ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สาระธรรมวันนี้ "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง"  (อ่าน 23332 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

 พระวินัยปิฎก  มหาวรรค  [๑.มหาขันธกะ]
  ๗.ปัพพัชชากถา

เล่มที่ 4 หน้า 31


             เรื่องยสกุลบุตร
            [๒๕]    สมัยนั้น    ในกรุงพาราณสี    มีกุลบุตรชื่อยสะเป็นลูกเศรษฐีเป็นผู้สุขุมาลชาติ   ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท    ๓    หลัง    คือ    หลังหนึ่งสำหรับฤดูหนาวหลังหนึ่งสำหรับฤดูร้อน    หลังหนึ่งสำหรับฤดูฝน    ยสกุลบุตรได้รับการบำเรอด้วยดนตรี    ไม่มีบุรุษเจือปน    ตลอด    ๔    เดือน    อยู่บนปราสาทฤดูฝน    ไม่ลงมายังปราสาทชั้นล่าง    คืนวันหนึ่ง    เมื่อยสกุลบุตรได้รับการบำเรออิ่มเอมเพียบพร้อมด้วยกามคุณ๕    ได้หลับไปก่อน    ฝ่ายบริวารชนได้หลับภายหลัง    ตะเกียงน้ำมันถูกจุดสว่างทั้งคืนคืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน    เห็นบริวารชนของตนกำลังหลับ    บางนางมีพิณอยู่ใกล้รักแร้    บางนางมีตะโพนอยู่ข้างคอ    บางนางมีโปงมางอยู่ที่อก    บางนางสยายผมบางนางน้ำลายไหล    บางนางละเมอเพ้อไปต่าง  ๆ    ปรากฏดุจป่าช้าผีดิบ    เพราะได้เห็นโทษจึงปรากฏแก่ยสกุลบุตร    จิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย    ยสกุลบุตรจึงเปล่งอุทานขึ้นในขณะนั้นว่า    “ท่านผู้เจริญ    ที่นี่วุ่นวายหนอ    ท่านผู้เจริญ    ที่นี่ขัดข้องหนอ”

 ครั้งนั้น    ยสกุลบุตรจึงสวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์    พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยคิดว่า    “ใคร  ๆ    อย่าได้ทำอันตรายต่อการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร”

            ลำดับนั้น ยสกุลบุตรได้เดินต่อไปยังประตูเมือง  พวกอมนุษย์ก็เปิดประตูให้ด้วยคิดว่า    “ใคร  ๆ    อย่าได้ทำอันตรายต่อการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร”  หลังจากนั้น  ยสกุลบุตรจึงเดินต่อไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
 
           [๒๖]    ครั้นราตรีย่ำรุ่ง    พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมอยู่    ณ    ที่แจ้งได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล    ครั้นเห็นแล้ว    จึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้    ขณะนั้น    ยสกุลบุตรได้เปล่งอุทานขึ้น ณ  ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ  ท่านผู้เจริญ    ที่นี่ขัดข้องหนอ”

            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับยสกุลบุตรนั้นดังนี้ว่า    “ยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง  มาเถิด   ยสะ    จงนั่งลง  เราจักแสดงธรรมแก่เธอ”
 
           ลำดับนั้น    ยสกุลบุตรร่าเริงเบิกบานใจว่า    “ได้ยินว่า    ที่นี่ไม่วุ่นวาย    ที่นี่ไม่ขัดข้อง”จึงถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ  ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง  ณ ที่สมควร    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา    คือทรงประกาศ
                  ๑.    ทานกถา    (เรื่องทาน)
                  ๒.    สีลกถา    (เรื่องศีล)
                  ๓.    สัคคกถา    (เรื่องสวรรค์)
                  ๔.    กามาทีนวกถา    (เรื่องโทษ    ความต่ำทราม    ความเศร้าหมองแห่งกาม)๒
                  ๕.    เนกขัมมานิสังสกถา    (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)    แก่ยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่    ณ    ที่สมควร
  เมื่อทรงทราบว่า    ยสกุลบุตรมีจิตควร    อ่อน    ปราศจากนิวรณ์    เบิกบานผ่องใส   

    จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา  ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    คือทุกข์    สมุทัย    นิโรธ    มรรค   

     ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน  ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร  ณ  อาสนะนั้นแลว่า  “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”    เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2012, 07:28:19 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


  เมื่อใด เราได้เห็น ถึงแก่นสาร คือ สาระของชีวิต จริง ๆ แล้วว่า คือ อะไรธรรมจักษุก็จักเกิดขึ้นอย่างนั้นว่า

  สิ่งใด สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ล้วนแล้ว สิ่งนั้น ก็ต้องมีสิ่งที่ คู่ กัน ความดับ ความเสื่อมสลายไปตามกฏของพระไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นกฏที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้สิ่งที่เรียกกาย และ จิต ก็เช่นเดียวกัน

   มองให้ดี ถ้าจิตของเรามองไม่เห็นความจริงตรงนี้ อยู่ตรงไหนก็ไม่สบายจิต ถ้าต้องการอยู่ตรงไหนทุกที่อย่างสบายจิต ก็ต้องมองเห็นความจริงอย่างนี้ว่า

