ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - kittisak
หน้า: [1] 2 3
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อยากให้พระอาจารย์ พิจารณา ข้อเสนอด้วยครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2016, 02:45:36 pm
อยากให้พระอาจารย์ พิจารณา ข้อเสนอด้วยครับ

  เพื่อใม่ให้เป็นการปรามาส ผมขอขมา ก่อนเสนอนะครับ

  1. ตอนนี้โพสต์ สั้น ไม่สามารถ อนุโมทนา สาธุ หรือ พิมพ์สอบถามได้ครับ อยากให้พระอาจารย์ กระจายออกเป็นบทความ เป็นกระทู้หนึ่งได้หรือไม่ครับ จะได้อนุโมทนา หรือ สอบถาม บางเรื่องผมอ่านตรงใจครับ แล้ว อยากถามแต่ถามไม่ได้

  2.อยากให้เปิดห้อง ปิดทองหลังพระ เป็นสากลทุกคนอ่านได้

  3.เรียกสมาชิก ที่โพสต์ในเฟค กลับมาโพสต์ ที่เว็บ น่าจะดีกว่า นะครับ

  ควรมิควรแล้ว แต่พระอาจารย์ พิจารณาครับ
 
 :25:
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ? เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 02:24:46 pm
 ask1

เป็น พระ ควรไหว้ พ่อแม่ หรือ ไม่ ?

คำว่า พระอรหันต์ ของลูก มีในพระสูตรหรือ ไม่ หรือ มีความเป็นมาอย่างไร ?

 สมมุติ ว่า มีในพระสูตร แล้วอย่างนี้ พระกราบพ่อแม่ ก็ไม่เป็นไร ใช่หรือไม่ ?

   thk56
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อยากให้ยกตัวอย่าง พระอริยะ ท่านก็ทำบุญ พร้อม เหตุผลว่า ทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 02:21:40 pm
 ask1

อยากให้ยกตัวอย่าง พระอริยะ ท่านก็ทำบุญ พร้อม เหตุผลว่า ทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร

  thk56
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เรียนถาม รายชื่อ สมาชิก สีน้ำเงิน เป็นศิษย์ พระอาจารย์ ทุกคนหรือไม่ ครับ เมื่อ: สิงหาคม 10, 2015, 01:11:33 pm
 ask1
เรียนถาม รายชื่อ สมาชิก สีน้ำเงิน เป็นศิษย์ พระอาจารย์ ทุกคนหรือไม่ ครับ

    คือ ผมพิจารณา ดูไม่ค่อยเห็นตอบอะไร เลย... ไม่ทราบว่า ใช่ทีมงาน มัชฌิมา ทั้งหมดหรือไม่ ครับ ?

   thk56 st11 st12 st12
5  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วันธงไชย ปี 2557 โดย กิตติศักดิ์ เมื่อ: มกราคม 04, 2014, 11:13:14 am


6  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อยู่แบบไหน ถึงจะคลายกังวล ใจไปได้ ึครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2013, 01:28:22 pm
 ask1 ask1 ask1
อยู่แบบ กระท่อม น้อย รอพัง
อยู่แบบหรู คอย ระวัง



 :49:
  เพื่อน ๆ สมาชิก คิดว่า อยู่แบบไหน จะไม่มีความกังวล ครับ
   ทำไม พระสงฆ์ จึงเป็นผู้ปราศจาก บ่วง นี้ ก็เพราะ ท่านสละ อย่างนี้ นะครับ เป็นอยู่แบบไม่เป็นเจ้าของกัน นะครับ


   
7  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วันธงไชย ปี พ.ศ. 2556 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2012, 10:04:18 am

ขอบคุณภาพ แบนเนอร์โดย vichai

วันนี้มาปูพื้นฐาน เรื่อง ฤกษ์ ให้ก่อนที่จะนำปฏิทิน มาให้ท่านได้ใช้กัน เพื่อจะได้ไม่ต้องถามผมกันมาก นะครับ
 เรื่องที่ควรรู้เรื่อง แรก คือ วัน ฟู วันจม ที่ กำหนดไว้ใน โหราศาสตร์ นะครับ



   กฏข้อที่ 14  วันจม โบราณถือนักว่า ไม่ควรทำการมงคลหรือออกเดินทางในวันจม ท่านว่าเป็นอัปมงคลของแต่ละเดือนในเดือนหนึ่งท่านกำหนดไว้ว่า วันใด เป็นวันจม วันใดเป็นวันฟู หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันลอย ตามเกณฑ์เดือนละ 1 ดังนั้นให้ทำการวันฟูจึงจะเป็น ศิริมงคล ส่วนวันใดที่ปลอดคือ ไม่ตรงกับวันจม หรือวันฟู นั้นไม่ห้าม

   แต่นัยยะ นี้ก็สามารถ ดูฤกษ์ประกอบได้ ด้วย เป็นเกณฑ์การตัดสินอีกครั้ง


สำหรับ ฤกษ์ แต่งงาน (ช่วงนี้จัดว่าเป็น สีสรร งานแต่ ก็จะมี เดือน 12 และ 1  5 เดือน 6 เป็นที่นิยม มาก ) 


     เรียกว่า ฤกษ์เรียงหมอน  วันขึ้น 7  10  13  กับ แรม  4  8  10  14  เรียกว่า เรียงหมอนหัวขึ้น เป็นที่นิยมนัก ถ้าทำการเรียงหมอนในดิถิทั้ง 7 นี้ จะอยู่ด้วยกันจนแก่ จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทองถือ กระบองยอดเพชร ท่านว่าเจริญศรี ศุภสวัสสดีทุกประการแล

     โดยภาพรวมใช้เกณฑ์ ดังนี้ แต่อย่างไร ก็ต้องเทียบกับ วันเดือนปีเกิด ดวงสมพงษ์ทั้งสองประกอบด้วย เพราะถึงแม้จะได้ดิถิ แต่ ทุกคนก็ยังมี วันสว่าง วันดับ ดังนั้น ถึงดิถีได็ก็ต้องตรวจลัคนาประกอบไปด้วย นี่เป็นเหตุผลอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้วัน กำหนดแต่งงานมีน้อยลง


  ภาพจากตำรา นะครับ จะได้เข้าใจเรื่อง ดิถีเรียงหมอนมากขึ้น

  ก็มานำหัวข้อไว้ก่อนนะครับ ก่อนที่จะนำปฏิทิน ปีหน้ามาลงให้ท่านใช้กัน
8  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วันธงไชย ปี พ.ศ. 2555 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2011, 09:40:47 am


ปีนี้เป็นปี มะโรง นะทุกท่าน


ความรู้เกี่ยวกับเรื่องฤกษ์


ฤกษ์ หมายถึง คราวหรือเวลา ความปลอดภัยหรือความสำเร็จสมประสงค์ อำนวยความเป็นศิริมงคลแก่ผู้ประกอบการนั้น ๆ

ฤกษ์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ฤกษ์บนและฤกษ์ล่าง

ฤกษ์บน เป็นชัยมงคลเบื้องสูง โดยถือตำแหน่งของพระจันทร์และดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ เป็นหลัก คือ กำหนดโดยจันทร์ พระจันทร์ต้องดีไม่เป็นอริ มรณะ และวินาศแก่ผู้ประกอบการ พระจันทร์โคจรให้คุณเช่นจันทร์ครุสุริยา ทางโหราศาสตร์ใด้กำหนดฤกษ์ไว้ 9 ฤกษ์ ได้แก่
  - ทลิทโทฤกษ์
             - มหัทธโณฤกษ์
             - โจโรฤกษ์
             - ภูมิปาโลฤกษ์
             - เทศาตรีฤกษ์
             - เทวีฤกษ์
             - เพชฌฆาตฤกษ์
             - ราชาฤกษ์
             - สมโณฤกษ์

* ความหมายหรือวิธีการใช้แต่ละฤกษ์ดูด้านล่างนะครับ เพราะแต่ละฤกษ์มีการนำไปใช้เฉพาะเรื่อง  เช่น การขอแต่งงาน หมั้นสาว ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ ฯลฯ ให้ใช้ ทลิทโทฤกษ์

ฤกษ์ล่าง ซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคลทางเบื้องใต้ฟ้า หรือเบื้องต่ำบนพื้นดิน โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยให้วันทั้ง 7 ประกอบด้วยดิถี ขึ้น แรม และเดือน ปี เป็นหลักในการคำนวณนับ เช่น วันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ และมีดิถี คือ ขึ้น แรม ดิถีธงชัย ดิถีพิฆาต อีกทั้งวันจม วันฟู วันลอย กทิงวัน อัคนิโรธ ทักทิน ยมขันธ์ จัดเป็นฤกษ์ย่อยต่าง ๆ รวมเรียกว่า "ฤกษ์ล่าง" หรือ (ภูมิดล)

หมายเหตุ : ฤกษ์ที่ให้ไว้ด้านบน (ฤกษ์มงคลต่างๆ ในเดือนพฤษภาคม)  นั้นคำนวณจากหลักฤกษ์บนและฤกษ์ล่างประกอบกัน

ความหมายและการนำฤกษ์ทั้ง 9 ไปใช้

  1. ทลิทโทฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 1 , 10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง
ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ "ชูชก" มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์" คือฤกษ์ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาทฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่างๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น  การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านขายของชำ ของเก่าชำรุด สมัครงาน ทำการใดๆ ที่ริเริ่มใหม่

สรุปการใช้ฤกษนี้

     ฤกษ์นี้ใช้สำหรับ ขอผัดผ่อนหนี้ ขอหมั้น ขอแต่งงาน ขอทำงาน ขอสมัครงาน ขอร้อง สู่ขอ ขอคืนดี ขอรี่ไร ขอส่วนแบ่ง ขอกู้เงิน ยืมเงิน ขอผ่อนผัน ขอให้อุปการะ ขอให้ค้ำประกัน ขอซ่อม ขอร้อง ร้องขอ ขอความเป็นธรรม ขอร้องทุกข์ ขอความช่วยเหลือ สรุปคือบรรดาการขอ (ขอร้อง) ทุกอย่างให้ใช้ฤกษ์นี้

2. มหัทธโนฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 2 , 11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคล

สรุปการใช้ฤกษนี้

     เป็นการกระทำมั่นคงถาวร เช่น สร้างบ้านให้อยู่นานๆ เปิดร้าน เปิดบริษัท เอารถออกจากอู่ ถอยรถใหม่ เปลี่ยนชื่อ อุปสมบท ลาสิกขา และงานมงคลทั้งปวง

3. โจโรฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 3 , 12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์"  คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยงๆ ในระยะสั้นๆ การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบแบใช้กำลัง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

     โจรจะไปปล้นบ้านใครให้ถือเอาฤกษ์นี้  ฤกษ์แหกคุก ฤกษ์หนีการจับกุม การเอาเปรียบคนอื่น จะไปจับผิดใครให้ใช้ฤกษ์นี้ การปรับทุจริต เป็นฤกษ์ฉกฉวย หรือเป็นการข่มคนอื่น ไปต่อสู้คดี ขึ้นโรงขึ้นศาล คือการทำเพื่อให้ชนะคนอื่น หรือแม้กระทั่งการเอาเปรียบคนอื่น ฤกษ์นี้ยังหมายถึง การท่องเที่ยว การผจญภัย การสอบชิงทุน การแข่งขัน การแข่งกีฬา การข่มขวัญศัตรู การปรับปรุงแก้ไข การปฏิวัติ รวมทั้งเอารถออกจากอู่ (จากการซ่อม) หรือออกจากโชว์รูม (ถอยรถใหม่) ฤกษ์นี้ไม่เหมาะในการลงทุน อาจทำให้ผิดหวังและถูกเบียดเบียนจากคนในเครื่องแบบ

4. ภูมิปาโลฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 4 , 13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท เปิดอาคารห้างร้าน และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษนี้

     ฤกษ์นี้ที่ใช้ในการทำให้มั่นคงระยะยาว ไม่ใช่ฤกษ์หวังผลในระยะสั้นๆ เช่น สร้างหอพัก สร้างบ้านจัดสรร เพื่อกินกำไรในระยะยาว ให้ความสมบูรณ์พูนสุข ความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่หวังผลรวดเร็ว แต่หวังผลในระยะยาวคือนานๆ (มั่งคงถาวร) ฤกษ์นี้เหมาะสำหรับ ลงเสาเข็ม ตั้งศาลพระภูมิ ก่อสร้างวัตถุที่ถาวร หอพัก การพัฒนาการเกษตร เปิดร้าน เปิดโรงงานอุตสาหกรรม สัญญาซื้อขายที่หวังผลระยะยาว อะไรที่เจราที่หวังผลสำเร็จในระยะยาวและมั่นคงถาวร (ไม่ฉาบฉวย) ให้ใช้ฤกษ์นี้ และงานมงคลทั้งปวง

  5. เทศาตรีฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 5 , 14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์"  หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ ซ่องโสเภณี โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ

สรุปการใช้ฤกษนี้

     เป็นฤกษ์ที่ชอบคนเยอะๆ เช่น คนมาเที่ยว รื่นเริง บันเทิง สนุกสนาน เช่น เปิดโรงแรม เปิดสรรพสินค้า เปิดอาบ อบ นวด เปิดสถานบันเทิง เงินแสดงคอนเสิร์ตของนักดนตรี เปิดบู๊ตแสดงสินค้า หรือกิจการที่ต้องการให้คนต่างประเทศมาเที่ยว รวมทั้งการทำอะไรที่สนุกสนาน รื่นเริง ฟุ่มเฟือย (บาร์ ไนต์คลับ โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร โรงแรม ตลาดสด ช๊อปปิ้งเซ็นเตอร์)

  6. เทวีฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 6 , 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

     ฤกษ์สู่ขอ หมั้น แต่งงาน ขอความช่วยเหลือจากสตรี (ผู้หญิง) ฤกษ์ที่ใช้ความโอ่อ่า หรูหรา สง่า งาม สวย รวมทั้งศิปละ ออกแบบ ตกแต่ง สวย หรู เช่น โชว์อัญมณี เครื่องประดับ ให้ใช้ฤกษ์นี้

  7. เพชฌฆาตฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 7 , 16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก"  คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่างๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด  ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยากๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

     ฤกษ์แห่งความเด็ดขาด เผด็ดการ งานปราบปราม กำจัดศัตรู ทำพิธี ไสยศาสตร์ ฤกษ์ที่ต้องการใช้ความเด็ดขาด กล้าหาญ การตัดสินใจที่เด็ดขาด จะเลิกกับแฟนให้ใช้ฤกษ์นี้ได้ หรือสามีภรรยาจะหย่ากันให้ใช้ฤกษ์นี้ การผ่าตัด การปลูกเศกของขลัง ใช้ฤกษ์นี้ได้ ฤกษ์นี้สามารถใช้ในการเปลี่ยนชื่อได้ เพราะต้องการความมั่งคง หนักแน่น ไม่ต้องต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก

  8. ราชาฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 8 , 17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง

สรุปการใช้ฤกษ์นี้

     ฤกษ์สูง ฤกษ์ใหญ่โต เป็นฤกษ์ของบุคคลชั้นสูง มีเกียรติ หรือว่างานนั้นมีผู้ใหญ่ เจ้านายมาร่วมทำพิธีด้วย ฤกษ์นี้ใช้ได้กับงานมงคลทั้งปวง

  9. สมโณฤกษ์

ได้แก่ฤกษ์ที่ 9 , 18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า (สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์"  จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต

เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ

สรุปการใช้ฤกษนี้

     ฤกษ์สงบ บวชพระ สึกพระ งานเกี่ยวกับศาสนา งานที่ไม่หวังผลรวดเร็ว ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการช่วงชิงกับผู้อื่น งานการกุศลทั้งปวง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ หรือถาวรวัตถุ งานพุทธาภิเษก หล่อพระ ปฏิบัติธรรม เรียนธรรมะ เปิดสำนักโหรดูดวง เปิดห้องสมุด เปิดสถานที่สาธารณะ ทำบุญต่ออายุ ต่อชะตา ขึ้นบ้านใหม่ เปิดมูลนิธิ เผยแพร่ศาสนา งานการกุศลทั้งหลาย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก มหาแซมครับ

ที่มา: http://www.mahamodo.com/tamnai/good_time.aspx


“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้”  23 มกราคม 2555

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว

วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง

เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ

เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย วิธีไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ แนะนำวิธีไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ที่ถูกต้องเคล็ดลับพิธีกรรมเรื่องราวความเป็นมา ในโอกาสใกล้จะถึงวันตรุษจีน >>>ประวัติไฉ่ซิ้งเอี้ย

ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว

ตอนบ่าย จะไหว้ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล

วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “กา” ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

วันตรุษจีน ความเชื่อต่างๆใน วันตรุษจีน ที่ห้ามทำและที่นิยมทำกัน

วันตรุษจีน ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัยและคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา วันตรุษจีน ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่

วันตรุษจีน ถ้าหากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่หรือ วันตรุษจีน คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน

การแต่งกายและความสะอาดใน วันตรุษจีน เราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วง เทศกาลวันตรุษจีน นี้สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี

วันตรุษจีน กับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับ คนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล

บุคคลแรกที่พบใน วันตรุษจีน และคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี

การเข้าไปหาใครในห้องนอนใน วันตรุษจีน ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก

ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรใน วันตรุษจีน เพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคง ยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียมและวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็นครอบครัวและเอกลักษณ์ของตน
9  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / เว็บอาสา อีกแห่งครับ แนะนำ เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 09:41:15 am


http://www.siamarsa.org

เว็บอาสา
10  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / คู่มือ จิตอาสา เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 09:30:15 am





http://www.siamarsa.org/profiles/blogs/volunteer-spirit-guidebook
11  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / สถานี RDN วันนี้ไม่ทำงาน นะครับ เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 09:24:49 am


เห็นเป็นตั้งแต่เมื่อวาน บางช่วงแล้วครับ น่าจะประสบปัญหา น้ำท่วมด้วย

  :67:
12  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สมาธิ จะช่วยอะไรในวิปัสสนา เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 09:35:33 pm
ตามธรรมดา สมาธิ ก็คือรวมจิตให้ตั้งมั่น เป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกัน

แต่สมาธิ จะเกื้อหนุนปัญญาได้อย่างไร ในเมื่อทำสมาธิเสร็จก็ไปนิ่ง วางเฉย อยู่อย่างนั้น

จิตไม่มีความคืบหน้า

 อย่าว่าแต่เห็นตามเป็นจริงเลย แค่เห็นใจตัวเองก็เป็นเรื่องยาก หากเราติดสมาธิมากเกินไป

สมาธิอาจจะเป็นอุปสรรคกับการทำวิปัสสนาก็เป็นได้ ถ้าเรามัวติดสมาธิ

 หรือ เพื่อนพ้องกรรมฐาน มีความเห็นอย่างไร ลุงเปิดประเด็นนี้ขึ้นมาแล้ว มาช่วยกันถกหน่อย นะ

 สนทนาตามกาลนะจ๊ะ ช่วงนี้ลุงไม่ค่อยสบายตามประสาคนแก่นะอาจจะไม่ค่อยได้เข้ามาบ่อยนะ

 :49:
13  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ึคติธรรมเตือนใจ มองที่ตัวเรามาก ๆ และย้อนมองเราเข้าไปอีก เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 09:30:51 pm
อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ
หลวงปู่ชา สุภัทโท พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) บอกว่า . . .
"ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"
คือ คอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

กลับเสียใหม่นะ . . .

ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 % ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น
คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่

ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง

โบราณพูดว่า "เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา . . .
ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม" มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย
เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ

เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10 จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ
และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ

แต่ถึงอย่างไรๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ
เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ
ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก

รีบแก้ไขระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน

เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ . . . ไม่แน่
อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้ เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
สักแต่ว่า . . . สักแต่ว่า . . . ใจเย็นๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน

เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น
ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง

ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิดๆ
ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ
พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา . . . นั่นแหละ

เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน

เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ
หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวันๆ ก็หมดแรง

ระวังนะ . . .

พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา . . . ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์ . . .อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา

ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ . . .

ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ
หัด-ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง ไม่มีอะไรหรอก

"ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข"



ขอขอบคุณข้อมูลจาก tamdee.org
เรื่อง สอนคนชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่น
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ประวัติสมเด็จเจ้าพะโคะ (หลวงปู่ทวด "เหยียบน้ำทะเลจืด") เมื่อ: มกราคม 29, 2011, 07:55:12 pm
ประวัติหลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด
"เรื่องหลวงพ่อทวด"

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว หัวเมืองทางภาคใต้ของประเทศไทยเล่าลือกันมาว่า ทุกๆ สมัย  เกิดมีพระภิกษุสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จ ๔ องค์ด้วยกัน  คือ
 ๑. สมเด็จเจ้าเกาะยอ
 ๒. สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่
 ๓. สมเด็จเจ้าจอมทอง
 ๔. สมเด็จเจ้าพะโคะ
 แต่ ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำนานสมเด็จเจ้าพะโคะโดยตรง  ตามตำนานกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระราชมุณีสามีรามคุณูปมาจารย์"จากสมเด็จพระมหาธรรมราชาสมัยพระองค์ ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและกล่าวไว้ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ  ชาตะ วันศุกร์  เดือน  ๔  ปีมะโรง  ตรงกับ  พ.ศ.  ๒๑๒๕  บิดาชื่อตาหู  มารดาชื่อนางจันทร์  มีอายุมากแล้วจึงคลอดบุตรเป็นชายชื่อเจ้าปู่  และได้คลอดบุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์  ตำบลชุมพล  เมืองจะทิ้งพระ (อำเภอสะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลา ในเวลานี้)
 ตาหู  นางจันทร์ เป็นคนยากจนได้อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนาม สองสามีภรรยาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์ออกจากการอยู่ไฟ เนื่องจากการคลอดบุตรแล้ว วันหนึ่งนางจันทร์ได้อุ้มลูกน้อยพร้อมด้วยสามีออกไปทุ่งนา  เพื่อช่วยเก็บข้าวให้แก่เจ้าของบ้านที่พลอยอาศัย  ครั้นถึงทุ่งนาได้เอาผ้าผูกกับต้นเหม้าและต้นหว้า  ซึ่งขึ้นอยู่ใกล้กันให้ลูกนอน  แล้วพากันลงนาเก็บเกี่ยวข้าวต่อไป  ขณะที่สองผัวเมียกำลังเก็บเกี่ยวข้าวอยู่นั้น นางจันทร์ได้เป็นห่วงลูกและได้เหลียวมามองที่เปล  ปรากฎว่ามีงูบองตัวโตกว่าปกติได้ขดตัวรวบรัดเปลที่เจ้าปู่นอน  สองสามีภรรยาตกใจร้องหวีดโวยวายขึ้นเพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียง ก็รีบพากันวิ่งมาดู  แต่ก็ไม่มีใครจะสามารถช่วยอะไรได้งูใหญ่ตัวนั้นเห็นคนเข้าใกล้ก็ชูศรีษะสูง ขึ้น  ส่งเสียงขู่คำรามดังอย่างน่ากลัวจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปใกล้เปลนั้นเลย
 ฝ่าย นายหูนางจันทร์ผู้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศลยืนนิ่งพินิจพิจารณาอยู่  ปรากฏว่างูใหญ่ตัวนั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรน้อยของตนเลยจึงเกิดความสงสัย ว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตรบันดาล  คิดดังนั้นแล้วก็พากันหาดอกไม้และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชาและกราบ ไหว้งูใหญ่พร้อมด้วยกล่าวคำสัตย์อธิษฐานขอให้ลูกน้อยปลอดภัย  ในชั่วครู่นั้นงูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปลอันตรธานหายไปทันที  นายหูนางจันทร์และเพื่อนพากันเข้าไปดูทารกที่เปลปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับ เป็นปกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งวางอยู่ที่คอในที่ลุ่มใต้ลูกกระเดือกแก้วดวงนั้นมีสีแสง รุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสีสองสามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้ คหบดีเจ้าของบ้านทราบความจึงขอแก้วดวงนั้นไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตาหูนางจันทร์ก็ จำใจมอบให้คหบดีผู้นั้นเมื่อได้แก้วพยางูมาไว้เป็นสมบัติของตนแล้วต่อมาไม่ นานก็เกิดวิปริตให้ความเจ็บไข้ได้ทุกข์แก่คหบดีจนไม่มีทางแก้ไขได้ จนถึงที่สุดคหบดีเจ้าบ้านจึงคิดว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพราะ ยึดดวงแก้วพยางูนั้นไว้จึงให้โทษและเกรงเหตุร้ายจะลุกลามยิ่ง ๆ ขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้สองสามีภรรยากลับคืนไป ต่อมาภายในบ้านและครอบครัวของคหบดีผู้นั้นก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขตามปกติ ขณะที่นายหูนางจันทร์ได้ครอบครองแก้ววิเศษอยู่นั้นปรากฏว่าเจ้าของบ้านก็มี ความเมตตาสงสารไม่ใช้งานหนัก การทำมาหาเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
 เมื่อ กาลล่วงมานานจนเจ้าปู่อายุ ๗ ปี บิดามารดาได้นำไปถวายสมภารจวงให้เรียนหนังสือ  ณ  วัดดีหลวง  เด็กชายปู่ศึกษาเล่าเรียนมีความเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าเพื่อนคนใด ๆ เมื่อเด็กชายปู่มีอายุ  ๑๕  ปี  สมภารจวงผู้เป็นอาจารย์ได้บวชให้เป็นสามเณร  ต่อมาท่านอาจารย์ได้นำไปฝากท่ารพระครูสัทธรรมรังสีให้เรียนหนังสือมูลกัจ จายน์ ณ วัดสีหยัง (วัดสีคูยัง  อ.ระโนด เวลานี้)
 สามเณรปู่เรียนมูล กัจจายน์อยู่กับท่านพระครูสัทธรรมรังสี ซึ่งคณะสงฆ์ส่งท่านมาจากกรุงศรีอยุธยาให้เป็นครูสอนวิชามูล ฯ ทางหัวเมืองฝ่ายใต้  ในสมัยนั้นมีพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนกันมากสามเณรปู่มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดส่อนิสัยปราชญ์มาแต่กำเนิด  ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชามูล ฯ อยู่ไม่นานก็สำเร็จเป็นที่ชื่นชมของอาจารย์เป็นอย่างมาก  เมื่อสามเณรปู่เรียนจบวิชามูล ฯ แล้วได้กราบลาพระอาจารย์ไปเรียนต่อยังสำนักพระครูกาเดิม  ณ  วัดสีเมือง  เมืองนครศรีธรรมราช  เมื่อครบอายุบวชพระครูกาเดิมผู้เป็นอาจารย์จัดการอุปสมบทให้เป็นภิกษุในพุทธ ศาสนา ทำญัติอุปสมบทให้ฉายาว่า  "สามีราโม"  ณ  สถานที่คลองแห่งหนึ่งโดยเอาเรือ  ๔  ลำ  มาเทียบขนานเข้าเป็นแพทำญัติ ต่อมาคลองแห่งนั้นมีชื่อเรียกกันว่าคลองท่าแพจนบัดนี้
 พระภิกษุปู่เรียน ธรรมอยู่สำนักพระครูกาเดิม  ๓  ปี  ก็เรียนจบชั้นธรรมบทบริบูรณ์พระภิกษุปู่ได้กราบลาพระครูกาเดิมจากวัดสีมา เมืองกลับภูมิลำเนาเดิม  ต่อมาได้ขอโดยสารเรือสำเภาของนายอินทร์ลงเรือที่ท่าเมืองจะทิ้งพระจะไปกรุง ศรีอยุธยาพระนครหลวงเพื่อศึกษาเล่าเรียนธรรมเพิ่มเติมอีกเรือสำเภาใช้ใบแล่น ถึงเมืองนครศรีธรรมราช  นายอินทร์เจ้าของเรือได้นิมนต์ขึ้นบกไปนมัสการพระบรมธาตุตามประเพณีชาวเรือ เดินทางไกลซึ่งได้ปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ๆ เพื่อขอความสวัสดีต่อการเดินทางทางทะเลแล้วพากันลงเรือสำเภาที่คลองท่าแพ เรือสำเภาใช้ใบสู่ทะเลหลวงเรียบร้อยตลอดมาเป็นระยะทาง  ๓  วัน  ๓  คืน  วันหนึ่งท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ฝนตกมืดฟ้ามัวดินคลื่นคนองเป็นคลั่งเรือจะแล่นต่อไปไม่ได้จึงลดใบทอดสมอสู้ คลื่นลมอยู่ถึง  ๓  วัน  ๓  คืน  จนพายุสงบเงียบลงเป็นปกติ  แต่เหตุการณืบนเรือสำเภาเกิดความเดือดร้อนมากเรพาะน้ำจืดที่ลำเลียงมาหมดลง  คนเรือไม่มีน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารนายอินทร์เจ้าของเรือเป็นเดือดเป็นแค้น ในเหตุการณ์ครั้งนั้นหาว่าเป็นเพราะพระภิกษุปู่พลอยอาศัยมาจึงทำให้เกิดเหตุ ร้ายซึ่งตนไม่เคยประสบเช่นนี้มาแต่ก่อนเลย  ผู้บันดาลโทสะย่อมไม่รู้จักผิดชอบฉันใดนายเรือคนนี้ก็ฉันนั้น  เขาจึงได้ไล่ให้พระภิกษุปู่ลงเรือใช้ให้ลูกเรือนำไปขึ้นฝั่งหมายจะปล่อยให้ ท่านไปตามยะถากรรม ขณะที่พระภิกษุปู่ลงนั่งอยู่ในเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าลงเหยียบน้ำทะเลแล้ว บอกให้ลูกเรือคนนั้นตักน้ำขึ้นดื่มกินดู  ปรากฏว่าน้ำทะเลที่เค็มจัดตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำที่มีรสจืดสนิท ลูกเรือคนนั้นจึงบอกขึ้นไปบนเรือใหญ่ให้เพื่อนทราบพวกกะลาสีบนเรือใหญ่จึงพา กันตักน้ำทะเลตรงนั้นขึ้นไปดื่มแก้กระหาย  พากันอัศจรรย์ในอภินิหารของพระภิกษุหนุ่มยิ่งนัก ความทราบถึงนายอินทร์เจ้าของเรือจึงได้ดื่มน้ำพิสูจน์ดูปรากฏว่าน้ำทะเลที่ จืดนั้นมีบริเวณอยู่จำกัดเป็นวงกลมประมาณเท่าล้อเกวียนนอกนั้นเป็นน้ำเค็ม ตามธรรมชาติของทะเลจึงสั่งให้ลูกเรือตักน้ำในบริเวณนั้นขึ้นบรรจุภาชนะไว้บน เรือจนเต็ม  นายอินทร์และลูกเรือได้ประจักษ์ในอภินิหารของท่านเป็นที่อัศจรรย์เช่นนั้นก็ เกิดความหวาดวิตกภัยภิบัติที่ตนได้กระทำไว้ต่อท่านจึงได้นิมนต์ให้ท่านขึ้น บนเรือใหญ่แล้วพากันการบไหว้ขอขมาโทษตามที่ตนได้กล่าวคำหยาบต่อท่านมาแล้ว และถอนสมอใช้ใบแล่นเรือต่อไปเป็นเวลาหลายวันหลายคืนโดยเรียบร้อย
 ขณะ เรือสำเภาถึงกรุงศรีอยุธยาเข้าจอดเทียบท่าเรียบร้อยแล้วนายอินทร์ได้นิมนต์ ท่านให้เข้าไปในเมืองแต่ท่านไม่ยอมเข้าเมือง ท่านปรารถนาจะอยู่  ณ  วัดนอกเมืองเพราะเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดีและได้ไปอาศัยอยู่  ณ  วัดราชานุวาส  ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองขณะนั้นพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา
 ใน สมัยนั้นประเทศลังกาอันมีพระเจ้าวัฏฏะคามินีครองราชเป็นเจ้าแผ่นดินมีพระ ประสงค์จะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ใต้พระบรมเดชานุภาพ แต่พระองค์ไม่มีประสงค์จะก่อสงครามให้เกิดการรบราฆ่าฟันและกันให้ประชาชนข้า แผ่นดินเดือดร้อนจึงมีนโยบายอย่างหนึ่งที่สามารถจะเอาชนะประเทศอื่นโดยการ ท้าพนัน  พระองค์จึงตรัสสั่งให้พนักงานพระคลังเบิกจ่ายทองคำในท้องพระคลังหลวงมอบให้ แก่นายช่างทองไปจัดการหลอมหล่อเป็นตัวอักษรเท่าใบมะขามจำนวน  ๘๔,๐๐๐  เมล็ด  แล้วมอบให้แก่พราหนณ์ผู้เฒ่า  ๗  คน  พร้อมด้วยข้าวของอันมีค่าบรรทุกลงเรือสำเภา  ๗  ลำ  พร้อมด้วยพระราชสาส์นให้แก่พราหมณ์ทั้ง  ๗  นำลงเรือสำเภาใช้ใบแล่นไปยังกรุศรีอยุธยา  เมื่อเรือสำเภาจอดท่ากรุศรีอยุธยาเรียบร้อยแล้ว  พราหมณ์ทั้ง  ๗ ได้พากันเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชาและถวายสาส์น
 สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวแห่งกรุงไทยทรงอ่านพระราชสาส์นความว่า  พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าพระเจ้ากรุงไทยให้ทรงแปลพระธรรมในเมล็ดทองคำและเรียบ เรียงลำดับให้เสร์จภายใน  ๗  วัน  ถ้าแปลแและเรียบเรียงได้ทันกำหนดพระเจ้ากรุงลังกาขอภวายข้าวของอันมีค่า ทั้ง  ๗  ลำเรือสำเภาเป็นบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงไทย  แต่ถ้าพระเจ้ากรุงไทยแปลเรียงเมล็ดทองคำไม่ได้ตามกำหนดให้พระเจ้ากรุงไทย จัดการถวายดอกไม้เงินและทองส่งเป็นราชบรรณาการแก่กรุงลังกาทุก ๆ ปีตลอดไป
 เมื่อ พระองค์ทรงทราบพระราชสาส์นอันมีข้อความดังนั้น  จึงทรงจัดสั่งนายศรีธนญชัยสังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระภิกษุ สงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศให้เข้ามาแปลธรรมในพระมหานครทันกำหนด เมื่อประกาศไปแล้ว  ๖  วัน  ก็ไม่มีใครสามารถแปลเรียบเรียงเมล็ดทองคำนั้นได้ พระองค์ทรงปริวิตกยิ่งนักและในคืนวันนั้นพระองค์ทรงสุบินนิมิตว่ามีพระยา ช้างเผือกผู้มาจากทิศตะวันตกขึ้นยืนอยู่บนพระแท่นในพระบรมมหาราชวังได้เปล่ง เสียงร้องก้องดังได้ยินไปทั่วทั้งสี่ทิศ  ทรงตกพระทัยตื่นบรรทมในยามนั้นและทรงพระปริวิตกในพระสุบินนิมิตเกรงว่า ประเทศชาติจะเสียอธิปไตยและเสื่อมเสียพระบรมเดชานุภาพทรงพระวิตกกังวลไม่เป์ นอันบรรทมจนรุ่งสาง
 เมื่อได้เสด็จออกยังท้องพระโรงสั่งให้โหรหลวงเข้า เฝ้าโดยด่วนและทรงเล่าสุบินนิมิตให้โหรหลวงทำนายเพื่อจะได้ทรงทราบว่าร้ายดี ประการใด  เมื่อโหรหลวงทั้งคณะได้พิจารณาดูยามในพระสุบินนิมิตนั้นละเอียดถี่ถ้วนดี แล้ว  ก็พร้อมกันกราบถวายบังคมทูลว่าตามพระสุบินนิมิตนี้จะมีพระภิกษุหนุ่มรูป หนึ่งมาจากทิศตะวันตกอาสาเรียงและแปลพระธรรมได้สำเร็จ  พระบรมเดชานุภาพของพระองค์จะยั่งยืนแผ่ไพศาลไปทั่วทั้งสี่ทิศเมื่อพระองค์ ทรงทราบแล้วก็คลายพระปริวิตกลงได้บ้าง
 ด้วยเดชะบุญบันดาลในเช้าวันนั้น บังเอิญศรีธนญชัยไปพบพระภิกษุปู่ที่วัดราชานุวาส  ได้สนทนาปราศรัยกันแล้วก็ทราบว่าท่านมาจากเมืองตะลุง ( พัทลุงเวลานี้ )  เพื่อศึกษาธรรม  ศรีธนญชัยเล่าเรื่องกรุงลังกาท้าพนันให้แปลธรรม  แล้วถามว่าท่านยังจะช่วยแปลได้หรือ  พระภิกษุปู่ตอบว่าถ้าไม่ลองก็ไม่รู้  ศรีธนญชัยจึงนิมนต์ท่านเข้าเฝ้า  ณ  ที่ประชุมสงฆ์  ขณะที่พระภิกษุปู่ถึงประตูหน้าวิหาร  ท่านย่างก้าวขึ้นไปยืนเหยียบบนก้อนหินศิลาแลง  ทันทีนั้นศิลาแลงได้หักออกเป็นสองท่อนด้วยอำนาจอภินิหารเป็นที่อัศจรรย์ยิ่ง นัก เมื่อเข้าไปในพระวิหารพระทหากษัตริย์ตรัสสั่งพนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่ อันสมควร แต่ก่อนที่ท่านจะเข้านั่งที่แปลพระธรรมนั้นท่านได้แสดงกิริยาอาการเป็นปัญหา ธรรมต่อหน้าพราหมณ์ทั้ง  ๗  กล่าวคือ  ท่าแรกท่านนอนลงในท่าสีหะไสยาสน์  แล้วลุกขึ้นนั่งทรงกายตรงแล้วกะเถิบไปข้างหน้า  ๕  ที  แล้วลุกขึ้นเดินเข้าไปนั่งในที่อันสมควร  พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง  ๗  เห็นท่านแสดงกิริยาเช่นนั้นเป็นการขบขันก็พากันหัวเราะและพูดว่า  นี่หรือพระภิกษุที่จะแปลธรรมของพระบรมศาสดา อะไรจึงแสดงกิริยาอย่างเด็กไร้เดียงสา พราหมณ์พูดดูหมิ่นท่านหลายครั้ง ท่านจึงหัวเราะ แล้วถามพรามณ์ว่า ประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน ท่านไม่เคยพบเห็นกิริยาเช่นนี้บ้างหรือ ?  พราหมณ์เฒ่าฉงนใจก็นิ่งอยู่ ต่างนำบาตรใส่เมล็ดทองคำเข้าประเคนท่านทันที
 เมื่อพระภิกษุปู่รับประเคน บาตรจากมือพราหมณ์มาแล้วท่านก็นั่งสงบจิตอธิษฐานแต่ในใจว่า ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อน และอำนาจเทพยดาอันรักษาพระนครตลอดถึงเทวาอารักษ์ศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบัลดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางขอให้แปลพระธรรม คำสอนของพระพุทธองค์สำเร็จสมปรารถนาเถิด ครั้นแล้วท่านคว่ำบาตเททองเรี่ยราดลงบนพรมและนั่งคุยกับพราหมณ์ตามปกติ
 ด้วย อำนาจบารมีอภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนาประกอบกับ โชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย  เทพยดาทั้งหลายจึงดลบันดาลเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับตัวอักษรโดยเรียบ ร้อยใน้วลานั้น  ชั่วครู่นั้นท่านก็ได้เหลียวกลับมาลงมือเรียบเรียงและแปลอักษรในเมล็ดทองคำ จำนวน  ๘๔,๐๐๐  เมล็ด  เป็นลำดับโดยสะดวกและไม่ติดขัดประการใดเลย  นับว่าโชคชะตาของประเทศชาติยังคงรุ่งเรืองสืบไป
