ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - kittisak
หน้า: 1 ... 13 14 [15]
561  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: เดินทางขึ้นเหนือ แล้วจ้า เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 10:03:12 am
ขอเสริม email ของพระอาจารย์ นะครับ

pra_sonthaya@madchima.org
562  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: วันธงไชย ในปี 2553 เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 09:42:51 am
ได้รับมอบหมายจากพระอาจารย์ ให้มาอัพเดทในส่วนนี้ต่อครับ

วันธงไชยที่ท่านพระอาจารย์ โดยรวมนะครับ อันนั้นก็ถูก
แต่สำหรับลงตรงนี้ เป็นวันธงไชย มีมีผลเฉพาะด้านนะครับ
---------------------------------------------------------------------------------
สำหรับ เดือน มีนาคม

8 มี.ค. 2553  เหมาะกับ ขึ้นบ้านใหม่ เิปิดกิจการ แต่งงาน ส่งขันหมาก / ไม่เหมาะกับ ตั้งเสาเอก โกนจุก เดินทาง ออกเรือ เบิกเนตร
11 มี.ค. 2553 เหมาะกับ เดินทาง ย้ายบ้าน ค้าขาย ตั้งเสาเอก แต่งงาน เปิดร้าน / ไม่เหมาะกับ ตั้งเตียง ขึ้นบ้านใหม่ โยกย้าย ขอพร เป็นนายหน้า
14 มี.ค. เหมาะกับ เปิดกิจการ เปิดร้าน ขึ้นบ้านใหม่ ฝังศพ ก่อสร้าง / ไม่เหมาะกับ ฟ้องร้อง แต่งงาน รับตำแหน่ง ตัดฟัน
23 มี.ค. เหมาะกับ บวงสรวง เซ่นไหว้ ขอพร เปิดกิจการ แต่งงาน เปิดร้าน / ไม่เหมาะกับ ปล่อยน้ำเข้านา ตั้งเตียง เบิกเนตร  ขึ้นบ้านใหม่
26 มี.ค. เหมาะกับ เข้าโรงเรียน เปิดกิจการ สร้างคันกั้นน้ำ หาหมอรักษา โยกย้าย แต่งงาน เปิดร้าน ฝังเข็ม ขึ้นบ้านใหม่ /ไม่เหมาะกับ เพาะปลูก ฝังศพ รับตำแหน่ง เบิกเนตร ตั้งเสาเอก
เลขนำโชค
1 มีนาคม 2553=====6 4 7
16 มีนาคม 2553=====4 3 6
563  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ตารางงานปริวาสกรรม ภาค วัด พร้อมเบอร์ติดต่อ เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 09:36:50 am
ขอเสริมครับ ในโปรแกรม มหาหมอดู เวอร์ชั่นทดสอบ ดาวน์โหลดแล้วลงโปรแกรม ก็มีตารางงานปริวาสกรรมอยู่ 245 วัด สามารถเปิดดูได้โดยเข้าไปที่ ห้องเมนูหลัก และ ไปที่ พุทธศาสตร์ กับ การดำเนินชีวิต และเลือก ตารางงานปริวาสกรรม ก็จะสามารถดูได้ด้วยครับ
564  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: วันธงไชย ในปี 2553 เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 09:28:36 am
ดาวมฤตยู (เทพเจ้าแห่งความตาย)
บุคลิกภาพ          รูปร่างประหลาด  อาจสูงโย่ง  หรืออ้วนกลมลงพุง ลำตัวเท่ากัน
อุปนิสัย      รักอิสระ ชอบสันโดษ ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร  มีสติปัญญาว่องไว ชอบเข้าสังคม ใจคอกว้างขวาง
      อิสระรักการ   ท่องเที่ยวเดินทาง เป็นนักค้นคว้าชอบพิสูจน์ ชอบทดลอง ไม่ชอบความจำเจ    อาจฆ่าตัวตายเนื่อง
      จากการเบื่อหน่ายหรือความวิปลาสของตัวเอง
ตัวแทน      นักวิทยาศาสตร์ นักท่องเที่ยว มนุษย์อวกาศ นักสำรวจ โจร นักบุกเบิก ผู้เดินทางมาจากถิ่นไกล
สถานที่      ต่างประเทศ ต่างแดน ต่างจังหวัด บนรถ บนเรือ หรือ เครื่องบิน การเคลื่อนไหว ยานพาหนะ กระทรวงการต่างประเทศ
      โรงแรม ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า สถาบันค้นคว้าวิทยาศาสตร์ การวิจัยปรมาณู
ธาตุ      อากาศธาตุ  หรือธาตุลม
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๖ ดาวศุกร์
ศัตรู      เป็นศัตรูกับเลข ๑ ดาวอาทิตย์
กำลังดาว      ไม่มีกำลังดาว (มีกำลังเป็น ๐ ศูนย์)
สี      ไม่มีสีสัน  (บ้างว่าเป็นสีแห่งความตาย มีสีม่วง สีดำ)
สัตว์      นกอินทรีย์ เหยี่ยว นกนางแอ่น
วัย      อยู่ระหว่างระยะอายุ ๗๐-๘๐ ปี
อวัยวะ      อวัยวะที่เกินหรืองอกออกมา เช่นนิ้ว หรือติ่งหู
โรคภัย      โรคลึกลับที่หาสาเหตุไม่ได้   โรคริดสีดวงทวาร   ไซนัส  ปอด  หลอดลม
วัตถุรูปร่าง      เหมือนกลีบดอกไม้กลม
ทิศ      ไม่มีทิศ    (บางตำราว่าเป็นทิศอุดร หรือทิศเหนือ)


ดาวอาทิตย์ (ราชาแห่งจักรวาล)
บุคลิกภาพ      ดูดีสง่าผ่าเผยภูมิฐานน่าเคารพนับถือ น่ายำเกรง แกร่งและมีอำนาจ องอาจในทุกสถานที่ที่ปรากฎตัว  หยิ่งถือตัว
      เชื่อมั่นในตัวเองสูง ชอบแสดงความเป็นใหญ่ ชอบทำตัวเป็นหัวหน้า  คล่องแคล่วว่องไว ใจกล้าหาญ ใจนักเลง 
      เปิดเผย  ร่างกายสันทัดผิวดำแดงผมหยิก ใบหน้ากลมมน อกผายไหล่ผึ่ง
สัญญลักษณ์   เพศชาย สามี บิดา หัวหน้า พระเจ้าแผ่นดิน นายก ผู่นำ ลูกคนโต ธนาคาร เป็นดาวบาปเคราะห์
สถานที่      สถานที่ราชการ สถานที่โอ่อ่าหรูหรา คฤหาสน์สูงเด่น วังทำเนียบ ที่ทำการของรัฐ สถานที่โอ่อ่าหรูหรามีแสงมีเสียง
      สถานที่เป็นแหล่งพลังงาน เช่นโรงงานไฟฟ้า
ทิศทาง      ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทิศอีสาน
ธาตุ      ธาตุไฟ บ่งถึงใจร้อน สติปัญญาว่องไว
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๒ และเลข ๕
ศัตรู      คือเลข ๓ และ เลข ๖
สี      แทนสีส้ม สีทอง สีทองอันแวววาว
อัญมณี      ทับทิม  พลอยสีแดง พลอยสีส้ม สีทอง
สัตว์      ครุฑ   ราชสีห์  นกอินทรี   
รสชาติ      รสเผ็ดร้อน แร่ทองคำ
วัย      เป็นวัยเด็กอายุระหว่าง ๑-๑๐ ปี
อวัยวะ      หัวใจ  เลือด  ดวงตา (ชายตาขวา หญิงตาซ้าย) กระดูกสันหลัง บั้นเอง
โรคภัย      โรคหัวใจ  โรคความดัน  โรคเกี่ยวกับสายตา ตะคิวชัก โรคของสันหลังหรือบั้นเอว
วัตถุรูปร่าง      รูปกลม  O  หรือรูปดาวรัศมีเป็นแฉก
กำลังดาว      กำลัง ๖ (มาจากราชสีห์ ๖ ตัว)
ทิศ      อีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)


ดาวจันทร์ (ราชินีแห่งจักรวาล)
บุคลิกภาพ      เรียบร้อยน่ารัก รักความสะอาด สุภาพอ่อนโยน  รูปร่างแบน หน้ากลม ผิวขาว บอบบาง หรือค่อนข้างท้วม เดินเตาะแตะ
      ดวงตาสวยงาม ค่อนข้างนูนออกมา มีเสน่ห์ เพ้อฝัน ตกอยู่ในอิทธิพลคนอื่นได้ง่าย
สัญญลักษณ์   ราชินี หญิงบรรดาศักดิ์สูง สตรีที่เป็นหัวหน้า  นางพยาบาล   ภรรยา มารดา
สถานที่      เกี่ยวกับสตรี เช่น โรงงานสตรี  ร้านเสริมสวย   ทิวทัศน์อันโรแมนติกเกี่ยวกับน้ำ เช่น ท่า เรือ  สถานที่อยู่ใกล้น้ำ   
      โรงงานผลิตน้ำ    บึง  บ่อน้ำ   
รูปร่าง      สูงโปร่ง สะโอดสะอง เอวบางร่างน้อย ผิวขาวเหลือง แก้มอิ่ม
ธาตุ      ธาตุน้ำ บ่งถึงเป็นคนใจอ่อน เชื่อใจคนง่าย
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๔ ดาวพุธ
ศัตรู      หมายเลข  ๓, ๕, ๗, ๘, ๙
กำลังดาว      มีกำลังเป็น  ๑๕  (นางฟ้าทั้ง ๑๕)
สี      สีเหลือง  สีไข่ไก่  สีขาวนวล สีเปลือกมะนาว   
รสชาติ      มีรสเค็ม   น้ำทะเล  น้ำในมหาสมุทร   แร่เงิน
อัญมณี      ไข่มุก  โอปอล์  เพชร  พลอยสีขาว
สัตว์      สัตว์น้ำ  แมว  ม้า  เสือ   กระต่าย กวาง
วัย      อยู่ระหว่างอายุ ๓๐-๔๐ ปี
อวัยวะ      เต้านม น้ำนม มดลูก  กระเพาะอาหาร ลำไส้ วัณโรค โรคเกี่ยวกับตา   โรคจิต  โรคมานน้ำ ต่อมน้ำเหลือง
นิสัย      อ่อนโยน ชอบเพ้อฝัน  เปลี่ยนแปลงง่าย  เรรวน  มีจริตมารยา
วัตถุรูปร่าง      กลมๆ
ทิศ      ทิศบูรพา  หรือทิศตะวันออก


