ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเสวนาธรรม เป็นการ รักษา ธรรมวินัย หรือ ความฟุ้งซ่านครับ  (อ่าน 5520 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือเห็นบางท่าน ก็คุย ๆๆๆๆ จ้อ ๆๆๆๆๆ เป็น คุ้ง เป็น แคว แต่ไม่เห็นได้ภาวนาหรือปฏิบัติ

หรือบางที ก็นำ พระพุทธภาษิต บ้าง มากล้อมแกล้ม เสียดแทงผู้ือื่น

  เลยมุมมองของผมในสมัย นี้ การเสวนาธรรม แท้ที่จริง เป็นความฟุ้งซ่าน หรือ เป็นการสืบ พระธรรมวินัย กันแน่ ครับ

  :s_hi: :93:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


การศึกษาเสวนาธรรมคงเป็นไปเฉพาะกลุ่มจะดีกว่า เพราะการศึกษาภาวนาใดใดเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เรียนค้นศึกษาตน

เข้าใจเพียงตนเท่านั้น อย่านำมาต่ออรรถต่อความข่มหยามน่าอายเป็นการไม่เคารพธรรมไม่เคารพกัน ผู้ศึกษาภาวนา

เพียรเรียนรู้ใดใดควรเข้าหาบัณฑิตผู้คล่องในอรรถในธรรมย้ำภาวนาคุณค่ามีในตนใครแลยลให้สรรเสริญอนุโมทนา

ครับ!




http://www.nanagarden.com/%E0%B9%80%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-131411-4.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2011, 08:45:20 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:17:15 am »
0

มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล


"กระจกเงาสามารถสะท้อนให้เห็นความสวยงาม หรือขี้ริ้วของร่างกายเราได้ฉันใด การฟังธรรมตามกาล ก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความดีงามหรือความบกพร่องในตัวเราได้ฉันนั้น"

การฟังธรรมตามกาลหมายถึงอะไร ?
    การฟังธรรมตามกาล คือ การขวนขวายหาเวลาไปฟังธรรมคำสั่งสอนจากผู้มีธรรมะ เพื่อยกระดับจิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยเมื่อฟังธรรมแล้วก็น้อมเอาคุณธรรมเหล่านั้นมาเป็นกระจกสะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้อย่างไร

    เช่นเมื่อได้ฟังธรรมเรื่องความอดทนแล้ว ก็นำเรื่องนี้มาตรวจดูใจตนเองทันทีว่า เรามีความอดทนไหม ถ้ามี มีมากน้อยเพียงไร อดทนหรือไม่อดทนต่อสิ่งใดเช่น อดได้เหมือนกัน แต่ไม่ค่อยทน คือ อดข้าวอดปลาได้ แต่ทนต่อการยั่วยุ ทนต่อคำนินทาไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า เมื่อฟังธรรมแล้วตรวจดูจะรู้ทันทีว่า เราขาดอะไรไป จะตกแต่งต่อเติมอย่างไรจึงจะดี


กาลที่ควรฟังธรรม
 ๑.วันธรรมสวนะ คือ วันพระนั่นเอง เฉลี่ยประมาณ ๗ วันครั้ง ทั้งนี้เพราะธรรมดาคนเรา เมื่อได้ฟังเทศน์ ฟังธรรม ฟังคำสั่งสอนตักเตือน จากพ่อแม่ ครูอาจารย์ ใหม่ๆ ก็ยังจำได้ดีอยู่ แต่พอผ่านไปสัก ๗ วันชักจะเลือนๆ ครูอาจารย์บอกให้ขยันเรียน ขยันไปได้ไม่กี่วันชักจะขี้เกียจอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ๗ วัน ก็ไปให้ท่านกระหนาบ ย้ำเตือนคำสอนเสียครั้งหนึ่ง

 ๒.เมื่อจิตถูกวิตกครอบงำ คือ เมื่อใดก็ตามที่มีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจของเรา ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน เมื่อนั้นให้รีบเร่งไปฟังธรรม จะเช้า จะสาย จะบ่าย จะเย็น วันโกน วันพระ หรือวันอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยงทั้งนั้น ไม่ต้องรอ

 ความคิดที่ทำให้ใจของเราเศร้าหมอง แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ได้แก่
     ๒.๑เมื่อกามวิตกกำเริบ คือ เมื่อใจของเราฟุ้งซ่านด้วยเรื่องเพศ เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ห่วงหาอาลัยอาวรณ์ต่อสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
     ๒.๒ เมื่อพยาบาทวิตกกำเริบ คือ เมื่อใจของเราถูกความโกรธเข้าครอบงำ เกิดความรู้สึกอยากล้างผลาญ ทำลายผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการคิดผลาญทรัพย์ ผลาญชีวิต หรือผลาญเกียรติยศ ศักดิ์ศรีก็ตาม
     ๒.๓ เมื่อวิหิงสาวิตกกำเริบ คือ เมื่อใดที่ใจของเราเกิดความคิดอยากจะเบียดเบียนผู้อื่น คิดจะเอาเปรียบ คิดจะกลั่นแกล้งรังแกเขา

 เมื่อใดที่ความคิดทั้ง ๓ ประเภทนี้เกิดขึ้นให้รีบไปฟังธรรม อย่ามัวชักช้า มิฉะนั้น อาจไปทำผิดพลาดเข้าได้

๓.เมื่อมีผู้รู้มาแสดงธรรม คือ เมื่อมีผู้มีความรู้มีความสามารถและมีธรรม มาแสดงธรรมให้รีบไปฟัง เพราะบุคคลเช่นนี้หาได้ยากในโลก ต้องรอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกก่อน  แล้วต้องตั้งใจศึกษาธรรมของพระองค์ให้เข้าใจแตกฉาน เท่านั้นยังไม่พอ จะต้องมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเช่นนี้ เราต้องรีบไปฟังธรรมจากท่าน


คุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี 
“อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง ไม่ใช่ของง่ายเลยผู้ที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง จะต้องอยู่ในธรรมะถึง ๕ ประการ”  นี่คือพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ ถึงคุณสมบัติของผู้แสดงธรรมที่ดี ๕ ประการคือ

 ๑.ต้องแสดงธรรมไปตามลำดับของเรื่องไม่วกวน ไม่กระโดดข้ามขั้นข้ามตอน แสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับ ซึ่งผู้ที่จะแสดงเช่นนี้ได้จะต้อง
     ๑.๑มีความรู้จริง รู้เรื่องที่จะเทศน์จะสอนดีพอที่จะทราบว่าอะไรควรพูดก่อน อะไรควรพูดทีหลัง
     ๑.๒ มีวาทศิลป์ มีความสามารถในการพูด มีจิตวิทยาในการถ่ายทอด รู้สภาพจิตใจ ของผู้ฟังว่าควรรู้อะไรก่อน อะไรหลัง
     ๑.๓ ต้องมีการเตรียมการ วางเค้าโครงเรื่องที่จะแสดงล่วงหน้าทำอะไร มีแผน ไม่พูดเบา ไม่ใช่เทศน์ตามอำเภอใจ

 ต้องมีองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ จึงจะแสดงธรรมลุ่มลึกไปตามลำดับได้

๒.ต้องแสดงธรรมอ้างเหตุอ้างผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเรื่องที่จะแสดงอย่างปรุโปร่ง ไม่ใช่ท่องจำเขามาพูด เวลาแสดงธรรมก็อ้างเหตุอ้างผล ยกตัวอย่างประกอบ แยกแยะให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งได้ เมื่อผู้ฟังสงสัยซักถามจุดไหน ประเด็นไหนก็ชี้แจงให้ฟังได้

 ๓.ต้องแสดงธรรมด้วยความหวังดีต่อผู้ฟังอย่างจริงใจ มีความเมตตากรุณาอยู่เต็มเปี่ยมในใจ พูดไปแล้วผู้ฟังยังไม่เข้าใจ ยังตามไม่ทัน สติปัญญายังไม่พอ ก็ไม่เบื่อหน่าย ไม่ละทิ้งกลางคัน แม้จะพูดซ้ำหลายครั้งก็ยอม มีความหวังดี ต้องการให้ผู้ฟังรู้ธรรมจริงๆ มุ่งทำประโยช์แก่ผู้ฟังเต็มที่ ไม่ใช่พูดแบบขอไปที
 
๔.ต้องไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ คือไม่เห็นแก่ชื่อเสียงคำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะ เพราะฉะนั้นไม่ว่าการแสดงธรรมนั้นจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ จะมีคนมาฟังมากน้อยเท่าไร ก็ไม่ถือเป็นอารมณ์แสดงธรรมอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ว่างานของคนใหญ่คนโตก็แสดงอย่างเต็มที่แต่งานของคนกระจอกงอกง่อย ก็แสดงกะล่อมกะแล่มไม่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าผู้ใดแสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ผู้นั้นก็เป็นเพียงลูกจ้างของคนฟัง กระแสเสียงที่แสดงก็มักจะเต็มไปด้วยการประจบประแจงเจ้าภาพซึ่งเป็นนายจ้าง ลงได้เอาอามิสมาเป็นเจ้าหัวใจแล้วละก็เป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว

 ๕.ต้องไม่แสดงธรรมกระทบตนเองหรือผู้อื่น คือ ไม่ฉวยโอกาสยกตัวอย่างความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือยกความผิดพลาดของคนอื่นเป็นตัวอย่างเพื่อประจานความผิดของเขา ไม่ใช่ถือว่ามีไมโครโฟนอยู่ในมือ ก็คุยอวดตัวทับถมคนอื่นเรื่อยไป ผู้พูดต้องมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ หากจะยกตัวอย่างเรื่องใดประกอบ เพื่อเป็นข้อสนับสนุนให้ผู้ฟังเข้าใจข้อธรรมะที่แสดง ก็ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหาย การฉวยโอกาสเวลาแสดงธรรมใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นเป็นการกระทำผิดแบบฉบับของศาสนาพุทธ

 เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงวางวิธีการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ไว้อย่างรอบคอบ  แทนที่จะมุ่งแต่แผ่อิทธิพลศาสนาของพระองค์และทับถมโจมตีศาสนาอื่น กลับทรงวางคุณสมบัติควบคุมผู้ทำการสอนศาสนาไว้อย่างรัดกุม ซึ่งหาดูได้ยากในศาสนาอื่นๆ


คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดี
 ๑.ไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่ท่านแสดงว่าง่ายไป  “โถ เรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ท่านสอนคนอย่างเรา เราก็เข้าวัดมาตั้งนานแล้ว เหมือนดูถูกกันนี่”  อย่าคิดอย่างนั้น เพราะธรรมะทุกบท ทุกข้อในพระพุทธศาสนามีอานิสงส์ว่า ถ้าใครเอาไปปฏิบัติจริงๆ อย่างยิ่งยวด แม้เพียงข้อเดียวแล้ว ก็สามารถทำกิเลสให้หมด เข้าพระนิพพานได้ทั้งสิ้น เช่นการไม่คบคนพาล ซึ่งเป็นธรรมะขั้นพื้นฐาน

แต่ถ้าเราไม่คบคนพาลจริงๆ โดยเฉพาะพาลภายใน คือนิสัยไม่ดีต่างๆ ในตัว ไม่ยอมคบด้วยตัดทิ้งให้เด็ดขาด ก็เข้าพระนิพพานได้ หรือหิริโอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ถ้าเรามีคุณธรรมข้อนี้อย่างเต็มที่ สิ่งใดที่เป็นบาปแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ยอมคิด พูด หรือทำโดยเด็ดขาด สร้างแต่บุญกุศลอย่างเต็มที่ อย่างนี้ถ้าไม่ให้เข้าพระนิพพาน แล้วจะให้ไปไหน

 ๒.ไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม  “โถพระเด็กๆ เรานี่หลวงปู่หลวงตาเทศน์มาตั้งเยอะแล้วมาฟังพระเด็กๆ มันจะไปได้อะไร”  อย่าคิดอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้สิ่งต่อไปนี้อย่าดูแคลน
     ๒.๑ อย่าดูถูกไฟว่าเล็กน้อย เพราะมันเผาเมืองได้
     ๒.๒ อย่าดูถูกงูพิษว่าตัวเล็ก เพราะกัดแล้วตายได้
     ๒.๓ อย่าดูถูกกษัตริย์ว่ายังเยาว์ เพราะกษัตริย์บางพระองค์แม้อายุยังน้อย ก็ เป็นมหาราชได้ เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นมหาราชตั้งแต่อายุ ๒๐ เศษ ปกครองถึงค่อนโลก
     ๒.๔ อย่าดูถูกสมณะว่ายังหนุ่ม เพราะสมณะบางรูปแม้อายุยังน้อยก็มีคุณธรรมสูง บางรูปอายุแค่ ๗ ขวบก็เป็นพระอรหันต์แล้ว


๓.ไม่ดูแคลนตัวเองว่าโง่จนไม่สามารถรองรับธรรม  “โถ ไอ้เรามันโง่ดักดานอย่างนี้ กิเลสในตัวก็หนาปึ้กถึงไปฟังธรรมก็คงไม่รู้เรื่องไม่ไปดีกว่า”  อย่าคิดอย่างนั้น เพราะถึงแม้สติปัญญาจะไม่เฉลียวฉลาด แต่ถ้ามีโอกาสเหมาะๆ แล้ว ก็อาจบรรลุธรรมได้

ในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างอยู่มาก พระบางรูปปัญญาทึบมาก ธรรมะแค่ ๔ บรรทัด ท่องจำเป็นปีๆ ยังท่องไม่ได้แต่มีความเพียรไม่ย่อท้อ พอสบโอกาสเหมาะได้ฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม และแนะนำวิธีการทำสมาธิให้โดยแยบคาย พอปฏิบัติตามก็สำเร็จมรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันต์ได้ ตัวเราเองก็ไม่แน่ มีโอกาสเหมือนกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ถึงฟังธรรมยังไม่เข้าใจในขณะนี้ ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปภายหน้าเมื่อได้ฟังซ้ำอีก ก็จะเข้าใจได้ง่าย

๔.มีใจเป็นสมาธิขณะฟังธรรม ฟังธรรมด้วยความตั้งใจขณะฟังธรรมไม่พูดคุย ไม่ล้วงแคะแกะเกา เพราะในการฟังธรรมนั้น ยิ่งมีใจเป็นสมาธิมากเท่าไร ก็สามารถน้อมนำใจตามไป เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมะได้มากเท่านั้น

ในสมัยพุทธกาล เวลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาในเรื่องสำคัญๆ ที่ละเอียดลึกซึ้ง จะทรงหลับพระเนตรเทศน์ในสมาธิ ผู้ฟังก็จะหลับตาทำสมาธิฟังจึงสามารถน้อมใจไปตามธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งลุ่มลึกไปตามลำดับ ได้สำเร็จมรรคผลนิพพานกันเป็นจำนวนมาก พวกเราก็ต้องตั้งใจฟังธรรม ฝึกให้มีสมาธิขณะฟังธรรม ตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อนด้วย
 
 ๕.มีโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักพิจารณาตามธรรมนั้นอย่างแยบคาย พอฟังแล้วก็คิดตามไปด้วย รู้จักจับแง่มุมมาพิจารณาขบคิดตามทำให้มีความแตกฉานเข้าใจในธรรมได้เร็วและลึกซึ้ง


อุปนิสัยจากการฟังธรรม
 อุปนิสัย หมายถึง ความประพฤติ ความเคยชิน ที่ติดตัวเรามา และจะติดตัวเราไปเป็นพื้นใจในภายหน้า
การฟังธรรมจะทำให้เกิดความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในใจเราแล้วเป็นเครื่องอุดหนุนให้เรามีความเจริญรุ่งเรืองและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย

   ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ผู้ที่หมั่นฟังธรรม แล้วพยายามศึกษาทำความเข้าใจ ถึงไม่เข้าใจก็พยายามจำ จะได้รับอานิสงส์ ๔ ประการคือ

     ๑.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น ย่อมมีปัญญารู้ธรรมได้เร็วสามารถระลึกได้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตามธรรมนั้น บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

     ๒.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น เมื่อรู้ธรรมแล้ว ก็สามารถสั่งสอนคนอื่นได้ด้วย ตนเองก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว

     ๓.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้แสดงธรรมให้ฟัง ก็ย่อมระลึกได้ มีความเข้าใจปรุโปร่ง ไม่คลางแคลงสงสัยทำให้ สามารถบรรลุมรรคผลนิพานได้เร็ว เหมือนคนที่เคยได้ยินเสียงกลองมาแล้ว พอเดินทางไปในที่ไกล แล้วได้ยินเสียงกลองอีก ก็รู้ทันทีว่านั่นเสียงกลอง ความคลางแคลงสงสัยว่านั่นใช่เสียงกลองหรือไม่ ย่อมจะไม่เกิดชึ้นแก่บคคลนั้น

     ๔.เมื่อละจากโลกนี้ไปเกิดในภพอื่น แม้จะยังระลึกธรรมเองไม่ได้ และไม่มีผู้แสดงธรรม แต่เมื่อมีผู้ตักเตือนด้วยคำเพียงไม่กี่คำหรือแม้บางครั้งได้ยินโดยบังเอิญ ก็ทำให้สามรถระลึกธรรมได้และมีความเข้าใจ สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว


 พวกเราที่สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกันบ่อยๆ แม้ยังไม่เข้าใจความหมายของคำบาลี แต่ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดความคุ้นเคยในสำเนียงภาษาธรรมะ ภพเบื้องหน้า ได้ยินใครสวดมนต์ก็อยากเข้าใกล้ ได้ยินใครพูดธรรมะก็อยากเข้าใกล้ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจได้ง่าย เพราะอุปนิสัยพื้นใจมาแต่เดิมแล้ว ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้เร็ว


 อานิสงส์การฟังธรรมตามกาล
 ๑.เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษา ค้นคว้า ขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน

 ๒.เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือ ถ้าหัวข้อธรรมที่ผู้แสดงนำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิม ให้เกิดความเข้าใจแตกฉาน สามารถจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น

๓.เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้ คือ ถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละความชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่าง เมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่วทำความดีง่ายขึ้น

 ๔.เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือ ในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่จุดหมายของคนเรานั้น เราจะถูกมาร คือ กิเลสและสิ่งแวดล้อมไม่ดีต่างๆ ทำให้มีความคิดเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวน เฉไฉผิดเป้าหมายไป การฟังธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นที่ผิดเสียประคองความเห็นที่ถูกไว้

๕.เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น คือ การฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเราเลิกละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และสอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

"ดูก่อน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย สมัยใด พระอริยสาวกฟังธรรม ฟังให้จดระดูก ฝังไว้ในใจ รวบรวมกำลังใจทั้งหมดมา เงี่ยหูลงมาฟังจริงๆ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ของเธอย่อมไม่มี และโพชฌงค์ ๗ ก็จะถึงซึ่งความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม เพราะอำนาจแห่งภาวนา " (พุทธพจน์)


อ้างอิง
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ โดย นพ.ฆฤณ เอมะศิริ
http://mongkhol.cjb.net
ขอบคุณภาพจาก http://84000.org/,http://www.wpkms.com/,http://palungjit.com/,http://www.dhammadelivery.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:46:53 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:42:30 am »
0

มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล

"การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดด้วยจิตเมตตา เป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าของวิชาการทางโลกฉันใด การสนทนาธรรมตามกาลด้วยความเคารพในธรรม ก็ย่อมนำมาซึ่งสติปัญญาอันเป็นหนทางเพื่อความพ้นทุกข์ฉันนั้น"
 
ทำไมจึงต้องสนทนาธรรมตามกาล “ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของคน”  นี่คือพุทธวจนะที่แสดงให้เห็นคุณค่าของปัญญา เพราะขีวิตคนนั้นมีปัญหามาก ปัญหาเหล่านั้นล้วนต้องแก้ด้วยปัญญา ใครมีปัญญามากก็เหมือนมีแก้วสารพัดนึกไว้ในตัว ย่อมสามารถฝ่า ฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้โดยง่าย

ปัญญาเกิดได้จาก ๒ เหตุใหญ่คือ
     ๑.จากการฟังธรรมของกัลยาณมิตร ผู้มีปัญญารู้จริง
     ๒.จากการพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคาย


 วิธีลัดที่จะทำให้เกิดปัญญาอย่างรวดเร็ว คือ การสนทนาธรรมตามกาล ซึ่งเป็นการบังคับให้ตนเองต้องทั้งฟังทั้งพูด ต้องเป็นนักฟังที่ดี ฟังผู้อื่นพูดด้วยความตั้งใจ ฟังแล้วก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองโดยแยบคายตามไปทันทีสงสัยอะไรก็สามารถซักถามได้ นอกจากนั้นถ้าตนเองมีความรู้ในธรรมะเรื่องใดก็นำมาพูดเล่าให้ผู้อื่นฟังได้ด้วย แต่ทั้งหมดนี้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดโทษมากกว่าคุณ


สนทนาธรรมตามกาลคืออะไร ?
การสนทนาธรรมตามกาล คือการพูดคุยซักถามธรรมะซึ่งกันและกัน ระหว่างคน ๒ คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและแบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้รับความเบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุศลไปในตัวด้วย

 ในพระพุทธศาสนา คำว่า “ธรรม” มีความหมายกว้าง  อยู่ ๒ ประการ คือ
     ๑.ธรรมหมายถึงความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะ คือความเป็นจริงตามธรรมชาติ
     ๒.ธรรมหมายถึงความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีล มีเมตตา กรุณา เป็นความดี ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่าปฏิบัติธรรม


 การสนทนาธรรมที่ถูกต้อง จึงหมายถึง การสนทนาให้รู้ว่าสิ่งใดเป็นอกุศลธรรมความชั่ว จะได้ละเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมความดีจะได้ตั้งใจทำให้มาก และสิ่งใดเป็นอัพยากตธรรม คือ ความจริงตามธรรมชาติไม่ดีไม่ชั่ว ก็รู้เท่าทันทุกประการ จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดให้เกิดทุกข์