 ขณะที่พระภิกษุปู่เรียง และแปลอักษรไปได้มากแล้วปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไป  ๗  ตัว  คือตัว  สํ  วิ  ทา  ปุ  กะ  ยะ  ปะ  ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์พราหมณ์ทั้ง  ๗  คนยอมจำนน  จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้แก่ท่านโดยดี  ปรากฏว่าพระภิกษุปู่แปลพระไตรปิฎกในเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์  เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้นและทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงปี่พาทย์ ประโคมพร้อมเสียงประชาชนโห่ร้องต้อนรับชัยชนะเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทั่วพระ นครศรีอยุธยาเป็นการฉลองชัย
 สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงพระโสมนัสยินดีเป็น ที่ยิ่งจึงตรัสสั่งถวายราชสมบัติให้พระภิกษุปู่ครอง  ๗  วัน  แต่ท่านไม่ยอมรับโดยไห้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณเพศไม่สมควรที่จะครองราชสมบัติ อันผิดกิจของสมณควรประพฤติ  พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าทรงแต่งตั้งให้พระภิกษุปู่ ดำรงสมณศักดิ์ ทรงพระราชทานนามว่า  "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์"  ในเวลานั้น
 พระภิกษุปู่หรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ได้ประจำพรรษา อยู่  ณ  วัดราชานุวาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาหลายปีด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมา  กาลนานมาปีหนึ่งในพระมหานครศรีอยุธยาเกิดโรคระบาดขึ้นร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค
ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก  ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งนักสมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มีนิยมใช้รักษา ป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมาก เพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้และทรงระลึกถึงพระราชมุนี สามีรามคุณูปมาจารย์ขึ้นได้จึงตรัสสั่งให้ศรีธนญชัยไปนิมนต์ท่านมาเข้าเฝ้า ทรงปรารภในเรื่องทุกข์ร้อนของพลเมืองที่ได้รับทุกข์ยุกเข็ญด้วยโรคระบาดอยู่ ในขณะนี้  ท่านจึงทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปพรมให้แก่ประชาชนทั่วพระนคร  ปรากฏว่าโรคระบาดได้ทุเลาเหือดหายไปในไม่ช้าประชาชนได้รับความร่มเย็นเป็น สุขตลอดมา  ในหลวงทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็นอันมาก ทรงเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านอย่างยิ่ง วันหนึ่งได้ทรงตรัสปรารภกับท่านว่า ต่อไปนี้หากพระคุณเจ้ามีความปรารถนาสิ่งอันใดขอนิมนต์ให้ทราบความปรารถนา นั้น ๆ จะทรงพระราชทานถวาย ขอพระคุณเจ้าอย่าได้เกรงพระทัยเลย
 การล่วงมา นานประมาณว่า พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์มีวัยชราแล้ว วันหนึ่งท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงเกรงใจท่านไม่กล้านิมนต์ขอร้องแต่อย่างใด ได้พระราชทานอนุญาตตามความปรารถนาของท่าน  เมื่อพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์กลับภูมิลำเนาเดิมแล้วครั้งนั้ยปรากฏมี หลักฐานว่าไว้ว่าท่านเดินกลับทางบกธุดงค์โปรดสัตว์เรื่อยมาเป็นเวลาช้านาน  จนถึงวัดพระสิงห์บรรพตพะโคะตามแนวทางเดินที่ท่านเดินและพักแรมที่ใดต่อมาภาย หลังสถานที่ที่ท่านพักแรมนั้นเกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพบูชามาถึงบัดนี้ คือปรากฏว่าขณะที่ท่านพักแรมอยู่ที่บ้านโกฏิในอำเภอปากพนัง  เมื่อท่านเดินทางจากไปแล้วภายหลังประชาชนยังมีความเคารพเลื่อมใส่ท่านอยู่ มากจึงได้ชักชวนกันขุดดินพูนขึ้นเป็นเนินตรงกับที่ท่านพักแรมไว้เป็นที่ ระลึก รอบ ๆ เนินดินนั้นจึงเป็นคูน้ำล้อมรอบเนินและสถานที่แห่งนี้ต่อมาก็เกิดเป็นสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์จนถึงบัดนี้
เมื่อท่านเดินทางมาถึงหัวลำภูใหญ่ในอำเภอหัว ไทรในเวลานี้เป็นสถานที่ที่มีหาดทรายขาวสะอาดต้นลำภูแผ่กิ่งก้านสาขาร่มรื่น เย็นสบาย  ท่านจึงอาศัยพักแรมอยู่ใต้ต้นลำภูนั้น ทำสมาธิวิปัสสนา ประชาชนในถิ่นนั้นได้พร้อมใจกันมากราบไหว้บูชาและฟังท่านแสดงธรรมอันเป็น หลักควรปฏิบัติของพระพุทธศาสนา  ต่อมาประชาชนเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาแรงกล้าจึงพร้อมใจกันสร้างศาลาถวายขึ้น หนึ่งหลังและท่านได้จากสถานที่นี้ไปนี้ต่อมาภายหลังไม่นานศาลาหลังนี้เกิด เป็นศาลาศักดิ์สิทธิ์ประชาชนชาวบ้านถิ่นนั้นและใกล้เคียงจึงชักชวนกันมาทำ พิธีสมโภชศาลาศักดิ์สิทธิ์หลังนั้นเป็นการระลึกถึงท่านถือเอาวันพฤหัสบดี เป็นวันพิธีชักชวนกันทำขนมโคมาบวงสรวงสมโภชทุกๆ วันพฤหัสฯ  เป็นประจำจนเป็นประเพณีมาจนกระทั่งบัดนี้
 เมื่อท่านจากหัวลำภูใหญ่เดิน ทางมาถึงบางค้อนท่านได้หยุดพักแรมพอหายเมื่อยล้าแล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงวัด พัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หลังจากที่ท่านจากไปแล้วสถานที่บางค้อนก็เกิดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปรากฏ มาจนบัดนี้
 พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือพระภิกษุปู่กลับถึงวัด พัทธสิงห์บรรพตพะโคะ  ครั้งนี้ประชาชนชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่  ประชาชนได้พร้อมใจกันขนานนามท่านขึ้นใหม่เรียกกันว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ต่อมาวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะอันเป็นชื่อเดิมก็ถูก เรียกย่อ ๆ เสียใหม่ว่า "วัดพะโคะ"จนกระทั่งบัดนี้
 ตามตำนานกล่าวไว้ว่า  วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะนี้มีพระอรหันต์  ๓  องค์  เป็นผู้สร้างขึ้น  คือ
๑. พระนาไรมุ้ย
 ๒. พระมหาอโนมทัสสี
 ๓. พระธรรมกาวา
 ต่อ มาพระมหาอโนมทัสสีได้เดินทางไปประเทศอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระบรม ศาสลับมา พระยาธรรมรังคัลเจ้าเมือง "จะทิ้งพระ" ในสมัยนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธา จัดการก่อสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สูงถึง  ๒๐  วา  ขึ้นถวายแล้วทำพิธีสมโภชบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายในเจดีย์องค์นั้นและคง มีปรากฏอยู่จนบัดนี้
 ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุ ณูปมาจารย์ได้หยุดพักผ่อนนานพอสมควร ท่านได้ตรวจดูเห็นปูชนียสถานและกุฏิวิหารเก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากควร จะบูรณะซ่อมแซมเสียใหม่  ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหา ธรรมราชาอีกวาระหนึ่ง (ในตำนานมิได้กล่าวไว้ว่าท่านไปทางบกหรือไปทางน้ำ) เมื่อได้สนทนาถามสุขทุกข์กันแล้ว ท่านก็ทูลถวายพระพรพระองค์ตามความปรารถนาที่จะบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดให้ พระองค์ทรงทราบ  ครั้นได้ทราบจุดประสงค์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสร่วมอนุโมทนาด้วย จึงตรัสสั่งให้พระเอกาทศรถพระเจ้าลูกยาเธอ  จัดการเบิกเงินในท้องพระคลังหลวงมอบถวาย และจัดหาศิลาแลงบรรทุกเรือสำเภา  ๗  ลำ  พร้อมด้วยนายช่างหลวงหลายนาย  มอบหมายให้ท่านนำกลับไปดำเนินงานตามความปรารถนาปรากฏว่าท่านได้ทำการบูรณะ ซ่อมแซมและปลูกสร้าง (วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ) อยู่หลายปีจึงสำเร็จบริบูรณ์
           สมเด็จพระเจ้าพะโคะ  เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชายังกรุงศรีอยุธยาครั้งหนึ่งปรากฏว่าพระองค์ ทรงเลื่อมใสเคารพต่อท่านเป็นยิ่งนัก  ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระทานที่ดินนาถวายแก่ท่านเป็นกัลปนา  ขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ  จำนวน ๙๐ ฟ้อน  พร้อมด้วยประชาราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตที่ดินนั้น  มีอาณาเขตติดต่อ  โดยถือเอาวัดพัทธสีห์บรรพตพะโคะเป็นศูนย์กลางดังนี้
           ๑.  ทางทิศเหนือ  ตั้งแต่แหลมชุมพุกเข้ามา
           ๒.  ทางทิศใต้  ตั้งแต่แหลมสนเข้ามา
           ๓.  ทางทิศตะวันออก  จดทะเลจีนเข้ามา
           ๔.  ทางทิศตะวันตก  จดทะเลสาบเข้ามา
          ขณะที่สมเด็จเจ้าพะโคะกลับจากกรุงศรีอยุธยาได้ประจำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ
ครั้ง นี้คาดคะเนว่าท่านมีอายุกาลถึง  ๘๐  ปีเศษอยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์ประจำตัว  ไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น  ๓  คด  ชาวบ้านเรียกว่าไม้เท้า  ๓  คด  ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังฝั่งทะเลจีน  และขณะที่ท่านเดินเล่นรับอากาศทะเลอยู่นั้น  ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลี่ยบชายฝั่งมา  พวกโจรสลัดจีนเห็นสมเด็จเดินอยู่  คิดเห็นว่าเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ  พวกโจรจึงแวะเรือเข้าขึ้นฝัง  นำเอาท่านลงเรือไป  เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน  เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น  คือเรือลำนั้นจะแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่  พวกโจรจีนได้พยายามแก้ไขจนหมดความสามารถ  เรือก็ยังไม่เคลื่อนจึงได้จอดเรือนิ่งอยู่  ณ  ที่นั่นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน  ที่สุดน้ำจืดที่ลำเลียงมาบริโภคในเรือก็ได้หมดสิ้นจึงขาดน้ำดื่มและหุงต้ม อาหาร  พากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยการกระหายน้ำเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จท่านสังเกตเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกเรือถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล  ทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกจีนไปเมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากผิวน้ำทะเล แล้วก็สั่งให้พวกโจรจีนตักน้ำตรงนั้นขึ้นมาดื่มชิมดู  พวกจีนแม้ไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ ยิ่งนัก พวกโจรสลัดจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้นก็พากันหวาดเกรง ภัยที่จะเกิดแก้พวกเขาต่อไปจึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วพาท่านล่องเรือ ส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
 เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะขึ้นจากเรือเดินกลับวัดถึง ที่แห่งหนึ่ง ท่านหยุดพักเหนื่อยได้เอาไม้เท้า  ๓  คด พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน  ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้นลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนสภาพจากเดิม กลับคด ๆ  งอ ๆ  แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่า  ต้นยางไม้เท้า ยังมีปรากฏอยู่ถึงเวลานี้
 สม เด็จพะโคะหรือพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ครองสมณเพศจำพรรษาอยู่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์    บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนได้ ตลอดมา
 ตอนนี้ได้รับความกรุณาจากพระอุปัชฌาย์ดำ  ติสฺสโร สำนักวัดศิลาลอย  อำเภอจะทิ้งพระเป็นผู้เล่าตามนิยายต่อกันมา  โดยท่านพระครูวิริยานุรักษ์  วัดตานีสโมสรเป็นผู้บันทึกความดังต่อไปนี้
 ใน สมัยสมเด็จเจ้าพะโคะพำนักอยู่วัดพะโคะครั้งนั้นยังมีสามเณรน้อยรูปหนึ่งเข้า ใจว่าคงอาศัยอยู่วัดใดวัดหนึ่งในท้องที่อำเภอหาดใหญ่เวลานี้  สามเณรรูปนี้ได้บวชมาแต่อายุน้อย ๆ ได้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดมีความขยันหมั่นเพียรก่อแต่การกุศลในพระพุทธ ศาสนาและตั้งจิตอธิษฐานจะขอพบพระศรีอริยะอย่างแรงกล้า  อยู่มาคืนหนึ่งมีคนแก่ถือดอกไม้เดินเข้ามาหาแล้วประเคนดอกไม้ส่งให้แล้วบอก ว่า  นี่เป็นดอกไม้ทิพย์ไม่รู้จักร่วงโรยพร้อยกับกล่าวว่า  พระศรีอริยะโพธิสัตว์นั้นขณะนี้ได้จุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์เพื่อโปรดสัตว์ ในพระพุทธศาสนาสามเณรเจ้าจงถือดอกไม้ทิพย์นี้ออกค้นหาเถิดหากผู้ใดรู้จัก กำเนิดของดอกไม้แล้วผู้นั้นแหละเป็นพระศรีอริยะที่จุติมา เจ้าจงพยายามเที่ยวค้นหาคงจะพบเมื่อกล่าวจบแล้วคนแก่นั้นก็อันตรธานหายไป ทันที
 สมาเณรน้อยมีความปิติยินดีเป็นยิ่งนักวันรุ่งเช้าจึงกราบลาสมภาร เจ้าอาวาสถือดอกไม้ทิพย์เดินออกจากวัดไป  สามเณรเดินทางตรากตรำลำบากไปทั่วทุกหนทุกแห่งก็ไม่มีใครทักถามถึงดอกไม้ ทิพย์ที่ตนถืออยู่นั้นเลยแต่สามเณรก็พยายามอดทนต่อความเหนื่อยยากต้องตาก แดดกรำฝนไปเป็นเวลาช้านาน  วันหนึ่งต่อมาสามเณรน้อยเดินทางเข้าเขตวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะในเวลาใกล้จะ มืดค่ำเป็นวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  พระจันทร์เต็มดวงส่องรัศมีจ้าไปทั่วท้องฟ้าและเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ลงทำ สังฆกรรมในอุโบสถ สามเณรถือดอกไม้ทิพย์เดินเข้าไปยืนถือดอกไม้ทิพย์อยู่ริมอุโบสถรอคอยพระสงฆ์ ที่จะลงมาอุโบสถ พอถึงเวลาพระภิกษุทั้งหลายก็เดินทะยอยกันเข้าอุโบสถผ่านหน้าสามเณรไปจนหมด ไม่มีพระภิกษุองค์ใดทักสามเณรเลย  เมื่อพระสงฆ์เข้านั่งในอุโบสถเรียบร้อยแล้วสามเณรจึงเดินเข้าไปนมัสการถาม พระสงฆ์เหล่านั้นว่า  วันนี้พระมาลงอุโบสถหมดแล้วหรือ พระภิกษุตอบว่า ยังมีสมเด็จอยู่อีกองค์วันนี้ไม่มาลงอุโบสถ สามเณรทราบดังนั้นก็กราบลาพระสงฆ์เหล่านั้นเดินออกจากอุโบสถมุ่งตรงไปยัง กุฏิของสมเด็จเจ้าฯ ทันที
 ครั้นถึงสามเณรก็คลานเข้าไปใกล้ก้มกราบ นมัสการท่านอยู่ตรงหน้าสมเด็จเจ้าฯ  สมเด็จเจ้าฯ ได้ประสพดอกไม้ในมือสามเณรถืออยู่  จึงถามสามเณรว่า  นั่นดอกไม้ทิพย์เป็นดอกไม้เมืองสวรรค์ผู้ใดให้เจ้ามา  สามเณรรู้แจ้งใจตามที่นิมิตจึงคลานเข้าไปก้มลงกราบที่ฝ่าเท้าแล้วประเคน ดอกไม้ทิพย์นั้นแก่สมเด็จเจ้าฯ ทันที  เมื่อสมเด็จเจ้าฯ รับประเคนดอกไม้ทิพย์จาดสามเณรน้อยแล้วท่านได้สงบอารมณ์อยู่ชั่วครู่มิได้ พูดจาประการใด  แล้วลุกขึ้นเรียกสามเณรเดินตรงเข้าไปในกุฏิปิดประตูลงกลอนและเงียบหายไปใน คืนนั้น  มิได้มีร่องรอยแต่อย่างใดเหลือไว้ให้พิสูจน์จนเวลาล่วงเลยมาบัดนี้ประมาณสาม ร้อยปีเศษแล้ว
 การหายตัวไปของสมเด็จเจ้าพะโคะครั้งนั้นประชาชนเล่าลือ กันว่าท่านได้สำเร็จสู่สวรรค์ไปเสียแล้วด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหารท่าน แรงกล้า  ตามที่กล่าวลือกันเช่นนี้เพราะมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏขึ้นในคืนนั้นว่าบนอากาศ บริเวณวัดพะโคะ ได้มีดวงไฟโตขนาดเท่าดวงไต้ส่องรัศมีต่าง ๆ เป็นปริมณฑลดังพระจันทร์ทรงกลดลอยวนเวียนรอบบริเวณวัดพะโคะส่องรัศมีจ้าไป ทั่วบริเวณวัดเมื่อดวงไฟดวงนั้นลอยวนเวียนอยู่ครบสามรอบแล้วลอยเคลื่อนไปทาง ทิศอาคเนย์เงียบหายมาจนกระทั่งบัดนี้
 วันรุ่งเช้าประชาชนมาร่วมประชุม กันที่วัดและต่างคนต่างก็เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าฯ ท่านสำเร็จสู่สวรรค์ไปจึงได้พากันพนมมือขึ้นเหนือศรีษะพร้อมกับเปล่งเสียง ว่าสมเด็จเจ้าพะโคะโล่ไปเสียแล้วเจ้าข้าเอย  เมื่อสมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฯ ท่านได้ทิ้งของสำคัญไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตลอดมาคือ
  ๑. ดวงแก้วที่พระยางูใหญ่ให้ครั้งเป็นทารกอยู่ในเปล  ๑  ดวง  และสมภารทุกๆ องค์ของวัดพะโคะได้  เก็บรักษาไว้จนถึงบัดนี้ปรากฏว่า  แก้วดวงนี้ไม่มีใครกล้านำออกจากบริเวณวัดพะโคะเพราะเกรงจะเกิดภัย
 ๒. ก่อนที่สมเด็จเจ้าฯ จะโล่หายไปปรากฏว่าท่านได้ขึ้นไปทำสมาธิอยู่บนชะง่อนผาภูเขาบาท  ได้เอาเท้าซ้ายเหยียบลงบนลาดผาลึกเป็นรอยเท้าเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน มาจนกระทั่งบัดนี้ (ท่านพระครูวิสัยโสภณวัดช้างให้ได้ไปนมัสการมาแล้ว)
 สมัย ที่สมเด็จเจ้าพะโคะโล่หายไปจากวัดพะโคะ  ตำบลชุมพล  อำเภอจะทิ้งพระ  จังหวัดสงขลา  ครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่เมืองรัฐไทรบุรีเวลานี้ พระภิกษุรูปนี้เป็นปราชญ์ทางธรรมและเชี่ยวชาญทางอิทธิอภินิหารเป็นยอดเยี่ยม ชาวเมืองไทรบุรีมีความเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่งสมัยนั้นคนมลายูในเมืองไทรบุรีนับถือศาสนาพุทธ  ต่อมาท่านก็ได้เป็นสมภารเจ้าวัดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น
   