ดาวอังคาร (เทพเจ้าแห่งสงคราม)
บุคลิกภาพ      รูปร่างสันทัด ผิวดำแดง ผมหยิก ตาคม ใบหน้ามนเข้มคมคาย มีโทสจริต เป็นคนใจร้อนทำอะไรเอาแต่ใจตนเอง
      ท่าทางกระฉับกระเฉง ผมหยักศก หน้ากระดูก
ตัวแทน      เพื่อน ทหาร ตำรวจ วิศวกร ศัลยแพทย์ ทันตแพทย์ ช่างเหล็ก คนครัว คนฆ่าสัตว์ นักเคมี คนในเครื่องแบบ
สถานที่      โรงทหาร ร้านขายอาวุธ โรงทำอาวุธ สนามมวย โรงพักการแข่งขัน ค่ายทหาร ที่ซ้อมรบ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานถลุงเหล็ก
      สถานทันตแพทย์
ธาตุ      ธาตุน้ำ น้ำเลือด น้ำคลองขุ่น น้ำไหลเชี่ยวมีวังวนน่ากลัว
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๖ ดาวศุกร์
ศัตรู      คือเลข ๑ ดาวอาทิตย์
กำลังดาว      มีกำลัง  ๘   (กระบือทั้ง  ๘ ตัว)
สี      สีชมพู สีม่วงแดง
รสชาติ      รสขม แร่เหล็ก
อัญมณี      พลอยสีชมพู   เพทาย   ทับทิม
สัตว์      เสือ หมูป่า กระทิง
วัย      อยู่ระหว่างระยะอายุ ๔๐-๕๐ ปี
อวัยวะ      อวัยวะเพศทั้งชายและหญิง อวัยวะสืบพันธุ์ เช่นรังไข่ มดลูก
โรค                    โรคขัดเบา ดีซ่าน เบาหวาน บาดแผลฟกช้ำ หรือแผลที่เกิดจากไฟ และน้ำร้อน ลวก ไข้พิษ โรคอักเสบ และโรคเกี่ยวกับจมูก
นิสัย      ฉุนเฉียว วาจาโผงผาง ไม่ค่อยยับยั้ง เชื่อใจคนง่าย หูเบา ถูกยุง่าย
วัตถุรูปร่าง      แปดเหลี่ยม เพศชาย
ทิศ      อาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)


ดาวพุธ (เทพเจ้าแห่งการพาณิชย์)
ความหมายเฉพาะ      ได้แก่ บุตร หลาน ปัญญา คำพูด
บุคลิกภาพ      รูปร่างท้วม จมูกโด่ง  ผิวกายขาวหรือแดง  ใบหน้าอิ่มยิ้มง่าย ปัญญาไว เรียบร้อย อ่อนโยน     
      เป็นมิตรเข้ากับใครได้ง่าย  เอาใจคนอื่นเก่ง
ตัวแทน      คนที่หากินคำพูด การเขียน ผู้สื่อข่าว คนหนังสือพิมพ์ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร บุรุษไปรษณีย์ นักประพันธ์
      นักหนังสือพิมพ์ มิตรสหาย นักปราชญ์
สถานที่      ที่ทำการไปรษณีย์ ร้านขายหนังสือ ทุ่งหญ้าอันชอุ่ม หน่วยสื่อสาร ห้องสมุด โรงพิมพ์ โรงเรียน ที่อ่านหนังสือสาธารณะ
ธาตุ      ธาตุดิน ดินอันอ่อนนุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก
นิสัย      คนช่างพูด ขี้ตื่น เปลี่ยนอารมณ์ง่าย มักโลเลไม่แน่นอน
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๒ และเลข ๘
ศัตรู      ตำราไทยโบราณว่าเลข ๘ และควรเป็นเลข ๓ ด้วย
กำลังดาว      มีกำลังเป็น  ๑๗   (ช้าง ๑๗ เชือก)
สี      เขียว สีเขียวใบไม้ รสผสมหลายชนิด แร่ปรอท
อัญมณี      มรกต พลอยสีเขียวทุกชนิด
สัตว์      ช้าง  สุนัข   นกที่พูดได้
วัย      อยู่ระหว่างระยะอายุ ๑๐-๒๐ ปี เป็นวัยทีนเอจ
อวัยวะ      ท้อง ลำไส้ กระเพาะอาหาร มดลูก
โรค       ปวดศรีษะ โรคเกี่ยวกับภายในปาก โรคสมองพิการ โรคมือ และเท้า ลำไส้ ติดอ่าง
วัตถุรูปร่าง      รูปร่างสี่เหลี่ยม หรือกากบาท
ทิศ      ทักษิณ (ทิศใต้)   


ดาวพฤหัสบดี (เทพเจ้าผู้เรืองปัญญา)
ความหมายเฉพาะ       ได้แก่ มิตรสหาย มนตรีโชค การศึกษา สติสัมปชัญญะ
บุคลิกภาพ      ร่างสูงท้วมขาวสมส่วน ใบหน้ามนเหลี่ยม ผิวค่อนข้างขาว หน้าผากกว้างเป็นวงใหญ่ มีแผลเป็น ผมบาง
      หรือตำหนิไฝ มักซื่อ ไม่ค่อยทันมนุษย์ แต่มีปัญญาดี
ตัวแทน      ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง รัฐมนตรี พระสงฆ์ นักปราชญ์ เพศชาย ผู้พิพากษา สมณะพรหมณาจารย์
      ที่ปรึกษาหมอ ทนายความ นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นสูง คนสอนศาสนา สมาชิกสภาสูง
สถานที่      วัด โรงศาล โรงเรียน หมู่บ้านอันเจริญมั่งคั่ง พระราชวัง โรงพยาบาล สุขศาลา สถานที่เกี่ยวกับศาสนา
      โบสถ์วิหาร การเปรียญ สภามหาวิทยาลัย สภาสูง
ธาตุ      ธาตุไฟ นิสัยใจร้อนแต่ค่อนข้างสุขุม พูดจาเฉียบแหลม แต่ติดจะดื้อรั้น
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๑ ดาวอาทิตย์   
ศัตรู      เป็นศัตรูกับเลข ๖ ดาวศุกร์ กิเลส
กำลังดาว      กำลัง  ๑๙  (ฤาษีทั้ง  ๑๙ ตน)
สี      สีส้ม สีเหลือง สีแสด   สีขมิ้น   
รสชาติ      มีรสหวาน
แร่ธาตุ      แร่สังกะสี
อัญมณี      บุษราคัม   หรือพลอยสีเหลือง
สัตว์      สัตว์ที่ขนมาก   หนูชนิดต่างๆ   กระรอก กระแต
วัย      อยู่ระหว่างระยะอายุ ๕๐-๖๐ ปี
อวัยวะ      โคนขา วิญญาณ เลือด
โรค      โรคกระเพาะอาหาร  โรคลำไส้   โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ  เบาหวานโรควิกลจริต
      โรคเกี่ยวกับเท้า ต้นขา และโคนขา
วัตถุรูปร่าง      เป็นเส้นตรง เส้นตั้งสูงๆ
ทิศ      ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)


ดาวศุกร์ (เทพเจ้าแห่งกามรมณ์)
ความหมายเฉพาะ      ได้แก่ โภคทรัพย์ สิ่งสินต่างๆภรรยาในชะตาชาย ความรัก ปรารถนา
บุคลิกภาพ      ร่างร่างสวยงามได้สัดส่วน    หน้าแป้น เท้าเล็ก
นิสัย      เป็นคนรักสวยรักงาม รักศิลปะ  รักความยุติธรรม ร่าเริง แจ่มใส  อ่อนหวาน มีเสน่ห์ น่ารักน่าใคร่ 
      ชอบการแต่งตัวดี ชอบสิ่งประดับราคาแพง มีรสนิยมดี  แต่ติดจะขี้โอ่และเจ้าชู้
ตัวแทน      ศิลปิน นางแบบ นักแสดง จิตรกร สถาปนิก สาวงาม เพศหญิง นักกีฬา ผู้ค้าเครื่องสำอาง ช่างผู้ประดิษฐ์
      สิ่งสวยงามทุกประเภท ช่างตัดเสื้อ ช่างตัดผม ช่างดัดผม อาจารย์ฝ่ายศิลปะทุกประเภท
สถานที่      โรงเรียนศิลปะ ธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ตบแต่งหรูหรา สถานที่ศิลปะกรรมสถานที่แสดงมหรสพ สถานที่เต้นรำ
      ไนต์คลับ ดิสโก้เธคส์ ภัตตคาร ร้านเสริมสวย ร้านขายเครื่องสำอาง อาบอบนวด ว่องโรงแรม
ธาตุ      ธาตุลม มีสติปัญญาดี ช่างคิดฝัน ใจคอมั่นคง น้ำใจดี มองโลกในแง่ดี
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๓ ดาวอังคาร   
ศัตรู      เป็นศัตรูกับเลข ๙ ดาวเกตุ และดาวพลูโต
กำลังดาว      กำลัง  ๒๑  (คนธรรพ์  ๒๑ ตน)
สี      ฟ้า น้ำเงิน รสฝาด แร่ทองแดง
อัญมณี      ไพลิน พลอยสีฟ้า
สัตว์      สัตว์งามน่ารัก เช่น นกสีสวย นกหงษ์หยก นกยูง ไก่ฟ้า สัตว์ที่มีลวดลายสีสันสวยงาม
วัย      เป็นวัยอยู่ในวัยหนุ่มสาว วัยแห่งความรัก อายุระหว่าง ๒๐-๓๐ ปี
อวัยวะ      ท้อง หน้าท้อง ลำไส้ จมูก
โรค      โรคทางเพศสัมพันธ์ โรคเกี่ยวกับอวัยวะสตรี   โรคผิวหนัง  โรคคอและคอหอย ไตพิการ ปวดบั้นเอวเจ็บป่วย
      เพราะร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
วัตถุรูปร่าง      เป็นรูปหกเหลี่ยมเหมือนผลึก
ทิศ      ทิศอุดร (ทิศเหนือ)


ดาวเสาร์ (เทพเจ้าแห่งความทุกข์)
ความหมายเฉพาะ     บริวารสำหรับใช้สอย  คนชั้นต่ำ ความทุกข์ร้อน   ถ้าเป็นระยะทางแปลว่าไกล ถ้าเป็นเวลาแปลว่าช้านาน 
      ถ้าเป็นสิ่งของแปลว่าเก่า โบราณ  ถ้าเป็นอายุแปลว่าแก่
บุคลิกภาพ      เชื่องช้าเคร่งขรึมมักอมทุกข์ ปรับตัวได้ช้า ไม่ชอบสังคม ค่อนข้างระวังตัว ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อ น้ำนิ่งไหลลึก 
      รูปร่างสูงมือเท้ายาว ลำตัวยาว ผิวดำหรือดำแดง หน้ายาว ฟันห่าง หรือฟันงุ้ม เวลาเดินน่องอ่อน หรือเดินขาพันกัน
      มักขี้โรคและเป็นกำพร้า
นิสัย      มีความคิดลึกซึ้ง ชอบทำตัวเป็นคนลึกลับ รักสันโดด เงียบขรึม
ตัวแทน      คนใช้ คนชั้นต่ำ กุลี กรรมกร คนแก่ คนชรา คนยากจน คนเจ็บไข้ กสิกร ช่างโรงงาน เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
      ทุกประเภท ผู้คุม สัปเหร่อ คนเฝ้าโบสถ์
สถานที่      ย่านสลัม ที่สกปรกเฉอะแฉะมีน้ำครำ สถานที่รกร้างสลักหักพัง โรงงานอุดอู้ทึมน่ากลัว ที่เผาศพ ที่ทิ้งขยะมูลฝอย
      ทุ่งนาป่าเขา ถ้ำเงียบสงัด
ธาตุ      ดินแข็ง มักเชื่องช้า มักอมทุกข์ มีความคิดสุขุม
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๕ ดาวพฤหัสบดี และเลข ๘ ดาวราหูและดาวเนปจูน
ศัตรู      เป็นศัตรูกับเลข ๓ ดาวอังคาร
กำลังดาว      กำลัง  ๑๐  (เสือ ๑๐ ตัว)
สี      สีดำ สีหนักๆคล้ำทุกสี สีมัวซัว รสเปรี้ยว แร่ตะกั่ว
อัญมณี      นิล พลอยสีเข้มเกือบดำ  เหล็กไหล
สัตว์      งู สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สีดำ
วัย      อยู่ในวัยชรา อายุ ๖๐-๗๐ ปี
อวัยวะ      หัวเข่า โครงกระดูก
โรค      โรคเกี่ยวกับกระดูก  โรคผิวหนัง โรคเส้นประสาท โรคจิตเสื่อม โรคหวาดระแวง  โรคเกี่ยวกับม้าม โรคอัมพาต 
      โรคเกี่ยวกับทวารหนัก
วัตถุรูปร่าง      สี่เหลี่ยม หรือกากบาทไม้กางเขน
ทิศ      ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)


ดาวราหู  (เทพเจ้าแห่งความลุ่มหลงมัวเมา)
ความหมายเฉพาะ     ได้แก่ ความมัวเมา
บุคลิกภาพ      กระฉับกระเฉง คล่องแคล่วจนดูเป็นพรวดพราด กระโดกกระเดก  รุกรนไม่อยู่นิ่ง  เป็นคนร่างแบน ตัวใหญ่
      หน้ากลมสี่เหลี่ยม  ผิวเนื้อ ดำแดง หรือร่างท้วมลงพุง ค่อนข้างเตี้ย ปากกว้าง ผมบาง หัวล้าน ผิวได้ทั้งขาวและดำ
      ชอบสังคม และชอบการทับถมผู้อื่น ชอบจัดงานต่างๆ
นิสัย      ใจนักเลง ชอบสำมะเลเทเมา หลงง่าย เชื่อง่าย เอะอะขาดความรอบคอบ ใจคอกว้าง มีบริวารมาก ชอบเลี้ยงดูผู้คน
ตัวแทน      ฝูงชน ผู้แทนราษฎร ผู้แทนสมาคม ทนายความ หมอแผนโบราณ นักไสยศาสตร์ นักปาฐกถา บุคคลที่มีแนวทาง
      ตรงข้ามกับกฎหมาย นักเหล้า นักฝิ่น เฮโรอีน กัญชา นักการพนัน อันธพาล ต้มตุ๋น หัวหน้าซ่อง
สถานที่      โรงภาพยนต์ ห้องประชุม สนามกีฬา งานมหกรรม ศาลาการเปรียญ การปาฐกถา ซ่องโสเภณี แหล่งชุมนุมอันธพาล
      ร้านเหล้า สถานที่ยาเสพติดและแหล่งมั่วสุม
ธาตุ      น้ำมหาสมุทร ใจคอกว้างขวาง
มิตร      เป็นคู่มิตรกับเลข ๗ ดาวเสาร์
ศัตรู      เป็นศัตรูกับเลข ๖ ดาวศุกร์ ตำราโบราณว่าเป็นศัตรูกับเลข ๔ ดาวพุธ
กำลังดาว      กำลัง  ๑๒  (ผีโขมดทั้ง  ๑๒ ตัว)
สี      สีแดงเพลิง แดงเลือดนก แดงเม็ดมะกร่ำ รสมึนเมา แร่หิน และดิน
อัญมณี      ทองคำ   อัญมณีสีเทา  สีน้ำตาล  สีโกโก้  พลอยสีแดงเข้ม   
สัตว์      ปลาวาฬ ปลาทูเป็นฝูง ปลาโลมา ปลาทะเลตัวโตทุกชนิด
วัย      อยู่ระหว่างระยะอายุ ๘๐-๙๐ ปี
อวัยวะ      คอ และเท้า
โรค      โรคที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น   โรคตับพิการ โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคลมชัก
รสชาติ      สิ่งของหมักดอง  เหม็นคาว
วัตถุรูปร่าง      กลม ซ้อนกัน
ทิศ      ทิศพายัพ (ทิศตะวันตดเฉียงเหนือ)


ดาวเกตุ (เทพเจ้าแห่งจิตวิญญาณ)
บุคลิกภาพ      ชอบทำตัวแปลกๆ ลึกลับชอบกล  ชอบอวดอ้างฤทธิ์เดช (มักสนใจศาสตร์เร้นลับ) มักศรีษะเถิก หรือล้าน 
      หน้ามนคางแหลม ใบหน้าชอบกล (ใบหน้าของคนธาตุไฟ) 
ตัวแทน      แพทย์ หมอโบราณ นักโหราศาสตร์ คนเข้าทรง นักจิตศาสตร์ นักวิปัสสนา นักดาราศาสตร์
สถานที่      เป็นทุ่งใหญ่ในหน้าแล้ง มีบ้านโดดเด่น ห้องบนหลังคา หอคอย หอระฆัง ว่าวจุฬา สถานีรถไฟ โรงพยาบาล
      บ้านนักไสยศาสตร์ โรงพยาบาลโรคจิต หอวิปัสสนา
ธาตุ      ไฟ แสดงถึงความคิดฉับพลัน มักมีญาณสังหรณ์แม่นยำ เลื่อมใสศรัทธาในสิ่งเร้นลับ
มิตร      เป็นคู่มิตรกับตัวเอง คือ เกตุ กับ พลูโต
ศัตรู      เป็นศัตรูกับตนเองเช่นกัน
กำลังดาว      ไม่มีกำลังดาว (บ้างก็ว่าเป็น ๙ มาจากพญานาค ๙ ตัว)
สี      สีแสด
อัญมณี      เงิน  ทองคำ  โกเมน  อัญมณีสีขาวหรือทอง
สัตว์      แกะ แพะ เลียงผา
วัย      อยู่ระหว่างระยะอายุ ๙๐-๑๐๐ ปี
อวัยวะ      ศรีษะ กับ แขน
วัตถุรูปร่าง      สามเหลี่ยม
ทิศ      อุดร (ทิศเหนือ)
565  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: วันธงไชย ในปี 2553 เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 09:26:34 am
นำมาเสริมให้ครับ สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการรู้ความเรื่อง ฤกษ์ วัน ดิถี ต่าง ๆ
==================================================

1. วันทักทิน วันไม่ดี วันที่ถูกติเตียนทักท้วง วันที่ท่านห้ามทำการมงคล วันที่ไม่เป็นคุณในการทำกิจการมงคล
2. วันทรทึก วันที่ถูกกล่าวหาลบหลู่ เป็นวันที่ไม่สมควรทำการมงคลด้วยเช่นกัน
3. วันยมขันธ์ เป็นวันที่ให้ความเดือดร้อน ร้อนอกร้อนใจ เสมือนอยู่ท่ามกลางขุมไฟนรก ให้ความความเดือดร้อนไปทุกเรื่อง หาความเจริญมิได้
4. วันอัคนิโรจน์ เป็นวันที่ได้รับการขัดขวางด้วยไฟ ไฟหมายถึงของร้อน เผาผลาญ
5. วันทินกาล เป็นวันแห่งความตาย วันแห่งความสูญเสีย
6. วันศูร วันที่เกิดการต่อสู้ รบราฆ่าฟันกัน วันต่อสู้กันแบบเอาเป็นเอาตาย (ทินศูร)
7. วันกาฬโชค, วันกาลโชค วันอับปางล้มเหลว วันที่โชคดับ
8. วันกาลทัณฑ์ วันที่ถูกลงโทษ
9. วันวินาสน์, วันวินาศ เป็นวันอันตรธาน วันถูกสังหาร วันล้มละลาย
10. วันพิลา วันแตกหักเสียหาย วันที่ไม่ควรทำการมงค]
11. วันมฤตยู วันของพระยายมมาจับชีวิตมนุษย์ หมายถึงความตาย วันสิ้นชีวิต
12. วันกาลทิน วันที่ประกอบด้วยความทุกข์ วันที่หาความสุขมิได้ วันที่ห้ามทำมงคล
13. วันอำมฤตโชค วันดี วันไม่ตาย เป็นวันทิพย์
14. วันสิทธิโชค วันให้ความสำเร็จ เป็นวันโชคดี วันให้ลาภผล
15. วันมหาสิทธิโชค วันให้ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
16. วันชัยโชค วันแห่งชัยชนะ วันทำให้เกิดความภูมิใจ วันได้รับความสำเร็จจากการต่อสู้
17. วันราชาโชค เป็นวันได้รับชัยชนะด้วยบารมี เป็นที่เหมาะแก่การประกอบกิจมงคล
18. วันมหาสงกรานต์ วันที่ดวงตะวันจรดก้าวเข้าสู่ขอบราศีเมษธาตุไฟ ดวงอาทิตย์เข้าสู่ต้นปี หรือต้นทวาร
19. วันเนา วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ท่ามกลางเส้นแบ่งราศีมีน และราศีเมษบนท้องฟ้า
20. วันเถลิงศก วันที่สามของดวงอาทิตย์ที่โคจรพ้นขอบราศีมีน ก้าวเข้าสู่ราศีเมษเต็มดวง เป็นวันขึ้นศักราชใหม่
21. วันพระยาวัน วันที่พ้นจากอันตราย ขึ้นรอบศักราชใหม่ได้เต็มที่ ดวงอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีมูลธาตุ เป็นวันเริ่มทำการมงคล
22. วันดาวอาทิตย์ย้ายราศี วันที่ดาวอาทิตย์โคจรอยู่คาบเส้นในระหว่างที่ข้ามราศี คือ โคจรจากราศีหนึ่งก้าวเข้าสู่ราศีหนึ่ง
23. วันดับ วันที่ดาวจันทร์เข้าสู่จุดดับ วันแรม 14 ค่ำบ้าง วันแรม 15 ค่ำบ้าง หรือวันอมาวสี
24. วันปูรณมี วันที่ดาวจันทร์เข้าสู่จุดเพ็ญ วันขึ้น 15 ค่ำ วันที่พระจันทร์เต็มดวง
25. วันกาฬปักษ์ วันที่จันทร์อยู่ข้างแรมตั้งแต่แรม 1 ค่ำถึงวันแรม 14 หรือ 15 ค่ำ
26. วันชุนหปักษ์ วันที่ดาวจันทร์สว่างอยู่บนท้องฟ้า เป็นดวงจันทร์ข้างขึ้น ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำถึงขึ้น 15 ค่ำ
27. วันคราส วันที่มีสุริยะคราส หรือจันทร์คราส เป็นวันที่ดาวอาทิตย์ ดาวจันทร์ และโลก อยู่ในเส้นตรงของแสงอาทิตย์ที่พุ่งตรงสู่โลก
28. วันอวมานโอน วันสุดท้ายของการโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งจะต้องเพิ่มอีกจากอัตรา 692 ตามวิถีทางการคำนวณทางสุริยาตร จึงมีคำว่า “โอน” คือเพิ่มเข้าอีก 1 วัน
29. ลัคนา คือจุดอุทัยทางขอบฟ้า ด้านทิศตะวันออก ในขณะเกิดของเจ้าชะตา เรียกว่า อุทัยลัคนา
30. วิสมคติ วิถีโคจรวิปริต ผิดปกติธรรมดาของดวงดาว เป็นศัพท์โหรทางภารตะ ไทยนำมาใช้ในการเดินผิดปกติของดวงดาว เป็น พักร์ มณฑ์ เสริด พักร์ คือ ดาวโคจรถอยหลัง มณฑ์ คือ การเดินช้าของดาวเคราะห์ หรือการหมุนอยู่กับที่เสริด คือ การโคจรเร็วของดาวเคราะห์
31. วรรษผล ดวงชะตาประจำปี เป็นดวงชะตาอีกแบบหนึ่ง เป็นตำราทางอินเดีย ใช้พยากรณ์ดวงชะตาตลอดปี อายุย่างเข้าปีนั้นๆ เช่น อายุเต็ม 25 ปี อายุย่าง 26 ปี
32. กาลกิณี หมายถึง จุดวิบัติ จุดเสื่อม อุปสรรค ศัตรู ความอาภัพ ความเศร้าโศก การล่มจม ความอัปมงคล และเหตุที่ไม่ดีทั้งปวง
33. โลกาวินาส หมายถึง อันตราย ความสูญสิ้น ความหายนะ ความเสียหาย สูญสิ้นความเจริญ หมดสิ้นความดี ความย่อยยับ
34. อุบาทว์ หมายถึง สิ่งชั่วร้าย อัปมงคล เคราะห์ร้าย ความด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ อุบัติเหตุ อับปรีย์จัญไร สิ่งที่ไม่เป็นมงคล สิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิด
35. ศูนยพาหะ แปลว่า ผู้พาไป ผู้นำไป เป็นพระเคราะห์ที่นำหน้าลัคนา 1 ราศี
36. อธิกมาส เดือนซ้ำ มีเดือน 8 สองครั้ง
37. อธิกวาร เดือนที่มีแรม 15 ค่ำ ในเดือน 7
38. อธิกสุรทิน เดือนที่มีวันเพิ่ม กุมภาพันธ์มี 29 วัน
39. ปกติมาส ปกวาร ปกติสุรทิน หมายถึงปีที่ไม่มีเดือน วัน วาร เพิ่ม40. ธรณีโชค หมายถึงโชคดีบนพื้นดิน หากบุคคลใดจะมีโชคดีบนพื้นดินชนิดใดก็สุดแต่ดวงชะตากำเนิดของผู้นั้น
41. วันทัคธทิน วันที่ไฟจะไหม้
42. วันกาลศูร วันที่จะถูกฆ่าให้ตาย
43. วันพิลา วันแตกหัก ทำข้าวของเสียหาย
44. วันบอด วันที่มัวหมอง หรือมืด
45. วันปลอด ให้ผลเป็นกลาง ทำการมงคลได้
46. ดิถีเรียงหมอน ใช้สำหรับในการมงคล ฤกษ์ที่จะทำการมงคลสมรส47. สกุณฤกษ์ หมายถึง ฤกษ์ที่แสดงเป็นนิมิตดีแก่เจ้างาน
48. วันภาณฤกษ์-อายกรรมพราย เป็นวันที่ต้องห้ามทำการมงคล ประจำเดือน เดือนหนึ่งมี 6 วัน คือข้างขึ้น 3 วัน ข้างแรม 3 วัน
49. ดิถีฤกษ์ไชย เป็นการหาฤกษ์ใช้กับการเดินทางไกล หรือฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่
50. จัตุรงคโชค คือการคำนวณสอบดวงฤกษ์
51. มหัทธกรรมโกลาฤกษ์ เป็นเกร็ดสำคัญในการให้ฤกษ์
52. ฤกษ์ล่าง คือฤกษ์ที่กล่าวด้วยกฎเกณฑ์ย่อย ๆ
53. ฤกษ์บน คือฤกษ์ที่กล่าวถึงการโคจรของพระจันทร์ และดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า
54. ดวงวรรษจักรา คือเมื่อครบรอบวันเกิด ดาวอาทิตย์โคจรมาทับอาทิตย์เดิมองศาสนิทในวันใดและเวลาใด ก็เอาดวงชาตะของวันนั้นมาผูกขึ้น และเอาเวลาที่ทับกันสนิทนั้นวางลัคนาขึ้น กลายเป็นดวงใหม่55. ดวงนวางค์จักร คือดวงดาวเคราะห์แต่ละดวงที่สถิตอยู่ในนวางค์ราศีจักร
56. นวางค์อุจ คือดาวที่เข้าเป็นอุจในราศีใดๆ ก็ตาม โคจรเจ้าไปอยู่ในนวางค์แรกที่ดาวเกษตรเจ้าเรือนครอบครองเป็นเจ้านวางค์
57. โคตรนวางค์ คือนวางค์ที่เป็นต้นตระกูลของนวางค์ทั้ง 9 ในราศีนั้นๆ โดยการเป็นนวางค์ที่มีดาวเคราะห์เกษตรเป็นเจ้าครองนวางค์อยู่ในราศีที่ตรงกับเกษตรในราศีนั้นๆ เรียกว่า โคตรนวางค์ หรือวรโคตรนวางค์
58. กาลจักร หมายถึงเวลาที่เวียนไปตามรูปวงกลมทางโหราศาสตร์นั้น ได้แก่จักรราศี
59. กาลจักร ลัคน์จร หมายถึง ลัคนาจรไปในราศีต่างๆ ตามเกณฑ์ของกาลจักร
60. สวเกษตร ก็คือพระเคราะห์ที่สถิตเรือนตนเอง ซึ่งก็ได้แก่ พระเคราะห์เกษตรนั่นเอง
61. โลกาวินาส หมายถึง สูญสิ้นความเจริญ หมดสิ้นความดี อันตราย ความย่อยยับ ความเสียหาย
62. อุบาทว์ หมายถึง สิ่งชั่วร้าย อัปมงคล เคราะห์ร้าย ความด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ อุบัติเหตุ อัปปรีย์จัญไร สิ่งที่ไม่เป็นมงคล สิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิด วันที่ตกอยู่ในบ่วงกรรม มีอุปสรรคโชคร้าย
63. พินทุบาทว์ คือดวงชะตาที่ให้ผลในทางร้าย ทางเสีย ทางเสื่อม หดชั่วไม่ดี ดวงบอด
64. คชเกสรีโยค คือดาวจันทร์ทำมุมเป็น 1,4,7,10 ต่อพฤหัสบดี ดวงชะตาที่ได้คชเกสรีโยค มักจะกล้าเสี่ยง มีอำนาจวาสนา ตระกูลสูงอยู่แล้ว ก็จะทำให้ดวงสูง เด่นดีขึ้นกว่าเดิม มีกำลังบารมีแก่กล้า เสริมบารมีให้ดีขึ้น
65. อธิโยค คือมีดาวศุภเคราะห์อยู่ในภพที่ 6,7,8 แก่จันทร์ คือมุมตรงข้ามกับจันทร์ และส่งมุมปลายหอกมายังจันทร์ ท่านว่าให้คุณ แก่จันทร์อย่างใหญ่หลวง
66. ดิถีมหาศูนย์ ห้ามทำการมงคล เป็นวันดับ สำหรับดาวอาทิตย์ ได้แก่วันที่ดาวอาทิตย์โคจร สุดราศี หรือวันยกราศี และวันดับสำหรับดาวจันทร์ ได้แก่วันสิ้นเดือนไทย
67. ธงชัย วันที่สำเร็จในผลดี หรือความดีทั้งหลาย ชัยชนะ มิ่งขวัญของหมู่คณะ
68. อธิบดี วันที่เป็นใหญ่ มีอำนาจในการปกครองควบคุมดูแล
69. กาลโยค คือ กาลอันพึงมีตามกำหนดอันประกอบด้วยผล คือคราวดี คราวร้าย ที่สืบเนื่องมาตามลำดับ จาก วัน ยาม ราศี ดิถี ฤกษ์
70. ราศี คือ ส่วนแบ่งบนทรงกลมท้องฟ้ามี 12 ส่วน ส่วนละ 30 องศา เรียกว่า 12 ราศี เป็น 1 จักราศี เท่ากับ 360 องศา
71. ดิถี หมายถึงขึ้นแรม เป็นการโคจรของดวงจันทร์สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ หรือลำดับวันทางจันทรคติ นับตั้งแต่วันจันทร์ดับ ( อบาวสี) เรียงกันเป็น ดิถี 1-30 ไปจนถึงดวงจันทร์ดับมืดอีกครั้งหนึ่ง ใช้ข้าขึ้น 15 ค่ำ ข้างแรม 15 ค่ำเป็นปกติ ถ้ามีเกิน 15 ให้เอา 15 ลบเป็นข้างแรม
72. สัปต์เกณฑ์ต่อกัน คือ เล็งกัน
73. ลัคนาธิปติ คือ เจ้าเรือนลัคนา
74. ฤกษ์ หมายถึง คราว หรือเวลาซึ่งเหมาะเป็นชัยมงคล
75. จักรพยากรณ์ จักร แปลว่า วงกลม พยากรณ์ แปลว่า การทาย รวมความคือ การทำนายด้วยดวงชาตา
76. พญาวัน ได้แก่วันในสัปดาห์ที่ขึ้นเถลิงศก เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ถือว่า เป็นวันที่ใหญ่ยิ่งของปีนั้น

566  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ใครลาพุทธภูมิ ต้องสวดคาถานี้ “คาถาอุณหิสสวิชัย” เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 09:12:41 am
 ;) อนุโมทนา จริง ๆ กับกระทู้นี้
567  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนา ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 09:09:13 am
การฝึกภาวนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ถ้าภาวนาแล้วไม่สามารถผ่านไปได้ ควรทำอย่างไร
568  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอดคล้องกับพระไตรปิฏก หรือไม่ เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 08:50:42 am
พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอดคล้องกับพระไตรปิฏก หรือไม่

ในความรู้สึกผม ไม่ใช่ต้องการปรามาส
แต่เพราะว่าพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น มีการฝึกและถ่ายทอด มานอกเหนือพระไตรปิฏก

แต่เนื้อหา ข้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีความสอดคล้องกับพระกรรมฐาน หรือไม่ ครับ
569  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทำไม ผู้ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงไม่ประสพความสำเร็จในการภาวนา เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 08:48:17 am
พวกผม เป็นคณะที่ไปขึ้นพระกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม มีไปประมาณ 30 กว่าคน
ไม่เคยไปวัดแก่งขนุน แต่หลังจากขึ้นพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มาตั้งแต่ ปี 2550 บัดนี้ผ่านไป 3 ปีกว่าแล้ว ทั้งผม และ บรรดาเพื่อน ๆ กับไม่มีความก้าวหน้า ในพระกรรมฐาน ทั้งที่ ไปพบหลวงพ่อจิ๋วก็บ่อย และ โทรศัพท์สนทนา กับ ท่าน สุดท้ายก็ยังอยู่ที่ พระขุททกาปีติ เป็นส่วนใหญ่ มีบางคนท่านบอกให้เลื่อนไปภาวนา ที่พระขณิกาปีติ

สาเหตุอันใด จึงทำให้ผู้ฝึก กรรมฐาน ไม่ก้าวหน้าครับ
570  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 08:44:43 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก
ถึงแม้พระสงฆ์ รู้จักแล้ว ทำไมไม่ปฏิบัติ ตามหลักของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ผมเห็น และ ไปภาวนามาหลายที่
พระสงฆ์ส่วนใหญ่ จะส่ายหน้า บอกว่า สู้ มหาสติปัฏฐาน 4 ไม่ได้บ้าง
บางท่านถึงกับบอกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่มา ที่ไป ไม่ชัดเจน ทั้งที่ มีหนังสือมากมาย

มีพระมหากษัตริย์ ถึง 4 พระองค์ในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศิษย์ มีพระสัีงฆราช ทำการเผยแผ่ ถึง 5 พระองค์

ทำไม กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงไม่แพร่หลาย และ ไม่เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน
571  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / แก่นธรรม คืออะไร? เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 08:40:53 am
ผมอยากให้ทุกท่าน วิจารณ์ คำว่า "แก่นธรรม" หน่อยครับ

เพราะการศึกษา ถ้าต้องการได้ผู้ร่วมทางในการภาวนา ควรจะต้องรักษา แก่นแห่งธรรม ไว้

เช่น ตั้งคำถามในใจ และ ตอบในใจว่า

แก่นธรรม ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คืออะไร? ดังนี้เป็นต้น
572  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / หลักปฏิบัติ ในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 08:51:43 pm
ผมได้ไปที่วัดราชสิทธารา และได้ขึ้นพระกรรมฐานแล้ว ปฏิบัติตามหลวงพ่อจิ๋วสอน พร้อมหนังสืออีกหลายเล่ม
แต่ในความคิดของผม จากการปฏิบัตินั้น ไม่มีความก้าวหน้าเลยครับ โทรคุยกับหลวงพ่อจิ๋ว ท่านก็บอกว่าให้ทำ
ต่อไปเรื่อยๆๆๆ

ในความรู้สึกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น ยากเกินไปหรือป่าวครับ
ผมเองยังไม่ก้าวหน้าเลยครับ ผ่านมา 3 เดือนแล้ว ยังไม่ไปไหนเลยครับ

เพื่อน ๆ สมาชิก มีเคล็ดหรือป่าวครับ สอนผมบ้างนะครับ ถ้ามีเคล็ดเพิ่มเติม
ตั้งใจว่าช่วงวันมาฆะบูชา นี้จะไปที่วัดราชสิทธาราม

แต่ที่วัดแก่งขนุนไปก็ยังไม่ได้คุยกับพระอาจารย์ครับ เลยยังไม่รู้แนวพระอาจารย์
573  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไมพระภิกษุณี จึงไม่มีในประเทศไทย ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 08:46:47 pm
จริง ๆ เรื่องของพระภิกษุณี นั้นผมสนใจมาก เพราะไปปฏิบัติ ธรรมที่ไหนก็มักจะเจอแต่ผู้หญิง

ทำไมปัจจุบันจึงไม่มีพระภิกษุณี ครับ :s_hi:
574  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / ชัยยะ บทเล็ก เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 08:44:17 pm
สวดเพื่อชัยชนะ (ท่านชอบสวดในเวลาที่มีสงคราม)


นะ โม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา เตชะ ประสิทธิ ปะสีเทวา นารา ยะปะระเมสุรา สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา สะมุทา ภูตุง คังกา จะ สะพรัหมา ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุเต


ชัยยะ ชัยยะ ธรณี ธรณี อุทะธิ อุทะธิ นะ ทิ นะ ที ชัยยะ ชัยยะ คะคนละตน ละนิสัยนิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพลนระชี


ชัยยะ ชัยยะ คัมภี ระโสมภี นาเคน ทะนาคี ปิศาจจะ ภูตะกาลี ชัยยะ ชัยยะ ทุนนิมิตตะ โรคี ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทา ทา นะมุขะชา


ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ศาตรา ชัยยะ ชัยยะ จัม ปาทินา คะ กุละคัณโถ
ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุ ชง สีหะ เพียคฑะ ทีปา ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะมุขะ ยาตรา ชิตะ ชิตะ เสน นารี ปุนะสุทธิ น ระดี


ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี ตะเล สะทา สุชัยยา ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณี สาน ติน สะทา


ชัยยะ ชัยยะ มังกะ ราชรัญญา ภะวัคเค ชัยยะ ชัยยะ วะรุณ ณะยักเข
ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุ ชะเตชา ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา


ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชชัย ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพ พัง
ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจ กะพุทธะสา วัง ชัยยะ ชัยยะ มะเห สุโร หะโร หะริน เทวา
ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬ หะโก วิรู ปักโข จัน ทิมา ระวิ


อิน โท จะ เวนะ เตยโย จะกุเว โร วะรุโณ ปิ จะ อัคคิ วาโย จะ ปา ชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก อัฏฐา ระสะ มะหา เทวา สิทธิตา ปะสะอา ทะโย อิสิ โน สา วะกา สัพ พา ชัย ยะ ราโม ภะวัน ตุเต ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะกัง เอเต นะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุเต เอเตนะ พุทธะเต เชนะโหตุ เต ชัยยะมัง คะลัง

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยะตะทา พรัหมะคะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัย ยะตะทา อินทะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา เทวะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มันเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา สุปัณณะ คะนา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มา รัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัม โพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตา ชัยยะตะทา นาคะ คะณา มะเหสิโน

ชัยโย ปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะปา ปิมะโต ปะรา ชะโย อุคโฆ สะยัมโพธิ มัณเฑ ปะโม ทิตาชัยยะตะทา สะพรัหมะคะณา มะเหสิโน

ชะ ยันโต โพธิย า มูเล สัก กะยานัง นันทิ วัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมัง คะเล อะปะรา ชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปก ขะเร อะภิเสเก สัพ พะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโม ทะติ สุนักขัตตัง สุมัง คะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง

สุกขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ

เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสา สะเน อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ สุณันตุ โภนโต เยเทวา อัสมิง ฐาเน อะธิคะตา ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา รักขันตุ สัพพะสัต ตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง

ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพ พะทา กายาสุขัง จิตติสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง
(อิติ จุลละชัยยะสิทธิมังคะลัง สมันตังฯ)


(หมาย เหตุ) บทสวดชัยใหญ่ หรือ นะโมเม สวดเป็นภาษาลาว นิยมสวดในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งทางฝั่งลาว และฝั่งไทย เจ้าพระคุณ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัด เลย นิยมให้สวดเป็นประจำ โดยเฉพาะในงานมงคลพิธี ท่านกล่าวไว้ว่า ถ้ามีศึกสงคราม หรือมีความยุ่งยากเกิดขึ้นในบ้านเมือง หรือแม้แต่ในครอบครัว ถ้าสาธยายบทนี้เป็นประจำ จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้


ผมเห็นพระอาจารย์ โพสต์ไว้เป็น วีดีโอ เผื่อใครอยากจะสวดตามครับ
พอดีหาที่พระอาจารย์โพสต์ไม่ได้ จำได้ว่า บทสวดบรรเทาใจ
575  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: งมงาย หรือ ป่าวแบบนี้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 07:29:01 pm
การกระทำอันใด ที่ประกอบด้วยอกุศลจิต อันเป็นการพึ่งพา อาศัย เพื่อละ หรือ กำจัดทุกข์ การกระทำเยี่ยงนี้เรียกว่าเป็นการกระทำของผู้ที่มีศาสนา แต่จะเป็นศาสนา อะไร

สำหรับชาวพุทธ ครับ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ถือเอาพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ถือเอาพระธรรม เป็นที่พึ่ง
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ถือเอาพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

 :49:
576  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อเป็นพรหมใช่หรือป่าวครับ เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 06:08:24 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อเป็นพรหมใช่หรือป่าวครับ

เพราะเหมือนจะเป็นสมถะ
ไม่เห็นมีวิปัสสนาเลย

ฝึก มหาสติปัฏฐาน เลยดีกว่ามั๊ยครับ
577  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อยากทราบคาถา พุทธคุณ 8 บท และวิธีใช้คาถานี้ครับ เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 06:05:15 am
ขอแบบลงเป็น บท ๆ และ วิธีใช้ได้หรือป่าวครับ ท่านผู้รู้ทั้งหลายครับ

 :D :D :D :D

ขอบคุณล่วงหน้าครับ...... ;D
578  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การแผ่เมตตา ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำอย่างไรครับ เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 06:03:34 am
ผมอ่าน ก็ยัง งง ๆ อยุ่กับเรื่อง การแผ่เมตตา กับคำว่า "ออกบัวบานพรหมวิหาร"
"เมตตาเจโตวิมุตติ"  "การแผ่เมตตา"

หลวงปู่สุก ได้ชื่อเป็นพระเกจิอาจารย์ใหญ่ ในด้านผู้มีเมตตา สมญานามของท่าน คือ "ไก่เถื่อน" ซึ่งเลื่องลือ
มาถึงผม และประทับใจผมอยู่เสมอมา

แต่ผมก็ยังคิดไม่ออกว่า ขั้นตอนการแผ่เมตตา นั้นมีวิธีการแยบยล หรือ ทำได้อย่างง่าย ๆ หรือป่าวครับ
579  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยากทราบความหมาย เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:58:38 am
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยากทราบความหมายครับว่าทำไม ต้องเรียก พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับครับ ขออธิบายในกระทู้นี้นะครับ ลิงก์แล้วผมอ่านไม่ค่อยเจอครับ
580  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:56:28 am
แบบว่า ผมอาจจะติดในแนวสวนโมกอยู่บ้างครับ

เพราะผมไปอบรมอยู่ประจำ ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์

" ไหว้พระพุทธ ระวังสะดุดทองคำ ไหว้พระธรรม ระวังสะดุดใบลาน ไหว้พระสงฆ์ ระวังสะดุดลูกชาวบ้าน"

พระพุทธรูป มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยใด สร้างมาเพื่ออะไร
ผมนั่งดู วีดีโออยู่ชุดหนึ่ง มีเรื่องและภาพ ของการทำลายพระพุทธรูปด้วย การทำอย่างนี้ถือว่าเป็นการย่ำยีชาวพุทธหรือป่าวครับ
581  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก วัตถุมงคล ในสมัยพระพุทธเจ้า มีจริงหรือป่าว เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:52:50 am
การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก วัตถุมงคล ในสมัยพระพุทธเจ้า มีจริงหรือป่าวครับ

หรือมีในยุคไหน ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ
582  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บทกรณียเมตตสูตร นั้นเป็นบทไล่ผี หรือ ไล่เทวดา เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:50:51 am
บทสวด กรณี นั้นเป็นบทสวด ที่มีไว้ไล่ผี แต่พอผมอ่านประวัติ กลับเป็นสวดที่ใช้กับรุกขเทวดา ที่มาไล่พระ

หรือผมเข้าใจ อะไรผิด หรือป่าว
583  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: บรรพชาสามเณภาคฤดูร้อน ประจำปี 2553 เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:41:21 am
1.มี่รูปให้ดูโดย ไม่ต้องเป็นสมาชิก เพิ่มเติมอีกไหมครับ กำลังสนใจจะส่งบุตรหลานไปบรรพชาครับ
2.มีแบบฟอร์ม ใบสมัครให้ดาวน์โหลด หรือป่าวครับ
3.มีระเบียบหรือตารางการฝึกสามเณรให้ดูหรือป่าวครับ
4.ผู้ฝึก วัดผลอย่างไรครับ มีประกาศนียบัตรด้วยหรือป่าวครับ
584  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: ไปปฏิบัิติธรรมเป็นหมู่คณะ ทำอย่างไรคะ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:37:17 am
 ;D ;)
เรียนถามพระคุณเจ้าที่นับถือ ครับ
การไปปฏิบัติธรรม หรือภาวนา ที่ศูนย์ นั้นนอกจากระเบียบการลงทะเบียนแล้ว
ผมอยากทราบว่า
1.ระเบียบกิจวัตร ประจำวันครับ มีระเบียบกิจวัตรอย่างไร ในช่วงที่ไปฝึกฝนภาวนาที่ศูนย์ ครับ
2.ใครเป็นอบรม หรือ ดูแล ในการปฏิบัติ ภาวนาที่ศูนย์ ครับ
3.ค่าใช้จ่ายในการ ไปอยู่ปฏิบัติเท่าไหร่ครับ
4.การแต่งกาย ให้แต่งกายอย่างไร
5.ต้องเตรียม อุปกรณ์ เครื่องนอน ผ้าห่ม หมอน ไปด้วยหรือไม่ครับ
6.การจอดรถ ที่ศูนย์ปลอดภัย และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ครับ
7.ถ้าไปภาวนาเดี่ยว ไม่มีใครไปด้วยนั้น ทำได้หรือไม่ คือไม่ไปเป็นหมู่คณะครับ
8.มีการวัดผล ผู้ภาวนาหรือป่าวครับ
9.กรณีต้องมีการขึ้น กรรมฐานด้วยนั้น ต้องเตรียมตัวอย่างไรครับ
10.จำกัดอายุ เพศ หรือ ป่าวครับ
585  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กรรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เหมาะกับจริตอะไรครับ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:30:14 am
 :) เรียนถามพระคุณเจ้าที่นับถือ
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นเป็นกรรมฐาน เหมาะกับจริต อะไรครับ
คือผมได้ศีกษามาว่า การปฏิบัติกรรมฐาน ควรปฏิบัติ ให้เหมาะกับจริตครับ ถูกกับจริต เพื่อจะได้ปฏิบัตได้ก้าวหน้าได้
586  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คาถา พญาไก่เถื่อน เราภาวนาแทนพุทโธ ได้ไหมคะ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:24:12 am
สวด หรือ ภาวนาอย่างไรครับ อัดเสียงมาให้ฟังบ้างครับ ยังไม่เคยฟัง
587  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: มีผู้หญิงที่เป็นพระอรหันต์ บ้างไหมคะ ในปัจจุบัน เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:23:16 am
ผมว่าข้อนี้ ในปัจจุบันระบุได้ยากครับ
เหมือนพระสงฆ์ เป็นพระอรหันต์ ก็ระบุได้ยากครับ


แต่ในครั้งพุทธกาล นี้ผมไปเจอหนังสืออยู่ 2 เล่มของสำนักพิมพ์ดอกหญ้า
1.พระภิกษุณี เอตทัคคะ 46 รูป
2.อุบาสิกา 40 คน

2 เล่มนี้คุณผู้หญิงที่ใฝ่ปฏิบัติ ควรอ่านครับเพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติของผู้หญิงที่เขารวบรวมมาจากพระไตรปิฏก และ ธรรมบท อรรถกถาครับ ผมอ่านแล้วยังปลื้มใจกับความเด็ดเดี่ยวของผู้หญิงในสมัยโน้นเลยครับ
588  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สังโยชน์ 10 ประการ ดัชนีวัดผลความสำเร็จในการภาวนา เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:15:49 am
ต้องขออภัยคุณกัลยา ที่นำข้อความจากวิปัสสนาที่คุณโพสต์ไว้เป็นไฟล์แนบ ผมเห็นผู้ดาวน์โหลด 3 คนเนื่องจากถ้าไม่เป็นสมาชิกจะไม่เห็นไฟล์แนบ ผมลองโหลดแล้วนั่งอ่านดูเห็นว่าผู้เรียบเรียงนั้น เรียบเรียงไ้ว้ดีโดยเฉพาะเรื่องสังโยชน์ 10 และประเภทของพระอริยะ ผมจึงขออนุญาต นำมาโพสต์ให้เพื่อนสมาชิกที่ไม่ได้สมัครได้อ่านข้อความดี ๆ อย่างนี้บ้างนะครับ

-------------------------------------------------------------------------------
สังโยชน์ 10 มีดังนี้
1.สักกายะทิฏฐิ   มีความเห็นว่าเราไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีเราเป็นตัวตน เป็นเพียง รูปและนาม เกิดดับ เท่านั้น รู้ได้ด้วยอารมณ์ใจ เป็นบาทฐานแห่ง ปัญญาที่จะเข้าถึง พระไตรลักษณ์

2.วิจิกิจฉา สิ้นความสงสัย ในการปฏิบัติ และ พระรัตนตรัย ในเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด นั้นต้องไม่สงสัย นิพพาน ต้องไม่สงสัย พูดง่าย ๆ ความสงสัย ในธรรมะ ไม่มี เมื่อความสงสัยในธรรมะ ไม่มี ความสงสัย ในพระพุทธเจ้า และ พระสงฆ์ จึงไม่มี เมื่อไม่มีความสงสัย ในพระรัตนตรัย จึงมีความเคารพอย่างสูง และ ระมัดระวัง เอาใจใส่ ใคร่ครวญ ต่อพระรัตนตรัย อย่างมาก ถึงตอนนี้ จะมีการแสดงออกมา ด้วยกาย ด้วยวาจา จากใจไม่มีอ้ำอึ้งกับพระรัตนตรัย จะไม่อาย ที่จะแสดงออก ต่อพระรัตนตรัย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง แม้ต่อหน้าตนเอง และผู้อื่น ข้อนี้ สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ผ่านด่านนี้ไปได้ก็ไม่ต้องพูด หรือ ภาวนาที่เหลือ เลย

3.สีลัพพะตะปะรามาส ไม่สำคัญผิด จากความเห็นเนื่องจากการปฏิบัติผิด จากธรรมเนียม ความหลงผิดจากระเบียบแบบแผน  เพราะฉะนั้นท่านผู้ที่ทำได้ถึงตรงนี้ จึงมั่นคงในศีล  คือตั้งใจรักษาศีลอย่างมั่นคง ไม่ยุยงให้ผู้อื่นผิดศีล และไม่ยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นผิดศีล และไม่ทุกข์ หรือ เดือดร้อนเพราะการมีศีล
4.กามราคะ ไม่ยึดมั่นกำหนัดหรือชอบใจ ในการหลงรูป หลง เสียง หลงกลิ่น หลงรส หลงสัมผัส ไม่พอใจด้วยอารมณ์ ถึงตรงนี้แล้ว กายคตาสติ จะเกิดขึ้นอย่างสูง อีกนัยหนึ่ง สังขารุเบกขาญาณ จะเกิดขึ้นมาก ๆ จากจุดนี้

5.ปฎิฆะ ไม่ขุ่นเคือง โกรธพยาบาท  ต่อผู้ใด เพราะเหตุแห่งกิเลส คือโทสะ ตรงนี้อารมณ์ ที่เห็นจะเหมือนพรหม มาก ๆ เพราะมีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เกิดขึ้นอย่างชัดเจน มาก ๆ อารมณ์ จะดับ ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะมองเห็นความเป็นจริงจาก กายคตาสติ และ มรณัสสติ จะสูงขึ้น

6.รูปราคะ ละความหลงใหลในรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง รูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 4 กามราคะ

7.อรูปราคะ ละความหลงใหล ในอรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง อรูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 5  ปฎิฆะ แต่สำหรับสายอภิญญานั้น อารมณ์ ฌานที่ 8 นั้นทิ้งกาย ซึ่งไปทำลาย อายตนะสัมผัส หมด คงเหลือแต่ มโนอายตนะจึงทำให้ จิต เป็นนามเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติอย่างนี้ ยังผิด เพราะการปฏิบัติธรรม นั้นมีไว้ในปัจจุบัน ใช้ในปัจจุบัน จึงต้องพาไปทั้ง 2 อย่าง คือ รูปและนาม หรือ ที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5

8.มานะ ละความหลงผิด ที่ว่าเรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา  เพราะถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก มาตั้งแต่ต้น ก็ต้องเข้มข้น ในเรื่อง กายคตาสติ  ส่วน สายอภิญญา นั้นจะรู้แจ้งได้เอง หลังจาก ละ รูปฌาน และอรูปฌาน

9.อุทธัจจะ ละความฟุ้งซ่าน ที่หลงเพ้อพก ขันธ์ 5 และ หลง ในรูป นาม ความหลงตน  สำหรับพระอนาคามีนั้นข้อนี้จะหมายถึงความฟุ้งไปอารมณ์ที่ติดจิต ซึ่งเป็นสถานที่หรือความพะวง พระอรหันต์หลายท่านกล่าวว่าเป็นอารมณ์ที่เกาะสุทธาวาส

10.อวิชชา มาถึงตรงนี้ แล้ว มันน้อยมาก เพราะ กิเลสมันบางลงมาตั้งแต่ ข้อแรก มาถึงตรงนี้เป็นวิชชาเอง เป็นบทสรุป ของสังโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า ข้อนี้ ก็คือการละ ทั้ง 9 ข้อ นั้นเอง ซึ่งท้ายที่สุด พระอรหันต์ ทั้ง 2 แบบ จะได้อาสวักขยญาณ โดย อัตตโนมัติ ทันที ไม่ต้องรออนุมัติจากใคร ๆ หลังจากตรงนี้ เพื่อให้ได้ทบทวน อาสวักขยญาน ตั้งแต่ ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ 5 ข้อมา จะสามารถ
เข้านิโรธสมาบัติได้ เฉพาะพระอภิญญา เท่านั้น
( หลวงพ่อได้แนะนำเพิ่มว่า ผู้ที่ได้ละอวิชชา จะเป็นผู้ยินดีใน อริยทรัพย์ และมองเห็นโทษ ของ โลกียะทรัพย์ และไม่ยึดติดใน โลกียะทรัพย์ )

การละ สังโยชน์เป็นที่ระบุระดับชั้นของพระอริยะ
ผู้ที่กำลังละสังโยชน์ ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างต่อเนื่อง  )

ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตรงนี้ชื่อว่าพระโสดาบัน ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างถาวร )
พระโสดาบัน เป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่มีการประพฤติ ผิดในธรรม
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  ผู้ประพฤติดีพร้อม ด้วยกาย วาจา และ ใจ”
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระโสดาบัน มี 2
1.มรรค 2.ผล ( 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน  3 ข้อท้ายไม่ชัดเจน )
พระโสดาบันมี 3 ประเภท
1.เอกพีชี เกิดชาติเดียวเป็นพระอรหันต์
2.โกลังโกละ เกิดอีก 2-3 ชาติ เป็นพระอรหันต์
3.สัตตักขัตตุงปรมะ เกิดอีก 7 ชาติเป็นพระอรหันต์

ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว กำลังเริ่มละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 แบบเบาบาง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ละสังโยชน์ ข้อที่ 4 – 5 ได้อย่างเบาบางแล้ว
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิผล หรือ พระสกิทาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างถาวร )
พระสกิทาคามี นั้นจะมีอารมณ์ เพียรเผากิเลสอย่างแรงกล้า พยายามที่จะละออกจากกามคุณ และ พยายามละอารมณ์พยาปาทะ อันขุ่นเคือง ในใจ ไม่ให้กำเริบ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระสกิทาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน จิตเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “อุชุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ผู้ประพฤติตรงต่อ พระนิพพาน”
พระสกิทาคามี มี 5 ประเภท
1.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ และนิพพานในโลกนี้ ชาติปัจจุบัน
2.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ นิพพานในเทวะโลก
3.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก และนิพพานในเทวะโลก
4.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก หมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน
5.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ จุติในเทวะโลก แล้วหมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน

ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้ว กำลังละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 อย่างสิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้วละสังโยชน์ ข้อที่ 4- 5 ได้สิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิผล หรือ พระอนาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างถาวร )
พระอนาคามี เป็นผู้มีอารมณ์ ละ กามราคะ และ ปฏิฆะ ได้อย่างสิ้นเชิง แต่ยังมีอารมณ์  ติดอยู่ในสุทธาวาส 5
 คือ ชอบทำบุญ เลยติดบุญ รูปราคะและอรูปราคะ ชอบแจกธรรมสอนธรรม เลยติดมานะ ชอบค้นคว้าศึกษาเรื่องธรรม เลยติดอุทธัจจะ บ้างเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีนิพพานแน่นอน อย่างน้อยอีก 1 ชาติ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอนาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน ทบทวนกลับไป กลับมาอย่างยิ่งยวด เริ่มเหือด
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “ญายะปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้รู้ดีแล้ว”
พระอนาคามี มี 5 ประเภท
1.อันตราปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุไม่ถึงกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
2.อุปหัจจปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุพ้นกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
3.อสังขารปรินิพพายี  เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุใกล้จะหมด ก็เข้านิพพาน
4.สสังขารปรินิพพายี เข้าถึงนิพพานด้วยความเพียรมาก ๆในชาติปัจจุบัน
5.อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง สิ้นอายุแห่งภพนั้นเลื่อนขึ้นไป สู่ อกนิฏฐภพ  จึงเข้า นิพพาน

ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วกำลังละสังโยชน์ ข้อที่ 6 -10
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอรหัตมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอรหันต์อย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วละสังโยชน์ข้อที่ 6 – 10
ได้ชื่อว่า พระอรหัตผล หรือ พระอรหันต์ ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอรหันต์ อย่างถาวร )
สำหรับพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ซึ่งที่ผมได้แจกแจงลงไว้เพราะ  หลวงพ่อพระเถระหลายท่านให้ช่วยแจกแจงให้เพื่อให้ทราบว่า การเวียนว่ายตายเกิดหลังจากสิ้นชีพแล้วมีจริง ไม่ได้เป็นด้วยอรรถแห่งนิพพานที่อยู่บนโลกด้วยอารมณ์ใจเท่านั้น
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอรหันต์ มี 1
1.นิพพาน เท่านั้น
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สามิจิปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฎิบัติชอบแล้ว ”
___________________________________________________________________

ข้อความจาก วิปัสสนากถา โพสต์โดย คุณ kallaya
589  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทำไมคฤหัสถ์ มาเรียนพระอภิธรรมกันมาก เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:06:30 am
วันอาทิตย์วันนีก่อนสิ้นปี ผมได้ไปที่วัดมหาธาุตุ และ วัดสามพระยา เพื่อไปสังเกตุการณ์ เรื่องการศึกษาพระอภิธรรม ผมไปเห็นมีแต่ ฆราวาสทั้งชายและหญิง มาเรียนอภิธรรมกันมาก และบางห้องสอนพระสงฆ์อีกด้วยซ้ำ
ซึ่งวัดสามพระยา ด้านบนจะมีพระคุณเจ้าสอนอยู่บ้าง

คำถามครับ
1.ทำไมพระสงฆ์ไม่ค่อยสนใจศึกษาพระอภิธรรม
2.คฤหัสถ์ที่ครองเรื่อน ศึกษาพระอภิธรรม แล้วทำไมชอบทะเลาะกัน
3.มีการใช้วาจาปรามาสพระสงฆ์ที่เรียน โดยการข่มเรื่องความรู้ ( ผมนั่งฟังอยู่ )
590  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถามความเห็นเรื่องการจดลิขสิทธิ์ สื่อธรรมบรรยาย และหนังสือ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 01:01:11 am
 ;D ผมเองค่อนข้าง จะหัวโบราณ ผมสงสัยว่าทำไม ธรรมะของพระพุทธองค์ นั้นเป็นธรรมะที่เผยแผ่ แบบไม่มีลิขสิทธิ์ แต่พอนำมาพิมพ์ หรือบรรยาย กับมาลิขสิทธิ์ เช่นผมเห็นพวกคุณหมอออกมาบรรยายธรรม ก็จดลิขสิทธิ์การบรรยายธรรม อะไรกันนี่ น่าจะแจก หรือเก็บค่าแผ่นก็พอ นี่เล่นใส่ราคาถึง 400 บาทขึ้นไป หรือหนังสือบรรยายธรรม อีกมากมาย ทำไมต้องจดลิขสิทธิ์ครับ

คำถามร่วมแสดงความคิดเห็น
1.ทำไมต้องจดลิขสิทธิ์ การเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
2.ถ้าไม่จดลิขสิทธิ์ การเผยแผ่หลักธรรมจะดีขึ้นหรือป่าว
591  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความงมงายหรือไม่ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:50:34 am
 ;D ที่จริงผมก็มีพระพุทธห้อยคออยู่ครับ แต่เพราะว่าผมไปเดินที่ท่าพระจันทร์มาครับ ปรากฏว่ามีพระผง พระพุทธ พระทุกแบบ วางแผงกันตามพื้นเลยครับ มีตั้งแต่ราคา 1 บาท ผมเห็นว่าทำอย่างนี้เป็นการปรามาสพระรัตนตรัยหรือป่าวครับ

คำถามครับ
1.ทำไมวัดมหาธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นวัดในการสั่งสอนวิชาพุทธศาสนา เป็นแหล่งรวมความรู้ทางธรรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ จึงไม่ดำเนินการให้เกิดความไม่งมงายครับ
592  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เกี่ยวกับเรื่องพระบรมสารีริกธาตุ และ อัฏฐิธาตุพระอรหันต์ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:43:40 am
เมื่อต้นปีผมได้เดินทางไปกราบนมัสการพระแก้วมรกต และได้ข้ามไปวัดระฆังโฆสิตาราม ที่ท่าช้าง
และก็ไปเดินเล่นแถวท่าพระจันทร์ เพื่อนสมาชิกครับผมเห็น ขวดบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุแบบเดียวกับที่วัดยานนาวาแสดง มีทั้งสีเีขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว อรหันตธาตุก็มี ผมเป็นผู้หนึ่งที่ศรัทธา และกราบไหว้ แต่ผมเห็นชาวบ้านเอามาวางกับพื้น และตั่งโต๊ะข้างถนน ขายในราคาขวดตั้งแต่ 200 ขึ้นไป

คำถามผมครับ
1.พระบรมสารีริกธาตุ ที่วางแบกะดิน ขายขวดละ 100 ขึ้นไป มีรูปภาพกำกับด้วย เป็นของจริงหรือป่าวครับ
2.ถ้าเป็นของจริง การกระทำอย่างนี้ ถือว่าเป็นการปรามาส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือป่าวครับ
593  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การไปกราบ สังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:38:23 am
 ;D ผมเองเป็นผู้หนึ่งที่คร่ำหวอดกับงานของพระสงฆ์ พอสมควร แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมพระสงฆ์ให้ความสำคัญต่อการไปประเทศอินเดียมากๆ เพราะว่าที่ประเทศอินเดียนั้น มีสังเวชนียสถาน หรือว่า เพราะอะไร
แม้พระไตรปิฏก จะกล่าวถึงอานิสงค์ของการไปกราบ สังเวชนียสถานว่ามีอานิสงค์ สวรรค์เป็นที่หวังได้
แต่การทำบุญ รักษาศึลนั้น และการภาวนา ก็ไปได้ทั้งสวรรค์ ทั้งพรหม และ นิพพาน

คำถามของผมก็คือ ( ช่วยวิเคราะห์ )
1.ทำไมเราต้องไปไหว้สังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดียด้วย
594  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สาเหตุที่พระสงฆ์ ในปัจจุบันน้อยลง เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:33:46 am
ผมเข้าไปอ่าน สถิติจำนวนพระภิกษุสามเณรทั่วประเทศ
http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=921&Itemid=304

แล้วมานั่งวิเคราะห์ดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด พระสงฆ์ถึงมีจำนวนลดลง ลดลง เรื่อยๆ

ผมก็ลองไล่เหตุดู
1.ปัจจุบันเปิดการศึกษาให้กับพระสงฆ์ ๆ สามารถศึกษาวิชาทางโลกได้
2.การสอบปริยัติธรรม และ บาลี ของพระสงฆ์นั้น ยาก และ ไม่เอื้อต่ออาชีพในการทำงาน
3.เทคโนโลยีเข้าถึงพระสงฆ์ได้ง่าย เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ดาวเทียม แม้แต่สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น
4.ศรัทธาของชาวพุทธลดน้อยลง ด้วยเรื่องค่าครองชีพ
5.หาพระปฏิบัติ มาสอนในธรรมไม่ได้
6.พระที่ปฏิบัติได้สำเร็จ ไม่ออกมาสอนธรรม
7.ระเบียบของ มหาเถระสมาคม ยุ่งยากมากขึ้น
8.พระสงฆ์ที่ทำงานด้านการเผยแผ่ ไม่ได้รับการสนับสนุน
9.พระสงฆ์ที่ปรากฏในยุคนี้ เน้นแต่เรื่อง ยศถา บรรดาศักดิ์
10.ข่าวเรื่องไม่ดีของพระสงฆ์ ถูกนำ้มา โพทะนามากว่าเรื่องที่เป็นข่าวดี
11.วัฒนธรรมของคนไทยกำลังเปลี่ยน
12.การศึกษาปัจจุบันห่างจากวัดมากขึ้น
13.ผู้บวชส่วนใหญ่เป็น บุคคลที่สังคมทอดทิ้งเช่น คนติดยา คนเกเร ครอบครัวก็ส่งมาบวชเพื่อหวังให้พระศาสนาได้ขัดเกลา แต่ผลร้ายกลับตามมามาก

ผมลองไล่ปัญหาดูแล้ว ก็ยากจะให้ช่วยกันหาวิธีแก้หน่อย
ทางศูนย์กรรมฐาน น่าจะจัดให้มีการอุปสมบถหมู่ขึ้นนะครับสัก 100 รูป
จะได้มีพระที่ผ่านการฝึกอบรม ด้านการภาวนา เวลาลาสิกขาบถมาจะได้มาช่วยพัฒนาประเทศ


หรือเพื่อนสมาชิก มีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยแสดงหน่อยนะครับ
ผมติดตามอ่านเนื้อหาในเว็บนี้มาเป็นเวลา หลายอาทิตย์แล้ว ดูแล้วทุกคน ทุกท่านมีความตั้งใจมั่นเพื่อจะจรรโลงพระกรรมฐาน ผมจึงอยากจะสนับสนุนครับ
595  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระสงฆ์ที่ปฏิบัติสำเร็จ ฌาน และ วิปัสสนา ยังมีอยู่หรือป่าว เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 12:18:11 am
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติ จนบรรลุฌาน และ วิปัสสนา ปัจจุบันยังมีอยู่หรือป่าวครับ

เพราะว่า สมัยนี้พระสงฆ์ ไม่ค่อยกล่าวเรื่องนี้กัน เพราะกลัวว่าจะต้องอาบัติขาดจากความเป็นพระ

ผมเองก็อาศัยการสังเกตุ มาหลายสำนักแล้ว ก็ยังไม่พบ

มีแต่ฆราวาส ประกาศว่าเป็นผู้สำเร็จกันมากมาย
หน้า: 1 ... 13 14 [15]