ความยากในการสนทนาธรรม
 การสนทนาธรรม หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “คุยธรรมะ” นั้นดูเผินๆ ก็ไม่น่ายาก ก็เหมือนคนมาคุยกันตามธรรมดานั้นแหละ เราก็คุยกันออกบ่อยไป เพียงแต่เรื่องที่คุยเป็นเรื่องธรรมะเท่านั้น แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ดูเบาในการสนทนาธรรม พูดคุยธรรมะกันได้ไม่นานก็มักมีเรื่องวงแตก กันอยู่บ่อยๆ

พ่อลูกนั่งดื่มเหล้าคุยธรรมะกันพ่อบอกกินยาถ่ายพยาธิไม่บาป เพราะไม่เจตนาฆ่า ลูกบอกบาปเพราะรู้ว่ามันจะต้องตายก็ยังไปกินยาถ่าย เถียงกันไปเถียงกันมาไม่กี่คำ พ่อคว้าปืนลูกซองไล่ยิงเสียรอบบ้าน อย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะดูเบาในการสนทนาธรรม ความยากในการสนทนาธรรมนั้นเป็นเพราะ

 ๑.คู่สนทนาต้องพูดธรรมะเป็น คือ เมื่อเข้าใจอย่างไรแล้ว ก็สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดให้เขาเข้าใจตามนั้นได้ด้วย โดยยึดหลักการพูดในมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิตเป็นบรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดการแตกร้าวเข้าใจผิดแก่ผู้ฟัง คือ
     ๑.๑ เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องจริง
     ๑.๒ เรื่องที่พูดนั้นเป็นเรื่องมีประโยชน์
     ๑.๓ ต้องพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ
     ๑.๔ ต้องพูดถูกกาลเทศะ
     ๑.๕ ต้องพูดด้วยจิตเมตตา


 การพูดธรรมะนั้นจะต้องยึดเอาความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่พูดเอาความถูกใจ คนส่วนมากในโลกนี้ชอบให้เขาชม แต่ว่าสนทนาธรรมกันแล้วมัวไปนั่งชมอยู่อย่างเดียว “คุณก็เก่ง ฉันก็เก่ง” เดี๋ยวก็ได้บ้ากันทั้งคู่ แต่ก็ไม่ใช่มานั่งติอย่างเดียว

“คุณนิสัยอันโน้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ดี” คนเรายังไม่หมดกิเลส เดี๋ยวก็ทนกันไม่ได้ ยิ่งถ้าแถมมีการยกตนข่มท่านเข้าไปอีก หรือไม่ก็ยกสำนักมาอวดกัน “ถึงฉันไม่เก่ง อาจารย์ฉันก็เก่งนะ” อะไรทำนองนี้ เดี๋ยวก็ผูกใจเจ็บกัน สนทนาธรรมไปได้ ๒-๓ คำ จะกลายเป็นสนทนากรรมไป จะต้องมีความพอเหมาะพอดี รู้จักใช้วาจาสุภาษิต

๒.คู่สนทนาต้องฟังธรรมเป็น การฟังธรรมนี่ดูเผินๆ เหมือนจะง่าย ถึงเวลาก็แค่ไปนั่งฟังๆไม่เห็นจะมีอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วการฟังธรรมะที่ถูกต้อง คือฟังด้วยความพิจารณา แต่การรู้จักควบคุมใจให้พิจารณาตามธรรม หยิบยกเอาประโยชน์จากการฟังนั้นยาก ยากกว่าการพูดธรรมะใหคนอื่นฟังหลายเท่า ที่ว่ายากนั้นก็เป็นเพราะ
 
     ๒.๑ ยากที่จะควบคุมใจให้อยากฟังธรรม เพราะการฟังธรรมนั้นไม่สนุกเหมือนการไปฟังละคร ฟังเพลง ถ้าไม่รู้จักควบคุมตนเองฟังไปได้สักนิด หนังตาก็เริ่มหนัก พาลจะหลับเอา หรือไม่อย่างนั้นก็นั่งใจลอย คิดไปถึงเรื่องอื่น มีผู้เปรียบว่า การควบคุมใจให้อยากฟังธรรมะนั้น ยังยากกว่าคุมลิงให้นั่งนิ่งๆ เสียอีก
 
     ๒.๒ ยากที่จะยอมรับธรรมะที่ได้ยินนั้นเข้าไปสู่ใจ ทั้งนี้ก็เพราะกิเลสต่างๆ ในตัวเรา เช่น ความหัวดื้อ ความถือตัว ความเห็นผิด ฯลฯ มันคอยต่อต้านธรรมะไว้ พอเรื่องธรรมะที่ได้ฟังขัดกับ
ความเคยชินประจำตัว เช่น ฟังว่าต้องมีวินัยให้ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ฟังแล้วก็เริ่มขัดใจ เพราะมันขัดกันกับความเคยชินของตัวเอง ขัดกับกิเลสในตัวเลยไม่ค่อยจะยอมรับ มันนึกค้านในใจ


 ผู้ที่จะฟังธรรมเป็นนั้น จะต้องหมั่นฟังธรรมบ่อยๆ จนเคยชินฝึกเป็นคนมีความเคารพ มองคนอื่นในแง่ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความสันโดษ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม รู้จักพอ รู้จักประมาณ และมีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน จะทำให้มีอัธยาศัยใฝ่ธรรม ฟังธรรมเป็น สามารถรองรับธรรมะที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้
 
๓.คู่สนทนาต้องสนทนาธรรมเป็น คือ ต้องทั้งฟังด้วย และพูดด้วยในเวลาเดียวกัน เขาพูดเราฟัง เราพูดเขาฟัง บางอย่างเราไม่อยากจะฟัง แต่เมื่อเขาพูดเราก็จำต้องฟัง บางอย่างเราอยากจะพูด แต่ไม่มีจังหวะที่จะพูดก็จำต้องระงับใจไว้ไม่พูด