15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ดับกิเลสแบบปัจจุบัน ควรทำอย่างไร ครับ เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 12:03:41 am
เนื่องด้วย คนเรานั้น เมื่ออยู่ในสังคม มีทั้งคนชอบและคนชัง

เมื่อเจอคนชอบ ควรวางใจอย่างไร ครับ

เมื่อพบคนชัง เราควรทำใจแบบไหน ครับ

 :25:
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ธัมมวิตักโก ภิกขุ (พระยานรรัตนราชมานิต) เมื่อ: มกราคม 02, 2011, 11:31:58 pm


ธัมมวิตักโก ภิกขุ (พระยานรรัตนราชมานิต)
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา" จึงจะชนะ ข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดได้

- ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วง ทางกาย วาจา ได้ด้วย ;ศีล
- ชนะความยินดียินร้าย และหลงรักหลงชัง เป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วย สมาธิ
- ชนะความเข้าใจ รู้ผิดเห็นผิดจากความเป็นจริงของ สังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ด้วย ปัญญา

ผู้ศึกษาปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย

นามเดิม ตรึก จินตยานนท์ กำเนิด 5 ก.พ. 2440 สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท ณ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2468 โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรมหาเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ 8 ม.ค. 2514 อายุ 74 ปี 46 พรรษา

ภายหลังจากที่ท่านได้จบการศึกษาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ได้รับประกาศนียบัตรวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในสมัยนั้นแล้ว ท่านได้เข้าร่วมซ้อมรบในฐานะเสือป่า โดยรับหน้าที่เป็นคนส่งข่าว ซึ่งในการซ้อมรบนี้เองได้เปลี่ยนวิถีชีวิต จากความตั้งใจที่จะเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองของรัฐ มาเป็นข้าราชสำนัก ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการ ไว้วางพระราชหฤทัยจากล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังรับราชการเป็นมหาดเล็กห้องบรรทม กระทั่ง ได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรรัตนราชมานิต ซึ่งแปลว่า ;คนดีที่พระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ท่านได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ สุจริต และกตัญญูกตเวที อย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ดังที่ท่านเคยกล่าวถึงความภักดีต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ต้องตายแทนกันได้ ความกตัญญูกตเวทีที่ท่านได้แสดงนี้ ได้ประจักษ์ชัดเมื่อท่านได้บวชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในวันถวายพระเพลิง พระบรมศพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 จวบจนกระทั่งท่านมรณภาพ ท่านดำรงเพศสมณะด้วยความเคร่งครัดต่อศีล เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินด่างพร้อยทั้งกาย ใจ เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีปฏิปทาที่มั่นคง เด็ดเดี่ยว เป็นที่ยอมรับ และได้รับความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนว่า ท่านเป็นพระแท้ ที่หาได้ยากยิ่ง เป็นตัวอย่างของสงฆ์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่ใฝ่หาลาภสักการะ ไม่ใฝ่หาชื่อเสียงเกียรติคุณ เป็นผู้ปฏิบัติตรงต่อ พระธรรมวินัย มีความกตัญญูเป็นเลิศ ยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้
17  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ขอเสนอ หมวดกระทู้ เพิ่ม 3 หมวดครับ เมื่อ: ธันวาคม 24, 2010, 05:05:19 pm
ขอเสนอ หมวดกระทู้ เพิ่ม 3 หมวดครับ

 หมวดที่ 1 แนะนำเว็บลิงก์ วัดต่าง ๆ ครับ

    เพราะจะได้เป็นศูนย์รวมลิงก์ของเว็บวัดต่าง ๆ ด้วยคับ แนะนำวัดที่มีการภาวนา อันอาจจะไม่ได้ซ้ำกับที่อื่น ๆ

  นะครับ เช่นวัดที่ปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นต้น ครับ

 หมวดที่ 2 พระเครื่อง และ พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ ครับ

    เนื่องด้วย พระเครื่อง พระพุทธรูป เป็นศิลปะไทย และ เป็นสิ่งที่ชักจูง คนน้อมใจเข้าหา พระพุทธองค์

 จะได้เปลี่ยนแนวความเชื่อ ของการยึดติด เครื่องลางของขลัง

 หมวดที่ 3 ข่าวทั่วไป ข่าวบ้านเมือง ข่าวอาญชญากรรม

   จะได้กันส่วนออกมาจาก FWD mail นะครับ เพราะตอนนี้ เห็นที่ FWd mail มีหัวพวกนี้ และก็มีผู้สนใจ

  ตามอ่านข่าวกันพอสมควร นะครับ

  ขอเว็บมาสเตอร์ และ พระอาจารย์ โปรดพิจารณา

18  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / ชุมนุมเทวดา เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:14:45 pm
19  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / สวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ เิริ่มตั้งแต่ ภุมมานัง เทวานัง สวรรค์ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:11:52 pm
20  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / มงคลจักรวาลใหญ่ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:10:09 pm
21  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / องค์ใดพระสัมพุทธสรภัญญะ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:05:18 pm
22  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / บทเพลง แผ่เมตตา เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:04:20 pm
23  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / เพลง คำไหว้พระเจ้าสิบชาติ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:01:52 pm
24  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / เพลงคำไหว้ พระจุฬามณี เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 11:01:00 pm
25  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / เพลงคาถาป้องกัน สิบทิศ เมื่อ: ธันวาคม 21, 2010, 10:58:48 pm
26  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เวลานั่งกรรมฐาน ทำอย่างไร ไม่ให้ห่วงเรื่อง ฤทธิ์ต่าง ๆ ครับ เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 06:06:52 pm
ตัวผมเอง ถึงแม้ปากจะบอกว่าไม่สนเรื่อง ฤทธิ์ แต่พอนั่งกรรมฐาน ทุกครั้ง ก็มักจะพะวงเรื่องฤทธิ์

อยากทราบว่า มีวิธีการอย่างไรที่จะให้ไม่ห่วงเรื่อง ฤทธิ์ ครับ เวลาภาวนากรรมฐาน

 :25:
27  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถามเรื่อง จรณะ 15 จะสมบูรณ์ เมื่อใดครับ เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 06:02:57 pm
สำหรับ ผู้ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

จรณะ 15 ประการ จะบริบูรณ์ เมื่อใดครับ

 :25:
28  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / อบรมจิตเจริญพระกรรมฐานในวันที่ 3-7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วัดไผ่ขวาง เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 07:45:20 pm
เชิญร่วมปฏิบัติธรรม


เนื่อง ด้วยวัดไผ่ขวาง โดยพระคุณเจ้าพระครูวิบูลโชติธรรม(สุวรรณ์) ได้จัดให้มีการพัฒนาอบรมจิตเจริญพระกรรมฐานในวันที่ 3-7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยมีกำหนดการดังนี้

วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2553   
                                                   เวลา  15.00 น.                       ลงทะเบียน
                                                   เวลา  17.00 น.                       รับศีล 8
                                                   เวลา  17.30 น.                       ทำพิํธีถวายผ้าป่าสามัคคี
                                                   เวลา  18.00 น. -  21.00 น.      ทำวัตรเย็น - เจริญพระกรรมฐาน 
วันที่ 4-6 ธันวาคม พ.ศ.2553            เวลา  4.30   น. -    7.00 น.      ทำวัตรเช้า - เจริญพระกรรมฐาน
                                                   เวลา  7.00   น. -    8.00 น.      รับประทานอาหารเช้า
                                                   เวลา  8.30   น. -   11.00 น.     เจริญพระกรรมฐาน
                                                   เวลา  11.00 น. -   13.00 น.     รับประทานอาหารกลางวัน
                                                   เวลา  13.00 น. -   16.00 น.     เจริญพระกรรมฐาน     
                                                   เวลา  18.00 น. -   21.00 น.     ทำวัตรเย็น - เจริญพระกรรมฐาน
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2553                 เวลา    4.30 น. -     7.00 น.     ทำวัตรเช้า - เจริญพระกรรมฐาน
                                                                                                  ลาศีลแปด รับศีลห้า


หมายเหตุ
กำหนดเวลวอาจมีการเปลี่ยนแปรงได้ตามความเหมาะสม
-เตรียมเสื้อขาว กางเกงขาว ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ และรองเท้าแตะฟองน้ำ
-วัดมีโรงทานเลี้ยงน้ำปานะและอาหารตลอด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
-มุ้ง หมอน เสื่อ  วัดจัดให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น


   โทร. 081-1606900     (สอบถามเส้นทาง,รายละเอียดต่างๆ)

****************************************************************

ท่านใดมีความประสงค์จะร่วมกองทุน ค่าน้ำ-ค่าไฟ-ค่าอาหาร ร่วมสมทบทุนกองกลางได้โดยตรงที่วัดไผ่ขวางหรือโอนเข้าทางธนาคาร       

                                             ชื่อบัญชี วัดไผ่ขวาง

                                             ธนาคารกรุงไทย สาขาพนมสารคาม

                                             ออมทรัีพย์ เลขที่บัญชี 203-0-19570-7

 ขออนุโมทนากับทุกท่านมา ณ.ที่นี้ด้วย

รายละ้้้เอียด้เพิ่มเติม
http://www.watpaikwang.com/index.php?mo=3&art=445934
29  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วันธงไชย ในปี 2554 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:47:20 pm
ขอเริ่มหัวข้อสืบต่อครับ แต่ ยังขอพิจารณาความเห็นของเพื่อนสมาชิกก่อนว่าต้องการให้มีหัวข้อนี้ต่อไปหรือไม่

ครับ

 :s_hi: :49: Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.
30  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: ตำนานลำดับพระกรรมฐาน ประวัติพระราหุลมหาเุถรเจ้า เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:32:34 pm
ผมคิดว่า เพื่อน ๆ คงไม่ค่อยได้อ่านตำนานลำดับพระกรรมฐาน กันแน่ ๆ เพราะเวลาผม

เข้าไปสนทนากับ พวกเพื่อน ๆ ที่ดาวน์โหลดไฟล์ไปอ่าน พอคุยกันก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องที่คุยกัน

จึงทำหใ้ห้ทราบว่า เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ นั้นดาวน์โหลดไฟล์ไปแล้วไม่ค่อยได้อ่าน ดังนั้นผมจึงมานั่ง

นึกถึง ตำนานที่บันทึกด้วย พระครูสิทธิสังวรนั้น มีเรื่องดี ๆ เด็ด ๆ สำคัญ ผมว่าตัดตอนอ่านเป็นตอน ๆ ในที่นี้

ดีกว่า จากนี้ไปผมจะขอนำข้อความลงมาตัดโพสต์เป็นตอน ๆ ไปเรื่อย ๆ นะครับ


ตำนานสืบทอดพระกรรมฐาน
มัชฌิมา  แบบลำดับ
ของพระราหุลเถรเจ้า
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)

พิมพ์เผยแพร่ ผดุงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของ

พระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา

สืบทอดต่อมาโดย
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
พระครูสิทธิสังวร  คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เรียบเรียง.