    ทุกอย่างมีเกิด ก็มีดับ มีุทุกข์ ก็มีสุข มีได้ ก็มีเสื่อมจากได้ อย่างนี้เป็นต้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2012, 07:05:54 pm โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เมื่อเห็นธรรมแล้ว ควรทำอย่างไร ต่อไป ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 16, 2012, 07:41:12 am »
0
การเห็นธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเห็นธรรมได้จักษุ อย่างนี้เรียกว่า พระโสดาบัน

  เมื่อได้ธรรมจักษุแล้ว ควรดำเนินชีวิตอย่างไร ต่อไป ?
  ควรดำเนินชีวิต ตามอริยะมรรคมีองค์ 8

  ตั้งมั่นในศีล ในสมาธิ ในปัญญา
 
  สำหรับผู้ฝึกกรรมฐาน ก็ควรจะรวมการภาวนาให้สมบูรณ์ด้วย อริยะมรรค 8 เถิด

  ชื่อว่าถูกทาง ควรแก่การมีดำเนินชีวิตอย่างมีสาระธรรม

  เจริญธรรม


  ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2012, 07:06:35 pm โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้วรู้สึกดีใจขึ้นบ้างว่า มีเรื่องที่ควรทราบและควรรู้ อยู่อีกมาก โดยเฉพาะหลักธรรมที่น่าสนใจ คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านธรรมะสาระชุดนี้ แล้ว ก็พยายามนึกถึง ประเด็นที่พระอาจารย์กำลังนำเสนออยู่คือส่วนไหน แต่เมื่อพิจารณาจากภาพแล้ว ประเด็นน่าจะอยู่ที่ภาพ คือ



  คำถามแรกคือ
  คำว่า ที่นี่ ไม่วุ่นวาย ที่นี่ ไม่ขัุดข้อง หมายถึง ที่ไหน
 
  คำถามที่สอง คือ
  ตอนที่เราใจวุ่นวาย ตอนที่ใจของเราขัดข้ัอง จะรับธรรมได้อย่างไร

  คำถามที่สาม คือ
  ธรรมสาระใด ที่เราทั้งหลาย พึงสนใจเมื่อเราจะออกจากความวุ่นวาย และขัดข้อง

  อยากให้เพื่อน ๆ ช่วยกันแจงประเด็นสอบถามพระอาจารย์ เพิ่มพูนธรรมกันดีหรือไม่คะ
 
   :014: :014: :014: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านธรรมะสาระชุดนี้ แล้ว ก็พยายามนึกถึง ประเด็นที่พระอาจารย์กำลังนำเสนออยู่คือส่วนไหน แต่เมื่อพิจารณาจากภาพแล้ว ประเด็นน่าจะอยู่ที่ภาพ คือ



  คำถามแรกคือ
  คำว่า ที่นี่ ไม่วุ่นวาย ที่นี่ ไม่ขัุดข้อง หมายถึง ที่ไหน
 
  คำถามที่สอง คือ
  ตอนที่เราใจวุ่นวาย ตอนที่ใจของเราขัดข้ัอง จะรับธรรมได้อย่างไร

  คำถามที่สาม คือ
  ธรรมสาระใด ที่เราทั้งหลาย พึงสนใจเมื่อเราจะออกจากความวุ่นวาย และขัดข้อง

  อยากให้เพื่อน ๆ ช่วยกันแจงประเด็นสอบถามพระอาจารย์ เพิ่มพูนธรรมกันดีหรือไม่คะ
 
   :014: :014: :014: :25: :25: :25:


  น่าสนใจ นะครับ กับคำถามที่นำเสนอ ครับ


  :welcome:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
คำถามแรกคือ
  คำว่า ที่นี่ ไม่วุ่นวาย ที่นี่ ไม่ขัุดข้อง หมายถึง ที่ไหน

  อยากให้เพื่อน ๆ ช่วยกันแจงประเด็นสอบถามพระอาจารย์ เพิ่มพูนธรรมกันดีหรือไม่คะ


คำว่า ที่นี่ ไม่วุ่นวาย ที่นี่ ไม่ขัุดข้อง หมายถึง ที่ไหน

  ที่นี่ ก็หมายถึง ที่พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ประการหนึ่ง ครับ
  ที่นี่ ก็หมายถึง พระนิพพาน อีกประการหนึ่งครับ

   ในความหมายแรก คือ เมื่อพระพุทธเจ้าประัทับอยู่ที่ไหน ที่นั้นก็เป็นที่บริสุทธิ์ หมดจดปราศจากความเศร้าหมอง ไม่มีความทุกข์ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นความวุ่นวาย คงไว้แต่ความสงบครับ

   ในความหมายที่สอง คือ พระนิพพานเป็นความสงบ ไม่วุ่นวาย ปราศจาก กิเลสแล้วครับ

  ลองตอบดู แต่อาจจะไม่ตรงใจเพื่อน ๆ นะครับ

  :25: :25: :25:

 
บันทึกการเข้า