ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำว่า นิพานัง ปรมัง สุขัง ต่างกับ นิพานัง ปรมัง สุญญัง อย่างไร  (อ่าน 16540 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่า นิพานัง ปรมัง สุขัง ต่างกับ นิพานัง ปรมัง สุญญัง อย่างไร

  ตามคำถามเลยครับ
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิพพานัง ปะระมัง สุขัง
นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง

     ต่างกันตรงที่ สุขัง กับ สุญญัง คะ

นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง  แต่อันนี้ไม่เคยได้ยินคะ โปรดอ้างแหล่งที่มาก่อน ที่จะคุยกันนะคะ

  :s_hi:

 
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นิพพานัง ปะระมัง สุขัง
นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง

     ต่างกันตรงที่ สุขัง กับ สุญญัง คะ

นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง  แต่อันนี้ไม่เคยได้ยินคะ โปรดอ้างแหล่งที่มาก่อน ที่จะคุยกันนะคะ

  :s_hi:

 

   นิพพานัง ปะระมัง สุขัง  แปลว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
   นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง แปลว่า นิพพานเป็นศูนย์

แนะนำอ่านตรงนี้ ร่วมด้วย
ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8007.0


ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2012, 10:19:06 am โดย saichol »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕

     [๒๕] เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่
     เมื่อพวกมนุษย์มีเวรกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีเวรอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ
     เมื่อพวกมนุษย์มีความเร่าร้อนกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความเร่าร้อนอยู่ เป็นอยู่สบายดีหนอ
     เมื่อพวกมนุษย์มีความขวนขวายอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่
     เมื่อพวกมนุษย์มีความขวนขวายกันอยู่ เราเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายอยู่เป็นอยู่สบายดีหนอ


     เราไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เป็นอยู่สบายดีหนอ
     เรามีปีติเป็นภักษาเหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ
     ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์

     พระขีณาสพผู้สงบระงับ ละความชนะความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
     ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี
     ทุกข์เช่นด้วยขันธ์ไม่มี สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี
     ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง


     บัณฑิตทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง
     ญาติทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


     บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรส ดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสแห่งความสงบแล้ว
     ย่อมไม่มีความกระวนกระวายไม่มีบาป
     การเห็นพระอริยะเจ้าทั้งหลายเป็นความดี การอยู่ร่วมกับพระอริยะเจ้าเหล่านั้น เป็นสุขทุกเมื่อ
     บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์ได้ เพราะการไม่เห็นคนพาลทั้งหลาย
     ด้วยว่าบุคคลผู้สมคบกับคนพาลเที่ยวไป ย่อมเศร้าโศกสิ้น กาลนาน
     การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ เหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรู

     ส่วนนักปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ
     เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงคบบุคคลนั้นผู้เป็นนักปราชญ์ มีปัญญา เป็นพหูสูต มีปกตินำธุระไปมีวัตร
     เป็นพระอริยะ เป็นสัปบุรุษ ผู้มีปัญญาดีเช่นนั้นเหมือนพระจันทร์คบครองแห่งนักษัตร ฉะนั้น ฯ


     จบสุขวรรคที่ ๑๕



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๗๙๙ - ๘๒๙. หน้าที่ ๓๕ - ๓๖.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=799&Z=829&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=25
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/





พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๕ สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๗
ขุทฺทกนิกายสฺส ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-อุทานํ-อิติวุตฺตกํ-สุตฺตนิปาตา

ธมฺมปทคาถาย ปณฺณรสโม สุขวคฺโค

  [๒๕] ๑๕ สุสุขํ วต ชีวาม           เวริเนสุ อเวริโน
          เวริเนสุ มนุสฺเสสุ         วิหราม อเวริโน ฯ
          สุสุขํ วต ชีวาม           อาตุเรสุ อนาตุรา
          อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ         วิหราม อนาตุรา ฯ
          สุสุขํ วต ชีวาม           อุสฺสุเกสุ อนุสฺสุกา
          อุสฺสุเกสุ มนุสฺเสสุ         วิหราม อนุสฺสุกา ฯ
          สุสุขํ วต ชีวาม           เยสนฺโน นตฺถิ กิญฺจนํ
          ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม         เทวา อาภสฺสรา ยถา ฯ