เมื่อตอนสอนคนอื่นเขาไม่มีใครค้านสักคำ นิ่งฟังยอมเราหมด แต่ตอนสนทนาธรรม เราจะต้องลดตัวลงมาอยู่ในฐานะเป็นทั้งคนพูดทั้งคนฟัง ถ้าพูดถูกเขาก็ชม พูดผิดเขาก็ค้าน อาจถูกติ ถูกขัด ถูกแขวะ ถูกชม ถูกค้าน ได้ตลอดเวลา ซึ่งตรงนี้แหละที่ยั่วกิเลสนักหนา ถ้าไม่ควบคุมใจให้ดีกิเลสมันก็คอยจะออกมาจุ้นจ้านให้ได้ ขึ้นต้นคนกับคนคุยธรรมะกัน ไปได้ไม่กี่น้ำ กิเลสกับกิเลสมันออกมาโต้กันให้ยุ่งไปหมด

   ผู้ที่จะสนทนาธรรมได้ จึงต้องฝึกขันติจนมีความอดทนต่อการถูกติเป็นเลิศ ทนคำพูดที่ไม่ชอบใจได้ทั้งจากคนที่สูงกว่า และต่ำกว่า มีความว่าง่ายสอนง่ายในตัว และต้องเลือกคู่สนทนาเป็นคือ ต้องเป็นคนประเภทสมณะ ใฝ่สงบด้วยกัน

 มีผู้อุปมาไว้ว่า การพูดธรรมให้คนอื่นฟังก็เหมือนชกลม ชกจนหมดแรงเราก็ไม่เจ็บสักนิด ลมมันแพ้เราทุกที ทีนี้การฟังธรรมที่คนอื่นพูด เหมือนการชกกระสอบทราย คือ ชกไปก็รู้สึกเจ็บมือมาบ้าง ฟังเขาพูดก็เหมือนกันใจเราสะเทือนบ้าง แต่การสนทนาธรรมนั้นเหมือนการขึ้นชกบนเวทีจริงๆ เราชกเขา เขาชกเรา ชกกันไปชกกันมา ถูกล่อถูกหลอก ถูกกวนใจตลอดเวลาถ้าไม่ระวังให้ดี อาจทนไม่ได้โกรธขึ้นมาตนเองกลายเป็นคนพาลไป


ข้อควรปฏิบัติในการสนทนาธรรม
     ๑.ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ หรือถ้ารักษาศีล ๘ มาล่วงหน้าสัก ๗ วัน ก่อนสนทนาได้ยิ่งดี ไม่ใช่เพิ่งสร่างเมาแล้วมาคุยธรรมะกันหรือว่ากินเหล้าไปคุยธรรมะไปอย่างนั้นใช้ไม่ได้

     ๒.ต้องหมั่นเจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนสนทนาธรรมถ้าได้ทำสมาธิก่อนจะดีมาก เพราะใจจะผ่องใสดีทำสมาธิเหมือนอย่างกับว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวของเราเป็นก้อนธรรมทั้งก้อน ให้ตัวเป็นธรรมใจเป็นธรรมเสียก่อนแล้วจึงมาสนทนาธรรมกัน

     ๓.แต่งกายสุภาพ ทีแรกเราชำระศีลให้บริสุทธิ์เน้นกายกับวาจาเป็นธรรมแล้ว พอเราทำสมาธิบ่อยๆ เข้า ใจของเราก็เป็นธรรมด้วยถึงเวลาจะสนทนา ก็ต้องแต่งกายให้สุภาพ ให้เครื่องประกอบกายของเราก็เป็นธรรมด้วย ไม่ใช่เสื้อผ้าสีบาดตา แบบก็สุภาพ สะอาด ถ้าเป็นชุดขาวได้จะดีมาก

     ๔.กิริยาสุภาพ จะยืน จะเดิน จะนั่ง ให้เรียบร้อย หนักแน่น สงบเสงี่ยม สำรวม มีกิริยาเป็นธรรม ไม่ให้กิริยาของเราทำให้ผู้อื่นขุ่นใจ เข่น เดินลงส้นเท้ามาปังๆ

     ๕.วาจาสุภาพ คือ มีวาจาสุภาษิตดังได้กล่าวมาแล้ว ไม่พูดเสีงดัง ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่รู้บอกว่าไม่รู้ ควรชมก็ชม ควรติก็ติแต่ไม่ด่า

     ๖.ไม่กล่าวค้านพุทธพจน์ หรือปฏิเสธอรรถกถาฎีกา โดยเด็ดขาดเพราะพุทธพจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น โดยเนื้อแท้แล้วย่อมถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซนต์ อรรถกถาหรือฎีกาเกือบทั้งหมดก็ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับว่า สติปัญญาของเรามีพอจะไตร่ตรองตามท่านหรือไม่ถ้าเราไปกล่าวค้านหรือปฏิเสธโดยเด็ดขาดไว้แล้ว

       ประการแรก ก็ไม่รู้จะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน
       ประการที่ ๒ หากคู่สนทนาอธิบายหรือชี้แจงถึงเหตุผลให้เราฟัง แม้เราจะเข้าใจก็อาจไม่ยอมรับเพราะกลัวเสียหน้ามีทิฐิ ทำให้เกิดการวิวาทบาดหมางใจกันได้ ดังนั้น สำหรับอรรถกถาหรือฎีกา เมื่อไม่เห็นด้วยก็ควรแสดงเพียงแต่ว่ารู้สึกสงสัย หรือแสดงความเห็นของตนว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่า พร้อมกับขอความเห็นจากคู่สนทนา


     ๗.ไม่พูดวาจาที่ทำให้เกิดความแตกร้าว ไม่ใช้คำพูดก้าวร้าวรุนแรงแต่ใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ประสานน้ำใจ 

     ๘.ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อถูกขัดแย้ง เราพูดอะไรไปถ้าเขาเย้ามาอย่าเพิ่งโกรธ ให้พิจารณาไตร่ตรองดูโดยแยบคาย เพราะบางทีเราอาจมองข้ามอะไรบางอย่างไป เรื่องบางเรื่องอาจถูกในที่หนึ่ง แต่ผิดในอีกที่หนึ่ง ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ถ้าเราด่วนโกรธเสียก่อนความคิดที่จะไตร่ตรองตามก็ไม่มี ปัญญาของเราจะถูกความโกรธปิดบังหมด

     ๙.ไม่ปรารถนาลามก คิดที่จะให้ตนมีชื่อเสียง อยากเด่นอยากดังตังใจจะฉีกหน้าผู้อื่นเพื่อให้ตนดัง ถ้าวันไหนจะไปสนทนาธรรม แล้วเกิดมีความรู้สึกอยากจะไปฉีกหน้าใคร วันนั้นนอนอยู่บ้านดีกว่า มันไม่เป็นธรรมตั้งแต่ต้นแล้ว อย่าไปแกว่งปากหานรกเลย

     ๑๐.ตั้งจิตไว้ว่าจะสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา จะเอาความรู้เราไปต่อเอาความรู้คนอื่นเขามา ไม่ใช่ไปเพื่ออวดรู้ แต่จะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน

     ๑๑.ไม่พูดออกนอกเรื่องที่ตั้งประเด็นไว้ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นอวดดี หรือนินทาคนอื่นไป เช่นพูดเรื่องบาป พูดไปพูดมา กลายเป็นว่า “ฉันน่ะไปทำทานไว้ที่นั่นที่นี่” กลายเป็นอวดว่าฉันใจบุญนะ หรือพูดเรื่องทาน พูดไปพูดมากลายเป็นว่า “อุ๊ย แม่คนนั้นน่ะขี้เหนียว อีตาเศรษฐีนั้นก็ขี้เหนียว” ถามว่าใครดี “ฉัน ฉัน” อย่างนี้ใช้ไม่ได้

     ๑๒.ไม่พูดนานไปจนน่าเบื่อ รู้จักกาลเทศะ



วิธีสนทนาธรรม
 โดยสรุปหลักในการสนทนาธรรมรวมได้เป็น ๓ ประการ คือ

๑.สนทนาในธรรม คือ เรื่องที่จะสนทนากันต้องเป็นเรื่องธรรมะให้อยู่ในวงธรรมะ อย่าออกนอกวง เช่นถ้าพูดถึงการทำความดีก็ให้สุดแค่ทำดีอย่าให้เลยไปถึงอวดดี ถ้าจะพูดถึงเรื่องการป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว ก็ให้สุดแค่ป้องกันการทำชั่ว อย่าให้เลยไปถึงนินทาคนอื่
 
 ๒.สนทนาด้วยธรรม คือ ผู้ที่สนทนากันจะต้องไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ เช่น ทางกายก็มีการเคารพกันโดยฐานานุรูป ควรไหว้ก็ไหว้ ควรกราบก็กราบ อย่าคิดทะนงตัวด้วยเหตุคิดว่ามีความรู้มากกว่าเขา ในทางวาจาก็ใช้ถ้อยคำสุภาพเรียบร้อย เป็นวาจาสุภาษิต ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกก็ชม ถ้าอีกฝ่ายผิดก็ทักโดยสุภาพไม่กล่าววาจาเหน็บแนมล่วงเกิน และถ้าพลาดพลั้งก็ขอโทษไม่ใช่สนทนากันด้วยกิเลส หรือปล่อยกิเลสออกมาโต้กันดังได้กล่าวมาแล้ว

 ๓.สนทนาเพื่อธรรม คือ ผู้สนทนาต้องตั้งจุดมุ่งหมายไว้ในใจของตนให้แน่นอนว่า เราจะหาความรู้ความเข้าใจในธรรมะให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ใช่จะอวดรู้หรือวดธรรมะ แม้บางจังหวะเราเป็นผู้แสดงความรู้ออกไปก็คิดว่าเราจะเอาความรู้ของเราไปต่อเอาความรู้ของผู้อื่นเข้ามา มิใช่จะเพื่ออวดรู้


วิธีเลือกคู่สนทนาธรรม
 หลักในการเลือกคู่สนทนาธรรมมีอยู่ ๒ ประการคือ

     ๑.คู่สนทนาต้องมีอัธยาศัยใฝ่ธรรม และสงบเสงี่ยมเยี่ยงสมณะแม้เป็นฆราวาสก็เป็นคนรักสงบ ไม่เป็นคนชอบอวดภูมิ ชอบโม้

     ๒.เรื่องที่จะสนทนาต้องเหมาะกับบุคคลนั้นๆ เช่น คุยเรื่องพระวินัยกับผู้เชี่ยวชาญพระวินัย คุยเรื่องชาดกกับผู้เชี่ยวชาญชาดกจะสนทนาเรื่องสมาธิก็เลือกสนทนากับผู้ที่เขาฝึกสมาธิมาแล้วอย่างจริงจัง เป็นต้น



การสนทนาธรรมในครอบครัว
     ตั้งแต่โบราณในครอบครัวไทยก็มีการสนทนาธรรมกันอยู่เป็นประจำ เช่น กลางวันพ่อแม่ออกไปทำนา ทำสวน ทำงานอื่นๆ ผู้เฒ่า ปู่ย่าตายายที่อยู่บ้าน ก็ทำงานสานกระบุง ตะกร้า ไปบ้าง ทำงานอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ก็วิ่งเล่นกันอยู่ใกล้ๆ สักพักปู่ย่าตายายก็เรียกมาล้อมวงเล่านิทานให้ฟัง ซึ่งก็ไม่พ้นนิทานธรรมะเรื่องชาดกบ้าง เรื่องอื่นๆ บ้าง เด็กๆ ฟังแล้วสงสัยสิ่งใดก็ซักถามกันทำให้บ่อย ๆจะได้ซึมซาบธรรมะไปในตัว หรือตกเย็นตอนรับประทานอาหารก็อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตารับประทานอาหารเสร็จแล้ว

พ่อแม่ก็หยิบยกเรื่องธรรมะมาคุยกันบ้าง เล่าให้ลูกฟังบ้าง เป็นการสนทนาธรรมกันในครอบครัว ขณะเดียวกันก็คอยสังเกตลูกๆ ด้วย เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก ก็พอจะทราบอยู่บ้างว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าในวันนั้นเขาไปทำอะไรผิดมา จะมีพิรุธอยู่ในตัว ถ้าพ่อแม่สังเกตก็จะเห็น แล้วก็จะได้ตักเตือนสั่งสอนกัน แต่ถ้าเด็กทำผิดถึง ๓ ครั้งแล้วยังจับไม่ได้ ก็จะไม่มีพิรุธให้เห็นอีก เพราะเด็กจะเกิดความเคยชิน และถึงจะจับได้ภายหลังก็แก้ยาก เพราะเคยชินเป็นนิสัยแล้ว

 ปัจจุบัน โอกาสที่จะสนทนาธรรมกันในครอบครัวมีน้อยลง ส่วนใหญ่พอตกเย็นหลังจากรับประทานอาหารแล้ว พ่อแม่ลูกก็นั่งล้อมวงหน้าทีวีไม่มีโอกาสได้พูดคุยธรรมะกัน ซึ่งอันนี้เป็นข้อบกพร่อง จะทำให้พวกเราพลาดไป ถ้าพ่อแม่คนไหนอยากได้ลูกดี เป็นลูกแก้ว นำชื่อเสียงความเจริญมาสู่ตระกูล อยากให้ครอบครัวร่มเย็น

อย่ามองข้ามอันนี้ไป ให้รื้อฟื้นการสนทนาธรรมในครอบครัวขึ้นมาให้ได้ ถ้าเป็นประเภทอาหารเย็นพ่อไปงานเลี้ยงที่หนึ่ง แม่ไปธุระอีกที่หนึ่ง ให้ลูกๆ รับประทานอาหารกันเอง หรืออยู่กับพี่เลี้ยง นั่นพลาดแล้ว พ่อแม่ที่มัวแต่คิดจะหาเงินให้ลูก แต่ลืมนึกถึงการปลูกฝังธรรมแก่ลูกๆ ตั้งแต่ยังเล็ก โอกาสที่ลูกจะเสียคนมีมากเหลือเกิน


อานิสงส์การสนทนาธรรมตามกาล

 ๑.ทำให้จิตเป็นกุศล
 ๒.ทำให้มีไหวพริบปฏิภาณดี
 ๓.ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
 ๔.ทำให้ได้ยินได้ฟังธรรมะที่ตนยังไม่ได้ฟัง
 ๕.ธรรมที่ฟังแล้วยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจชัดขึ้น
 ๖.ทำให้บรรเทาความสงสัยเสียได้
 ๗.เป็นการทำความเห็นของตนให้ตรง
 ๘.เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
 ๙.เป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของพระอริยเจ้าไว้
 ๑๐.ชื่อว่าได้ดำเนินตามปฏิปทาอันเป็นวงศ์ของนักปราชญ์ 
 


อ้างอิง
มงคลชีวิต ๓๘ ประการ โดย นพ.ฆฤณ เอมะศิริ
http://mongkhol.cjb.net
ขอบคุณภาพจาก http://www.luangpukahlong.com/,http://www.namjaidham.net/,http://lh3.ggpht.com/,http://www.dhammajak.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 09, 2011, 11:47:22 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ในมงคลสูตร กล่าวไว้ว่า การฟังธรรมตามกาล และสนทนาธรรมตามกาล เป็นมงคลสูงสุด

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
     การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง  ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
     ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน       ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร


มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
     ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย       เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
     เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล   ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร



ที่มา  http://www.fungdham.com/mongkhol38/mongkhol38.html
อ้างอิง 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต “มงคลสูตร”
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๔๑ - ๗๒.  หน้าที่  ๓ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bodhiyalai.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คือเห็นบางท่าน ก็คุย ๆๆๆๆ จ้อ ๆๆๆๆๆ เป็น คุ้ง เป็น แคว แต่ไม่เห็นได้ภาวนาหรือปฏิบัติ

หรือบางที ก็นำ พระพุทธภาษิต บ้าง มากล้อมแกล้ม เสียดแทงผู้ือื่น

  เลยมุมมองของผมในสมัย นี้ การเสวนาธรรม แท้ที่จริง เป็นความฟุ้งซ่าน หรือ เป็นการสืบ พระธรรมวินัย กันแน่ ครับ

  :s_hi: :93:

   ลองอ่านดูก่อนนะครับ อาจจะยาวไปบ้าง แต่เชื่อว่าการอ่านครั้งนี้จะได้กุศลมาก และเป็นมงคลอย่างยิ่ง
     :welcome: :49::25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