ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม จึงมีผู้สอนว่า อย่าติดสุข ในเมื่อพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า....  (อ่าน 5518 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม จึงมีผู้สอนว่า อย่าติดสุข ในเมื่อพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า....

  นัตถิ สันติ ปรมัง สุขัง

   สุขอื่น ยิ่งกว่า ความสงบนั้น ไม่มี

 จากพระพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนให้พวกเราเห็นความสำคัญ คือความสุข จากความสงบ

  แต่ครั้นเมื่อมีผู้ภาวนาปฏิบัติ กรรมฐาน เพื่อเข้าสู่ความสงบ บรรดาพระสงฆ์ บ้าง ฆราวาสบ้าง บางพวกมักจะพูดเหมือนตัดทำลายน้ำใจ ผู้ภาวนาปฏิบัติว่า ปฏิบัติภาวนากรรมฐาน ระวังติดสุข หลงในสุข

  อยากทราบว่า สุข ที่เกิดจากการปฏิบัติภาวนานั้น เป็นสุขที่เข้าถึงได้ง่าย และเหมือนกับสุข อันเกิดจากการเสพ กามคุณ 5 ประการหรือไม่ ทำไมจึงมีข้อขัดแย้งในเรื่อง สุข อย่างนี้

  ( ช่วยกันวิจารณ์ ด้วยนะครับ )

 :c017:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
"นิพพานัง ปรมัง สุขัง"- นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กล่าวไว้ว่า
"ทำความสงบมากก็เนิ่นช้า พิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติ คือ การมีสติอยู่ในชีวิตประจำวัน"

  ความสงบ หมายถึง การทำสมาธิ การพิจารณา หมายถึง การทำวิปัสสนา มีสติ คือ สติปัฏฐาน
ในสติปัฏฐานนั้น ประกอบด้วย สมาธิและวิปัสสนา จุดประสงค์ของหลวงปู่มั่น คือ ไม่ให้ทำอะไรให้
สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้หาความพอดีระหว่าง "สมาธิและวิปัสสนา"

 
  ถึงตรงนี้ผมขอยกเอา "อินทรีย์ ๕" มากล่าว อินทรีย์นี้ประกอยด้วย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
เพื่อนๆน่าจะเคยได้ยินคำว่า "ทำอินทรีย์ให้แก่กล้า ทำอินทรีย์ให้เสมอ" เรื่องทำอินทรีย์ให้เสมอกัน
มีอยู่ใน "อรรถกถาอาหารสูตร  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑" ที่สำคัญพระพุทธเจ้าจะไม่เทศน์โปรด
ถ้าคนนั้นอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า และหลายครั้งท่านช่วยปรับอินทรีย์ของสาวกให้เสมอกัน เชน
พระวักกลิ และ พระโสพระโสณโกฬิวิสเถระ เป็นต้น

(สนใจอ่านเรื่องนี้คลิกไปที่http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2913.msg10208#msg10208)

 ที่พูดมายืดยาวก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า หลวงปู่มั่นน่าจะมีเจตนาให้ผู้ปฏิบัติคำนึงถึง"การปรับอินทรีย์"นั่นเอง

 กลับมาเรื่องเดิมครับ สัมมาสมาธิในพระไตรปิฎก หมายถึง ฌาน ๔
องค์ของฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จะเห็นว่า มีสุขอยู่ด้วย


 ดังนั้นไม่ว่า จะติดสุขหรือไม่ หากทุกคนเดินอยู่ในมรรคอย่างต้องแล้ว ต้องมีสุขทุกคน
การติดสุขที่คนทั่วไปกล่าวถึง น่าจะเป็นสุขที่เกิดจากการทำสมถกรรมฐาน

  ขอให้คิดกลับไปที่คำกล่าวของหลวงปู่มั่นที่ว่า "ทำความสงบมากก็เนิ่นช้า"
ถึงตรงนี้ คงเข้าใจนะครับ การทำสมถะจนหลงไปอยู่กับมันนานๆไม่ยอมทำวิปัสสนา
อย่างนี้เค้าเรียกว่า "ติดสุข"


ถ้าจะคุยกันต่อไป การทำวิปัสสนาก็มีการติดสุข ที่ทำให้หลงติด ไม่ก้าวหน้าไปไหน เรียกกันว่า

วิปัสสนูปกิเลส
อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพน่าชื่นชมแต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ

๑.โอภาส แสงสว่าง
๒.ปีติ ความอิ่มใจ
๓.ญาณ ความรู้
๔.ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต
๕.สุข ความสบายกาย สบายจิต
๖.อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ
๗.ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
๘.อุปัฏฐาน สติชัด
๙.อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
๑๐.นิกันติ ความพอใจ


 ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ :welcome: :49: :25: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2011, 12:23:52 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แสดงว่า ในยุคนี้ มีการตีความหมาย และ ให้คำจำกัดความ ของคำว่า สุข ไว้เป็นเพียง วิปัสสนูกิเลส เท่านั้น
ไม่ได้ให้ความหมาย คำว่า สุข อย่างที่พระพุทธองค์ ทรงให้ไว้

   ที่ยกจาก พระพุทธภาษิต ว่า  สุข อื่น ยิ่ง กว่า ความสงบ ไม่มี

                                  นิพพาน เป็น สุข อย่างยิ่ง

ดังนั้น ความหมาย ของคำว่า สุข อธิบายในการภาวนาไม่ถูกต้องทั้งหมด ทำให้ผู้ภาวนายุคใหม่ สับสน

ว่าแต่ วิปัสสนูกิเลส มีที่มาจากพระสูตร บทไหน บ้างครับใครพอช่วยต่อยอดรวมวิจารณ์ กันต่อนะครับ ตามความต้องการของคุณ TOTAL นะครับ

บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ว่าแต่ วิปัสสนูกิเลส มีที่มาจากพระสูตร บทไหน บ้างครับใครพอช่วยต่อยอดรวมวิจารณ์ กันต่อนะครับ ตามความต้องการของคุณ TOTAL นะครับ


ตอบว่า ไม่ปรากฏในพระสูตร แต่มีในคัมภีร์"พระวิสุทธิมรรค"

สนใจคัมภีร์นี้คลิกไปที่ http://www.larnbuddhism.com/visut/

ผมขอนำข้อความในคัมภีร์"พระวิสุทธิมรรค" ที่กล่าวถึงอุปกิเลส หรือวิปัสสนูกิเลสแบบเต็มๆ มาแสดงดังนี้ครับ





   ครั้นเมื่ออุทยัพพยญาณบังเกิดดังนี้แล้ว ในระหว่างนั้นจึงบังเกิดอุปกิเลส ๑๐ ประการ

   “โอภาเส”  แสงอันสว่างเกิดแต่วิปัสสนาจิต ซ่านออกไปจากสรีราพยพ ๒ คือ ปีติทั้ง ๕ มีขุททกาปีติเป็นอาทิ เกิดพร้อมด้วยวิปัสสนาจิต ๑ คือ   “ปสฺสทฺธิยุคฺคลํ”  เกิดด้วยวิปัสสนาให้ระงับความกระวนกระวายในกายแลจิตนั้น ๑

   “อธิโมกฺโข”  คือศรัทธาอันมีกำลัง ประกอบด้วยพระวิปัสสนาจิต ๑

   “ปคฺคาโห”  คือความเพียร อันประกอบด้วยวิปัสสนาจิต มิได้หย่อนมิได้คร่านัก ๑

   “สุขํ”  คือวิปัสสนา อันประณีตยิ่งนัก ๑

   “ญานํ”  คือวิปัสสนาญาณ อันกล้ายิ่งนัก ๑

   “อุปฏฺฐานํ”  คือสติอันประกอบด้วยวิปัสสนาจิต อาจเห็นจะระลึกซึ่งกิจอันกระทำสิ้นกาลช้านานเป็นอาทิ ๑

  “อุเปกฺขา” คือวิปัสสนูเบกขา อันบังเกิดมัธยัสถ์ในสังขารแลอาวัชชนูเบกขา อันบังเกิดในมโนทวาร มัธยัสถ์ในสังขาร ๑

    “นิกนฺติ”  คือตัณหาอันมีอาการอันละเอียด กระทำอาลัยในวิปัสสนา ๑


  แลธรรม ๑๐ ประการ มีอาทิคือโอภาส ชื่อว่าอุปกิเลส เพราะเหตุบังเกิดมานะทิฏฐิ สำคัญว่าอาตมาถึงมรรคผล เป็นที่เศร้าหมองแห่งวิปัสสนา มีให้เจริญขึ้นไปได้ ให้ยับยั้งหยุดความเพียรแต่เท่านั้น

  เมื่อุปกิเลสบังเกิดขึ้นดังนี้ ปัญญาแห่งพระโยคาพจรกำหนดพิพากษาเข้าใจว่า ธรรมทั้งหลายมีอาทิ คือโอกาสนี้ เป็นอุปกิเลสแก่วิปัสสนาใช่ทางมรรคผล วิปัสสนาอันดำเนินตามวิปัสสนาวิถี โดยอันดับตามวิปัสสนาภูมิ มีอาทิคืออุทยัพพยญาณ ตราบเท่าถึงอนุโลมญาณนั้นต่างหาก เป็นหนทางมรรคผล ปัญญาอาคันตุกะบังเกิดกำหนดรู้ทางมรรคผลและใช้ทางมรรคผลได้ดังนี้ในกาลใด ก็ได้ชื่อว่ามัคคาญาณทัสสนะบังเกิดในสันดานกาลนั้น