       
          ชยํ เวรํ ปสวติ           ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
          อุปสนฺโต สุขํ เสติ         หิตฺวา ชยปราชยํ ฯ
          นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ        นตฺถิ โทสสโม กลิ
          นตฺถิ ขนฺธาทิสา ๑ ทุกฺขา   นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ
          ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา       สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
 

          เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ        นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ
          อาโรคฺยปรมา ลาภา       สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ
          วิสฺสาสปรมา ญาติ         นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ


          ปวิเวกรสํ ปิตฺวา          รสํ อุปสมสฺส จ
          นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป      ธมฺมปีติรสํ ปิวํ ฯ
          สาหุ ทสฺสนมริยานํ         สนฺนิวาโส สทา สุโข
          อทสฺสเนน พาลานํ         นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ

          พาลสงฺคตจารี หิ          ทีฆมทฺธาน โสจติ
          ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส      อมิตฺเตเนว สพฺพทา ฯ
          ธีโร จ สุขสํวาโส         ญาตีนํว สมาคโม ตสฺมา หิ
          ธีรญฺจ ปญฺญญฺจ พหุสฺสุตญฺจ
          โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
          ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
          ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา ฯ
          สุขวคฺโค ปณฺณรสโม ฯ

_______________
#๑ โป. ม. ขนฺธสมา ฯ

ที่มา http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=25&p1=29&lang2=pali&commit=%E2%96%BA
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕

๕. เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง [๑๖๑]
   
         
ข้อความเบื้องต้น              
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองอาฬวี ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ชิฆจฺฉา" เป็นต้น.

เสด็จโปรดคนเข็ญใจ              
    ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎี ในพระเชตวันเทียว ทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นมนุษย์เข็ญใจคนหนึ่งในเมืองอาฬวี ทรงทราบความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของเขา มีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร ได้เสด็จไปสู่เมืองอาฬวี.

     ชาวเมืองอาฬวีนิมนต์พระศาสดา. มนุษย์เข็ญใจแม้นั้นได้ยินว่า "พระศาสดาเสด็จมา" ดังนี้แล้ว ได้ตั้งใจไว้ว่า "เราจักฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา."

    แลในวันนั้นเอง โคของเขาตัวหนึ่งหนีไป เขาคิดว่า "เราจักค้นหาโคหรือจะฟังธรรม" แล้วคิดว่า "เราค้นหาโคต้อนให้เข้าไปสู่ฝูงโคแล้ว จึงจักฟังธรรมภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงออกจากเรือนแต่เช้าตรู่. แม้ชาวเมืองอาฬวีนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้นั่งแล้วอังคาส รับบาตร เพื่อประโยชน์แก่อนุโมทนา.

     พระศาสดาได้ทรงนิ่งเสีย ด้วยหมายพระหฤทัยว่า
     "เราอาศัยบุคคลใดมาแล้วตลอดหนทาง ๓๐ โยชน์ บุคคลนั้นเข้าไปสู่ป่าเพื่อแสวงหาโค เมื่อเขามาแล้วนั่นแหละ เราจึงจักแสดงธรรม."

     มนุษย์แม้นั้นเห็นโคในกลางวัน ต้อนเข้าฝูงโคแล้วคิดว่า "แม้ถ้าของอื่นไม่มี เราจักกระทำกิจสักว่าการถวายบังคมพระศาสดา" แม้ถูกความหิวบีบคั้น ก็ไม่ใฝ่ใจจะไปเรือน มาสู่สำนักพระศาสดาโดยเร็ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
     ในเวลาที่เขายืนอยู่ พระศาสดาตรัสกะผู้ขวนขวายในทานว่า "ของอะไรที่เป็นเดนของภิกษุสงฆ์ มีอยู่หรือ?"
               ผู้ขวนขวายในทาน. มีอยู่ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงเลี้ยงดูผู้นี้.



พระศาสดายังถูกโพนทะนา              
     เขาให้มนุษย์นั้นนั่งในที่ที่พระศาสดาตรัสสั่งนั่นแหละ แล้วเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคู ของควรเคี้ยว และของควรบริโภค โดยเคารพ. มนุษย์ผู้นั้นบริโภคภัตเสร็จ บ้วนปากแล้ว.
     ได้ยินว่า ชื่อว่าการจัดภัตของพระตถาคต ย่อมไม่มีในที่อื่น ในปิฎก ๓ เว้นที่นี้เสีย.
     จิตของเขามีความกระวนกระวายสงบแล้ว ได้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว.

     ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแก่เขา. ในที่สุดแห่งเทศนา เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. มหาชนตามส่งเสด็จพระศาสดาแล้วก็กลับ.

     ภิกษุทั้งหลายที่ไปกับพระศาสดานั่นแหละ ยกโทษว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงดูกรรมของพระศาสดาเถิด, กรรมเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีในวันทั้งหลายอื่น, แต่วันนี้ พระศาสดาทรงอาศัยมนุษย์คนหนึ่ง รับสั่งให้คนจัดแจงข้าวยาคูเป็นต้นให้ให้แล้ว."

    พระศาสดาเสด็จกลับประทับยืนอยู่แล้วเทียว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน?" ทรงสดับเนื้อความนั้นแล้ว
     ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เราคิดว่า ‘เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร ๓๐ โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้นแล้วจึงมา', อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิดแต่ความหิว จึงได้กระทำอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่นกับโรค คือความหิวไม่มี"


               ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๕.    ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา       สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
                            เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ       นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
                            ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง,
                            บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความจริงแล้ว (กระทำให้
                            แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.



แก้อรรถ              
     บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา ความว่า
     เพราะโรคอย่างอื่นรักษาคราวเดียวก็หาย หรือว่าอันบุคคลย่อมบำบัดได้ ด้วยความสามารถแห่งองค์นั้นๆ (คือเป็นครั้งคราว), ส่วนความหิวต้องรักษากันสิ้นกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหตุนั้น ความหิวนี้จึงจัดเป็นเยี่ยมกว่าโรคที่เหลือ.


     ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย.
     สองบทว่า เอตํ ญตฺวา ความว่า บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงว่า "โรคเสมอด้วยความหิว ย่อมไม่มี, ชื่อว่าทุกข์ เสมอด้วยการบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี" แล้วกระทำพระนิพพานให้แจ้ง.
     บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ความว่า เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสุขอย่างยอด คืออย่างสูงสุดกว่าสุขทั้งหมด.
     ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง จบ. 
             


ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=25&p=5
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่า นิพานัง ปรมัง สุขัง ต่างกับ นิพานัง ปรมัง สุญญัง อย่างไร

  ตามคำถามเลยครับ



"นิพพาน"
โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

นิพพาน-คำว่า นิพพาน นี้ เขาแปลว่า ดับ ท่านจัดให้เป็นหลายประเภทด้วยกัน คือ
   1.ดับกิเลส-มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังไม่ตาย แต่จิตเป็นนิพพาน
   2.ดับกิเลส-โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ตายแล้วจิตเป็นสุข อยู่แดนทิพย์อมตะนิพพาน


   แต่ว่าในวันนี้จะขอพูดถึง นิพพานมาตรฐาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้

   องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า......
  "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"-แปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าเรื่องพระนิพพานนี้ มีความเข้าใจเฝือของบรรดาท่านพุทธบริษัทอยู่มาก ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จุดหนึ่งว่า

  "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" ซึ่งแปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นธรรมว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากดิน น้ำ ลม ไฟ ว่างอย่างยิ่ง

    คำว่า "สุญ" ในที่นี้ ส่วนที่แปลศัพท์โดยมากมักจะทับศัพท์ ใช้คำว่า"สูญ"
    แต่คำว่า"สุญ" นั้น เขาแปลว่า"ว่าง" ก็หมายความว่า "บุคคลใดที่จะเข้าถึงนิพพานได้ ต้องว่างด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
      1.ว่างจากโลภะ-คือ ไม่มีความโลภในจิตใจ
      2.ว่างจากโทสะ-คือ ไม่มีความหงุดหงิด โกรธง่ายในใจ
      3.ว่างจากโมหะ-คือ ไม่มีความหลงในโลกทั้งสามในจิตใจ


    เพราะว่าโลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นรากเหง้าของความชั่ว ที่เรียกว่า รากเหง้าของกิเลส กิเลส ก็คือความชั่ว ความมัวหมองของจิต ที่เรียกว่า จิตคิดชั่ว กิเลสทั้งหมดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสแล้ว โดยชื่อแล้วนับปริมาณไม่ได้
    แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า กิเลสทั้งหมดถ้ากล่าวโดยย่อแล้ว ก็เหลือ 3 ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

    ฉะนั้น สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าจิตของบุคคลใดว่างจากกิเลสทั้ง 3 ประการ คือ
      โลภะ-ความโลภไม่มีในจิต
      โทสะ-ความโกรธไม่มีในจิต
      โมหะ-ความหลงไม่มีในจิต


    อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า เป็นผู้มีความว่างจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"......



ที่มา http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&No=464354
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/



   
    ขออภัย..ผมยังไม่สามารถหาแหล่งที่มาในพระไตรปิฎก ของคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" ได้
    เท่าที่หาได้ เป็นการอนุมาน(สรุป)จาก "อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของท่านอุปสีวะ"
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=2389&Z=2702
    อ่านรายละเอียดได้ที่
    http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=806.0

    เว็บ http://abhidhamonline.org/aphi/p7/072.htm อธิบายไว้ว่า
    นิโรธ หมายถึง นิพพาน ซึ่งเป็นความดับอย่างหนึ่ง ที่ดับอย่างสนิท ดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับ ไม่กลับติดต่อก่อเกิดอีก ดับอย่างนี้ แหละ เรียกว่า นิพพาน


    ดับกิเลส เรียก กิเลสนิพพาน ดับขันธ์ เรียกขันธนิพพาน ขันธ์ที่หมดกิเลสแล้ว
    เป็นขันธ์เปล่า ดุจดังสูญญาคารเรือนเปล่า ไม่มีอะไรรกรุงรัง น่าสบายใจ
    เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส


   เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลสแล้ว ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็น สุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา
   เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


   ขอคุยเท่านี้ครับ
:25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

นิพพานปรมัตถ์

    ปรมัตถธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือ นิพพานปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหาคือ วานะ [อรรถกถา ขุททกนิกาย ธาตุสูตร ข้อ ๒๒๒]

    นิพพานปรมัตถ์เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ จิต เจตสิก รูป เป็นทุกข์เพราะไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป การที่จะดับทุกข์ได้นั้นจะต้องดับตัณหา เพราะตัณหาเป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสมุทัยให้เกิดขันธ์ ซึ่งได้แก่ จิต เจตสิก รูป การที่จะดับตัณหาได้นั้นก็ด้วยการอบรมเจริญปัญญา จนรู้แจ้งชัดในลักษณะเกิดดับของจิต เจตสิก รูป แล้วละคลายความยินดียึดมั่นเห็นผิดในจิต เจตสิก รูป ได้ด้วย การรู้แจ้งนิพพานซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดับตัณหา ดับทุกข์ ดับขันธ์ นิพพานจึงเป็นธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งได้

    นิพพานปรมัตถ์ โดยปริยายแห่งเหตุมี ๒ อย่าง [ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ธาตุสูตร ข้อ ๒๒๒ และอรรถกถา] คือ
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑


    คำว่าอุปาทินี้ เป็นชื่อของขันธ์ ๕ คือ จิต เจตสิก รูป สอุปาทิเสสนิพพาน คือความสิ้นไปของกิเลสทั้งหมด แต่ยังมีขันธ์เกิดดับสืบต่ออยู่ อนุปาทิเสสนิพพาน คือการดับขันธ์ทั้งหมด เป็นการปรินิพพานของพระอรหันต์
    คำว่าโดยปริยายแห่งเหตุ คือ การอ้างถึงมีขันธ์เหลือ และไม่มีขันธ์เหลือ ซึ่งเป็นเหตุในการบัญญัตินิพพาน ๒

 

    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์ทรงบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กิเลสและธรรม (ซึ่งได้แก่จิตและเจตสิกอื่นๆ) ที่เกิดร่วมกับกิเลสนั้นดับหมดสิ้น และไม่เกิดอีกเลย แต่ยังมีขันธ์ คือ จิต เจตสิก (ที่ปราศจากกิเลส) และรูปเกิดดับสืบต่ออยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
 
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ [ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ธาตุสูตร ข้อ ๒๒๒ และอรรถกถา]

    อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่มีขันธ์เหลือ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงดับขันธปรินิพพานระหว่างไม้สาละคู่ เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน [ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ปาสาทิกสูตร ข้อ ๑๒๐] ดับขันธ์หมดสิ้นโดยรอบ ดับสนิทซึ่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ดับจิต เจตสิก รูป ทั้งหมด ไม่มีการเกิดอีกเลย

    พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี เป็นพระเสกขบุคคล เพราะยังต้องศึกษาเจริญธรรมยิ่งๆ ขึ้นเพื่อดับกิเลสที่เหลืออยู่ให้หมดไป ส่วนพระอรหันต์เป็นพระอเสกขบุคคล เพราะดับกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉทได้แล้ว ไม่ต้องศึกษาเพื่อดับกิเลสอีก [ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส อชิตมานวกปัญหานิทเทส ข้อ ๙๒]



    นิพพานปรมัตถ์ ว่าโดยความแตกต่างแห่งอาการ มี ๓ อย่าง คือ
            สุญญตะ ๑
            อนิมิตตะ ๑
            อัปปณิหิตะ ๑


    พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาพสูญจากสังขารทั้งปวง
                                    ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตคือสังขารทั้งปวง
                                    ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง


    เมื่อบุคคลมนสิการสภาพธรรมโดยเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไป (คือรู้แจ้งอริยสัจจธรรม) ด้วยอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์

    วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามัคค์ วิโมกขกถา ข้อ ๕๐๙] คือ
    ๑. ด้วยความเป็นใหญ่ บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ย่อมเป็นใหญ่
    ๒. ด้วยความตั้งมั่น บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์
    ๓. ด้วยความน้อมจิตไป บุคคลเมื่อมนสิการโดนความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งอนิมิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมน้อมจิตไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์
    ๔. ด้วยความนำออกไปบุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอัปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์



อ้างอิง หนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขป และภาคผนวก โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอบคุณภาพจาก http://www.horajan.com/,http://www.kammatan.com/,http://picdb.thaimisc.com/




    วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ
       ๑. สุญญตวิโมกข์
       ๒. อนิมิตตวิโมกข์
       ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์

   สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
                   หมายถึง มองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา
                   พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา


  อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
                   คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้


  อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา
                   คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้


ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    บทความนี้พยามยามชี้ให้เห็นว่า คำว่าวิโมกข์นี้ ก็คือ นิพพานนั่นเอง
    ดังนั้น ประโยคที่ว่า "พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาพสูญจากสังขารทั้งปวง"
    อาจเป็นที่มาของคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2012, 05:46:55 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ด้วยครับ เป็นคำตอบที่อ่านแล้วคุ้มค่าแก่การอ่านมากครับ ได้ความรู้และเห็นต่อเรื่อง นิพพาน ทั้ง 3 ดีเลยนะครับ โดยเฉพาะคำว่า สุญญตนิพพาน นั้นผมสงสัยอยู่เหมือนกันว่า นิพพานแบบนี้เป็นแบบไหน ?

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ รวบรวมคำอธิบายมาให้อ่านได้อย่างเข้าใจเลยครับ

 :49: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

 
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์


     [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯลฯ

     ...........................ฯลฯ

     เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า ...
     เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า ...
     เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ...
     เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง ...

     เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา……..ฯลฯ...



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๑๒ - ๑๐๙๗๔.  หน้าที่  ๔๕๓ - ๔๕๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=10812&Z=10974&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=731



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๓๑
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๒๓ ขุทฺทกนิกายสฺส ปฏิสมฺภิทามคฺโค

 
    [๗๓๕] กติหากาเรหิ อนุโลมิกํ ขนฺตึ ปฏิลภติ กติหากาเรหิ สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติฯ จตฺตารีสาย อากาเรหิ  อนุโลมิกํ ขนฺตึ ปฏิลภติ จตฺตารีสาย อากาเรหิ สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติ ฯลฯ
 
    ...........................ฯลฯ

    สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติ ปญฺจกฺขนฺเธ สุญฺญโต ปสฺสนฺโต 
    อนุโลมิกํ ขนฺตึ ปฏิลภติ   
    ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ นิโรโธ ปรมํ สุญฺญํ นิพฺพานนฺติ ปสฺสนฺโต
   
    สมฺมตฺตนิยามํ โอกฺกมติ ปญฺจกฺขนฺเธ อนตฺตโต....ฯลฯ.....



