อุบาสิกาที่้ควรเรียกว่าเป็น "มหาอุบาสิกา"

ควรเป็นเอตทัคคะในฝ่ายอุบาสิกา ที่พระพุทธองค์ยกย่องไว้ ๑๐ คน
คือ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


             [๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 
นางสุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถึงสรณะก่อน ฯ

นางวิสาขามิคารมาตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถวายทาน ฯ

นางขุชชุตตรา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เป็นพหูสูต ฯ

นางสามาวดี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้มีปรกติอยู่ด้วยเมตตา ฯ

นางอุตตรานันทมาตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ยินดีในฌาน ฯ

นางสุปปวาสาโกลิยธีตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถวายรสอันประณีต ฯ

นางสุปปิยาอุบาสิกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก ฯ

นางกาติยานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น ฯ

นางนกุลมาตาคหปตานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้คุ้นเคย ฯ

นางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆริกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม ฯ


ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=20&A=735&w=%B9%D2%A7%CA%D8%AA%D2%B4%D2%B8%D4%B4%D2%A2%CD%A7%E0%CA%B9%D2%B9%D5%A1%D8%AE%D8%C1%BE%D5



ส่วนคำถามน้องหมวย ที่ถามว่า มหาอุบาสิกาใช้กรรมฐานอะไร

หมวยนีย์ต้องอ่านอรรถกถาที่ผมโพสต์นะครับ มี ๒ หัวข้อ คือ


หัวข้อ - อุบาสิกาเจริญสมณธรรมตามที่ภิกษุบอก   

และหัวข้อ - อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ
                         

กล่าวโดยย่อก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในหมวดปฏิกูลมนสิการบรรพ นั่นเอง




เพื่อนๆพี่น้องทุกท่านครับ กระทู้นี้ทำเอาผมปวดหัวอีกแล้วครับ

นี้เป็นบททดสอบ "ความเพียรของผม" อีกบทหนึ่ง

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

ขอให้ธรรมคุ้มครองทุกท่าน


 :) ;) :49::25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2010, 12:33:02 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บำรุงสงฆ์ 30 รูป
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 07:59:38 am »
0
อ้างถึง
เพื่อนๆพี่น้องทุกท่านครับ กระทู้นี้ทำเอาผมปวดหัวอีกแล้วครับ

นี้เป็นบททดสอบ "ความเพียรของผม" อีกบทหนึ่ง

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

ขอให้ธรรมคุ้มครองทุกท่าน

เป็นกำลัง อนุโมทนา ด้วยคะ ที่มีความเพียร ในทางธรรม

พระอาจารย์ เคยบอกหมวยนีย์ว่า การสละเวลาให้กับธรรมะ นั้นดีกว่า สละเวลาให้กับเรื่อง กิน กาม เกรียติ

เพราะการสละเวลาให้กับธรรมะ นั้นผล คือ การพ้นสังสารวัฏฏ์ มาให้

ส่วนการสละเวลาให้กับ เรื่อง กิน กาม เกรียติ นั้น นำแต่ทุกข์ และ ความเป็นผู้เร่าร้อนมาให้

( พยายามทำอยู่เหมือนกัน คร้า )

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เป็นเอกลักษณ์ ของเว็บ มัชฌิมา คะ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 08:09:47 am »
0
ที่รักหนอ ชอบเว็บ มัชฌิมา ก็เพราะว่า

เว็บ มัชฌิมา เรียบเรียงคำตอบ เป็นจุด และ บางคำตอบไม่มีที่เว็บอื่น คะ

เมื่อคุณ ปุ้ม ตอบแบบนี้มาก ๆ ก็จะเป็นกุศล และ เป็นเอกลักษณ์ ให้กับเว็บนี้ด้วยคะ
 :25: :25:
บันทึกการเข้า