31  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ภัยพิบัติ น้ำท่วมกับ มุมมอง ของ โหราศาสตร์ เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2010, 12:08:00 am
ที่จริง เป็นเรื่องที่พวกผม เคยพูดคุยกันมาในหมู่ ชมรมโหราศาสตร์ แห่งประเทศไทย กันเป็นเวลา 3 ปีแล้วครับ

กับภัยพิบัติ น้ำท่วม ที่จะ้เกิด ซึ่งจากที่เห็นตอนนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นครับ ซึ่งจะหนักขึ้นไปเรื่อย ๆ

ความจริง กับ คำปลอบใจ เป็นสิ่งที่ไปคู่กัน ตลอดมา

  ระดับน้ำทะเล สูงขึ้น ทุกปีวัดได้ที่ เขต กรุงเทพชายฝั่ง มีระดับเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ละ 10- 20  ซม.

  อันนี้เป็นความจริง ตามที่คาดการณ์ นั้นก็จะใช้เวลาถึง 20 - 30 ปี กทม.ก็จะมีน้ำท่วมแน่นอน

  ไม่คงไม่เป็นไร หรอกใช่หรือ ไม่  ?

  ปลอบใจครับ  เพราะไม่รู้จะทำอย่างไร จะให้ฉันทำอย่างไร ?

  ก็เหมือน น้ำท่วมที่โคราช ,ขอนแก่น ,อุบล , ชัยภูมิ เป็นต้น เพราะไม่เคยเกิด แต่ก็เริ่มเกิดขึ้นแล้ว

  คนที่เดือดร้อนโดยตรง ก็ผู้ประสพภัย คนที่เดือนร้อนทางอ้อมก็คือ ผู้บริโภค เพราะอาหารจะหายากขึ้น

  ต้องนำเข้าจากต่่างประเทศ ผู้ค้า ก็รวยกันไป พวกม่าม่า พวกน้ำ พวกอาหารกระป๋อง ช่วงนี้จัดเป็นนาทีทอง

  ของบริษัทเหล่านี้ ตามมาด้วย อุตสาหกรรม เครื่องเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ก่อสร้าง และที่แน่นอน ประเทศก็จะ

  มีเงินสะพัด อีกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ด้วยมีเงินช่วยเหลือส่งถึงผู้ประสพภัย


  ถ้ามองเป็นเรื่องดี แล้ว ก็จัดว่าเป็นเรื่องดี ครับ เพราัะทำให้เศรษฐกิจ หมุนเวียน

  ถ้ามองในเรื่องไม่ดี แล้ว นะครับ ปีหน้าฝนจะตกติดต่อกันเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 วัน นี่ปีนี้ติดต่อกันเพียง 5 วันเองครับ ก็ลองคิดดูกันเล่น ๆ นะครับ ว่าจะเป็นอย่างไร ?

   สำหรับ ผู้ที่ประสพภัยน้ำท่วมปีนี้ โดยเฉพาะที่ไม่เคยท่วมนั้น ก็ได้ประสพการณ์กันแล้ว ว่าอย่าประมาท ครับ

 ยังมีเกร็ด ฟันธง ในหมู่เพืื่อน ๆ นักพยากรณ์ระดับประเทศมาให้อ่านอีก แต่ผมต้องขออนุญาต พระอาจารย์ก่อนนะครับ

   :25: :25: :25:
32  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วีดีโอ ติดตามเรื่องน้ำท่วม 23 ต.ค2553 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 09:42:32 pm
!









33  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เมื่อแสงสว่าง เจิดจ้า ในเบื้องหน้า เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 02:31:19 am
นั่งกรรมฐาน แล้วมองเห็นแสงสว่างเฉพาะด้านหน้า

เห็นร่างของตนนั่งตัวแข็ง

มีความรู้สึก เย็นยะเยือก แล่นขึ้น แล่นลง จากศรีษะ และผุบหายเข้ากลางหน้าอก

มีภาพพระพุทธรูป ปรากฏขี้นที่หน้าอก เดี๋ยวก็มี และ เดี๋ยวก็หาย

เลยมาทิ้งคำถามไว้ในส่วนนี้ครับ

ว่าควรทำอย่างไรต่อไป

 :25: :25:
34  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คุณธรรม หมวด 2 เบื้องต้น ใช้กันถึง เืบื้องปลาย เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 08:23:01 am
เริ่มใน นวโกวาท ( คำสอนผู้บวชใหม่ )



หมวด 2 ผมว่าถูกคัดเลือกไว้เป็นอย่างดี ครับ

   มี  ธรรมเป็นอุปการะ 2 ประการ

    1.สติ  ( ระลึกได้ ) 2. สัมปชัญญะ ( รู้ตัว )

      ธรรมแห่งเทวดา

    1.หิริ ( ความละอายแก่ใจ ) 2. โอตตัปปะ ( ความเกรงกลัวต่อบาป

     ธรรมอันทำให้งาม

     1.ขันติ ( ความอดทน )  2.โสรัจจะ ( ความสเงี่ยม )


     ธรรมเป็นนิมิตของมนุษย์

     1.บุพพการี ( เอื้อเฟื้อดูแลบุคคลที่ควรดููแล )

     2.กตัญญูกตเวทิตา ( ตอบแทนคุณบุคคลที่เอื้อเฟื้อ )


  นับว่า หมวด 2 เป็นพื้นฐาน แห่ง ธรรม จริง ใช้ตั้งแต่มีจนตาย

    ตั้งแต่ ศีลธรรม ถึง ปรมัตถธรรม

  พระอาจารย์แนะนำผมในเมล มาเมื่อ 2 วันก่อนก็มีเท่านี้

  แต่ผมที่ผ่านมาก็เหมือนจะลืม ทั้ง ๆ ที่เป็นพื้นฐานทั้งหมด

  2 วันนี้ผมก็ทบทวน พื้นฐาน การเจริญ สติ สัมปชัญญะ มีได้ เพราะ ศีล สมาธิ และ ปัญญา

  ดังนั้นขอแนะนำท่านที่มุ่งภาวนา นะครับว่า


     สำรวจ ศีล ( เราสมบูรณ์ในส่วนมนุษย์หรือยัง ) ไม่ต้องเอามากครับ เอาแค่ ศีล 5 นี้แหละครับ

     สำรวจ สมาธิ ( เราได้ฝึกสัมมาสมาธิหรือยัง )

     สำรวจ ปัญญา ( เรามองเห็นความทุกข์ในสังขารหรือยัง ) เอาแปลแบบพื้นฐาน


     :25: :25:
35  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / เชิญร่วมปฏิบัติธรรม ๓๐ - ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 07:46:31 am
กำหนดการ

ปฏิบัติธรรมวันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๓๐-๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ณ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ซอยอิสรภาพ ๒๓ บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

----------------------------------------------------------------------------------------
     

    วันเสาร์ที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑

                   เวลา ๐๙.๐๐น.-๑๐.๐๐น.     ลงทะเบียน  รับประทานอาหารเช้า

                   เวลา ๑๐.๐๐น. ๑๑.๐๐น.     รับศีลแปด ขึ้นกรรมฐาน รับประทานอาหารกลางวัน

                   เวลา ๑๓.๐๐น.-๑๔.๐๐น.    ฟังบรรยายธรรม  พักดื่มน้ำปานะ

                   เวลา ๑๔.๓๐น.-๑๖.๓๐น.    เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม

                   เวลา ๑๖.๓๐น.- ๑๗.๐๐น.   ทำวัตรเย็น นั่งกรรมฐาน เข้านอน

              วันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑

                   เวลา ๐๖.๓๐น. -๐๗.๐๐ น.  ทำวัตรเช้า นั่งกรรมฐาน รับประทานอาหารเช้า

                   เวลา ๐๙.๐๐น.-๑๑.๐๐น.     เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม รับประทานอาหารกลางวัน

                   เวลา ๑๒.๓๐น.                  ลาศีลแปด กลับบ้าน

                   
36  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / การปฏิบัติธรรม ที่ศูนย์ พลาญข่อย อุบลราชธานี เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 10:36:02 am
วีดีโอการปฏิบัติ

เรียกว่า อายตนะวิปัสสนา ซึ่งผมได้รับการชวนจากเพื่อนให้ไป




แนะนำศูนย์ กับประสพการณ์ของผู้ได้ปฏิบัติ (Embedding disabled, limit reached)

การปฏิบัติออกอาการ 1 (Embedding disabled, limit reached)

การปฏิบัติออกอาการ 2 (Embedding disabled, limit reached)

การปฏิบัติออกอาการ 3 (Embedding disabled, limit reached)

เว็บของศูนย์
http://www.plarnkhoi.com
37  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ประสพการณ์การปฏิบัติ จากอุบาสกผู้หนึ่ง ( บันทึก(ไม่)ลับของอุบาสกนิรนาม ) เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 10:19:16 am
ทำหน้าที่นำประสพการณ์ การปฏิบัติของแต่ละท่าน ที่รู้จักกันมาเล่าสู่กันฟังครับ



บันทึก(ไม่)ลับของอุบาสกนิรนาม

ผมไปพบบทความที่น่าสนใจ

เห็นว่าเป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติธรรม

จึงนำมาเผยแพร่ต่อครับ/webmaster@selectcon.com

 

(ผู้เขียนได้ปรับปรุงจากต้นฉบับ เรื่องประสบการณ์ภาวนาซึ่งเคยส่งไปลงพิมพ์ ในหนังสือโลกทิพย์ในนามสันตินันทอุบาสก)

ผมลังเลใจอยู่นานที่จะเล่าถึงการปฏิบัติธรรมของตนเองเพราะมันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าใครตั้งใจปฏิบัติก็ทำกันได้ แต่ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์รูปหนึ่ง คือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาละวัน ที่ท่านสั่งให้เขียนเรื่องนี้ออกเผยแพร่ ผมจึงต้องปฏิบัติตามโดยเขียนเรื่องนี้ให้ท่านอ่าน

ผมเป็นคนวาสนาน้อย ไม่เคยรู้เรื่องพระธุดงคกรรมฐานอย่างจริงจังมาก่อน จนแทบจะละทิ้งพระพุทธศาสนาไปแล้ว เพราะเกิดตื่นเต้นกับลัทธิวัตถุนิยม แต่แล้ววันหนึ่งผมได้พบข้อธรรมสั้นๆ บทหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ มีสาระสำคัญว่า

"จิตส่งออกนอก คือ สมุทัย มีผลเป็นทุกข์

 จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ"

ผมเกิดความซาบซึ้งจับจิตจับใจ และเห็นจริงตามว่า ถ้าจิตไม่ออกไปรับความทุกข์แล้ว ใครกันล่ะที่จะเป็นผู้ทุกข์ จิตใจของผมมันยอมรับนับถือหลวงปู่ดูลย์เป็นครูบาอาจารย์ตั้งแต่นั้น

ต่อมาในต้นปี พ.ศ. 2525 ผมมีโอกาสด้นดั้นไปนมัสการหลวงปู่ดูลย์ที่จังหวัดสุรินทร์เมื่อไปถึงวัดของท่านแล้ว เกิดความรู้สึกกลัวเกรงเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และ ไม่เคยรู้จักอัธยาศัยของท่านมาก่อนประกอบกับผมไม่คุ้นเคยที่จะพบปะพูดจากับพระผู้ใหญ่มาก่อนด้วยจึงรีรออยู่ห่างๆ นอกกุฏิของท่าน

ขณะที่รีรออยู่ครู่หนึ่งนั้น หลวงปู่ดูลย์เดินออกมาจากกุฏิของท่าน มาชะโงกมองดูผม ผมจึงรวบรวมความกล้าเข้าไปกราบท่านซึ่งถอยกลับไปนั่งเก้าอี้โยกที่หน้าประตูกุฏิ แล้วเรียนท่านว่า

"ผมอยากภาวนาครับหลวงปู่"

หลวงปู่หลับตานิ่งเงียบไปเกือบครึ่งชั่วโมง พอลืมตาท่านก็แสดงธรรมทันทีว่า การภาวนานั้นไม่ยาก
แต่มันก็ยากสำหรับผู้ไม่ภาวนา

ขั้นแรกให้ภาวนา "พุทโธ" จนจิตวูบลงไป แล้วตามดูจิตผู้รู้ไปจะรู้อริยสัจจ์ 4 เอง (หลวงปู่ท่านสอนศิษย์แต่ละคนด้วยวิธีที่แตกต่างกันตามจริตนิสัยนับว่าท่านมีอนุสาสนีปาฏิหารย์อย่างสูง)

แล้วท่านถามว่าเข้าใจไหม ก็กราบเรียนว่าเข้าใจ ท่านก็บอกให้กลับไปทำเอา

พอขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพเกิดเฉลียวใจขึ้นว่า ท่านให้เราดูจิตนั้นจะดูอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนและจะเอาอะไรไปดู ตอนนั้นชักจะกลุ้มใจไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ก็ภาวนาพุทโธไปเรื่อยๆจนจิตสงบลง แล้วพิจารณาว่าจิตจะต้องอยู่ในกายนี้แน่ หากแยกแยะเข้าไปในขันธ์ 5 ถึงอย่างไรก็ต้องเจอจิต จึงพิจารณาเข้าไปที่รูปว่าไม่ใช่จิต รูปก็แยกออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น

หันมามองเวทนาแล้วแยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่ง

ตัวสัญญาก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง

จากนั้นมาแยกตัวสังขาร คือความคิดนึกปรุงแต่ง โดยนึกถึงบทสวดมนต์ เห็นความคิดบทสวดมนต์ผุดขึ้น และเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถึงตอนนี้ก็เลยจับเอาตัวจิตผู้รู้ขึ้นมาได้

หลังจากนั้นผมได้ตามดูจิตไปเรื่อยๆ จนสามารถรู้ว่า ขณะนั้นเกิดกิเลสขึ้นกับจิตหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นและรู้ทัน กิเลสมันก็ดับไปเอง เหลือแต่จิตผู้รู้ซึงรู้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆอย่างเป็นอิสระจากกิเลส และอารมณ์ต่างๆ

ต่อมาภายหลังผมได้หาหนังสือธรรมะมาอ่าน จึงรู้ว่าในทางปริยัติธรรมจัดเป็นการจำแนกรูปนาม จัดเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว แต่ในเวลาปฏิบัตินั้น จิตไม่ได้กังวลสนใจว่าเป็นวิปัสสนาญาณขั้นใด

ปฏิบัติอยู่ 3 เดือน จึงไปรายงานผลกับหลวงปู่ดูลย์ว่า "ผมหาจิตเจอแล้วจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป"

คราวนี้ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งมากมาย เกี่ยวกับการถอดถอนทำลายอุปาทานในขันธ์ 5
ท่านสอนถึงกำเนิดและการทำงานของจิตวิญญาณ จนถึงการเจริญอริยมรรค จนมีญาณเห็นจิตเหมือนมีตาเห็นรูป

ท่านสอนอีกว่าเมื่อเราดูจิต คือตามรู้จิตเรื่อยๆไปนั้น สิ่งปรุงแต่งจะดับไปตามลำดับ จนถึงความว่าง แต่ในความว่างนั้นยังไม่ว่างจริง มันมีสิ่งละเอียดเหลืออยู่คือวิญญาณ ให้ตามรู้จิตเรื่อยๆไป ความยึดในวิญญาณจะถูกทำลายออกไปอีก แล้วจิตจริงแท้หรือพุทธะ(หลวงปู่เทสก์เรียกว่าใจ)จึงปรากฎออกมา

คำสอนครั้งนี้ลึกซึ้งกว้างขวางเหมือนฝนตกทั่วฟ้า แต่ภูมิปัญญาของผมมีจำกัด จึงรองน้ำฝนไว้ได้เพียงถ้วยเดียว คือได้เรียนถามท่านว่า

"ที่หลวงปู่สอนมาทั้งหมดนี้ หากผมจะปฏิบัติด้วยการดูจิตไปเรื่อยๆจะพอไหม"

หลวงปู่ดูลย์ตอบว่า "การปฏิบัติก็มีอยู่เท่านั้นแหละ แม้จะพิจารณากายหรือกำหนดนิมิตหมายใดๆ ก็เพื่อให้ถึงจิตถึงใจตนเองเท่านั้น นอกจากจิตแล้วไม่มีสิ่งใดอีก พระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ก็รวมลงที่จิตตัวเดียวนี้เอง

หลังจากนั้นผมก็เพียรดูจิตเรื่อยๆมา มีสติเมื่อใดดูเมื่อนั้น ขาดสติแล้วก็แล้วกันไปนึกขึ้นได้ก็ดูใหม่ เวลาทำงานก็ทำไป พอเหนื่อยหรือเครียดก็ย้อนดูจิต เลิกงานแล้วแม้มีเวลาเล็กน้อยก็ดูจิต ดูอยู่นั่นแหละ
ไม่นานก็เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

วันหนึ่งของอีก 4 เดือนต่อมา ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นปลายเดือนกันยายน 2525 ได้เกิดพายุพัดหนัก
ผมออกจากที่ทำงานเปียกฝนไปทั้งตัว และได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในกุฏิพระหลังหนึ่งในวัดใกล้ๆ ที่ทำงาน
ได้นั่งกอดเข่ากับพื้นห้องเพราะไม่กล้านั่งตามสบายเนื่องจากตัวเราเปียกมากกลัวกุฏิพระจะเลอะมาก

พอนั่งลงก็เกิดเป็นห่วงร่างกายว่า ร่างกายเราไม่แข็งแรง คราวนี้คงไม่สบายแน่ สักครู่ก็ตัดใจว่า ถ้าจะป่วยมันก็ต้องป่วย นี่กายยังไม่ทันป่วยใจกลับป่วยเสียก่อนแล้วด้วยความกังวล

พอรู้ตัวว่าจิตกังวลผมก็ดูจิตทันที เพราะเคยฝึกดูจนเป็นนิสัยแล้ว ขณะนั้นนั่งกอดเข่าลืมตาอยู่แท้ๆ แต่ประสาทสัมผัสทางกายดับหายไปหมด โลกทั้งโลก เสียงฝนเสียงพายุหายไปหมด เหลือแต่สติที่ละเอียดอ่อนประคองรู้อยู่เท่านั้น (ไม่รู้ว่ารู้อะไรเพราะไม่มีสัญญา)

ต่อมามันมีสิ่งละเอียดๆ ผ่านมาสู่ความรับรู้ของจิตเป็นระยะๆแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เพราะจิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ต่อมาจิตมีอาการไหวดับวูบลง สิ่งที่ผ่านมาให้รู้ดับไปหมดแล้ว แล้วก็รู้ชัดเหมือนตาเห็นว่าความว่างที่เหลืออยู่นั้น ถูกแหวกพรวดอย่างรวดเร็วและนุ่มนวลออกไปอีก กลายเป็นความว่างที่บริสุทธิ์หมดจดอย่างแท้จริง

ในความว่างนั้น จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วได้อุทานขึ้นว่า "เอ๊ะ จิต ไม่ใช่เรานี่" จากนั้นจิตได้มีอาการปิติยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น พร้อมๆกับเกิดแสงสว่างโพลงขึ้นรอบทิศทาง จากนั้นจิตจึงรวมสงบลงอีกครั้งหนึ่งแล้วถอนออกจากสมาธิ

เมื่อความรับรู้ต่างๆ กลับมาสู่ตัวแล้วถึงกับอุทานในใจ(จิตไม่ได้อุทานอย่างทีแรก) ว่า "อ้อ ธรรมะเป็นอย่างนี้เองเมื่อจิตไม่ใช่ตัวเราเสียแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไม่เป็นตัวเราอีกต่อไป"

เมื่อผมไปกราบหลวงปู่ดูลย์ และเล่าเรื่องนี้ให้ท่านทราบ พอเล่าว่าสติละเอียดเหมือนเคลิ้มๆ ไป

ท่านก็อธิบายว่า จิตผ่านฌานทั้ง 8 ผมได้แย้งท่านตามประสาคนโง่ว่า ผมไม่ได้หัดเข้าฌาน และไม่ได้ตั้งใจจะเข้าฌานด้วย

หลวงปู่ดูลย์อธิบายว่า ถ้าตั้งใจก็ไม่ใช่ฌาน และขณะที่จิตผ่านฌานอย่างรวดเร็วนั้นจิตจะไม่มานั่งนับว่า กำลังผ่านฌานอะไรอยู่ การดูจิตนั้นจะได้ฌานโดยอัตโนมัติ    (หลวงปู่ไม่ชอบสอนเรื่องฌาน เพราะเห็นเป็นของธรรมดาที่จะต้องผ่านไปเอง หากสอนเรื่องนี้ ศิษย์จะมัวสนใจฌานทำให้เสียเวลาปฏิบัติ)

พอผมเล่าว่าจิตอุทานได้เอง หลวงปู่ก็บอกอาการต่างๆที่ผมยังเล่าไม่ถึงออกมาตรงกับที่ผมผ่านมาแล้วทุกอย่าง แล้วท่านก็สรุปยิ้มๆว่า จิตยิ้มแล้ว พึ่งตัวเองได้แล้ว ถึงพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องมาหาอาตมาอีก

แล้วท่านแสดงธรรมเรื่อง จิตเหนือเหตุ หรือ อเหตุกจิต ให้ฟังมีใจความว่า อเหตุกจิต มี 3 ประการคือ

1. ปัญจทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของจิตขึ้นรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

2. มโนทวารวัชนจิต ได้แก่ความไหวตัวของใจขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ

3. หสิตุปปาท หรือจิตยิ้ม เป็นการแสดงความเบิกบานของจิตที่ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่งเพื่อแสดงความมีอยู่ของจิตซึ่งไม่มีตัวตนให้ปรากฏออกมาสู่ความรับรู้

อเหตุกจิต 2 อย่างแรกเป็นของสาธารณะ มีทั้งในปุถุชนและพระอริยะเจ้า แต่จิตยิ้มเป็นโลกุตรจิตเป็น จิตสูงสุด เกิดขึ้นเพียง 3 - 4 ครั้งก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์

หลังจากนั้นผมก็ปฏิบัติด้วยการดูจิตเรื่อยมา และเห็นว่าเวลามีการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย
จะมีคลื่นวิ่งเข้าสู่ใจ หรือบางครั้งก็มีธรรมารมณ์เป็นคลื่นเข้าสู่ใจ หากขณะนั้นขาดสติ จิตจะส่งกระแสไปยึดอารมณ์นั้น ตอนนั้นจิตยังไม่ละเอียดพอ ผมเข้าใจว่าจิตวิ่งไปยึดอารมณ์แล้วขยับๆ ตัวเสวยอารมณ์อยู่จึงไปเรียนให้หลวงปู่ดูลย์ทราบ ท่านกลับตอบว่า จิตจริงแท้ไม่มีการไป ไม่มีการมา

ผมได้มาดูจิตต่ออีกสักครึ่งปีต่อมา วันหนึ่งจิตผ่านเข้าสู่อัปปนาสมาธิและเดินวิปัสสนาคือมีสิ่งให้รู้ผ่านมาสู่จิต แต่จิตไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าคือสิ่งใดจากนั้นเกิดอาการแยกความว่างขึ้นแบบเดียวกับเมื่อจิตยิ้ม คราวนี้จิตพูดขึ้นเบาๆว่า จิตไม่ใช่เรา แต่ต่อจากนั้นแทนที่จิตจะยิ้ม จิตกลับพลิกไปสู่ภูมิของสมถะปรากฏนิมิต เป็นเหมือนดวงอาทิตย์โผล่ผุดขึ้นจากสิ่งห่อหุ้ม แต่โผล่ไม่หมดดวงเป็นสิ่งแสดงให้รู้ว่ายังไม่ถึงที่สุดของการปฏิบัติ

ปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า การดำเนินของจิตในขั้นวิปัสสนานั้นหากสติอ่อนลงจิตจะวกกลับมาสู่ภูมิของสมถะ และวิปัสสนูปกิเลสจะแทรกเข้ามาตรงนี้ถ้าไม่กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่าวิปัสสนาพลิกกลับเป็นสมถะ ไปแล้ว นักปฏิบัติจึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยพบกับจิตยิ้ม(สำนวนของหลวงปู่ดูลย์) หรือใจ (สำนวนของหลวงปู่เทสก์) หรือจิตรวมใหญ่(สำนวนของท่านอาจารย์สิงห์)

เมื่อผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ ท่านก็ว่า ดีแล้ว ให้ดูจิตต่อไป ผมก็ทำเรื่อยๆ มา ส่วนมากเป็นการดูจิตในชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยได้นั่งสมาธิแบบเป็นพิธีการ

ต่อมาอีก 1เดือน วันหนึ่งขณะนั่งสนทนา ธรรมอยู่กับน้องชาย จิตเกิดรวมวูบลงไป มีการแยกความว่างซึ่งมีขันธ์ละเอียด(วิญญาณขันธ์) ออกอีกทีหนึ่งแล้วจิตก็หัวเราะออกมาเองโดยปราศจากอารมณ์ (ร่างกายไม่ได้หัวเราะ) มันเป็นการหัวเราะเยาะกิเลสว่ามันผูกมัดมานาน ต่อๆไป จิตจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

เหตุการณ์นี้ทำให้ได้ความรู้ชัดว่า ทำไมเมื่อครั้งพุทธกาลจึงมีผู้รู้ธรรมในขณะฟังธรรมเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก ผมนำเรื่องนี้ไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ คราวนี้ท่านไม่ได้สอนอะไรอีกเพียงแต่ให้กำลังใจว่า
ให้พยายามทำให้จบเสียแต่ในชาตินี้ หลังจากนั้นไม่นานท่านก็มรณภาพ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์อีกรูปหนึ่งเคยสั่งให้ผมเขียนเรื่องการปฏิบัติของตนเองออกเผยแพร่ เพราะอาจมีผู้ที่มีจริตคล้ายๆกันได้ประโยชน์บ้าง ผมจึงเขียนเรื่องนี้ขึ้น เพื่อสนองคำสั่งครูบาอาจารย์ และเพื่อรำลึกถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโลผู้เปี่ยมด้วยอนุสาสนีปาฏิหารย์ รวมทั้งหวังว่าจะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อยสำหรับท่านที่กำลังแสวงหาหนทางปฏิบัติอยู่

แนวทางปฏิบัติธรรม ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ( เรียบเรียงโดย : อุบาสกนิรนาม )
๑. คำปรารภ

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรกสุดของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถรภายหลังจากท่านออกเดินธุดงค์จนสิ้นธุระในส่วนขององค์ท่านแล้ว ท่านได้ไปประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ตลอดมาจนถึง วันมรณภาพ

หลวงปู่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และได้แผ่บารมีธรรม อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลักปฏิบัติที่ท่านนำมาสั่งสอนนั้น ไม่ใช่หลักธรรมของท่าน หรือ ของท่านอาจารย์ของท่าน แต่เป็นพระธรรมคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานไว้นั่นเอง ท่านเพียงแต่เลือกเฟ้นกลั่นกรองนำมาสอนให้ถูกกับจริตนิสัยของศิษย์แต่ละคนเท่านั้น

หลวงปู่มีปรกติสอนเรื่องจิต จนบางคนเข้าใจว่า ท่านสอนเฉพาะการดูจิตหรือการพิจารณาจิต
(จิตตานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสอนไว้สารพัดรูปแบบคือใครดูจิตได้ท่านก็สอนให้ดูจิต แต่หากใครไม่สามารถดูจิตโดยตรงได้ ท่านก็สอนให้พิจารณากาย(กายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา)เช่น เดียวกับที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน และในความเป็นจริงศิษย์ฝ่ายบรรพชิตที่พิจารณากายนั้น ดูจะมีมากกว่าผู้พิจารณาจิตโดยตรงเสียอีก

๒. เหตุผลที่ท่านเน้นการศึกษาที่จิต

หลวงปู่พิจารณาเห็นว่ากุศลธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในอริยสัจสี่ทั้งนั้น และอริยสัจสี่นั้นสามารถรู้เห็นและ เข้าใจได้ด้วยการศึกษาจิตของตนเอง เพราะทุกข์นั้นเกิดมาจากสมุทัยคือตัณหา (ความทะยานอยากของจิต) และความพ้นทุกข์ก็เกิดจากความสิ้นไปของตัณหา แม้แต่มรรคมีองค์แปด ซึ่งย่อลงเป็นศีล สมาธิ และปัญญานั้นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับจิตทั้งสิ้น

กล่าวคือศีลได้แก่ความเป็นปรกติธรรมดาของจิตที่ไม่ถูกสภาวะอันใดครอบงำ

สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต

และปัญญาคือความรอบรู้ของจิต

ท่านจึงกล้ากล่าวว่า พระธรรมทั้งปวงนั้น สามารถเรียนรู้ได้ที่จิตของตนเองด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการดูจิต

๓. วิธีดูจิต
๓.๑ การเตรียมความพร้อมของจิต

พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จะสอนตรงกันว่าจิตที่จะเจริญวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีสมาธิหรือความสงบตั้งมั่นของจิตเป็นฐานเสียก่อน จิตจะได้ไม่ถูกกิเลสครอบงำ จนไม่สามารถเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงได้ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนในลักษณะเดียวกัน และท่านมักจะให้เจริญพุทธานุสติบริกรรม "พุทโธ" หรือควบด้วยการทำอานาปานสติคือการกำหนดลมหาย ใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออกบริกรรม "โธ"

เคล็ดลับของการทำความสงบ ในเวลาที่จะทำความสงบนั้น ท่านให้ทำความสงบจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเจริญปัญญา และมีเคล็ดลับที่ช่วยให้จิตสงบง่ายคือให้รู้คำบริกรรมหรือกำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ ตามสบาย อย่าอยากหรือจงใจจะให้จิตสงบเพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะไปบังคับให้สงบไม่ได้ ยิ่งพยายามให้สงบกลับจะยิ่งฟุ้งซ่านหนักเข้าไปอีก เมื่อจิตสงบลงแล้ว จิตจะทิ้งคำบริกรรม ก็ไม่ต้องนึกหาคำบริกรรมอีกแต่ให้รู้อยู่ตรงความรู้สึกที่สงบนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาสู่ความเป็นปรกติด้วยตัวของมันเอง

๓.๒ การแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกจิตรู้

เมื่อจิตรวมสงบทิ้งคำบริกรรมไปแล้ว ท่านให้สังเกตอยู่ที่ความสงบนั้นเอง และสังเกตต่อไปว่า ความสงบนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้นจิตคือตัวผู้รู้ ผู้ดูอยู่นั้น มีอยู่ต่างหาก สรุปก็คือ ท่านสอนให้แยกจิตผู้รู้ออกจากอารมณ์ที่ถูกรู้ บางคนไม่สามารถทำความสงบด้วยการบริกรรม หรือด้วยกรรมฐานอื่นใดก็อาจใช้วิธีอื่นในการแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ได้

ตัวอย่างเช่น นึกถึงพุทโธ หรือบทสวดมนต์บทใดก็ได้ที่คุ้นเคย แล้วก็เฝ้ารู้การสวดมนต์ที่แจ้วๆ อยู่ในสมองตนเองไป จากนั้นจึงแยกว่าบทสวดนั้นถูกรู้ ผู้รู้มีอยู่ต่างหาก

ตรงจุดนี้มี อุบายยักย้ายอีกหลายอย่าง เช่นอาจจะสังเกตดูความคิดของตนเอง ซึ่งพูดแจ้วๆ อยู่ในสมองก็ได้ แล้วเห็นว่า ความคิดนั้นถูกรู้จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก หรือตามรู้ความเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ หรือตามรู้ความ รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไปเรื่อยๆ หรือ ฯลฯ (สรุปว่า รู้อะไรก็ได้ให้ต่อเนื่อง)และสังเกตเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้ จิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก

หรืออย่างท่านพระอาจารย์เทสก์ เทส รังสี ศิษย์อาวุโสอีกรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนให้ลองกลั้นหายใจดูชั่วขณะ แล้วสังเกตดูความรู้สึกตรงที่นิ่งๆ ว่างๆ นั้นแล้วทำสติรู้อยู่ตรงนั้นเรื่อยๆ ไป เป็นต้น

เมื่อแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ได้แล้วก็ให้เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป

๓.๓ การเจริญสติและสัมปชัญญะ

ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับจิตผู้รู้ อย่างสบายๆ ไม่เพ่งจ้องหรือควานหา ค้นคว้า พิจารณาเข้าไปที่จิตผู้รู้ เพียงแค่รู้อยู่เฉยๆ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆเกิดขึ้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ชัดเจน

เช่น เดิมมีความนิ่งว่างอยู่ ต่อมาเกิดคิดถึงคนๆ หนึ่งแล้วเกิดความรู้สึกรัก หรือชังขึ้น ก็ให้สังเกตรู้ความรักความชังนั้น และเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น ตัวจิตผู้รู้มีอยู่ต่างหาก

ให้รู้ตัวไปเรื่อยๆ สิ่งใดเป็นอารมณ์ปรากฏขึ้นกับจิต ก็ให้มีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ตรงที่จิตไม่เผลอส่งออกไปนั้นเอง คือความรู้ตัวหรือสัมปชัญญะ

เรื่องสตินั้นเข้าใจง่าย เพราะหมายถึงตัวที่ไปรู้เท่าอารมณ์ที่กำลังปรากฏ เช่นคนอ่านหนังสือสติจดจ่ออยู่กับหนังสือ จึงอ่านหนังสือได้รู้เรื่อง คนขับรถสติจดจ่อกับการขับรถก็ทำให้ขับรถได้ ฉะนั้นโดยธรรมชาติแล้ว คนมีสติอยู่เสมอเมื่อจิตรู้อารมณ์

แต่จะเป็นสัมมาสติได้ ก็ต่อเมื่อมีสัมปชัญญะคือ ความรู้ตัวไม่เผลอควบคู่ไปด้วย ความรู้ตัวไม่เผลอนั้นเข้าใจยากที่สุด เพราะถามใครเขาก็ว่าเขารู้ตัวทั้งนั้นทั้งที่ความจริงจิตยังมีความหลง (โมหะ) แฝงอยู่เกือบตลอดเวลา

สัมปชัญญะที่ใช้เจริญสติปัฏฐาน จะต้องเป็น "อสัมโมหสัมปชัญญะ" เท่านั้น

ยกตัวอย่าง เมื่อเราดูละครโทรทัศน์ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ใจรู้ คิดนึกตามเรื่องของละครไปในขณะนั้นเรามีสติดูโทรทัศน์ แต่ไม่อาจไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเราส่งจิตหลงไปทางตา ทางหู และทางใจ เราลืมนึกถึง ตัวเองที่นั่งดูโทรทัศน์อยู่ อันนี้เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะหรือไม่รู้ตัว

บางคนเดินจงกรม กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย เท้าขวา รู้ความเคลื่อนไหวของกาย อันนั้นมีสติ แต่อาจไม่มีสัมปชัญญะถ้าส่งจิตเผลอไปในเรื่องของเท้าและร่างกาย มัวแต่จดจ่อที่เท้าและร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว จนเหมือนกับลืมตัวเองเหมือนตัวเองหรือตัวจิตผู้รู้นั้นไม่มีอยู่ในโลกเลยในขณะนั้น

ความรู้ตัวหรือการไม่หลงเผลอส่งจิตออกไปตามอารมณ์ภายนอกนั้นเองคือสัมปชัญญะ

วิธีฝึกให้ได้สัมปชัญญะที่ดีที่สุดคือการทำสมถะกรรมฐาน เช่น การบริกรรมพุทโธจนจิตรวมเข้าถึงฐานของมัน แล้วรู้อยู่ตรง ฐานนั้นเรื่อยไป หากมีอารมณ์มาล่อทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ไม่เผลอ หลงลืมฐานของตน ส่งจิตตามอารมณ์ไปอย่างไม่รู้ตัว

๓.๔ ดูจิตแล้วรู้อารมณ์อะไรบ้าง

การที่เราเฝ้ารู้จิตผู้รู้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ นั้น เราสามารถรู้อารมณ์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้ แล้วแต่ว่า ในขณะนั้นอารมณ์ตัวไหนจะแรงและเด่นชัดที่สุด ดังนั้น เราสามารถเจริญ สติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ ประเภท

ในทางตรงข้าม ถ้าแยกจิตผู้รู้กับอารมณ์ที่ถูกรู้ออกจากกันไม่ได้จะไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานทุกประเภทเช่นกัน

ที่กล่าวว่าสมถะเป็นฐานของวิปัสสนาก็คือเรื่องตรงนี้เอง คือ   ถ้าขาดสมถะที่ถูกต้อง จิตจะตกเป็นทาสอารมณ์ ถ้ามีสมถะที่ถูกต้อง จิตจะมีสัมปชัญญะ รู้ตัวไม่เป็นทาส ของอารมณ์ จึงเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจนตามความเป็นจริงได้ กล่าวคือ

๓.๔.๑ รู้กาย เมื่อมีสัมผัสทางกาย เช่นรู้ลมหายใจเข้า ออก รู้ทางกายว่ามีอากาศเย็นมากระทบกาย กายเกิด อาการหนาวสะท้านขึ้น หรือเมื่อเดินกลางแดดร้อนจัด กายอิดโรยมีเหงื่อไคล สกปรกชุ่มอยู่ หรือ เมื่อเดินจงกรมเคลื่อนไหวไปมา

ผู้ที่มีจิตผู้รู้ จะเห็นกายสักแต่ว่าเป็นกลุ่มของธาตุมารวมกันและเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ไม่เห็นว่ากายส่วนใดจะเรียกตัวเองว่ากายเลยหรือเดินจงกรมจนเมื่อยขา ก็ไม่เห็นว่าขาจะบ่นอะไรได้เลย กายกับจิตมันแยกชัดเป็นคนละส่วนกันทีเดียว ผู้ปฏิบัติจะเห็นกายเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก

๓.๔.๒ รู้เวทนา บางครั้งในขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น เราจะรู้เวทนา ทางกายบ้าง ทางจิตบ้าง แล้วแต่ตัวใดจะเด่นชัดในขณะนั้น เช่นในขณะที่เดินอยู่ เกิดเมื่อยขารุนแรง ถ้าเรามีจิตผู้รู้เราจะเห็นชัดเลยว่า ความเมื่อยไม่ใช่ขาที่เป็นวัตถุธาตุ แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่งแฝงอยู่ในวัตถุธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นขา

หรืออย่างนั่งอยู่ร้อนๆ มีลมเย็นพัดมา รู้สึกสบาย ความสบายนั้นเป็นความรู้สึกอีกตัวหนึ่ง ที่แทรกเข้ามา โดยที่กายไม่ได้สบายไปด้วย

หรืออย่างเราปวดฟัน ถ้าเรามีจิตผู้รู้ จะเห็นชัดว่า ความปวดไม่ใช่ฟัน และไม่ใช่จิตด้วย แต่เป็นอีกสิ่งหนึ่ง (อีกขันธ์หนึ่ง) และความปวดนั้นเปลี่ยนระดับตลอด ไม่ได้ปวดเท่ากันตลอดเวลา อันเป็นการแสดงความเป็นไตรลักษณ์ของเวทนาขันธ์ให้ปรากฏ

ในส่วนของเวทนาทางจิต ก็เห็นได้ชัดมาก เช่น เวลาปวดฟัน มีเวทนาทางกายแล้วบางครั้งจิตก็ปรุงแต่งเวทนาทางจิตขึ้นมาด้วย คือเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์ใจขึ้นมา

หรือในเวลารับประทานอาหารที่ชอบใจ แม้รสยังไม่ทันสัมผัสลิ้น ความสุขทางใจก็เกิดขึ้นก่อนแล้วอย่างนี้ก็มี การรู้เวทนาขณะที่รู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นเวทนาเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนมาก

๓.๔.๓ รู้จิต จิตตานุปัสสนานั้น ไม่ใช่การเห็นจิตผู้รู้ หรือจิตที่แท้จริง แต่เป็นการเห็นจิตสังขาร (ความคิดนึกปรุงแต่ง) ที่กำลังปรากฏ เช่น เห็นชัดว่า ขณะนั้นจิตมีความโกรธเกิดขึ้น มีความใคร่เกิดขึ้น มีความหลงฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ความความผ่องใส เบิกบานเกิดขึ้น ฯลฯ แล้วก็จะเห็นอีกว่า ความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่ว และฝ่ายดี ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่จิต มันเป็นแค่อารมณ์ที่ถูกรู้ ทั้งนี้การรู้จิต
(สังขาร) ในขณะที่รู้ตัวหรือรู้จิตผู้รู้อยู่นั้น จะเห็นจิตสังขารเป็นไตรลักษณ์อย่างชัดเจนมาก

๓.๔.๔ รู้ธรรม ถ้ารู้จิตผู้รู้อยู่นั้น หากสภาวธรรมอันใดปรากฏขึ้น ก็จะเห็นสภาวธรรมนั้นตามที่มันเป็นจริง เช่น ขณะที่รู้ตัวอยู่ จิตคิดถึงคนที่รัก แล้วจิตก็ทะยานออกไปเกาะความคิดนั้น คลุกคลีกับความคิดนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดว่าจิตเกิดความยึดว่าจิตเป็นตัวตนของตนขึ้นมา เพราะความที่จิตหลงไปยึดอารมณ์นั้นเอง ความเป็นตัวตน ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ได้เกิดขึ้นแทนความไม่มีอะไรในตอนแรก

และถ้ารู้ทันว่า จิตส่งออกไปนำความทุกข์มาให้ จิตจะปล่อยอารมณ์นั้น กลับมาอยู่กับรู้ ความเป็นกลุ่มก้อน ความหนัก ความแน่น หรือทุกข์ก็จะสลายตัวไปเอง อันนี้คือการเห็นอริยสัจสี่นั่นเอง คือเห็นว่าถ้ามีตัณหาคือความ ทะยานอยากไปตามอารมณ์ ความเป็นตัวตนและเป็นทุกข์จะเกิดขึ้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ไม่เกิดการรู้สภาวธรรม ในขณะที่รู้ตัว หรือรู้จิตผู้รู้นั้น จะเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ชัดเจนทีเดียว เช่นเห็นว่าเป็นของบังคับบัญชาไม่ได้ มันส่งออกไปยึดอารมณ์ มันก็ไปเอง ถ้ามันรู้ว่าไปยึดแล้วทุกข์ มันก็ไม่ไปเอง เราจะบังคับว่า จงอย่าไป ไม่ได้เลย ตัวอย่างการพิจารณาหรือการดูจิต

๑. นาย จ. กำลังซักผ้า ขณะนั้นสัญญาคือความจำภาพของสาวคนรักผุดขึ้นมาจิตของเขาปรุงแต่งราคะ คือความรักใคร่ผูกพันขึ้นมา ทั้งที่ไม่ได้เห็นสาวคนรักจริงๆ วิธีดูจิตนั้นไม่ได้หมายความว่าให้นาย จ. หันมาทำสติว่ามือกำลังขยี้ผ้าอยู่ แต่นาย จ.จะต้องมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง เมื่อเห็นกิเลสแล้ว ก็ไม่ใช่เกลียดหรืออยากดับกิเลส แต่การเห็นกิเลสด้วยจิตที่เป็นกลาง กิเลสมันจะดับไปเอง เมื่อกิเลสดับไป นาย จ. ก็ต้องรู้ว่ากิเลสดับไป เป็นต้น

๒. กรณีเดียวกับตัวอย่างแรก ถ้านาย จ. เกิดราคะเพราะคิดถึงคนรัก บางครั้งกำลังกิเลสที่แรงมากๆ แม้นาย จ. จะรู้ว่ากิเลสเกิดขึ้น แต่ราคะนั้นอาจจะไม่ดับไป มิหนำซ้ำ จิตของนาย จ. ยังเคลื่อนออกจากฐานผู้รู้
เข้าไปเกาะกับภาพคนรัก หรือหลงเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับคนรัก ถึงขั้นนี้ก็ให้นาย จ. รู้ว่า จิตเคลื่อนออกไปรวมกับอารมณ์แล้ว ไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ เท่านั้น

๓. เมื่อจิตของนาย จ. มีราคะ หรือจิตของนาย จ. เคลื่อนเข้าไปรวมกับอารมณ์ นาย จ. อาจจะสงสัยว่า เอ..เราควรต้องพิจารณาอสุภกรรมฐานช่วยจิตหรือไม่ เพื่อให้พ้นอำนาจดึงดูดของราคะ เรื่องอย่างนี้ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติพิจารณากาย อาจจะใช้การพิจารณาอสุภกรรมฐานมาเป็นเครื่องแก้กิเลสก็ได้ แต่นักดูจิตจะไม่ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต เขาจะทำแค่รู้ทันสภาพจิตของตนอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เพราะจริงๆแล้ว จิตจะเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา ถ้าตั้งใจสังเกตดู เช่น กำลังราคะจะแรงขึ้นบ้าง อ่อนลงบ้าง ความคิดเกี่ยวกับคนรักจะปรากฏขึ้นบ้าง และดับไปบ้าง การเคลื่อนของจิตก็อาจเคลื่อนถลำเข้าไปในอารมณ์บ้าง แล้วถอยออกมาอยู่กับรู้บ้าง มันแสดงไตรลักษณ์อยู่ ตลอดเวลา

๔. เมื่อนาย จ. รู้ทันจิตเรื่อยๆ ไปโดยไม่ได้ใช้ความคิดเข้าไปช่วยจิต นาย จ. ซึ่งเป็นปัญญาชนเคยชิน กับการแก้ปัญหาด้วยการคิด อาจเกิดความลังเลสงสัยขึ้นมาว่า เอ..ถ้าเราเฝ้ารู้จิตไปเฉยๆ เราจะเกิดปัญญา ได้อย่างไร เราจะกลายเป็นคนโง่สมองฝ่อหรือเปล่า ก็ให้นาย จ. รู้ว่าความลังเลสงสัยเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องคิดหาคำตอบ แค่เห็นว่าความสงสัยเกิดขึ้นก็พอที่สุดมันจะดับไปเองเหมือนอารมณ์ตัวอื่นๆ นั่นเอง

แท้ที่ จริง การที่จิตเป็นกลางรู้อารมณ์นั้น จิตเห็นไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา และจะเห็นอริยสัจ ๔ ไปในตัวด้วยนั้น เป็นปัญญาขั้นสุดยอดอยู่แล้วที่จะปลดเปลื้องจิตจากความทุกข์ ทั้งนี้ปัญญาอันเกิดจากการใช้ ความคิด (จินตมยปัญญา) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้เก่าๆ ที่ปัญญาชนอย่างนายจ. เคยชิน ไม่สามารถนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ แต่ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) คือการเจริญสติสัมปชัญญะนั้น นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้ และมันเป็นปัญญาคนละชนิดกัน

๕. เมื่อนาย จ. ซักผ้าไปนานๆ แขนของนาย จ. ก็ปวด มือก็ล้า นาย จ. รับรู้ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้วสังเกตเห็นว่า ความจริงร่างกายของนาย จ.ไม่ได้ปวดเมื่อยเลย แต่ความปวดเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แฝงอยู่ในกาย จิตผู้รู้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มันสงบสบายอยู่ได้ ในขณะที่ทุกข์ทางกายเกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นการเห็น ความจริงเกี่ยวกับขันธ์ที่แยกออกจากกันเป็นส่วนๆ เมื่อมองดูแต่ละส่วน ไม่เห็นมีส่วนใดเลยที่เรียกว่า "นาย จ." นี่ก็เป็นสภาพอีกอันหนึ่งที่ผู้ดูจิตจะรู้เห็นได้ไม่ยาก

๓.๕ การดูจิตจะพลิกไปมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาได้

การดูจิตก็ดีหรือการพิจารณากายก็ดีจิตสามารถ พลิกกลับไปมาระหว่างการเจริญสมถกรรมฐาน และ วิปัสนากรรมฐานได้

ในทางตำราทั่วๆ ไป มักจะแยกสมถะกับวิปัสสนาด้วยอารมณ์กรรมฐาน คือถ้าใครทำกรรมฐาน ๔๐ เช่น อนุสติ ๑๐ ถือว่าทำสมถะ ถ้าเจริญสติปัฏฐานคือรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรม ถือว่าเจริญวิปัสสนา

และเมื่อพบว่า กรรมฐานบางอย่าง เช่น อานาปานสติ มีอยู่ทั้งในกรรมฐาน ๔๐ และในสติปัฏฐาน ก็อธิบายเลี่ยงไปว่า อานาปานสติเป็นข้อยกเว้น คือเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ในแง่ของนักปฏิบัติแล้ว ไม่ใช่เช่นนั้น

การจำแนกสมถะกับวิปัสสนานั้น สามารถจำแนกด้วยอาการดำเนินของจิตได้ด้วย คือถ้าขณะใด จิตมีสติรู้ อารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่องอันนั้นเป็นการทำสมถะ และเมื่อทำไปจนจิตจับอารมณ์นั้นเองโดยไม่ต้องบังคับควบคุม หรือไม่ต้องตั้งใจแล้ว จิตเกาะเข้ากับอารมณ์อันเดียว เกิดความสุขความสงบ อันนั้นเป็นฌานอันเป็นผลของการทำสมถะ

เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมีสติรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะเดียวกันก็มีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้แยกออกจากกันแล้ว ตามเห็นความเกิดดับของอารมณ์ อันนั้นเป็นการทำวิปัสสนา และเมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตจะไม่จงใจรู้อารมณ์และไม่จงใจประคองผู้รู้ แต่ สามารถเจริญสติและสัมปชัญญะได้เอง อันนั้นจิตเดินวิปัสสนาเองโดยอัตโนมัติ อันเป็นวิปัสสนาแท้ ที่จิตทำของเขาเอง

เปรียบเทียบคนที่ทำสมถะ เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน ในขณะ
38  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ประสพการณ์การปฏิบัติ จากอุบาสิกาผู้หนึ่ง เมื่อ: กันยายน 14, 2010, 10:11:57 am
ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม

ชีวิตมีเหตุให้ไปปฏิบัติธรรม

ก่อนหน้านี้ เหมือนยืนอยู่คนละข้างกับผู้ปฏิบัติธรรม

แล้ว เกิดเหตุพลันหลงเข้ามาทดลองปฏิบัติธรรมดู (เหมือนมาสำรวจสถานที่ก่อน) เพื่อจะพาพนักงานมาปฏิบัติธรรม จากคิดว่ามาแค่สำรวจเส้นทางและดูสถานที่แค่ 2 วัน (เสาร์และอาทิตย์)

พอมาเจอหลวงตา บอกให้ปฏิบัติจริง 7 วัน เพื่อให้เห็นผล ยังไงก็เสียเวลามาแล้ว ได้แต่พร่ำบอกหลวงตาว่าไม่ได้เตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเสื้อผ้ามา เมื่อการเจรจาต่อรองไม่ได้ผล ด้วยความเกรงใจหลวงตาและผู้ที่พาไป ก็ต้องทดลองดู ความรู้สึกเหมือนตกบันไดพลอยโจน ทุกอย่างเป็นของแปลกใหม่หมด ต้องลองดู

ไม่รู้หรอกว่าแยกรูป แยกนามเป็นยังไง ชื่อหลวงพ่อเทียนก็ไม่เคยได้ยิน ในชีวิตนี้รู้จักแต่ท่านพระพุทธทาส หลวงพ่อชา หลวงพ่อคูณ เท่านั้น ปฏิบัติธรรมสายนั้นสายนี้ไม่รู้จัก คำว่าอนุโมทนาก็พึ่งมาเคยได้ยินที่วัดนี้ และพึ่งรู้ว่าวัดป่าฉันอาหารแค่มื้อเดียว นี่เราเป็นคนไกลวัดขนาดนี้เลยเหรอ.... ช่วงที่ไปครูบาส่วนใหญ่เข้าเก็บอารมณ์กันหมด เหลือหลวงตาที่เป็นพระพี่เลี้ยง ไม่รู้ว่าให้ทำอะไรบ้าง ผู้มาปฏิบัติธรรมประมาณ 10 คน ต่างคนก็ต่างปฏิบัติ และก็ทยอยกลับ เหมือนไม่มีเพื่อนปฏิบัติเลย

สองสามวันแรกอึดอัดมาก ที่น้ำตาไหลไม่ใช่เห็นปิติอะไรหรอกนะ มันอึดอัดคับข้องใจ หายใจไม่ออก มันทำอะไรไม่ได้ นอกจากเดินกลับไปกลับมา “นี่เรามาทำบ้าอะไรที่นี่” ถาม ตัวเองเป็น 100 ครั้ง เดินเหมือนเสือติดจั่น เรามาเดินหาอะไร นับ 1 2 3 ซ้าย ขวา ดูท้องฟ้า ดูต้นไม้ไป จิตมันวิ่งไปมา เหมือนมี 2-3 คน คุยกันไปมาเหมือนเราเป็นผู้ดู อีกสักพักก็เป็นผู้ทะเลาะ ดูวุ่นวาย เหมือนเล่นชักกะเย่อกันไปมา เบื่อ เหนื่อยล้าไปหมด เวลาแต่ละ วิ นา ที ผ่านไปอย่างเชื่องช้ามาก แทบจะหยิบนาฬิกาขึ้นมาดูทุก 5 นาที มันเหมือนใจจะขาด เหมือนคนจนมุม ต้องหนีไปอาบน้ำก่อนระฆังตีด้วยซ้ำ เครียด ปวดหัวตัวร้อนไปหมด เหมือนจะเป็นไข้ ทำไมการปฏิบัติธรรมมันหดหู่ มันเบื่อ เซ็ง มันฟุ้งซ่านอย่างนี้ จิตมันพล่านดีดดิ้นไปมา หดหู่สุดๆ จนอยากปืนขึ้นไปบนต้นไม้ ยิ่งเดินยิ่งคิดสารพัดเรื่อง คิดหาหนทางกลับบ้านด้วยซ้ำ แทบจะคุยกับมดกับแมลงกับต้นไม้ได้แล้ว ทั้งเดินช้า เดินเร็ว ทั้งวิ่ง ทั้งกระโดดข้ามทางเดินจงกรมไปมา บางทีพาลนึกโกรธผู้พามาด้วยซ้ำ แต่ทำอะไรไม่ได้

กว่าจะผ่อนคลายลง ได้ก็ล่วงเข้าวันที่ สี่ จากจะอยู่แค่ 7 วัน ก็กลับกลายเป็น 10 วัน ทำได้บ้าง หลุดบ้าง ใจมันวิ่งไปมา ยื้อไปมา สู้กับใจตัวเองทั้งวัน อากาศก็หนาวจัด ไม่ใส่เสื้อกันหนาวเพื่อให้ความหนาวมันกระทบจะได้รู้สึกตัว ห้องนอนก็ขนาดใหญ่จุคนได้ 20 คน แต่เราอยู่คนเดียว เหมือนถูกขังเดี่ยว ยังไงไม่รู้ประหลาดใจตัวเองมาก มันเหมือนคนสายตาสั้นมาก แล้วมีคนเอาแว่นตามาใส่ให้ มันสว่าง ตาสว่าง ใจสว่างไปหมด เห็นทุกอย่างชัดเจนมาก มันเหมือนแทงทะลุหัวใจไปเลย

หลวงตามีเมตตา มาก เอาใจใส่ ปฏิบัติเป็นเพื่อน เช้ามืดตี 4 เดินจงกรมเป็นเพื่อนบ้าง ไปสอบอารมณ์ถึงที่เดินจงกรมทุกวัน และก็โดนหลวงตาทดสอบ ทั้งให้ไปทำทางเดินจงกรมเอง เดินจงกรมถอยหลังบ้าง ฟุ้งซ่านมากก็ให้ไปเดินกวาดป่า แก้วิธีปฏิบัติให้ สอนการใช้ชีวิตทั้งทางโลกทางธรรม รู้สึกเลื่อมใสและศรัทธาขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก(เหมือนได้ดวงตาเห็นธรรม)

ครบกำหนด 10 วัน กลับมาเล่าให้ทุกคนฟัง เพื่อทุกคนเตรียมตัวเตรียมความพร้อมออกเดินทางไปปฏิบัติบ้าง ไปคราวนี้ประมาณ 50 คน

ระยะ เวลาห่างจากการไปครั้งแรก 1 เดือน เหมือนตัวเองมีเสบียงไว้แล้ว พร้อมตะลุยต่อยอดสิ่งที่หลวงตาสอนไว้คราวที่แล้ว แต่ยังนึกห่วงน้องๆ ที่มากันครั้งแรกอาการคงจะเหมือนเราแน่ๆ เป็นไปดังคาดเหมือนมองเห็นตัวเองเลย บางคนก็นอนกอดกระเป๋า ทนไม่ไหวแล้ว อ้อนวอนอยากจะกลับบ้านอยากจะหนีไปเลย ไม่อยากทำ ไม่อยากมาอีกแล้ว บางคนก็มุ่งมั่นมาก ต่างคนต่างต่อสู้กับใจตัวเอง


การมาปฏิบัติ ครั้งที่ 2 นี้เต็มไปด้วยความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง นิ่งมาก ลมหายใจกระทบกับปลายจมูกชัดมาก ดูไปเรื่อยๆ เหมือนตัวเองกระโดดข้ามมิติมายืนอีกฝั่งหนึ่ง จิตใจสงบ เยือกเย็น โปร่ง โล่ง เหมือนรื้นถอนความทรงจำเก่าๆ ความเชื่อความศรัทธาใหม่เข้ามาแทนที่ จนต้องถามตัวเองว่า เมื่อก่อนเราแปลก หรือตอนนี้เราแปลกไป นึกถึงคำพูดที่ตัวเองเคยถามนักปฏิบัติธรรมว่า
ทำไมต้องไปวัดไปแล้วไปอีก ปฏิบัติที่บ้านไม่ได้เหรอค่ะ
สิ่งที่สอนอยู่ที่วัดตั้ง 7 วัน จำไม่ได้เหรอ ถึงต้องไปอีก
เข้าใจอะไรผิดหรือป่าวที่ว่าตัวเราไม่ใช่ของเรา
ทุกคำถามที่ถามคนอื่น ต้องกลับมาย้อนตอบตัวเอง มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

ด้วย ความเสียดายสิ่งที่หลวงตาสอน ช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน ตัดสินใจบุกเดี่ยวเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ม่อนพระเจ้าหลวงที่ อ.แม่ขะจาน จ.เชียงราย ไปทุกเดือน ไปปฏิบัติธรรมบนเขาสูง เดินจงกรมขึ้นลงเขาทุกวัน ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมีวันนี้ (ปกติวันหยุดยาวต้องไปเที่ยว)เพื่อนสนิทกลับมองว่าเราป่วยหรือทุกข์เรื่อง อะไรหรือป่าว ทุกคนเต็มไปด้วยความสงสัยและเป็นห่วง

อยากไปพิสูจน์ ตัวเองในที่ ที่ไม่เคยไป และไม่รู้จักใคร ว่าจะทำได้ไหม จะตื่นตระหนก ขลาดกลัวหรือเลิกล้มความตั้งใจไปเลย ไม่น่าเชื่อว่ามันมีสิ่งมหัศจรรย์ซ่อนอยู่

หนทางสายนี้ช่างดูเงียบเหงายังไงไม่รู้ แต่ก็ทำให้ชีวิตที่จะก้าวไปข้างหน้าตื่นรู้อย่างบอกไม่ถูก




เครดิตเจ้าของเว็บ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wawa&month=04-2007&date=29&group=3&gblog=3
39  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เรื่องวุ่น ๆ ทั้งหมด ล้วนแล้วเกิดจาก ..... เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 05:56:50 am
วันนี้มาเล่าประสพการณ์ ชีวิต ที่ผมประมวลมาแล้ว ในช่วงพรรษานี้ ไม่รู้จะมีพรรษาต่อไปหรือป่าว

จากชีวิตวัยเด็ก ก็วุ่น อยู่กับการเป็นพระเอก ชอบเด่น ชอบดัง ชอบอวด

พอเข้าวัยรุ่นหน่อย ก็ชอบห่าม ชอบแสดงมากขึ้น

พอเข้าชีวิตทำงาน ก็ชอบนำ ไม่ชอบตาม

พอเข้าชีวิตจะเกษียณ ก็ชอบทำเป็นเรียกร้องความสนใจ

พอเข้าชีวิตบั้นปลาย ก็ชอบฝักใฝ่ในธรรม

เขียนรวบรัดหน่อย เพราะไม่อยากพิมพ์มาก ๆ




สรุปก็ตรงที่ว่า ชีวิตของเรา ที่วุ่น ... .นี้ ก็เพราะชอบ .....

การชอบ..... นี้ก็คือ อารมณ์ที่ยินดี ....... พูดตรง ๆ ก็คือ ตัณหา ....

ที่นี้มันเกี่ยวอะไรกับความวุ่น วาย ครับ




เพราะเราชอบ ให้เขา สรรเสริญ เรา พอมีคน นินทา ด่าเรา ๆ ก็ไม่ชอบ

  บางครั้ง ก็เก็บอาการต่าง ๆ มาวิเคราะห์ ในใจ จน ใจขาดธรรมะ เพราะหดหู่ ไม่ร่าเริง ในธรรม

เพราะเราชอบ มีสุข มาก  พอ เรา ต้องทุกข์  ก็เครียด สิครับ

  บางครั้ง เราเองก็หลงแต่ความสุข พอได้รับทุกข์ ก็มานั่งบ่น นั่งร้องไห้ อันที่จริง ชีวิตคนเราก็มีขึ้น มีลง

  ใครจะสุขได้ทั้งปี ใครจะทุกข์ได้ตลอด นี่เป็นเพราะเรา ชอบ .....

เพราะเราชอบ ความก้าวหน้า ในการดำเนินชีิวิต พอเราต้องมาตกอับ หรือไม่ก้าวหน้า

  ก็มาตีโพย ตีพาย ว่าเป็นเพราะเวร เพราะกรรม สุดแท้ แต่จะนึกได้ในตอนนั้น ที่เราต้องหน้าดำ หน้าแดง

  ก็เพราะชอบ นี่ละครับ

เพราะเราชอบ ที่จะได้ เลย ไม่คิด ว่าจะมีเรื่องเสีย เมื่อถึงคราวต้องเสีย ก็มานั่งทุกข์อก ทุกข์ใจ ว่าเสีย

  แท้ที่จริง แล้ว ก็ไม่มีอะไรมาด้วยเจ้า เจ้าจะเอาแต่สุข สนุกไฉน เจ้ามาตัวเปล่า แล้วเจ้าจะเอาอะไร

  เจ้าก็ไปตัวเปล่า เหมือนเจ้ามา




   ดังนั้น เรื่อง วุ่น ๆ ทั้งหมด นี้ ล้วนแล้วเกิด จาก ความชอบ ...... ของเราทั้งนั้นครับ

   

   เมื่อเรารู้อย่างนี้ แล้ว ก็ควรจะพึงสังวร ในความเป็นธรรม ที่แท้จริง ว่า


   สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด เสียครับ


   พระอาจารย์ให้กลอนบทหนึ่งมาทางเมล์ กับผมแจกให้อ่านด้วยครับ



    มีเหรียญบาท ยัดใส่ปาก 
   
   สัปเหร่อ ยังควัก ไม่ให้เจ้ากลืน

  คิดแล้ว มันน่าขมขื่น
   
  เหลือผ้าสองผืน พอปิดกาย

    บางครั้งคนเผลอ สัปเหร่อ ยังแก้้
 
  เอาผ้าม่วง ผ้าแพร ไปเที่ยวเหร่ขาย

 ต้องแต่งชุดเดียว ทั้งวันเกิด วันตาย

 ต้องไปนอนเปลือยกาย อยู่บนเชิงตะกอน



40  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อภินิหาร ของ พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันต์ธาตุ เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 05:36:29 am
สาธุ ท่านผู้ใด ที่ได้ครอบครอง ธาตุศักดิ์สิทธิ์ เหล่านี้ ครับ ผมขออนุโมทนาด้วยครับ

สำหรับ ผมกว่าจะได้มีเข้าไปไว้บูชา กราบไหว้ ที่บ้านก็อายุ ผ่านหลัก 6 แล้ว

ที่นี้่ผมจะมาพูดถึง อภินิหาร ที่ผมได้พบประสพเจอ บ่อย ๆ ครับ

ก็ ทุกวันพระ ถ้าผมได้นั่งกรรมฐาน ที่ห้องพระทุกครั้ง จะเห็นแสงสว่าง เป็นสีรุ้ง ทุกครั้ง

ถ้าไม่นั่งกรรมฐาน ก็จะไม่เห็น

ประการต่อมา พระบรมสารีริกธาตุ ทีได้มาหายไปาจากผอบ ทั้ง ๆ ที่ห้องพระมีผมมีกุญแจเพียงผู้เดียว

แต่ต่อมาอีกประมาณ 2 อาทิตย์ พระบรมสารีริกธาตุ ก็กลับมา แถม มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก 2 ธาตุ

อภินิหาร ที่ผมจะทึ่งที่สุด และ ศรัทธาที่สุด ก็คือเมื่อนั่งกรรมฐาน แล้วเห็นสีุรุ้ง นี่แหละครับ


ดังนั้นผมก็ขออนุโมทนากับทุกท่าน ที่มีพระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันต์ธาตุ ทุกท่านครับ


หน้า: [1] 2 3