อ้างอิง
http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=358&p2=629&volume=31



อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค
๙. วิปัสสนากถา

อรรถกถาวิปัสสนากถา
         
      บทว่า ปญฺจกฺขนฺเธ ขันธ์ ๕ แม้เมื่อกล่าวโดยส่วนรวมก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวพรรรณนาอรรถด้วยขันธ์หนึ่งๆ เพราะมาต่างหากกันในกลาปสัมมสนนิเทศ เพราะในที่สุดคำนวณอนุปัสสนา ด้วยสามารถขันธ์ทั้งหลายต่างหากกัน และเพราะมีความเป็นไปแม้ในส่วนอวัยวะ แห่งคำที่เป็นไปในส่วนรวมกัน....ฯลฯ

      ...........................ฯลฯ

      บทว่า ปรมสุญฺญํ สูญอย่างยิ่ง ชื่อว่าสูญอย่างยิ่ง เพราะสูญจากสังขารทั้งหมด และเพราะสูญอย่างสูงสุด.
      บทว่า ปรมตฺถํ มีประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะเป็นของเลิศกว่าสังขตะและอสังขตะ เป็นนปุงสกลิงค์เพราะลิงควิปลาส.
      ท่านไม่กล่าวปริยายโดยอนุโลมในสองบทนี้ เพราะนิพพานเป็นของสูญและเพราะเป็นอนัตตา.
               บทว่า อนาสวํ คือ ปราศจากอาสวะ.
               บทว่า นิรามิสํ คือ ปราศจากอามิส.
               บทว่า อชาตํ คือ ไม่เกิดเพราะปราศจากความเกิด.
               บทว่า อมตํ คือ ปราศจากความตายเพราะไม่ดับ.

     จริงอยู่ แม้ความตายท่านก็กล่าวว่า มตํ เพราะเป็นนปุงสกลิงค์.
     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการสงเคราะห์เป็นอันเดียวกันใน อนุปัสสนา ๓ ด้วยสงเคราะห์ตามสภาวธรรมในอนุปัสสนา ๔๐ อันแตกต่างกันโดยอาการดังกล่าวแล้วตามลำดับนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า


     อนิจฺจโตติ อนิจฺจานุปสฺสนา การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นอนิจจานุปัสสนา
     พึงประกอบในความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาตามสมควรในอนุปัสสนาเหล่านั้น
     แต่ในที่สุดท่านแสดงอนุปัสสนาเหล่านั้นด้วยการคำนวณต่างกัน.

     ในบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจวีสติ ๒๕ คือ อนัตตานุปัสสนา ๒๕ ในขันธ์ ๕ ทำขันธ์หนึ่งๆ อย่างละ ๕ คือ   
          ปรโต (โดยเป็นอย่างอื่น) ๑
          ริตฺตโต (โดยเป็นของว่าง) ๑
          ตุจฺฉโต (โดยเป็นของเปล่า) ๑
          สุญฺญโต (โดยเป็นของสูญ) ๑
          อนตฺตโต (โดยเป็นอนัตตา) ๑.



ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=731
ขอบคุณภาพจาก http://widget.sanook.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28362
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ รวบรวมคำอธิบายมาให้อ่านได้อย่างเข้าใจเลยครับ

 :49: :c017: :25:

   
    คุณ waterman ชอบคำว่า "นิพพาน" มาก สนใจติดตามโดยตลอด จำกระทู้นี้ได้ไหม ลองคลิกดู
    "นิพพานัง ปรมัง สุขัง, นิพพานัง ปรมัง สุญญัง, นิพพานะ ปัจจโย โหตุ"

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5388.0

    ผมยังคาใจคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" หาบาลีมาอ้างอิงไม่ได้
    สุดท้ายก็ได้พระสูตรนี้มา.."พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค"
    น่าจะพอคลายสงสัยได้บ้าง สำหรับผู้มีปัญญาจริต โดยเฉพาะหนูกบ..kobyamkala

     :welcome: :49: :25: :s_good:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ด้วยครับ มีเนื้อหาที่อ่านได้อย่างดีมากครับ กว่าผมจะอ่านเสร็จก็ ตั้งแต่ 5 ทุ่ม ถึง เที่ยงคืนครึ่ง นะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ ทั้งผู้ถามและผู้ตอบครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า