อ้างอิง
คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ปัญญาคนิเทศ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.10.html
ภาพประกอบจาก www.larnbuddhism.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2011, 11:55:09 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ปัจจุบัน ผู้ภาวนากลัวการภาวนากันเกินไป ใช่ว่ สุขสมาธิ หรือ สุขอันเกิดจากจิตที่เป็นสมาธิ นี้ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครง่าย ๆ นะครับ

  ผมว่า เข้าให้ได้ก่อนดีกว่า ก่อนจะไปกลัว เรื่องสุข ประการนี้

  สุขสมาธิ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นเป้นห้องที่ 3 จัดเป็นอุปจาระสมาธิเต็มขั้น ก่อนจะขึ้นอัปปนา

 สุขสมาธิ เรียกว่า กายพุทธะ เพราะเป็น สมาธิอันเกิดจาก พุทธานุสสติ นะครับ ไม่ได้เป็น สมถะส่วนเดียว

เพราะคุณสมบัติ อีกประการหนึ่งนั้น คือ สำเร็จเป็นพระโสดาบันด้วย นะครับ และแถม อุคคหนิมิต ด้วย


   ส่วนของอุคคหนิมิต มีประโยชน์ ในห้องที่สี่ด้วยนะครับ

 ดังนั้น ผมว่าอย่ากลัวเรื่อง สุข อันเกิดจากสมาธิ เลยครับ วันนี้ผมฟัง วิสุทธิมรรค ที่บรรยายโดย อจ.กิตติวุฑโฒ
ช่วงเช้า ท่านยังกล่าวถึง หลวงปู่สุก สมเด็จพระสังฆราช ที่สอนปฏิภาคนิมิตในการรักษา ด้วย

  ผมเองฟังท่านบรรยายแล้ว ก็ให้รู้สึกได้เลยว่า ท่านก็ศึกษาพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับด้วยส่วนหนึ่ง

  ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย อย่ากลัว สุข สมาธิ กันเลย ครับ

  พระอาจารย์เคยกล่าวกับผมว่า

   โยมไปให้ถึงก่อน อย่าตีตนไปก่อนไข้
   อย่ากลัวตั้งแต่เริ่ม
   อย่าท้อเพราะเพียงแค่คิด
   อย่าหมิ่นพระกรรมฐาน
   อย่าแคลนครูบาอาจารย์
   อย่าประมาทในวัน

  แหม ยังมีอีกครับ แต่เกรงใจ ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ทำไม จึงมีผู้สอนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนากรรมฐาน ระวังติดสุข หลงในสุข

  ( ช่วยกันวิจารณ์ ด้วยนะครับ )

          ถ้าวันนี้มีผู้ถามผมว่า ภาวนาทำไม ผมคงต้องตอบว่า ยามเมื่อคุณมีสุขคุณคิดเผื่อแผ่แก่ใครบ้าง ความสุขของ

บุคคลมักระคนปนความเห็นแก่ตัว หนึ่งสุขนั้นที่คุณได้มีใครหลายคนที่ต้องเสียน้ำตา ผมหนึ่งหละที่ขอจองเวรเพียงนี้

เท่านี้ก็ล้างผลาญกันไม่สิ้น ผมนี้ขอหยุดลง ณ ที่ใจ ใจที่ภาวนา แล้วจะถามผมไหมว่า ภาวนาทำไม อนึ่งมีคำกล่าวว่า

ภาวนาแล้วติดสุข แท้แล้วผู้กล่าวนั้นหาภาวนาไม่จึงเขลากล่าวน่าเศร้า พูดไม่คิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2011, 07:05:18 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิปััสสนูกิเลส มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2011, 11:52:22 am »
0

วิปััสสนูกิเลส มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ

   ที่ตอบว่า ไม่ปรากฏในพระสูตร แต่มีในคัมภีร์"พระวิสุทธิมรรค" นั้น ผมตอบผิดครับ

  เป็นเรื่องที่น่าอายมาก ที่ตอบโดยไม่แยบคาย พระพุทธเจ้าเรียกคนประเภทนี้ว่า "โมฆะบุรุษ"
ที่ถูกแล้ว อุปกิเลส หรือ วิปััสสนูกิเลส มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ รายละเอียดมีดังนี้




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อ
ภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
ย่อมเกิดขึ้น


ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์

 เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ

                          จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
                          สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก
                          ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ


                          ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน
                          และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
                          และเคลื่อนจากจิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
                         
                          ภาวนาย่อมเสื่อมไปจิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
                          ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
                          และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วยฐานะ ๔ ประการนี้
                         
                          ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด
                          แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการฉะนี้แล ฯ
                                    จบยุคนัทธกถา

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2011, 11:56:23 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันที่จริง ในหนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก รวบรวมเรียบเรียงโดยพระครูสิทธิสังวรนั้น
อยู่ในหน้าแรก ๆ เลยคะ ที่กล่าวถึง พระพุทธเจ้า แสดงเรื่องโอภาส

  ถ้าจำไม่ผิดนะคะ

   :s_good:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร