ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปุจฉา ขอเรียนถามลักษณะ ของสมาธิ ด้วยคะ ว่ามีลักษณะอย่างไร คะ  (อ่าน 3858 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 ask1 จากเมล

ปุจฉา ขอเรียนถามลักษณะ ของสมาธิ ด้วยคะ ว่ามีลักษณะอย่างไร คะ บางครั้งก็ไม่แน่ใจตนเองว่าเป็นสมาธิ หรือเป็น สติ คะ สมมุตว่านั่งถัก ทอผ้าอยู่ก็เพลินอยู่อย่างนั้นจนลืมเวลา อย่างนี้เป็นสมาธิ หรือไม่คะ และถ้าเป็นสมาธิ จะรู้ลักษณะของสมาธิได้อย่างไร คะ


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 พระลักษณะ ของปีติ สมาธิ มี 5 อาการ
          จัดเป็นอาการของรูปธาตุ 5 ธาตุ คือ ธาตุดิน ไฟ นํา ลม อากาศ
              ยกตัวอย่างใบ้ให้ฟัง เช่น เย็น ร้อน อ่อน แฃ็ง
      การเข้าถึงอารมณ์ปีติในส่วน พระลักษณะ นั้น
       ใช้องค์แห่งการงาน เรียกว่า นิมิตสามประการ   คือ ปัคหะนิมิต   บริกรรมนิมิต  อุเบกขานิมิต

             ส่วนการนั่งถักทอผ้าที่ว่า จัดเป็นสมาธิได้แต่เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะมีตัวล่อ หรือมีกิเลสนํา คือ ความ อยากทํา
           เช่นเดียวกับเด็กนั่งเล่นเกมส์ ทั้งวันทั้งคืนไม่กินอะไร นั่นก็เป็น มิจฉาสมาธิ เช่นกัน

          แต่การฝึกตามพระตถาคต คือฝึกตาม มรรคมีองค์แปด จึงนําไปถึงที่สุด คือได้เป็นสัมมาสมาธิ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูเหมือนคำถามจะง่าย ๆ แต่ ก็ใช่ว่าจะตอบให้เข้าใจ กันได้ง่าย นะครับ
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สมาธิ น่าจะมีลักษณะ เย็น สงบ นิ่ง อย่างนี้ นะครับ

  :coffee2:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลักษณะ ของ สมาธิ นะครับที่อ่านมาในเว็บนี้ แต่จำไม่ได้ว่า กระทู้ไหน

    ลักษณะ ของสมาธิ คือ   บริสุทธิ์ ( pury job ) ว่องไว ( active know )  มั่นคง ( activate ready)

  :s_good:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฝึกให้ได้สามห้องพุทธานุสติ ที่นั่นมีคําตอบ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลีกษณะ ของ สมาธิ ก็ คือ จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว มีอุเบกขา เป็นฐาน

   :s_hi:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต , ความที่จิตตั้งมั่น

สมาธิ คือภาวะที่จิตมั่นคง แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวฟุ้ีงซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ภายนอกด้วยอำนาจสติที่กำหนดจับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งไว้มั่นคง

สมาธิ จะเกิดได้ด้วยการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน

สมาธิเป็นคำเรียกย่อของอธิจิตตสิกขาซึ่งเป็นข้อหนึ่งในไตรสิกขา

สมาธิ ทั่วไปใช้หมายถึงการทำใจใช้สงบ การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน เรียกว่า ทำสมาธิ จิตที่สงบได้ชั่วคราวเรียกว่า ใจเป็นสมาธิ

จากพจนานุกรม เพื่อการศึกษาพุทธศาสน์
อธบายศัพท์และแปลความหมาย คำวัด ที่ขาวพุทธควรรู้
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ , ราชบัณฑิต)
เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
โดย ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม


ประเภทของ สมาธิต่าง ๆ
   
      ขณิกสมาธิ        สมาธิชั่วขณะ
      อุปจารสมาธิ      สมาธิเฉียด ๆ , สมาธิจวนจะแน่วแน่
      อัปปนาสมาธิ      สมาธิแน่วแน่ , สมาธิแนบสนิท , สมาธิในฌาน
      สุญญตสมาธิ      สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
                       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ
      อนิมิตตสมาธิ     สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
                       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
      อัปปณิหิตสมาธิ  สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา
                       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๗
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
หน้าที่ ๖๒๑/๘๔๒      ข้อที่ ๑๔๖๖ - ๑๔๖๗


                       สมาธิกถา


    [๑๔๖๖] สกวาที    จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) เป็นสมาธิ หรือ?
              ปรวาที    ถูกแล้ว

              ส. จิตตสันตติที่เป็นอดีต เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. จิตตสันตติที่เป็นอนาคต เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
              ส. จิตตสันตติ เป็นสมาธิ หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด มิใช่หรือ?
              ป. ถูกแล้ว
              ส. หากว่า อดีตก็ดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด
                  ก็ต้องไม่กล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ
   
[๑๔๖๗] ป. สมาธิเป็นไปในจิตตขณะอันหนึ่ง หรือ?
           ส. ถูกแล้ว
           ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าผู้เข้าสมาบัติ หรือ?
           ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
           ป. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยฆาน
              วิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง
              ด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยอกุศลจิต ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียง
              ด้วยจิตสหคตด้วยราคะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตสหคตด้วยโทสะ ฯลฯ
              ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตสหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต
              สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ชื่อว่า ผู้เข้าสมาบัติ หรือ?
           ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
[๑๔๖๘]  ส. จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ?
           ป. ถูกแล้ว
           ส. ความสืบต่อแห่งอกุศลจิต เป็นสมาชิก หรือ?
           ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
           ส. จิตตสันตติที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ ที่สหรคต
              ด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะเป็นสมาธิ หรือ?
           ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
   
[๑๔๖๙]  ป. ไม่พึงกล่าวว่า จิตตสันตติเป็นสมาธิ หรือ?
           ส. ถูกแล้ว
           ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรอาวุโส นิครนถ์ทั้งหลาย เรานี่แหละ
              พอที่จะไม่หวั่นไหวด้วยกาย ไม่กล่าววาจา เป็นผู้เสวยสุขโดยส่วน
              เดียว อยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
           ส. ถูกแล้ว
           ป. ถ้าอย่างนั้น จิตตสันตติ ก็เป็นสมาธิ น่ะสิ
                         สมาธิกถา จบ
                        -----------

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม